ตอบโดย อ.ปรโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
เรื่องนิกาห์ ขอถามอาจารย์อีกเรื่องหนึ่งนะ ค่ะ คือเรื่องอบรมก่อนนิกาห์ ค่ะ
เรื่องนิกาห์ ขอถามอาจารย์อีกเรื่องหนึ่งนะ ค่ะ คือเรื่องอบรมก่อนนิกาห์ ค่ะ
-สำหรับการกำหนดเงื่อนไขให้อบรมก่อนนี้ไม่เป็นไรใช่ไหมค่ะ
-หากมะฮัร วะลี พร้อม แต่ยังไม่อบรม พ่อของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเห็นว่าอบรมเองได้ หรือเห็นว่าลูกชายมีความรู้ มีความรับผิดชอบ จึงทำการนิกาห์ให้แทนอีหม่าม การนิกาห์นี้ใช้ได้ไหม?
-หากทั้งฝ่ายชายและหญิงพร้อมจะนิกาห์ทุกอย่าง ยกเว้นยังไม่อบรม เมื่อไปหาอีหม่าม อีหม่ามปฏิเสธ โดยอ้างว่ายังไม่ได้อบรม ภายหลังแต่นั้น ชายหญิงคู่นั้นได้ทำซีนากัน ความผิดจากการทำซีนานั้น อีหม่ามที่ปฏิเสธนิกาห์ให้ได้รับผลบาปด้วยไหม?
-ปกติจะมีค่าอบม และหากใครยังไม่อบรม(ยังไม่อบรมทั้งชายและหญิงหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) แต่จะนิกาห์ก่อน ทางอีหม่ามจะเอาเงินจากคู่นิกาห์ยึดไว้ แล้วจะให้คืนเมื่อได้อบรมแล้ว (ซึ่งที่จังหวัดดิฉัน 3,000บาท) หากภายหลังนิกาห์แล้ว กลับไม่ไปอบรม แล้วไม่ได้รับเงินดังกล่าวคืน เงินดังกล่าวถือเป็นค่าปรับหรือไม่ และเป็นเงินที่ฮาลาลหรือไม่ค่ะ
ตอบ
ผม "เห็นด้วย" กับ "หลักการ" ที่ว่า คู่สมรสทุกคนควรจะเรียนรู้วิธีใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามบัญญัติอิสลามให้เข้าใจก่อนจะถึงวันนิกาห์ เพื่อชีวิตคู่ของเขาจะได้มีความราบรื่นและมีบะรอกะฮ์ตามหลักการศาสนา แต่ผม "ไม่เห็นด้วย" กับ "วิธีการ" การกำหนดเงื่อนไขให้คู่สมรสต้องมารับการอบรมเพื่อรับ "ใบรับรอง" ก่อนการนิกาห์ แถมคู่ใดไม่ผ่านการอบรมก็จะเรียกเก็บเงินมัดจำ 3000 บาทก่อนอิหม่ามจะทำการนิกาห์ให้ เพราะ ..
ผม "เห็นด้วย" กับ "หลักการ" ที่ว่า คู่สมรสทุกคนควรจะเรียนรู้วิธีใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามบัญญัติอิสลามให้เข้าใจก่อนจะถึงวันนิกาห์ เพื่อชีวิตคู่ของเขาจะได้มีความราบรื่นและมีบะรอกะฮ์ตามหลักการศาสนา แต่ผม "ไม่เห็นด้วย" กับ "วิธีการ" การกำหนดเงื่อนไขให้คู่สมรสต้องมารับการอบรมเพื่อรับ "ใบรับรอง" ก่อนการนิกาห์ แถมคู่ใดไม่ผ่านการอบรมก็จะเรียกเก็บเงินมัดจำ 3000 บาทก่อนอิหม่ามจะทำการนิกาห์ให้ เพราะ ..
(1). ตามปกติ วะลีย์ในการนิกาห์ตัวจริงก็คือผู้ปกครองของเจ้าสาว เขาจึงย่อมมีสิทธิ์จะนิกาห์เจ้าสาวให้กับใครก็ได้ที่เขาชอบ เพราะฉะนั้น หากเขาจะทำการนิกาห์ลูกสาวของเขาด้วยตัวเอง ให้กับผู้ชายสักคนหนึ่ง โดยที่ทั้งลูกสาวของเขาและว่าที่ลูกเขยของเขาไม่เคยผ่านการอบรมมาทั้งคู่ หรือเขามอบหมายให้ใครก็ได้ทำการนิกาห์แทนเขาโดยไม่ใช่โต๊ะอิหม่าม ขอถามว่า แล้วโต๊ะอิหม่ามเอากฎเกณฑ์ที่ไหนมาบังคับว่า จะต้องมอบหมายให้โต๊ะอิหม่ามนิกาห์ให้เท่านั้น นิกาห์จึงจะใช้ได้ ? และจะเอาอะไรไปบังคับให้เขาจ่ายเงินค่าปรับ 3000 บาท ? ....
