โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ก่อนอื่น ก็อยากจะขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทุกท่านรับทราบเสียก่อนว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมหลังจากตะชะฮ์ฮุด ถือเป็น مَشْرُوْعٌ หรือเป็น “บทบัญญัติ” .. ซึ่งไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้ ...
แต่สิ่งที่บรรดานักวิชาการในอดีตขัดแย้งกันในกรณีนี้ ก็คือ ...
ก. การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุด เป็นสิ่ง وَاجِبٌ คือ “จำเป็น” จะต้องอ่าน .. หรือเป็นเพียง مُسْتَحَبٌّ .. คือ “สมควร” อ่าน ? ...
ข. ไม่ว่าในมุมมองที่ว่า การอ่านศ่อละวาตดังกล่าวเป็นเรื่อง وَاجِبٌ หรือเป็นเรื่อง مُسْتَحَبٌّ .. ปัญหาต่อมาก็คือ การอ่านศ่อละวาตนั้น เป็นบทบัญญัติเฉพาะของตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย .. หรือเป็นบทบัญญัติของตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย ? ...
ก่อนจะถึงการวิเคราะห์หลักฐานและมุมมองของความขัดแย้งข้างต้น ผมก็ขอเสนอหลักฐานจากหะดีษ – บางบท - ที่แสดงว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็น “บทบัญญัติ” หลังตะชะฮ์ฮุดของการนมาซ ...
หลักฐานจากหะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้ มี 3 ลักษณะคือ ...
1. เป็นหลักฐานครอบคลุม (مُطْلَقٌ) .. คือไม่ได้ระบุว่าให้อ่านศ่อละวาตดังกล่าวในนมาซหรือนอกนมาซ ...
2. เป็นหลักฐานที่กำหนด (تَقْيِيْدٌ) ว่า เป็นการอ่านในนมาซ แต่ไม่ได้ระบุว่าให้อ่านในช่วงไหนของการนมาซ ...
3. เป็นหลักฐานที่ระบุชัดเจน (صَرِيْحٌ) ว่า หมายถึงให้อ่านหลังจากตะชะฮ์ฮุด แต่มิได้ระบุว่าเป็นตะชะฮ์ฮุดไหน ...
ต่อไปนี้คือข้อมูล, คำอธิบาย และการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าว ...
1. หลักฐานครอบคลุม (مُطْلَقٌ) ...
ท่านอบูมัสอูด (อุกบะฮ์ บินอัมรฺ อัล-อันศอรีย์ ร.ฎ.) กล่าวว่า ...
أَتَانَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ فِىْ مَجْلِسِ سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ : فَقَالَ لَهُ بَشِيْرُ بْنُ سَعْدٍ : أَمَرَنَااللهُ تَعَالَى أَنْ نُصَلِّىَ عَلَيْكَ يَا رَسُوْلَ اللهِ! فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ ؟ قَالَ : فَسَكَتَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَتىَّ تَمَنَّيْنَا أَنَّهُ لَمْ يَسْأَلْهُ، ثُمَّ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : قُوْلُوْا : أَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَّعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيِمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَّعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ فِى الْعَالَمِيْنَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ، وَالسَّلاَم ُكَمَا قَدْ عَلِمْتُمْ ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้มาหาพวกเราขณะที่พวกเรานั่งอยู่ในมัจญลิซของท่านสะอัด บินอุบาดะฮ์ .. ท่านบะชีรฺ บินสะอัดได้กล่าวแก่ท่านว่า .. “พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาให้พวกเรากล่าวศ่อละวาตแก่ท่าน โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์! แล้วพวกเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไร ?” .. (ท่านอบูมัสอูดกล่าวว่า) แล้วท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็นิ่งเงียบจนพวกเราหวังกันว่า ท่านบะชีรฺมิได้ถามอะไรท่าน หลังจากนั้น ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็กล่าวว่า .. “พวกท่านจงกล่าวว่า اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ .. (จนจบข้อความของศ่อละวาต) .. ส่วนการให้ สล่ามนั้น ก็ดังที่พวกท่านทราบกันดีแล้ว” ...
