โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
::ตอนที่ 5::
.
หลักฐานที่ 2. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงกล่าวในซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้าก อายะฮ์ที่ 4 มีข้อความว่า ...
وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ
“และบรรดาสตรีที่มีครรภ์ กำหนด(อิดดะฮ์)ของพวกนางก็คือการคลอดบุตรที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง”
แล้วมีคำอธิบายในลักษณะว่า โองการนี้มีความหมาย “ครอบคลุม” ถึงทุกๆสตรีที่ตั้งครรภ์(แม้กระทั่งจากการซินา) ว่า ก่อนจะนิกาห์สตรีที่กำลังตั้งครรภ์จากการซินากับผู้ใด นางจะต้องมีอิดดะฮ์ คือต้องคลอดบุตรก่อนจึงจะนิกาห์ได้ ...
ท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ ได้กล่าวในหนังสือตัฟซีรฺ “อัฎวาอุ้ลบะยาน” เล่มที่ 6 หน้า 55 ว่า ...
أَنَّ أَظْهَرَ قَوْلَيْ أَهْلِ الْعِلْمِ عِنْدِيْ أَنَّهُ لاَيَجُوْزُ نِكَاحُ الْمَرْأَةِ الْحَامِلِ مِنَ الزِّنَا قَبْلَ وَضْعِ حَمْلِهَا، ........ ِلأَنَّ نِكَاحَ الرَّجُلِ امْرَأَةً حَامِلاً مِنْ غَيْرِهِ فِيْهِ سَقْىُ الزَّرْعِ بِمَاءِ الْغَيْرِ وَهُوَ لاَ يَجُوْزُ ............ وَقَدْ صَرَّحَ اللهُ بِأَنَّ الْحَوَامِلَ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ، فَيَجِبُ اسْتِصْحَابُ هَذَاالعُّمُوْمِ ....
“ที่ชัดเจนที่สุดสำหรับฉันจากสองทัศนะของนักวิชาการ(ที่ขัดแย้งกัน)ก็คือ ไม่อนุญาตให้นิกาห์กับสตรีที่ตั้งครรภ์จากการซินาก่อนนางจะคลอดบุตร ...... เนื่องจากการนิกาห์ของผู้ชายกับสตรีที่ตั้งครรภ์กับผู้อื่น เป็นการรดพืชผักด้วยน้ำของผู้อื่น(คือมีเพศสัมพันธ์กับสตรีที่ตั้งครรภ์กับผู้อื่น)ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ....... และแน่นอน พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงระบุอย่างชัดเจนแล้วว่า บรรดาสตรีที่มีครรภ์นั้น กำหนดของพวกนางก็คือการคลอดบุตรในครรภ์ของพวกนาง เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องยึดถือตามความหมายครอบคลุมกว้างๆนี้ ........”
ชี้แจง
แต่ผมมีความเห็นแย้งกับท่านอัช-ชันกีฏีย์ในกรณีนี้ครับ ...
คือผมเห็นว่า โองการนี้มิได้มีความหมาย “ครอบคลุมกว้างๆ” ถึงสตรีที่ตั้งครรภ์เพราะทำซินาด้วย .. อย่างที่ท่านเช็คอัล-ชันกีฏีย์กล่าวอ้าง ...
แต่โองการนี้มีความหมายจำกัดเฉพาะ “สตรีที่มีครรภ์กับสามีแล้วสามีหย่า” อันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้จากอายะฮ์แรกๆของซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้าก ...
ซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้าก แปลว่า ซูเราะฮ์เรื่องการหย่าร้าง อันบ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของซูเราะฮ์นี้แล้วว่า จะอธิบายหุก่ม "สตรีที่ถูกสามีหย่าร้าง" ในบริบทต่างๆ ...
ก่อนอื่น ก็จะขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านทุกท่านเกี่ยวกับพื้นฐานและที่มาที่ไปของซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้ากเสียก่อนดังนี้ ...
(1). ซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้ากอันเป็นซูเราะฮ์ที่ 65 ของอัล-กุรฺอานนั้น .. ตอนต้นของซูเราะฮ์นี้จะแนะนำสามีที่ต้องการหย่าภรรยาว่า การหย่าที่ถูกต้องจะกระทำได้เมื่อไร ...
ตอนต่อมา กล่าวถึงสามีภรรยาที่หย่าร้างกันและต้องการกลับคืนดีกันว่า จะกลับคืนดีกันได้อย่างไร ...
