เรื่อง “บิดอะฮ์” เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของผู้ถูกกล่าวหา
มิใช่ว่า ทุกอย่างที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำแล้วมีผู้มากระทำทีหลัง จะเป็น “บิดอะฮ์ ฎอลาละฮ์” ไปเสียทั้งหมด .. ดังความเข้าใจผิดๆของประชาชนจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ ...
ทว่า .. เรื่องนี้จำเป็นต้องอาศัยบรรทัดฐานทางวิชาการ และความหมาย “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” มาพิจารณาประกอบด้วยทุกครั้งจึงจะตัดสินได้ว่า สิ่งนั้นเป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามหรือไม่ ...
หากสิ่งใดก็ตามที่เมื่อ “หลักการและบรรทัดฐานของวิชาการ” บ่งชี้ว่าเป็น “บิดอะฮ์ตัองห้าม” แล้ว ต่อให้คนส่วนมาก – ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ - มองว่าเป็นเรื่องที่ดี, ... และ/หรือมีผู้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ปฏิบัติมันมากมายสักเพียงใด ก็ไม่อาจจะทำให้สิ่งนั้น “สูญสิ้นสภาพความเป็นบิดอะฮ์ต้องห้าม” ของมัน ไปได้ไม่ ......
เท่าๆกับสิ่งใดก็ตามที่หากว่า ตามหลักการมันมิใช่เป็นเรื่องบิดอะฮ์ต้องห้าม ต่อให้มีผู้คน – ไม่ว่า กี่หมื่นกี่แสนคน -- กล่าวหาว่ามันเป็นบิดอะฮ์ ก็ไม่มีวันจะทำให้มันกลับกลายเป็นบิดอะฮ์ขึ้นมาเพราะคำกล่าวหานั้นได้ และผู้ที่กำลังปฏิบัติสิ่งนั้นอยู่ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจหรือวิตกทุกข์ร้อนต่อคำกล่าวหาใดๆ, ของผู้ใด .. ทั้งสิ้น
ข้อชี้ขาดความเป็นบิดอะฮ์หรือไม่เป็นบิดอะฮ์ของสิ่งใด จึงมิใช่อยู่ที่ลมปากของผู้กล่าวหาหรือผู้คัดค้าน ...
แต่อยู่ที่ว่า ลักษณะหรือพฤติการณ์ของสิ่งที่กระทำนั้น ตรงกับความหมาย “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือ “บิดอะฮ์ต้องห้าม” ตามบรรทัดฐานทางวิชาการ .. หรือไม่ ? ต่างหาก ...
ถ้าไม่ตรง ท่านก็ไม่ควรหุก่มใครว่าทำบิดอะฮ์ต้องห้าม .. หรือถ้าตรง ผู้กระทำก็ต้องยอมรับความจริงว่า ท่านกำลังทำบิดอะฮ์ต้องห้าม ...
เพราะฉะนั้น ผมจึงขอถาม - ไม่ว่าผู้กล่าวหาหรือผู้คัดค้านเรื่องบิดอะฮ์ - ว่า
ก่อนที่จะหุก่มใคร หรือก่อนที่จะคัดค้านใคร ...
ท่านเข้าใจความหมาย “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ต้องห้าม .. ดีแล้วหรือยัง ??? ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น