โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง
3.การแยกประเภทของบิดอะฮ์
หากเราจะจำแนกความแตกต่างในระหว่าง “บิดอะฮ์ตามหลักภาษา” (เรียกเป็นภาษาอฺรับว่า بِدْعَـةٌ لُغَوِيَّـةٌ) .. กับ “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของหะดีษ” (เรียกเป็นภาษาอฺรับว่า بِدْعَـةٌ شَرْعِيَّةٌ ) และองค์ประกอบในภาพรวมโดยย่อของมัน ก็จะได้แผนภูมิดังต่อไปนี้, .....
บิดอะฮ์ : (بِدْعَـةٌ )
บิดอะฮ์ตามหลักภาษา __________ _________ บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ
หมายถึง ...... หมายถึง ......
การริเริ่มกระทำสิ่งที่ไม่เคยมีแบบอย่างมา การกระทำในสิ่งซึ่งท่านนบีย์ละทิ้ง ทั้งๆ
ก่อนทุกอย่าง,ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือศาสนา ที่มีประเด็นส่งเสริมให้ท่านทำ และไม่มี-
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว ตามหลักภาษา อุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำ
เรียกว่า บิดอะฮ์ทั้งสิ้น .... สิ่งนั้น, ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ...
1. สิ่งซึ่งไม่มีหลักการขั้นพื้นฐาน-ของศาสนารองรับ ....
2. การเพิ่มเติมในเรื่อง عِبَادَةٌ بَدَنِيَّةٌ (อิบาดะฮ์ที่ปฏิบัติด้วยร่างกาย) คือ การปฏิบัติเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่างที่ท่านนบีย์ไม่เคยปฏิบัติในเรื่องของการนมาซ, ในเรื่องการถือศีลอด, ในเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นต้น ...
3. การประดิษฐ์สิ่งใหม่, ที่จัดเข้าอยู่ในข้อห้ามของศาสนาในภาพรวม ..
4. เรื่อง عَقِيْدَةٌ หรือหลักศรัทธาที่
เบี่ยงเบนจากหลักศรัทธาที่ถูกต้องของอะฮ์ลุซซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ ...
บิดอะฮ์ตามหลักภาษา __________ _________ บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ
หมายถึง ...... หมายถึง ......
การริเริ่มกระทำสิ่งที่ไม่เคยมีแบบอย่างมา การกระทำในสิ่งซึ่งท่านนบีย์ละทิ้ง ทั้งๆ
ก่อนทุกอย่าง,ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือศาสนา ที่มีประเด็นส่งเสริมให้ท่านทำ และไม่มี-
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว ตามหลักภาษา อุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำ
เรียกว่า บิดอะฮ์ทั้งสิ้น .... สิ่งนั้น, ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ...
1. สิ่งซึ่งไม่มีหลักการขั้นพื้นฐาน-ของศาสนารองรับ ....
2. การเพิ่มเติมในเรื่อง عِبَادَةٌ بَدَنِيَّةٌ (อิบาดะฮ์ที่ปฏิบัติด้วยร่างกาย) คือ การปฏิบัติเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่างที่ท่านนบีย์ไม่เคยปฏิบัติในเรื่องของการนมาซ, ในเรื่องการถือศีลอด, ในเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นต้น ...
3. การประดิษฐ์สิ่งใหม่, ที่จัดเข้าอยู่ในข้อห้ามของศาสนาในภาพรวม ..
4. เรื่อง عَقِيْدَةٌ หรือหลักศรัทธาที่
เบี่ยงเบนจากหลักศรัทธาที่ถูกต้องของอะฮ์ลุซซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ ...
4.บิดอะฮ์ตามหลักภาษา (بِدْعَـةٌ لُغَوِيَّـةٌ )
คำว่า “บิดอะฮ์” (มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มุห์ดะษะฮ์ : مُحْدَثَةٌ”) ... ตามหลักภาษา แปลว่า สิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาใหม่, สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ให้คำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์"” ไว้ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 4 หน้า 253 ว่า ....
وَالْبِدْعَـةُ أَصْلُهَا مَااُحْدِثَ عَلَى غَيْرِمِثَالٍ سَابِقٍ .......
