อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อ่านตัลกีลให้กับผุ้ตาย สุนนะใคร (ตอนที่ 6)



โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย 
9. มีกล่าวในหน้า 171 ว่า ...“เพราะตัลกีนนั้น เป็น ฟะดออีลุ้ลอะม้าล คืออะมั้ลที่เป็นสุนัต อะนั้ลเกี่ยวกับการขอพร, อะนั้ลที่เกี่ย่วกับซิกรฺ ถึงแม้ว่าหะดีษนั้นจะดออีฟ แด่ก็นำมา เป็นหลักฐานในเรื่องทำนองนี้ได้” ..-
ในที่นี้ มีเรื่องที่จะต้องชี้แจงหลายอย่างดังนี้ ...
ก. ท่านอิหม่ามนะวะวิย์ได้กล่าวไว้ใน “อัล อัลการ.” ของท่าน หน้า 7 ว่า
وَيُسْتَحَبُّ ا لعمَلُ فِى اْلفَضَاءىِلِ الضَّعِيْفِ."
“และชอบที่จะให้มีการปฎิบ้ติใน.รื่องฟะฎออิตุ้ล อะอฺมาล, (งานเสริมหรือเพิ่มเติมผลบุญ), ในเรือง ติรฺฆีบ (กระตุ้นให้ กระทำความติ), และตัรฺฮีบ (สำทับให้หวาดเกรงความชั่ว) ดามหะติษเฎาะอีฟ ...”
คำว่า “ชอบที่จะให้มีการปฎิบ้ติดามหะดีษเฎาะอีฟ” กับคำว่า “นำหะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐาน” นั้น ความหมาย ไม่เหมือนกัน ...

ไม่มีนักวิชาการท่านใดกล่าวว่า อนุญาตให้นำหะดีษ เฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานได้ ไม่ว่าในเรื่องใด ๆ แต่มีนักวิชาการ บางท่านอนุโลมหรือส่งเสริมให้ปฎิบ้ติตามหะดีษเฎาะอีฟใน สิ่งที่กล่าวมาแล้ว เพราะทุกท่านย่อมทราบดีว่า หะดีษเฎาะอีฟ นั้น นำจะไม่ใช่คำพูดของท่านรชูลุลลอฮ์ ช.ล. การนำ หะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐาน จึงอาจจะนำมาซึ่งการยัดเยียด ความเท็จให้แก่ท่าน, และอาจจะเป็นการสร้างบทบัญญ้ติ
ใด ๆ ในศาสนาขึ้นมาโดยพลการก็เป็นได้ แต่ถ้าหากหะดีษ เฎาะอีฟดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องการเสริมสร้าง ผลบุญดังกล่าวมาแล้ว ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอันใดหากเราจะ ปฎิบ้ตีตามหะดีษนั้น ๆ ในแบบเผื่อ ๆ ไว้ว่า อาจจะได้รับ ผลบุญจริง ๆ ก็ได้ -..
นี่คือ เจตนารมณ์ของนักวิชาการที่อนุโลมหรือส่งเสริม ให้ปฏิบัติดามหะดีษเฎาะอีฟในเรื่องฟะฎออีลุ้ล อะอ์มาล, เรื่องดัรฺฆีบและเรื่องตัรฺฆีบได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขแห่งข้ออนุโลมเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ครบถ้วนเสียก่อน ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดกันต่อไป มีฉะนั้น ก็จะกลาย เป็นเรื่องต้องห้ามหรือหะรอมไปทันที ...

ข. การอ้างว่า เรื่องดัลกีนเป็นเรื่องสุนัด, เป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับการขอพร ...ก็ไม่ตรงต่อข้อเท็จจริง เพราะเรื่อง “ตัลก็น” นี้ เราไม่อาจจะใช้คำว่า “สุนัด” ได้ตามหลัก วิชาการดังที่ได้อธิบายผ่านพ้นมาแล้ว, และ'ใน'หะติษ “ดัลก็น” ของท่านอบี อุมามะฮ์ ร.ฎ.ก็ไม,ใช่เป็นเรื่องการขอพร และ ไม่มีวรรคใดที่ใข้ให้เราขอพร แต่เป็นเรื่องของการ “สอน” หรือแนะน่าผู้ตายให้ร้วิธิตอบคำถามของมลาอีกะฮ์ต่างหาก ไม่เชื่อก็เป็ดกลับไปดูได้, การอ่านตัลก็นจึงเป็นคนละเรื่อง กับการอ่านดุอาอีสติคฟารฺ และตุอาดัษบีต อันเป็นหะดีษที่ เศาะเหียะห์ (แต่ไม่ค่อยมีใครชอบปฏิบัติกัน)...

