อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ปัญหาการทำเมาลิด



โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด” ตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในที่นี้ หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติโดยปราศจากข้อสงสัย, .. และคำกล่าวของท่านตอนหลังที่ว่า “แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม” แสดงว่า ท่านปฏิเสธและไม่ยอมรับว่า มีบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติอย่างเด็ดขาด ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งดีในมุมมองมนุษย์อย่างไรก็ตาม ...

(4). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับหะดีษของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ข้อนี้ ถือเป็น “ตัวชี้ขาด” ความผิดพลาดทั้งมวลของผู้ที่เข้าใจว่า มีบิดอะฮ์ดีตามบทบัญญัติศาสนา ทั้งนี้เพราะท่านศาสดาได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆวาระว่า ...

كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَ لَةٌ

“ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด”...
และท่านยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่า ...

إِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلأُمُوْرِ، فَإِنَّهَا ضَلاَلةَ ٌ!

“พวกท่านพึงระวังตนเองจาก สิ่งทั้งหลายที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ (ในศาสนา) เพราะว่า มันคือความหลงผิด”...
.....ฯลฯ .....
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม มิได้ถูกส่งมาเพื่อสอน “ภาษา” แก่ผู้ใด, แต่ท่านถูกส่งมา เพื่อสอน “บทบัญญัติศาสนา” ของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. แก่มนุษยชาติทั้งมวล ...

เมื่อท่านกล่าวเตือนอุมมะฮ์ของท่านว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด” ท่านจึงย่อมหมายถึงสิ่งบิดอะฮ์ “ตามบทบัญญัติ”, .. มิใช่บิดอะฮ์ “ตามหลักภาษา” แน่นอน
และก็ไม่เคยมีรายงานหะดีษมาแม้แต่บทเดียวว่า ท่านศาสดาจะเคยกล่าวยกย่องชมเชยสิ่งใดที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนาของท่านว่า เป็นสิ่งที่ดี !...
ดังนั้น ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตาม ก็จะไม่พบคำว่า “มีบิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติ นอกจากทั้งหมด จะเป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” เพียงสถานเดียว ...
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” ที่มีกล่าวกันแพร่หลายมิใช่อื่นใด แต่เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ -- (ตาม “มุมมอง” ของมนุษย์, .. ต่อสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา) -- ว่าเป็น บิดอะฮ์ดี (คือ การริเริ่ม, การประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี) .. แค่นั้นเอง ...

สรุปแล้ว ผู้ใดก็ตาม, -- จะเป็นนักวิชาการระดับไหนก็ตาม -- ที่กล่าวในลักษณะว่า มีบิดอะฮ์ดีหรือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์อยู่ในบทบัญญัติ ก็พึงรู้เถิดว่า เขากำลัง “สับสน"”กับความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติและความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา ...

และผู้ใดก็ตามที่กล่าวว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ดี)ในบทบัญญัติ” หากจะมองเพียงว่า คำพูดของเขาไปค้านกับคำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์, หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ หะญัรฺ ทั้งสองท่าน, หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ที่กล่าวมาข้างต้น .. เพียงแค่นั้น ก็คงไม่สู้กระไรนักหรอก ...

ที่สำคัญ คำพูดของเขาดังกล่าวไป “คัดค้าน” คำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่บอกเขาว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ)คือความหลงผิด”นี่สิ มันเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์สำหรับมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคนเหลือเกิน ...
เอาอย่างนี้กันดีไหม ? ...
ถ้าท่านมองว่า การจัดงานเมาลิดเป็นเรื่องดีตามบทบัญญัติ ก็คงเหมือนกับท่านมองว่า การอะซานในการนมาซวันอีด ก็เป็นเรื่องดีตามบทบัญญัติเหมือนกัน ...