“คำว่าบิดอะฮ์นั้น พื้นฐานของมันก็คือ สิ่งที่ถูกสร้างให้มีขึ้นโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน” .....
นักวิชาการด้านนิรุกติศาสตร์ (ด้านภาษา) หลายท่าน ก็ได้ให้ความหมายของคำว่าบิดอะฮ์ ในลักษณะคล้ายคลึงกับคำนิยามของท่านอิบนุหะญัรฺ ซึ่งเราสามารถจะตรวจสอบได้จากหนังสือ “อัล-มุนญิด” หน้า 29, หนังสือ “อัล-กอมูซ อัล-มุฮีฎ” เล่มที่ 3 หน้า 5, หนังสือ “อัล-มุอฺญัม อัล-วะซีฎ” เล่มที่ 1 หน้า 43 เป็นต้น ......
ท่านอิบนุ หะญัรฺ ยังได้ขยายความเพิ่มเติมคำนิยามข้างต้น ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 เอาไว้อีกว่า ......
فَالْبِدْعَـةُ فِيْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ، بِخِلاَفِ اللُّـغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ اُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَـةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا اَوْمَذْمُوْمًا ........
คำว่า “บิดอะฮ์” (มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มุห์ดะษะฮ์ : مُحْدَثَةٌ”) ... ตามหลักภาษา แปลว่า สิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาใหม่, สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ให้คำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์"” ไว้ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 4 หน้า 253 ว่า ....
وَالْبِدْعَـةُ أَصْلُهَا مَااُحْدِثَ عَلَى غَيْرِمِثَالٍ سَابِقٍ .......
“คำว่าบิดอะฮ์นั้น พื้นฐานของมันก็คือ สิ่งที่ถูกสร้างให้มีขึ้นโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน” .....
นักวิชาการด้านนิรุกติศาสตร์ (ด้านภาษา) หลายท่าน ก็ได้ให้ความหมายของคำว่าบิดอะฮ์ ในลักษณะคล้ายคลึงกับคำนิยามของท่านอิบนุหะญัรฺ ซึ่งเราสามารถจะตรวจสอบได้จากหนังสือ “อัล-มุนญิด” หน้า 29, หนังสือ “อัล-กอมูซ อัล-มุฮีฎ” เล่มที่ 3 หน้า 5, หนังสือ “อัล-มุอฺญัม อัล-วะซีฎ” เล่มที่ 1 หน้า 43 เป็นต้น ......
ท่านอิบนุ หะญัรฺ ยังได้ขยายความเพิ่มเติมคำนิยามข้างต้น ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 เอาไว้อีกว่า ......
فَالْبِدْعَـةُ فِيْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ، بِخِلاَفِ اللُّـغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ اُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَـةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا اَوْمَذْمُوْمًا ........
“ดังนั้น คำว่าบิดอะฮ์ ในความหมายตามนัยของบทบัญญัติ(ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม, ซึ่งแตกต่างกับ(ความหมายของมัน)ในด้านภาษา เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกสร้างให้มีขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน เรียกว่าบิดอะฮ์(ตามหลักภาษา)ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว” ...
ท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ” ตอนหนึ่ง หน้า 29 ว่า ......
(وَثَانِيْهِمَا) وَهُوَاَعَـمُّ مِمَّاقَبْلَـهُ مَااُحْدِثَ بَعْدَالنَّبِيِّ صَلَوَاتُ اللَّـهِ وَسَلاَمُهُ عَلَيْهِ، خَيْرًا كَانَ
اَوْشَرًّا عِبَادَةً اَوْعَـادَةً ........
(ความหมายที่สองของคำว่าบิดอะฮ์) ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมกว่าความหมายแรกนั่นก็คือ หมายถึงสิ่งที่ถูกริเริ่มให้มีขึ้น ภายหลังจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือเลว, และไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา (อิบาดะฮ์) หรือเรื่องทางโลกทั่วๆไป (อาดะฮ์) .............
