อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง
6.ตัวอย่างสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์ตามกฎเกณฑ์ข้างต้น.
นักวิชาการ ได้ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ตามกฎเกณฑ์ข้างต้นไว้มากมาย, แต่ผมจะขอนำเอาบางเรื่องที่เป็นปัญหาใกล้ตัวและพวกเราขัดแย้งกันมากที่สุดมานำเสนอ พร้อมกับจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในบางตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ ....
1. การจัดงานเมาลิด หรืองานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
หากเราจะใช้ “สามัญสำนึก” เป็นเครื่องตัดสิน แน่ละ, มุสลิมที่มีอีหม่านทุกคน คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า การจัดพิธีกรรมเมาลิด หรือการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา ... อันเป็นเรื่องของการเลี้ยงอาหาร, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน, ฯลฯ ... เป็นเรื่องที่ดี ....
ก็คงเหมือนกับ, หากเราใช้สามัญสำนึกเป็นเครื่องตัดสิน ... การอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด ก็เป็นเรื่องที่ดี, ... การอ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำหน้ามัยยิตไปฝัง ก็เป็นเรื่องที่ดี ... ฯลฯ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นแหละ ....
แต่มุมมองตามบรรทัดฐานของบทบัญญัติ ย่อมแตกต่างกับมุมมองเพียงผิวเผิน ตามสามัญสำนึกของปุถุชน ... คือ ต้องพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วนในหลายแง่มุม ..
ที่สำคัญและน่าสังเกตอย่างยิ่งก็คือ พิธีกรรมดังกล่าวนี้ ไม่เคยปรากฏ, ไม่ว่าในยุคสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่, ในสมัยของเศาะหาบะฮ์, ในสมัยของตาบิอีน, ในสมัยของอิหม่ามทั้ง 4 ท่าน, หรือในสามศตวรรษแรกที่ได้ชื่อว่า เป็นยุคที่ดีที่สุดของอิสลาม ดังคำรับรองของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .......
ตรงกันข้าม, ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรมเมาลิด ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอียิปต์, ประมาณปี ฮ.ศ. 362 โดยสุลฎอนอัล-มุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ แห่งวงศ์ฟาฏิมีย์ (เป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์, ครองอำนาจระหว่างปี ฮ.ศ. 341 – 365) ....
โดยนัยนี้ พิธิกรรมเมาลิด จึงเป็นเรื่อง “บิดอะฮ์” โดยไม่มีข้อขัดแย้ง, หรืออีกนัยหนึ่ง โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ....
จุดขัดแย้ง มาอยู่ในประเด็นที่ว่า มันเป็นเรื่อง “บิดอะฮ์ดี” หรือ “บิดอะฮ์ไม่ดี”
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอยู่, ... แน่ละ พวกเขาย่อมจะต้องมองว่า การจัดงานเมาลิด เป็น “บิดอะฮ์ดี” -- อันเป็นมุมมอง “ในแง่ภาษา” ของคำว่า บิดอะฮ์ ที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว -- ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการบางท่าน ....
แต่ถ้าพิจารณากันตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้างต้น, การทำพิธีเมาลิดหรือจัดงานฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านนบีย์ฯ เป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” ตามบทบัญญัติศาสนาแน่นอน ....
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ เราจะใช้ “สามัญสำนึก” ของปุถุชน หรือจะอาศัย “กฎเกณฑ์ของวิชาการ” .. อันเป็นหลักสากลของศาสนาอิสลาม มาเป็นเครื่องตัดสิน ? ....
หากเรายอมรับว่า จะต้องใช้กฎเกณฑ์ของวิชาการศาสนาตัดสิน เราก็ต้องพิจารณาดูว่า พิธีกรรมเมาลิดหรืองานฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านศาสดานี้ ในสมัยก่อน -- ไม่ต้องมองย้อนไปถึงยุคของท่านศาสดาหรอก, เอาแค่ยุคของเศาะหาบะฮ์และยุคหลังจากนั้นจนถึงยุคของอิหม่ามทั้ง 4 ก็พอ -- มีประเด็นส่งเสริมให้ปฏิบัติหรือไม่ ? .. ถ้ามีประเด็นส่งเสริมแล้ว แต่พวกท่านเหล่านั้นไม่ได้จัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาดูต่อไปว่า พวกท่านมีอุปสรรคอะไร ? .....