ค. การปฏิบัตตามหะดิษ เกาะอีฟในเรืองฟะฏอิลุลอะห์มาลนี นักวิชาการหะดิษมีทัศนะขัดยั้งกันอยู่มาก แม้ว่าท่านอีหม่ามนะวะวีย์จะอ้างว่า เป็นการเห็ฯพ้องต้องกันของนักวิชาการก็ตาม ท่านญะมาลุดดีน อัลกอซิมีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ”เกาะวาอิดุต ตะห์ดีส” ว่า .........
“لِيُعلَمْ أَ نَّ لْمَذَا هِبَ فِالضَّعِيفِ ثَلاَ ثَةٌ: الا وَّلُ لَا يُعْلَمُ بِهِ مُطْلقًا ، لاَفِى الأَحْكَمِ وَلاَ فِى الْفَضَا ئِلَ. حَكَاهُ ابْنُ سَيِّدِالنَّا سِ فِيْ عُيُوْنِ الأَ ثَرِ' عَنْ يَحْيَ بْنِ مُعِيْنٍ وَنَسَبَهُ فِىْ فَتْحُ الْمُغُيْثِ لِأَبِىْ بَكْرِبْنِ العَرَبِىِّ وَالظَّاهِرُأَنَّ مْذْ هَبَ ا لبُخَارِىِّ وَمُسّلِمٍ ذَلِكَ أَ يْضًا..... وَهَذَامَذْ هَبُ ابْنِ حَزْمٍ رَحِمَهُاللّهُ أَ يْضًا “
“ พึงทราบเถิดว่า ทัศนะของนักวิชาการเกียวกับเรืองหะดิษเฏะอีฟนี้ มีอยู่3 ทัศนะ คือ หนึ่งห้ามนำหะดิษอ่อนหุกุมหรือเรื่องฟะฏออิลุล อะอ์มาลก็ตาม ท่านอิบนุ ซัยยิดินนาซ ได้กล่าวทัศนะนี้ไว้ในหนังสือ “อุยุลุลอะษัร” โดยรายงานมาจากท่านยะห์ยา บิน มุอีน, แต่ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล มฆีษอ่างว่าเป็นทัศนะของท่านอบู บักร อินุลอะเราะบีย์ , ตามรุปการนั้น ทัศนะของท่านบุคอรีย์ และท่านมุสลิม ก็เป็นอย่างนี้และทีศนะของท่านอิบนุ หัสซ์มิน ก็เป็นอย่างนี้เช่นกัน” (ดู เกาะวาอิคุต ตะห์ดิษ หน้า 113)
แม้กระทั้งท่านอิบนุ หะฐัร อัลอัสเกาะลานีย์เอง ก็มีแนวโน้มว่า ท่านจะไม่อนุมั้ติให้นำหะดิษเฏาะอีฟมาใช้นการฟะฏอิลุลอะมาลเหมือนกัน เรพาะท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตับยีนุล อ”บ"หน้า 3-4 ว่า..............
“وَلَا فَرْقَ فِى العَمَلِ باِلْحَدِ يْثِ فِىْ الْا ءَحْكاَمِ أَوْفِى الفَضَائِلِ ،
إِذِالْكُلُّ شَرْعٌ “
และไม่มีนข้อแตกต่างในเรืองการนำหะดิษมาปฏิบัติ ว่าจะเป็ฯเรืองหุกุม หรือเรืองฟะฏออิลุล อะห์มาล เพราะ ทั้งหมดนั้นก็เป็ฯบัญญัติของศานาเหมอืนกัน”
(ดุ ตะมามุ้น มินนะฮ์ หน้าที่ 36)

และผุ้ที่จะได้รับการอนุโลมให้นำหะดิษเฏาะอีฟมาใช้ในฟะฏอิลุล อะห์มาลได้นั้นท่านกได้กำหนดเงือนไขเอาไว้หลายประการด้วยกัน ........
ท่านญะมาลุดดีน อัลกอซิมีย์ ได้กล่าวใน “เกาะวาอิดุต ตะห์ดิษ”ว่า....
