ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
อาจารย์ค่ะ แล้วกรณีวันศุกร์ ส่วนใหญ่บ้านเรา เมื่อเข้ามัสยิดก่อนอาซานครั้งแรก ก็ไม่ค่อยละหมาดตะหี้ยะตุ้ลมัสยิดกัน แต่เมื่ออาซานครั้งแรกแล้วจึงจะละหมาดสุนัต คือเหนียตสุนัตก่อนละหมาดวันศุกร์ กรณีเช่นให้ถือว่าเป็นการให้เกียรติมัสยิดแล้วหรือไม่ค่ะ สามารถกียาสละหมาดสุนัตก่อนละหมาดซุฮฺรีได้หรือไม่ค่ะ
ตอบ
ผู้ที่เข้าไปในมัสยิด ไม่ว่าเวลาไหน หากไม่ตรงกับเวลาละหมาดฟัรฺฎูหรือละหมาดสุนัตก่อนฟัรฺฎู ก็ให้เขาทำละหมาดตะหี้ยะตุ้ลมัสยิดอันเป็นละหมาดเอกเทศ หากเขาเจตนานั่งลงทั้งๆที่รู้ ก็ถือว่า เขาสละสิทธิ์ละหมาดตะหี้ยะตุ้ลมัสยิดอย่างที่ผมเขียนไปแล้ว จะลุกขึ้นยืนทำทีหลังคงไม่ได้อีก ..
สำหรับสิ่งที่คุณถามมา ในทัศนะของผม การละหมาดหลังอะซานครั้งแรกในวันศุกร์เป็นสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างจากซุนนะฮ์ท่านนบีย์และคอลีฟะฮ์หลังจากท่าน เมื่อเป็นละหมาดที่ไม่มีแบบอย่าง จึงไม่ถือเป็นละหมาดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ
ผมจึงเห็นว่า จะถือเอาละหมาดที่ไม่มีแบบอย่างในบทบัญญัตินี้มาเป็นละหมาดตะหี้ยะตุ้ลมัสยิดไม่ได้
อีกประการหนึ่งเมื่อเขาเข้ามาแล้วเจตนานั่งลงโดยไม่ได้ทำละหมาดตะหี้ยะตุ้ลมัสยิด เขาก็หมดสิทธิ์จะลุกขึ้นทำมันอีกอย่างที่เขียนไปตอนต้น ..
วัลลอฮุอะอฺลัมครับ ...
ถาม
อัสลามุอะลัยกุมครับอาจารย์
ที่อาจารย์บอกว่าไม่มีละหมาดหลังฮาซานครั้งแรก แล้วนถ้าาอ้างถึง หะดีษนี้ล่ะครับ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ بَيْنَ كُلِّ أَذَانَيْنِ صَلَاةٌ ثَلَاثًا لِمَنْ شَاءَ
ที่อาจารย์บอกว่าไม่มีละหมาดหลังฮาซานครั้งแรก แล้วนถ้าาอ้างถึง หะดีษนี้ล่ะครับ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ بَيْنَ كُلِّ أَذَانَيْنِ صَلَاةٌ ثَلَاثًا لِمَنْ شَاءَ
“แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ระหว่างสองอะซาน (คืออะซานกับอิกอมะฮ์) นั้น มีละหมาด ท่านกล่าวถึงสามครั้ง (ครั้งที่สามท่านนะบีย์กล่าวว่า) สำหรับผู้ที่ประสงค์ (จะละหมาด) ” รายงานโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษลำดับที่ 627) และมุสลิม (หะดีษลำดับที่ 729)
ตอบ
ที่ผมบอกว่า "อะซานครั้งแรก" หมายถึงอะซานครั้งแรกของ "ละหมาดวันศุกร์" ซึ่งเพิ่งจะบังเกิดขึ้นในสมัยของท่านอุษมาน(หรือท่านมุอาวิยะฮ์ ตามทัศนะที่ขัดแย้งกัน)จนกลายเป็นว่า ในวันศุกร์จะมีการอะซานถึง 2 ครั้ง การละหมาดหลังอะซานครั้งแรกที่เพิ่งบังเกิดขึ้นจึงไม่มีหลักฐานจากซุนนะฮ์ให้ละหมาดสุนัตหลังอะซานครั้งนี้ หรือแม้กระทั่งหลังอะซานจริงในวันศุกร์ก็ไม่มีละหมาดสุนัตเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากอะซานแล้ว คอฏีบก็จะอ่านคุฏบะฮ์ต่อทันที .. ที่กล่าวมาจึงเป็นคนละประเด็นกับหะดีษบทนั้นที่คุณอ้างถึงครับ เพราะหะดีษบทนั้นหมายถึงการอะซานใน "ละหมาดฟัรฺฎู" ซึ่งมีแค่ครั้งเดียวแล้วจึงมีการอิกอมะฮ์ละหมาดเลย ท่านนบีย์จึงส่งเสริมให้ละหมาดสุนัต 2 ร็อกอะฮ์ระหว่างอะซานและอิกอมะฮ์ โดยท่านใช้สำนวนเรียกอะซานและอิกอมะฮ์นี้ว่า "อะซานัยน์" ดังเป็นที่ทราบกันดี ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น