“ความหมายที่สอง” ตามคำกล่าวของท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศหมายถึงความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักภาษา คล้ายๆกับคำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺอัล-อัสเกาะลานีย์ข้างต้น ...
ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 204) ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
اَلْبِدْعَـةُ بِدْعَـتَانِ : بِدْعَـةٌ مَحْمُوْدَةٌ، وَبِدْعَـةٌ مَذْمُوْمَـةٌ، فَمَاوَافَقَ السُّـنَةَ فَهُوَمَحْمُوْدٌ، وَمَاخَالَفَ السُّـنَّةَ فَهُوَ مَذْمُوْمٌ .....
“บิดอะฮ์ (สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ทั้งดีและชั่ว, หากสิ่งใด (ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ก็ถือว่า เป็นสิ่งดี, แต่ถ้าหากขัดแย้งกับซุนนะฮ์ ก็เป็นสิ่งที่ชั่ว (ถูกประนาม)” ...
(บันทึกโดย ท่านอบู นุอัยม์ ในหนังสือ “หิลยะตุ้ล เอาลิยาอ์” เล่มที่ 9 หน้า 113, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุรอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูม วัล-หิกัม” หน้า 291) ....
และอีกสำนวนหนึ่งที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ...
اَلْمُحْدَثَاتُ مِنَ اْلاُمُوْرِ ضَرْبَانِ، أَحَدُهُمَا مَااُحْدِثَ يُخَالِفُ كِتَابًا اَوْسُـنَّةً اَوْأَثَرًا اَوْ إجْمَاعًا فَهَذِهِ الْبِدْعَـةُ الضَّآلَّـةُ، وَالثَّانِيْ مَااُحْدِثَ مِنَ الْخَيْرِ لاَ خِلاَفَ فِيْهِ لِوَاحِدٍ مِنْ هَـذَا فَهِيَ مُحْدَثَـةٌُ غَيْرُمَذْمُوْمَـةٍ .........
“บรรดาสิ่งต่างๆที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่นั้น จะมีสองประเภท, ประเภทที่หนึ่งคือ สิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาโดยขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, กับหะดีษ, กับแบบอย่างของเศาะหาบะฮ์ และกับสิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์ (ของบรรดาเศาะหาบะฮ์) สิ่งใหม่ที่ถูกกระทำในลักษณะนี้ ถือเป็น บิดอะฮ์ เฎาะลาละฮ์ (การอุตริที่หลงผิด) ....
ประเภทที่สอง คือสิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาใหม่จากสิ่งดีๆโดยมิได้ขัดแย้งกับสิ่งใดจากสิ่งเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นของประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ถูกตำหนิ” ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อล อิลา อัส-สุนัน อัล-กุบรออ์” หมายเลข 253, และในหนังสือ “มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์” เล่มที่ 1 หน้า 469. ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุ รอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูมฯ” หน้า 291) .....
คำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ข้างต้นทั้ง 2 สำนวน มีความหมายเดียวกัน, นั่นคือ เป็นการอธิบายความหมาย “บิดอะฮ์” ทั้งในแง่ภาษาและในแง่ศาสนา .....
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ในแง่ภาษา .....
ส่วนคำว่า “บิดอะฮ์ชั่ว” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ทั้งในแง่ภาษาและศาสนา ...
โปรดดูตัวอย่างดังต่อไปนี้....
(1). ตัวอย่างบิดอะฮ์ดีตามหลักภาษา ในเรื่องทางโลก.....
ได้แก่การประดิษฐ์รถยนตร์, เครื่องบิน, โทรศัพท์, คอมพิวเตอร์, ตู้เย็น, พัดลม, อุปกรณ์ต่างๆด้านการแพทย์, เครื่องมือสำหรับพยากรณ์อากาศ ฯลฯ ...
สิ่งต่างๆดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องทางโลก, ... ที่เรียกว่า บิดอะฮ์ดี เพราะเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่เป็นเรื่องดีมีประโยชน์ต่อมนุษย์ และมิได้มิได้ขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, ซุนนะฮ์, แนวทางเศาะหาบะฮ์ หรือมติเอกฉันท์ของพวกท่าน ... ตามที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ .....
