โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ดังนั้น การ “กำหนด” เอาวันที่ตรงกับวันเกิดของท่านนบีย์ เพื่อเป็นวันแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่านเป็นพิเศษเฉพาะวัน, ทั้งๆที่ศาสนามิได้กำหนดให้มีการแสดงความรักท่านนบีย์เป็นพิเศษ “เฉพาะ” ในวันนี้เอาไว้, .. ( และตามปกติ ในวันที่อื่นจากวันนี้ เราเคยรักและให้เกียรติท่านด้วยการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านบ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ?) .. จึงน่าจะจัดเป็นเรื่อง “ต้องห้าม” หรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกต้องตามหลักการ ในลักษณะเดียวกันกับตัวอย่างข้างต้นเหล่านั้น ...
ก็มาถึงประเด็นที่สอง คือ การให้ความสำคัญกับ “วันเกิด” ของท่านศาสดา และ “วิธีการ” แสดงออกถึงความรักท่านในวันคล้ายวันเกิดของท่านด้วยการทำพิธีเมาลิดนั้น เป็นบทบัญญัติและมีหลักฐานหรือไม่อย่างไร ? ....
สมมุติว่า ถ้าการให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านเป็นบทบัญญัติและมีหลักฐาน ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า แล้ว “วิธีการ” ให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านนบีย์นั้น เคยมี “แบบอย่าง” จากซุนนะฮ์มาหรือไม่ ? ...
ก็มาถึงประเด็นที่สอง คือ การให้ความสำคัญกับ “วันเกิด” ของท่านศาสดา และ “วิธีการ” แสดงออกถึงความรักท่านในวันคล้ายวันเกิดของท่านด้วยการทำพิธีเมาลิดนั้น เป็นบทบัญญัติและมีหลักฐานหรือไม่อย่างไร ? ....
สมมุติว่า ถ้าการให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านเป็นบทบัญญัติและมีหลักฐาน ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า แล้ว “วิธีการ” ให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านนบีย์นั้น เคยมี “แบบอย่าง” จากซุนนะฮ์มาหรือไม่ ? ...
นี่คือ สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาและใคร่ครวญด้วยใจเป็นธรรม ...
ถ้าปรากฏว่า เคยมีหลักฐานและแบบอย่างจากท่านนบีย์มาว่า ท่านเคยปฏิบัติอย่างไรเป็นพิเศษในการให้ความสำคัญและให้เกียรติกับวันที่ตรงกับวันเกิดของท่าน ก็แสดงว่า “ซุนนะฮ์” ที่เรา -- มุสลิมที่มีอีหม่าน – ทุกคนสมควรจะยึดถือและนำมาปฏิบัติในวันตรงกับวันเกิดของท่านนบีย์ก็คือ แบบอย่างดังที่ปรากฏเป็น “ซุนนะฮ์” จากหลักฐานนั้น ...
นี่คือ การกลับไปหา “ซุนนะฮ์” เมื่อเกิดความขัดแย้ง .. ตามที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาไว้ ...
สำหรับหนังสือ “حسن المقصد فى عمل المولد” ของท่านอัส-สะยูฏีย์ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนั้น นอกเหนือไปจากการอ้างเหตุผลที่สนับสนุนให้มีการทำเมาลิดเหมือนกับหนังสืออื่นๆในแนวเดียวกันนี้แล้ว ท่านยังได้รวบรวมทัศนะที่ “อิง” หลักวิชาการของนักวิชาการบางท่าน อาทิเช่น ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์, ท่านอบูอับดุลลาฮ์ อิบนุล หาจญ์, รวมทั้งทัศนะส่วนตัวของท่านเอง เป็นต้น มาสนับสนุนเรื่องการทำเมาลิด ซึ่งจากการสรุปเนื้อหาเชิงวิชาการทั้งหมดจากหนังสือดังกล่าว ก็พอจะได้ข้อสรุปว่า ....
1. การทำเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (การอุตริที่ดี) ...
2. การทำเมาลิด มี أَصْلٌ คือ ที่มาอันเป็นพื้นฐานหรือหลักฐานที่อ้างอิงได้ตามหลักการศาสนา ...
