อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง
2. เพราะพวกท่านมองว่า “วิธีการ” ที่ถูกต้องที่สุดและดีที่สุด ในการแสดงความ รักต่อท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ “การปฏิบัติตามซุนนะฮ์” ของท่าน มิใช่แสดงความรักด้วยวิธีการที่ “อุตริขึ้นมาเอง” โดยพลการ, มิหนำซ้ำยังเป็น “วิธีการ” ที่เลียนแบบพวกคริสเตียนดังเหตุผลข้อแรกอีกต่างหาก .....
ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ร.ฎ. เคยกล่าวไว้ว่า ...
( إتَّبِعُوْا وَلاَ تَبْتَدِعُوْا ! فَقَدْ كُفِيْتُمْ )
“พวกท่านจงปฏิบัติตาม, และพวกท่านจงอย่าได้อุตริเป็นอันขาด! แน่นอน พวกท่านถูก ( กำหนดซุนนะฮ์ ) ให้, ( เพื่อการปฏิบัติ ) จนเพียงพอแล้ว” ...
( บันทึกโดย ท่านวะเกี๊ยะอฺ ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” เล่มที่ 2 หน้า 590 (หมายเลข 315), ท่านอะห์มัด ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” หน้า 162, ท่านอัด-ดาริมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 80, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “อัส-ซุนนะฮ์” หน้า 23, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อลฯ” หมายเลข 204 ) .....
ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ร.ฎ. เคยกล่าวไว้ว่า ...
( إتَّبِعُوْا وَلاَ تَبْتَدِعُوْا ! فَقَدْ كُفِيْتُمْ )
“พวกท่านจงปฏิบัติตาม, และพวกท่านจงอย่าได้อุตริเป็นอันขาด! แน่นอน พวกท่านถูก ( กำหนดซุนนะฮ์ ) ให้, ( เพื่อการปฏิบัติ ) จนเพียงพอแล้ว” ...
( บันทึกโดย ท่านวะเกี๊ยะอฺ ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” เล่มที่ 2 หน้า 590 (หมายเลข 315), ท่านอะห์มัด ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” หน้า 162, ท่านอัด-ดาริมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 80, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “อัส-ซุนนะฮ์” หน้า 23, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อลฯ” หมายเลข 204 ) .....
3. เพราะพวกท่านรู้ดีว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รังเกียจพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นการประจบสอพลอ หรือการให้เกียรติท่านจนเลยเถิด ....
ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ได้กล่าวว่า ...
( مَاكَانَ فِي الدُّنْـيَا شَخْصٌ أَحَبَّ إلَيْهِمْ رُؤْيَةً مِنْ رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَكَانُوْا إذَا رَأَوْهُ لَمْ يَقُوْمُوْااَـهُ لِمَا كَانُوْا يَعْلَمُوْنَ مِنْ كَرَاهِيَتِهِ لِذَلِكَ )
“ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้ ผู้ซึ่งพวกเขา ( เศาะหาบะฮ์ ) อยากจะเจอหน้ายิ่งไปกว่าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ทว่า, เมื่อพวกเขาเจอท่าน พวกเขาจะไม่เคยยืนขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติท่าน เนื่องจากพวกเขารู้ว่าท่านรังเกียจพฤติการณ์ดังกล่าวนี้” .......
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” หะดีษที่ 946, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2754, ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล-อาษารฺ” หะดีษที่ 1276, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 132, และท่านอบู ยะอฺลา ในหนังสือ “อัล-มุสนัด” หะดีษที่ 183/2 ) ....
นับประสาอะไรกับ “การยืนให้เกียรติ” ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสามัญเหลือเกินในปัจจุบัน ที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยังรังเกียจ, แล้วการจัดงานฉลองวันเกิดให้แก่ท่านซึ่งมันเอิกเกริกยิ่งกว่าการยืนให้เกียรติหลายเท่า .. ( สมมุติว่า เกิดมีเศาะหาบะฮ์ท่านใด จัดให้แก่ท่านในขณะท่านยังมีชีวิตอยู่ ) .. ท่านจะไม่มองว่า มัน “เลยเถิด” และน่ารังเกียจยิ่งไปกว่าหรือ ? ...
หรือท่านคิดว่า ท่านนบีย์ฯ คงจะภูมิใจและปลื้มใจสุดๆกับพิธีกรรมดังกล่าว ? ..
สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รังเกียจ, ไม่ชอบ.. ( ไม่ว่าเพราะเหตุผลใดก็ตาม) สมควรแล้วหรือที่เรา – มุสลิมผู้มีอีหม่านจะปฏิบัติมัน ? ....
ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักวิชาการจำนวนมาก,-- ทั้งในอดีตและปัจจุบัน -- ที่ได้เขียนหนังสือ เกี่ยวกับเรื่องการเป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจของการจัดงานเมาลิด, เท่าที่ผมพอจะทราบก็มีอาทิเช่น ... ท่านอัล-มักรีซีย์ ในหนังสือ “อัล-คุฏ็อฏ” ( اَلْخُطَطُ ), ท่านก็อลเกาะชันดี้ ในหนังสือ “ศุบหัล อะอฺชาอ์”, ท่านซันดูบีย์ ในหนังสือ “ตารีค อัล-เอี๊ยะห์ติฟาล บิล เมาลิดฯ”, ท่านมุหัมมัด บิน บะคีต อัล-มุฏีอีย์ ในหนังสือ “อะห์ซัน อัล-กะลาม”, ท่านอะลีย์ ฟิกรีย์ ในหนังสือ “อัล-มุหาเฎาะรอต”, ท่านอะลีย์ มะห์ฟูศ ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺฯ”, ท่าน ดร. อิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ในหนังสือ “อัล-เกาลุลฟัศลุ ฟีย์ หุกมิล เอี๊ยะห์ติฟาล บิเมาลิดิ ค็อยริรฺ รุซุล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม”, ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มะเนียะอฺ ในหนังสือ “หิวารฺ มะอัล มาลิกีย์”, ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” .... ฯลฯ. .......
