อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง
3. การที่ญาติผู้ตาย จัดเลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย
การกระทำดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกกันทั่วๆไปตามความเข้าใจของชาวบ้านว่า “การทำบุญให้แก่ผู้ตาย” ... ซึ่งเป็นการเรียกตามความเข้าใจของพี่น้องร่วมชาติที่เป็นชาวไทยพุทธ เพราะเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องดีที่ได้รับผลบุญและสามารถอุทิศให้แก่ผู้ตายได้ .....
แต่ตามหลักการของอิสลาม, --- ดังการเห็นพ้องกันของ นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับ --- การกระทำดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญแล้ว ผู้กระทำและผู้ที่ร่วมสนับสนุนยังอาจจะได้รับบาป ฐานอุตริพิธีกรรมที่ไม่เคยมีแบบอย่างจากท่านศาสดาและบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆ .......
คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า ในขณะที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยังมีชีวิตอยู่นั้น เศาะหาบะฮ์ของท่านจำนวนมากได้เสียชีวิต, ไม่ว่าเป็นการเสียชีวิตตามธรรมดาหรือจากการสู้รบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่า ท่านจะเคยสั่งให้ญาติผู้ตาย จัดเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายคนใด ... ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม .. คือ เป็นการแสดงความรักและความเอื้ออาทรด้วยการส่งมอบผลบุญให้ผู้ตาย ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆจากการปฏิบัติสิ่งนี้ด้วย ......
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า การที่ลูกเมียหรือญาติผู้ตายเป็นเจ้าภาพจัดทำอาหาร แล้วเชิญแขกมารับประทาน เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น เป็น بِدْعَـةٌ مُنْكَرَةٌ หรือ การอุตริที่ต้องห้าม .......
( โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” อันเป็นตำราฟิกฮ์ที่นิยมอ่านและสอนกันมากในมัษฮับชาฟิอีย์, เล่มที่ 2 หน้า 145-146 ) .....
ในที่นี้ ผมขอเสนอตัวอย่างจากคำพูดของนักวิชาการผู้ได้รับความเชื่อถืออย่างสูงยิ่ง 2 ท่านแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ... คือท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 676) และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ......
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มัจญมั๊วะอฺ” เล่มที่ 5 หน้า 320 ว่า .....
قَالَ صَاحِبُ الشَّامِلِ وَغَيْرُهُ : وَأَمَّا إصْلاَحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ شَـْئٌ وَهُوَ بِدْعَـةٌ غَيْرُمُسْتَحَـبَّةٍ .....
“ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” และนักวิชาการท่านอื่นๆกล่าวว่า : อนึ่ง การที่ครอบครัวของผู้ตายได้จัดเตรียมอาหารอย่างดี และเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมรับประทานนั้น พฤติกรรมนี้ ไม่เคยปรากฏมีรายงานหลักฐานมาแต่ประการใด ดังนั้น มันจึงเป็น อุตริกรรมที่ไม่ชอบตามหลักการศาสนา” .......
หมายเหตุ : ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” มีชื่อว่า อบูนัศรฺ มะห์มูด บิน อัล-ฟัฎล์ อัล- อิศบะฮานีย์, มีชื่อรองว่า “อิบนุ ศ็อบบาค” เป็นชาวเมืองอิศฟาฮาน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 512 ......
การที่ท่านอิหมามนะวะวีย์ ได้คัดลอกข้อความนี้มาโดยไม่มีการท้วงติง ตามหลักการถือว่า เป็นการยอมรับทัศนะที่ท่านได้คัดลอกมานี้ .....
และคำกล่าวที่ว่า “เป็นอุตริกรรมที่ไม่ชอบฯ” แสดงว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องน่ารังเกียจ, ที่นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญ ดังความเข้าใจของผู้ปฏิบัติแล้ว ยังอาจจะได้รับบาปอีกด้วย ......
ท่านซัยยิด บักรีย์ เจ้าของหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” ได้นำคำตอบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ของท่านอะห์มัด บิน ซัยนีย์ ดะห์ลาน มุฟตีย์คนหนึ่งแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ซึ่งในคำตอบดังกล่าว มีการนำเสนอข้อมูลจากคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ จากหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” ประกอบดังต่อไปนี้ ......
نَعَمْ، مَايَفْعَلُهُ النَّاسُ مِنَ اْلإجْتِمَاعِ عِنْدَأَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعِ الطَّعَامِ مِنَ الْبِدَعِ الْمُنْكَرَةِ الَّتِيْ يُثَابُ عَلَى مَنْعِهَا وَالِىاْلأَمْرِ .......قَالَ الْعَلاَّمَةُ أَحْمَدُ بْنُ حَجَرٍ فِيْ تُحْفَةِ الْمُحْتَاجِ لِشَرْحِ الْمِنْهَاجِ : وَيُسَنُّ لِجِيْرَانِ أَهْلِهِ أَيِ الْمَيِّتِ تَهِيْئَةُ طَعَامٍ يَشْبَعُهُمْ يَوْمَهُمْ وَلَيْلَهُمْ، لِلْخَبَرِالصَّحِيْحِ : إصْنَعُوْاِلآلِ جَعْفَرٍطَعَامًا فَقَدْ جَاءَهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ، وَيُلَحُّ عَلَيْهِمْ فِى اْلاَكْلِ نَدْبًا ....... وَمَا اعْتِيْدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُواالنَّاسَ إلَيْهِ بِدْعَـةٌ مَكْرُوْهَـةٌ كَإجَابَتِهِمْ لِذَلِكَ ....