وَذَكَرَ الْحَا فِظُ ابْنَ حَخَرٍلَهُ ثَلاَ ثَةَ شُرُوْطٍ : أَحَدُهَاأَ نْ يَّكُوْنَ الضَّعْفُ غَيْرَشَدِيدٍ........... اَلثَّانِىْ : أَ ن يَّنْدَرِجَ تَحْتَ أَ صْلٍ مَعْمُوْ لٍ بِهِ ' اَلثَّالِثُ: أَن لّاَ يَعْتَقِدُعِنْدَالْعَمَلِ بِهِ ثُبُوْ تَهُ، بَلْ يعْتَقِدُاْلإِ حْتِيَاطَ
“ท่านอบนุ หะญัร ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ (สำหรับผุ้ที่จะนำเอาหะดิษเฏาะอีฟมาปฏิบัติในฟะฏออิลุล อะมาล) สามประการคือ หนึ่งหะดิษดังกล่าวนั้น จะต้องไม่อ่อนจนเกินไป...........สอง เนื้อหา ของหะดิษจะต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานของสิ่งที่มีอยู่แล้ว (ตามหลักการ) และ สาม ผู้ปฏิบั้ติจะต้องไม่ยึดมั่นขณะปฏิบัติว่า หะดิษดังกล่าวนั้นเป็นหะดิษที่แน่นอน (ถูกต้อง) ทว่า, ให้ยึดมัน่ว่า ปฏิบัติเป็นการเผื่อๆไว้เท่านัน”
(ดู เกาะวาอิดุตตะดิษ หน้าที่ 116)

ซึ่งในเงือนไขข้อที่สองนี้ ก็มีอีกสนำวนหนี่งท่านอลีย์อัล กอรีย์ ได้กว่าวไว้คล้ายๆจะเป็นการอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ...........
إِنَّ الحَدِيْثَ الضَّعِيْفِ يُعْمَلُ بِهِ فِىِ الفَضَا ئِلِ ـ ـ ـ مَحَلُّهُ ائِلُ الثّابِتُ مِنْ كِتَابٍ أَوْ سُنَّةِ
“แท้จริง หะดิษ เฏาะอีฟนั้น จะนำมาปฏิบัติในฟะฏออิลุลอะห์มาลได้ หมายถึงในกรณีย์ที่ ฟะฏออิลุล อะห์มาลนั้นเป็นสิ่งที่มีหลักฐานแน่นอนมาจากกุรอ่าน หรือ ซุนะห์แล้วเท่านั้น...(ดู อัลมิรุกอ เล่มที่ 2 หน้าที 381) และเงือนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งมีระบุไว้ในหนังสือ “อิห์กามุล อะกาม” มีข้อความว่า”..
.. مَاكَانَ ضَعِيْفًالَايدْخُلُفِىْ حَيِّزِالْمَوْضُوْعِ فَإِنْأَحْدَثَ شِعَارًافِى الدِّيْنِ مُتِعَ مِنْهُ وَإِنْ لَمْ
يُحْدِثْ فَهُوَمَحَلُّ النّْظَرِ
“หะดิษเฏาะอีฟที่ไม่ถึงขั้นเป็นหะดิษเก๊นั้นถ้าหากว่า(การนำมาปฏิบั้ติแล้ว) จะทำให้เกิดประเพณีหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ในศาสนาขึ้นก็ห้ามนำมาปฏิบัติ แต่ถ้าไม่ทำให้สิ่งดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันต่อไป””.....
(ดุอี้ห์กามุล อะห์กาม” เล่มที่1 หน้ที่ 210)
สรุปแล้ว เงือนไขในการที่จะนำเอาหะดิษเฏาะอีฟมาไช้ในฟะฏออิลุลอะมาน มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน และใช้ในฟะฏออิลุล อะมาลนันมี 4 ประการด่วยกัน และจะต้องปฏิบัติให้ครบทั้งสี่ประการด้วย, หากขาดไปประการหนึ่งประการใดก็ถือว่า ใช้ไม่ได้ และเมือ่เรานำเอาหะดิษ “ตัลกีน” ของท่าน อบี มุมามะฮ รฏ. มิวเครมะห์ดูกับเงือนไขทั้ง4ประการนี้ ก็จะได้ผลลัพออกมาดั่งนี้ ...