ในที่นี้ ผมขอนำคำพูดของท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 728) ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 123 – 124 มาให้อ่านกันดังนี้ .....
( وَكَذَلِكَ مَايُحْدِثُـهُ بَعْضُ النَّاسِ، إمَّا مُضَاهَاةً لِلنَّصَارَى فِيْ مِيْلاَدِ عِيْسَى عَلَيْهِ السَّلاَمُ، وَإمَّا مَحَبَّةً لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَعْظِيْمًا، وَاللَّـهُ قَدْ يُثِيْبُهُمْ عَلَى هَذِهِ الْمَحَبَّةِ وَاْلإجْتِهَادِ، لاَ عَلَى الْبِدْعَـةِ مِنِ اتِّخَـاذِ مَوْلِدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِيْدًا، مَعَ اخْتِلاَفِ النَّاسِ فِيْ مَوْلِدِهِ، فَإنَّ هَذَا لَمْ يَفْعَلْـهُ السَّلَفُ، مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِيْ لَـهُ وَعَدَمِ الْمَانِعِ مِنْهُ، لَوْكَانَ خَيْرًا مَحْضًا أَوْرَاجِحًا لَكَانَ السَّلَفُ رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُمْ أَحَقَّ بِـهِ مِنَّا، فَإنَّـهُمْ كَانُوْا أَشَدَّ مَحَبَّةً لِرَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَعْظِيْمًا لَـهُ مِنَّا، وَهُمْ عَلَى الْخَيْرِ أَحْرَصَ ....
وَإنَّمَا كَمَالُ مَحَبَّتِـهِ وَتَعْظِيْمِهِ فِيْ مُتَابَعَتِهِ وَطَاعَتِهِ وَاتِّبَاعِ أَمْرِهِ، وَإحْيَاءِ سُنَّتِهِ بَاطِنًاوَظَاهِرًا، وَنَشْرِمَابُعِثَ بِـهِ، وَالْجِهَادِعَلَى ذَلِكَ بِالْقَلْبِ وَالْيَدِ واللِّسَانِ، فَإنَّ هَـذِهِ طَرِيْقَةُ السَّابِقِيْنَ اْلاَوَّلِيْنَ، مِنَ الْمُهَاجِرِيْنَ وَاْلاَنْصَارِ، وَالَّذِيْنَ اتَّبَعُوْهُـمْ بِإحْسَانٍ .....)
“และเฉกเช่นเดียวกับสิ่งที่กล่าวมานี้ ก็คือ สิ่งซึ่งประชาชนบางคนได้ริเริ่มขึ้นมาใหม่ ..ในมุมมองหนึ่ง ก็เป็นการเลียนแบบชาวคริสต์ในการจัดงานฉลองวันเกิดของท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิสสลาม (วันคริสต์มาส), แต่ในอีกมุมมองหนึ่งก็เป็นการแสดงความรักและเทิดทูนต่อท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม,ซึ่งบางที พระองค์อัลลอฮ์ อาจจะให้ผลบุญต่อพวกเขาเพราะความรักและความทุ่มเทนี้บ้างก็ได้ ... แต่มิใช่ (พระองค์จะให้ผลบุญ) เพราะการทำบิดอะฮ์ ด้วยการยึดถือเอาวันเกิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นวันรื่นเริง, ทั้งๆที่พระชาชนก็ยังขัดแย้งกันอยู่เกี่ยวกับวันเกิดของท่าน, ทั้งนี้ เพราะการกระทำดังกล่าวนี้ บรรดาบรรพชนยุคแรกไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อนทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม และไม่มีอุปสรรคอันใดเลย, สมมุติว่า หากการกระทำสิ่งนี้ เป็นเรื่องดีล้วนๆหรือมีน้ำหนักแห่งความดีอยู่บ้าง แน่นอนบรรพชนเหล่านั้น เหมาะสมที่สุดที่จะทำมันยิ่งกว่าพวกเรา,..ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขารักและเทิดทูนท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยิ่งกว่าพวกเรา, ทั้งยังเป็นผู้ที่กระหายในเรื่องการทำสิ่งดีมากที่สุดด้วย ...
ความสมบูรณ์เพียบพร้อมในเรื่องความรักและการเทิดทูนท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมนั้นมิใช่อื่นใด หากอยู่ที่การปฏิบัติตามท่าน, เชื่อฟังท่าน, กระทำตามคำสั่งของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่าน ทั้งที่ลับและที่แจ้ง, เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้งใจ กาย และวาจา, เพราะสิ่งเหล่านี้ คือแนวทางของบรรดาบรรพชนยุคแรกๆ อันได้แก่ชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อรฺ, และบรรดาผู้ซึ่งปฏิบัติตามพวกท่านเหล่านั้นด้วยคุณธรรมความดี ......”
และ, ที่ไม่ทราบว่า จะเป็นเรื่องน่าขันหรือน่าสมเพชก็คือ บรรดาผู้ที่อ้างว่ารักท่านนบีย์ฯ --- ด้วยการจัดงานเมาลิดให้ท่านนั้น --- พวกเขาส่วนมาก ไม่เคยสนใจที่จะปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านเลย ......
ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ ได้กล่าวอุปมา-อุปมัย ไว้ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 124 เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า .......
