โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
สำหรับ “วิธีการ” แสดงความรักและให้เกียรติ “ตัว” ท่านศาสดาดังหลักฐานข้างต้นนั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุดของสิ่งที่กล่าวมานี้ทั้งหมด ก็คือพฤติการณ์ของบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่านศาสดาเองในอดีต ...
การแสดงออกถึงความรักที่มีต่อ “ตัว” ท่านศาสดาตามแบบฉบับของบรรดาเศาะหาบะฮ์ก็คือ การปฏิบัติตามท่าน, เชื่อฟังท่าน, กระทำตามคำสั่งของท่าน, ละเว้นข้อห้ามของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่านทั้งที่ลับและที่แจ้ง, เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อท่านและเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้งกาย วาจา และใจ, และหันกลับไปหา “ซุนนะฮ์” ของท่านเมื่อยามเกิดความขัดแย้งในระหว่างพวกเขา และต้องการจะยุติมัน... ซึ่งการกระทำสิ่งต่างๆดังกล่าวข้างต้นนี้ได้ พวกท่านจะปฏิบัติมัน เท่าที่พวกท่านสามารถและโอกาสอำนวยให้ โดยไม่ได้จำกัดเวลา, ไม่จำกัดสถานที่, และไม่ได้กำหนดรูปแบบใดๆขึ้นมาเองโดยพลการ ...
ส่วนวิธีการแสดงความรักหรือให้เกียรติท่านด้วยรูปแบบ “ประจบสอพลอ” ดังที่นิยมปฏิบัติกันในปัจจุบัน .. อย่างเช่น การยืนขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน ... ปรากฏว่า ในกรณีนี้ เป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจจนบรรดาเศาะหาบะฮ์ “แหยง” และไม่กล้าปฏิบัติต่อท่าน ดังรายละเอียดที่ผมจะเขียนชี้แจงในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความรักในตัวท่านศาสดามากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่า จะมีเศาะหาบะฮ์ท่านใดแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่าน ด้วยการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ท่านเสียใหญ่โตอย่างที่เรียกกันว่า “การทำเมาลิด” เหมือนพวกเราบางคนในปัจจุบัน ...
ส่วนการให้ความสำคัญต่อ “วันเกิด” ของท่านศาสดา ด้วยการจัดงานเมาลิดหรือพิธีกรรมเฉลิมฉลองวันเกิดของท่าน, เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ทั้ง “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” ของมัน แตกต่างกับ “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” แสดงความรักใน “ตัว” ท่านดังที่กล่าวมาแล้ว ...
ทั้งนี้ เพราะการจัดงานเมาลิด ถือเป็นพิธีกรรม “ใหม่” ที่ถูกริเริ่มขึ้นมาหลังจากปี ฮ.ศ. 362, โดยมี “เป้าหมาย” เพื่อให้ความสำคัญและให้เกียรติกับ “วันเกิด” ของท่านนบีย์, .. แถมยังมี “วิธีการ” และ “รูปแบบ” การให้เกียรติเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งเท่าที่เห็นทำกันมาก็คือหากมีการจัดกันที่บ้าน ก็จะมีการร่วมกันอ่านหนังสือ “บัรฺซันญีย์” หรือ “บุรฺดะฮ์” .. อันเป็นบทร้อยกรองบรรยายถึงชีวประวัติของท่าน .. และเมื่อถึงตอนที่กล่าวถึงการกำเนิดของท่านนบีย์ ทุกคนก็จะลุกขึ้นยืนพร้อมๆกัน นัยว่าเพื่อให้เกียรติท่าน (แถมบางคนยังเชื่อว่า ท่านนบีย์จะมาร่วมปรากฏตัวและสัมผัสมือกับพวกเขาในขณะนั้นด้วย หลายคนจึงยืนในลักษณะแบมือออกเพื่อรับการ “สัมผัสมือ” กับท่านนบีย์) ... และหลังจากการอ่านดุอาที่ถูกรัอยกรองขึ้นอย่างไพเราะเพราะพริ้งและยืดยาวจบลง ก็จะมีการร่วมรับประทานอาหารกันเป็นการส่งท้าย, ... แถมในบางท้องที่เมื่อเสร็จพิธีเมาลิดแล้ว ยังมีการแจก “จาด” คือของชำร่วยอันเป็นขนมต่างๆที่ถูกใส่ในหม้อหรือถังน้ำใบเล็กๆหุ้มด้วยกระดาษแก้วสวยงาม ให้ผู้มาร่วมงานเมาลิดได้ถือติดไม้ติดมือกลับไปฝากลูกหลานที่บ้านอีกต่างหาก ..
