โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ดังที่ทราบกันทั่วไปก็คือ นักวิชาการมัษฮับชาฟิอีย์มีทัศนะว่า ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์มิได้ห้ามผู้ชายจากการนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง เพียงแต่เห็นว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ (มักรูฮ์) เท่านั้น ...
ทว่า .. อีกแง่มุมหนึ่ง นักวิชาการหลายท่านที่คัดค้านทัศนะนี้โดยอธิบายว่า ผู้ที่มีทัศนะดังกล่าวเข้าใจผิดต่อคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ .. โดยเฉพาะ จากคำว่า “มักรูฮ์” ของท่าน ...
ทว่า .. อีกแง่มุมหนึ่ง นักวิชาการหลายท่านที่คัดค้านทัศนะนี้โดยอธิบายว่า ผู้ที่มีทัศนะดังกล่าวเข้าใจผิดต่อคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ .. โดยเฉพาะ จากคำว่า “มักรูฮ์” ของท่าน ...
ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 691 – 751) กล่าวว่า ...
" نَصَّ الشَّافِعِىُّ عَلَى كَرَاهَةِ تَزَوُّجِ الرَّجُلِ بِنْتَهُ مِنْ مَاءِ الزِّنَى، وَلَمْ يَقُلْ قَطُّ إنَّهُ مُبَاحٌ وَلاَ جَائِزٌ، وَالَّذِىْ
يَلِيْقُ بِجَلاَلَتِهِ
وَإِمَامَتِهِ وَمَنْصَبِهِ الَّذِىْ أَحَلَّ اللهُ بِهِ مِنَ الدِّيْنِ أَنَّ هَذِهِ الْكَرَاهَةَ مِنْهُ عَلَى وَجْهِ التَّحْرِيْمِ! وَأَطْلَقَ لَفْظَ الْكَرَاهَةِ ِلأَنَّ الْحَرَامَ
يَكْرَهُهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ.........فَالسَّلَفُ كَانُوْا يَسْتَعْمِلُوْنَ الْكَرَاهَةَ فِىْ مَعْنَا هَا الَّتىِ أسْتُعْمِلَتْ فِيْهِ فِىْ كَلاَمِ اللهِ وَرَسُوْلِهِ، وَلَكِنَّ
الْمُتَأَخِّرِيْنَ إصْطَلَحُوْا عَلَى تَخْصِيْصِ الْكَرَاهَةِ بِمَا لَيْسَ بِمُحَرَّمٍ وَتَرْكُهُ أَرْجَحُ مِنْ فِعْلِهِ"
“ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า “มักรูฮ์” ที่ผู้ชายจะนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง .. ท่านไม่ได้กล่าวเลยว่า มัน(การนิกาห์ระหว่างพ่อลูกคู่นั้น) เป็นสิ่งถูกผ่อนผันให้และเป็นที่อนุญาต, .. และสิ่งที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความเป็นอิหม่ามของท่าน และตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์มอบให้แก่ท่านในเรื่องศาสนาก็คือ คำว่า มักรูฮ์ (จากคำกล่าวของท่าน) หมายถึง "หะรอม", และการที่ท่านใช้คำว่า “มักรูฮ์”(น่ารังเกียจ) ก็เพราะสิ่งที่หะรอมก็คือสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์และรอซู้ลของพระองค์รังเกียจ .......... บรรดาชาวสะลัฟนั้น พวกเขาจะใช้คำว่ามักรูฮ์ (น่ารังเกียจ) กับความหมายซึ่งมีใช้ในคำพูดของอัลลอฮ์(ในอัล-กุรฺอ่าน) และรอซู้ล (ในหะดีษ ซึ่งมีความหมายว่าหะรอม) .. แต่บรรดานักวิชาการยุคหลังได้กำหนดศัพท์เทคนิคเป็นการเฉพาะขึ้นมาใหม่ว่า คำว่ามักรูฮ์ หมายถึงสิ่งที่มิใช่ของหะรอม, และการละทิ้ง (คือไม่ทำ)มันจะดีกว่าการทำมัน” ..
(จากหนังสือ “إعلام الموقعين” ของท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เล่มที่ 1 หน้า 47-48) ..
(จากหนังสือ “إعلام الموقعين” ของท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เล่มที่ 1 หน้า 47-48) ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น