อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

การพักหลังจาก 4 ร็อกอัตละหมาดตะรอเวียะฮ์ แล้วมาบรรยายเรื่องราวของซูเราะห์ในอัลกุรอาน


ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

คำถาม
มีหลักฐานมั้ยครับว่า กรณีทำตะรอเวียะ 8 ร็อกอัติ ช่วงที่พักหลังจาก 4 ร็อกอัติ แล้วมาบรรยายเรื่องราวของซูเราะห์ที่อ่านที่ผ่านมาครับ

คำตอบ
เรื่องการสอนและการตักเตือน เป็นบทบัญญัติสำหรับผู้รู้ แต่วิธีการ, เวลา และสถานที่ ศาสนาไม่ได้กำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับกาละเทศะของแต่ละคน เพราะฉะนั้นรูปแบบการสอนจึงมีทั้งแบบปอเนาะ, แบบโรงเรียน, แบบเขียนหนังสือ, แบบบรรยาย ฯลฯ
การที่มีการสอนกันหลังจากร็อกอะฮ์ที่ 8 ของละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ ผมมองว่าไม่มีใครยึดถือว่าเป็นบทบัญญัติของศาสนาหรอกครับ แต่มันขึ้นอยู่กับการถือโอกาสอันเหมาะสมในการสอนมากกว่า คือ เวลานั้นผู้ละหมาดจะได้ถือโอกาสพักผ่อนไปในตัวด้วย ซึ่งสมมุติหากจะไปสอนกันหลังละหมาดตะรอเวี๊ยะห์เสร็จแล้ว ทุกคนต่างรีบกลับบ้านกัน แล้วจะเหลือคนฟังสักกี่คนครับ ? ...
ส่วนการขอดุอาก็คงไม่มีปัญหาเช่นกันครับ ตราบใดที่เราไม่กระทำโดยเข้าใจว่ามันเป็นซุนนะฮ์เหมือนที่ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจ อย่างชาวมักกะฮ์สมัยก่อน พอละหมาดได้ 4 ร็อกอะฮ์พวกเขาก็หยุดละหมาดไปฏอว้าฟบัยตุ้ลลอฮ์เสียทีหนึ่ง จนเป็นที่มาของคำว่า "ตะรอเวี๊ยะห์" คือ การหยุดพัก ถึงทุกวันนี้ไงครับ
ลำพังการขอดุอาหลังละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ ถ้าใครจะมองว่าเป็นบิดอะฮ์ ก็ยังเป็นบิดอะฮ์น้อยกว่าการฏอว้าฟเมื่อละหมาดได้ 4 ร็อกอะฮ์ของชาวมักกะฮ์นะครับ
ผมถึงบอกว่าไม่เป็นไรตราบใดที่เราไม่มองว่าเป็นการกำหนดของท่านนบีย์หรือเป็นซุนนะฮ์ แต่ที่ผมเป็นห่วงก็คือชาวบ้านที่กระทำสิ่ง "เพิ่มเติม" หลายอย่างเหล่านั้นเข้าใจว่า สิ่งที่พวกเขากระทำอยู่คือซุนนะฮ์ของท่านนบีย์นะซีครับ

والله أعلم بالصواب


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น