หรือถ้าท่านมองว่า การจัดงานเมาลิดเป็นสิ่งที่มีหลักฐาน เพราะเป็นการกิยาสกับการทำอะกีเกาะฮ์ของท่านนบีย์, ดังมุมมองของท่านอัส-สะยูฏีย์, .. หรือเป็นการกิยาสกับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ (วันที่ 10 เดือนมุหัรฺรอม) ของท่านนบีย์, ดังมุมมองของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไป ก็เหมือนกับท่านมองว่า การอะซานในการนมาซวันอีด ก็เป็นสิ่งที่มีหลักฐาน คือเป็นการ “กิยาส” มาจากการอะซานนมาซฟัรฺฎูห้าเวลา ซึ่งไม่ผิดหลักการกิยาสตรงไหน ... แถมยังมีหลักฐานจากอัล-กุรฺอ่านอีก คือโองการในซูเราะฮ์ฟุศศิลัต โองการที่ 33 อันมีความหมายว่า ... “และผู้ใดเล่าจะเลอเลิศที่สุดในด้านคำพูด ยิ่งไปกว่าผู้ที่เรียกร้องเชิญชวนมาสู่อัลลอฮ์”

หรือท่านผู้ใดที่เคยกล่าวในลักษณะประชดประชันต่อผู้ที่ทักท้วงว่า การจัดงานเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามว่า ... ก็ให้รู้ไปสิว่า การแสดงความรักต่อท่านนบีย์ด้วยการจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่าน จะเป็นความหลงผิด, จะเป็นบาป, และจะต้องตกนรก !...ก็คงเหมือนกับท่านกล่าวแบบประชดประชันต่อผู้ที่ทักท้วงท่านว่า การอะซานเพื่อนมาซอีดเป็นบิดอะฮ์ต้องห้าม ว่า ... ก็ให้มันรู้ไปสิว่า การอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซอีด จะเป็นความหลงผิด, เป็นบาป, และจะต้องตกนรก ! ...
เพราะฉะนั้น ถ้าแน่จริง ก็ให้ท่านลองอะซาน เรียกร้องคนมานมาซวันอีดดูบ้างเป็นไร, ... จะเป็นวันอีดิลฟิฏริ, หรืออีดิลอัฎหาอ์, หรือทั้งสองอีดก็ได้ ... ด้วยเหตุผลความ “เหมือน” ระหว่างการจัดงานเมาลิดกับการอะซานเพื่อนมาซวันอีดดังข้างต้น ...
ท่านจะกล้าไม๊ล่ะ ? ...

ถ้าท่านกล้า เราก็พร้อมแล้วที่จะทำ, และยอมรับ –เหมือนท่าน –ว่า การจัดงานเมาลิด เป็นบิดอะฮ์ดีที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ ...
แต่ถ้าท่านไม่กล้า ท่านก็ต้องหาคำตอบมาให้ได้ว่า การจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ กับการอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด มันแตกต่างกันตรงไหน ? ..

เรามั่นใจว่า ท่านไม่มีคำตอบอื่นใดนอกจากการกล่าวว่า ที่ท่านไม่กล้า ก็เพราะการอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามตามบทบัญญัติ เนื่องจากไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนจากท่านนบีย์และเศาะหาบะฮ์ของท่าน ...
ก็เหตุผลอย่างเดียวกันนี่แหละ –หากท่านกล้าหาญพอที่จะรับความจริง –ที่ท่านจะต้องนำมันไปใช้กับการจัดงานเมาลิดของท่านว่า มันเป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามตามบทบัญญัติ เพราะไม่เคยมีแบบอย่างมาจากท่านนบีย์และเศาะหาบะฮ์ของท่าน ...
ขอถามย้ำอีกครั้งว่า ทั้งสองกรณีนี้มันแตกต่างกันตรงไหน ท่านจึงมาจำแนกว่า การจัดงานเมาลิด เป็นบิดอะฮ์ดี (หะสะนะฮ์) ตามบทบัญญัติ ท่านจึงกล้าทำ ... แต่ขณะเดียวกัน ท่านกลับมองว่า การอะซานในการนมาซวันอีด เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามตามบทบัญญัติ ท่านจึงไม่กล้าทำ ? ...
ผมคิดว่า เรื่องนี้หากท่านไปถามผู้ที่กล้าพูดความจริง เขาก็คงจะตอบท่านแบบชัดถ้อยชัดคำและไม่เกรงใจท่านเลยว่า .. การทำเมาลิดและการอะซานในการนมาซวันอีด ถ้าคุณมองตาม “หลักภาษา” มันก็เป็น เป็นบิดอะฮ์ดี(หะสะนะฮ์) ทั้งคู่นั่นแหละ ..
แต่ขณะเดียวกัน ถ้าคุณมองตาม “บทบัญญัติ” มันก็เป็นก็เป็นบิดอะฮ์ต้องห้าม(เฎาะลาละฮ์) ทั้งคู่เหมือนกันอีกนั่นแหละ (วะ) ...