ต่อมาก็กล่าวถึงอิดดะฮ์ของสตรีที่ถูกสามีหย่าว่า จะมี 3 ลักษณะ และอิดดะฮ์ของพวกนางแต่ละลักษณะเป็นอย่างไร ...
และในตอนท้ายซูเราะฮ์ก็จะกล่าวถึงค่าใช้จ่าย, ค่าที่พัก, ค่าจ้างแม่นม และอื่นๆของสตรีที่ถูกหย่านั้น ...
สรุปแล้ว เรื่องของอิดดะฮ์, เรื่องของค่าใช้จ่าย, ค่าที่พัก, ค่าจ้างแม่นม ฯลฯ ดังที่มีกล่าวไว้ในซูเราะฮ์นี้ ล้วนมีผลมาจากการ “หย่า” ของสามีทั้งสิ้น ...
และในเรื่องของอิดดะฮ์สตรีที่ถูกสามีหย่า .. ตอนเริ่มต้นอายะฮ์ที่ 4 จะกล่าวถึงอิดดะฮ์ของสตรีวัยทองก่อน, ต่อมาก็กล่าวถึงอิดดะฮ์สตรีที่ยังไม่มีประจำเดือน แล้วสุดท้ายก็กล่าวถึง “อิดดะฮ์สตรีมีครรภ์” ซึ่งตอนที่สองและตอนที่สาม จะเป็นการเชื่อมประโยค (عَطْفٌ) อย่างต่อเนื่องกับตอนแรก .. ดังที่จะได้อธิบายต่อไป ...
(2). ทีนี้ ให้เรามาดูโองการเกี่ยวกับเรื่องอิดดะฮ์ของสตรีตั้งแต่ต้นอายะฮ์ที่ 4 ของซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้ากพร้อมด้วยการอธิบายความหมายที่แท้จริงว่า หมายถึงอิดดะฮ์ของสตรีลักษณะใด ...
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสว่า ...
وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ إِنِ ارْتَبْتُمْ فَعِدَّتَهُنَّ َثَلاَثَةُ أَشْهُرٍ وَاْللاَئِىْ لَمْ يَحِضْنَ وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ
“และบรรดาสตรีจากภรรยาของพวกเจ้าที่(ถูกหย่าและ)สิ้นหวังจากประจำเดือน (คือวัยทอง) หากพวกเจ้าสงสัย (ในเรื่องอิดดะฮ์ของพวกนาง) ก็ (พึงรู้เถิดว่า) อิดดะฮ์ของพวกนางคือสามเดือน, และบรรดาสตรี(จากภรรยาของพวกเจ้าที่ถูกหย่า) ที่ไม่เคยมีประจำเดือน (อิดดะฮ์ของพวกนางก็คือสามเดือนเช่นเดียวกัน), และบรรดาสตรี (จากภรรยาของพวกเจ้าที่ถูกหย่า) ที่ตั้งครรภ์ กำหนด(อิดดะฮ์) ของพวกนางก็คือ ให้พวกนางคลอดสิ่งที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง ....”
(คำในวงเล็บทั้งหมดเป็นคำอธิบาย เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเจตนารมณ์และการเชื่อมต่อของทั้งสามประโยคที่กล่าวถึงอิดดะฮ์ของสตรีทั้งสามลักษณะอย่างกระจ่างแจ้งที่สุด) ...
จะเห็นได้ว่า โองการข้างต้นนี้มีอยู่ 3 วรรคหรือสามประโยค เป็นการอธิบายอิดดะฮ์ของสตรีที่ถูกสามีหย่าร้าง โดยอธิบายว่า พวกนางมีสามลักษณะคือ ...
1. สตรีที่สิ้นหวังจากการมีประจำเดือน อิดดะฮ์ของพวกนางคือ สามเดือน ...
2. สตรีที่ยังไม่เคยมีประจำเดือน อิดดะฮ์ของพวกนางคือสามเดือนเช่นเดียวกัน ...
3. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ อิดดะฮ์ของพวกนางคือคลอดบุตร ...
อธิบาย
จากประโยคแรกที่ว่า وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ (และบรรดาสตรีจากภรรยาของพวกเจ้าที่สิ้นหวังจากประจำเดือน....................) ...
