อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง
5. บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ )
ดังที่ได้อธิบายในแผนภูมิบิดอะฮ์ หน้า 9 มาแล้วว่า ความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติของศาสนา หมายถึง การกระทำสิ่งซึ่งท่านศาสดาละทิ้ง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้ทำ, และไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำสิ่งนั้น ....
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ถูกส่งมาเผยแพร่ศาสนา มิใช่ให้มาสอนภาษา, เพราะฉะนั้นคำว่า “บิดอะฮ์” ที่ท่านกล่าว... จึงหมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติศาสนา, มิใช่บิดอะฮ์ตามกลักภาษา ... ซึ่งถูกรายงานมาหลายสำนวนดังต่อไปนี้ ....
สำนวนที่ 1
( إيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلاُمُوْرِ، فَإنَّـهَا ضَلاَلَـةٌ )
“พวกท่าน พึงระวังจากสิ่งทั้งหลายที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่, เพราะว่า มันคือความหลงผิด” ...
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2676 โดยรายงานมาจากท่านอัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ.) ......
สำนวนที่ 2
( وَشَرُّاْلاُمُوْرِ مُحْدَثَاتُـهَا )
“และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลาย ก็คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่ .....”
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 7277, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 43/867, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 206, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 45, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 319, 371, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ.) .......
สำนวนที่ 3
(كُلُّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَـةٌ) ......
“และทุกๆสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์” ......
(บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 371 ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214, โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ...
ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4607, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 126, 127, และท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 95 โดยรายงานมาจากท่าน อัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ. ....
และท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 46 โดยรายงานมาจากท่าน อิบนุ มัสอูด ร.ฎ. )
สำนวนที่ 4
وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ
“และทุกๆบิดอะฮ์ คือ ความหลงผิด” .....
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 43/867, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 319, 371, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 45, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ...
ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4607, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 42, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 95, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 126, 127 โดยรายงานมาจากท่าน อัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ.) ......
สำนวนที่ 5
( وَكُلُّ ضَلاَلَـةٍ فِي النَّارِ)
“และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก” .....
(บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต” ดังการอ้างอิงของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 3 หน้า 73 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) .......
จะเห็นได้ว่า หะดีษเกี่ยวกับบิดอะฮ์นี้ ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าว และได้ถูกบันทึกไว้ในหลายๆวาระ, จากเศาะหาบะฮ์หลายท่าน, แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นการบันทึกมาจากการรายงานของท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ และท่านอัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ. .....
แต่ที่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือ หะดีษซึ่งรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. อันมีข้อความดังต่อไปนี้ ....
( مَنْ يَهْدِهِ اللَّـهُ فَلاَ مُضِلَّ لَـهُ، وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَـادِيَ لَـهُ، إنَّ أَصْدَقَ الْحَدِيْثِ كِتَابُ اللَّـهِ، وَأَحْسَنَ الْـهَدْيِ هَـدْيُ مُحَمَّدٍ، وَشَرَّاْلاُمُوْرِ مُحْدَثَاتُـهَا وَكُلَّ مًحَدَثَـةٍ بِدْعَـةٌ، وَكُلَّّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ، وَكُلَّ ضَلاَلَـةٍ فِي النَّارِ .........)
“ผู้ใดที่พระองค์อัลลอฮ์ให้ทางนำแก่เขา ก็ไม่มีใครจะทำให้เขาหลงได้ และผู้ใดที่พระองค์ทำให้เขาหลง ก็ไม่มีใครนำทางแก่เขาได้, แน่นอน วาจาที่เป็นสัจจะที่สุด ก็คือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ ทางนำที่ดีเลิศที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด, ที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลาย คือบรรดาสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่, และทุกอย่างที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์ ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก ....”
( บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์, หะดีษที่ 1577 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
หะดีษบทนี้ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดในด้านความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และโทษทัณฑ์ของผู้ที่ทำสิ่งบิดอะฮ์ ชนิดที่แทบจะไม่ต้องให้คำอธิบายอะไรอีก ......
