โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
(ตอนจบ)
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นนี้ มีดังต่อไปนี้ ......
ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา หนึ่งในผู้รายงานหะดีษกระแสที่สามนี้ ได้รายงานหะดีษนี้มาจากลุงของท่าน - คือ ท่าน ษุมามะฮ์ - ผู้เป็นพี่ชายของท่านอัล-มุษันนา บิดาของท่าน ...
ทั้งท่านษุมามะฮ์และท่านอัล-มุษันนา เป็นบุตรของท่านอับดุลลอฮ์ ... และท่านอับดุลลอฮ์ ก็เป็นบุตรชายของท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ...
ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา จึงเป็น “เหลนปู่” ของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ...
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา เป็นผู้รายงานของท่านบุคอรีย์, แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางท่านไม่ให้ความเชื่อถือ แต่ก็เป็นการไม่เชื่อถือในภาพรวม, .. แตกต่างกับท่านบุคอรีย์ที่มองท่านอับดุลลอฮ์ผู้นี้อย่างเป็นกลาง ... คือท่านจะไม่ไม่เน้นหนักข้างฝ่ายใดในระหว่างผู้ที่ยอมรับและไม่ยอมรับ, .. ทั้งๆที่ท่านก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้มงวดในเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้รายงานหะดีษมากที่สุด ยิ่งกว่าผู้บันทึกหะดีษท่านอื่นๆ ........
ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์เอง ได้เสนอมุมมองของท่านบุคอรีย์เกี่ยวกับท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนาไว้ในอารัมภบท หรือ “มุก็อดดิมะฮ์” ของหนังสือฟัตหุ้ลบารีย์ ... นั่นคือหนังสือ “ฮัดยุส-ซารีย์” หน้า 416 มีข้อความว่า .......
عَبْدُ اللَّـهِ بْنُ الْمُثَنَّى بْنِ عَبْدِ اللَّـهِ بْنِ اَنَسِ بْنِ مَالِكٍ.... قُلْتُ : لَمْ أَرَالْبُخَارِىَّ إحْتَجَّ بِـهِ اِلاَّ فِيْ رِوَايَتِـهِ عَنْ عَمِّـهِ ثُمَامَةَ، فَعِنْدَهُ عَنْـهُ أَحَادِيْثُ ..
“อับดุลลอฮ์ เป็นบุตรของอัล-มุษันนา , อัล-มุษันนาเป็นบุตรของอับดุลลอฮ์, อับดุลลอฮ์เป็นบุตรของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ............. ฉันไม่เคยเห็นว่าท่านบุคอรีย์จะอ้างหรือยอมรับท่านอับดุลลอฮ์ผู้นี้ เว้นแต่ในกรณีที่เขารายงานหะดีษใดมาจากลุงของเขา คือ ท่านษุมามะฮ์ เท่านั้น, ... ซึ่งท่านบุคอรีย์ก็มีบันทึกหะดีษที่ท่านอับดุลลอฮ์ได้รายงานมาจากคุณลุง คือท่านษุมามะฮ์ ไว้หลายหะดีษด้วยกัน” .....
ความหมายของคำกล่าวข้างต้นนี้ก็คือ ท่านบุคอรีย์ถือว่า หากหะดีษใดที่ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา รายงานมาจากลุงของท่าน คือ ท่านษุมามะฮ์ ท่านบุคอรีย์ก็จะยอมรับหะดีษนั้นเป็นหลักฐานได้โดยตรง, แต่ถ้าเป็นการรายงานมาจากบุคคลอื่น ท่านก็จะไม่ยอมรับ เว้นแต่จะต้องมีการรายงานสอดคล้องหรือยืนยันมาจากผู้รายงานท่านอื่นอีกทีหนึ่ง ....
นี่คือ ข้อเท็จจริงที่ท่านอิบนุ หะญัรฺได้บันทึกไว้ในหนังสือ “ฮัดยุส-ซารีย์” ...
และในหนังสือ “อัศ-เศาะเหี๊ยะฮ์” ของท่านบุคอรีย์ ก็มีหะดีษซึ่งท่านอับดุลลอฮ์ ได้รายงานมาจากท่านษุมามะฮ์ อยู่หลายหะดีษด้วยกัน..... และบรรดานักวิชาการต่างก็ยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสายรายงานและเป็นหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์ จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์ทั้งสิ้น ...