และถ้าพวกท่านไม่ยอมจัดพิธีกรรมเมาลิด ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม และไม่มีอุปสรรคอันใด ก็แสดงว่า การมาจัดพิธีกรรมนี้ในยุคหลังๆ ถือว่า เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามที่น่ารังเกียจ ! ... ตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้างต้นนั้น ......
จากข้อแรก, ... พิธีกรรมเมาลิด มีประเด็นส่งเสริมให้ประชาชนในยุคแรก จัดกันหรือไม่ ? ....
คำตอบก็คือ ประเด็นส่งเสริม มีแน่นอน, ... นั่นคือ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรัก, ความเทิดทูน ที่มีต่อท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ....
ข้อที่สอง, ... เมื่อมีประเด็นส่งเสริม -- คือ ความรักและเทิดทูนท่านนบีย์ฯ มาก จนเป็นเหตุให้มีการจัดพิธีกรรมฉลองวันเกิดของท่านขึ้นมา -- ก็แล้วทำไมบรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชาติมุสลิมในยุคก่อนปี ฮ.ศ. 362 จึงไม่ยอมจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯ เหมือนที่พวกเราจัดกัน ? ... พวกท่านมีอุปสรรคอะไร ? ...
นี่คือ สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุกันต่อไป ....
สาเหตุหรืออุปสรรคที่ขัดขวางพวกท่านจากการจัดงานฉลองวันเกิดท่านนบีย์ฯ อาจมีได้ดังต่อไปนี้ ....
เพราะพวกท่านไม่รักท่านนบีย์เลยฯ, หรือรักท่านนบีย์น้อยกว่าพวกเรา ? ...
เพราะพวกท่านมีภารกิจมาก, จนไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯ ? ...
เพราะพวกท่านขี้เกียจจัดงานเมาลิด ? ...
เพราะพวกท่านจำวันเกิดท่านนบีย์ฯไม่ได้ ? ...
เพราะพวกท่านไม่ต้องการเผยแพร่เกียรติคุณของท่านนบีย์ให้โลกได้รับรู้ ? ... ฯลฯ ..
คำตอบของปัญหาทั้งหมดนั้น คิดว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะให้คำตอบตรงกันว่า .. ไม่ใช่, และเป็นไปไม่ได้ ....
ในเมื่อคำตอบคือคำว่า ไม่ใช่, .. และในเมื่อบรรพชนผู้มีชีวิตอยู่ในยุคที่ดีเลิศดังคำรับรองของท่านศาสดาเหล่านั้น ไม่เคยจัดงานเมาลิด -- ทั้งที่ประเด็นส่งเสริมก็มีแล้ว และพวกท่านไม่มีอุปสรรคอะไร -- จึงย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่า งานเมาลิดที่มีการจัดกันแพร่หลายในบางท้องที่หรือในบางประเทศปัจจุบันนี้ .. เป็นเรื่อง “บิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ” ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ), และตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม
แต่ถ้าจะให้คาดเดากัน (พูดให้เพราะก็ต้องใช้คำว่า สันนิษฐาน) ตามมุมมองของผม .. สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชนในยุคแรก ไม่ได้จัดพิธีกรรมเมาลิดเพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ ....
1. เพราะพวกท่านมองว่า การจัดงานเมาลิดหรืองานฉลองวันเกิดท่านศาสดา เป็นการเลียนแบบการจัดงานวันคริสต์มาสของชาวคริสต์ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองวันเกิดของท่านนบีย์อีซา (พระเยซู) ....
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวว่า ..
( مَنْ تَشَبَّـهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْـهُمْ )
“ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากชนกลุ่มนั้น”
(บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, 92, ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.) ....