( وَإنَّمَـا هُمْ بِمَنْزِلَةِ مَنْ يُحَلِّي الْمِصْحَفَ وَلاَ يَقْرَأُ فِيْهِ، أَوْ يَقْرَأُ فِيْهِ وَلاَ يَتَّبِعُهُ، وَبِمَنْزِلَةِ مَنْ يُزَخْرِفُ الْمَسْجِدَ وَلاَ يُصَلَّى فِيْهِ، أَوْ يُصَلِّى فِيْهِ قَلِيْلاً .......... )
“และมันมิใช่อื่นใด นอกจากอุปมาพวกเขา --- ผู้ที่จัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯเสียใหญ่โต แต่ไม่ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน --- ก็เสมือนดั่งผู้ที่ประดับประดาอัล-กุรฺอ่านเสียดูสวยงาม แต่ไม่เคยอ่านมัน, หรือเคยอ่านบ้าง แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติตาม, ... และอุปมาเหมือนดั่งผู้ที่ตกแต่งมัสญิดจนดูเลิศหรู แต่ไม่เคยเข้าไปนมาซในมัสญิดนั้น, หรืออาจจะเคยเข้าไปนมาซบ้าง ก็แค่บางครั้งเท่านั้น ..........”
2. การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย .. เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านอุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายนี้ก็เช่นเดียวกัน ... ไม่เคยปรากฏหลักฐานจากหะดีษที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ) แม้แต่บทเดียวว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะเคยอ่านอัล-กุรฺอ่าน, ไม่ว่าที่บ้านหรือที่กุบูรฺ เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม, .. คือเป็นการแสดงความห่วงใยและส่งผลบุญให้แก่ผู้ตาย, และไม่มีอุปสรรคอะไรที่จะมาขัดขวางท่านจากการปฏิบัติมันด้วย ......
บรรดาหะดีษที่มีรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย ล้วนเป็นหะดีษเฎาะอีฟ ( ضَعِيْفٌ ) ทั้งสิ้น .. ดังการยอมรับของท่านอัส-สุยูฏีย์ ในหนังสือ “ชัรฺหุศ ศุดูรฺ” ของท่าน (โปรดดูหนังสือ “กัชฟุช ชุบฮาต” ของท่านมะห์มูด หะซัน รอเบียะอฺ หน้า 93 ) ......
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฯ” หน้าที่ 44 ว่า .. وَمِنْ هَذَااْلأَصْلِ الْعَظِيْمِ تَعْلَمُ أَنَّ أَكْثَرَأَفْعَالِ النَّاسِ الْيَوْمَ مِنَ الْبِدَعِ الْمَذْمُوْمَةِكَقِرَاءَةِ الْقُرْآنِ عَلَى الْقُبُوْرِ رَحْمَـةً بِالْمَيِّتِ، تَرَكَهُ النَّبِّيُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَرَكَهُ الصَّحَابَةُ مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِيْ لِلْفِعْلِ وَهُوَالشَّفَقَةُ بِالْمَيِّتِ، وَعَدَمِ الْمَانِعِ مِنْهُ، فَعَلَى هَذَااْلأَصْلِ الْمَذْكُوْرِ يَكُوْنُ تَرْكُهُ هُوَالسُّـنَّةُ وَفِعْلُهُ بِدْعَـةً مَذْمُوْمَةً، __ وَكَيْفَ يُعْقَلُ أَنْ يَتْرُكَ الرَّسُوْلُ شَيْأً نَافِعًا يَعُوْدُ عَلَى أُمَّـتِهِ بِالرَّحْمَةِ ؟ ..... فَهَلْ يُعْقَلُ أَنْ يَكُوْنَ هَذَا بَابًا مِنْ أَبْوَابِ الرَّحْمَةِ وَيَتْرُكُهُ الرَّسُوْلُ طُوْلَ حَيَاتِـهِ وَلاَ يَقْرَأُ عَلَى مَيِّتٍ مَرَّةً وَاحِدَةً ؟ ........
“และจากกฎเกณฑ์อันสำคัญยิ่ง (ของวิชาอุศูลฯ) ข้อนี้ ทำให้ท่านรู้ว่า ภาคปฏิบัติของประชาชนส่วนมากในปัจจุบันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของบิดอะฮ์ที่ควรตำหนิ ... อย่างเช่น การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่หลุมฝังศพ (กุบูรฺ) เพื่อแสดงความเมตตารักใคร่ผู้ตาย, (สิ่งนี้) ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน ได้ละทิ้งมัน ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้กระทำ นั่นคือ ความห่วงใยที่มีต่อผู้ตาย, และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆที่จะขัดขวางพวกท่านจากกระทำมัน ... ดังนั้น ตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว ถือว่า การละทิ้ง (คือไม่กระทำ) สิ่งนี้ คือซุนนะฮ์, และการกระทำมัน จึงเป็นบิดอะฮ์ที่ควรตำหนิ .....
มันจะกินกับปัญญาได้อย่างไรว่า ท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะละทิ้งสิ่งหนึ่งซึ่งอำนวยคุณประโยชน์ในด้านเมตตาธรรมที่กลับคืนไปหาอุมมะฮ์ของท่านเอง ? ...... มันกินกับปัญญาหรือว่า สิ่งนี้ (การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ) เป็นประตูหนึ่งจากบรรดาประตูแห่งความเมตตา แล้วท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับละทิ้งมันตลอดชีวิตของท่าน, โดยไม่เคยไปอ่านอัล-กุรฺอ่านให้กับผู้ตายคนใดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ? ...........”
เมื่อเขียนมาถึงจุดนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาได้, หนังสือเล่มนั้น มีชื่อว่า “การอ่านอัลกุรฺอานให้กับผู้ตาย” น่าเสียดายที่ผู้เขียนหนังสือนั้น “ไม่กล้า” ระบุชื่อของตัวเองไว้ด้วย จึงไม่รู้ว่า เป็นใคร ?, ... รู้แต่เพียงว่า เป็นชาวภูเก็ต ......
ผมไม่ให้ความสำคัญกับหนังสือเล่มนั้นแม้แต่นิดเดียว เพราะผู้เขียน,นอกจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการหะดีษอันเป็นหลักฐานขั้นพื้นฐานของหนังสือเล่มนั้นโดยตรงแล้ว ยังเขียนหนังสือมีเนื้อหาโจมตีด้วยความอคติต่อผู้ที่มีทัศนะตรงข้ามกับตนเองด้วย ....
และจุดที่น่าสมเพชที่สุดก็คือ ข้อความในหน้าที่ 13 และหน้าที่ 24 ของหนังสือเล่มนั้น .....
ในหน้าที่ 13 มีข้อความดังต่อไปนี้ .....
“เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้หากพวกที่เป็นวาฮาบีย์ หรือฮูกมมูดา หรือพวกไหนก็ตามที่บอกว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความผิดหรือเป็นบาป หากเป็นผู้เขียนคิดเช่นนั้น ผู้เขียนถือว่าจำเป็นที่สุดแล้วที่จะต้องมีการเตาบะฮ์ อันเนื่องมาจากความเข้าใจที่ผิดพลาด คำพูดที่ผิดพลาด และจะต้องกล่าว 2 คำชาฮาดะฮ์ (มูจาบใหม่ ) เพราะการถือว่าหรือพูดว่า ของไม่ฮาร่ามว่าฮาร่ามนั้น ต้องถือว่าตกกาเฟร หรือการสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม”
และในหน้าที่ 24 มีข้อความที่คล้ายๆกันอีกว่า .....
“แต่เมื่อมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ใครกันแน่ที่งมงาย ? ใครกันแน่ที่กระทำหรือพูดโดยไม่เข้าใจหลักฐาน ? ผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่เป็นวาฮาบีย์ หรือฮูกมมูดา มาถึงตรงนี้จำเป็นที่สุดแล้วที่พวกเขาจะต้องกลับคำพูด หรือต้องเตาบะฮ์ ( توبـة ) หรือถ้าวาฮาบีย์คนไหนหรือฮูกมมูดาคนไหน กล่าวว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ฮาร่าม โดยอาศัยหะดีษที่หามาทั้งหมด ผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่กล่าวเช่นนั้น จำเป็นจะต้องกล่าวคำปฏิญาณใหม่ (หรือเข้ารับอิสลามใหม่) เพราะคนที่กล่าวเช่นนั้น (ว่าฮาร่าม) ผู้เขียนเห็นว่า ตกเป็นกาเฟร หรือการสิ้นสภาพเป็นมุสลิม ......”
ผมจะไม่พูดถึงความไม่ประสีประสาของผู้เขียนท่านนั้นเกี่ยวกับเรื่องของวะฮ์ฮาบีย์ที่เขาไม่รู้แม้แต่ ก. ข. ของแนวทางนี้, และจะไม่เขียนถึงคำศัพท์แปลกๆที่เพิ่งจะเคยได้ยินจากท่านเป็นคนแรก คือคำว่า ฮูกมมูดา (เพราะที่เคยได้ยินก็คือคำว่า เกาม์ มูดา ซึ่งแปลตรงตัวว่า กลุ่มหนุ่ม, และบางครั้งก็จะเรียกเป็นภาษาไทยว่า คณะใหม่) ....
แต่ที่อยากจะพูดแนะนำด้วยความสงสารและสมเพชเวทนาก็คือ บุคคลแรกสุดที่ควรจะต้องกล่าวชะฮาดะฮ์ใหม่ ไม่ใช่พวกวาฮาบีย์หรือฮูกมมูดาที่กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์ต้องห้าม ... ดังที่ท่านผู้เขียนท่านนั้นตัดสินพวกเขาหรอก .....
ตัวผู้เขียนเองนั่นแหละที่ควรจะต้องรีบ “มูจาบ” ใหม่โดยด่วนที่สุด ! ...
ทั้งนี้ เพราะท่าน “อาจจะ” ตกเป็นกาฟิรฺไปแล้ว ฐานกล่าวหาคนมุสลิมว่าเป็นกาฟิรฺ, และคำกล่าวหานั้น มัน “ย้อนศร” กลับมาหาตัวผู้พูด คือท่านผู้เขียนเองเต็มๆ ... ตามนัยแห่งหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทหนึ่ง .....
ก่อนอื่น ผมก็อยากจะอธิบายให้ท่านผู้เขียนท่านนั้นทราบเอาบุญว่า หลักการของผู้ที่พูดว่า สิ่งนั้นหะรอมหรือสิ่งนี้หะล้าล .. แล้วผู้พูด ต้องตกศาสนาหรือตกมุรฺตัดนั้น ... มีหลักการอยู่ว่า หมายถึงสิ่งหะรอมหรือสิ่งหะล้าลนั้น เป็นสิ่งหะรอมหรือหะล้าล “โดยมติเอกฉันท์” (อิจญมาอฺ) ของนักวิชาการ, .. แต่ไม่ใช่สิ่งหะรอมหรือหะล้าลที่เป็นปัญหาขัดแย้งอย่างในกรณีนี้ .......
ท่านเช็คซัยยิด บักรีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 4 หน้า 135 ว่า ......