เท่าที่ผมได้ตรวจสอบดูแล้ว ปรากฏว่า หะดีษต่างๆที่ท่านบุคอรีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัศ-เศาะเหี๊ยะฮ์” จากการรายงานของ ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา, จากท่านษุมามะฮ์ บิน อับดุลลอฮ์, จากท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ซึ่งเป็นกระแสรายงานเดียวกันกับหะดีษกระแสที่ 3 เรื่องท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองฯ ที่ผมกำลังวิเคราะห์อยู่นี้ ก็คือ หะดีษที่ 1448, 1450, 1451, 1453, 1454, 1455, 1487, 3106, 5878, 6955 .....
เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น ผมจึงขอนำ “สายรายงาน” ของหะดีษต่างๆที่ท่านบุคอรีย์ได้บันทึกไว้ตามหมายเลขหะดีษข้างต้น มาให้อ่านกันดังนี้ ....
حَـدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللَّـهِ: قَالَ حَـدَّثَنِيْ اَبِيْ، قَالَ حَـدَّثَنِيْ ثُمَامَةُ اَنَّ اَنَسًا رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُ حَـدَّثَهُ اَنَّ ........
“ท่านมุหัมมัด บิน อับดุลลอฮ์ได้บอกเรา (บุคอรีย์), ... โดยท่านกล่าวว่า บิดาของฉัน (คือ ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา) ได้บอกฉันว่า ท่านษุมามะฮ์ (บิน อับดุลลอฮ์) ได้บอกว่า ท่าน-อนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ได้บอกว่า แท้จริง .......... (แล้วเป็นข้อความของหะดีษ)” ....
จะเห็นได้ว่า สายรายงานนี้ของท่านบุคอรีย์ ก็คือ “สายรายงานเดียวกัน” กับหะดีษกระแสที่ 3 เรื่องท่านนบีย์ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองข้างต้นนั่นเอง ...
หะดีษ 2 บท ... ที่มี “สายรายงานเดียวกัน” และถูกต้องตามเงื่อนไขท่านบุคอรีย์ ... ตามข้อเท็จจริงแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะไปหุก่มว่า บทหนึ่งเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ และอีกบทหนึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .......
เพราะฉะนั้น สรุปแล้ว หะดีษที่ว่า ... “ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองหลังจากถูกแต่งตั้งเป็นนบีย์แล้ว” - จากกระแสที่สาม - ในทัศนะของผม ถือว่า เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (ถูกต้อง) โดยปราศจากข้อสงสัย เพราะสายรายงานของมันถูกต้อง ตรงตามตามเงื่อนไขของท่านบุคอรีย์ทุกอย่าง วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
หมายเหตุ.
ผมเข้าใจว่า ตอนที่ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ กำลังวิเคราะห์หะดีษบทนี้ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” แล้วท่านก็สรุปว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟนั้น ท่านคงจะลืมนึกถึงอย่างสนิทในข้อสังเกตที่ท่านได้เขียนไว้เองในหนังสือ“ฮัดยุส-ซารีย์” เกี่ยวกับมุมมองของท่านบุคอรีย์ที่มีต่อลักษณะการรายงานของท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา, ... เพราะมิฉะนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านจะตัดสินว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟ ... ในเมื่อสายรายงานของมันเป็นสายรายงานที่ถูกต้องในทัศนะของท่านบุคอรีย์, ... ตรง ตามข้อสังเกตของท่านทุกอย่าง .....
และ .. แม้ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ จะได้กล่าวไว้ในตอนหลังว่า ถ้าสมมุติว่าหะดีษบทนี้ถูกต้อง ก็อาจเป็นไปได้ว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว (خُصُوْصِيَّةٌ) ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเท่านั้น, ...
เรื่องนี้ ผมถือว่า เป็นมุมมองส่วนตัวของท่าน ที่ “อาจจะ” ถูกต้องก็ได้ ...
แต่ถ้าหากเราไปพิจารณาดูมุมมองของนักวิชาการท่านอื่นๆดูบ้าง อาทิเช่น ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล, ท่านมุหัมมัด บินซีรีน, ท่านหะสัน อัล-บัศรีย์ ฯลฯ ก็จะพบว่า บรรดานักวิชาการเหล่านี้ไม่ถือว่า กรณีดังกล่าวในหะดีษ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ..... หากแต่เป็นบทบัญญัติที่ประชาชาติมุสลิมทั่วไปสามารถนำมาปฏิบัติได้, ... เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะมาบ่งชี้ว่า เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องเฉพาะตัวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ดังมุมมองของท่านอิบนุ หะญัรฺ .....