วัลลอฮุ อะอฺลัม.

(2). การทำเมาลิด มี أَصْلٌ.. คือมีพื้นฐานที่มาตามหลักการศาสนา
ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้กล่าวในหนังสือข้างต้น ซึ่งรวมชุดอยู่ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” เล่มที่ 1 หน้า 296 ว่า ...

إِنَّ الطَّلَبَ فِى الْمَنْدُوْبِ تَارَةً يَكُوْنُ بِالنَّصِّ وَتَارَةً يَكُوْنُ بِالْقِيَاسِ، وَهَذَا إِنْ لَمْ يَرِدْ فِيْهِ نَصٌّ فَفِيْهِ الْقِيَاسُ عَلَىاْلأَصْلَيْنِ اْلآتِىْ ذِكْرُهُمَا ...

“แท้จริง หลักการของสิ่ง مَنْدُوْبٌ หรือ “สิ่งที่ถูกส่งเสริมให้ทำ” นั้น บางครั้งจะเป็นการส่งเสริมให้ทำด้วยหลักฐานที่ชัดเจน, และบางครั้งก็จะด้วยการอนุมานเปรียบเทียบ (กิยาสกับหลักฐานอื่น) .. ซึ่งในกรณีนี้ (คือ การส่งเสริมให้จัดงานเมาลิด) แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ก็เป็นการ “กิยาส” กับพื้นฐาน 2 ประการที่จะกล่าวถึงต่อไป ....”

ข้อโต้แย้ง
คำกล่าวของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่ว่า .. “การส่งเสริมให้มีการจัดงานเมาลิด เป็นการ กิยาส กับพื้นฐาน 2 ประการที่จะถึงต่อไป”.. นั้น ...
คำกล่าวนี้ ขัดแย้งกันเองกับคำพูดของท่านที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การทำเมาลิด เป็นบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์ !...
เพราะหลักฐานของศาสนาตามมัษฮับชาฟิอีย์ มีที่มาจาก 4 ประการ คือ กุรฺอ่าน ซุนนะฮ์, อิจญมาอฺ และกิยาส ...
หลักปฏิบัติใดๆก็ตามที่ได้มาจากหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดจาก 4 ประการข้างต้น จะไม่เรียกหลักปฏิบัตินั้นว่า “เป็นบิดอะฮ์”.. แต่จะถือว่า หลักปฏิบัติดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติ ...
ตัวอย่างเช่น การวาญิบจ่ายซะกาตข้าวเปลือก เป็นการกิยาสมาจากข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เล่ย์ จึงถือว่า เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติ ...
มีนักวิชาการท่านใดบ้างไหมที่กล่าวว่า การวาญิบจ่ายซะกาตข้าวเปลือก เป็นบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์ ? ...
การวาญิบกอฎออ์หรือชดใช้นมาซที่ขาดโดยเจตนา เป็นการกิยาสมาจากผู้ที่ขาดนมาซจากการลืมหรือนอนหลับ ตามหลัก قِيَاسٌ أَوْلَوِىٌّ (จะมีคำอธิบายในตอนต่อไป) .. จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติ (สำหรับนักวิชาการที่กล่าวอย่างนี้) ...
มีนักวิชาการที่ยอมรับหลักการนี้ท่านใดบ้างที่กล่าวว่า การกอฎออ์นมาซของผู้ที่ขาดนมาซโดยเจตนา เป็นบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์ ? ...