คำว่า “สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่” มิได้มีความหมายถึงกิจการทางโลกที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ เช่น อาชีพที่สุจริตทุกชนิด ฯลฯ, แต่หมายถึงการกระทำสิ่งใดที่ “เพิ่มเติมเข้ามาในเรื่องของศาสนา”, .... ดังได้รับการขยายความจากหะดีษซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .......
( مَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَـاهَـذَا مَالَيْسَ مِنْـهُ فَهُوَرَدٌّ )
“ผู้ใด ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ..ในกิจการ (ศาสนา) นี้ของเรา ในสิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน(ศาสนา) สิ่งนั้นจะต้องถูกตีกลับ (ไม่ถูกรับรอง)” ........
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 2697, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 17/1718, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4606, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 370, และท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 14) ....... .
คำว่า “ในสิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน” นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงสิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ โดยไม่ได้มีที่มาจาก “หลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับไว้” ... (ดังที่ผมได้กำหนดไว้เป็นข้อที่ 1 จากแผนภูมิเรื่องบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หน้า 9 ) ...
หมายความว่า ถ้าสิ่งที่ถูกปฏิบัติขึ้นมาใหม่ในสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างในยุคของท่านศาสดา แต่มีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับ ก็จะไม่เรียกสิ่งนั้นว่า เป็นบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) ....
ตัวอย่างเช่น การสร้างโรงเรียนสอนศาสนาในระบบปัจจุบัน หรือการสร้างโรงเรียนปอเนาะในยุคก่อนๆ ... สิ่งเหล่านี้ แม้จะไม่เคยปรากฏในยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่การปรากฏมีสิ่งเหล่านี้ในยุคปัจจุบัน ไม่เรียกว่า บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ เพราะมีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนามารองรับ, ... นั่นคือ เป็นสถานที่เพื่อการสั่งสอนวิชาการศาสนา และปกป้องศาสนาจากการสูญหาย ซึ่งการสั่งสอนวิชาการและปกป้องศาสนาจากการสูญหายนี้ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น (วาญิบ) ของอิสลาม อันเป็นมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ....
อีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ ที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ...
( مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْـهِ أَمْرُنَـا فَهُوَ رَدٌّ )
“ผู้ใด กระทำสิ่งใด ที่ไม่มีในกิจการ (ศาสนา) ของเรา สิ่งนั้นจะต้องถูกตีกลับ (ไม่ถูกรับรอง)” ......
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่18/1718, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4606, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 146, 180, 256, และท่านบุคอรีย์ ได้บันทึกหะดีษบทนี้ในลักษณะตะอฺลีก คือ ไม่ได้ระบุสายรายงาน ในกิตาบ อัล-เอี๊ยะอฺติซอม ( ألإعْتِصَامُ ) บาบที่ 20, และกิตาบ อัล-บุยูอฺ ( اَلْبُيُوْعُ) บาบที่ 60 ) .......
ที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ ขณะที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า การอุตริ “ทุกอย่าง” ในบทบัญญัติ เป็นเรื่องเลวร้าย, แต่ประชาชนบางคนกลับเข้าใจว่า การอุตริในบทบัญญัติ -- เกือบทุกอย่าง -- เป็นเรื่องดีที่ควรปฏิบัติ ....
อาจจะมีผู้สงสัยว่า หาก “ทุกๆการอุตริ” ในเรื่องบทบัญญัติของศาสนา เป็นเรื่องเลวร้ายและเป็นความหลงผิดทั้งหมด ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องลงนรก, .. ดังข้อความของหะดีษข้างต้นจริง ...