(2). ตัวอย่างบิดอะฮ์ดีตามหลักภาษา ในเรื่องศาสนา ...
ได้แก่การรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าเป็นเล่มเดียวกันในสมัยของท่านอบู บักรฺ, หรือการจำแนกวิชาการทางศาสนาออกเป็นหมวดหมู่ เช่น เป็นวิชาตัฟซีรฺ, วิชาฟิกฮ์, วิชาประวัติศาสตร์, วิชาไวยาการณ์อฺรับ ฯลฯ .....
สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเรื่องทางศาสนา, .. และที่เรียกว่าเป็น บิดอะฮ์ดี ก็มีเหตุผลเหมือนกับข้อแรก .......
แต่โปรดสังเกตด้วยว่า ในมุมมองของบทบัญญัติ จะไม่เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า เป็นบิดอะฮ์ .. ดังเหตุผลที่จะได้อธิบายในบทต่อไป อินชาอัลลอฮ์ ......
(3). ตัวอย่างบิดอะฮ์ชั่วตามหลักภาษา ในเรื่องทางโลก.....
เช่น การตั้งบ่อนการพนัน, ออกลอตเตอรี่, การตั้งซ่องโสเภณี, การผลิตเฮโรอิน ยาบ้า และสารเสพย์ติดทุกชนิด, ฯลฯ ...
สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเรื่องทางโลก, ... ที่เรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ชั่ว ก็เพราะมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เป็นพิษภัยต่อสังคมและมนุษยชาติ, ทั้งยังขัดแย้งและฝ่าฝืนต่ออัล-กุรฺอ่านและซุนนะฮ์ .......
(4). ตัวอย่างบิดอะฮ์ชั่วตามหลักภาษา ในเรื่องศาสนา ....
ตัวอย่างเช่น การเก็บซะกาตทรัพย์สินจากธนบัตรในอัตราเกินกว่าร้อยละ 2.5 ... ไม่ว่าก่อนหรือหลังครบรอบปี, การเชื่อว่ายังมีนบีย์อื่นอีกหลังจากท่านนบีย์มุหัมมัด ศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, การบีบแตรรถยนต์เมื่อขับผ่านสถานที่ซึ่งเชื่อว่า มีสิ่งศักด์สิทธ์สิงสถิตอยู่เพื่อความเป็นศิริมงคล, ความปลอดภัย และเป็นการสักการะต่อสถานที่นั้น, การสร้างบัยตุ้ลลอฮ์จำลองขึ้นมาในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เพื่อจะได้ทำการฏอว้าฟแทนบัยตุ้ลลอฮ์จริงที่นครมักกะฮ์ ฯลฯ ....
สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเรื่องศาสนา, ... และที่เรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ชั่ว ก็เพราะเป็นการกระทำหรืออุตริสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แถมยังขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน และซุนนะฮ์ เช่นเดียวกับข้อที่ 3. ...
บิดอะฮ์ในด้านภาษา 2 ข้อสุดท้าย, คือข้อที่ 3 และข้อที่ 4 นี้ สอดคล้องกับบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่เรียกกันว่า เป็น “บิดอะฮ์ เฎาะลาละฮ์ หรือบิดอะฮ์หลงผิด....
เมื่อเราพิจารณาจากตัวอย่างข้างต้นทั้งหมด ก็จะพบว่า ในมุมมองของบทบัญญัติ จะไม่มีคำว่า “บิดอะฮ์ดี” อยู่เลย นอกจากเป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” ทั้งสิ้น ...
เพราะฉะนั้น คำว่า “บิดอะฮ์ดี” จะมีก็เฉพาะในมุมมองของภาษาเท่านั้น ....
ΩΩ
ท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ” ตอนหนึ่ง หน้า 29 ว่า ......
(وَثَانِيْهِمَا) وَهُوَاَعَـمُّ مِمَّاقَبْلَـهُ مَااُحْدِثَ بَعْدَالنَّبِيِّ صَلَوَاتُ اللَّـهِ وَسَلاَمُهُ عَلَيْهِ، خَيْرًا كَانَ
اَوْشَرًّا عِبَادَةً اَوْعَـادَةً ........