จะเห็นได้ว่า ประโยคนี้, ข้อความเพียงเท่านี้, หากไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า “ที่ถูกหย่าร้าง” ดังที่ผมเขียนไป ก็จะมีความหมาย “ครอบคลุม” ถึงสตรี “ทุกคน” ที่มีสามีและอยู่ในวัยทองว่า ให้พวกนางมีอิดดะฮ์ 3 เดือน และเมื่อครบอิดดะฮ์สามเดือนแล้ว นางก็สามารถนิกาห์ใหม่กับใครก็ได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงเลยว่าสามีของนางจะหย่าหรือไม่หย่านางก็ตาม ...
ซึ่งความหมายครอบคลุมนี้ลักษณะนี้ ขัดกับข้อเท็จจริงที่ว่า สตรีคนใด -ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน, สภาวะใดก็ตาม - หากสามียังไม่หย่า นางจะนิกาห์กับใครไม่ได้ ...
แสดงว่า ประโยคนี้หรือวรรคนี้ (และอีก 2 วรรคถัดมา) พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ได้ทรงตัด (مَحْذُوْفٌ) บางข้อความอันเป็นที่เข้าใจได้จากตอนเริ่มต้นซูเราะฮ์ที่พระองค์กล่าวถึงเรื่องการหย่าของสามีต่อภรรยา ...
ดังนั้น ความหมายหรือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประโยคนี้ก็คือ ...
وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ (الْمُطَلَّقَةِ)
(และบรรดาสตรีที่สิ้นหวังจากประจำเดือนจากภรรยาของพวกเจ้า “ที่ถูกหย่า” หากพวกเจ้าสงสัย (ในอิดดะฮ์ของพวกนาง) ................................)
นี่คือความจริงที่ใครๆก็ปฏิเสธไม่ได้ ...
ประโยคต่อมาที่ว่า وَاْللاَئِىْ لَمْ يَحْضِنَ (และบรรดาสตรีซึ่งไม่เคยมีประจำเดือน) และประโยคสุดท้ายที่ว่า وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ (บรรดาสตรีที่มีครรภ์) อันถูกเชื่อมโยง (مَعْطُوْفٌ) กับประโยคแรก ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือมีการตัดข้อความที่ว่า “จากภรรยาของพวกเจ้าที่ถูกหย่า” ออกทั้งสิ้น ...
นี่คือสิ่งปกติในภาษาอาหรับที่จะมีการตัด(مَحْذُوْفٌ) บางข้อความของประโยคหลังเพราะเป็นที่เข้าใจแล้วจากประโยคตอนต้นเพื่อความสละสลวยด้านภาษาและไม่เป็นการใช้คำพูดคำเดียวกันซ้ำซากหรือฟุ่มเฟือยจนเกินไป ...
ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิชาการ - ทั้งหมด - จึงไม่มีใครขัดแย้งกันเลยว่า อิดดะฮ์ของสตรีทั้งสามประเภทนี้ - จากโองการนี้ - ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ...
แต่มีผลมาจากการ “หย่า” ของ “สามี” ...
เพราะฉะนั้น ข้ออ้างของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่ว่า ...
“ไม่อนุญาตให้นิกาห์กับสตรีที่ตั้งครรภ์จากการซินาก่อนนางจะคลอดบุตร” และ ..“และแน่นอน พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงระบุอย่างชัดเจนแล้วว่า บรรดาสตรีที่มีครรภ์นั้น กำหนดของพวกนางก็คือการคลอดบุตรในครรภ์ของพวกนาง เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องยึดถือตามความหมายครอบคลุมกว้างๆนี้ ........”
ในทัศนะของผมจึงรับฟังไม่ขึ้น ...
เพราะเมื่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. กล่าวว่า أُولاَتُ اْلأَحْمَالِ (บรรดาสตรีที่มีครรภ์) พระองค์จะหมายถึง “สตรีมีครรภ์ที่มีสามีแล้วถูกสามีหย่า” ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ...
แล้วมันจะไปครอบคลุมถึงสตรีมีครรภ์ แต่ไม่มีสามีและไม่มีใครหย่าได้อย่างไร ?
นี่คือสิ่งที่ผมไม่เข้าใจ และนักวิชาการ “ส่วนใหญ่” ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้อย่างนี้
แต่ถ้ามีผู้ใดกล้ายืนยันว่าโองการนี้ครอบคลุม “ทุกสตรี” ที่มีครรภ์ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. “ทรงกล่าว” ไว้อย่างกว้างๆ จึงไม่จำเป็นต้องไปคำนึงถึง “เจตนารมณ์” ของพระองค์ดังที่กล่าวมา ...