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 65/405, ท่านมาลิก หะดีษที่ 397, ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 980, ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1284, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 3220, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 1343, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 146, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 118, ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษที่ 2370, และท่านอบูอะวานะฮ์ เล่มที่ 2 หน้า 211) ...
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ) ซึ่งสำนวนดังข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านมาลิก ท่านอบูดาวูด และท่านอัด-ดาริมีย์ เป็นต้น ...
นอกจากนี้ หะดีษเรื่องการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังมีรายงานมาด้วยสำนวนอื่นๆอีกหลายสำนวนจากเศาะหาบะฮ์หลายท่าน คือท่านอะลีย์, ท่านอบีย์หุมัยด์, ท่านกะอฺบ์ (กะอับ บินอุจญเราะฮ์), ท่านฏ็อลหะฮ์ บินอุบัยดิลลาฮ์, ท่านซัยด์ บินคอริญะฮ์ และท่านบุร็อยดะฮ์ .. ดังคำกล่าวของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ตอนท้ายหะดีษที่ 3220 จากหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ...
อธิบาย
1. คำกล่าวของท่านบะชีรฺ บินสะอัด ร.ฎ. ที่ว่า .. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาให้พวกเราศ่อละวาตแก่ท่าน .. หมายถึงพระดำรัสของพระองค์ในโองการที่ 56 ซูเราะฮ์อัล-อะห์ซาบ ที่ว่า ...
إِنَّ اللهَ وَمَلآئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِىِّ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์และบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ต่างก็ศ่อละวาต (คือประสาทพร) ให้แก่ท่านนบีย์ โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกท่านจงศ่อละวาตและสล่ามให้แก่เขาอย่างเทิดทูนเถิด” ...
2. แม้คำถามในเรื่องการอ่านศ่อละวาตข้างต้นจะไม่ได้ระบุว่าเป็นการอ่านนอกหรือในนมาซ แต่จากคำตอบของท่านศาสดาในตอนท้ายที่ว่า .. “ส่วนการให้สล่ามนั้น ก็ดังที่พวกท่านทราบกันดีแล้ว” .. นั้น นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงการกล่าวสล่ามดังคำสอนของท่านที่เคยสอนให้พวกเขากล่าวใน (ตะชะฮ์ฮุดของ) การนมาซที่ว่า ...
2. แม้คำถามในเรื่องการอ่านศ่อละวาตข้างต้นจะไม่ได้ระบุว่าเป็นการอ่านนอกหรือในนมาซ แต่จากคำตอบของท่านศาสดาในตอนท้ายที่ว่า .. “ส่วนการให้สล่ามนั้น ก็ดังที่พวกท่านทราบกันดีแล้ว” .. นั้น นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงการกล่าวสล่ามดังคำสอนของท่านที่เคยสอนให้พวกเขากล่าวใน (ตะชะฮ์ฮุดของ) การนมาซที่ว่า ...
اَلسَّلاَمُ عَلَيْكَ اَيُّهَاالنَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُـهُ
คำอธิบายดังกล่าวนี้ ได้รับการยืนยันจากหะดีษต่อไปนี้ คือ ...
2. หลักฐานที่กำหนด(تَقْيِيْدٌ)ว่า ให้อ่านศ่อละวาตในการนมาซ
หะดีษที่มีระบุว่าให้อ่านศ่อละวาตดังคำสอนข้างต้นในนมาซ -- แต่มิได้ระบุว่า ให้อ่านในช่วงใดของการนมาซ – มีรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ 3 ท่านคือ ท่านกะอับ บินอุจญเราะฮ์, ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ และท่านอบูมัสอูด ร.ฎ. ...
รายงานจากเศาะหาบะฮ์ 2 ท่านแรก เป็นการบันทึกของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสืออัล-อุมม์ เล่มที่ 1 หน้า 102 ซึ่งผมจะไม่นำมาวิเคราะห์ ณ ที่นี้ แต่ที่นำมากล่าวถึงก็คือ รายงานของท่านอบูมัสอูด (อุกบะฮ์ บินอัมรฺ ร.ฎ.) ที่กล่าวว่า ...