นักวิชาการ ได้ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ตามกฎเกณฑ์ข้างต้นไว้มากมาย, แต่ผมจะขอนำเอาบางเรื่องที่เป็นปัญหาใกล้ตัวและพวกเราขัดแย้งกันมากที่สุดมานำเสนอ พร้อมกับจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในบางตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ ....
1. การจัดงานเมาลิด หรืองานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
หากเราจะใช้ “สามัญสำนึก” เป็นเครื่องตัดสิน แน่ละ, มุสลิมที่มีอีหม่านทุกคน คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า การจัดพิธีกรรมเมาลิด หรือการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา ... อันเป็นเรื่องของการเลี้ยงอาหาร, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน, ฯลฯ ... เป็นเรื่องที่ดี ....
ก็คงเหมือนกับ, หากเราใช้สามัญสำนึกเป็นเครื่องตัดสิน ... การอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด ก็เป็นเรื่องที่ดี, ... การอ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำหน้ามัยยิตไปฝัง ก็เป็นเรื่องที่ดี ... ฯลฯ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นแหละ ....
แต่มุมมองตามบรรทัดฐานของบทบัญญัติ ย่อมแตกต่างกับมุมมองเพียงผิวเผิน ตามสามัญสำนึกของปุถุชน ... คือ ต้องพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วนในหลายแง่มุม ..
ที่สำคัญและน่าสังเกตอย่างยิ่งก็คือ พิธีกรรมดังกล่าวนี้ ไม่เคยปรากฏ, ไม่ว่าในยุคสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่, ในสมัยของเศาะหาบะฮ์, ในสมัยของตาบิอีน, ในสมัยของอิหม่ามทั้ง 4 ท่าน, หรือในสามศตวรรษแรกที่ได้ชื่อว่า เป็นยุคที่ดีที่สุดของอิสลาม ดังคำรับรองของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .......
ตรงกันข้าม, ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรมเมาลิด ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอียิปต์, ประมาณปี ฮ.ศ. 362 โดยสุลฎอนอัล-มุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ แห่งวงศ์ฟาฏิมีย์ (เป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์, ครองอำนาจระหว่างปี ฮ.ศ. 341 – 365) ....
โดยนัยนี้ พิธิกรรมเมาลิด จึงเป็นเรื่อง “บิดอะฮ์” โดยไม่มีข้อขัดแย้ง, หรืออีกนัยหนึ่ง โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ....
จุดขัดแย้ง มาอยู่ในประเด็นที่ว่า มันเป็นเรื่อง “บิดอะฮ์ดี” หรือ “บิดอะฮ์ไม่ดี”
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอยู่, ... แน่ละ พวกเขาย่อมจะต้องมองว่า การจัดงานเมาลิด เป็น “บิดอะฮ์ดี” -- อันเป็นมุมมอง “ในแง่ภาษา” ของคำว่า บิดอะฮ์ ที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว -- ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการบางท่าน ....
แต่ถ้าพิจารณากันตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้างต้น, การทำพิธีเมาลิดหรือจัดงานฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านนบีย์ฯ เป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” ตามบทบัญญัติศาสนาแน่นอน ....
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ เราจะใช้ “สามัญสำนึก” ของปุถุชน หรือจะอาศัย “กฎเกณฑ์ของวิชาการ” .. อันเป็นหลักสากลของศาสนาอิสลาม มาเป็นเครื่องตัดสิน ? ....
หากเรายอมรับว่า จะต้องใช้กฎเกณฑ์ของวิชาการศาสนาตัดสิน เราก็ต้องพิจารณาดูว่า พิธีกรรมเมาลิดหรืองานฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านศาสดานี้ ในสมัยก่อน -- ไม่ต้องมองย้อนไปถึงยุคของท่านศาสดาหรอก, เอาแค่ยุคของเศาะหาบะฮ์และยุคหลังจากนั้นจนถึงยุคของอิหม่ามทั้ง 4 ก็พอ -- มีประเด็นส่งเสริมให้ปฏิบัติหรือไม่ ? .. ถ้ามีประเด็นส่งเสริมแล้ว แต่พวกท่านเหล่านั้นไม่ได้จัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาดูต่อไปว่า พวกท่านมีอุปสรรคอะไร ? .....