( قَوْلُـهُ وَجَحْدِ مُجْمَعٍ عَلَيْهِ ) أَيْ إنْكَارِمَـا اُجْمِعَ عَلَى إثْبَاتِـهِ اَوْعَلَى نَفْيِهِ، فَدَخَلَ فِيْهِ جَمِيْعُ الْوَاجِبَاتِ الْمُجْمَعِ عَلَيْهَا وَجَمِيْعُ الْمُحَرَّمَاتِ كَذَلِكَ .....
(คำพูดที่ว่า และการคัดค้านสิ่งซึ่งเป็นมติเอกฉันท์) คือ ... (สาเหตุแห่งการตกมุรฺตัดนั้น) ได้แก่การคัดค้านสิ่งซึ่งนักวิชาการมีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า ได้ (หะล้าล), หรือ ไม่ได้ (หะรอม) ... ดังนั้น ที่ถูกจัดเข้าอยู่ในคำพูดดังกล่าวนี้ก็คือ (การคัดค้าน) ทั้งหมดของสิ่งวาญิบที่เป็นมติเอกฉันท์ และทั้งหมดของสิ่งหะรอมที่เป็นมติเอกฉันท์ ...
ท่านซัยยิด ซาบิก ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ฟิกฮุส ซุนนะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 384 ว่า ...
..... และบางส่วนจากตัวอย่างที่แสดงถึงความเป็นกาฟิรฺนั้น ได้แก่ : .....
2 - إسْتِبَاحَةُ مُحَرَّمٍ أَجْمَعَ الْمُسْلِمُوْنَ عَلَى تَحْرِيْمِهِ، كَاسْتِبَاحَةِ الْخَمْرِ، وَالزِّنَا، وَالرِّبَا وَأَكْلِ الْخِنْزِيْرِ وَاسْتِحْلاَلِ دِمَاءِ الْمَعْصُوْمِيْنَ وَأَمْوَالِهِمْ
تَحْرِيْمُ مَا أَجْمَعَ الْمُسْلِمُوْنَ عَلَى حِلِّـهِ كَتَحْرِيْمِ الطَّيِّبَاتِ -- 3
2. ได้แก่การพูดหรือยึดถือว่าอนุญาต (คือ ถือว่าหะล้าล) ในสิ่งซึ่งบรรดามุสลิม มีมติเอกฉันท์แล้วว่าหะรอม เช่น พูดหรือถือว่า อนุญาตให้ดื่มเหล้าได้, ผิดประเวณีได้, รับดอกเบี้ยได้, บริโภคเนื้อสุกรได้, หรือการอนุญาตให้ล่วงละเมิดในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับการคุ้มครองตามหลักการศาสนาแล้ว เป็นต้น ......
3. ได้แก่การห้าม (คือ ถือว่าหะรอม) ในสิ่งซึ่งบรรดามุสลิม มีมติเอกฉันท์แล้วว่า หะล้าล อย่างเช่น การห้าม (บริโภค) สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย (เช่นกล่าวว่า การบริโภคเนื้อวัว ควาย, แพะ, แกะ เป็นสิ่งหะรอม เป็นต้น) .....
ดังนั้น ในกรณีของการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย --- ไม่ว่าที่บ้านหรือที่กุบูรฺ --- ผู้ที่กล่าวว่า อ่านได้ .. ก็ไม่ตกมุรฺตัด, และผู้ที่กล่าวว่า อ่านไม่ได้ ก็ไม่ตกมุรฺตัด, คือ ยังคงสภาพความเป็นมุสลิมอยู่ทั้งสองฝ่าย เพราะปัญหาการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายเป็นปัญหา “ขัดแย้ง” .. ซึ่งเด็กที่เพิ่งจะเริ่มสัมผัสกับการศึกษาศาสนา ก็ยังรู้ดี ....
เพราะฉะนั้น เมื่อเราบังอาจไปกล่าวหาผู้ที่ยังเป็นมุสลิมอยู่ --- ตามหลักการและมติของนักวิชาการ --- ว่า เป็นกาฟิรฺ, ต้องกล่าวปฏิญาณใหม่ ... อะไรจะเกิดขึ้น ? ......
ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .....
( إذَا كَفَّرَالرَّجُلُ أَخَاهُ فَقَدْ بَاءَ بِـهَا أَحَدُهُمَـا )
“เมื่อบุคคลใดได้กล่าวหาพี่น้อง(มุสลิม)ของเขาว่า เป็นกาฟิรฺ คำกล่าวหา(ว่าเป็นกาฟิรฺ)นั้น ก็จะกลับไปหาคนใดคนหนึ่งจาก 2 คนนั้น” ......
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 111/60, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 23, 142) .......
และอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษนี้ที่ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ได้รายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ......
أَيُّمْا امْرِئٍ قَالَ ِلأَخِيْهِ : يَا كَافِرُ! فَقَدْ بَاءَ بِهَا أَحَدُهُمَا، إِنْ كَانَ كَمَا قَالَ، وَإِلاَّ رَجَعَتْ عَلَيْهِ
“ผู้ใดก็ตามที่กล่าวกับพี่น้อง(มุสลิม)ของเขาว่า : นี่ เจ้ากาฟิร ! .. แน่นอน คำพูดนั้นจะต้องตกอยู่กับคนใดคนหนึ่งจาก 2 คนนั้น, ... คือ (ผู้ถูกกล่าวหา) อาจเป็นกาฟิรฺจริงตามคำกล่าวหาของเขา, หรือมิฉะนั้น คำกล่าวหานั้นจะย้อนกลับมาหาตัวเขา(ผู้พูด) เอง” ....
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 6104, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 111/60, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2637, ท่านมาลิกใน “อัล-มุวัฏเฏาะอ์”เล่มที่ 2 หน้า 250-251 หรือหะดีษที่ 1910 จากการอธิบายของท่านอัซ-ซุรฺกอนีย์, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 18, 44, 47, 60, 112 และ 113 ) ......
