อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

ระยะเวลาที่สามารถละหมาดรวมย่อขณะเดินทาง


ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม

อัสลามูอาลัยกุม อ.ครับละหมาดย่อ อิชา อ่านดังหรืออ่านค่อยครับ และขณะเดินทางสามารถย่อรวมได้ตลอดเลยใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะกี่วันก็ตามหรือมีกำหนดวันที่สามารถย่อได้ช่วยอธิบายหน่อยครับ ยาซากัลลอฮุฆอยร็อน

ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม .. การนมาซที่อ่านเสียงดัง มันไม่เกี่ยวกับอยู่บ้านหรือเดินทาง หมายความว่า ไม่ว่าจะนมาซยามอยู่บ้านหรือนมาซย่อขณะเดินทาง ก็ต้องอ่านเสียงดังตามปกติครับ ..
สำหรับการนมาซย่อขณะอยู่ในภาวะเดินทางนั้นผมเคยตอบไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อไม่นานมานี้เอง
ซึ่งสรุปว่า ถ้าเรามีกำหนดเวลากลับจากการเดินทางที่แน่นอนชัดเจนแล้ว ระหว่างนั้นเราก็สามารถนมาซย่อได้ตลอดโดยไม่จำกัดวัน
แต่ถ้ายังไม่กำหนดวันกลับที่แน่นอน อย่างเช่นนักเรียนที่ไปเรียนต่างประเทศหรือต่างจังหวัด เป็นต้นก็ต้องนมาซครบตามปกติ ..
ส่วนนมาซรวมเป็นคนละกรณีกับนมาซย่อนะครับ เพราะนมาซย่อเป็นเรื่องของคนเดินทางโดยเฉพาะ แต่นมาซรวมสามารถทำได้ทั้งคนเดินทางและคนอยู่ที่บ้านถ้าเขาไม่สะดวกหรือมีอุปสรรคต่อการจะทำแต่ละนมาซในเวลาของมัน เขาก็สามารถนมาซรวมในเวลาใดเวลาหนึ่งได้สุดแต่ความสะดวกของเขา แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆคือ ไม่ลำบากอะไรในการจะทำแต่ละนมาซในเวลาของมัน แม้กระทั่งคนเดินทางก็อย่านมาซรวมครับ
ทั้งนี้เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสไว้ในซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ อายะฮ์ที่ 103 ว่า .. "แท้จริง การนมาซนั้นเป็นบทบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แล้วสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา" .ซึ่งคำว่า "ถูกกำหนดเวลา" บ่งบอกความหมายว่า ตามปกติ เราจะทำนมาซใดก่อนหรือหลังเวลาไม่ได้ทั้งสิ้น . เพราะฉะนั้น การนมาซรวม - ไม่ว่าจะรวมในเวลาก่อนหรือเวลาหลัง -
จึงเป็นเพียงรุคเศาะฮ์หรือข้อผ่อนผันสำหรับผู้ไม่สะดวกจะทำนมาซในเวลาดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น
...วัลลอฮุ อะอฺลัมครับ ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น