ก็แล้วการที่เคาะลีฟะฮ์หลายท่านของท่านศาสดา ได้กระทำในสิ่งที่ท่านศาสดาเองมิได้กระทำมาก่อน อันเป็นเรื่องของศาสนา ... อย่างเช่น การที่ท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้สั่งให้มีการรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ดี, การที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้สั่งให้ประชาชน นมาซตะรอเวี๊ยะห์รวมกัน (ญะมาอะฮ์) ก็ดี, (แถมท่านยังกล่าวด้วยว่า นี่คือ บิดอะฮ์ดี), หรือการที่ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ. ได้เพิ่มการอะซานครั้งแรกในการนมาซวันศุกร์ก็ดี, เราจะให้คำอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ? .....
ตัวอย่างเหล่านี้ มิได้หมายความว่า บรรดาเคาะลีฟะฮ์ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้กระทำบิดอะฮ์ในเรื่องบทบัญญัติศาสนาเสียเอง และพวกท่านจะต้องลงนรกกระนั้นหรือ ? ......
ผมขอเรียนชี้แจงและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ดังต่อไปนี้ ......
ข้อความของหะดีษที่กล่าวว่า “ทุกๆสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมา (ในบทบัญญัติศาสนา) เป็นบิดอะฮ์, ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด, และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก” เป็นเรื่องจริงที่ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น .....
ส่วนการกระทำของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้งสามท่าน ดังตัวอย่างข้างต้นนั้น แน่นอน !ตามข้อเท็จจริง .. สิ่งที่พวกท่านกระทำ มิใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักการศาสนา และมิใช่เป็นบิดอะฮ์ดีของศาสนา ดังที่บางคน -- แม้กระทั่งท่านอุมัรฺ ร.ฎ.เอง -- เข้าใจ .. และพวกท่าน จะไม่มีวันลงนรกด้วย ! .......
ที่ว่า พวกท่านจะไม่มีวันลงนรก ก็เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวยืนยันไว้เอง .. ทั้งในอัล-กุรฺอ่านและอัล-หะดีษ, หลายต่อหลายบทด้วยกัน ...
ในที่นี้ ผมขอนำเอาอัล-หะดีษบทหนึ่ง มาเป็นหลักฐานดังต่อไปนี้ ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
( لاَيَدْخُلُ النَّـارَأَحَدٌ مِمَّنْ بَـايَعَ تَحْتَ الشَّجَرَةِ )
“ไม่มีบุคคลใดจากผู้ที่ให้สัตยาบัน (ต่อฉัน) ..ใต้ต้นไม้ ( ณ ตำบลหุดัยบิยะฮ์) จะต้องลงนรก" ....
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 163/2496, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 3860, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 396, .. โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ... สำนวนในที่นี้ เป็นสำนวนของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ) ....
และอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ ก็คือ ....
( أًنَّ عَبْدًا لِحَاطِبٍ جَآءَ رَسُوْلَ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَشْكُوْ حَاطِبًا، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللَّـهِ ! لَيَدْخُلَنَّ حَاطِبٌ النَّارَ. فَقَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : كَذَبْتَ لاَ يَدْخُلُـهَا ! فَإِنَّـهُ شَهِدَ بَدْرًا وَالْحُدَيْبِبيَـةَ )......
ทาสคนหนึ่งของท่านหาฏิบ (บิน อบีย์บัลตะอะฮ์ ร.ฎ., สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 30 ขณะอายุได้ 65 ปี ในสมัยของท่านเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ.) ได้มาหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับ (พฤติการณ์บางอย่าง) ของท่านหาฎิบ แล้วกล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ! หาฏิบจะต้องลงนรกแน่นอน” ... ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า .. “ ไม่หรอก ! เขา (หาฏิบ) ไม่มีวันลงนรก เพราะเขาเคยร่วมทั้งในสงครามบะดัรฺ และ (ให้สัตยาบัน) ที่หุดัยบิยะฮ์”
( บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 162/2495, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 325, 349 จากท่านญาบิรฺ, จากท่าน อุมมุ มุบัชชิรฺ ร.ฎ. ) ........
เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รับรองว่า เศาะหาบะฮ์ของท่านที่เคยเข้าร่วมในสงครามบะดัรฺ, และเคยเข้าร่วมให้สัตยาบันใต้ต้นไม้ที่ตำบลหุดัยบิยะฮ์ จะไม่มีวันลงนรก คอลีฟะฮ์ทั้ง 3 ท่านนั้น ก็จัดอยู่ในกลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้ด้วยคือ เคยเข้าร่วมในสงครามหุดัยบิยะฮ์ทั้ง 3 ท่าน, ดังนั้น จึงไม่มีวันลงนรก .....
เมื่อพวกท่านไม่ลงนรก ก็แสดงว่า ตัวอย่างทั้ง 3 ประการข้างต้น ที่พวกท่านกระทำทั้งๆที่ไม่มีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงมิใช่เป็น “บิดอะฮ์” ตามบทบัญญัติ ......
ถ้ามิใช่เป็นบิดอะฮ์ แล้วจะเป็นอะไร ? ...
คำตอบก็คือ นักวิชาการจะเรียกการกระทำในลักษณะดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์เหล่านั้นว่า “มะศอลิห์ มุรฺซะละฮ์” ( اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَـلَةُ ) ...
มะศอลิห์มุรฺซะละฮ์หมายถึง “สิ่งดีๆที่ (ท่านศาสดา) ได้ละไว้ หรือปล่อยวางไว้”
สาเหตุที่ท่านศาสดา จำเป็นต้องละหรือปล่อยวางจากสิ่งดีๆเหล่านั้นไว้ นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจาก “เรื่องจริง” อันได้แก่พฤติกรรมดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้ง 3 ท่านและเศาะหาบะฮ์ท่านอื่นๆแล้ว พบว่า มีสาเหตุหลักมาจากข้อใดข้อหนึ่ง จาก 2 ประการดังต่อไปนี้ คือ .....
1. เพราะท่านมี “อุปสรรค” จนไม่สามารถปฏิบัติสิ่งดีๆเหล่านั้นได้ .. หรือ
2. ไม่มีประเด็นส่งเสริม (ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่) ให้ต้องกระทำสิ่งดีนั้น ..
ดังที่ได้อธิบายในแผนภูมิบิดอะฮ์ หน้า 9 มาแล้วว่า ความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติของศาสนา หมายถึง การกระทำสิ่งซึ่งท่านศาสดาละทิ้ง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้ทำ, และไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำสิ่งนั้น ....
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ถูกส่งมาเผยแพร่ศาสนา มิใช่ให้มาสอนภาษา, เพราะฉะนั้นคำว่า “บิดอะฮ์” ที่ท่านกล่าว... จึงหมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติศาสนา, มิใช่บิดอะฮ์ตามกลักภาษา ... ซึ่งถูกรายงานมาหลายสำนวนดังต่อไปนี้ ....
สำนวนที่ 1
( إيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلاُمُوْرِ، فَإنَّـهَا ضَلاَلَـةٌ )
“พวกท่าน พึงระวังจากสิ่งทั้งหลายที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่, เพราะว่า มันคือความหลงผิด” ...
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2676 โดยรายงานมาจากท่านอัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ.) ......
สำนวนที่ 2
( وَشَرُّاْلاُمُوْرِ مُحْدَثَاتُـهَا )
“และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลาย ก็คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่ .....”
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 7277, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 43/867, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 206, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 45, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 319, 371, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ.) .......
สำนวนที่ 3
(كُلُّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَـةٌ) ......
“และทุกๆสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์” ......
(บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 371 ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214, โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ...
ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4607, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 126, 127, และท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 95 โดยรายงานมาจากท่าน อัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ. ....
และท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 46 โดยรายงานมาจากท่าน อิบนุ มัสอูด ร.ฎ. )
สำนวนที่ 4
وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ
“และทุกๆบิดอะฮ์ คือ ความหลงผิด” .....
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 43/867, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 319, 371, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 45, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ...
ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4607, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 42, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 95, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 126, 127 โดยรายงานมาจากท่าน อัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ.) ......