ต่อไปนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับ 2 ประเด็นข้างต้น ...
นี่คือ การกลับไปหา “ซุนนะฮ์” เมื่อเกิดความขัดแย้ง .. ตามที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาไว้ ...
สำหรับหนังสือ “حسن المقصد فى عمل المولد” ของท่านอัส-สะยูฏีย์ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนั้น นอกเหนือไปจากการอ้างเหตุผลที่สนับสนุนให้มีการทำเมาลิดเหมือนกับหนังสืออื่นๆในแนวเดียวกันนี้แล้ว ท่านยังได้รวบรวมทัศนะที่ “อิง” หลักวิชาการของนักวิชาการบางท่าน อาทิเช่น ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์, ท่านอบูอับดุลลาฮ์ อิบนุล หาจญ์, รวมทั้งทัศนะส่วนตัวของท่านเอง เป็นต้น มาสนับสนุนเรื่องการทำเมาลิด ซึ่งจากการสรุปเนื้อหาเชิงวิชาการทั้งหมดจากหนังสือดังกล่าว ก็พอจะได้ข้อสรุปว่า ....
1. การทำเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (การอุตริที่ดี) ...
2. การทำเมาลิด มี أَصْلٌ คือ ที่มาอันเป็นพื้นฐานหรือหลักฐานที่อ้างอิงได้ตามหลักการศาสนา ...
ต่อไปนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับ 2 ประเด็นข้างต้น ...
(1). การทำเมาลิด เป็นบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์
ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” เล่มที่ 1 หน้า 292 ในการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการทำเมาลิดว่า ...
ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” เล่มที่ 1 หน้า 292 ในการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการทำเมาลิดว่า ...
وَالْجَوَابُ عِنْدِىْ : أَنَّ أَصْلَ عَمَلِ الْمَوْلِدِ الَّذِىْ هُوَ اجْتِمَاعُ النَّاسِ وَقِرَاءَةُ مَاتَيَسَّرَمِنَ الْقُرْآنِ وَرِوَايَةُ اْلأَخْبَارِالْوَارِدَةِ فِىْ مَبْدَأِ أَمْرِ النَّبِىِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَا وَقَعَ فِىْ مَوْلِدِهِ مِنَ اْلآيَاتِ، ثُمَّ يُمَدُّ لَهُمْ سِمَاطٌ يَأْكُلُوْنَهُ وَيَنْصَرِفُوْنَ مِنْ غَيْرِ زِيَادَةٍ عَلَى ذَلِكَ هُوَ مِنَ الْبِدَعِ الْحَسَنَةِ الَّتِىْ يُثَابُ عَلَيْهَا صَاحِبُهَا، لِمَا فِيْهِ مِنْ تَعْظِيْمِ قَدْرِ النَّبِىِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَإِظْهَارِ الْفَرَحِ وَاْلإسْتِبْشَارِ بِمَوْلِدِهِ الشَّرِيْفِ ...
“คำตอบตามทัศนะของฉันก็คือ : พื้นฐานของงานเมาลิด อันได้แก่การที่ประชาชนมาชุมนุมกัน, มีการอ่านอัล-กุรฺอ่าน, มีการอ่านชีวประวัติที่รายงานมาของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในวันถือกำเนิดของท่าน หลังจากนั้น ก็มีการเลี้ยงอาหารกันแล้วแยกย้ายกันกลับ โดยไม่มีอะไรเกินเลยไปกว่านั้น ถือว่า เป็นหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่ดี ซึ่งผู้กระทำจะได้รับผลบุญ ทั้งนี้เพราะงานเมาลิดเป็นการยกย่องให้เกียรติต่อสถานภาพของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และเป็นการแสดงออกถึงความปลาบปลื้มยินดีต่อวันเกิดของท่าน” ...
ท่านอบู ชามะฮ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 599-665) ก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือ اَلْبَاعِثُ عَلَى إِنْكَارِالْبِدَعِ وَالْحَوَادِثِ .. หน้า 95 ว่า การทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คล้ายๆกับคำพูดของท่านอัส-สะยูฏีย์ข้างต้น ซึ่งผู้ที่ไม่มีหนังสือของท่านอบู ชามะฮ์ ก็สามารถจะหาดูคำกล่าวของท่านได้จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 3 หน้า 364 ในตอนที่กล่าวถึงงานวะลีมะฮ์ ...