ก็แสดงว่า ความหมายของโองการนี้ ครอบคลุมสตรีที่มีครรภ์ทุกคน ไม่ว่าสตรีมีครรภ์ที่ถูกสามีหย่า, สตรีมีครรภ์ที่สามีมิได้หย่า, สตรีมีครรภ์ที่สามีตาย และสตรีมีครรภ์จากการซินา ...
เพราะทุกคนคือ أُولاَتُ اْلأَحْمَالِ (สตรีมีครรภ์) อันเป็นคำกล่าวที่ครอบคลุมกว้างๆไม่มีขอบเขต .. ดังการอธิบายของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ ดังนั้นอิดดะฮ์ของพวกนางทุกคนคือคลอดบุตร! .. และเมื่อคลอดบุตรแล้วพวกนางก็หมดอิดดะฮ์ .. สามารถนิกาห์กับใครก็ได้ ...
ถ้าจะเอาความหมายครอบคลุมกันอย่างนี้ ผมก็อยากจะถามว่า ...
สตรีที่ “มีครรภ์” กับสามีโดยสามียังไม่หย่าและยังไม่ตาย นางจะต้องมีอิดดะฮ์ด้วยใช่หรือไม่ ? .. เพราะนางจัดเข้าอยู่ในความหมายกว้างๆของ “สตรีมีครรภ์” จากโองการนี้ด้วยตามคำกล่าวของท่าน ...
และหลังจากคลอดบุตรแล้ว นางก็สามารถนิกาห์กับผู้ชายอื่นได้(แม้สามีจะไม่หย่าและไม่ตาย) เพราะนางหมดอิดดะฮ์ (ตามนัยกว้างๆของโองการนั้น) แล้ว ใช่หรือไม่ ? ...
ถ้าปฏิเสธหรือตอบว่า ไม่ใช่และไม่ได้! .. ก็เท่ากับเรายอมรับความจริงว่า คำว่า “สตรีที่มีครรภ์” ในโองการนี้มิได้ครอบคลุม “ทุกๆสตรีที่มีครรภ์” อย่างที่เราเข้าใจ ..
ขนาดสตรีมีครรภ์, มีสามี, แต่สามียังไม่หย่า โองการนี้ยังครอบคลุมไปไม่ถึง ...
แล้วสตรีมีครรภ์ แต่ไม่มีสามี และไม่มีใครหย่า อย่างสตรีทำที่ซินา ...
โองการนี้จะไปครอบคลุมได้อย่างไร ?...
สิ่งที่พอจะเทียบเคียงและอยู่ในกรอบการ “ครอบคลุม” ของโองการนี้คล้ายกับสตรีมีครรภ์ที่สามีหย่าก็คือ สตรีมีครรภ์แล้วสามีตาย เพราะทั้งสองถูกพรากจากสามีเหมือนกัน ...
เพราะฉะนั้น สตรีมีครรภ์ที่สามีหย่า และสตรีมีครรภ์ที่สามีตาย อิดดะฮ์ของพวกนางจึงเหมือนกัน คือการคลอดบุตร ...
นี่คือคำอธิบายของนักอรรถาธิบายอัล-กุรฺอานแทบทุกท่านดังตัวอย่างที่จะถึง ...
ส่วนความขัดแย้งของนักวิชาการฟิกฮ์เกี่ยวกับอิดดะฮ์ของสตรีที่สามีตายขณะนางตั้งครรภ์ว่า จะเลือกนับระยะเวลาอิดดะฮ์อย่างไรระหว่างการคลอดบุตรกับสี่เดือนสิบวัน ผมจะไม่อธิบายรายละเอียด ณ ที่นี้ ...
เพราะฉะนั้น ...
ก. สตรีมีครรภ์ที่ “มีสามี” แต่ยังไม่มีการแยกหรือพรากจากกัน คือสามียังไม่หย่าและสามียังไม่ตาย ...
ข. สตรีที่มีครรภ์ แต่“ยังไม่มีสามี” (ก็หมายถึงสตรีที่มีครรภ์จากการซินานั่นแหละ .. ส่วนการหย่าไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีสามีที่จะหย่าให้) ...
สตรีทั้ง 2 ประเภทนี้ไม่จัดเข้าอยู่ในความหมายครอบคลุมของโองการนี้เพราะขาดเงื่อนไขร่วม 2 ประการของอิดดะฮ์ที่เข้าใจได้จากโองการนี้ คือต้อง “มีสามี” และต้อง “แยก” หรือพรากจากสามีด้วยการหย่า(หรือการตาย ดังได้กล่าวมาแล้ว) ...