และถ้าพวกท่านไม่ยอมจัดพิธีกรรมเมาลิด ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม และไม่มีอุปสรรคอันใด ก็แสดงว่า การมาจัดพิธีกรรมนี้ในยุคหลังๆ ถือว่า เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามที่น่ารังเกียจ ! ... ตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้างต้นนั้น ......
จากข้อแรก, ... พิธีกรรมเมาลิด มีประเด็นส่งเสริมให้ประชาชนในยุคแรก จัดกันหรือไม่ ? ....
คำตอบก็คือ ประเด็นส่งเสริม มีแน่นอน, ... นั่นคือ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรัก, ความเทิดทูน ที่มีต่อท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ....
ข้อที่สอง, ... เมื่อมีประเด็นส่งเสริม -- คือ ความรักและเทิดทูนท่านนบีย์ฯ มาก จนเป็นเหตุให้มีการจัดพิธีกรรมฉลองวันเกิดของท่านขึ้นมา -- ก็แล้วทำไมบรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชาติมุสลิมในยุคก่อนปี ฮ.ศ. 362 จึงไม่ยอมจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯ เหมือนที่พวกเราจัดกัน ? ... พวกท่านมีอุปสรรคอะไร ? ...
นี่คือ สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุกันต่อไป ....
สาเหตุหรืออุปสรรคที่ขัดขวางพวกท่านจากการจัดงานฉลองวันเกิดท่านนบีย์ฯ อาจมีได้ดังต่อไปนี้ ....
เพราะพวกท่านไม่รักท่านนบีย์เลยฯ, หรือรักท่านนบีย์น้อยกว่าพวกเรา ? ...
เพราะพวกท่านมีภารกิจมาก, จนไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯ ? ...
เพราะพวกท่านขี้เกียจจัดงานเมาลิด ? ...
เพราะพวกท่านจำวันเกิดท่านนบีย์ฯไม่ได้ ? ...
เพราะพวกท่านไม่ต้องการเผยแพร่เกียรติคุณของท่านนบีย์ให้โลกได้รับรู้ ? ... ฯลฯ ..
คำตอบของปัญหาทั้งหมดนั้น คิดว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะให้คำตอบตรงกันว่า .. ไม่ใช่, และเป็นไปไม่ได้ ....
ในเมื่อคำตอบคือคำว่า ไม่ใช่, .. และในเมื่อบรรพชนผู้มีชีวิตอยู่ในยุคที่ดีเลิศดังคำรับรองของท่านศาสดาเหล่านั้น ไม่เคยจัดงานเมาลิด -- ทั้งที่ประเด็นส่งเสริมก็มีแล้ว และพวกท่านไม่มีอุปสรรคอะไร -- จึงย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่า งานเมาลิดที่มีการจัดกันแพร่หลายในบางท้องที่หรือในบางประเทศปัจจุบันนี้ .. เป็นเรื่อง “บิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ” ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ), และตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม
แต่ถ้าจะให้คาดเดากัน (พูดให้เพราะก็ต้องใช้คำว่า สันนิษฐาน) ตามมุมมองของผม .. สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชนในยุคแรก ไม่ได้จัดพิธีกรรมเมาลิดเพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ ....
1. เพราะพวกท่านมองว่า การจัดงานเมาลิดหรืองานฉลองวันเกิดท่านศาสดา เป็นการเลียนแบบการจัดงานวันคริสต์มาสของชาวคริสต์ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองวันเกิดของท่านนบีย์อีซา (พระเยซู) ....
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวว่า ..
( مَنْ تَشَبَّـهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْـهُمْ )
“ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากชนกลุ่มนั้น”
(บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, 92, ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.) ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น