ท่านอบู ชามะฮ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 599-665) ก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือ اَلْبَاعِثُ عَلَى إِنْكَارِالْبِدَعِ وَالْحَوَادِثِ .. หน้า 95 ว่า การทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คล้ายๆกับคำพูดของท่านอัส-สะยูฏีย์ข้างต้น ซึ่งผู้ที่ไม่มีหนังสือของท่านอบู ชามะฮ์ ก็สามารถจะหาดูคำกล่าวของท่านได้จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 3 หน้า 364 ในตอนที่กล่าวถึงงานวะลีมะฮ์ ...
ข้อโต้แย้ง
คำกล่าวของท่านอัส-สะยูฏีย์และท่านอบู ชามะฮ์ที่ว่า “การทำเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์” ... ถ้าหากหมายถึงความหมายบิดอะฮ์ ตามหลักภาษา (بِدْعَةٌ لُغَوْيَّةٌ) ประเด็นนี้ คงไม่มีความขัดแย้งใดๆ เพราะเป็นความหมายที่ตรงต่อความเป็นจริงตามหลักภาษาที่ว่า การทำเมาลิดเป็น บิดอะฮ์ เนื่องจากมันเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งจะบังเกิดขึ้นหลังจากปี ฮ.ศ. 362 มาแล้ว, .. และที่เรียกว่า หะสะนะฮ์ (ดี) ก็เพราะมันเป็นเรื่องดีในความรู้สึกของผู้กระทำและบุคคลทั่วๆไป (แม้กระทั่งผมเอง) เนื่องจากเป็นการแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม , .. ซึ่งเมื่อรวมความแล้วจึงเรียกการทำเมาลิด ตามหลักภาษา ว่า เป็น “บิดอะฮ์หะสะนะฮ์” หรือ การริเริ่มกระทำสิ่งใหม่ที่ดี (ตามความรู้สึกของผู้กระทำและประชาชนทั่วๆไป) ...
แต่ถ้าความหมายของคำว่า “บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์” ของท่านในที่นี้ หมายถึง “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” (بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ .. ซึ่งดูแนวโน้มก็น่าจะเป็นอย่างนี้ เพราะท่านกล่าวว่า ผู้ที่กระทำเมาลิดจะได้รับผลบุญตอบแทน) ... ประเด็นนี้ มิใช่เพียงผมเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย แต่นักวิชาการจำนวนมาก ก็ไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน ...
คำกล่าวของท่านอัส-สะยูฏีย์และท่านอบู ชามะฮ์ที่ว่า “การทำเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์” ... ถ้าหากหมายถึงความหมายบิดอะฮ์ ตามหลักภาษา (بِدْعَةٌ لُغَوْيَّةٌ) ประเด็นนี้ คงไม่มีความขัดแย้งใดๆ เพราะเป็นความหมายที่ตรงต่อความเป็นจริงตามหลักภาษาที่ว่า การทำเมาลิดเป็น บิดอะฮ์ เนื่องจากมันเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งจะบังเกิดขึ้นหลังจากปี ฮ.ศ. 362 มาแล้ว, .. และที่เรียกว่า หะสะนะฮ์ (ดี) ก็เพราะมันเป็นเรื่องดีในความรู้สึกของผู้กระทำและบุคคลทั่วๆไป (แม้กระทั่งผมเอง) เนื่องจากเป็นการแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม , .. ซึ่งเมื่อรวมความแล้วจึงเรียกการทำเมาลิด ตามหลักภาษา ว่า เป็น “บิดอะฮ์หะสะนะฮ์” หรือ การริเริ่มกระทำสิ่งใหม่ที่ดี (ตามความรู้สึกของผู้กระทำและประชาชนทั่วๆไป) ...