เพราะฉะนั้น หากว่าการจัดงานเมาลิด มีที่มาเพราะเป็นการ “กิยาส” กับพื้นฐาน 2 ประการที่จะกล่าวถึงต่อไปดังคำกล่าวของท่าน การจัดงานเมาลิดก็ไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์, .. แต่เป็นสิ่งที่มีหลักฐาน คือการกิยาส จึงถือเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติ ...
และทั้ง 2 ประการนี้ –เป็นบิดอะฮ์และเป็นบทบัญญัติ –ตามหลักการถือว่า เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงชนิดยืนกันคนละซีกโลกเลยทีเดียว ...

นี่คือ “ความสับสน” ของนักวิชาการเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “บิดอะฮ์หะสะนะฮ์” ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วในหน้า 22 ที่ผ่านมา ..
สำหรับ “พื้นฐาน” ของงานเมาลิด 2 ประการที่ท่านอัส-สะยูฏีย์กล่าวถึงนั้นเพื่อความเหมาะสมในการวิภาษ ผมจึงขอสลับตำแหน่งจากขั้นตอนที่ระบุไว้ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” ดังต่อไปนี้ ...

ประการแรก อยู่ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ฯ” เล่มที่ 1 หน้า 303 .. เป็นการวิเคราะห์ของท่านอัส-สะยูฏีย์เอง จากหะดีษบทหนึ่งที่รายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ.ว่า إِنَّ النَّبِىَّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَقَّ عَنْ نَفْسِهِ بَعْدَ النُّبُوَّةِ : “ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองหลังจากเป็นนบีย์แล้ว”.. โดยอ้างการบันทึกจากท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ” (เล่มที่ 9 หน้า 300 -- ด้วยสายรายงานที่เฎาะอีฟ จนท่านอัล-บัยฮะกีย์เองได้กล่าววิจารณ์ว่า หะดีษนี้ เป็นหะดีษมุงกัรฺ .. แต่หะดีษนี้มีรายงานจากกระแสอื่นที่เศาะเหี๊ยะฮ์ --- ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถดูบทวิเคราะห์หะดีษบทนี้ได้จากหนังสือ “ท่านถาม-เราตอบ” ของผมในเรื่อง “การทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองเมื่อโต”) ...
ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้วิเคราะห์จากหะดีษบทนี้ว่า ท่านอับดุลมุฏฏอลิบผู้เป็นปู่ ได้เคยทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ท่านนบีย์แล้วครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่ท่านเพิ่งคลอด และพื้นฐานของอะกีเกาะฮ์ จะไม่มีการทำซ้ำถึง 2 ครั้ง ...

การที่ท่านนบีย์มาทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองอีกครั้งหลังจากการเป็นนบีย์แล้ว แสดงว่า ท่านให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่าน และขอบคุณต่อพระองค์อัลลอฮ์ที่ให้ท่านได้เกิดมาเพื่อความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งมวล ซึ่งการให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านนั้น สามารถทำ “ซ้ำ”ได้หลายครั้ง ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว, .. และจะด้วยรูปแบบใดๆก็ได้ที่เป็นเรื่องดี เช่น เลี้ยงอาหาร, อ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นต้น ...

ข้อโต้แย้ง
การที่ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้นำเอาการจัดงานเมาลิดซึ่งเป็นงานฉลอง “วันเกิด”ท่านนบีย์ ไป “กิยาส” กับการทำอะกีเกาะฮ์ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมนั้น มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาหลายประเด็นคือ ...