“ ใช่แล้ว, .. สิ่งซึ่งประชาชนกำลังกระทำกันอยู่ อันหมายถึงการไปชุนนุมกัน ณ ที่ครอบครัวผู้ตาย, และมีการประกอบอาหาร(เลี้ยงกัน) ถือว่า เป็นหนึ่งจากอุตริกรรมต้องห้าม, ซึ่งผู้นำที่คัดค้านสิ่งนี้จะได้รับผลบุญตอบแทน, ......... ท่านอัลลามะฮ์ อิบนุหะญัรฺ ได้กล่าวในหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” อันเป็นตำราอธิบายหนังสือ “อัล-มินฮาจญ์” ว่า : และสุนัต (เป็นเรื่องดี) ให้บ้านใกล้เรือนเคียงผู้ตาย นำอาหารที่เพียงพอต่อพวกเขา (ลูกเมียผู้ตาย) รับประทานในวันและคืนนั้น เพราะมีหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์รายงานมาว่า (ท่านศาสดากล่าวว่า) : “พวกท่านจงทำอาหารไปให้ครอบครัวของญะอฺฟัรฺเถิด เพราะพวกเขากำลังประสบความเศร้าโศกอยู่” ... และสมควรจะคะยั้นคะยอพวก เขาให้รับประทานอาหารด้วย ........... และสิ่งซึ่งถูกปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว .. อันได้แก่การที่ครอบครัวผู้ตายได้ปรุงอาหารขึ้นมา เพื่อจะเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมรับประทานนั้น ถือเป็นอุตริกรรมที่น่ารังเกียจ เช่นเดียวกับการตอบรับคำเชิญชวนไปร่วมในงานเลี้ยงนี้ (ก็เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน) .....
( จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 145-146 ) ...
ผมจึงยังมองไม่เห็นและไม่เข้าใจจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ว่า ผลบุญที่เราเข้าใจว่าจะได้รับจากการจัดเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศไปให้ผู้ตายดังกล่าวนั้น เราจะเอามาจากใคร ? และจากที่ไหน ? .....
ท่านอัล-กุรฺฏูบีย์ แห่งมัษฮับ หะนะฟีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัต-ตัซกิเราะฮ์” หน้าที่ 102 ว่า .....
وَمِنْهُ الطَّعَامُ الَّذِىْ يَصْنَعُهُ أَهْلُ الْمَيِّتِ الْيَوْمَ فِيْ يَوْمِ السَّابِعِ، فَيَجْتَمِعُ لَـهُ النَّاسُ يُرِيْدُوْنَ بِذَلِكَ الْقُرْبَةَ لِلْمَيِّتِ وَالتَّرَحُّمَ لَـهُ، وَهَذَا مُحْدَثٌ لَمْ يَكُنْ فِيْمَا تَقَدَّمَ، وَلاَ هُوَمِمّا يَحْمَدُه الْعُلَمَاءُ قَالُوْا وَلَيْسَ يَنْبَغِىْ لِلْمُسْلِمِيْنَ أَنْ يَقْتَدُوْا بِأَهْلِ الْكُفْرِ، وَيَنْهَى كُلُّ إنْسَانٍ أَهْلَـهُ عَنِ الْحُضُوْرِ لِمِثْلِ هَذَا وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ : هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ ! قِيْلَ لَـهُ : أَلَيْسَ قَدْ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " إصْنَعُوْا ِلآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا ؟" فَقَالَ : لَمْ يَكُوْنُوْا هُمُ اتَّخَذُوْا ! إنَّمَا اتُّخِذَ لَهُمْ، فَهَذَا كُلُّهُ وَاجِبٌ عَلَى الرَّجُلِ أنْ يَمْنَعَ أَهْلَهُ مِنْهُ، وَلاَ يُرَخِّصَ لَهُمْ، فَمَنْ أَبَاحَ ذَلِكَ ِلاَهْلِهِ فَقَدْ عَصَى اللَّـهَ عَزَّوَجَلَّ، وَأَعَانَـهُمْ عَلَى اْلإثْمِ وَالْعُدْوَانِ ........
“และส่วนหนึ่งจากพฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์ก็คือ เรื่องอาหารซึ่งครอบครัวผู้ตายในปัจจุบัน ได้ปรุงขึ้นมาในวันที่ 7 (แห่งการตาย, .. ความจริง ไม่ว่าจะปรุงขึ้นมาในวันตาย, วันที่ 3, วันที่ 7, วันที่ 10, หรือ 40 วัน, หรือ 100 วัน ฯลฯ ก็เป็นอีหรอบเดียวกัน ) .. แล้วประชาชนก็จะมาร่วมทานอาหารนั้น, จุดประสงค์ของพวกเขาก็คือ ต้องการอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและแสดงความเมตตาต่อผู้ตาย, นี่คือ อุตริกรรมซึ่งไม่เคยปรากฏในยุคก่อนๆ, และก็มิใช่ว่า จะเป็นสิ่งที่นักวิชาการยกย่องสรรเสริญอะไรเลย, (ตรงข้าม) พวกเขา (นักวิชาการ) กล่าวว่า ไม่สมควรที่มุสลิมเราจะไปเลียนแบบพวกกาฟิรฺ, และสมควรที่มนุษย์ทุกคนจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการไปร่วมในงานประเภทนี้ .......
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล กล่าวว่า : นี่คือ พฤติการณ์ของญาฮิลียะฮ์ ! มีผู้ท้วงติงท่านว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวไว้มิใช่หรือว่า ให้พวกท่านทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะอฺฟัรฺ ? .. ท่านอิหม่ามอะห์มัดตอบว่า ..“(คำสั่งนั้น) มิใช่ให้พวกเขา (ครอบครัวผู้ตาย) เป็นผู้ทำ (อาหารให้พวกเรากิน), แต่ให้(พวกเรา) ทำไปให้พวกเขาต่างหาก” ... ทั้งหมดนี้ คือสิ่งวาญิบสำหรับผู้ชายที่จะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการปฏิบัติมัน, หากผู้ใดผ่อนผันเรื่องนี้แก่ลูกเมียของเขา เขาก็เป็นผู้ทรยศต่ออัลลอฮผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่, และยังเป็นการช่วยเหลือลูกเมียในเรื่องความบาป และการเป็นศัตรูกัน ..........”
ท่านเช็คอะห์มัด ซัยนีย์ ดะห์ลาน มุฟตีย์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ยังได้กล่าวในการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกตอนหนึ่งว่า ....
وَلاَ شَكَّ أَنَّ مَنْعَ النَّاسِ مِنْ هَذِهِ الْبِدْعَـةِ الْمُنْكَرَةِ فِيْهِ إحْيَاءٌ لِلسُّنَّةِ وَإمَاتَـةٌ لِلْبِدْعَـةِ، وَفَتْحٌ لِكَثِيْرٍمِنْ أَبْوَابِ الْخَيْرِ وَغَلْقٌ لِكَثِيْرٍمِنْ أَبْوَابِ الشَّرِّ، فَإنَّ النَّاسَ يَتَكَلَّفُوْنَ تَكَلُّفًاكَثِيْرًا يُؤَدِّىْ إلَى أَنْ يَكُوْنَ ذَلِكَ الصُّنْعُ مُحَرَّمًا وَاللَّـهُ سُبْحَانَـهُ وَتَعَالَى أَعْلَمُ .......
“และไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า การห้ามปรามประชาชนจาก(การกระทำ)สิ่งบิดอะฮ์ต้องห้ามข้อนี้ เป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ และเป็นการทำลายบิดอะฮ์, .. และยังเป็นการเปิดประตูแห่งความดีมากมาย และเป็นการปิดประตูแห่งความชั่วมากมาย, เพราะว่าประชาชน ต่างก็ทุ่มเทกัน(ในเรื่องนี้)อย่างหนัก จนอาจทำให้การปฏิบัติดังกล่าว เป็นเรื่องต้องห้ามได้ วัลลอฮุ ซุบหานะฮู วะตะอาลา อะอฺลัม......”
(จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 135) ......
แล้วท่านซัยยิด บักรีย์ ก็ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหนังสือเล่มและหน้าดังกล่าวว่า ....
وَقَدْ أَجَابَ بِنَظِيْرِهَذَيْنِ الْجَوَابَيْنِ مُفْتِى السَّادَاتِ الْمَالِكِيَّةِ وَمُفْتِى السَّادَاتِ الْحَنَابِلَةِ
“และประธานฝ่ายตอบปัญหาของมัษฮับมาลิกีย์ และประธานฝ่ายตอบปัญหาของมัษฮับหัมบาลีย์ ก็ได้ให้คำตอบ (ในเรื่องเดียวกันนี้) คล้ายคลึงกับ 2 คำตอบข้างต้นของมัษฮับชาฟิอีย์และมัษฮับหะนะฟีย์ (ที่ผ่านมาแล้ว).....”
ที่กล่าวมานี้ทั้งหมด เป็นเพียง “บางตัวอย่าง” จากข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับปัญหาการที่ครอบครัวผู้ตาย เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารประชาชน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย (ตามความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ) ..ซึ่งผู้ที่นิยมปฏิบัติสิ่งนี้อยู่ ควรจะรับฟังและสังวรณ์กันไว้ให้มาก .......
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ นอกจากการเห็นพ้องต้องกันของนักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับว่า การที่ครอบครัวผู้ตายจัดเลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย เป็นบิดอะฮ์ที่ต้องห้ามและน่ารังเกียจแล้ว นักวิชาการเหล่านั้น ต่างก็กล่าวสอดคล้องกันว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ไม่เคยปรากฏรายงานหลักฐานจากหะดีษ, และไม่ใช่เป็นการกระทำของบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆ ......
คำพูดดังกล่าวนี้ แสดงถึงการ “ปฏิเสธความถูกต้อง” ของรายงาน 2 บท ที่ท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัล-กุรฺอานให้กับผู้ตาย” ได้นำมาอ้างอิงไว้ในหน้าที่ 36 ของหนังสือเล่มนั้น, ซึ่งบทแรก มีข้อความดังนี้ .....
أَخْرَجَ أَحْمَدُ بْنُ مَنِيْعٍ فِىْ مُسْنَدِهِ عَنِ اْلأََحْنَفِ بْنِ قَيْسٍ قَالَ حِيْنَ طُعِنَ عُمَرُ أَمَرَ صُهَيْبًا أَنْ يُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثَلاَثًا، وَأَمَرَ بِأَنْ يُجْعَلَ لِلنَّاسِ طَعَامًا .......
“นำมาบันทึกโดย อะหมัดอิบนุมะเนียะ ในหนังสือบันทึกของท่าน รายงานจากอะหนัฟอิบนุก็อยส ท่านอะหนัฟพูดว่า : เมื่อท่านอุมัรฺ (อิบนุคอตตอบ คอลีฟฮ์คนที่ 2) ถูกแทง (ก่อนตาย) ท่านอุมัร ได้สั่งให้ท่านสุฮัยบ ให้นำละหมาด (ยะนาซะฮ์) กับคนทั้งหลาย และได้สั่งให้ท่านสุฮัยบทำอาหารเลี้ยงผู้คน”
(ดูหนังสือ อัลมาตอลีบุลอาลิยะฮ์ ของอิบนุฮายัร อัลอัสกอลานีย์ เล่มที่ 1 หน้า 199)
และในบทที่สอง มีข้อความว่า .....
أَخْرَجَ أَحْمَدُ فِى الزُّهْدِ عَنْ طَاوُسٍ قَالَ : اَنَّ الْمَوْتىَ يُفْتَنُوْنَ فِىْ قُبُوْرِهِمْ سَبْعًا، وَيُسْتَحَبُّوْنَ أَنْ يُطْعِمُوْا عَنْهُمْ تِلْكَ اْلأَيَّامَ ....
นำมาบันทึกโดยท่านอะหมัด (อิบนุฮัมบัล) ในหนังสือ อัศศุดี จากท่านตอวูส (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของศอฮาบะฮ์) กล่าวว่า : แท้จริง บรรดาผู้ตาย พวกเขาได้ความฟิตนะ(ความทุกข์) ในบรรดากุโบร์ของพวกเขาในเจ็ดวัน (แรก) และพวกเขา (หมายถึงศอฮาบะฮ์) เห็นชอบให้พวกเขา (หมายถึงครอบครัวผู้ตายที่สามารถทำได้) ทำอาหารแทนจากพวกเขา (หมายถึงบรรดาผู้ตาย หรือทำนูหรี) ในบรรดาวันเหล่านั้น :
(อ้างข้อมูลจากหนังสือเล่มและหน้าเดียวกันกับบทแรก)
นี่คือ ตัวบท, การใส่สระ, คำแปล, และคำอธิบาย (ข้อความในวงเล็บ)ที่ผมคัดลอกมาจากหนังสือเล่มนั้น .. คำต่อคำ ......