แต่ถ้าความหมายของคำว่า “บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์” ของท่านในที่นี้ หมายถึง “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” (بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ .. ซึ่งดูแนวโน้มก็น่าจะเป็นอย่างนี้ เพราะท่านกล่าวว่า ผู้ที่กระทำเมาลิดจะได้รับผลบุญตอบแทน) ... ประเด็นนี้ มิใช่เพียงผมเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย แต่นักวิชาการจำนวนมาก ก็ไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน ...
ทั้งนี้ เพราะความเชื่อที่ว่า “มี บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์ ในบทบัญญัติ” จะไปค้านและขัดแย้งกับหลายๆอย่างดังต่อไปนี้ ...
1. ค้านกับความหมายของ “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ตามคำนิยามของนักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์ (ซึ่งผมยังไม่เคยเจอนักวิชาการท่านใดคัดค้านคำนิยามของบิดอะฮ์ที่จะถึงต่อไปว่า ไม่ถูกต้อง) ...
2. ค้านกับคำอธิบายความหมายบิดอะฮ์ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ สองนักวิชาการหะดีษและฟิกฮ์ซึ่งได้รับการยอมรับที่สุดแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ...
3. ค้านกับคำกล่าวของท่านอับดุลลอฮ์ บิน อุมัรฺ ร.ฎ.
4. ค้านกับหะดีษที่ถูกต้องของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวข้างต้น มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ ...
(1). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติ” ค้านกับคำนิยามและความหมายของ “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หรืออุตริกรรมอันเป็นเรื่องต้องห้าม” ที่นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์ ได้กำหนดเอาไว้ว่า หมายถึง ...
1. ค้านกับความหมายของ “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ตามคำนิยามของนักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์ (ซึ่งผมยังไม่เคยเจอนักวิชาการท่านใดคัดค้านคำนิยามของบิดอะฮ์ที่จะถึงต่อไปว่า ไม่ถูกต้อง) ...
2. ค้านกับคำอธิบายความหมายบิดอะฮ์ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ สองนักวิชาการหะดีษและฟิกฮ์ซึ่งได้รับการยอมรับที่สุดแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ...
3. ค้านกับคำกล่าวของท่านอับดุลลอฮ์ บิน อุมัรฺ ร.ฎ.
4. ค้านกับหะดีษที่ถูกต้องของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวข้างต้น มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ ...
(1). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติ” ค้านกับคำนิยามและความหมายของ “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หรืออุตริกรรมอันเป็นเรื่องต้องห้าม” ที่นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์ ได้กำหนดเอาไว้ว่า หมายถึง ...
مَاتَرَكَهُ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِىْ وَانْتِفَاءِ الْمَانِعِ فَفِعْلُهُ بَعْدَهُ هُوَ الْبِدْعَةُ وَتَرْكُهُ هٌوَ السُّنَّةُ ...
“สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดาไม่ได้กระทำ ทั้งๆที่ .. 1. มีประเด็นส่งเสริมแล้วว่าควรทำ (ตั้งแต่ในสมัยของท่านมาแล้ว), และ .. 2. ไม่มีอุปสรรคใดๆจะมาขัดขวางท่านจากการกระทำสิ่งนั้น ...
ดังนั้น การกระทำสิ่งนั้นในภายหลังถือว่า เป็นบิดอะฮ์, และการไม่กระทำสิ่งนั้น ก็คือซุนนะฮ์” ...
คำนิยามดังกล่าวนี้ ไม่ใช่นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์นั่งเทียนเขียน ! แต่เป็นคำนิยามที่ได้ผ่านการกลั่นกรองและวิเคราะห์มาอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมจาก “เหตุการณ์จริง” ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และสมัยเศาะหาบะฮ์ของท่าน ... ซึ่งถือว่าเป็นคำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่ตรงประเด็นที่สุด และได้รับการยอมรับมากที่สุด ...
ซึ่งเมื่อเราพิจารณาดูที่มาที่ไปของพิธีกรรมเมาลิดแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า จัดอยู่ในความหมายของ “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” ตามคำนิยามข้างต้นทุกประการ คือ เป็นสิ่งที่ท่านศาสดาหรือบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน --- หรือแม้แต่ตาบิอีน หรืออิหม่ามทั้งสี่ หรือประชาชนในยุคที่ท่านศาสดารับรองว่า เป็นยุคที่ดีเลิศที่สุด --- ไม่เคยกระทำ .. ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม คือเป็นการแสดงออกถึงความรักและการให้เกียรติต่อท่านศาสดาซึ่งตรงกับความรู้สึกของมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคน ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆจะมาขัดขวางพวกท่านเหล่านั้นจากการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดาด้วยในยุคนั้น ...