1. การทำอะกีเกาะฮ์ มิใช่เป็นการให้ความสำคัญกับ “วันเกิด” ของผู้ใดเป็นการเฉพาะ, แต่เป็นการให้ความสำคัญกับ “การเกิด”มาเป็นมนุษย์, ไม่ว่าจะเป็นท่านนบีย์หรือสามัญชนธรรมดาก็ทำอะกีเกาะฮ์กันได้ทุกคน ...
ความจริงข้อนี้ เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า การทำอะกีเกาะฮ์ มิใช่เป็นซุนนะฮ์ให้ทำ “ในวันเกิด”.. แต่ซุนนะฮ์ให้ทำ “หลังจากเกิด” ไปแล้ว 7 วันนับจากวันเกิด !...
เพราะฉะนั้น การนำเอาเรื่องงานเมาลิดซึ่งถูกจัดขึ้นเพื่อฉลอง “วันเกิด” ของท่านนบีย์ ไปกิยาสหรือผูกพันกับการทำอะกีเกาะฮ์ของท่าน จึงเป็นคนละเรื่องกัน ...

2. เรื่องที่ท่านอับดุลมุฏฏอลิบ ได้ทำอะกีเกาะฮ์ให้ท่านนบีย์นั้น เป็นเพียง “เรื่องเล่า” ที่ไม่มีหลักฐานจากหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทใดกล่าวยืนยันไว้เลย, และหะดีษ-- จากการบันทึกของท่านอัล-บัยฮะกีย์ -- ที่ท่านอัส-สะยูฏีย์นำมาอ้างเรื่องท่านนบีย์ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเอง ก็เป็นกระแสรายงานที่เฎาะอีฟมาก (แม้ว่าจะเป็นหะดีษที่ถูกต้องจากการรายงานกระแสอื่นก็ตาม) .. เพราะฉะนั้น หะดีษเรื่องการทำอะกีเกาะฮ์ของท่านนบีย์, ไม่ว่าจากเรื่องเล่าที่ว่าท่านอับดุลมุฏฏอลิบทำให้ท่าน, หรือท่านนบีย์ทำให้แก่ตัวเอง --- จากการอ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ข้างต้น --- จึงถือเป็นเรื่องที่อ่อนหลักฐาน ซึ่งจะนำมาทำเป็น “ตัวหลัก” หรือ مَقِيْسٌ عَلَيْهِ เพื่อการ “กิยาส” กับวันเกิดของท่านนบีย์และเป็นข้ออ้างในการจัดงานเมาลิดไม่ได้ ...

3. ในแง่ของการ “ตั้งสมมุติฐาน” ว่า ท่านอับดุลมุฏฏอลิบ เคยทำอะกีเกาะฮ์ให้ท่านนบีย์จริง แต่ตามรูปการก็เป็นการทำอะกีเกาะฮ์ในรูปแบบ “ญาฮิลียะฮ์” ยุคก่อนมิใช่ทำในรูปแบบอิสลาม, ตามหลักการจึงถือว่า ท่านนบีย์ยังไม่มีผู้ทำอะกีเกาะฮ์ให้ !.. และนักวิชาการจำนวนมากก็ได้นำเอาหะดีษบทนี้มาเป็นหลักฐานเรื่อง การทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองของผู้ซึ่งไม่เคยมีใครทำอะกีเกาะฮ์ให้ ...
การที่ท่านนบีย์มาทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ตัวเองภายหลัง (โปรดสังเกตด้วยว่า ท่านทำ หลังจากถูกแต่งตั้งเป็นนบีย์แล้ว) จึงมิใช่เป็นการทำอะกีเกาะฮ์ “ซ้ำ” ดังการอ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ แต่เป็นการทำอะกีเกาะฮ์เพียงครั้งเดียวตามรูปแบบอิสลามของท่าน .. และก็ไม่เคยปรากฏหลักฐานว่า ท่านนบีย์จะทำอะกีเกาะฮ์ “ซ้ำ” อีกทุกปีหลังจากครั้งนั้น ...
ดังนั้น การนำเอาหะดีษบทนี้มาเป็นหลักฐานเพื่อกิยาสว่า อนุญาตให้จัดงานเมาลิดเพื่อให้เกียรติกับวันเกิดของท่านนบีย์ “ซ้ำ”ได้ทุกปี จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ...