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่ (ยกเว้นท่านอิหม่ามมาลิก) จึงมีทัศนะว่า วันเวลาที่ประเสริฐที่สุดและดีที่สุดในการทำอะกีเกาะฮ์ก็คือวันที่เจ็ด, แต่หากไม่พร้อม ก็อาจยืดระยะเวลาออกไปได้อีก โดยท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า ให้ไปทำในวันที่ 14 หรือวันที่ 21 ก็ได้, ส่วนท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า อนุโลมให้ยืดระยะเวลาออกไปจนเด็กคนนั้นบรรลุศาสนภาวะ, และเมื่อเขาบรรลุศาสนภาวะแล้ว ก็ไม่อนุญาตให้ผู้ใดทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่เขาอีก, แต่หากเขาต้องการจะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเอง (เหมือนที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมเคยทำ) ก็เป็นที่อนุญาต ...
ส่วนท่านอิหม่ามมาลิก มีทัศนะว่า การทำอะกีเกาะฮ์ จะต้องทำภายในวันที่เจ็ดนับจากวันที่ทารกคลอดออกมา หากหลังจากนั้น ก็ไม่มีสุนนะฮ์ให้ทำอีก ....
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ตอนท้ายของหะดีษที่ 1522 มีใจความว่า .. บรรดานักวิชาการเห็นชอบที่จะให้มีการเชือดอะกีเกาะฮ์ให้แก่เด็กทารกในวันที่ 7, ถ้าหากว่าไม่พร้อมในวันที่ 7 ก็ให้เชือดในวันที่ 14, หากยังไม่พร้อมอีก ก็ให้เชือดในวันที่ 21 ...
(โปรดดูรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับทัศนะต่างๆเหล่านี้ ได้จากหนังสือ “มะซาอิลอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล” ... จากการบันทึกของท่านศอลิห์ บุตรชายของท่าน หมายเลข 621, ... หนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 9 หน้า 594-595, ... และหนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏ็อรฺ” เล่มที่ 5 หน้า225 เป็นต้น ) .....
สรุปแล้ว นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า คำสั่งให้เชือดอะกีเกาะฮ์ในวันที่เจ็ดตามที่มีระบุในหะดีษบางบทนั้น มิใช่เป็นข้อบังคับ, แต่ถือเป็นเวลาที่ดีเลิศเท่านั้น, หากไม่พร้อม ก็สามารถที่จะเลื่อนเวลาออกไปได้ตามความเหมาะสม, ... แม้กระทั่งหากว่า ผู้ใดไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ตอนเพิ่งคลอด ก็อนุญาตให้แก่ผู้นั้นทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองได้ ดังกล่าวมาแล้ว .....
ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 5 หน้า 530 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องจากท่านมุหัมมัด บิน ซีรีน (เป็นตาบิอีน, สิ้นชิวิตปี ฮ.ศ. 110) ซึ่งกล่าวว่า ..
لَوْ اَعْلَمُ اَنَّـهُ لَمْ يُعَـقَّ عَنِّـيْ لَعَقَقْتُ عَنْ نَفْسِيْ
“สมมุติถ้าฉันรู้ว่า ยังไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ฉันละก็ ฉันก็จะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวฉันเองอย่างแน่นอน”....
และท่านอิบนุ หัสม์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 7 หน้า 528 ด้วยสายรายงานที่หะสัน (สวยงาม) จากท่านหะสัน อัล-บัศรีย์ (เป็นตาบิอีน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 110) ซึ่งกล่าวว่า .....
اِذَا لَمْ يُعَـقَّ عَنْكَ فَعُـقَّ عَنْ نَفْسِـكَ
“ หากว่ายังไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ท่าน ก็ให้ท่านทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวท่านเอง” ....
ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์เอง ได้เสนอมุมมองของท่านบุคอรีย์เกี่ยวกับท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนาไว้ในอารัมภบท หรือ “มุก็อดดิมะฮ์” ของหนังสือฟัตหุ้ลบารีย์ ... นั่นคือหนังสือ “ฮัดยุส-ซารีย์” หน้า 416 มีข้อความว่า .......