เมื่อเราทราบดีแล้วว่า ใครก็ตามที่กล่าวว่า ... “ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ” ... เขาไม่ได้ตกเป็นกาฟิรฺ ตามการกล่าวหาของผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น ดังมติและหลักการของนักวิชาการ ที่ได้อธิบายมาแล้ว .......
การเป็นกาฟิรฺจึงต้องย้อนกลับไปยัง “ผู้กล่าวหา” แน่นอน ...
ดังนั้น ผมเชื่อว่า ท่านผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น คงจะเข้าใจความหมายของหะดีษทั้ง 2 บทนี้ดีแล้ว, และคิดว่า ท่านคงจะต้องรู้ตัวดีว่า ตนเองควรจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อสวัสดิภาพของตนเองทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ .....
บรรดาหะดีษที่มีรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย ล้วนเป็นหะดีษเฎาะอีฟ ( ضَعِيْفٌ ) ทั้งสิ้น .. ดังการยอมรับของท่านอัส-สุยูฏีย์ ในหนังสือ “ชัรฺหุศ ศุดูรฺ” ของท่าน (โปรดดูหนังสือ “กัชฟุช ชุบฮาต” ของท่านมะห์มูด หะซัน รอเบียะอฺ หน้า 93 ) ......
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฯ” หน้าที่ 44 ว่า .. وَمِنْ هَذَااْلأَصْلِ الْعَظِيْمِ تَعْلَمُ أَنَّ أَكْثَرَأَفْعَالِ النَّاسِ الْيَوْمَ مِنَ الْبِدَعِ الْمَذْمُوْمَةِكَقِرَاءَةِ الْقُرْآنِ عَلَى الْقُبُوْرِ رَحْمَـةً بِالْمَيِّتِ، تَرَكَهُ النَّبِّيُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَرَكَهُ الصَّحَابَةُ مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِيْ لِلْفِعْلِ وَهُوَالشَّفَقَةُ بِالْمَيِّتِ، وَعَدَمِ الْمَانِعِ مِنْهُ، فَعَلَى هَذَااْلأَصْلِ الْمَذْكُوْرِ يَكُوْنُ تَرْكُهُ هُوَالسُّـنَّةُ وَفِعْلُهُ بِدْعَـةً مَذْمُوْمَةً، __ وَكَيْفَ يُعْقَلُ أَنْ يَتْرُكَ الرَّسُوْلُ شَيْأً نَافِعًا يَعُوْدُ عَلَى أُمَّـتِهِ بِالرَّحْمَةِ ؟ ..... فَهَلْ يُعْقَلُ أَنْ يَكُوْنَ هَذَا بَابًا مِنْ أَبْوَابِ الرَّحْمَةِ وَيَتْرُكُهُ الرَّسُوْلُ طُوْلَ حَيَاتِـهِ وَلاَ يَقْرَأُ عَلَى مَيِّتٍ مَرَّةً وَاحِدَةً ؟ ........
“และจากกฎเกณฑ์อันสำคัญยิ่ง (ของวิชาอุศูลฯ) ข้อนี้ ทำให้ท่านรู้ว่า ภาคปฏิบัติของประชาชนส่วนมากในปัจจุบันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของบิดอะฮ์ที่ควรตำหนิ ... อย่างเช่น การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่หลุมฝังศพ (กุบูรฺ) เพื่อแสดงความเมตตารักใคร่ผู้ตาย, (สิ่งนี้) ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน ได้ละทิ้งมัน ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้กระทำ นั่นคือ ความห่วงใยที่มีต่อผู้ตาย, และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆที่จะขัดขวางพวกท่านจากกระทำมัน ... ดังนั้น ตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว ถือว่า การละทิ้ง (คือไม่กระทำ) สิ่งนี้ คือซุนนะฮ์, และการกระทำมัน จึงเป็นบิดอะฮ์ที่ควรตำหนิ .....
มันจะกินกับปัญญาได้อย่างไรว่า ท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะละทิ้งสิ่งหนึ่งซึ่งอำนวยคุณประโยชน์ในด้านเมตตาธรรมที่กลับคืนไปหาอุมมะฮ์ของท่านเอง ? ...... มันกินกับปัญญาหรือว่า สิ่งนี้ (การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ) เป็นประตูหนึ่งจากบรรดาประตูแห่งความเมตตา แล้วท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับละทิ้งมันตลอดชีวิตของท่าน, โดยไม่เคยไปอ่านอัล-กุรฺอ่านให้กับผู้ตายคนใดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ? ...........”
เมื่อเขียนมาถึงจุดนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาได้, หนังสือเล่มนั้น มีชื่อว่า “การอ่านอัลกุรฺอานให้กับผู้ตาย” น่าเสียดายที่ผู้เขียนหนังสือนั้น “ไม่กล้า” ระบุชื่อของตัวเองไว้ด้วย จึงไม่รู้ว่า เป็นใคร ?, ... รู้แต่เพียงว่า เป็นชาวภูเก็ต ......
ผมไม่ให้ความสำคัญกับหนังสือเล่มนั้นแม้แต่นิดเดียว เพราะผู้เขียน,นอกจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการหะดีษอันเป็นหลักฐานขั้นพื้นฐานของหนังสือเล่มนั้นโดยตรงแล้ว ยังเขียนหนังสือมีเนื้อหาโจมตีด้วยความอคติต่อผู้ที่มีทัศนะตรงข้ามกับตนเองด้วย ....
และจุดที่น่าสมเพชที่สุดก็คือ ข้อความในหน้าที่ 13 และหน้าที่ 24 ของหนังสือเล่มนั้น .....
