อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

โต๊ะละไบ กินนูหรี

ตอบโดย อ.ปราโมทย์  ศรีอุทัย

คำถาม

อัสลามูอาลัยกุม อาจารย์ มีคำถามอีกแล้วค่ะ ดิฉันอยากรู้ทำความเข้าใจ กับคำศัพท์ นิยาม และหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติศาสนาว่าอย่างไร ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันตลอดมากับสังคมมุสลิมบ้านเรา แต่ดิฉันยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริง
1) กินบุญ หรือนุหรี (ซึ่งมีความสำคัญกับสังคมมุสลิมบ้านเราเกือบทุกพิธี)
2) โต๊ะลาไบ หรือโต๊ะลาแบ (ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญมากในสังคมบ้านเราและเกี่ยวเนื่องกับกินนุหรี หากโต๊ะไบไม่มากินนุหรีไม่ได้)

คำตอบ


วะอลัยกุมุสสลามครับ คุณมารียะฮ์ .. ..
คำถามของคุณคราวนี้มาแปลก เพราะเป็นเรื่องของคำศัพท์ และคำนิยามของคำบางคำซึ่งหลายคน - รวมทั้งผมด้วย - คุ้นหูกันดี แม้จะไม่ใช่คำที่เป็นบทบัญญัติของศาสนาโดยตรง เพราะเป็นคำศัพท์ภาษาไทยบ้าง คำศัพท์ภาษามลายูบ้าง ซึ่งผมเองก็ไม่ค่อยจะสันทัดกับคำศัพท์เหล่านี้สักเท่าไร จึงขอตอบจากประสบการณ์ของตัวเองที่พอจะมีบ้าง แต่ไม่ยืนยันว่า มันจะถูกต้องนะครับ ...

(1). คำว่า "กินบุญ" เป็นคำสัพท์ภาษาไทย พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 อธิบายว่า (ภาษาถิ่นอีสาน) เป็นคำกริยา หมายถึง กินเลี้ยงในงานทำบุญ .. เพราะฉะนั้น ตามความหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่า การกินบุญจึงหมายถึงการกินเลี้ยงในงานต่างๆที่ผู้จัด "จะได้รับผลบุญ" จากการจัดงานเลี้ยงนั้น ซึ่งสำหรับชาวพุทธหรือศาสนาอื่นคงไม่มีปัญหาในเรื่องความเชื่อดังกล่าว ตราบใดที่พวกเขาเชื่อว่า การกระทำทุกๆอย่างที่เรียกว่า "ดี" - ตามความเข้าใจมนุษย์ -- ย่อมได้รับผลบุญทั้งสิ้น แต่สำหรับมุสลิมแล้ว เรื่อง "ผลบุญ" เป็นสิทธิเฉพาะของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.เพียงพระองค์เดียว ที่กำหนดว่างานเลี้ยงในวาระอะไรบ้างจะได้รับผลบุญ ดังนั้นเราจะมากะเกณฑ์เอาเองว่า งานเลี้ยงอย่างนั้นอย่างนี้ที่เราคิดจัดขึ้นเอง แล้วเรียกงานนั้นว่าเป็นการทำบุญ - จึงเป็นเพียงความเข้าใจส่วนตัวของผู้จัดที่ไม่มีหลักฐานรองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานเลี้ยงที่บ้านผู้ตายเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อส่งผลบุญให้แก่ผู้ตายและเรียกกันติดปากว่า "ทำบุญบ้านคนตาย" จึงไม่น่าจะตรงกับข้อเท็จจริง .. ตรงกันข้าม หากเรียกการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการ "ทำบาปบ้านคนตาย" น่าจะถูกต้องกว่า เพราะนักวิชาการระดับโลกของทั้ง 4 มัษฮับกล่าวตรงกันว่า การที่ครอบครัวผู้ตายเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารแล้วเชิญแขกมากินเลี้ยงนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจหรือเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกประณาม จึงย่อมไม่มี "ผลบุญ" ใดๆที่จะส่งหรืออุทิศให้แก่ผู้ตายจากการจัดเลี้ยงดังกล่าวตามความเชื่อในเรื่องนี้ .. วัลลอฮุ อะอฺลัม ..

ส่วนคำว่า "นูหรี" เป็นคำศัพท์ภาษามลายูที่ชาวบ้านพูดกันติดปาก เพี้ยนมาจากคำศัพท์เต็มว่า كندورى (อ่านว่า กันดูรีย์) ..มีความหมายภาษาไทยว่า "งานเลี้ยงอาหาร" นั่นเองครับ ...

(2). ส่วนคำว่า โต๊ะละไบ (่تؤ لبى ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น โต๊ะละแบ) น่าจะหมายถึง ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนศาสนาจนมีความรู้ "พอประมาณ" หรืออยู่ในขั้นดี.. คือ สามารถ "เป็นผู้นำ" ชาวบ้านอ่านดุอาในพิธีกรรมและงานบุญต่างๆได้ .. ถ้่าหากมีความรู้ระดับสูงกว่าโต๊ะละไบ คือเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆของอิสลามจนถึงขั้นเปิดปอเนาะสอนเด็กนักเรียน ก็จะเรียกว่าโต๊ะครู ครับ ...








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น