(3). พยัญชนะวาว ( وَ : แปลว่า “และ”) ตอนเริ่มต้นโองการนี้ ไม่ใช่เป็น وَاوُاسْتِئْنَافِ الْبَيَانِ หรือวาวที่บ่งบอกว่าเป็นการเริ่มต้นประโยคใหม่เพื่อชี้แจงหุก่มอิดดะฮ์ของสตรีที่ ตั้งครรภ์เป็นการเฉพาะว่า “สตรีทุกคนที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะตั้งครรภ์จากสามีหรือตั้งครรภ์จากการซินา จะต้องมีอิดดะฮ์ และอิดดะฮ์ของพวกนางคือคลอดบุตร” ..
แต่ตามข้อเท็จจริง พยัญชนะวาวตัวนี้เป็น حَرْفُ الْعَطْفِ (คำสันธานหรือ Conjunction) .. คือพยัญชนะที่ใช้เชื่อมประโยคหลังกับประโยคหน้าหรือเชื่อมคำหลังกับคำหน้า เพื่อให้มีความหมายต่อเนื่องกันหรือมีหุก่มเดียวกัน ...
และ - ตามหลักวิชาไวยากรณ์ - ประโยคที่ว่า وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ ก็เป็นโองการที่เกี่ยวพันและเชื่อมโยง (عَطْفٌ) กับประโยคในโองการเดียวกันก่อนหน้านี้ อันได้แก่ประโยคแรกที่ว่า ..
وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ
“และบรรดาสตรีที่สิ้นหวังจากประจำเดือนจาก “ภรรยาของพวกเจ้า(ที่ถูกหย่า)” .. ดังที่อธิบายผ่านมาแล้ว ...
ดังนั้น ข้อความจริงๆและความหมายที่สมบูรณ์ของโองการนี้ตามหลักการกำหนดรูปประโยค (تَقْدِيْرُ الْكَلاَمِ) ของวิชาไวยากรณ์อาหรับ ก็คือ ...
وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ مِنْ نِسَآءِكُمْ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ
“และบรรดาสตรีจากภรรยาของพวกเจ้า (ที่ถูกหย่า) ที่ตั้งครรภ์ กำหนด (อิดดะฮ์) ของพวกนางก็คือ ให้พวกนางคลอดสิ่งที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง ....”
ความหมายของโองการนี้จึงจำกัดเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ที่มีสามีและสามีหย่าเท่านั้น
รวมความแล้ว โองการที่ 4 จากซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้ากจึงเป็นโองการที่กล่าวถึงเรื่องอิดดะฮ์ “ทั้ง 3 ลักษณะ” ของ “สตรีที่มีสามีแล้วถูกสามีหย่า” .. มิได้ครอบคลุมถึงสตรีที่มีสามีแต่สามีมิได้หย่า หรือสตรีที่ยังไม่มีสามี(สตรีที่ทำซินา) ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม .. ดังความเข้าใจของนักวิชาการบางท่าน ...
“และบรรดาสตรีจากภรรยาของพวกเจ้าที่(ถูกหย่าและ)สิ้นหวังจากประจำเดือน (คือวัยทอง) หากพวกเจ้าสงสัย (ในเรื่องอิดดะฮ์ของพวกนาง) ก็ (พึงรู้เถิดว่า) อิดดะฮ์ของพวกนางคือสามเดือน, และบรรดาสตรี(จากภรรยาของพวกเจ้าที่ถูกหย่า) ที่ไม่เคยมีประจำเดือน (อิดดะฮ์ของพวกนางก็คือสามเดือนเช่นเดียวกัน), และบรรดาสตรี (จากภรรยาของพวกเจ้าที่ถูกหย่า) ที่ตั้งครรภ์ กำหนด(อิดดะฮ์) ของพวกนางก็คือ ให้พวกนางคลอดสิ่งที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง ....”
(คำในวงเล็บทั้งหมดเป็นคำอธิบาย เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเจตนารมณ์และการเชื่อมต่อของทั้งสามประโยคที่กล่าวถึงอิดดะฮ์ของสตรีทั้งสามลักษณะอย่างกระจ่างแจ้งที่สุด) ...