ในหน้าที่ 13 มีข้อความดังต่อไปนี้ .....
“เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้หากพวกที่เป็นวาฮาบีย์ หรือฮูกมมูดา หรือพวกไหนก็ตามที่บอกว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความผิดหรือเป็นบาป หากเป็นผู้เขียนคิดเช่นนั้น ผู้เขียนถือว่าจำเป็นที่สุดแล้วที่จะต้องมีการเตาบะฮ์ อันเนื่องมาจากความเข้าใจที่ผิดพลาด คำพูดที่ผิดพลาด และจะต้องกล่าว 2 คำชาฮาดะฮ์ (มูจาบใหม่ ) เพราะการถือว่าหรือพูดว่า ของไม่ฮาร่ามว่าฮาร่ามนั้น ต้องถือว่าตกกาเฟร หรือการสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม”
และในหน้าที่ 24 มีข้อความที่คล้ายๆกันอีกว่า .....
“แต่เมื่อมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ใครกันแน่ที่งมงาย ? ใครกันแน่ที่กระทำหรือพูดโดยไม่เข้าใจหลักฐาน ? ผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่เป็นวาฮาบีย์ หรือฮูกมมูดา มาถึงตรงนี้จำเป็นที่สุดแล้วที่พวกเขาจะต้องกลับคำพูด หรือต้องเตาบะฮ์ ( توبـة ) หรือถ้าวาฮาบีย์คนไหนหรือฮูกมมูดาคนไหน กล่าวว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ฮาร่าม โดยอาศัยหะดีษที่หามาทั้งหมด ผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่กล่าวเช่นนั้น จำเป็นจะต้องกล่าวคำปฏิญาณใหม่ (หรือเข้ารับอิสลามใหม่) เพราะคนที่กล่าวเช่นนั้น (ว่าฮาร่าม) ผู้เขียนเห็นว่า ตกเป็นกาเฟร หรือการสิ้นสภาพเป็นมุสลิม ......”
ผมจะไม่พูดถึงความไม่ประสีประสาของผู้เขียนท่านนั้นเกี่ยวกับเรื่องของวะฮ์ฮาบีย์ที่เขาไม่รู้แม้แต่ ก. ข. ของแนวทางนี้, และจะไม่เขียนถึงคำศัพท์แปลกๆที่เพิ่งจะเคยได้ยินจากท่านเป็นคนแรก คือคำว่า ฮูกมมูดา (เพราะที่เคยได้ยินก็คือคำว่า เกาม์ มูดา ซึ่งแปลตรงตัวว่า กลุ่มหนุ่ม, และบางครั้งก็จะเรียกเป็นภาษาไทยว่า คณะใหม่) ....
แต่ที่อยากจะพูดแนะนำด้วยความสงสารและสมเพชเวทนาก็คือ บุคคลแรกสุดที่ควรจะต้องกล่าวชะฮาดะฮ์ใหม่ ไม่ใช่พวกวาฮาบีย์หรือฮูกมมูดาที่กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์ต้องห้าม ... ดังที่ท่านผู้เขียนท่านนั้นตัดสินพวกเขาหรอก .....
ตัวผู้เขียนเองนั่นแหละที่ควรจะต้องรีบ “มูจาบ” ใหม่โดยด่วนที่สุด ! ...
ทั้งนี้ เพราะท่าน “อาจจะ” ตกเป็นกาฟิรฺไปแล้ว ฐานกล่าวหาคนมุสลิมว่าเป็นกาฟิรฺ, และคำกล่าวหานั้น มัน “ย้อนศร” กลับมาหาตัวผู้พูด คือท่านผู้เขียนเองเต็มๆ ... ตามนัยแห่งหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทหนึ่ง .....
ก่อนอื่น ผมก็อยากจะอธิบายให้ท่านผู้เขียนท่านนั้นทราบเอาบุญว่า หลักการของผู้ที่พูดว่า สิ่งนั้นหะรอมหรือสิ่งนี้หะล้าล .. แล้วผู้พูด ต้องตกศาสนาหรือตกมุรฺตัดนั้น ... มีหลักการอยู่ว่า หมายถึงสิ่งหะรอมหรือสิ่งหะล้าลนั้น เป็นสิ่งหะรอมหรือหะล้าล “โดยมติเอกฉันท์” (อิจญมาอฺ) ของนักวิชาการ, .. แต่ไม่ใช่สิ่งหะรอมหรือหะล้าลที่เป็นปัญหาขัดแย้งอย่างในกรณีนี้ .......
ท่านเช็คซัยยิด บักรีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 4 หน้า 135 ว่า ......
( قَوْلُـهُ وَجَحْدِ مُجْمَعٍ عَلَيْهِ ) أَيْ إنْكَارِمَـا اُجْمِعَ عَلَى إثْبَاتِـهِ اَوْعَلَى نَفْيِهِ، فَدَخَلَ فِيْهِ جَمِيْعُ الْوَاجِبَاتِ الْمُجْمَعِ عَلَيْهَا وَجَمِيْعُ الْمُحَرَّمَاتِ كَذَلِكَ .....
(คำพูดที่ว่า และการคัดค้านสิ่งซึ่งเป็นมติเอกฉันท์) คือ ... (สาเหตุแห่งการตกมุรฺตัดนั้น) ได้แก่การคัดค้านสิ่งซึ่งนักวิชาการมีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า ได้ (หะล้าล), หรือ ไม่ได้ (หะรอม) ... ดังนั้น ที่ถูกจัดเข้าอยู่ในคำพูดดังกล่าวนี้ก็คือ (การคัดค้าน) ทั้งหมดของสิ่งวาญิบที่เป็นมติเอกฉันท์ และทั้งหมดของสิ่งหะรอมที่เป็นมติเอกฉันท์ ...