เงือนไขข้อที่ 1 หะดิษบทนั้น จะต้องไม่อ่อนจนเกินไป จนถึงขั้นหะดีษเก๊ หรือมืผู้รายงานบางคนที่ถูกกล่าวหาว่า ชอบพูดเท็จ จากเงื่อนไขข้อแรกนี้ หะดีษตัลกีนดังกล่าว ถ้าไม่ถูกติดดิสเบรกตรง ๆ ก็เฉียด ๆ ไป เพราะอย่างน้อย นักวิชาการหะติษบางคนก็วิจารณ์ว่า หะดีษบทนี้เป็นหะดีษ เก๊, และตัวผู้รายงานบางคนก็ดูกวิจารณ์ว่า “เป็นผู้ที่ชอบ ปลอมหะดีษ” .1.
& เงื่อนไขข้อที่สอง เนื้อหาของหะดีษดังกล่าว จะต้องมี หลักฐานที่ถกต้องจากหะดีษบทอี่น หรือจากอัล กุรฺอาน มารองรับ เงื่อนไขข้อนี้หากไม่ได้อีกจากหะดีษดัลกีนของ ท่านอบี อุมามะฮ์ ร.ฎ.- เพราะไม่ปรากฎมีหะดีษที่ถูกต้อง บทใด หรืออัล กุรฺอานอายะฮ์ใดที่จะส่งเสริมให้เรากล่าว สอนผู้ตายอย่างนั้น หรือกล่าวว่า เมื่อเราอ่านตัลก็นแล้ว มลาอีกะฮ์ด่างก็ฉวยมือกันเดินหนี ฯลฯ ...
^ เงื่อนไขข้อที่สาม ไห้ยึดมั่นว่า เป็นการปฎิบ้ติเมื่อ ๆ ไว้ เท่านั้น ห้ามยึดมั่นว่าหะติษดังกล่าวเป็นหะดีษที่แน่นอน ซึ่ง เมื่อปฎิบัติลงไปแล้ว ก็จะไต้รับผลจริงตามนั้น, เงื่อนไขข้อนี้ ก็เช่นเดียวกัน เพราะผู้ที่ส่งเสริมให้มีการอ่านตัลกีนทุกคน ไม่เคยกล่าวแนะนำไว้เลยว่า ให้ทำเผื่อ ๆ ไว้เท่านั้น อย่าถือ เป็นเรืองจริงจัง แต่กลับกล่าวส่งเสริมว่า การอ่านตัลกีน เป็นสุนัด คืออ่านแล้วได้บุญ ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านทั้งหลายจึง เอาจริงเอาจังกันมากกับเรื่องตัลกิน เพราะมีความเชื่อมันว่า อ่านแล้วได้บุญและผู้ตายที่อยู่ในหลุมก็ได้รับประโยชน์จริง การกระทำในลักษณะนี้จึงเป็นการขัดแย้งกับเงื่อนไขข้อนี้ อย่างขัดแจ้ง
เงื่อนไขข้อที่สิ่ การปฏิบัติตามหะติษเฎาะอีฟนั้น จะต้อง ไม่ทำให้เกิดเป็นประเพณีใด ๆ ในคาสนาขึ้น เพราะหาก ปฎิบ้ติแล้วทำ'ให้เกิดมีสิ่งดังกล่าว ก็เป็นสิ่งต้องห้าม เงื่อนไข ข้อนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งเลยว่า การอ่านตัลกีน อย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในทุกวันนี้ ทำให้เกิดมีรูปแบบและประเพณี ซึ่งแม้แต่คนต่างศาสนาเมื่อมาเห็นเข้า ก็จะต้องเข้าใจว่า การสอนผู้ดายที่หลุมฝังศพเป็นบัญญ้ติและคำสอนของอิสลาม, เขาไม่มีทางจะเข้าใจอย่างอื่นไปได้ เพราะเมื่อไรก็เมื่อนั้น มีคนตายทีไรเป็นต้องมีคนนั้งสอนกันทุกทีจนกลายเป็น ประเพณีไปแล้ว ...
ในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน ยังมองไม่เห็นลู่ทางเลยว่า หากเราจะปฏิบัติและยึดถือกฎเกณฑ์กันอย่างจริง ๆ แล้ว จะอ้างเอาหะดีษตัลกินของท่านอบี อุมามะฮํร.ฎ.มาปฏิบัติ ในลักษณะฟะฎออิลุ้ล อะอ์มาลกันได้อย่างไร ซึ่งท่านผู้อ่าน ที่มีใจเป็นธรรมทุกท่านก็คงจะเห็นข้อเท็จจริงดามที่อธิบาย ไปแล้วว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม,จำเป็นจะต้องพูดอะไรให้ยืดยาวเกี่ยวกับข้ออ้างเรื่องฟะฎออิลุ้ล อะอ์มาลต่อไปอีก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น