จะเห็นได้ว่า โองการข้างต้นนี้มีอยู่ 3 วรรคหรือสามประโยค เป็นการอธิบายอิดดะฮ์ของสตรีที่ถูกสามีหย่าร้าง โดยอธิบายว่า พวกนางมีสามลักษณะคือ ...
1. สตรีที่สิ้นหวังจากการมีประจำเดือน อิดดะฮ์ของพวกนางคือ สามเดือน ...
2. สตรีที่ยังไม่เคยมีประจำเดือน อิดดะฮ์ของพวกนางคือสามเดือนเช่นเดียวกัน ...
3. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ อิดดะฮ์ของพวกนางคือคลอดบุตร ...
อธิบาย
จากประโยคแรกที่ว่า وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ (และบรรดาสตรีจากภรรยาของพวกเจ้าที่สิ้นหวังจากประจำเดือน....................) ...
จะเห็นได้ว่า ประโยคนี้, ข้อความเพียงเท่านี้, หากไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า “ที่ถูกหย่าร้าง” ดังที่ผมเขียนไป ก็จะมีความหมาย “ครอบคลุม” ถึงสตรี “ทุกคน” ที่มีสามีและอยู่ในวัยทองว่า ให้พวกนางมีอิดดะฮ์ 3 เดือน และเมื่อครบอิดดะฮ์สามเดือนแล้ว นางก็สามารถนิกาห์ใหม่กับใครก็ได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงเลยว่าสามีของนางจะหย่าหรือไม่หย่านางก็ตาม ...
ซึ่งความหมายครอบคลุมนี้ลักษณะนี้ ขัดกับข้อเท็จจริงที่ว่า สตรีคนใด -ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน, สภาวะใดก็ตาม - หากสามียังไม่หย่า นางจะนิกาห์กับใครไม่ได้ ...
แสดงว่า ประโยคนี้หรือวรรคนี้ (และอีก 2 วรรคถัดมา) พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ได้ทรงตัด (مَحْذُوْفٌ) บางข้อความอันเป็นที่เข้าใจได้จากตอนเริ่มต้นซูเราะฮ์ที่พระองค์กล่าวถึงเรื่องการหย่าของสามีต่อภรรยา ...
ดังนั้น ความหมายหรือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประโยคนี้ก็คือ ...
وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ (الْمُطَلَّقَةِ)
(และบรรดาสตรีที่สิ้นหวังจากประจำเดือนจากภรรยาของพวกเจ้า “ที่ถูกหย่า” หากพวกเจ้าสงสัย (ในอิดดะฮ์ของพวกนาง) ................................)
นี่คือความจริงที่ใครๆก็ปฏิเสธไม่ได้ ...
ประโยคต่อมาที่ว่า وَاْللاَئِىْ لَمْ يَحْضِنَ (และบรรดาสตรีซึ่งไม่เคยมีประจำเดือน) และประโยคสุดท้ายที่ว่า وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ (บรรดาสตรีที่มีครรภ์) อันถูกเชื่อมโยง (مَعْطُوْفٌ) กับประโยคแรก ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือมีการตัดข้อความที่ว่า “จากภรรยาของพวกเจ้าที่ถูกหย่า” ออกทั้งสิ้น ...
นี่คือสิ่งปกติในภาษาอาหรับที่จะมีการตัด(مَحْذُوْفٌ) บางข้อความของประโยคหลังเพราะเป็นที่เข้าใจแล้วจากประโยคตอนต้นเพื่อความสละสลวยด้านภาษาและไม่เป็นการใช้คำพูดคำเดียวกันซ้ำซากหรือฟุ่มเฟือยจนเกินไป ...
ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิชาการ - ทั้งหมด - จึงไม่มีใครขัดแย้งกันเลยว่า อิดดะฮ์ของสตรีทั้งสามประเภทนี้ - จากโองการนี้ - ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ...
แต่มีผลมาจากการ “หย่า” ของ “สามี” ...
เพราะฉะนั้น ข้ออ้างของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่ว่า ...
“ไม่อนุญาตให้นิกาห์กับสตรีที่ตั้งครรภ์จากการซินาก่อนนางจะคลอดบุตร” และ ..“และแน่นอน พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงระบุอย่างชัดเจนแล้วว่า บรรดาสตรีที่มีครรภ์นั้น กำหนดของพวกนางก็คือการคลอดบุตรในครรภ์ของพวกนาง เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องยึดถือตามความหมายครอบคลุมกว้างๆนี้ ........”