ท่านซัยยิด ซาบิก ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ฟิกฮุส ซุนนะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 384 ว่า ...
..... และบางส่วนจากตัวอย่างที่แสดงถึงความเป็นกาฟิรฺนั้น ได้แก่ : .....
2 - إسْتِبَاحَةُ مُحَرَّمٍ أَجْمَعَ الْمُسْلِمُوْنَ عَلَى تَحْرِيْمِهِ، كَاسْتِبَاحَةِ الْخَمْرِ، وَالزِّنَا، وَالرِّبَا وَأَكْلِ الْخِنْزِيْرِ وَاسْتِحْلاَلِ دِمَاءِ الْمَعْصُوْمِيْنَ وَأَمْوَالِهِمْ
تَحْرِيْمُ مَا أَجْمَعَ الْمُسْلِمُوْنَ عَلَى حِلِّـهِ كَتَحْرِيْمِ الطَّيِّبَاتِ -- 3
2. ได้แก่การพูดหรือยึดถือว่าอนุญาต (คือ ถือว่าหะล้าล) ในสิ่งซึ่งบรรดามุสลิม มีมติเอกฉันท์แล้วว่าหะรอม เช่น พูดหรือถือว่า อนุญาตให้ดื่มเหล้าได้, ผิดประเวณีได้, รับดอกเบี้ยได้, บริโภคเนื้อสุกรได้, หรือการอนุญาตให้ล่วงละเมิดในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับการคุ้มครองตามหลักการศาสนาแล้ว เป็นต้น ......
3. ได้แก่การห้าม (คือ ถือว่าหะรอม) ในสิ่งซึ่งบรรดามุสลิม มีมติเอกฉันท์แล้วว่า หะล้าล อย่างเช่น การห้าม (บริโภค) สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย (เช่นกล่าวว่า การบริโภคเนื้อวัว ควาย, แพะ, แกะ เป็นสิ่งหะรอม เป็นต้น) .....
ดังนั้น ในกรณีของการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย --- ไม่ว่าที่บ้านหรือที่กุบูรฺ --- ผู้ที่กล่าวว่า อ่านได้ .. ก็ไม่ตกมุรฺตัด, และผู้ที่กล่าวว่า อ่านไม่ได้ ก็ไม่ตกมุรฺตัด, คือ ยังคงสภาพความเป็นมุสลิมอยู่ทั้งสองฝ่าย เพราะปัญหาการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายเป็นปัญหา “ขัดแย้ง” .. ซึ่งเด็กที่เพิ่งจะเริ่มสัมผัสกับการศึกษาศาสนา ก็ยังรู้ดี ....
เพราะฉะนั้น เมื่อเราบังอาจไปกล่าวหาผู้ที่ยังเป็นมุสลิมอยู่ --- ตามหลักการและมติของนักวิชาการ --- ว่า เป็นกาฟิรฺ, ต้องกล่าวปฏิญาณใหม่ ... อะไรจะเกิดขึ้น ? ......
ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .....
( إذَا كَفَّرَالرَّجُلُ أَخَاهُ فَقَدْ بَاءَ بِـهَا أَحَدُهُمَـا )
“เมื่อบุคคลใดได้กล่าวหาพี่น้อง(มุสลิม)ของเขาว่า เป็นกาฟิรฺ คำกล่าวหา(ว่าเป็นกาฟิรฺ)นั้น ก็จะกลับไปหาคนใดคนหนึ่งจาก 2 คนนั้น” ......
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 111/60, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 23, 142) .......
และอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษนี้ที่ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ได้รายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ......
أَيُّمْا امْرِئٍ قَالَ ِلأَخِيْهِ : يَا كَافِرُ! فَقَدْ بَاءَ بِهَا أَحَدُهُمَا، إِنْ كَانَ كَمَا قَالَ، وَإِلاَّ رَجَعَتْ عَلَيْهِ
“ผู้ใดก็ตามที่กล่าวกับพี่น้อง(มุสลิม)ของเขาว่า : นี่ เจ้ากาฟิร ! .. แน่นอน คำพูดนั้นจะต้องตกอยู่กับคนใดคนหนึ่งจาก 2 คนนั้น, ... คือ (ผู้ถูกกล่าวหา) อาจเป็นกาฟิรฺจริงตามคำกล่าวหาของเขา, หรือมิฉะนั้น คำกล่าวหานั้นจะย้อนกลับมาหาตัวเขา(ผู้พูด) เอง” ....
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 6104, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 111/60, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2637, ท่านมาลิกใน “อัล-มุวัฏเฏาะอ์”เล่มที่ 2 หน้า 250-251 หรือหะดีษที่ 1910 จากการอธิบายของท่านอัซ-ซุรฺกอนีย์, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 18, 44, 47, 60, 112 และ 113 ) ......
เมื่อเราทราบดีแล้วว่า ใครก็ตามที่กล่าวว่า ... “ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ” ... เขาไม่ได้ตกเป็นกาฟิรฺ ตามการกล่าวหาของผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น ดังมติและหลักการของนักวิชาการ ที่ได้อธิบายมาแล้ว .......
การเป็นกาฟิรฺจึงต้องย้อนกลับไปยัง “ผู้กล่าวหา” แน่นอน ...
ดังนั้น ผมเชื่อว่า ท่านผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น คงจะเข้าใจความหมายของหะดีษทั้ง 2 บทนี้ดีแล้ว, และคิดว่า ท่านคงจะต้องรู้ตัวดีว่า ตนเองควรจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อสวัสดิภาพของตนเองทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น