ต่อมา การทำเมาลิดด้วยวิธีการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ได้ขยายตัวออกไปในบางท้องที่ด้วยการจัดให้มีพิธีกรรมเมาลิดและอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์ใน “ทุกๆงานเลี้ยง” ที่จัดขึ้น .. ไม่ใช่เฉพาะในวันเกิดท่านนบีย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังแพร่ระบาดและครอบคลุมไปถึงงานแต่งงาน, การทำอะกีเกาะฮ์, การขึ้นบ้านใหม่ และไม่เว้นแม้แต่ในการทำบุญ (??) บ้านคนตาย โดยที่นอกจากจะไม่มีเสียงคัดค้านใดๆแล้ว ยังได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ท่านผู้รู้” ในท้องที่เป็นอย่างดีอีกด้วย ...
ที่กล่าวมานี้ คือรูปแบบการทำเมาลิด ที่จัดขึ้นในประเทศไทย, --- โดยเฉพาะในภาคใต้ --- เข้าใจว่า ในต่างประเทศ แม้แต่ประเทศอียิปต์อันเป็นต้นกำเนิดของงานเมาลิดเอง ก็คงจะไม่มีการอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์, หรือการแจกจาด, หรือการเดิน “กิน” งานเมาลิดวันละ 4-5 บ้านหรือมากกว่านั้น .. อย่างในประเทศไทยแน่ๆ ...
การให้เกียรติและให้ความสำคัญกับ “วันเกิด” ของท่านนบีย์ด้วยวิธีการ ดังกล่าว ถือเป็นรูปแบบที่มุสลิมยุคแรกอันถือว่าเป็นยุคที่เลอเลิศที่สุด คือ ยุคของท่านศาสดาเอง, ยุคของเศาะหาบะฮ์, ยุคของตาบิอีน, ยุคของตาบิอิตตาบิอีน หรือยุคหลังจากนั้นมาอีกร่วมร้อยกว่าปี ไม่เคยมีใครรู้จัก “วิธีการ” แสดงความรักต่อตัวท่านนบีย์หรือต่อวันเกิดของท่านนบีย์ ในรูปแบบนี้มาก่อนเลย .. ด้วยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ...
ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกที่มีนักวิชาการจำนวนมากคัดค้านพิธีกรรมเมาลิดและมองว่า การทำเมาลิด ถือว่าเป็น “อุตริกรรม” หรือเป็น “บิดอะฮ์ที่ต้องห้าม” ..
การคัดค้านดังกล่าว มิใช่เพิ่งจะมีขึ้นในยุคหลังๆนี้เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีขึ้นตั้งแต่มีการริเริ่มพิธีกรรมเมาลิดในประเทศอียิปต์ยุคแรกด้วยซ้ำไป ... ดังที่ผู้เขียนประวัติงานเมาลิดแทบทุกท่าน ต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรมเมาลิดในประเทศอียิปต์อันเป็นแหล่งกำเนิด ต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายครั้ง กว่าผู้ที่นิยมในพิธีกรรมดังกล่าวนี้ จะพยายามอนุรักษ์มันไว้อย่างสุดความสามารถ แล้วสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันในที่สุด ...