ในทัศนะของผมจึงรับฟังไม่ขึ้น ...
เพราะเมื่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. กล่าวว่า أُولاَتُ اْلأَحْمَالِ (บรรดาสตรีที่มีครรภ์) พระองค์จะหมายถึง “สตรีมีครรภ์ที่มีสามีแล้วถูกสามีหย่า” ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ...
แล้วมันจะไปครอบคลุมถึงสตรีมีครรภ์ แต่ไม่มีสามีและไม่มีใครหย่าได้อย่างไร ?
นี่คือสิ่งที่ผมไม่เข้าใจ และนักวิชาการ “ส่วนใหญ่” ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้อย่างนี้
แต่ถ้ามีผู้ใดกล้ายืนยันว่าโองการนี้ครอบคลุม “ทุกสตรี” ที่มีครรภ์ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. “ทรงกล่าว” ไว้อย่างกว้างๆ จึงไม่จำเป็นต้องไปคำนึงถึง “เจตนารมณ์” ของพระองค์ดังที่กล่าวมา ...
ก็แสดงว่า ความหมายของโองการนี้ ครอบคลุมสตรีที่มีครรภ์ทุกคน ไม่ว่าสตรีมีครรภ์ที่ถูกสามีหย่า, สตรีมีครรภ์ที่สามีมิได้หย่า, สตรีมีครรภ์ที่สามีตาย และสตรีมีครรภ์จากการซินา ...
เพราะทุกคนคือ أُولاَتُ اْلأَحْمَالِ (สตรีมีครรภ์) อันเป็นคำกล่าวที่ครอบคลุมกว้างๆไม่มีขอบเขต .. ดังการอธิบายของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ ดังนั้นอิดดะฮ์ของพวกนางทุกคนคือคลอดบุตร! .. และเมื่อคลอดบุตรแล้วพวกนางก็หมดอิดดะฮ์ .. สามารถนิกาห์กับใครก็ได้ ...
ถ้าจะเอาความหมายครอบคลุมกันอย่างนี้ ผมก็อยากจะถามว่า ...
สตรีที่ “มีครรภ์” กับสามีโดยสามียังไม่หย่าและยังไม่ตาย นางจะต้องมีอิดดะฮ์ด้วยใช่หรือไม่ ? .. เพราะนางจัดเข้าอยู่ในความหมายกว้างๆของ “สตรีมีครรภ์” จากโองการนี้ด้วยตามคำกล่าวของท่าน ...
และหลังจากคลอดบุตรแล้ว นางก็สามารถนิกาห์กับผู้ชายอื่นได้(แม้สามีจะไม่หย่าและไม่ตาย) เพราะนางหมดอิดดะฮ์ (ตามนัยกว้างๆของโองการนั้น) แล้ว ใช่หรือไม่ ? ...
ถ้าปฏิเสธหรือตอบว่า ไม่ใช่และไม่ได้! .. ก็เท่ากับเรายอมรับความจริงว่า คำว่า “สตรีที่มีครรภ์” ในโองการนี้มิได้ครอบคลุม “ทุกๆสตรีที่มีครรภ์” อย่างที่เราเข้าใจ ..
ขนาดสตรีมีครรภ์, มีสามี, แต่สามียังไม่หย่า โองการนี้ยังครอบคลุมไปไม่ถึง ...
แล้วสตรีมีครรภ์ แต่ไม่มีสามี และไม่มีใครหย่า อย่างสตรีทำที่ซินา ...
โองการนี้จะไปครอบคลุมได้อย่างไร ?...
สิ่งที่พอจะเทียบเคียงและอยู่ในกรอบการ “ครอบคลุม” ของโองการนี้คล้ายกับสตรีมีครรภ์ที่สามีหย่าก็คือ สตรีมีครรภ์แล้วสามีตาย เพราะทั้งสองถูกพรากจากสามีเหมือนกัน ...
เพราะฉะนั้น สตรีมีครรภ์ที่สามีหย่า และสตรีมีครรภ์ที่สามีตาย อิดดะฮ์ของพวกนางจึงเหมือนกัน คือการคลอดบุตร ...
นี่คือคำอธิบายของนักอรรถาธิบายอัล-กุรฺอานแทบทุกท่านดังตัวอย่างที่จะถึง ...