4. การส่งเสริมให้จัดงานเมาลิดตามทัศนะของท่านอัส-สะยูฏีย์ มีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่ทำอะไรให้ “เกินเลย” จากการมาชุมนุมกันเพื่ออ่านอัล-กุรฺอ่าน, บรรยายชีวประวัติของท่านนบีย์, เลี้ยงอาหารกัน .. แล้วแยกย้ายกันกลับ .. ดังคำกล่าวของท่านในหนังสือ “อัล-หาวีย์ฯ” เล่มที่ 1 หน้า 292 (โปรดดูคำแปลในหน้าที่ 13 ของหนังสือเล่มนี้ ....

แต่ถ้าเราสังเกตดูรูปแบบและองค์ประกอบอื่นๆในการจัดงานเมาลิด –เอาเฉพาะในประเทศไทย –เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดที่บ้านหรือจัดในระดับจังหวัด, ระดับประเทศ .. ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “เกินเลย” อันเป็นเรื่องต้องห้ามปรากฏ “แทรก” เป็นยาดำอยู่ด้วยเสมอ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ...

ก. ผู้มาร่วม “เที่ยว” งานเมาลิด, .. โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิง ไม่เว้นแม้แต่มุสลิมะฮ์บางคน .. จะต้องมีผู้ที่แต่งกายไม่เรียบร้อยและไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนา เช่นไม่คลุมหิญาบ, หรือคลุมหิญาบแต่สวมเสื้อและกางเกงยีนส์รัดรูป, หรือผู้ที่มิใช่มุสลิมบางคน ใส่เสื้อเอวลอยหรือเสื้อสายเดี่ยว เป็นต้น มาเดินปะปนร่วมกันกับผู้ชายอย่างอิสระเสรีในงานดังกล่าวด้วย ใช่หรือไม่ ? ...
ข. ทั้งกอรีย์และกอริอะฮ์ที่ถูกเชิญมาประชันเสียงกันเหมือนนกเขาชวาในงานเมาลิด .. รวมทั้งผู้ที่ร่วมอ่านบัรฺซันญีย์ในพิธีกรรมเมาลิด แต่ละคนจะต้องตั้งอกตั้งใจ “เน้น” ลีลาและน้ำเสียงในการอ่านให้ไพเราะเป็นพิเศษ .. มิใช่เพื่ออัลลอฮ์, แต่เพื่อจะให้ประทับใจทั้งผู้ฟังและกรรมการตัดสินรางวัลในการประกวด ...
พฤติกรรมดังกล่าวนี้ ตามหลักการศาสนาถือว่า เป็นเรื่องของผู้ที่ “ตะกั๊บบุรฺและซุมอะฮ์” คือ “โอ้อวดและอยากดัง” อันเป็นเรื่องต้องห้าม ใช่หรือไม่ ? ...
ค. การแก่งแย่งกันเป็น “ประธาน” จัดงานเมาลิด เป็น “ส่วนหนึ่ง”ของความแตกแยกและการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในองค์กรกลางของอิสลามในยุคปัจจุบัน ใช่หรือไม่ ? ..
ง. “ผลประโยชน์” มหาศาลจากการจัดงานเมาลิด ก็เป็นอีก “ส่วนหนึ่ง” ของความแตกแยกและความไม่ไว้วางใจกันในองค์กรกลางดังกล่าว ทำให้มีการ “แฉ”หรือสาวไส้กันเอง, มีการการใส่ร้ายป้ายสีกัน ฯลฯ .. จนนำมาสู่ความอับอายขายหน้าให้แก่มุสลิมทั้งประเทศอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ใช่หรือไม่ ? ...
ถ้าไม่ปฏิเสธว่ามีข้อใดข้อหนึ่งปรากฏอยู่จริง ก็แสดงว่าการจัดงานเมาลิดเป็นเรื่องไม่ชอบธรรมและเป็นเรื่องต้องห้าม .. ไม่ใช่เฉพาะตามทัศนะของท่านอัส-สะยูฏีย์ท่านเดียว แต่เป็นทัศนะของนักวิชาการที่สนับสนุนให้มีการจัดงานเมาลิดเอง, เกือบ ทุกท่านก็ว่าได้ ..
ทั้งนี้เพราะการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์นั้น เกิดจากมุมมองที่ว่า การเลี้ยงอาหารกันก็ดี, การอ่านอัล-กุรฺอ่านในพิธีดังกล่าว เป็นต้น เป็นสิ่งที่ดี ..