โดยนัยนี้ การไม่อุตริจัดงานเมาลิดขึ้นมา จึงถือว่า เป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮ์, ส่วนผู้ที่อุตริจัดงานเมาลิด จึงเป็นผู้ทำบิดอะฮ์ เพราะไม่รักษากติกาของรัฐธรรมนูญ เอ๊ย, กติกาของความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่นักวิชาการได้ร่างคำนิยามของมันขึ้นมาเอง .. (แหม ! พูดเหมือนท่านนายกทักษิณเปี๊ยบเลย) ...
ดังนั้น การกระทำสิ่งนั้นในภายหลังถือว่า เป็นบิดอะฮ์, และการไม่กระทำสิ่งนั้น ก็คือซุนนะฮ์” ...
คำนิยามดังกล่าวนี้ ไม่ใช่นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์นั่งเทียนเขียน ! แต่เป็นคำนิยามที่ได้ผ่านการกลั่นกรองและวิเคราะห์มาอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมจาก “เหตุการณ์จริง” ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และสมัยเศาะหาบะฮ์ของท่าน ... ซึ่งถือว่าเป็นคำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่ตรงประเด็นที่สุด และได้รับการยอมรับมากที่สุด ...
ซึ่งเมื่อเราพิจารณาดูที่มาที่ไปของพิธีกรรมเมาลิดแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า จัดอยู่ในความหมายของ “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” ตามคำนิยามข้างต้นทุกประการ คือ เป็นสิ่งที่ท่านศาสดาหรือบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน --- หรือแม้แต่ตาบิอีน หรืออิหม่ามทั้งสี่ หรือประชาชนในยุคที่ท่านศาสดารับรองว่า เป็นยุคที่ดีเลิศที่สุด --- ไม่เคยกระทำ .. ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม คือเป็นการแสดงออกถึงความรักและการให้เกียรติต่อท่านศาสดาซึ่งตรงกับความรู้สึกของมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคน ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆจะมาขัดขวางพวกท่านเหล่านั้นจากการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดาด้วยในยุคนั้น ...
โดยนัยนี้ การไม่อุตริจัดงานเมาลิดขึ้นมา จึงถือว่า เป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮ์, ส่วนผู้ที่อุตริจัดงานเมาลิด จึงเป็นผู้ทำบิดอะฮ์ เพราะไม่รักษากติกาของรัฐธรรมนูญ เอ๊ย, กติกาของความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่นักวิชาการได้ร่างคำนิยามของมันขึ้นมาเอง .. (แหม ! พูดเหมือนท่านนายกทักษิณเปี๊ยบเลย) ...
เอาเถิด, ท่านศาสดาไม่ส่งเสริมหรือชี้แนะให้มีการจัดงานเมาลิดเฉลิมฉลองวันเกิดของท่าน เหตุผลข้อนี้ เราพอจะมองออก, แต่ หลังจากท่านสิ้นชีพไปแล้วและสมมุติว่า หากว่าการทำเมาลิด คือสิ่งดีที่ถูกท่านศาสดาปล่อยวางไว้เพราะมีอุปสรรค (คือความถ่อมตัวจึงไม่ส่งเสริมให้ใครจัดงานวันเกิดเพื่อท่าน)) .. เสมือนการที่ท่านต้องปล่อยวางการรวบรวมอัล-กุรฺอ่านเป็นเล่มเพราะมีอุปสรรค (คือ การประทานวะห์ยุยังไม่สิ้นสุดจนกว่าท่านจะสิ้นชีวิต) .. และท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ก็มาจัดการรวบรวมขึ้นหลังจากท่านตายไปแล้ว, .. หรือการที่ท่านต้องปล่อยวางการนมาซตะรอเวี๊ยะห์ในลักษณะญะมาอะฮ์ไว้ เพราะมีอุปสรรค (คือกลัวมันจะกลายเป็นฟัรฺฎู) .. จนท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ต้องมารวมประชาชนให้นมาซญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์หลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน เป็นต้น ..
