อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อ่านตัลกีลให้กับผุ้ตาย สุนนะใคร (ตอนที่ 7)



โดยอ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย 

10. มีกล่าวในหน้า 172 ว่า...'“แม้'ว่าฮะดีษนี้'จะเป็นฮะดีษดออีฟ แต่เนื้อหาของหะดิษได้รับการสนับสนุนจาก หะดิษอื่นที่ชอเหี๊ยะห์, จากอัล อุรุอาน จนกระทั่งระดับซึ่ง แต่เดิมเป็นดออีฟนั้น ได้กลายเป็น “หะซันลิฆอยริฮี” ...” จากคำกล่าวข้อนื้ พอจะสรุปได้ว่า ...
1. หะดีษตัลกีนของท่านอบี อุมามะฮ์ ร.ฎ. ได้รับการ สนับสนุน (ชาฮีด) จากหะดีษอื่นที่เศาะเหี้ยะห์ ...
2. หะดิษบทนื้ ยังได้รับการสนับสนุนจากอัลอุรุอาน ... ข้อเท็จจริงมีดังนื้ ...
1. หลักฐานสนับสนุนหรือที่เริยกกันตามศัพท์วิชาการ ว่า “ชาฮีด” หมายถึงหะดีษจากกระแสอื่น, ที่รายงานมา จากเศาะฮาบะฮ์คนอื่น แต่มีข้อความหรือเนื้อหา เหมือนหรือ คล้ายคลึงกับหะดีษเฎาะอีฟบทนั้น ๆ ซึ่งในที่นื้ จะยกตัวอย่าง ให้เห็นกันชัด ๆ ดังนื้ ..
ท่านอิบนุ มาญะฮ์ ได้รายงานหะดิษบทหนึ่งมาจาก ท่านญาบีรุ บีน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ว่า
“ท่านนะบีย์มุหัมมัด ช.ล.นั้น เมื่อท่านจะขึ้นบนมีมบัรุ (ในวันศุกร์) ท่านจะให้สลาม”
(ดู อิบนุ มาญะห์ หะดิษที่ 1109)
หะดีษบทนี้เปีนหะดีษเฏาะอีฟ เพราะผู้รายงานท่านหนึ่ง คือ “ยิบนุ ลุฮัยอะฮ์” ถูกวิจารณ์ว่า ความทรงจำไม่ดี ...
แต่ขณะIดียวกัน ท่านอับดุล ร็อซซาก ก็ได้รายงานไว้ ใน ' “อัล มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 3 หน้า 192, จากท่านอฺะฎออ์, และ,ท่านอิบนุ อบีซัยบะฮ์ ก็ได้รายงานไว้ใน “อัล มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 2 หน้า 114 จากท่านชะอ์บีย์ โดยได้อัางมาตรงกัน ว่า .-.
“ท่านนะบีย์มุหัมมัด ช.ล.นั้น เมื่อท่านจะขึ้นบนมิมบัรฺ ในวันศุกร์ ท่านก็จะหันหน้ามาหาประชาชนแล้วกล่าวว่า ... อัสสลามุ อฺะลัยกุม”
หะดีษทั้งสองบทนี้ แม้สายรายงานจะถูกด้อง แต่มี ลักษณะเป็นหะดีษมุรฺชัล จึงถือว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟเช่น เดียวกัน ...
จะเห็นได้ว่า หะดีษของท่านอับดุล ร็อซซากและท่าน อิบนุ อบีชัยบะฮ์ แม้ว่าสำนวนของหะดีษจะไม่เหมือนกับ สำนวนของท่านอิบนุ มาญะฮ์ แต่ก็มีเนื้อหาเหมือนกันทุกอย่าง ดังนั้น หะดีษสองกระแสในตอนหลังนี้ จึงเป็น “ชาฮีด” คือ หลักฐานสนับสนุนหะดีษของท่านอิบนุ มาญะฮ์ให้กลายเป็น หะดีษ “หะสัน ลิฆ็อยริอี” คือหะดีษที่สวยงามเพราะการ ส่งเสริมของหะดีษกระแสอื่น จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้
ว่า “ การให้สลามของอีหม่ามแก่มะมูม ก่อนขึ้นมิมบัร เป็นซุนะฮ์”
ที่นี เรามาพิจารณาดูหะดิษเศาะเหี๊ยะห์ที่ถูกอ้างว่าเป็นฮาดิษ “ชาฮีด” หรือหลักฐานสนับสนุนหะดิษตัลกีน ของท่านอบีอุมามาะฆ์ รฏ. ซึ่งหะดิษดังกล่าวที่ท่านผุ้เขียนได้นำมาอ้างไว้นั้นมีอยู่สองบทดังนี้
1). ท่านอุมัร อิบนุลอาศ รฏ ได้มีคำสังก่อนสิ้นใจว่า ...