สำนวนที่ 5
( وَكُلُّ ضَلاَلَـةٍ فِي النَّارِ)
“และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก” .....
(บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต” ดังการอ้างอิงของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 3 หน้า 73 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) .......
จะเห็นได้ว่า หะดีษเกี่ยวกับบิดอะฮ์นี้ ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าว และได้ถูกบันทึกไว้ในหลายๆวาระ, จากเศาะหาบะฮ์หลายท่าน, แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นการบันทึกมาจากการรายงานของท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ และท่านอัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ. .....
แต่ที่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือ หะดีษซึ่งรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. อันมีข้อความดังต่อไปนี้ ....
( مَنْ يَهْدِهِ اللَّـهُ فَلاَ مُضِلَّ لَـهُ، وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَـادِيَ لَـهُ، إنَّ أَصْدَقَ الْحَدِيْثِ كِتَابُ اللَّـهِ، وَأَحْسَنَ الْـهَدْيِ هَـدْيُ مُحَمَّدٍ، وَشَرَّاْلاُمُوْرِ مُحْدَثَاتُـهَا وَكُلَّ مًحَدَثَـةٍ بِدْعَـةٌ، وَكُلَّّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ، وَكُلَّ ضَلاَلَـةٍ فِي النَّارِ .........)
“ผู้ใดที่พระองค์อัลลอฮ์ให้ทางนำแก่เขา ก็ไม่มีใครจะทำให้เขาหลงได้ และผู้ใดที่พระองค์ทำให้เขาหลง ก็ไม่มีใครนำทางแก่เขาได้, แน่นอน วาจาที่เป็นสัจจะที่สุด ก็คือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ ทางนำที่ดีเลิศที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด, ที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลาย คือบรรดาสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่, และทุกอย่างที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์ ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก ....”
( บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์, หะดีษที่ 1577 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
หะดีษบทนี้ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดในด้านความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และโทษทัณฑ์ของผู้ที่ทำสิ่งบิดอะฮ์ ชนิดที่แทบจะไม่ต้องให้คำอธิบายอะไรอีก ......
คำว่า “สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่” มิได้มีความหมายถึงกิจการทางโลกที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ เช่น อาชีพที่สุจริตทุกชนิด ฯลฯ, แต่หมายถึงการกระทำสิ่งใดที่ “เพิ่มเติมเข้ามาในเรื่องของศาสนา”, .... ดังได้รับการขยายความจากหะดีษซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .......
( مَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَـاهَـذَا مَالَيْسَ مِنْـهُ فَهُوَرَدٌّ )
“ผู้ใด ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ..ในกิจการ (ศาสนา) นี้ของเรา ในสิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน(ศาสนา) สิ่งนั้นจะต้องถูกตีกลับ (ไม่ถูกรับรอง)” ........
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 2697, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 17/1718, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4606, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 370, และท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 14) ....... .
คำว่า “ในสิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน” นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงสิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ โดยไม่ได้มีที่มาจาก “หลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับไว้” ... (ดังที่ผมได้กำหนดไว้เป็นข้อที่ 1 จากแผนภูมิเรื่องบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หน้า 9 ) ...
หมายความว่า ถ้าสิ่งที่ถูกปฏิบัติขึ้นมาใหม่ในสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างในยุคของท่านศาสดา แต่มีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับ ก็จะไม่เรียกสิ่งนั้นว่า เป็นบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) ....
ตัวอย่างเช่น การสร้างโรงเรียนสอนศาสนาในระบบปัจจุบัน หรือการสร้างโรงเรียนปอเนาะในยุคก่อนๆ ... สิ่งเหล่านี้ แม้จะไม่เคยปรากฏในยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่การปรากฏมีสิ่งเหล่านี้ในยุคปัจจุบัน ไม่เรียกว่า บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ เพราะมีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนามารองรับ, ... นั่นคือ เป็นสถานที่เพื่อการสั่งสอนวิชาการศาสนา และปกป้องศาสนาจากการสูญหาย ซึ่งการสั่งสอนวิชาการและปกป้องศาสนาจากการสูญหายนี้ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น (วาญิบ) ของอิสลาม อันเป็นมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ....
อีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ ที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ...
( مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْـهِ أَمْرُنَـا فَهُوَ رَدٌّ )
“ผู้ใด กระทำสิ่งใด ที่ไม่มีในกิจการ (ศาสนา) ของเรา สิ่งนั้นจะต้องถูกตีกลับ (ไม่ถูกรับรอง)” ......
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่18/1718, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4606, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 146, 180, 256, และท่านบุคอรีย์ ได้บันทึกหะดีษบทนี้ในลักษณะตะอฺลีก คือ ไม่ได้ระบุสายรายงาน ในกิตาบ อัล-เอี๊ยะอฺติซอม ( ألإعْتِصَامُ ) บาบที่ 20, และกิตาบ อัล-บุยูอฺ ( اَلْبُيُوْعُ) บาบที่ 60 ) .......
ที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ ขณะที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า การอุตริ “ทุกอย่าง” ในบทบัญญัติ เป็นเรื่องเลวร้าย, แต่ประชาชนบางคนกลับเข้าใจว่า การอุตริในบทบัญญัติ -- เกือบทุกอย่าง -- เป็นเรื่องดีที่ควรปฏิบัติ ....
อาจจะมีผู้สงสัยว่า หาก “ทุกๆการอุตริ” ในเรื่องบทบัญญัติของศาสนา เป็นเรื่องเลวร้ายและเป็นความหลงผิดทั้งหมด ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องลงนรก, .. ดังข้อความของหะดีษข้างต้นจริง ...
ก็แล้วการที่เคาะลีฟะฮ์หลายท่านของท่านศาสดา ได้กระทำในสิ่งที่ท่านศาสดาเองมิได้กระทำมาก่อน อันเป็นเรื่องของศาสนา ... อย่างเช่น การที่ท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้สั่งให้มีการรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ดี, การที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้สั่งให้ประชาชน นมาซตะรอเวี๊ยะห์รวมกัน (ญะมาอะฮ์) ก็ดี, (แถมท่านยังกล่าวด้วยว่า นี่คือ บิดอะฮ์ดี), หรือการที่ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ. ได้เพิ่มการอะซานครั้งแรกในการนมาซวันศุกร์ก็ดี, เราจะให้คำอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ? .....
ตัวอย่างเหล่านี้ มิได้หมายความว่า บรรดาเคาะลีฟะฮ์ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้กระทำบิดอะฮ์ในเรื่องบทบัญญัติศาสนาเสียเอง และพวกท่านจะต้องลงนรกกระนั้นหรือ ? ......
ผมขอเรียนชี้แจงและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ดังต่อไปนี้ ......
ข้อความของหะดีษที่กล่าวว่า “ทุกๆสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมา (ในบทบัญญัติศาสนา) เป็นบิดอะฮ์, ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด, และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก” เป็นเรื่องจริงที่ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น .....
ส่วนการกระทำของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้งสามท่าน ดังตัวอย่างข้างต้นนั้น แน่นอน !ตามข้อเท็จจริง .. สิ่งที่พวกท่านกระทำ มิใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักการศาสนา และมิใช่เป็นบิดอะฮ์ดีของศาสนา ดังที่บางคน -- แม้กระทั่งท่านอุมัรฺ ร.ฎ.เอง -- เข้าใจ .. และพวกท่าน จะไม่มีวันลงนรกด้วย ! .......
ที่ว่า พวกท่านจะไม่มีวันลงนรก ก็เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวยืนยันไว้เอง .. ทั้งในอัล-กุรฺอ่านและอัล-หะดีษ, หลายต่อหลายบทด้วยกัน ...