หากจะมีการอ้างว่า ... งานเมาลิดที่จัดขึ้นมิใช่มีเป้าหมายเพื่อให้เกียรติวันเกิดของท่านศาสดาเป็นการเฉพาะหรอก แต่เป้าหมายจริงๆก็เพื่อเป็นการแสดงความรักและให้เกียรติตัวท่านศาสดานั่นแหละ .. เพียงแต่มา “กำหนด” จัดงานแสดงความรักขึ้นในวันที่ตรงกับวันเกิดของท่านเท่านั้น เพราะถือว่า วันเกิดของท่านเป็นวันที่มุสลิมทุกคนควรจะปลาบปลื้มยินดีในความโปรดปรานที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงให้ท่านศาสดาถือกำเนิดมาในวันนั้น .. และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมาลิด ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมทั้งสิ้น อาทิเช่น การเลี้ยงอาหาร, การอ่านหนังสือชีวประวัติของท่าน, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน, การซิกรุ้ลลอฮ์ เป็นต้น ...
ก็ขอเรียนว่า ข้ออ้างดังกล่าวนี้แหละ จะยิ่ง “ตอกย้ำ” ความเป็น “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” อันเป็นเรื่องต้องห้ามของงานเมาลิดให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ...
การแสดงออกถึงความรักที่มีต่อ “ตัว” ท่านศาสดาตามแบบฉบับของบรรดาเศาะหาบะฮ์ก็คือ การปฏิบัติตามท่าน, เชื่อฟังท่าน, กระทำตามคำสั่งของท่าน, ละเว้นข้อห้ามของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่านทั้งที่ลับและที่แจ้ง, เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อท่านและเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้งกาย วาจา และใจ, และหันกลับไปหา “ซุนนะฮ์” ของท่านเมื่อยามเกิดความขัดแย้งในระหว่างพวกเขา และต้องการจะยุติมัน... ซึ่งการกระทำสิ่งต่างๆดังกล่าวข้างต้นนี้ได้ พวกท่านจะปฏิบัติมัน เท่าที่พวกท่านสามารถและโอกาสอำนวยให้ โดยไม่ได้จำกัดเวลา, ไม่จำกัดสถานที่, และไม่ได้กำหนดรูปแบบใดๆขึ้นมาเองโดยพลการ ...
ส่วนวิธีการแสดงความรักหรือให้เกียรติท่านด้วยรูปแบบ “ประจบสอพลอ” ดังที่นิยมปฏิบัติกันในปัจจุบัน .. อย่างเช่น การยืนขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน ... ปรากฏว่า ในกรณีนี้ เป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจจนบรรดาเศาะหาบะฮ์ “แหยง” และไม่กล้าปฏิบัติต่อท่าน ดังรายละเอียดที่ผมจะเขียนชี้แจงในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความรักในตัวท่านศาสดามากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่า จะมีเศาะหาบะฮ์ท่านใดแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่าน ด้วยการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ท่านเสียใหญ่โตอย่างที่เรียกกันว่า “การทำเมาลิด” เหมือนพวกเราบางคนในปัจจุบัน ...
ส่วนการให้ความสำคัญต่อ “วันเกิด” ของท่านศาสดา ด้วยการจัดงานเมาลิดหรือพิธีกรรมเฉลิมฉลองวันเกิดของท่าน, เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ทั้ง “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” ของมัน แตกต่างกับ “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” แสดงความรักใน “ตัว” ท่านดังที่กล่าวมาแล้ว ...