إِذَاأَنَامُتُّ فَلَا تَصْحَبْنْىْ ناَمُحِةٌ وَلاَ نارٌ ، فَإِذَادَفَنْتُمُوْنِىْ فَشُنُّوْاعَلَىَّ التُّرَابَ شَنَّا، ثُمَّ أَقِيْمُوْاحَوْلَ قبْرِىْ قَدْرَمَاتُخَرُ جَزُوْرٌوَيُقْسَمُ محْمُهَاحَتَّى أَسْتَأْنِسَ بِكُمْ وَأَنْظُرَ مَاذَاأُرَاجِعُ بِهِ رُسُلَرَبِّىْ
“เมื่อฉันตายลงพวกท่านจงอย่าคร่ำครวญและอย่าจุดเพลิง , และเมื่อพวกท่านฝังฉันแล้ว ก็จงเกลี่ยดินให้เรียบ แล้วพวกท่านจงรออยู่อีกครู่หนึ่ง รอบๆ หลุมของฉัน ประมาณเวลาเท่ากับที่พวกท่านเชื่อดแพะและแจกจ่ายเนื้อของมัน เพราะฉันจะได้อบอุ่นใจกับพวกท่าน และเพื่อฉันจะได้รู้ว่าฉันควรจะตอบ(คำถาม) ของทูตแห่งพระผุ้อภิบาลของฉันว่าอย่างไร”
(ดุมุสลิม จากชัรหุ้นนะวะวีย์ เล่มที่2 หน้าที่ 138-139)
2) . มีรายานมาจากท่านอุษมาน บินอัฟาน รฏ. ว่า....
كَانَ النَّبِىُّ صَلَّى اللهُ علَيْهَ وَسَلَّمَ إِذَافَرَغَ مِنْدَ فْنِ الْمَيِّتِوَقَفَ عَليْهِ فَقاَلَ: إِستَغْفِرُوْالأِخِيْكُمْ، وَسَلُوْالَهُ التَّثْبِيْتَ، فَإِ نَّهُ الْآنَ يُسْأَلُ
“ท่าน นะบีมูฮัมหมัด ซล. นั้น เมื่อฝังผู้ตายเสร็จแล้ว ท่านก็จะยืนขึ้น และกล่าว่า “พวกท่านจงขออภัยโทษให้แก่พี่น้องของท่าน (ที่ตาย) และจงขอให้เขาได้มั่นคง (ในชะฮาดะห์) ของเขา เพราะขณะนี้เขากำลังถูกสอบถาม”
(ดู อบุดาวูด หะดิษที่ 3205, อัลหากิม เล่มที่1 หน้าทื่ 370- อัลบัยหะกี เล่มที่4 หน้าที่ 56.)
เมื่อเราได้พิจารณาหะดีษสองบทนี้อย่างถี่ถ้วน เราก็ จะไม่พบว่ามีส่วนไหนพอที่จะเป็น “ชาฮีด” ให้แก่หะดิษ ของท่านอบี อุมามะฮ์ได้เลย เพราะไม่ว่าจะเป็นส่านวนของ หะดีษหรือเนื้อหาของมัน ไม่มีตอนไหนที่ “เหมือน” หรือ “คล้าย” หะดีษตัลกีนคังกล่าวนั้นแม้แต่นิดเดียว โดยเฉพาะ
ประเด็นสำคัญในหะดีษ “ตัลกีน” ของท่านอบี อุมามะฮ์
อาทิเช่น การกล่าวแก่คนตายว่า โอ้นาย ก. บุตรนาง ข.
ก็ดี, มลาอิกะฮ์มุงกัรฺและนะกีรฺต่างจูงมือกันเดินหนีก็ดี,
หากไม่รู้จักชื่อแม่ของผู้ตาย ก็ให้กล่าวว่า เป็นลูกของเอาวาอ์
ก็ดี เหล่านี้ จะเห็นได้ว่า ไม่ปรากฎมีอยู่ในสำนวนหะดีษ
สองบทนั้นแด่อย่างใด -..
ด้วยเหตุนี้ ท่านค็อนอฺานิย์จึงได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สุบุลุส สลาม” ว่า -..