ผมไม่ได้สนใจถึงการคัดลอกตัวบทผิด, ใส่สระผิด, และอธิบายผิด จากข้อความข้างต้น (ซึ่งผู้ที่พอจะรู้วิชาไวยากรณ์อฺรับอยู่บ้างก็คงจะมองออกว่า ใส่สระผิด และอธิบายผิดอย่างไร) แต่ที่อยากจะถามท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัลกุรอานให้กับผู้ตาย” ท่านนั้นก็คือ ...
1. ข้อความของหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้น ท่านคัดมาจากหนังสือ اَلْمَطَالِبُ الْعَالِيَةُ
จริงๆดังที่อ้าง หรือคัดลอกต่อมาจากตำราเล่มอื่นอีกทีหนึ่ง ? ....
เพราะข้อความจริงๆของหะดีษทั้ง 2 บทดังที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือดังกล่าว ซึ่งเป็นเล่มที่ 2 หน้า 534 และ 535 หรือหะดีษที่ 858, 859 ... มีบางคำ ไม่ตรงกับที่ท่านคัดลอกมาดังข้างต้น !....
2. สายรายงานของหะดีษทั้ง 2 บทนั้น --- ก่อนที่จะถึงท่านอัล-อะห์นัฟ บิน ก็อยส์ ในบทแรก, และก่อนจะถึงท่านฏอวูซ ในบทที่สอง --- ท่านได้เห็น, และพอจะรู้หรือยังว่า เป็นสายรายงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ตามหลักวิชาการหะดีษหรือไม่ ? ....
ผมขออธิบายให้ท่านผู้อ่านและท่านเจ้าของหนังสือเล่มนั้น ได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหะดีษ 2 บทนั้นพอเป็นสังเขป ดังนี้ ....
1. ในบทแรก, พื้นฐานของหะดีษนี้ ... อันได้แก่เรื่องการถูกฆาตกรรมของท่านอุมัรฺ, และการที่ท่านสั่งให้ท่านสุฮัยบ์ บิน ซินาน ร.ฎ. ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามนำประชาชนนมาซญะมาอะฮ์ 3 วัน ในขณะที่เศาะหาบะฮ์อีก 6 ท่าน กำลังประชุมเพื่อเฟ้นหาตัวเคาะลีฟะฮ์คนใหม่หลังจากท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ... เป็นหะดีษที่ถูกต้อง, ดังการบันทึกของท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 3700, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “อัล-มะฏอลิบ อัล-อาลิยะฮ์” -- ที่ถูกอ้างถึงข้างต้น -- หะดีษที่ 3902 (เล่มที่ 8 หน้า 366) ... โดยรายงานมาจากท่านอัมรฺ บิน มัยมูน ร.ฎ. อันเป็นหะดีษที่มีข้อความยืดยาวมาก ....
แต่ข้อความที่ถูกนำมาอ้างในหนังสือเล่มนั้น (เพื่อเป็นหลักฐานเรื่อง “การทำนูหรี” บ้านผู้ตาย) จากหะดีษข้างต้นประโยคที่ว่า ... “ท่านอุมัรฺ ได้สั่งให้ท่านสุฮัยบ์ทำอาหารเลี้ยงผู้คน” ... ถือว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” หรืออ่อนมาก เพราะข้อความนี้ มีปรากฏอยู่เฉพาะในรายงานนี้--- ซึ่งเป็นสายรายงานที่เฎาะอีฟ --- เพียงบทเดียว ... ขณะที่รายงานที่ถูกต้องอื่นๆซึ่งรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการถูกฆาตกรรมของท่านอุมัร ร.ฎ., จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์ และท่านอิบนุหะญัรฺ ในหนังสือที่ได้ระบุชื่อไว้นั้น ไม่มีข้อความเรื่องท่านอุมัรฺ สั่งเลี้ยงอาหารปรากฏอยู่เลย .....
2. รายงานบทที่สอง ก็มีลักษณะคล้ายบทแรก, คือ ข้อความตอนท้ายที่ว่า .. ดังนั้น พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) จึงเห็นชอบที่จะบริจาคอาหารแทนจากผู้ตายเหล่านั้น ใน (เจ็ด) วันดังกล่าว ....ถือว่า เป็นข้อความที่ “ชาซ หรือมุงกัรฺ” คือ ผิดเพี้ยนหรืออ่อนมากเช่นเดียวกันตามหลักวิชาการหะดีษ, ทั้งนี้ เพราะเป็นข้อความที่รายงานเพิ่มเติมมาเฉพาะในกระแสนี้ ซึ่งเป็นกะแสรายงานที่เฎาะอีฟ ....
ส่วนรายงานที่ถูกต้องกว่า ดังการบันทึกของท่าน อิบนุ ญุร็อยจญ์ ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” ของท่าน มีเพียงข้อความว่า .. ผู้ศรัทธานั้น จะถูกทดสอบ (ในกุบูรฺของเขา) 7 วัน” ... โดยไม่มีข้อความเรื่องเศาะหาบะฮ์เลี้ยงอาหารแทนให้ผู้ตายใน 7 วันเหล่านั้นแต่ประการใด .....
ลองใช้สามัญสำนึกง่ายๆ ... ถ้าหากว่ารายงานทั้ง 2 บทนั้น ถูกต้อง นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับที่คัดค้านเรื่องนี้จะกล้าพูดหรือว่า การทำ “นูหรีบ้านผู้ตาย” เป็นบิดอะฮ์หรือ “อุตริกรรม” ที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างมาก่อน ? .....
หรือท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัล-กุรอานให้กับผู้ตาย” เล่มนั้นเข้าใจว่า ท่านเป็นคนแรกที่อ่านเจอหลักฐาน 2 บทนี้ ? .....
อันเนื่องมาจากไม่ต้องการให้หนังสือเล่มนี้ของผมยืดยาวเกินไป จึงไม่ขอวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและรายละเอียดของรายงานทั้ง 2 บทนั้นในที่นี้, แต่ผมตั้งใจที่จะหาเวลาว่าง เพื่อชี้แจงความผิดพลาดและการขาดความรู้ความเข้าใจในวิชาการของผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นต่อไปเป็นการเฉพาะ, รวมทั้งการวิเคราะห์หลักฐานจากหะดีษในหนังสือเล่มนั้นซึ่ง .. ส่วนใหญ่, หรือ เกือบจะทั้งหมด .. เป็นหะดีษเฎาะอีฟและหะดีษเมาฎั๊วะอฺ ให้ท่านผู้อ่านรับทราบ อินชาอัลลอฮ์ .....
การกระทำดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกกันทั่วๆไปตามความเข้าใจของชาวบ้านว่า “การทำบุญให้แก่ผู้ตาย” ... ซึ่งเป็นการเรียกตามความเข้าใจของพี่น้องร่วมชาติที่เป็นชาวไทยพุทธ เพราะเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องดีที่ได้รับผลบุญและสามารถอุทิศให้แก่ผู้ตายได้ .....
แต่ตามหลักการของอิสลาม, --- ดังการเห็นพ้องกันของ นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับ --- การกระทำดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญแล้ว ผู้กระทำและผู้ที่ร่วมสนับสนุนยังอาจจะได้รับบาป ฐานอุตริพิธีกรรมที่ไม่เคยมีแบบอย่างจากท่านศาสดาและบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆ .......
คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า ในขณะที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยังมีชีวิตอยู่นั้น เศาะหาบะฮ์ของท่านจำนวนมากได้เสียชีวิต, ไม่ว่าเป็นการเสียชีวิตตามธรรมดาหรือจากการสู้รบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่า ท่านจะเคยสั่งให้ญาติผู้ตาย จัดเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายคนใด ... ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม .. คือ เป็นการแสดงความรักและความเอื้ออาทรด้วยการส่งมอบผลบุญให้ผู้ตาย ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆจากการปฏิบัติสิ่งนี้ด้วย ......
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า การที่ลูกเมียหรือญาติผู้ตายเป็นเจ้าภาพจัดทำอาหาร แล้วเชิญแขกมารับประทาน เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น เป็น بِدْعَـةٌ مُنْكَرَةٌ หรือ การอุตริที่ต้องห้าม .......
( โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” อันเป็นตำราฟิกฮ์ที่นิยมอ่านและสอนกันมากในมัษฮับชาฟิอีย์, เล่มที่ 2 หน้า 145-146 ) .....
ในที่นี้ ผมขอเสนอตัวอย่างจากคำพูดของนักวิชาการผู้ได้รับความเชื่อถืออย่างสูงยิ่ง 2 ท่านแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ... คือท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 676) และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ......
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มัจญมั๊วะอฺ” เล่มที่ 5 หน้า 320 ว่า .....
قَالَ صَاحِبُ الشَّامِلِ وَغَيْرُهُ : وَأَمَّا إصْلاَحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ شَـْئٌ وَهُوَ بِدْعَـةٌ غَيْرُمُسْتَحَـبَّةٍ .....
“ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” และนักวิชาการท่านอื่นๆกล่าวว่า : อนึ่ง การที่ครอบครัวของผู้ตายได้จัดเตรียมอาหารอย่างดี และเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมรับประทานนั้น พฤติกรรมนี้ ไม่เคยปรากฏมีรายงานหลักฐานมาแต่ประการใด ดังนั้น มันจึงเป็น อุตริกรรมที่ไม่ชอบตามหลักการศาสนา” .......
หมายเหตุ : ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” มีชื่อว่า อบูนัศรฺ มะห์มูด บิน อัล-ฟัฎล์ อัล- อิศบะฮานีย์, มีชื่อรองว่า “อิบนุ ศ็อบบาค” เป็นชาวเมืองอิศฟาฮาน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 512 ......
การที่ท่านอิหมามนะวะวีย์ ได้คัดลอกข้อความนี้มาโดยไม่มีการท้วงติง ตามหลักการถือว่า เป็นการยอมรับทัศนะที่ท่านได้คัดลอกมานี้ .....
และคำกล่าวที่ว่า “เป็นอุตริกรรมที่ไม่ชอบฯ” แสดงว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องน่ารังเกียจ, ที่นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญ ดังความเข้าใจของผู้ปฏิบัติแล้ว ยังอาจจะได้รับบาปอีกด้วย ......
ท่านซัยยิด บักรีย์ เจ้าของหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” ได้นำคำตอบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ของท่านอะห์มัด บิน ซัยนีย์ ดะห์ลาน มุฟตีย์คนหนึ่งแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ซึ่งในคำตอบดังกล่าว มีการนำเสนอข้อมูลจากคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ จากหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” ประกอบดังต่อไปนี้ ......
نَعَمْ، مَايَفْعَلُهُ النَّاسُ مِنَ اْلإجْتِمَاعِ عِنْدَأَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعِ الطَّعَامِ مِنَ الْبِدَعِ الْمُنْكَرَةِ الَّتِيْ يُثَابُ عَلَى مَنْعِهَا وَالِىاْلأَمْرِ .......قَالَ الْعَلاَّمَةُ أَحْمَدُ بْنُ حَجَرٍ فِيْ تُحْفَةِ الْمُحْتَاجِ لِشَرْحِ الْمِنْهَاجِ : وَيُسَنُّ لِجِيْرَانِ أَهْلِهِ أَيِ الْمَيِّتِ تَهِيْئَةُ طَعَامٍ يَشْبَعُهُمْ يَوْمَهُمْ وَلَيْلَهُمْ، لِلْخَبَرِالصَّحِيْحِ : إصْنَعُوْاِلآلِ جَعْفَرٍطَعَامًا فَقَدْ جَاءَهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ، وَيُلَحُّ عَلَيْهِمْ فِى اْلاَكْلِ نَدْبًا ....... وَمَا اعْتِيْدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُواالنَّاسَ إلَيْهِ بِدْعَـةٌ مَكْرُوْهَـةٌ كَإجَابَتِهِمْ لِذَلِكَ ....