عَبْدُ اللَّـهِ بْنُ الْمُثَنَّى بْنِ عَبْدِ اللَّـهِ بْنِ اَنَسِ بْنِ مَالِكٍ.... قُلْتُ : لَمْ أَرَالْبُخَارِىَّ إحْتَجَّ بِـهِ اِلاَّ فِيْ رِوَايَتِـهِ عَنْ عَمِّـهِ ثُمَامَةَ، فَعِنْدَهُ عَنْـهُ أَحَادِيْثُ ..
“อับดุลลอฮ์ เป็นบุตรของอัล-มุษันนา , อัล-มุษันนาเป็นบุตรของอับดุลลอฮ์, อับดุลลอฮ์เป็นบุตรของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ............. ฉันไม่เคยเห็นว่าท่านบุคอรีย์จะอ้างหรือยอมรับท่านอับดุลลอฮ์ผู้นี้ เว้นแต่ในกรณีที่เขารายงานหะดีษใดมาจากลุงของเขา คือ ท่านษุมามะฮ์ เท่านั้น, ... ซึ่งท่านบุคอรีย์ก็มีบันทึกหะดีษที่ท่านอับดุลลอฮ์ได้รายงานมาจากคุณลุง คือท่านษุมามะฮ์ ไว้หลายหะดีษด้วยกัน” .....
ความหมายของคำกล่าวข้างต้นนี้ก็คือ ท่านบุคอรีย์ถือว่า หากหะดีษใดที่ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา รายงานมาจากลุงของท่าน คือ ท่านษุมามะฮ์ ท่านบุคอรีย์ก็จะยอมรับหะดีษนั้นเป็นหลักฐานได้โดยตรง, แต่ถ้าเป็นการรายงานมาจากบุคคลอื่น ท่านก็จะไม่ยอมรับ เว้นแต่จะต้องมีการรายงานสอดคล้องหรือยืนยันมาจากผู้รายงานท่านอื่นอีกทีหนึ่ง ....
นี่คือ ข้อเท็จจริงที่ท่านอิบนุ หะญัรฺได้บันทึกไว้ในหนังสือ “ฮัดยุส-ซารีย์” ...
และในหนังสือ “อัศ-เศาะเหี๊ยะฮ์” ของท่านบุคอรีย์ ก็มีหะดีษซึ่งท่านอับดุลลอฮ์ ได้รายงานมาจากท่านษุมามะฮ์ อยู่หลายหะดีษด้วยกัน..... และบรรดานักวิชาการต่างก็ยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสายรายงานและเป็นหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์ จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์ทั้งสิ้น ...
เท่าที่ผมได้ตรวจสอบดูแล้ว ปรากฏว่า หะดีษต่างๆที่ท่านบุคอรีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัศ-เศาะเหี๊ยะฮ์” จากการรายงานของ ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา, จากท่านษุมามะฮ์ บิน อับดุลลอฮ์, จากท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ซึ่งเป็นกระแสรายงานเดียวกันกับหะดีษกระแสที่ 3 เรื่องท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองฯ ที่ผมกำลังวิเคราะห์อยู่นี้ ก็คือ หะดีษที่ 1448, 1450, 1451, 1453, 1454, 1455, 1487, 3106, 5878, 6955 .....
เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น ผมจึงขอนำ “สายรายงาน” ของหะดีษต่างๆที่ท่านบุคอรีย์ได้บันทึกไว้ตามหมายเลขหะดีษข้างต้น มาให้อ่านกันดังนี้ ....
حَـدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللَّـهِ: قَالَ حَـدَّثَنِيْ اَبِيْ، قَالَ حَـدَّثَنِيْ ثُمَامَةُ اَنَّ اَنَسًا رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُ حَـدَّثَهُ اَنَّ ........
“ท่านมุหัมมัด บิน อับดุลลอฮ์ได้บอกเรา (บุคอรีย์), ... โดยท่านกล่าวว่า บิดาของฉัน (คือ ท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา) ได้บอกฉันว่า ท่านษุมามะฮ์ (บิน อับดุลลอฮ์) ได้บอกว่า ท่าน-อนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ได้บอกว่า แท้จริง .......... (แล้วเป็นข้อความของหะดีษ)” ....
จะเห็นได้ว่า สายรายงานนี้ของท่านบุคอรีย์ ก็คือ “สายรายงานเดียวกัน” กับหะดีษกระแสที่ 3 เรื่องท่านนบีย์ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองข้างต้นนั่นเอง ...