“และอนี้ง การอ้างหะดีษที่ว่า ...และจงขอให้เขาได้ มั่นคง (ในชะฮาดะฮ์) ของเขา เพราะขณะนี้ เขากำลังถูก สอบถาม” มาเป็นหลักฐานสนับสนุนหะดีษตัลกีนนั้น ก็ไม่ ปรากฎข้อความที่จะเป็น “ชาฮีด” ให้แก่เรื่องตัลกีนในหะดีษ นี้เลย, และในทำนองเดียวกัน คำสั่งของท่านอัมรฺ อิบบุลอฺาค ร.ฎ.ที่,ให้รออยู่ที่หลุมฝังศพของท่านประมาณเวลาเท่ากับ การเชื่อดแพะ เพื่อท่านได้อบอุ่นใจกับพวกเขาในขณะที่จะตอบคำถามของมลาอิกะฮ์ ก็ไม่มีสวนไหนที่จะสนับสนุนหะดิษตัลกีนเดียวกัน”
(ดุ สุบุลุส สลาม เล่มที่2 หน้าที่ 114)
และหะดิษศอเหี๊ยะอีกบทหนึ่งที่ท่านผู้เขียนได้นำเอามาเป็นหลักฐานสนับสนุหะดิษตัลกีนก็คือ หะดิษของอบุ สะอีด อัลคุดรีย์ รฏ. ซีงได้รายงานมาจากท่าน นะบ์ ซล.ว่า
لَقِّنُوْاموْتاَكُمْ لاإِلَهَ إِلاَّاللهُ
“พวก ท่านจงสอนผุ้ที่ (ไกล้จะ) ตายของพวกท่านว่า”ลาอีลาฮะ อิลลัลเลาะฮ)
(ดุ มุสลิม จากชัรหุ้นมะวะวีย์เล่มที่ 6 หน้าที่ 219, อบุดาวูด หะดิษที่ 3101 นซาอีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่5, ตีรมีซ๊ย์ หะดิษที่ 983, อิบนุมาญะฮ์ หะดิษที่ 1445, อัลบัยหะกีย์ เล่มที่3 หน้าที่ 383 ,อะหมัด เล่มที่3 หน้าที่ 3, และอิบนุอบีชัยบะห์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 75)
จริงอยู่ แม้ว่าความหมายตามรากศัพท์เดิม ของคำว่า”เมาตา” หมายถึงผู้ที่ตายแล้ว และท่านอีหม่ามนซาอีย์จะได้ตั้งบทไว้จากหะดิษบทนี้ว่า “ตัลกีนผู้ตาย” แต่ตามความหมายเป็นจริงแล้ว มีหะดิษที่เศาะเหี๊ยะ บทอื่นอีกที่มา “ขยายความ” หะดิษบทนี้จนทำเราทราบใด้ว่า คำว่า “เมาตา” ในที่นี้หมายถึงผู้ที่ใก้ลตาย หะดิษดังกล่าวได้แก่หะดิษซึ่งท่านอบู ดาวูดได้บันทึกมาจากรายงานของท่านอุอาส บินญะบัล รฏ. จากท่านรอซูล (ซล) กล่าว่า
مَنْ كَانَ آخِرُكَلاَمِهِ لَاإِلَهَ إِلّآللّهُ دَخَلَ الجَنَّةَ
“ผู้ได ที่คำพูดสุดท้ายเขาคือ “ลาอีลาฮะ อิลลัลเลาะ” เขาก็ได้เข้าสวรรค์”
(ดู อบุดาวุด หะดิษที่ 3100)
และหะดิษซึ่งท่านอิบนุ หิบาน ได้บันทึกไว้ใน “อัสเศษะเหียะห์” ของท่าน หะดิษที่ 719 โดยรายงานมาจากท่านอบู ฮุรอยเราะห์ รฏ. จากท่านรอซูล (ซล) ว่า
لَقِنُوْامَوْتَاكُمْ لَاإِلَهَ إِلاَّاللَّهُ،مَنْ كَانَ آجِرُكَلاَ مِهِ لاَ إِلَهَ إِلّاَ اللهُ عِنْدَالْموْتِ دَ خَلَ الْجَنَّةَــ ــ ــ
“จงสอนผู้ที่ (ใกล้จะ) ตายของพวกท่านว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์” ผู้ใดที่คำพูดครั้งสุดท้ายของเขาคือ “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์” ในขณะที่ใกล้จะตาย เขาก็จะได้เข้าสวรรค์”
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการหะดีษ (จริง ๆ) ทุกคน จะไม่มี ใครอธิบายคำว่า “เมาตา” ในหะดีษบทนั้นว่าหมายถึง “ผู้' ที่ตายแล้ว” เลย, แต่จะอธิบายเหมือนกันหมดว่า หมายถึง “ผู้'ที่ใกล้จะตาย” แม้กระทั่งนักวิชาการหะดีษในมัสฮับฟาฟิอีย์ เอง อย่างท่านอิหม่ามนะวะวิย์ หรือท่านสะยูฎีย์ ก็อธิบาย คำว่า “เมาตา” ในที่นี้-ว่า หมายถึงผู้ที่ใกล้จะตายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านอิหม่ามนะวะวิย์เองก็เป็นอีกผู้'หนึ่ง ที่มีทัศนะว่าให้อ่านตัลกีนได้ แต่ท่านก็ไม่ได้อ้างเอาหะดีษ บทนี้เป็นหลักฐานในเรื่องการอ่านตัลกีนแต่อย่างใด ทั้ง ๆที่ หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเศาะเหี้ยะห์, แต่ท่านกลับไปอ้างเอา หะดีษของท่านอบี อุมามะฮ์ ร.ฎ.ซึ่งท่านก็ยอมรับว่าเป็น หะดีษเฎาะอีฟ แต่อนุม้ติให้นำมาปฎิบ้ติได้ เพราะในทัศนะ ของท่านถือว่า การอ่านตัลกีนเป็นฟะฎออิลุ้ล อะอ์มาล ซึ่ง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนก็ได้ชี้แจงให้ท่านผู้อ่านได้ รับทราบรายละเอียดไปแล้ว ...