(2) การกำหนดเงื่อนไขบังคับดังกล่าวเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (ซึ่งในที่นี้คือวะลีย์ที่เป็นผู้ปกครองเจ้าสาว) อันเป็นเรื่องต้องห้ามและฝ่าฝืนคำสั่งท่านศาสดา เพราะท่านศาสดาได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ُوَأَعْطِ كُلَّ ذِىْ حَقٍٍّ حَقَّه "และท่านจงมอบแก่ให้ทุกๆเจ้าของสิทธิ ซึ่งสิทธิของเขา" ..
(3).อิสลามมีบทบัญญัติบังคับ (ฟัรฺฎู) ให้มุสลิมทุกคนต้องศึกษา แต่อิสลามไม่เคยมีบทบัญญัติ "ลงโทษ" ผู้ที่ไม่ยอมศึกษา ดังนั้นการออกกฎไม่ยอมนิกาห์ให้ผู้ที่ไม่มีใบประกาศนียบัตรรับรองการอบรมก็เท่ากับเป็นการลงโทษพวกเขา ..
(4). กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ทราบว่าครอบคลุมคู่สมรสทุกคน ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งผู้ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศหรือเคยเรียนปอเนาะมาแล้ว ถ้าเป็นจริงดังที่ได้รับทราบมา ผมถือว่ากฎข้อนี้เป็นเรื่องไร้สาระ สะเปะสะปะ ไม่มีเป้าหมายที่ถูกต้อง
(5). กฎข้อนี้ยังระบุอีกว่า ผู้ที่อายุครบ 15 ปีจะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้รับใบประกาศนียบัตรไว้รับรองการนิกาห์ด้วย ผมจึงสงสัยว่า เมื่อวัยรุ่นอายุที่อายุ 15 ปีเข้ารับการอบรมจนได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว แต่กว่าเขาจะนิกาห์ก็ต่อเมื่ออายุ 25 ปี 30 ปี ซึ่งแน่นอนว่าเนื้อหาที่เคยเรียนมาเมื่อ 10 หรือ 15 ปีก่อนย่อมจะลืมเลือนไปหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้ขอถามว่า ตกลงเจตนาที่ให้เขาเข้ารับการอบรม ก็แค่เพื่อให้เขาได้ใบประการศนียบัตรอันเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งไว้สำหรับให้อิหม่ามนิกาห็ให้ หรือเพื่อให้เขาเข้าใจการใช้ชีวิตคู่ตามหลักการอิสลามกันแน่ ?
(6). เรามีอะไรเป็นบรรทัดฐานหรือว่า ผู้ที่ไม่มีประกาศนียบัตรรับรองของท่าน จะเป็นสามีที่ดี, รับผิดชอบครอบครัว น้อยกว่าผู้ที่มีใบประกาศนียบัตรรับรองของท่าน ? ..
(7). การนิกาห์ให้ผู้ไม่มีใบประกาศนียบัตรรับรอง แต่เรียกเงินค่าปรับแทน (แม้จะคืนให้ภายหลังสำหรับผู้ที่เรียนมาจนผ่านการรับรอง) ถือเป็นเรื่องน่าเกลียดที่สุดอันแสดงถึงว่า การออกกฎข้อนี้ มิใช่มีเป้าหมายเพื่อให้คู่สมรสได้ศึกษาจนเข้าใจการใช้ชีวิตคู่อย่างแท้จริง เพราะเท่าที่ทราบ มีมากมายหลายคู่ที่ยอมสละเงินค่าปรับก้อนนี้โดยไม่ไปรับการอบรม
เพราะฉะนั้น "วิธีการ" ที่ดีที่สุดในทัศนะของผมก็คือ ให้อิหม่าม หมั่นสอนบ่อยๆเรื่องหลักการการแต่งงาน การใช้ชีวิตคู่ การหย่าร้าง ฯลฯ ในคุฎบะฮ์วันศุกร์ ซึ่งดูจะได้ประโยชน์มากกว่าและตรงเป้าหมายกว่า เพราะสัปปุรุษทุกคน ทั้งผู้ที่แต่งงานแล้วและไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้, ผู้ที่ยังไม่แต่งงาน, วัยรุ่น, วัยแก่จะได้รับรู้เรื่องนี้อย่างทั่วถึงกัน
สรุปแล้ว ในสิ่งที่ถามมา ผมเห็นด้วยกับ "หลักการ" แต่ไม่เห็นด้วยกับ "วิธีการ" ครับ วัลลอฮุ อะอฺลัม ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น