หะดีษ 2 บท ... ที่มี “สายรายงานเดียวกัน” และถูกต้องตามเงื่อนไขท่านบุคอรีย์ ... ตามข้อเท็จจริงแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะไปหุก่มว่า บทหนึ่งเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ และอีกบทหนึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .......
เพราะฉะนั้น สรุปแล้ว หะดีษที่ว่า ... “ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองหลังจากถูกแต่งตั้งเป็นนบีย์แล้ว” - จากกระแสที่สาม - ในทัศนะของผม ถือว่า เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (ถูกต้อง) โดยปราศจากข้อสงสัย เพราะสายรายงานของมันถูกต้อง ตรงตามตามเงื่อนไขของท่านบุคอรีย์ทุกอย่าง วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
หมายเหตุ.
ผมเข้าใจว่า ตอนที่ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ กำลังวิเคราะห์หะดีษบทนี้ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” แล้วท่านก็สรุปว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟนั้น ท่านคงจะลืมนึกถึงอย่างสนิทในข้อสังเกตที่ท่านได้เขียนไว้เองในหนังสือ“ฮัดยุส-ซารีย์” เกี่ยวกับมุมมองของท่านบุคอรีย์ที่มีต่อลักษณะการรายงานของท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัล-มุษันนา, ... เพราะมิฉะนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านจะตัดสินว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟ ... ในเมื่อสายรายงานของมันเป็นสายรายงานที่ถูกต้องในทัศนะของท่านบุคอรีย์, ... ตรง ตามข้อสังเกตของท่านทุกอย่าง .....
และ .. แม้ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ จะได้กล่าวไว้ในตอนหลังว่า ถ้าสมมุติว่าหะดีษบทนี้ถูกต้อง ก็อาจเป็นไปได้ว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว (خُصُوْصِيَّةٌ) ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเท่านั้น, ...
เรื่องนี้ ผมถือว่า เป็นมุมมองส่วนตัวของท่าน ที่ “อาจจะ” ถูกต้องก็ได้ ...
แต่ถ้าหากเราไปพิจารณาดูมุมมองของนักวิชาการท่านอื่นๆดูบ้าง อาทิเช่น ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล, ท่านมุหัมมัด บินซีรีน, ท่านหะสัน อัล-บัศรีย์ ฯลฯ ก็จะพบว่า บรรดานักวิชาการเหล่านี้ไม่ถือว่า กรณีดังกล่าวในหะดีษ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ..... หากแต่เป็นบทบัญญัติที่ประชาชาติมุสลิมทั่วไปสามารถนำมาปฏิบัติได้, ... เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะมาบ่งชี้ว่า เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องเฉพาะตัวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ดังมุมมองของท่านอิบนุ หะญัรฺ .....
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่ (ยกเว้นท่านอิหม่ามมาลิก) จึงมีทัศนะว่า วันเวลาที่ประเสริฐที่สุดและดีที่สุดในการทำอะกีเกาะฮ์ก็คือวันที่เจ็ด, แต่หากไม่พร้อม ก็อาจยืดระยะเวลาออกไปได้อีก โดยท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า ให้ไปทำในวันที่ 14 หรือวันที่ 21 ก็ได้, ส่วนท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า อนุโลมให้ยืดระยะเวลาออกไปจนเด็กคนนั้นบรรลุศาสนภาวะ, และเมื่อเขาบรรลุศาสนภาวะแล้ว ก็ไม่อนุญาตให้ผู้ใดทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่เขาอีก, แต่หากเขาต้องการจะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเอง (เหมือนที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมเคยทำ) ก็เป็นที่อนุญาต ...
ส่วนท่านอิหม่ามมาลิก มีทัศนะว่า การทำอะกีเกาะฮ์ จะต้องทำภายในวันที่เจ็ดนับจากวันที่ทารกคลอดออกมา หากหลังจากนั้น ก็ไม่มีสุนนะฮ์ให้ทำอีก ....
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ตอนท้ายของหะดีษที่ 1522 มีใจความว่า .. บรรดานักวิชาการเห็นชอบที่จะให้มีการเชือดอะกีเกาะฮ์ให้แก่เด็กทารกในวันที่ 7, ถ้าหากว่าไม่พร้อมในวันที่ 7 ก็ให้เชือดในวันที่ 14, หากยังไม่พร้อมอีก ก็ให้เชือดในวันที่ 21 ...
(โปรดดูรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับทัศนะต่างๆเหล่านี้ ได้จากหนังสือ “มะซาอิลอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล” ... จากการบันทึกของท่านศอลิห์ บุตรชายของท่าน หมายเลข 621, ... หนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 9 หน้า 594-595, ... และหนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏ็อรฺ” เล่มที่ 5 หน้า225 เป็นต้น ) .....
สรุปแล้ว นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า คำสั่งให้เชือดอะกีเกาะฮ์ในวันที่เจ็ดตามที่มีระบุในหะดีษบางบทนั้น มิใช่เป็นข้อบังคับ, แต่ถือเป็นเวลาที่ดีเลิศเท่านั้น, หากไม่พร้อม ก็สามารถที่จะเลื่อนเวลาออกไปได้ตามความเหมาะสม, ... แม้กระทั่งหากว่า ผู้ใดไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ตอนเพิ่งคลอด ก็อนุญาตให้แก่ผู้นั้นทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองได้ ดังกล่าวมาแล้ว .....
ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 5 หน้า 530 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องจากท่านมุหัมมัด บิน ซีรีน (เป็นตาบิอีน, สิ้นชิวิตปี ฮ.ศ. 110) ซึ่งกล่าวว่า ..
لَوْ اَعْلَمُ اَنَّـهُ لَمْ يُعَـقَّ عَنِّـيْ لَعَقَقْتُ عَنْ نَفْسِيْ
“สมมุติถ้าฉันรู้ว่า ยังไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ฉันละก็ ฉันก็จะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวฉันเองอย่างแน่นอน”....
และท่านอิบนุ หัสม์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 7 หน้า 528 ด้วยสายรายงานที่หะสัน (สวยงาม) จากท่านหะสัน อัล-บัศรีย์ (เป็นตาบิอีน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 110) ซึ่งกล่าวว่า .....
اِذَا لَمْ يُعَـقَّ عَنْكَ فَعُـقَّ عَنْ نَفْسِـكَ
“ หากว่ายังไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ท่าน ก็ให้ท่านทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวท่านเอง” ....
สรุป.
เมื่อได้พิจารณาข้อมูลต่างๆจากหะดีษที่รายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการทำอะกีเกาะฮ์อย่างละเอียดแล้ว ผมจึงมีความเห็นว่า ทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ น่าจะเป็นทัศนะที่ถูกต้องที่สุด ...
นั่นคือ การทำอะกีเกาะฮ์ในวันที่เจ็ด มิใช่เป็นข้อบังคับ, แต่ถือเป็นเวลาที่ดีเลิศ (อัฟฎ็อล) คือ ... หากมีความพร้อมก็จะเป็นการดีที่สุดที่จะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ทารกในวันที่เจ็ดนับจากวันที่เขาคลอดออกมา, แต่หากไม่พร้อม ก็อนุโลมให้ยืดเวลาต่อไปได้จนกว่าจะพร้อม และหากเมื่อใดเขาโตขึ้นโดยยังมิได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่เขาขณะยังเล็กอยู่ ก็ให้เขาทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองได้ ... ตามนัยของหะดีษข้างต้นนี้ ....
เมื่อได้พิจารณาข้อมูลต่างๆจากหะดีษที่รายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการทำอะกีเกาะฮ์อย่างละเอียดแล้ว ผมจึงมีความเห็นว่า ทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ น่าจะเป็นทัศนะที่ถูกต้องที่สุด ...
นั่นคือ การทำอะกีเกาะฮ์ในวันที่เจ็ด มิใช่เป็นข้อบังคับ, แต่ถือเป็นเวลาที่ดีเลิศ (อัฟฎ็อล) คือ ... หากมีความพร้อมก็จะเป็นการดีที่สุดที่จะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ทารกในวันที่เจ็ดนับจากวันที่เขาคลอดออกมา, แต่หากไม่พร้อม ก็อนุโลมให้ยืดเวลาต่อไปได้จนกว่าจะพร้อม และหากเมื่อใดเขาโตขึ้นโดยยังมิได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่เขาขณะยังเล็กอยู่ ก็ให้เขาทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองได้ ... ตามนัยของหะดีษข้างต้นนี้ ....
วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น