แต่ขณะเดียวกัน พฤติการณ์แห่งความเสื่อมเสียอย่างใดอย่างหนึ่งจากที่กล่าวมาแล้วหรือยังมิได้กล่าว .. ที่ปรากฏแทรกอยู่ในงานเมาลิดแทบทุกงาน ก็ถือเป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักศาสนาเช่นกัน ...

สิ่งที่บรรดานักวิชาการนำมาอ้างเป็นหลักฐาน –แม้จะเป็นผู้ที่ส่งเสริมงานเมาลิดก็ตาม -- ในการห้ามการจัดงานเมาลิดที่มีผสมผสานกันในงานทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดีดังกล่าวก็คือ กฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุล ฟิกฮ์ที่ว่า ...
دَرْءُ الْمَفَاسِدِ مُقَدَّمٌ عَلَى جَلْبِ الْمَصَالِحِ

“การสกัดกั้นความไม่ถูกต้องและระงับความเสื่อมเสีย จะต้องมาก่อน การชักนำให้ทำความดี”...
ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ นักวิชาการฟิกฮ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด และเป็นเจ้าของหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุ๊ห์ตาจญ์” อันลือลั่น ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่านว่า ...

اَلْمَوَالِدُ وَاْلأَذْكَارُ مَتَى تُفْعَلُ عِنْدَنَا أَكْثَرُهَا مُشْتَمِلٌ عَلَى خَيْرٍ كَصَدَقَةٍ وَذِكْرٍ وَصَلاَةٍ وَسَلاَمِ عَلَى رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَدْحِهِ، وَعَلَى شّرٍَ، بَلْ شُرُوْرٍ وَلَوْلَمْ يَكُنْ فِيْهَا إِلاَّ رُؤْيَةُ النِّسَاءِ لِلرِّجَالِ اْلأَجَانِبِ لَكَفَى ....

“การจัดงานฉลองวันเกิดและงานที่ระลึกต่างๆ เท่าที่จัดกันส่วนใหญ่ มักจะประกอบขึ้นจากสิ่งที่ดีๆ อาทิเช่น การเศาะดะเกาะฮ์, การซิกรุ้ลลอฮ์, การเศาะละวาต การให้สล่ามและการสรรเสริญท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, แต่ขณะเดียวกัน งานดังกล่าวยังประกอบขึ้นจากสิ่งต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างอยู่เสมอเช่นกัน, มาตรว่า จะไม่มีสิ่งต้องห้ามอื่นใดในงานดังกล่าวนั้นนอกจากการเปิดโอกาสให้สตรีได้มองดูผู้ชายอื่น (ที่มิใช่มะห์รอมของตน) ก็ถือว่าเป็นเหตุผลเพียงพอแล้ว (ที่จะ “ห้าม” จากการจัดงานนั้นๆ)”...
(จากหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎ็อรฺ อัล-อิบติดาอฺ” ของท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ หน้า 264) ...

นี่คือ คำพูดของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์นะครับ มิใช่คำพูดของผม, เพราะฉะนั้น ก็น่าจะเอาไปลองคิดดูเป็นการบ้านบ้างก็ได้สำหรับผู้ที่ยัง “ยืนกราน” ในการยึดถือ “ทัศนะ” นักวิชาการมาเป็นข้ออ้างในการจัดงานเมาลิด โดยที่ตนเองอาจจะยังไม่เคยทราบเงื่อนไขการอนุญาตของนักวิชาการในกรณีนี้มาก่อนก็ได้ ...

