อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

การล้างทำความสะอาด กรณีร่างกาย หรือเสื้อผ้าสัมผัสน้ำลายสุนัข


:ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย


ถาม
อาจารย์ครับ ถ้าตัวเรา หรือเสื้อผ้าของเราโดนตัวสุนัขที่เปียกน้ำ หรือโดนน้ำลายสุนัขต้องล้าง 1 น้ำดิน 7 น้ำเปล่า หรือน้ำเดียวก็พอละครับ

ตอบ
ในกรณีของสุนัขนั้น ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ได้กล่าวในหนังสือ "อัล-มัจญมุอฺ" เล่มที่ 2 หน้า 586 มีข้อความซึ่งผมขอแปลให้ฟังดังนี้ .. "บรรดานักวิชาการมัษฮับของเรา (มัษฮับชาฟิอีย์) กล่าวว่า ไม่มีข้อจำแนกระหว่างการเลียของสุนัขกับ(การสัมผัส)ส่วนอื่นๆของมัน(ในแง่ต้องล้างเจ็ดครั้ง) เพราะฉะนั้น เมื่อปัสสาวะ หรืออุจจาระ หรือเลือด หรือเหงื่อ หรือขน หรือน้ำลายสุนัข ไปสัมผัสกับสิ่งใดที่สะอาด (เช่นเสื้อผ้าของเรา) ขณะที่ด้านใดจากสองด้านนั้น (คือด้านส่วนต่างๆของสุนัขที่กล่าวมาแล้ว และด้านสิ่งอื่นที่สะอาดอื่นเช่นเสื้อผ้า) อยู่ในสภาพเปียก ก็วายิบต้องล้างเจ็ดครั้งโดยครั้งใดก็ได้ให้ใช้ดิน .........

มีผู้กล่าวว่า เพียงพอแล้วในการล้าง "ส่วนอื่นจากการเลีย" นั้น "แค่ครั้งเดียว" เหมือนกับ (การล้าง) นะยิสอื่นๆ (นี่เป็น) สิ่งที่ที่อัล-มุตะวัลลีย์และท่านอัรฺ-รอฟิอีย์ บอกเล่ามา และแนวทางนี้ เป็นแนวทางที่ยึดถือได้ และมีน้ำหนักแข็งแรงในแง่ของหลักฐาน เพราะคำสั่งที่ใช้ให้ล้าง 7 ครั้งจากการเลีย(ของสุนัข) นั้น มิใช่เพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อให้หลีกเลี่ยงจากการบริโภคร่วมกับ (น้ำลาย) สุนัขเท่านั้น ......."

ข้อที่น่าสังเกตุก็คือ ปกติ คำว่า قيل (มีผู้กล่าวว่า) ตามหลักวิชาการจะถือเป็นคำกล่าวที่ขาดน้ำหนัก แต่ในกรณีนี้ ท่านอิหม่ามนะวะวีย์กลับถือว่า เป็นคำพูดที่ "มีน้ำหนักแข็งแรงในแง่ของหลักฐาน" จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง และผมขอฝากให้ผู้อ่านทุกท่าน นำไปพิจารณาด้วยตัวของท่านเอง โดยผมจะไม่ขอชี้นำใดๆทั้งสิ้นครับ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น