ในที่นี้ ผมขอนำเอาอัล-หะดีษบทหนึ่ง มาเป็นหลักฐานดังต่อไปนี้ ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
( لاَيَدْخُلُ النَّـارَأَحَدٌ مِمَّنْ بَـايَعَ تَحْتَ الشَّجَرَةِ )
“ไม่มีบุคคลใดจากผู้ที่ให้สัตยาบัน (ต่อฉัน) ..ใต้ต้นไม้ ( ณ ตำบลหุดัยบิยะฮ์) จะต้องลงนรก" ....
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 163/2496, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 3860, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 396, .. โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ... สำนวนในที่นี้ เป็นสำนวนของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ) ....
และอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ ก็คือ ....
( أًنَّ عَبْدًا لِحَاطِبٍ جَآءَ رَسُوْلَ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَشْكُوْ حَاطِبًا، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللَّـهِ ! لَيَدْخُلَنَّ حَاطِبٌ النَّارَ. فَقَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : كَذَبْتَ لاَ يَدْخُلُـهَا ! فَإِنَّـهُ شَهِدَ بَدْرًا وَالْحُدَيْبِبيَـةَ )......
ทาสคนหนึ่งของท่านหาฏิบ (บิน อบีย์บัลตะอะฮ์ ร.ฎ., สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 30 ขณะอายุได้ 65 ปี ในสมัยของท่านเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ.) ได้มาหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับ (พฤติการณ์บางอย่าง) ของท่านหาฎิบ แล้วกล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ! หาฏิบจะต้องลงนรกแน่นอน” ... ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า .. “ ไม่หรอก ! เขา (หาฏิบ) ไม่มีวันลงนรก เพราะเขาเคยร่วมทั้งในสงครามบะดัรฺ และ (ให้สัตยาบัน) ที่หุดัยบิยะฮ์”
( บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 162/2495, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 325, 349 จากท่านญาบิรฺ, จากท่าน อุมมุ มุบัชชิรฺ ร.ฎ. ) ........
เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รับรองว่า เศาะหาบะฮ์ของท่านที่เคยเข้าร่วมในสงครามบะดัรฺ, และเคยเข้าร่วมให้สัตยาบันใต้ต้นไม้ที่ตำบลหุดัยบิยะฮ์ จะไม่มีวันลงนรก คอลีฟะฮ์ทั้ง 3 ท่านนั้น ก็จัดอยู่ในกลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้ด้วยคือ เคยเข้าร่วมในสงครามหุดัยบิยะฮ์ทั้ง 3 ท่าน, ดังนั้น จึงไม่มีวันลงนรก .....
เมื่อพวกท่านไม่ลงนรก ก็แสดงว่า ตัวอย่างทั้ง 3 ประการข้างต้น ที่พวกท่านกระทำทั้งๆที่ไม่มีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงมิใช่เป็น “บิดอะฮ์” ตามบทบัญญัติ ......
ถ้ามิใช่เป็นบิดอะฮ์ แล้วจะเป็นอะไร ? ...
คำตอบก็คือ นักวิชาการจะเรียกการกระทำในลักษณะดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์เหล่านั้นว่า “มะศอลิห์ มุรฺซะละฮ์” ( اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَـلَةُ ) ...
มะศอลิห์มุรฺซะละฮ์หมายถึง “สิ่งดีๆที่ (ท่านศาสดา) ได้ละไว้ หรือปล่อยวางไว้”
สาเหตุที่ท่านศาสดา จำเป็นต้องละหรือปล่อยวางจากสิ่งดีๆเหล่านั้นไว้ นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจาก “เรื่องจริง” อันได้แก่พฤติกรรมดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้ง 3 ท่านและเศาะหาบะฮ์ท่านอื่นๆแล้ว พบว่า มีสาเหตุหลักมาจากข้อใดข้อหนึ่ง จาก 2 ประการดังต่อไปนี้ คือ .....
1. เพราะท่านมี “อุปสรรค” จนไม่สามารถปฏิบัติสิ่งดีๆเหล่านั้นได้ .. หรือ
2. ไม่มีประเด็นส่งเสริม (ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่) ให้ต้องกระทำสิ่งดีนั้น ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น