أَقْبَلَ رَجُلٌ حَتىَّ جَلَسَ بَيْنَ يَدَىْ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ عِنْدَهُ، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللهِ! أَمَّا السَّلاَمُ عَلَيْكَ فَقَدْ عَرَفْنَاهُ، فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ إِذَا نَحْنُ صَلَّيْنَا عَلَيْكَ فِىْ صَلاَتِنَا ....... الحديثَ
ชายผู้หนึ่งได้มุ่งมาหาและนั่งลงต่อหน้าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยพวกเราก็อยู่กับท่านด้วย แล้วเขาก็กล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ การให้ สล่ามแก่ท่านนั้นพวกเราล้วนทราบกันดี แล้วเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไรเมื่อเราศ่อละวาตแก่ท่านในนมาซของเรา” ...... (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-หากิมในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 401, ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 355, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 119, ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 711 และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 146, 378) ...
ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าวหลังจากบันทึกหะดีษบทนี้ว่า ...
هَذَا إِسْنَادٌ حَسَنٌ مُتَّصِلٌ
“นี่เป็นสายรายงานที่หะซัน (สวยงาม) และต่อเนื่อง” ...
ท่านอัล-หากิมได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 401ว่า ...
هَذَا حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ عَلَى شَرْطِ مُسْلِمٍ
“หะดีษนี้ ถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) ตรงตามเงื่อนไขของท่านมุสลิม” ...
และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ก็กล่าวรับรองคำพูดดังกล่าวของท่านอัล-หากิมในหนังสือ “ตัลคีส มุสตัดร็อก” ซึ่งถูกตีพิมพ์ด้านล่างของหนังสืออัล-มุสตัดร็อก ...
แต่ที่ถูกต้องก็คือ สายรายนี้เป็นสายรายงานที่หะซัน ดังคำกล่าวของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ข้างต้น เพราะท่านมุหัมมัด บินอิสหาก ผู้รายงานท่านหนึ่งของหะดีษบทนี้มีคุณสมบัติเป็นผู้รายงานหะดีษหะซัน มิใช่เป็นผู้รายงานหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ...
อธิบาย
คำถามในหะดีษบทนี้ที่ว่า .. “แล้วเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไรเมื่อเราศ่อละวาตแก่ท่านในนมาซของเรา” .. ระบุถึงความอยากรู้ของผู้ถามใน “วิธีการ” หรือ “รูปแบบ” การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในนมาซ ...
แต่ทั้งในคำถามและคำตอบของหะดีษบทนี้ ไม่มีข้อความใดระบุว่า ให้อ่านศ่อละวาตในอิริยาบถใดของการนมาซ ...
3. หลักฐานที่ระบุชัดเจน (صَرِيْحٌ) ว่า ให้อ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุดในนมาซ (แต่ไม่ได้ระบุว่าตะชะฮ์ฮุดครั้งไหน)
ความคลุมเครือเกี่ยวกับตำแหน่งการอ่านศ่อละวาต “ในนมาซ” ดังหะดีษข้างต้น ถูกขยายความด้วยหะดีษเฎาะอีฟหลายบท ซึ่งโดยภาพรวมแล้วพอจะเชื่อถือได้ว่า หมายถึง “ให้อ่านศ่อละวาตดังกล่าวหลังจากตะชะฮ์ฮุดในนมาซ” ดังต่อไปนี้ ...
ก. ท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ...
إِذَا تَشَهَّدَ أَحَدُكُمْ فِى الصَّلاَةِ فَلْيَقُلْ : اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ... الحديثَ
“เมื่อพวกท่านคนใดอ่านตะชะฮ์ฮุดในนมาซ ก็ให้เขากล่าวว่าللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى محمدٍ .. (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดยท่านอัล-หากิม เล่มที่ 1 หน้า 402, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 379) ...
สายรายงานของหะดีษนี้ เฎาะอีฟ, เพราะในสายรายงานตอนหนึ่งกล่าวว่า .. จากชายผู้หนึ่งแห่งบะนีย์ อัล-หาริษ .. ซึ่งไม่ทราบว่าชายผู้นั้นคือใคร จึงถือเป็นบุคคลมัจญฮูล
ข. ท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้รายงานจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมอีกว่า ...