ส่วนความขัดแย้งของนักวิชาการฟิกฮ์เกี่ยวกับอิดดะฮ์ของสตรีที่สามีตายขณะนางตั้งครรภ์ว่า จะเลือกนับระยะเวลาอิดดะฮ์อย่างไรระหว่างการคลอดบุตรกับสี่เดือนสิบวัน ผมจะไม่อธิบายรายละเอียด ณ ที่นี้ ...
เพราะฉะนั้น ...
ก. สตรีมีครรภ์ที่ “มีสามี” แต่ยังไม่มีการแยกหรือพรากจากกัน คือสามียังไม่หย่าและสามียังไม่ตาย ...
ข. สตรีที่มีครรภ์ แต่“ยังไม่มีสามี” (ก็หมายถึงสตรีที่มีครรภ์จากการซินานั่นแหละ .. ส่วนการหย่าไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีสามีที่จะหย่าให้) ...
สตรีทั้ง 2 ประเภทนี้ไม่จัดเข้าอยู่ในความหมายครอบคลุมของโองการนี้เพราะขาดเงื่อนไขร่วม 2 ประการของอิดดะฮ์ที่เข้าใจได้จากโองการนี้ คือต้อง “มีสามี” และต้อง “แยก” หรือพรากจากสามีด้วยการหย่า(หรือการตาย ดังได้กล่าวมาแล้ว) ...
(3). พยัญชนะวาว ( وَ : แปลว่า “และ”) ตอนเริ่มต้นโองการนี้ ไม่ใช่เป็น وَاوُاسْتِئْنَافِ الْبَيَانِ หรือวาวที่บ่งบอกว่าเป็นการเริ่มต้นประโยคใหม่เพื่อชี้แจงหุก่มอิดดะฮ์ของสตรีที่ ตั้งครรภ์เป็นการเฉพาะว่า “สตรีทุกคนที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะตั้งครรภ์จากสามีหรือตั้งครรภ์จากการซินา จะต้องมีอิดดะฮ์ และอิดดะฮ์ของพวกนางคือคลอดบุตร” ..
แต่ตามข้อเท็จจริง พยัญชนะวาวตัวนี้เป็น حَرْفُ الْعَطْفِ (คำสันธานหรือ Conjunction) .. คือพยัญชนะที่ใช้เชื่อมประโยคหลังกับประโยคหน้าหรือเชื่อมคำหลังกับคำหน้า เพื่อให้มีความหมายต่อเนื่องกันหรือมีหุก่มเดียวกัน ...
และ - ตามหลักวิชาไวยากรณ์ - ประโยคที่ว่า وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ ก็เป็นโองการที่เกี่ยวพันและเชื่อมโยง (عَطْفٌ) กับประโยคในโองการเดียวกันก่อนหน้านี้ อันได้แก่ประโยคแรกที่ว่า ..
وَاْللاَئِىْ يَئِسْنَ مِنَ الْمَحِيْضِ مِنْ نِسَآءِكُمْ
“และบรรดาสตรีที่สิ้นหวังจากประจำเดือนจาก “ภรรยาของพวกเจ้า(ที่ถูกหย่า)” .. ดังที่อธิบายผ่านมาแล้ว ...
ดังนั้น ข้อความจริงๆและความหมายที่สมบูรณ์ของโองการนี้ตามหลักการกำหนดรูปประโยค (تَقْدِيْرُ الْكَلاَمِ) ของวิชาไวยากรณ์อาหรับ ก็คือ ...
وَأُولاَتُ اْلأَحْمَالِ مِنْ نِسَآءِكُمْ أَجَلُهُنَّ أَنْ يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ
“และบรรดาสตรีจากภรรยาของพวกเจ้า (ที่ถูกหย่า) ที่ตั้งครรภ์ กำหนด (อิดดะฮ์) ของพวกนางก็คือ ให้พวกนางคลอดสิ่งที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง ....”
ความหมายของโองการนี้จึงจำกัดเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ที่มีสามีและสามีหย่าเท่านั้น
รวมความแล้ว โองการที่ 4 จากซูเราะฮ์อัฏ-ฏอล้ากจึงเป็นโองการที่กล่าวถึงเรื่องอิดดะฮ์ “ทั้ง 3 ลักษณะ” ของ “สตรีที่มีสามีแล้วถูกสามีหย่า” .. มิได้ครอบคลุมถึงสตรีที่มีสามีแต่สามีมิได้หย่า หรือสตรีที่ยังไม่มีสามี(สตรีที่ทำซินา) ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม .. ดังความเข้าใจของนักวิชาการบางท่าน ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น