“ ใช่แล้ว, .. สิ่งซึ่งประชาชนกำลังกระทำกันอยู่ อันหมายถึงการไปชุนนุมกัน ณ ที่ครอบครัวผู้ตาย, และมีการประกอบอาหาร(เลี้ยงกัน) ถือว่า เป็นหนึ่งจากอุตริกรรมต้องห้าม, ซึ่งผู้นำที่คัดค้านสิ่งนี้จะได้รับผลบุญตอบแทน, ......... ท่านอัลลามะฮ์ อิบนุหะญัรฺ ได้กล่าวในหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” อันเป็นตำราอธิบายหนังสือ “อัล-มินฮาจญ์” ว่า : และสุนัต (เป็นเรื่องดี) ให้บ้านใกล้เรือนเคียงผู้ตาย นำอาหารที่เพียงพอต่อพวกเขา (ลูกเมียผู้ตาย) รับประทานในวันและคืนนั้น เพราะมีหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์รายงานมาว่า (ท่านศาสดากล่าวว่า) : “พวกท่านจงทำอาหารไปให้ครอบครัวของญะอฺฟัรฺเถิด เพราะพวกเขากำลังประสบความเศร้าโศกอยู่” ... และสมควรจะคะยั้นคะยอพวก เขาให้รับประทานอาหารด้วย ........... และสิ่งซึ่งถูกปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว .. อันได้แก่การที่ครอบครัวผู้ตายได้ปรุงอาหารขึ้นมา เพื่อจะเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมรับประทานนั้น ถือเป็นอุตริกรรมที่น่ารังเกียจ เช่นเดียวกับการตอบรับคำเชิญชวนไปร่วมในงานเลี้ยงนี้ (ก็เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน) .....
( จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 145-146 ) ...
ผมจึงยังมองไม่เห็นและไม่เข้าใจจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ว่า ผลบุญที่เราเข้าใจว่าจะได้รับจากการจัดเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศไปให้ผู้ตายดังกล่าวนั้น เราจะเอามาจากใคร ? และจากที่ไหน ? .....
ท่านอัล-กุรฺฏูบีย์ แห่งมัษฮับ หะนะฟีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัต-ตัซกิเราะฮ์” หน้าที่ 102 ว่า .....
وَمِنْهُ الطَّعَامُ الَّذِىْ يَصْنَعُهُ أَهْلُ الْمَيِّتِ الْيَوْمَ فِيْ يَوْمِ السَّابِعِ، فَيَجْتَمِعُ لَـهُ النَّاسُ يُرِيْدُوْنَ بِذَلِكَ الْقُرْبَةَ لِلْمَيِّتِ وَالتَّرَحُّمَ لَـهُ، وَهَذَا مُحْدَثٌ لَمْ يَكُنْ فِيْمَا تَقَدَّمَ، وَلاَ هُوَمِمّا يَحْمَدُه الْعُلَمَاءُ قَالُوْا وَلَيْسَ يَنْبَغِىْ لِلْمُسْلِمِيْنَ أَنْ يَقْتَدُوْا بِأَهْلِ الْكُفْرِ، وَيَنْهَى كُلُّ إنْسَانٍ أَهْلَـهُ عَنِ الْحُضُوْرِ لِمِثْلِ هَذَا وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ : هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ ! قِيْلَ لَـهُ : أَلَيْسَ قَدْ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " إصْنَعُوْا ِلآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا ؟" فَقَالَ : لَمْ يَكُوْنُوْا هُمُ اتَّخَذُوْا ! إنَّمَا اتُّخِذَ لَهُمْ، فَهَذَا كُلُّهُ وَاجِبٌ عَلَى الرَّجُلِ أنْ يَمْنَعَ أَهْلَهُ مِنْهُ، وَلاَ يُرَخِّصَ لَهُمْ، فَمَنْ أَبَاحَ ذَلِكَ ِلاَهْلِهِ فَقَدْ عَصَى اللَّـهَ عَزَّوَجَلَّ، وَأَعَانَـهُمْ عَلَى اْلإثْمِ وَالْعُدْوَانِ ........
“และส่วนหนึ่งจากพฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์ก็คือ เรื่องอาหารซึ่งครอบครัวผู้ตายในปัจจุบัน ได้ปรุงขึ้นมาในวันที่ 7 (แห่งการตาย, .. ความจริง ไม่ว่าจะปรุงขึ้นมาในวันตาย, วันที่ 3, วันที่ 7, วันที่ 10, หรือ 40 วัน, หรือ 100 วัน ฯลฯ ก็เป็นอีหรอบเดียวกัน ) .. แล้วประชาชนก็จะมาร่วมทานอาหารนั้น, จุดประสงค์ของพวกเขาก็คือ ต้องการอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและแสดงความเมตตาต่อผู้ตาย, นี่คือ อุตริกรรมซึ่งไม่เคยปรากฏในยุคก่อนๆ, และก็มิใช่ว่า จะเป็นสิ่งที่นักวิชาการยกย่องสรรเสริญอะไรเลย, (ตรงข้าม) พวกเขา (นักวิชาการ) กล่าวว่า ไม่สมควรที่มุสลิมเราจะไปเลียนแบบพวกกาฟิรฺ, และสมควรที่มนุษย์ทุกคนจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการไปร่วมในงานประเภทนี้ .......
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล กล่าวว่า : นี่คือ พฤติการณ์ของญาฮิลียะฮ์ ! มีผู้ท้วงติงท่านว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวไว้มิใช่หรือว่า ให้พวกท่านทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะอฺฟัรฺ ? .. ท่านอิหม่ามอะห์มัดตอบว่า ..“(คำสั่งนั้น) มิใช่ให้พวกเขา (ครอบครัวผู้ตาย) เป็นผู้ทำ (อาหารให้พวกเรากิน), แต่ให้(พวกเรา) ทำไปให้พวกเขาต่างหาก” ... ทั้งหมดนี้ คือสิ่งวาญิบสำหรับผู้ชายที่จะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการปฏิบัติมัน, หากผู้ใดผ่อนผันเรื่องนี้แก่ลูกเมียของเขา เขาก็เป็นผู้ทรยศต่ออัลลอฮผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่, และยังเป็นการช่วยเหลือลูกเมียในเรื่องความบาป และการเป็นศัตรูกัน ..........”
ท่านเช็คอะห์มัด ซัยนีย์ ดะห์ลาน มุฟตีย์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ยังได้กล่าวในการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกตอนหนึ่งว่า ....
وَلاَ شَكَّ أَنَّ مَنْعَ النَّاسِ مِنْ هَذِهِ الْبِدْعَـةِ الْمُنْكَرَةِ فِيْهِ إحْيَاءٌ لِلسُّنَّةِ وَإمَاتَـةٌ لِلْبِدْعَـةِ، وَفَتْحٌ لِكَثِيْرٍمِنْ أَبْوَابِ الْخَيْرِ وَغَلْقٌ لِكَثِيْرٍمِنْ أَبْوَابِ الشَّرِّ، فَإنَّ النَّاسَ يَتَكَلَّفُوْنَ تَكَلُّفًاكَثِيْرًا يُؤَدِّىْ إلَى أَنْ يَكُوْنَ ذَلِكَ الصُّنْعُ مُحَرَّمًا وَاللَّـهُ سُبْحَانَـهُ وَتَعَالَى أَعْلَمُ .......
“และไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า การห้ามปรามประชาชนจาก(การกระทำ)สิ่งบิดอะฮ์ต้องห้ามข้อนี้ เป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ และเป็นการทำลายบิดอะฮ์, .. และยังเป็นการเปิดประตูแห่งความดีมากมาย และเป็นการปิดประตูแห่งความชั่วมากมาย, เพราะว่าประชาชน ต่างก็ทุ่มเทกัน(ในเรื่องนี้)อย่างหนัก จนอาจทำให้การปฏิบัติดังกล่าว เป็นเรื่องต้องห้ามได้ วัลลอฮุ ซุบหานะฮู วะตะอาลา อะอฺลัม......”
(จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 135) ......
แล้วท่านซัยยิด บักรีย์ ก็ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหนังสือเล่มและหน้าดังกล่าวว่า ....
وَقَدْ أَجَابَ بِنَظِيْرِهَذَيْنِ الْجَوَابَيْنِ مُفْتِى السَّادَاتِ الْمَالِكِيَّةِ وَمُفْتِى السَّادَاتِ الْحَنَابِلَةِ
“และประธานฝ่ายตอบปัญหาของมัษฮับมาลิกีย์ และประธานฝ่ายตอบปัญหาของมัษฮับหัมบาลีย์ ก็ได้ให้คำตอบ (ในเรื่องเดียวกันนี้) คล้ายคลึงกับ 2 คำตอบข้างต้นของมัษฮับชาฟิอีย์และมัษฮับหะนะฟีย์ (ที่ผ่านมาแล้ว).....”
ที่กล่าวมานี้ทั้งหมด เป็นเพียง “บางตัวอย่าง” จากข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับปัญหาการที่ครอบครัวผู้ตาย เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารประชาชน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย (ตามความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ) ..ซึ่งผู้ที่นิยมปฏิบัติสิ่งนี้อยู่ ควรจะรับฟังและสังวรณ์กันไว้ให้มาก .......
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ นอกจากการเห็นพ้องต้องกันของนักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับว่า การที่ครอบครัวผู้ตายจัดเลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย เป็นบิดอะฮ์ที่ต้องห้ามและน่ารังเกียจแล้ว นักวิชาการเหล่านั้น ต่างก็กล่าวสอดคล้องกันว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ไม่เคยปรากฏรายงานหลักฐานจากหะดีษ, และไม่ใช่เป็นการกระทำของบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆ ......
คำพูดดังกล่าวนี้ แสดงถึงการ “ปฏิเสธความถูกต้อง” ของรายงาน 2 บท ที่ท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัล-กุรฺอานให้กับผู้ตาย” ได้นำมาอ้างอิงไว้ในหน้าที่ 36 ของหนังสือเล่มนั้น, ซึ่งบทแรก มีข้อความดังนี้ .....
أَخْرَجَ أَحْمَدُ بْنُ مَنِيْعٍ فِىْ مُسْنَدِهِ عَنِ اْلأََحْنَفِ بْنِ قَيْسٍ قَالَ حِيْنَ طُعِنَ عُمَرُ أَمَرَ صُهَيْبًا أَنْ يُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثَلاَثًا، وَأَمَرَ بِأَنْ يُجْعَلَ لِلنَّاسِ طَعَامًا .......
“นำมาบันทึกโดย อะหมัดอิบนุมะเนียะ ในหนังสือบันทึกของท่าน รายงานจากอะหนัฟอิบนุก็อยส ท่านอะหนัฟพูดว่า : เมื่อท่านอุมัรฺ (อิบนุคอตตอบ คอลีฟฮ์คนที่ 2) ถูกแทง (ก่อนตาย) ท่านอุมัร ได้สั่งให้ท่านสุฮัยบ ให้นำละหมาด (ยะนาซะฮ์) กับคนทั้งหลาย และได้สั่งให้ท่านสุฮัยบทำอาหารเลี้ยงผู้คน”
(ดูหนังสือ อัลมาตอลีบุลอาลิยะฮ์ ของอิบนุฮายัร อัลอัสกอลานีย์ เล่มที่ 1 หน้า 199)
และในบทที่สอง มีข้อความว่า .....
أَخْرَجَ أَحْمَدُ فِى الزُّهْدِ عَنْ طَاوُسٍ قَالَ : اَنَّ الْمَوْتىَ يُفْتَنُوْنَ فِىْ قُبُوْرِهِمْ سَبْعًا، وَيُسْتَحَبُّوْنَ أَنْ يُطْعِمُوْا عَنْهُمْ تِلْكَ اْلأَيَّامَ ....
นำมาบันทึกโดยท่านอะหมัด (อิบนุฮัมบัล) ในหนังสือ อัศศุดี จากท่านตอวูส (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของศอฮาบะฮ์) กล่าวว่า : แท้จริง บรรดาผู้ตาย พวกเขาได้ความฟิตนะ(ความทุกข์) ในบรรดากุโบร์ของพวกเขาในเจ็ดวัน (แรก) และพวกเขา (หมายถึงศอฮาบะฮ์) เห็นชอบให้พวกเขา (หมายถึงครอบครัวผู้ตายที่สามารถทำได้) ทำอาหารแทนจากพวกเขา (หมายถึงบรรดาผู้ตาย หรือทำนูหรี) ในบรรดาวันเหล่านั้น :
(อ้างข้อมูลจากหนังสือเล่มและหน้าเดียวกันกับบทแรก)
นี่คือ ตัวบท, การใส่สระ, คำแปล, และคำอธิบาย (ข้อความในวงเล็บ)ที่ผมคัดลอกมาจากหนังสือเล่มนั้น .. คำต่อคำ ......
ผมไม่ได้สนใจถึงการคัดลอกตัวบทผิด, ใส่สระผิด, และอธิบายผิด จากข้อความข้างต้น (ซึ่งผู้ที่พอจะรู้วิชาไวยากรณ์อฺรับอยู่บ้างก็คงจะมองออกว่า ใส่สระผิด และอธิบายผิดอย่างไร) แต่ที่อยากจะถามท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัลกุรอานให้กับผู้ตาย” ท่านนั้นก็คือ ...