ท่านผู้อ่านที่สนใจและอยากเห็นการอธิบายความหมาย ของคำว่า “เมาตา” ในหะดีษบทนี้ว่าบรรดานักวิชาการหะดีษถือว่า หมายถึง “ผู้ที่ใกล้จะตาย” ก็ให้เปิดดู “ชัร.หุมุสลิม”ของนะวะวีย์ เล่มที่ 8 หน้า 386, “นซาอีย์” เล่มที่ 4 หน้า 5 จากคำอธิบายของ ท่านสะยูฎึย์ และท่านชันคีย์, “ตุห์ฟะตุ้ล อะห์วะชีย์” เล่ม ที่ 4 หน้า 52
ส่วนการที่ท่านนชาอีย์ได้นำเอาหะคีษบทนี้ไปบันทึก ไว้ในบทที่ว่า “ตัลกีนุล มัยยิด” ชึ่งแปลว่า “การสอนผู้ตาย” ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะหมายถึงผู้ที่ตายแล้วอย่างที่ ท่านผู้เขียนหนังสือ “มัสอะละ อูกามา” เข้าใจ แต่เห็นได้ ชัดว่า เป็นการตั้งบทนำเรื๋องให้เข้ากับสำนวนของหะดิษ มากกว่า เพราะในหะดิษใช้คำว่า “เมาตา” แปลว่า บรรดา ผู้ที่ตาย ชึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า “มัยยิต” ในสำนวนของ ท่านนชาอีย์ ที่แปลว่า ผู้ตายเพียงคนเคียว แต่เป้าหมายของ คำ ๆ นี้จากหะดิษ หมายถืง ผู้ที่ใกล้จะตาย ดังนั้นสำนวน ของท่านนชาอีย์ จึงต้องมีความหมายเช่นเคียวกัน ...
ขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งว่า การตั้งชื่อบทใด ๆ ของนักวิชาการนั้น ไม่ได้หมายถืงว่าข้อเท็จจริงและเจตนารมณ์ ของผู้ตั้งชื่อ จะต้องเป็นไปดามคัวอักษรนั้น ท่านบุคอริย์เอง ก็ได้เคยตั้งชื่อบทไว้ในบทที่ 39 เกี่ยวกับเรึ๋องการนมาช วันศุกร์ว่า “บทว่าด้วยเรื่องการนมาช (สุนัด) หลังนมาช
วันศุกร์และก่อนจากนั้น” แล้วท่านก็ได้อ้างรายงานหะดีษฺ จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัรฺ ร.ฎ•ว่า ...
“ท่านรชูลุลลอฮ์ ซ.ล.จะนมาซ (สุนัต) ก่อนนมาซชุฮ์ริ 2 ร็อกอุะฮ์ และหลังนมาชชุฮ์ริอีก 2 ร็อกอุะฮ์, และหลังจาก มัคริบ 2 ร็อกอุะฮ์ที่บ้านของท่าน, และหลังจากนมาซอีชาอ์ 2 ร็อกอุะฮ์, และท่านจะไม่นมาซ (ศุนัต) หลังจากนมาช วันศุกร์เสร็จแล้ว จนกว่าท่านจะกลับถึงบ้าน แล้วท่านก็จะ นมาซ 2 ร็อกอุะฮ์” ..-(ดู อัลบุคอรีย์ หะดิษที่ 937)
จะเห็นได้ว่า แม้ท่านบุคอรีย์จะได้ตั้งชื่อบทว่าด้วยเรื่อง การนมาชสุนัตหลังวันศุกร์และก่อนจากนั้น แต่ในสำนวน ของหะดีษ ไม่ปรากฎว่า จะมีการระบุเรื่องการนมาซสุนัต ก่อนวันศุกร์เอาไว้เลย เพราะการนมาชสุนัดก่อนการนมาช วันศุกร์ เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานมาจากชุนนะฮ์แต่อย่างใด ดังนั้น การตั้งชื่อบทในตำราของนักวิชาการ เราจึงนำเอา มาถือเป็นมาตรการว่า ข้อเท็จจริงจะต้องเป็นไปตามนั้น ทั้งหมดไม่ได้ -..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น