อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง
(2). การจัดให้มีคน, หรือให้มีขบวน .. อ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำหน้า ตอนหามมัยยิตไปฝังที่กุบูรฺ ......
ผู้ปฏิบัติ, สามารถจะอ้างได้ว่า ... สิ่งนี้แม้จะเป็นบิดอะฮ์, แต่ก็เป็นบิดอะฮ์ดี, เพราะเป็นการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ! .......
หรือเราจะกล้าเถียงว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นสิ่งไม่ดี ??? .......
ผู้ปฏิบัติ, สามารถจะอ้างได้ว่า ... สิ่งนี้แม้จะเป็นบิดอะฮ์, แต่ก็เป็นบิดอะฮ์ดี, เพราะเป็นการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ! .......
หรือเราจะกล้าเถียงว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นสิ่งไม่ดี ??? .......
เมื่อเป็นบิดอะฮ์ดี ก็แล้วทำไมเราจึงไม่นำมาปฏิบัติ ? ...
ฯลฯ ....
สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงบางตัวอย่างของปัญหาประเภท “ก้างติดคอ” หรือสิ่งที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก ... สำหรับผู้ที่เชื่อว่า มี “บิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติของศาสนา !....
เพราะจะให้ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ว่า ไม่ใช่บิดอะฮ์ดี ก็ปฏิเสธไม่ได้, ... จะให้รับมาปฏิบัติ ก็ไม่กล้าอีก, เพราะกลัวจะถูกหาว่า ทำบิดอะฮ์ ....
แต่, สำหรับผู้ที่ไม่ถือว่า มี “บิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติ ... ประเด็นเหล่านี้ ไม่ใช่ปัญหาหนักอกหนักใจอะไรเลย, ... และจะไม่มีลักษณะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก อย่างที่กล่าวมาแล้วด้วย ....
เพราะตัวบ่งชี้ว่า สิ่งใด จะรับมาปฏิบัติได้หรือไม่ ? มิใช่อยู่ที่สิ่งนั้น ดีหรือไม่ดี ตามสามัญสำนึกของมนุษย์, แต่อยู่ที่ว่า มันเคยมีแบบอย่างมาจากท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม หรือไม่ ? .. ต่างหาก ....
การอะซานเพื่อนมาซอีด ฯ ก็ดี, การอ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำหน้าตอนนำมัยยิตไปฝังที่กุบูรฺก็ดี ... สิ่งเหล่านี้ ไม่ยากเลยหากจะลองตรวจสอบดูว่า เคยมี “แบบอย่าง” ในทางปฏิบัติ มาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมาบ้างหรือไม่ ? ...
หากไม่มีแบบอย่าง, คือท่านไม่เคยให้มีการอะซานในนมาซอีด และไม่มีการให้อ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำผู้ตายไปฝัง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม, .. คือ เป็นการเรียกร้องให้คนมาทำนมาซญะมาอะฮ์ ในกรณีแรก, และเป็นการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ในกรณีที่สอง .. แล้วก็ไม่มีอุปสรรคอันใดมาขัดขวางท่านจากการปฏิบัติ ... ก็แสดงว่า การกระทำสิ่งเหล่านี้ภายหลัง เป็นบิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์ หรือบิดอะฮ์ต้องห้ามทางศาสนา ....
(โปรดดู “ความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” .. จากแผนภูมิเรื่องบิดอะฮ์ หน้า 9 )
จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงของเรื่องบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ หรือบิดอะฮ์ตามหลักบทบัญญัติที่แท้จริงนั้น ไม่มีจุดไหนที่จะยุ่งยาก, ซับซ้อน, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หรือเป็นเรื่องลี้ลับที่ยากต่อการทำความเข้าใจอะไรเลย ...
สรุปแล้ว ความหมายของ بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ หรือบิดอะฮ์ตามนัยของบทบัญญัติจึงไม่มีคำว่า ”บิดอะฮ์ดี” แม้แต่ประการเดียว ... ทว่า, --- ทุกอย่าง --- ที่เป็นบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ถือว่า เป็นเรื่องอุตริและเป็นความหลงผิดทั้งสิ้นโดยไม่มีข้อยกเว้น ... ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ... ดังรายละเอียดที่ท่านผู้อ่าน จะได้อ่านกันต่อไป อินชาอัลลอฮ์ ...