(ความหมายที่สองของคำว่าบิดอะฮ์) ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมกว่าความหมายแรกนั่นก็คือ หมายถึงสิ่งที่ถูกริเริ่มให้มีขึ้น ภายหลังจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือเลว, และไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา (อิบาดะฮ์) หรือเรื่องทางโลกทั่วๆไป (อาดะฮ์) .............
“ความหมายที่สอง” ตามคำกล่าวของท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศหมายถึงความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักภาษา คล้ายๆกับคำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺอัล-อัสเกาะลานีย์ข้างต้น ...
ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 204) ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
اَلْبِدْعَـةُ بِدْعَـتَانِ : بِدْعَـةٌ مَحْمُوْدَةٌ، وَبِدْعَـةٌ مَذْمُوْمَـةٌ، فَمَاوَافَقَ السُّـنَةَ فَهُوَمَحْمُوْدٌ، وَمَاخَالَفَ السُّـنَّةَ فَهُوَ مَذْمُوْمٌ .....
“บิดอะฮ์ (สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ทั้งดีและชั่ว, หากสิ่งใด (ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ก็ถือว่า เป็นสิ่งดี, แต่ถ้าหากขัดแย้งกับซุนนะฮ์ ก็เป็นสิ่งที่ชั่ว (ถูกประนาม)” ...
(บันทึกโดย ท่านอบู นุอัยม์ ในหนังสือ “หิลยะตุ้ล เอาลิยาอ์” เล่มที่ 9 หน้า 113, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุรอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูม วัล-หิกัม” หน้า 291) ....
และอีกสำนวนหนึ่งที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ...
اَلْمُحْدَثَاتُ مِنَ اْلاُمُوْرِ ضَرْبَانِ، أَحَدُهُمَا مَااُحْدِثَ يُخَالِفُ كِتَابًا اَوْسُـنَّةً اَوْأَثَرًا اَوْ إجْمَاعًا فَهَذِهِ الْبِدْعَـةُ الضَّآلَّـةُ، وَالثَّانِيْ مَااُحْدِثَ مِنَ الْخَيْرِ لاَ خِلاَفَ فِيْهِ لِوَاحِدٍ مِنْ هَـذَا فَهِيَ مُحْدَثَـةٌُ غَيْرُمَذْمُوْمَـةٍ .........
“บรรดาสิ่งต่างๆที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่นั้น จะมีสองประเภท, ประเภทที่หนึ่งคือ สิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาโดยขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, กับหะดีษ, กับแบบอย่างของเศาะหาบะฮ์ และกับสิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์ (ของบรรดาเศาะหาบะฮ์) สิ่งใหม่ที่ถูกกระทำในลักษณะนี้ ถือเป็น บิดอะฮ์ เฎาะลาละฮ์ (การอุตริที่หลงผิด) ....
ประเภทที่สอง คือสิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาใหม่จากสิ่งดีๆโดยมิได้ขัดแย้งกับสิ่งใดจากสิ่งเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นของประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ถูกตำหนิ” ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อล อิลา อัส-สุนัน อัล-กุบรออ์” หมายเลข 253, และในหนังสือ “มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์” เล่มที่ 1 หน้า 469. ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุ รอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูมฯ” หน้า 291) .....
คำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ข้างต้นทั้ง 2 สำนวน มีความหมายเดียวกัน, นั่นคือ เป็นการอธิบายความหมาย “บิดอะฮ์” ทั้งในแง่ภาษาและในแง่ศาสนา .....
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ในแง่ภาษา .....
ส่วนคำว่า “บิดอะฮ์ชั่ว” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ทั้งในแง่ภาษาและศาสนา ...
โปรดดูตัวอย่างดังต่อไปนี้....
(1). ตัวอย่างบิดอะฮ์ดีตามหลักภาษา ในเรื่องทางโลก.....
ได้แก่การประดิษฐ์รถยนตร์, เครื่องบิน, โทรศัพท์, คอมพิวเตอร์, ตู้เย็น, พัดลม, อุปกรณ์ต่างๆด้านการแพทย์, เครื่องมือสำหรับพยากรณ์อากาศ ฯลฯ ...