ทั้งนี้ เพราะการจัดงานเมาลิด ถือเป็นพิธีกรรม “ใหม่” ที่ถูกริเริ่มขึ้นมาหลังจากปี ฮ.ศ. 362, โดยมี “เป้าหมาย” เพื่อให้ความสำคัญและให้เกียรติกับ “วันเกิด” ของท่านนบีย์, .. แถมยังมี “วิธีการ” และ “รูปแบบ” การให้เกียรติเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งเท่าที่เห็นทำกันมาก็คือหากมีการจัดกันที่บ้าน ก็จะมีการร่วมกันอ่านหนังสือ “บัรฺซันญีย์” หรือ “บุรฺดะฮ์” .. อันเป็นบทร้อยกรองบรรยายถึงชีวประวัติของท่าน .. และเมื่อถึงตอนที่กล่าวถึงการกำเนิดของท่านนบีย์ ทุกคนก็จะลุกขึ้นยืนพร้อมๆกัน นัยว่าเพื่อให้เกียรติท่าน (แถมบางคนยังเชื่อว่า ท่านนบีย์จะมาร่วมปรากฏตัวและสัมผัสมือกับพวกเขาในขณะนั้นด้วย หลายคนจึงยืนในลักษณะแบมือออกเพื่อรับการ “สัมผัสมือ” กับท่านนบีย์) ... และหลังจากการอ่านดุอาที่ถูกรัอยกรองขึ้นอย่างไพเราะเพราะพริ้งและยืดยาวจบลง ก็จะมีการร่วมรับประทานอาหารกันเป็นการส่งท้าย, ... แถมในบางท้องที่เมื่อเสร็จพิธีเมาลิดแล้ว ยังมีการแจก “จาด” คือของชำร่วยอันเป็นขนมต่างๆที่ถูกใส่ในหม้อหรือถังน้ำใบเล็กๆหุ้มด้วยกระดาษแก้วสวยงาม ให้ผู้มาร่วมงานเมาลิดได้ถือติดไม้ติดมือกลับไปฝากลูกหลานที่บ้านอีกต่างหาก ..
ต่อมา การทำเมาลิดด้วยวิธีการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ได้ขยายตัวออกไปในบางท้องที่ด้วยการจัดให้มีพิธีกรรมเมาลิดและอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์ใน “ทุกๆงานเลี้ยง” ที่จัดขึ้น .. ไม่ใช่เฉพาะในวันเกิดท่านนบีย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังแพร่ระบาดและครอบคลุมไปถึงงานแต่งงาน, การทำอะกีเกาะฮ์, การขึ้นบ้านใหม่ และไม่เว้นแม้แต่ในการทำบุญ (??) บ้านคนตาย โดยที่นอกจากจะไม่มีเสียงคัดค้านใดๆแล้ว ยังได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ท่านผู้รู้” ในท้องที่เป็นอย่างดีอีกด้วย ...
ที่กล่าวมานี้ คือรูปแบบการทำเมาลิด ที่จัดขึ้นในประเทศไทย, --- โดยเฉพาะในภาคใต้ --- เข้าใจว่า ในต่างประเทศ แม้แต่ประเทศอียิปต์อันเป็นต้นกำเนิดของงานเมาลิดเอง ก็คงจะไม่มีการอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์, หรือการแจกจาด, หรือการเดิน “กิน” งานเมาลิดวันละ 4-5 บ้านหรือมากกว่านั้น .. อย่างในประเทศไทยแน่ๆ ...
การให้เกียรติและให้ความสำคัญกับ “วันเกิด” ของท่านนบีย์ด้วยวิธีการ ดังกล่าว ถือเป็นรูปแบบที่มุสลิมยุคแรกอันถือว่าเป็นยุคที่เลอเลิศที่สุด คือ ยุคของท่านศาสดาเอง, ยุคของเศาะหาบะฮ์, ยุคของตาบิอีน, ยุคของตาบิอิตตาบิอีน หรือยุคหลังจากนั้นมาอีกร่วมร้อยกว่าปี ไม่เคยมีใครรู้จัก “วิธีการ” แสดงความรักต่อตัวท่านนบีย์หรือต่อวันเกิดของท่านนบีย์ ในรูปแบบนี้มาก่อนเลย .. ด้วยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ...
ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกที่มีนักวิชาการจำนวนมากคัดค้านพิธีกรรมเมาลิดและมองว่า การทำเมาลิด ถือว่าเป็น “อุตริกรรม” หรือเป็น “บิดอะฮ์ที่ต้องห้าม” ..
การคัดค้านดังกล่าว มิใช่เพิ่งจะมีขึ้นในยุคหลังๆนี้เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีขึ้นตั้งแต่มีการริเริ่มพิธีกรรมเมาลิดในประเทศอียิปต์ยุคแรกด้วยซ้ำไป ... ดังที่ผู้เขียนประวัติงานเมาลิดแทบทุกท่าน ต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรมเมาลิดในประเทศอียิปต์อันเป็นแหล่งกำเนิด ต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายครั้ง กว่าผู้ที่นิยมในพิธีกรรมดังกล่าวนี้ จะพยายามอนุรักษ์มันไว้อย่างสุดความสามารถ แล้วสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันในที่สุด ...
หากจะมีการอ้างว่า ... งานเมาลิดที่จัดขึ้นมิใช่มีเป้าหมายเพื่อให้เกียรติวันเกิดของท่านศาสดาเป็นการเฉพาะหรอก แต่เป้าหมายจริงๆก็เพื่อเป็นการแสดงความรักและให้เกียรติตัวท่านศาสดานั่นแหละ .. เพียงแต่มา “กำหนด” จัดงานแสดงความรักขึ้นในวันที่ตรงกับวันเกิดของท่านเท่านั้น เพราะถือว่า วันเกิดของท่านเป็นวันที่มุสลิมทุกคนควรจะปลาบปลื้มยินดีในความโปรดปรานที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงให้ท่านศาสดาถือกำเนิดมาในวันนั้น .. และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมาลิด ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมทั้งสิ้น อาทิเช่น การเลี้ยงอาหาร, การอ่านหนังสือชีวประวัติของท่าน, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน, การซิกรุ้ลลอฮ์ เป็นต้น ...
ก็ขอเรียนว่า ข้ออ้างดังกล่าวนี้แหละ จะยิ่ง “ตอกย้ำ” ความเป็น “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” อันเป็นเรื่องต้องห้ามของงานเมาลิดให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ...
จริงอยู่, ความรักและการให้เกียรติท่านนบีย์ เป็นสิ่งที่ดี และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมาลิดดังที่กล่าวมานั้นโดยหลักการทั่วไป ก็เป็นสิ่งที่ดีและเป็นเรื่องที่ศาสนาส่งเสริม แต่เราต้องไม่ลืมว่า สิ่ง “ดี” ใดๆที่จะถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ก็ต่อเมื่อเราปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเทศะของมันด้วย ...
หากปฏิบัติให้ผิดกาลเทศะเมื่อไร สิ่ง “ดีๆ” ก็อาจจะกลายเป็น “สิ่งไม่ดี” ได้เช่นเดียวกัน ...
และดังได้กล่าวมาแล้วในหน้าที่ 6 ว่า การแสดงออกถึงความรักและการให้เกียรติท่านศาสดาตามแบบฉบับที่ถูกต้องของบรรดาเศาะหาบะฮ์นั้น หลักใหญ่ของมันก็คือ การ “ปฏิบัติตามและฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่าน” อย่างเคร่งครัดเท่าที่สามารถและโอกาสอำนวยให้ โดยพวกท่านจะไม่เคยไปกำหนดเวลา, กำหนดสถานที่, หรือกำหนดรูปแบบใดๆเพื่อแสดงความรักท่านศาสดาขึ้นมาเองโดยพลการอย่างพวกเราเลย ...
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” ของท่าน หน้าที่ 281 ว่า ...
หากปฏิบัติให้ผิดกาลเทศะเมื่อไร สิ่ง “ดีๆ” ก็อาจจะกลายเป็น “สิ่งไม่ดี” ได้เช่นเดียวกัน ...