ส่วนความหมายของ بِدْعَـةٌ لُغَوِيَّـةٌ หรือบิดอะฮ์ในแง่ของภาษาก็คือ อะไรก็ได้ที่ถูกประดิษฐ์หรือถูกกระทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน ..... ความหมายดังกล่าวนี้จึงกว้างและครอบคลุมหมดในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือเรื่องศาสนา, เป็นสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดี ดังที่ได้อธิบายและนำเสนอตัวอย่างไปแล้ว ....
วัลลอฮุ อะอฺลัม.
ฯลฯ ....
สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงบางตัวอย่างของปัญหาประเภท “ก้างติดคอ” หรือสิ่งที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก ... สำหรับผู้ที่เชื่อว่า มี “บิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติของศาสนา !....
เพราะจะให้ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ว่า ไม่ใช่บิดอะฮ์ดี ก็ปฏิเสธไม่ได้, ... จะให้รับมาปฏิบัติ ก็ไม่กล้าอีก, เพราะกลัวจะถูกหาว่า ทำบิดอะฮ์ ....
แต่, สำหรับผู้ที่ไม่ถือว่า มี “บิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติ ... ประเด็นเหล่านี้ ไม่ใช่ปัญหาหนักอกหนักใจอะไรเลย, ... และจะไม่มีลักษณะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก อย่างที่กล่าวมาแล้วด้วย ....
เพราะตัวบ่งชี้ว่า สิ่งใด จะรับมาปฏิบัติได้หรือไม่ ? มิใช่อยู่ที่สิ่งนั้น ดีหรือไม่ดี ตามสามัญสำนึกของมนุษย์, แต่อยู่ที่ว่า มันเคยมีแบบอย่างมาจากท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม หรือไม่ ? .. ต่างหาก ....
การอะซานเพื่อนมาซอีด ฯ ก็ดี, การอ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำหน้าตอนนำมัยยิตไปฝังที่กุบูรฺก็ดี ... สิ่งเหล่านี้ ไม่ยากเลยหากจะลองตรวจสอบดูว่า เคยมี “แบบอย่าง” ในทางปฏิบัติ มาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมาบ้างหรือไม่ ? ...
หากไม่มีแบบอย่าง, คือท่านไม่เคยให้มีการอะซานในนมาซอีด และไม่มีการให้อ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำผู้ตายไปฝัง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม, .. คือ เป็นการเรียกร้องให้คนมาทำนมาซญะมาอะฮ์ ในกรณีแรก, และเป็นการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ในกรณีที่สอง .. แล้วก็ไม่มีอุปสรรคอันใดมาขัดขวางท่านจากการปฏิบัติ ... ก็แสดงว่า การกระทำสิ่งเหล่านี้ภายหลัง เป็นบิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์ หรือบิดอะฮ์ต้องห้ามทางศาสนา ....
(โปรดดู “ความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” .. จากแผนภูมิเรื่องบิดอะฮ์ หน้า 9 )
จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงของเรื่องบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ หรือบิดอะฮ์ตามหลักบทบัญญัติที่แท้จริงนั้น ไม่มีจุดไหนที่จะยุ่งยาก, ซับซ้อน, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หรือเป็นเรื่องลี้ลับที่ยากต่อการทำความเข้าใจอะไรเลย ...
สรุปแล้ว ความหมายของ بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ หรือบิดอะฮ์ตามนัยของบทบัญญัติจึงไม่มีคำว่า ”บิดอะฮ์ดี” แม้แต่ประการเดียว ... ทว่า, --- ทุกอย่าง --- ที่เป็นบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ถือว่า เป็นเรื่องอุตริและเป็นความหลงผิดทั้งสิ้นโดยไม่มีข้อยกเว้น ... ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ... ดังรายละเอียดที่ท่านผู้อ่าน จะได้อ่านกันต่อไป อินชาอัลลอฮ์ ...
ส่วนความหมายของ بِدْعَـةٌ لُغَوِيَّـةٌ หรือบิดอะฮ์ในแง่ของภาษาก็คือ อะไรก็ได้ที่ถูกประดิษฐ์หรือถูกกระทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน ..... ความหมายดังกล่าวนี้จึงกว้างและครอบคลุมหมดในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือเรื่องศาสนา, เป็นสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดี ดังที่ได้อธิบายและนำเสนอตัวอย่างไปแล้ว ....
วัลลอฮุ อะอฺลัม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น