อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ช่วงเวลาการเนียต



ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม
อัสลามูอาลัยกุม ค่ะ อาจารย์ ดิฉันสงสัยเรื่องการเหนียตนิดหนึ่งค่ะ ที่เคยศึกษามา สำหรับศิลอดเดือนรอมาฎอน ให้มีเหนียตช่วงก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮี หากอาบน้ำละหมาดขณะจะล้างหน้า หากละหมาด ขณะยกมือกล่าวตักบีรร่อตุลเอียะหฺรอม จึงอยากทราบว่าหากเราเหนียตก่อนล้างมือ หรือก่อนยกมือตักบีรฺได้หรือไม่ค่ะ(เช่น เหนียตละหมาดมาตั้งแต่เดินมายังมัสยิด หรือเมื่ออาบนำละหมาดเสร็จ) และหากเหนียตขณะตักบีรฺยังไม่ครบ แต่เหนียตเสร็จเมื่อเอามือกอดอกแล้ว ละหมาดนั้นจะใช้ได้ไหมค่ะ
และการเหนียตต้องระบุครบที่กำหนดและตามลำดับไหมค่ะ เช่น ละหมาดซุฮีย์โดยเป็นมะมูม หากเหนียตเพียงละหมาดซุฮ์รี 4 ร็อกอะฮ์ โดยไม่เหนียตส่วนอื่นอีก หรือเหนียตว่าข้าพเจ้าละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ก่อนเหนียตละหมาดซุฮรีฮ์ การเหนียตเช่นนี้ใช้ได้ไหมค่ะ (เคยได้ยินคำว่าตะยีนส่วนหนึ่งของการเหนียต)
และยังสงสัยว่าการเหนียตนี้ต้องนึกในใจ หรือต้องกล่าวออกมา หรือต้องกล่าวพร้อมนึกในใจค่ะ เคยได้ยินว่า การกล่าวออกมาซึ่งเป็นคำเหนียต ขณะยืนตรงตรงก่อนยกมือตักบีรฺ ยังไม่เข้าเวลาละหมาดทำได้ และกียาสกับหะดิษที่นบีศิลอดสุนัต และตอนทำฮัจญ์ การกล่าวคำเหนียตนั้นเป็นผลดีเป็นที่ส่งเสริมกับผู้ละหมาด ผู้อาบน้ำละหมาด และถือศิลอด คือจะทำให้จิตใจมั่นคง มีสมาธิ ไม่วอกแวก และเป็นเพียงสุนัตไม่ใช่วาญิบ และไม่ใช่บิดอะฮฺลุ่มหลง คำกล่าวเช่นนี้ถูกต้องไม่ค่ะ
ดิฉันเคยเห็นผู้ละหมาดหลายคน กล่าวคำเหนียตดังมาก และยกมือตักบีรฺหลายครั้ง เคยตามละหมาด อีหม่ามตักบีรฺ ก็ยกมือตักบีรฺตาม แต่อีหม่ามกลับออกและยกมือตักบีรฺใหม่ ต้องรอจนกว่าอีหม่ามกอดอกและกล่าวดุอาอ์แล้วจึงยกมือกล่าวตักบีรฺตามค่ะ

ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม ..
เรื่องการเนียตถือศีลอด มีคำสั่งชัดเจนจากท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมให้เราเนียตหรือตั้งเจตนาจะถือศีลอดตั้งแต่ตอนกลางคืน คือ ก่อนแสงอรุณจะปรากฏขึ้น ..
ส่วนการเนียตละหมาด ทัศนะของมัษฮับชาฟิอีย์กล่าวว่าให้เนียต "พร้อม" กับการกล่าวตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอม
ขณะที่อีก 3 มัษฮับคือมัษฮับหะนะฟีย์, มัษฮับมาลิกีย์ และมัษฮับหัมบะลีย์กล่าวว่า อนุญาตให้เนียต "ก่อนตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอมเล็กน้อย" ได้ ดังข้อมูลในหนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อะลัลมะษาฮิบ อัล-อัรฺบะอะฮ์
ผมจึงเห็นว่า ถ้าเราเนียตละหมาดตอน "ยืนตรง" ก่อนตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอมนั่นแหละครับจะเหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์จากคำกล่าวของทั้งสามมัษฮับมากที่สุด
ส่วนผู้ที่กล่าวว่า เราเนียตมาจากบ้านก็ได้ ผมว่ามัน "เว่อร์" เกินไปครับ แม้จะไม่มีหลักฐานห้ามก็ตาม ...
ส่วนการกล่าว
"อุศ็อลลีย์ ......... ก่อนการตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอมในทุกๆละหมาด
เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐาน
ซึ่งท่านอิหม่ามนะวะวีย์นักวิชาการมัษฮับชาฟิอีย์เองยังกล่าวว่า ที่มาของการอ่านอุศ็อลลีย์ เกิดจากความเข้าใจผิดของนักวิชาการบางคนในมัษฮับชาฟิอีย์ต่อคำกล่าวของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์เรื่องการกล่าวตัลบิยะฮ์ในการทำหัจญ์
ผมจึงเห็นว่า องค์ประกอบของอิบาดะฮ์ใดที่ไม่มีหลักฐานรองรับ เราก็ไม่ควรนำมาปฏิบัติ และนักวิชาการจำนวนมากก็หุก่มว่า การอ่านอุศ็อลลีย์ก่อนการตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอมเป็นบิดอะฮ์ครับ ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น