อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

การหมั้น และการสวมแหวนหมั้น มีในอิสลามหรือไม่



ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม
เท่าที่รู้ระบบการหมั้นสาว โดยที่ยังไม่นิกะห์กันในอิสลามไม่มี
แต่อิสลามบางกลุ่มยังนำไปปฏิบัติ
อย่างนี้ผิดมากไหม? ในระบบอิสลามครับ

ตอบ
การหมั้นหรือการ "มัดจำ" สาว ไม่มีในหลักการอิสลามอย่างคุณว่าครับ
เพราะอิสลามนั้นเมื่อมีการทาบทามตกลงปลงใจกันแล้วก็จะนัดวันนิกาห์เลย
การมัดจำหรือการหมั้นดังกล่าวจึงเป็นรูปแบบที่พวกเราลอกเลียนแบบค่านิยมของคนไทยพุทธมา
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าค่านิยมนี้มาจากพิธีกรรมศาสนาของเขาหรือไม่ ถ้าใช่ก็ห้ามพวกเราปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ใช่ก็คงไม่มีปัญหา
นอกจากในกรณีเดียวที่เราทำไม่ได้อย่างชัดเจนก็คือ การสวมแหวนหมั้น เพราะเรื่องนี้เป็นการรับมาจากชาวคริสต์เขา ..
แต่ปัญหาใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นจากการหมั้นก็คือ เงินหรือทองหมั้นที่ฝ่ายชายมอบให้กับฝ่ายหญิงนั้น ต้อง "ตกลงให้ชัดเจน" ว่า เป็นส่วนหนึ่งของมะฮัรฺที่ฝ่ายชายมอบให้ล่วงหน้า หรือเป็นการให้โดยเสน่หาที่ไม่เกี่ยวกับมะฮัรฺ
เพราะสมมุติว่าถ้าทั้งคู่ไม่ได้แต่งงานกัน แล้วฝ่ายชายเกิดทวงของหมั้นคืนก็อาจเป็นเรื่องราวใหญ่โตได้
หากฝ่ายชายอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของมะฮัรฺจึงมีสิทธิเอาคืนเพราะยังไม่ได้นิกาห์กัน ขณะที่ฝ่ายหญิงอ้างว่า เป็นการให้โดยเสน่หา ฝ่ายชายจึงขอคืนไม่ได้อีก ..
นี่คือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการหมั้นครับ ...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น