สิ่งต่างๆดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องทางโลก, ... ที่เรียกว่า บิดอะฮ์ดี เพราะเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่เป็นเรื่องดีมีประโยชน์ต่อมนุษย์ และมิได้มิได้ขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, ซุนนะฮ์, แนวทางเศาะหาบะฮ์ หรือมติเอกฉันท์ของพวกท่าน ... ตามที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ .....
(2). ตัวอย่างบิดอะฮ์ดีตามหลักภาษา ในเรื่องศาสนา ...
ได้แก่การรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าเป็นเล่มเดียวกันในสมัยของท่านอบู บักรฺ, หรือการจำแนกวิชาการทางศาสนาออกเป็นหมวดหมู่ เช่น เป็นวิชาตัฟซีรฺ, วิชาฟิกฮ์, วิชาประวัติศาสตร์, วิชาไวยาการณ์อฺรับ ฯลฯ .....
สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเรื่องทางศาสนา, .. และที่เรียกว่าเป็น บิดอะฮ์ดี ก็มีเหตุผลเหมือนกับข้อแรก .......
แต่โปรดสังเกตด้วยว่า ในมุมมองของบทบัญญัติ จะไม่เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า เป็นบิดอะฮ์ .. ดังเหตุผลที่จะได้อธิบายในบทต่อไป อินชาอัลลอฮ์ ......
(3). ตัวอย่างบิดอะฮ์ชั่วตามหลักภาษา ในเรื่องทางโลก.....
เช่น การตั้งบ่อนการพนัน, ออกลอตเตอรี่, การตั้งซ่องโสเภณี, การผลิตเฮโรอิน ยาบ้า และสารเสพย์ติดทุกชนิด, ฯลฯ ...
สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเรื่องทางโลก, ... ที่เรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ชั่ว ก็เพราะมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เป็นพิษภัยต่อสังคมและมนุษยชาติ, ทั้งยังขัดแย้งและฝ่าฝืนต่ออัล-กุรฺอ่านและซุนนะฮ์ .......
(4). ตัวอย่างบิดอะฮ์ชั่วตามหลักภาษา ในเรื่องศาสนา ....
ตัวอย่างเช่น การเก็บซะกาตทรัพย์สินจากธนบัตรในอัตราเกินกว่าร้อยละ 2.5 ... ไม่ว่าก่อนหรือหลังครบรอบปี, การเชื่อว่ายังมีนบีย์อื่นอีกหลังจากท่านนบีย์มุหัมมัด ศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, การบีบแตรรถยนต์เมื่อขับผ่านสถานที่ซึ่งเชื่อว่า มีสิ่งศักด์สิทธ์สิงสถิตอยู่เพื่อความเป็นศิริมงคล, ความปลอดภัย และเป็นการสักการะต่อสถานที่นั้น, การสร้างบัยตุ้ลลอฮ์จำลองขึ้นมาในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เพื่อจะได้ทำการฏอว้าฟแทนบัยตุ้ลลอฮ์จริงที่นครมักกะฮ์ ฯลฯ ....
สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเรื่องศาสนา, ... และที่เรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ชั่ว ก็เพราะเป็นการกระทำหรืออุตริสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แถมยังขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน และซุนนะฮ์ เช่นเดียวกับข้อที่ 3. ...
บิดอะฮ์ในด้านภาษา 2 ข้อสุดท้าย, คือข้อที่ 3 และข้อที่ 4 นี้ สอดคล้องกับบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่เรียกกันว่า เป็น “บิดอะฮ์ เฎาะลาละฮ์ หรือบิดอะฮ์หลงผิด....
เมื่อเราพิจารณาจากตัวอย่างข้างต้นทั้งหมด ก็จะพบว่า ในมุมมองของบทบัญญัติ จะไม่มีคำว่า “บิดอะฮ์ดี” อยู่เลย นอกจากเป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” ทั้งสิ้น ...
เพราะฉะนั้น คำว่า “บิดอะฮ์ดี” จะมีก็เฉพาะในมุมมองของภาษาเท่านั้น ....
ΩΩ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น