และดังได้กล่าวมาแล้วในหน้าที่ 6 ว่า การแสดงออกถึงความรักและการให้เกียรติท่านศาสดาตามแบบฉบับที่ถูกต้องของบรรดาเศาะหาบะฮ์นั้น หลักใหญ่ของมันก็คือ การ “ปฏิบัติตามและฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่าน” อย่างเคร่งครัดเท่าที่สามารถและโอกาสอำนวยให้ โดยพวกท่านจะไม่เคยไปกำหนดเวลา, กำหนดสถานที่, หรือกำหนดรูปแบบใดๆเพื่อแสดงความรักท่านศาสดาขึ้นมาเองโดยพลการอย่างพวกเราเลย ...
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” ของท่าน หน้าที่ 281 ว่า ...
فَإِنَّ السَّلَفَ الصَّالِحَ لَمْ يَكُنْ لَهُمْ عَادَةٌ بِتَخْصِيْصِ يَوْمٍ أَوْ لَيْلَةٍ بِالْعِبَادَاتِ إِلاَّ إِذَا ثَبَتَ ذَلِكَ عَنِ النَّبِىِّ عَلَيْهِ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمَ وَصَحَابَتِهِ الْكِرَامِ فَجَاءَ بَعْدَهُمْ هَؤُلاَءِ وَعَكَسُواالْحَالَ ....
“บรรดาบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆนั้น ปกติแล้วพวกเขาจะไม่เคยไป “กำหนด” วันไหนหรือคืนไหนเพื่อทำอิบาดะฮ์ใดๆเป็นพิเศษเลย นอกจากจะมีหลักฐาน “กำหนด” ชัดเจนมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมหรือจากเศาะหาบะฮ์ผู้ทรงเกียรติของท่านเท่านั้น .. แล้วต่อมา ชนยุคหลังจากพวกท่านก็ได้มาเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ดังกล่าว (โดยการกำหนดวันเวลา, สถานที่ หรือรูปแบบในการทำอิบาดะฮ์หรือทำความดีใดๆกันเองโดยพลการ) ...
สรุปแล้ว การทำ “สิ่งดี” ตามหลักการศาสนา จึงตั้งอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ...
1. ทำสิ่งดีนั้นให้ถูกกาลเทศะของมัน ...
2. อย่าไปกำหนดเวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำความดีใดๆเอาเองโดยพลการ หากศาสนามิได้กำหนดสิ่งดังกล่าวเอาไว้ในการทำความดีนั้นๆ ...
หากขาดพื้นฐานประการใดประการหนึ่งจาก 2 ประการนี้ การกระทำสิ่งดีนั้นก็อาจจะส่ง “ผลลัพธ์” ในด้านตรงข้ามไปก็ได้ ....
ความจริง “ตัวอย่างเปรียบเทียบ” เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เคยมีให้เห็นมากมาย ... แม้กระทั่งหลักฐานที่มาจากตัวท่านศาสดาเอง ...
ตัวอย่างเช่น ...
1. วันศุกร์ คือวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบสัปดาห์, การถือศีลอด ก็เป็นอิบาดะฮ์ที่สำคัญและเป็นหนึ่งจากรุก่นอิสลามทั้งห้า ...
แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” จากการ “กำหนด” เอาวันศุกร์ โดยเฉพาะ เป็นวันถือศีลอด ? ...
การทำสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ทำไมจึงเป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...
สรุปแล้ว การทำ “สิ่งดี” ตามหลักการศาสนา จึงตั้งอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ...
1. ทำสิ่งดีนั้นให้ถูกกาลเทศะของมัน ...
2. อย่าไปกำหนดเวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำความดีใดๆเอาเองโดยพลการ หากศาสนามิได้กำหนดสิ่งดังกล่าวเอาไว้ในการทำความดีนั้นๆ ...