แต่ถ้ายังดันทุรังจัดงานเมาลิดต่อไป ตานี้ท่านจะอ้างว่า “ทำตามใคร” กันอีก ผมก็อยากจะรู้เหมือนกัน ? ...
ส่วน “พื้นฐาน” ประการที่สอง มีระบุอยู่ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” เล่มที่ 1 หน้า 302 อันถูกอ้างว่าเป็นการวิเคราะห์ของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะนีย์ .. มาจากเหตุการณ์ตอนที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเดินทางไปถึงนครมะดีนะฮ์ใหม่ๆ และได้เห็นพวกยะฮูดีย์ (ยิว) ในนครมะดีนะฮ์ถือศีลอดกันในวันอาชูรออ์ (วันที่ 10 เดือนมุหัรฺร็อม) ท่านจึงถามพวกนั้นถึงเหตุผลของการถือศีลอด พวกเขาตอบว่า วันอาชูรออ์ คือวันที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบันดาลให้ฟิรฺอูนจมน้ำตาย และทรงช่วยให้ท่านนบีย์มูซาพ้นภัย พวกเขาจึงถือศีลอดเพื่อขอบพระคุณอัลลอฮ์ ซ.บ. .. ท่านนบีย์ จึงได้กล่าวกับพวกยิวเหล่านั้นว่า نَحْنُ أَوْلَى بِمُوْسَى مِنْكُمْ.. คือ พวกเรา สมควรที่จะยกย่องนบีย์มูซา ยิ่งกว่าพวกท่านเสียอีก .. ซึ่งหะดีษบทนี้ บันทึกโดยท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม ....

ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ได้วิเคราะห์ว่า จากเหตุการณ์ตอนนี้แสดงว่า ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ส่งเสริมให้มีการขอบคุณพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ประทานความโปรดปรานให้พวกเราในวันใดๆเป็นการเฉพาะได้ .. และเราสามารถจะแสดงความขอบคุณพระองค์ใน “วันสำคัญ” ดังกล่าวนั้น ซ้ำได้ในทุกๆทุกปี, ซึ่งการขอบคุณดังกล่าว สามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ เช่นการสุญูด, การถือศีลอด, การบริจาคทาน, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นต้น ...
และหนึ่งจาก “วันสำคัญ” ที่สุดสำหรับมุสลิมเรา ก็คือ “วันเกิด” ของท่านศาสดา มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...

ข้อชี้แจง
บทวิเคราะห์ข้างต้นของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ผมถือว่า เป็นมุมมองที่น่าคิดและสอดคล้องกับหลักวิชาการมากที่สุด ยิ่งกว่าคำกล่าวที่ว่า การทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ดี (หะสะนะฮ์) ซึ่งไปขัดแย้งกับคำกล่าวของท่านศาสดาที่บอกว่า ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด, .. และสอดคล้องกับหลักวิชาการยิ่งกว่าการนำพิธีกรรมเมาลิด ไปกิยาสกับการทำอะกีเกาะฮ์ ของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่เพิ่งจะผ่านมาเสียอีก ...

แต่จะอย่างไรก็ตาม ทั้งหลายแหล่ของการวิเคราะห์เหล่านั้น เป็นเพียงมุมมองจาก “ด้านเดียว” คือมองจากพวกเราที่เป็น “อุมมะฮ์” ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ที่ต้องการจะให้เกียรติท่าน และมองว่า การจัดพิธีกรรมเมาลิดเพื่อให้เกียรติวันเกิดของท่านศาสดา เป็นสิ่งที่ดี ...

มุมมองนี้ ก็คงจะคล้ายๆกับความรู้สึกของบรรดาเศาะหาบะฮ์ที่มองว่า การยืนเพื่อให้เกียรติท่านศาสดาเมื่อเห็นท่าน


1 ความคิดเห็น: