อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

คนที่มีความสามารถจะจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺแต่ไม่ยอมจ่าย


คนที่มีความสามารถที่จะจ่ายซะกาตแต่ไม่ยอมจ่าย ย่อมมีบาปแน่นอนครับฐานฝ่าฝืนข้อบังคับของศาสนา แต่จะหนักหนาสาหัสขนาดไหน พระองค์อัลลอฮ์เท่านั้นจะเป็นผู้ทรงกำหนด
ส่วนคนยากจนที่ขาดแคลนจริงๆ ศาสนาก็อนุโลมให้เขาไม่ต้องจ่ายฟิฏเราะฮ์อยู่แล้ว ตรงกันข้าม มีแต่เขาจะเป็นผู้คอยรับซะกาตจากผู้อื่นเท่านั้นครับ ...
พระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า
((لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا]
“อัลลอฮฺจะไม่บังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถที่มีอยู่ของชีวิตนั้น”
สูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายัต 286
อิหม่ามนะวาวีย์ได้ระบุคำพูดของ อัชชิรอซีย์ ว่า
وَلَا تَجِبُ إلَّا عَلَى مَنْ فَضَلَ عَنْ قُوتِهِ وَقُوتِ مَنْ تَلْزَمُهُ نَفَقَتُهُ وَقْتَ الْوُجُوبِ مَا يُؤَدِّي فِي الْفِطْرَةِ ، فَإِنْ لَمْ يَفْضُلْ عَنْ نَفَقَتِهِ شَيْءٌ لَمْ تَلْزَمْهُ ; لِأَنَّهُ غَيْرُ قَادِرٍ
และไม่จำเป็น นอกจาก บนผู้ที่อาหารของเขาและอาหารของผู้ที่เขามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู เหลือ ในเวลาที่จำเป็นต้องจ่าย ในซะกาตฟิตเราะฮ เพราะว่าเขาไม่มีความสามารถ – อัลมัจญมัวะ เล่ม ๖ หน้า ๖๓
และท่านอิหม่ามนะวาวีย์ได้กล่าวอีกว่า
قال ابن المنذر : وأجمعوا على أن من لا شيء له فلا فطرة عليه
อิบนุมันซีร กล่าวว่า พวกเขา(นักวิชาการ) มีมติเอกฉันท์ ว่า ผู้ที่ไม่มีสิ่งใดๆเลยสำหรับเขา ก็ไม่มีการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ บนเขาผู้นั้น - อัลมัจญมัวะ เล่ม ๖ หน้า ๖๘
.............................
อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น