หากขาดพื้นฐานประการใดประการหนึ่งจาก 2 ประการนี้ การกระทำสิ่งดีนั้นก็อาจจะส่ง “ผลลัพธ์” ในด้านตรงข้ามไปก็ได้ ....
ความจริง “ตัวอย่างเปรียบเทียบ” เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เคยมีให้เห็นมากมาย ... แม้กระทั่งหลักฐานที่มาจากตัวท่านศาสดาเอง ...
ตัวอย่างเช่น ...
1. วันศุกร์ คือวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบสัปดาห์, การถือศีลอด ก็เป็นอิบาดะฮ์ที่สำคัญและเป็นหนึ่งจากรุก่นอิสลามทั้งห้า ...
แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” จากการ “กำหนด” เอาวันศุกร์ โดยเฉพาะ เป็นวันถือศีลอด ? ...
การทำสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ทำไมจึงเป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...
2. การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นงานที่ดีที่สุด, การรุกั๊วะอฺและการสุญูดในการนมาซ ก็เป็นอิริยาบถที่ดีที่สุดในขณะนมาซ ...
แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” จากการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ไม่ว่าซูเราะฮ์ใด .. ในขณะรุกั๊วะอฺและขณะสุญูด ? ...
การทำสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ในอิริยาบถที่ดี ทำไมจึงเป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...
แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” จากการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ไม่ว่าซูเราะฮ์ใด .. ในขณะรุกั๊วะอฺและขณะสุญูด ? ...
การทำสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ในอิริยาบถที่ดี ทำไมจึงเป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...
3. มัสญิดทุกๆมัสญิดในโลกนี้ เป็นสถานที่ดีเลิศที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และการทำอิบาดะฮ์ก็เป็นเรื่องดีที่ไม่มีข้อขัดแย้ง ...
แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” เดินทางโดยมี “เป้าหมาย” เพื่อไปทำอิบาดะฮ์ในมัสญิดใดๆเป็นการเฉพาะ .. ยกเว้น 3 มัสญิด คือมัสญิดหะรอมที่มักกะฮ์, มัสญิดนะบะวีย์ที่มะดีนะฮ์, และมัสญิดอัล-อักซอที่เยรูซาเล็ม ? ...
การทำสิ่งดี คือไปนมาซในมัสญิด ทำไมจึงเป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...
แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” เดินทางโดยมี “เป้าหมาย” เพื่อไปทำอิบาดะฮ์ในมัสญิดใดๆเป็นการเฉพาะ .. ยกเว้น 3 มัสญิด คือมัสญิดหะรอมที่มักกะฮ์, มัสญิดนะบะวีย์ที่มะดีนะฮ์, และมัสญิดอัล-อักซอที่เยรูซาเล็ม ? ...
การทำสิ่งดี คือไปนมาซในมัสญิด ทำไมจึงเป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...
4. การกล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นบทบัญญัติที่มุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติเสมอเท่าที่โอกาสจะอำนวยให้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ..
แล้วเหตุใด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. จึงกล่าวห้ามปรามชายผู้หนึ่งที่กล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ เพียงเพราะเขาไป “กำหนด” การให้สล่ามดังกล่าวร่วมกับการกล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. หลังจากการจาม ...
ชายผู้นั้น มิได้ละทิ้งการกล่าว اَلْحَمْدُ لِلَّـهِ หลังจากการจามแต่อย่างใด เขาเพียงแต่เพิ่ม “สิ่งดี” คือ การกล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์เข้าไปด้วยเท่านั้น ...
การกล่าวสล่ามแก่ท่านนบีย์ เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยหรือ ? ...
แล้วเหตุใด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. จึงกล่าวห้ามปรามชายผู้หนึ่งที่กล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ เพียงเพราะเขาไป “กำหนด” การให้สล่ามดังกล่าวร่วมกับการกล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. หลังจากการจาม ...