ในเรื่องของการจัดงานเมาลิดเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านก็เช่นเดียวกัน ..
เมื่อท่านศาสดาตายไปแล้ว อุปสรรคขัดขวางการจัดงานเมาลิด (คือเกรงว่าความถ่อมตัวจะทำให้ท่านศาสดาขัดขวางมัน) ก็ย่อมหมดสิ้นตามไปด้วย ...
แล้วทำไม บรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน, บรรดาตาบิอีน, หรือแม้กระทั่งบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ท่านในยุคหลังๆ จึงไม่มีผู้ใดคิด “ริเริ่ม” การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดา ... เหมือนดังที่ท่านอบู บัก ร.ฎ. ได้ริเริ่มรวบรวมอัล-กุรฺอ่านให้เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ขึ้นมา, หรือดังที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้รื้อฟื้นให้ประชาชนกลับมาทำนมาซตะรอเวี๊ยะฮ์ร่วมกันอีก หลังจากการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ? ...
นี่คือ ปริศนาที่เราจะต้องตีให้แตก ....
ประชาชนในยุคที่ดีเลิศเหล่านั้น รักและให้เกียรติท่านศาสดาน้อยกว่าพวกเราอย่างนั้นหรือ ?
พวกเขาจำวันเกิดท่านศาสดาไม่ได้ หรือไม่อยากจะให้เกียรติต่อวันเกิดของท่านเลยหรือ ?
พวกเขามีภารกิจมากเกินไปจนไม่มีเวลา “แม้เพียงแค่วันเดียว” ที่จะสละมันเพื่อจะให้เกียรติท่านศาสดาในวันนั้นเชียวหรือ ?
พวกเขาขี้เกียจที่จะจัดงานฉลองวันเกิดให้ท่านหรือ ?
พวกเขายากจนและไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จัดงานฉลองวันเกิดของท่านอย่างพวกเราหรือ ?
.....ฯลฯ .....
(18)
ในเรื่องของการจัดงานเมาลิดเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านก็เช่นเดียวกัน ..
เมื่อท่านศาสดาตายไปแล้ว อุปสรรคขัดขวางการจัดงานเมาลิด (คือเกรงว่าความถ่อมตัวจะทำให้ท่านศาสดาขัดขวางมัน) ก็ย่อมหมดสิ้นตามไปด้วย ...
แล้วทำไม บรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน, บรรดาตาบิอีน, หรือแม้กระทั่งบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ท่านในยุคหลังๆ จึงไม่มีผู้ใดคิด “ริเริ่ม” การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดา ... เหมือนดังที่ท่านอบู บัก ร.ฎ. ได้ริเริ่มรวบรวมอัล-กุรฺอ่านให้เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ขึ้นมา, หรือดังที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้รื้อฟื้นให้ประชาชนกลับมาทำนมาซตะรอเวี๊ยะฮ์ร่วมกันอีก หลังจากการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ? ...
นี่คือ ปริศนาที่เราจะต้องตีให้แตก ....
ประชาชนในยุคที่ดีเลิศเหล่านั้น รักและให้เกียรติท่านศาสดาน้อยกว่าพวกเราอย่างนั้นหรือ ?
พวกเขาจำวันเกิดท่านศาสดาไม่ได้ หรือไม่อยากจะให้เกียรติต่อวันเกิดของท่านเลยหรือ ?
พวกเขามีภารกิจมากเกินไปจนไม่มีเวลา “แม้เพียงแค่วันเดียว” ที่จะสละมันเพื่อจะให้เกียรติท่านศาสดาในวันนั้นเชียวหรือ ?
พวกเขาขี้เกียจที่จะจัดงานฉลองวันเกิดให้ท่านหรือ ?
พวกเขายากจนและไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จัดงานฉลองวันเกิดของท่านอย่างพวกเราหรือ ?
.....ฯลฯ .....
(18)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น