1. ข้อความของหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้น ท่านคัดมาจากหนังสือ اَلْمَطَالِبُ الْعَالِيَةُ
จริงๆดังที่อ้าง หรือคัดลอกต่อมาจากตำราเล่มอื่นอีกทีหนึ่ง ? ....
เพราะข้อความจริงๆของหะดีษทั้ง 2 บทดังที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือดังกล่าว ซึ่งเป็นเล่มที่ 2 หน้า 534 และ 535 หรือหะดีษที่ 858, 859 ... มีบางคำ ไม่ตรงกับที่ท่านคัดลอกมาดังข้างต้น !....
2. สายรายงานของหะดีษทั้ง 2 บทนั้น --- ก่อนที่จะถึงท่านอัล-อะห์นัฟ บิน ก็อยส์ ในบทแรก, และก่อนจะถึงท่านฏอวูซ ในบทที่สอง --- ท่านได้เห็น, และพอจะรู้หรือยังว่า เป็นสายรายงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ตามหลักวิชาการหะดีษหรือไม่ ? ....
ผมขออธิบายให้ท่านผู้อ่านและท่านเจ้าของหนังสือเล่มนั้น ได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหะดีษ 2 บทนั้นพอเป็นสังเขป ดังนี้ ....
1. ในบทแรก, พื้นฐานของหะดีษนี้ ... อันได้แก่เรื่องการถูกฆาตกรรมของท่านอุมัรฺ, และการที่ท่านสั่งให้ท่านสุฮัยบ์ บิน ซินาน ร.ฎ. ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามนำประชาชนนมาซญะมาอะฮ์ 3 วัน ในขณะที่เศาะหาบะฮ์อีก 6 ท่าน กำลังประชุมเพื่อเฟ้นหาตัวเคาะลีฟะฮ์คนใหม่หลังจากท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ... เป็นหะดีษที่ถูกต้อง, ดังการบันทึกของท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 3700, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “อัล-มะฏอลิบ อัล-อาลิยะฮ์” -- ที่ถูกอ้างถึงข้างต้น -- หะดีษที่ 3902 (เล่มที่ 8 หน้า 366) ... โดยรายงานมาจากท่านอัมรฺ บิน มัยมูน ร.ฎ. อันเป็นหะดีษที่มีข้อความยืดยาวมาก ....
แต่ข้อความที่ถูกนำมาอ้างในหนังสือเล่มนั้น (เพื่อเป็นหลักฐานเรื่อง “การทำนูหรี” บ้านผู้ตาย) จากหะดีษข้างต้นประโยคที่ว่า ... “ท่านอุมัรฺ ได้สั่งให้ท่านสุฮัยบ์ทำอาหารเลี้ยงผู้คน” ... ถือว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” หรืออ่อนมาก เพราะข้อความนี้ มีปรากฏอยู่เฉพาะในรายงานนี้--- ซึ่งเป็นสายรายงานที่เฎาะอีฟ --- เพียงบทเดียว ... ขณะที่รายงานที่ถูกต้องอื่นๆซึ่งรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการถูกฆาตกรรมของท่านอุมัร ร.ฎ., จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์ และท่านอิบนุหะญัรฺ ในหนังสือที่ได้ระบุชื่อไว้นั้น ไม่มีข้อความเรื่องท่านอุมัรฺ สั่งเลี้ยงอาหารปรากฏอยู่เลย .....
2. รายงานบทที่สอง ก็มีลักษณะคล้ายบทแรก, คือ ข้อความตอนท้ายที่ว่า .. ดังนั้น พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) จึงเห็นชอบที่จะบริจาคอาหารแทนจากผู้ตายเหล่านั้น ใน (เจ็ด) วันดังกล่าว ....ถือว่า เป็นข้อความที่ “ชาซ หรือมุงกัรฺ” คือ ผิดเพี้ยนหรืออ่อนมากเช่นเดียวกันตามหลักวิชาการหะดีษ, ทั้งนี้ เพราะเป็นข้อความที่รายงานเพิ่มเติมมาเฉพาะในกระแสนี้ ซึ่งเป็นกะแสรายงานที่เฎาะอีฟ ....
ส่วนรายงานที่ถูกต้องกว่า ดังการบันทึกของท่าน อิบนุ ญุร็อยจญ์ ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” ของท่าน มีเพียงข้อความว่า .. ผู้ศรัทธานั้น จะถูกทดสอบ (ในกุบูรฺของเขา) 7 วัน” ... โดยไม่มีข้อความเรื่องเศาะหาบะฮ์เลี้ยงอาหารแทนให้ผู้ตายใน 7 วันเหล่านั้นแต่ประการใด .....
ลองใช้สามัญสำนึกง่ายๆ ... ถ้าหากว่ารายงานทั้ง 2 บทนั้น ถูกต้อง นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับที่คัดค้านเรื่องนี้จะกล้าพูดหรือว่า การทำ “นูหรีบ้านผู้ตาย” เป็นบิดอะฮ์หรือ “อุตริกรรม” ที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างมาก่อน ? .....
หรือท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัล-กุรอานให้กับผู้ตาย” เล่มนั้นเข้าใจว่า ท่านเป็นคนแรกที่อ่านเจอหลักฐาน 2 บทนี้ ? .....
อันเนื่องมาจากไม่ต้องการให้หนังสือเล่มนี้ของผมยืดยาวเกินไป จึงไม่ขอวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและรายละเอียดของรายงานทั้ง 2 บทนั้นในที่นี้, แต่ผมตั้งใจที่จะหาเวลาว่าง เพื่อชี้แจงความผิดพลาดและการขาดความรู้ความเข้าใจในวิชาการของผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นต่อไปเป็นการเฉพาะ, รวมทั้งการวิเคราะห์หลักฐานจากหะดีษในหนังสือเล่มนั้นซึ่ง .. ส่วนใหญ่, หรือ เกือบจะทั้งหมด .. เป็นหะดีษเฎาะอีฟและหะดีษเมาฎั๊วะอฺ ให้ท่านผู้อ่านรับทราบ อินชาอัลลอฮ์ .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น