عَلَّمَنِىْ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ التَشَهُّدَ كَمَا يُعَلِّمُنَا السُّوْرَةَ مِنَ الْقُرْآنِ : اَلتَّحِيَّاتُ للهِ، وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ ..... اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ...... الحديثَ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ได้สอนตะชะฮ์ฮุดแก่ฉันเหมือนท่านสอนซูเราะฮ์ของอัล-กุรฺอ่านแก่พวกเรา (โดยท่านสอนให้กล่าว) ว่า ...
اَلتَّحِيَّاتُ للهِ وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ ......... اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدِ.......
.. (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดยท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 354 และท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ใน “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ” หะดีษที่ 9937) ...
ท่านอัล-ฮัยษะมีย์ได้กล่าวในหนังสือ “มัจญมะอฺ อัซ-ซะวาอิด” เล่มที่ 2 หน้า 341 ว่า ในสายรายงานของหะดีษนี้มีชื่อ อับดุลวะฮ์ฮาบ บินมุญาฮิด ซึ่งเป็นผู้รายงานที่เฎาะอีฟ ...
ค. ท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُعَلِّمُنَا التَشَهُّدَ : اَلتَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الزَّاكِيَاتُ للهِ .. .......... ثُمَّ يُصَلِّىْ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้สอนตะชะฮ์ฮุดแก่พวกเราว่า .. اَلتَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الزَّاكِيَاتُ للهِ، ....... หลังจากนั้นท่านก็กล่าวศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ...
(บันทึกโดยท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351) ...
ท่านอัดดา-รุกุฏนีย์ได้กล่าวตอนท้ายหะดีษบทนี้ว่า .. มูซา บินอุบัยดะฮ์ และ คอริยะฮ์ (บินมุศอับ ซึ่งเป็นผู้รายงาน 2 ท่านของหะดีษนี้) เฎาะอีฟทั้งสองท่าน ...
ง. ท่านบุร็อยดะฮ์ ร.ฎ. กล่าวว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
يَا بُرَيْدَةُ! إِذَاجَلَسْتَ فِىْ صَلاَتِكَ فَلاَ تَتْرُكَنَّ التَّشَهُّدَ وَالصَّلاَةَ عَلَيَّ، فَاِنَّهَا زَكَاةُ الصَّلاَةِ
“นี่แน่ะบุร็อยดะฮ์! เมื่อท่านนั่งลงในนมาซของท่าน ท่านก็อย่าละทิ้งการอ่านตะชะฮ์ฮุดและการศ่อละวาตแก่ฉันเป็นอันขาด เพราะมันคือสิ่งขัดเกลาการนมาซ .....”
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 355) ...
ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าวในตอนท้ายว่า .. อัมรฺ บินชิมรฺ และญาบิรฺ (ซึ่งเป็นผู้รายงาน 2 ท่านในสายรายงานของหะดีษนี้) เฎาะอีฟทั้ง 2 ท่าน ...
สรุปแล้ว หะดีษทั้ง 4 บทข้างต้นล้วนเป็นหะดีษที่มีสายรายงานเฎาะอีฟทั้งสิ้น ...
จะอย่างไรก็ตาม แม้สายรายงานของหะดีษทั้ง 4 บทนี้จะเฎาะอีฟ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีนักวิชาการท่านใด ขัดแย้งกันในเรื่องตำแหน่งการอ่านศ่อละวาตว่า “ให้อ่านหลังจากตะชะฮ์ฮุด” .. ดังข้อความที่ปรากฏในหะดีษเหล่านี้ .. และดังที่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ...
คำอธิบายดังกล่าวนี้ ได้รับการยืนยันจากหะดีษต่อไปนี้ คือ ...
2. หลักฐานที่กำหนด(تَقْيِيْدٌ)ว่า ให้อ่านศ่อละวาตในการนมาซ
หะดีษที่มีระบุว่าให้อ่านศ่อละวาตดังคำสอนข้างต้นในนมาซ -- แต่มิได้ระบุว่า ให้อ่านในช่วงใดของการนมาซ – มีรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ 3 ท่านคือ ท่านกะอับ บินอุจญเราะฮ์, ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ และท่านอบูมัสอูด ร.ฎ. ...
รายงานจากเศาะหาบะฮ์ 2 ท่านแรก เป็นการบันทึกของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสืออัล-อุมม์ เล่มที่ 1 หน้า 102 ซึ่งผมจะไม่นำมาวิเคราะห์ ณ ที่นี้ แต่ที่นำมากล่าวถึงก็คือ รายงานของท่านอบูมัสอูด (อุกบะฮ์ บินอัมรฺ ร.ฎ.) ที่กล่าวว่า ...
أَقْبَلَ رَجُلٌ حَتىَّ جَلَسَ بَيْنَ يَدَىْ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ عِنْدَهُ، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللهِ! أَمَّا السَّلاَمُ عَلَيْكَ فَقَدْ عَرَفْنَاهُ، فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ إِذَا نَحْنُ صَلَّيْنَا عَلَيْكَ فِىْ صَلاَتِنَا ....... الحديثَ
ชายผู้หนึ่งได้มุ่งมาหาและนั่งลงต่อหน้าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยพวกเราก็อยู่กับท่านด้วย แล้วเขาก็กล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ การให้ สล่ามแก่ท่านนั้นพวกเราล้วนทราบกันดี แล้วเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไรเมื่อเราศ่อละวาตแก่ท่านในนมาซของเรา” ...... (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-หากิมในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 401, ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 355, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 119, ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 711 และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 146, 378) ...
ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าวหลังจากบันทึกหะดีษบทนี้ว่า ...
هَذَا إِسْنَادٌ حَسَنٌ مُتَّصِلٌ
“นี่เป็นสายรายงานที่หะซัน (สวยงาม) และต่อเนื่อง” ...
ท่านอัล-หากิมได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 401ว่า ...
هَذَا حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ عَلَى شَرْطِ مُسْلِمٍ
“หะดีษนี้ ถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) ตรงตามเงื่อนไขของท่านมุสลิม” ...
และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ก็กล่าวรับรองคำพูดดังกล่าวของท่านอัล-หากิมในหนังสือ “ตัลคีส มุสตัดร็อก” ซึ่งถูกตีพิมพ์ด้านล่างของหนังสืออัล-มุสตัดร็อก ...
แต่ที่ถูกต้องก็คือ สายรายนี้เป็นสายรายงานที่หะซัน ดังคำกล่าวของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ข้างต้น เพราะท่านมุหัมมัด บินอิสหาก ผู้รายงานท่านหนึ่งของหะดีษบทนี้มีคุณสมบัติเป็นผู้รายงานหะดีษหะซัน มิใช่เป็นผู้รายงานหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ...
อธิบาย
คำถามในหะดีษบทนี้ที่ว่า .. “แล้วเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไรเมื่อเราศ่อละวาตแก่ท่านในนมาซของเรา” .. ระบุถึงความอยากรู้ของผู้ถามใน “วิธีการ” หรือ “รูปแบบ” การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในนมาซ ...
แต่ทั้งในคำถามและคำตอบของหะดีษบทนี้ ไม่มีข้อความใดระบุว่า ให้อ่านศ่อละวาตในอิริยาบถใดของการนมาซ ...
3. หลักฐานที่ระบุชัดเจน (صَرِيْحٌ) ว่า ให้อ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุดในนมาซ (แต่ไม่ได้ระบุว่าตะชะฮ์ฮุดครั้งไหน)
ความคลุมเครือเกี่ยวกับตำแหน่งการอ่านศ่อละวาต “ในนมาซ” ดังหะดีษข้างต้น ถูกขยายความด้วยหะดีษเฎาะอีฟหลายบท ซึ่งโดยภาพรวมแล้วพอจะเชื่อถือได้ว่า หมายถึง “ให้อ่านศ่อละวาตดังกล่าวหลังจากตะชะฮ์ฮุดในนมาซ” ดังต่อไปนี้ ...
ก. ท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ...
إِذَا تَشَهَّدَ أَحَدُكُمْ فِى الصَّلاَةِ فَلْيَقُلْ : اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ... الحديثَ
“เมื่อพวกท่านคนใดอ่านตะชะฮ์ฮุดในนมาซ ก็ให้เขากล่าวว่าللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى محمدٍ .. (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดยท่านอัล-หากิม เล่มที่ 1 หน้า 402, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 379) ...
สายรายงานของหะดีษนี้ เฎาะอีฟ, เพราะในสายรายงานตอนหนึ่งกล่าวว่า .. จากชายผู้หนึ่งแห่งบะนีย์ อัล-หาริษ .. ซึ่งไม่ทราบว่าชายผู้นั้นคือใคร จึงถือเป็นบุคคลมัจญฮูล
ข. ท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้รายงานจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมอีกว่า ...
عَلَّمَنِىْ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ التَشَهُّدَ كَمَا يُعَلِّمُنَا السُّوْرَةَ مِنَ الْقُرْآنِ : اَلتَّحِيَّاتُ للهِ، وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ ..... اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ...... الحديثَ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ได้สอนตะชะฮ์ฮุดแก่ฉันเหมือนท่านสอนซูเราะฮ์ของอัล-กุรฺอ่านแก่พวกเรา (โดยท่านสอนให้กล่าว) ว่า ...
اَلتَّحِيَّاتُ للهِ وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ ......... اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدِ.......
.. (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดยท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 354 และท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ใน “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ” หะดีษที่ 9937) ...
ท่านอัล-ฮัยษะมีย์ได้กล่าวในหนังสือ “มัจญมะอฺ อัซ-ซะวาอิด” เล่มที่ 2 หน้า 341 ว่า ในสายรายงานของหะดีษนี้มีชื่อ อับดุลวะฮ์ฮาบ บินมุญาฮิด ซึ่งเป็นผู้รายงานที่เฎาะอีฟ ...
ค. ท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُعَلِّمُنَا التَشَهُّدَ : اَلتَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الزَّاكِيَاتُ للهِ .. .......... ثُمَّ يُصَلِّىْ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้สอนตะชะฮ์ฮุดแก่พวกเราว่า .. اَلتَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الزَّاكِيَاتُ للهِ، ....... หลังจากนั้นท่านก็กล่าวศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ...
(บันทึกโดยท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351) ...
ท่านอัดดา-รุกุฏนีย์ได้กล่าวตอนท้ายหะดีษบทนี้ว่า .. มูซา บินอุบัยดะฮ์ และ คอริยะฮ์ (บินมุศอับ ซึ่งเป็นผู้รายงาน 2 ท่านของหะดีษนี้) เฎาะอีฟทั้งสองท่าน ...
ง. ท่านบุร็อยดะฮ์ ร.ฎ. กล่าวว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
يَا بُرَيْدَةُ! إِذَاجَلَسْتَ فِىْ صَلاَتِكَ فَلاَ تَتْرُكَنَّ التَّشَهُّدَ وَالصَّلاَةَ عَلَيَّ، فَاِنَّهَا زَكَاةُ الصَّلاَةِ
“นี่แน่ะบุร็อยดะฮ์! เมื่อท่านนั่งลงในนมาซของท่าน ท่านก็อย่าละทิ้งการอ่านตะชะฮ์ฮุดและการศ่อละวาตแก่ฉันเป็นอันขาด เพราะมันคือสิ่งขัดเกลาการนมาซ .....”
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 355) ...
ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าวในตอนท้ายว่า .. อัมรฺ บินชิมรฺ และญาบิรฺ (ซึ่งเป็นผู้รายงาน 2 ท่านในสายรายงานของหะดีษนี้) เฎาะอีฟทั้ง 2 ท่าน ...
สรุปแล้ว หะดีษทั้ง 4 บทข้างต้นล้วนเป็นหะดีษที่มีสายรายงานเฎาะอีฟทั้งสิ้น ...
จะอย่างไรก็ตาม แม้สายรายงานของหะดีษทั้ง 4 บทนี้จะเฎาะอีฟ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีนักวิชาการท่านใด ขัดแย้งกันในเรื่องตำแหน่งการอ่านศ่อละวาตว่า “ให้อ่านหลังจากตะชะฮ์ฮุด” .. ดังข้อความที่ปรากฏในหะดีษเหล่านี้ .. และดังที่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น