ชายผู้นั้น มิได้ละทิ้งการกล่าว اَلْحَمْدُ لِلَّـهِ หลังจากการจามแต่อย่างใด เขาเพียงแต่เพิ่ม “สิ่งดี” คือ การกล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์เข้าไปด้วยเท่านั้น ...
การกล่าวสล่ามแก่ท่านนบีย์ เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยหรือ ? ...
5. การร่วมกันกล่าว “ซิกรุ้ลลอฮ์” ในมัสญิดหรือในสถานที่เหมาะสมใดๆ เป็นสิ่งดีที่ท่านศาสดากล่าวสนับสนุน และท่านกล่าวรับรองว่า ผู้ที่ร่วมกันซิกรุ้ลลอฮ์ดังกล่าวจะได้รับความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ...
แต่ทำไม ท่านอิบนุ มัสอูด ร.ฎ. จึงได้กล่าว “ตำหนิ” และประณามกลุ่มชนที่ “ร่วมกัน” กล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ในมัสญิดแห่งหนึ่ง ว่า เป็นพวกที่ทำอุตริกรรมของศาสนา ดังการบันทึกของท่าน อัด-ดาริมีย์ในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 79 หรือหะดีษที่ 204, ...
กลุ่มชนเหล่านั้น ทำผิดอะไรหรือในเมื่อสิ่งที่พวกเขากระทำก็เป็นสิ่งดี คือ การร่วมกันซิกรุลลอฮ์ในมัสญิด .. ตามที่ท่านนบีย์ส่งเสริมให้ทำ, เพียงแต่พวกเขาได้ “กำหนด” รูปแบบการซิกรุ้ลลอฮ์ของพวกเขาให้แตกต่างจากผู้อื่นไปบ้างเท่านั้น ? ...
ตัวอย่างต่างๆที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า การทำ “สิ่งดี” ที่ศาสนาอนุญาตให้เราทำได้โดยทั่วๆไปนั้น ถ้าเรามา “กำหนด” เวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำสิ่งดีเหล่านั้นเอาเองโดยพลการก็ดี, .. หรือทำสิ่งดีผิดกาลเทศะก็ดี ถือว่า เป็นเรื่องต้องห้ามหรืออย่างน้อยก็เป็นเรื่อง “ไม่สมควร” ในมุมมองของเศาะหาบะฮ์และบรรพชนยุคแรกของอิสลาม ...
(13)
แต่ทำไม ท่านอิบนุ มัสอูด ร.ฎ. จึงได้กล่าว “ตำหนิ” และประณามกลุ่มชนที่ “ร่วมกัน” กล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ในมัสญิดแห่งหนึ่ง ว่า เป็นพวกที่ทำอุตริกรรมของศาสนา ดังการบันทึกของท่าน อัด-ดาริมีย์ในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 79 หรือหะดีษที่ 204, ...
กลุ่มชนเหล่านั้น ทำผิดอะไรหรือในเมื่อสิ่งที่พวกเขากระทำก็เป็นสิ่งดี คือ การร่วมกันซิกรุลลอฮ์ในมัสญิด .. ตามที่ท่านนบีย์ส่งเสริมให้ทำ, เพียงแต่พวกเขาได้ “กำหนด” รูปแบบการซิกรุ้ลลอฮ์ของพวกเขาให้แตกต่างจากผู้อื่นไปบ้างเท่านั้น ? ...
ตัวอย่างต่างๆที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า การทำ “สิ่งดี” ที่ศาสนาอนุญาตให้เราทำได้โดยทั่วๆไปนั้น ถ้าเรามา “กำหนด” เวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำสิ่งดีเหล่านั้นเอาเองโดยพลการก็ดี, .. หรือทำสิ่งดีผิดกาลเทศะก็ดี ถือว่า เป็นเรื่องต้องห้ามหรืออย่างน้อยก็เป็นเรื่อง “ไม่สมควร” ในมุมมองของเศาะหาบะฮ์และบรรพชนยุคแรกของอิสลาม ...
(13)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น