::ตอนที่ 4::
.
(8). สตรีที่ทำซินาต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์หรือไม่ ?
อันเนื่องมาจากอิดดะฮ์ของสตรีที่ทำซินา ไม่มีปรากฏทั้งในอัล-กุรอานและอัล-หะดีษ นักวิชาการอิสลามจึงมีทัศนะขัดแย้งกันในเรื่องนี้ ...
นักวิชาการส่วนใหญ่ตั้งแต่ยุคเศาะหาบะฮ์ อาทิเช่น ท่านอบูบักรฺ ร.ฎ., ท่านอุมัรฺ ร.ฎ., และยุคหลังจากเศาะหาบะฮ์ เช่นท่านซูฟยานอัษ-เษารีย์, ท่านอบูหะนีฟะฮ์, ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ฯลฯ ถือว่า สตรีที่ซินา สามารถนิกาห์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอิดดะฮ์ ไม่ว่านางจะกำลังตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม ...
ท่านอบูฎ็อยยิบ มุหัมมัด อัล-อาบาดีย์ นักวิชาการหะดีษยุคหลัง ก็เป็นนักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่มีทัศนะดังกล่าวนี้ ดังที่ท่านได้เขียนฟุตโน้ตไว้ในหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 3 หน้า 269 ซึ่งผมได้เน้นย้ำไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้น ...
.
ส่วนท่านอิหม่ามมาลิกและท่านอิหม่ามอะห์มัดถือว่า นางจะต้องหมดอิดดะฮ์เสียก่อนจึงจะนิกาห์ได้ ...
อีกทัศนะหนึ่งของท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า นางจะต้องผ่านการอิสติบรออ์เสียก่อนจึงจะนิกาห์ได้ ดังกล่าวมาแล้ว ...
ในทัศนะส่วนตัวของผม - หลังจากที่ได้ตรวจสอบหลักฐานของทั้งสองฝ่ายอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว - ผมเห็นด้วยกับทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ในเรื่องนี้ ...
เพราะนอกจากอิดดะฮ์ของสตรีที่ทำซินาจะไม่มีปรากฏทั้งในอัล-กุรฺอานและอัล-หะดีษดังกล่าวมาแล้ว การกำหนดให้สตรีที่ทำซินาต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์ ยังขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ในการกำหนด “กรอบ” อิดดะฮ์ของสตรีอีกด้วย ...
คำอธิบายในเรื่องนี้ มีดังต่อไปนี้ ...
ท่านอับดุรฺเราะห์มาน อัล-ญะซีรีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-ฟิกฮ์ อะลัลมะษาฮิบ อัล-อัรฺบะอะฮ์” หรือหนังสือฟิกฮ์ 4 มัษฮับ เล่มที่ 4 หน้า 119 ไว้ดังนี้ ...
إِعْلَمْ أَنَّ كُلَّ وَطْءٍ لاَ يَجِبُ بِهِ الْحَدُّ عَلَى الْفَاعِلِ يُوْجِبُ الْعِدَّةَ ............. وَإِلاَّ كَانَ زِنًا وَلاَ يَثْبُتُ بِهِ شَىْءٌ وَيُوْجِبُ الْحَدَّ ..
“พึงทราบเถิดว่า ทุกๆเพศสัมพันธ์ที่ผู้กระทำ (และ/หรือผู้ถูกกระทำ)ไม่ต้องถูกลงโทษ เพศสัมพันธ์นั้นก็ทำให้จำเป็นต้องมีอิดดะฮ์ ........ ถ้ามิฉะนั้น ก็จะถือว่าเป็นการซินาซึ่งไม่มีสิ่งใด (เช่นอิดดะฮ์, การสืบสายเลือด, การจ่ายมะฮัรฺ) เป็นภาระผูกพันด้วยกับการซินานั้น และจำเป็นจะต้องถูกลงโทษด้วย” ...
อธิบาย
ความหมายจากคำกล่าวข้างต้นก็คือ การร่วมเพศใดๆที่ผู้ชาย(และ/หรือผู้หญิงที่ถูกร่วมเพศ) ไม่ต้องถูกลงโทษจากการร่วมเพศนั้น(เช่นการร่วมเพศระหว่างสามีภรรยา หรือการร่วมเพศระหว่างเจ้านายกับทาสหญิง) การร่วมเพศดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงต้องมีอิดดะฮ์! .. แตกต่างจากการร่วมเพศที่ผู้กระทำและ/หรือผู้ถูกกระทำต้องถูกลงโทษ(เช่นซินา) การร่วมเพศดังกล่าวก็ไม่มีผลทำให้เกิดอิดดะฮ์, ไม่มีผลด้านการสืบสายเลือดระหว่างบิดากับบุตร และไม่มีผลด้านมะฮ์ฮัรฺ ...
อธิบายสั้นๆให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ...
ก. ถ้าเป็นเพศสัมพันธ์ที่หะล้าล ผู้หญิงก็ต้องมีอิดดะฮ์ ...
ข. ถ้าเป็นเพศสัมพันธ์ที่หะรอม ผู้หญิงก็ไม่ต้องมีอิดดะฮ์ ...
เมื่อเราตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของอิดดะฮ์ (และอิสติบรออ์) ของสตรีจากอัล-กุรฺอานและอัล-หะดีษทั้งหมดแล้ว ...
ผมถือว่ากฎเกณฑ์ข้อนี้ เป็นเรื่องถูกต้อง ...
ตัวอย่างเช่น ...
ก. กรณีสามีภรรยา .. การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง เป็นเพศสัมพันธ์ที่หะล้าลและไม่ต้องถูกลงโทษ ภรรยาจึงต้องมีอิดดะฮ์ ...
ข. กรณีของทาสหญิง .. แม้นายทาสจะมิใช่เป็นสามี แต่ก็เปรียบเสมือนสามีของนาง การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองจึงหะล้าลและไม่ต้องถูกลงโทษ ทาสหญิงคนนั้นจึงต้องมีอิดดะฮ์ ...
ค. กรณีเชลยศึกหญิง .. การมีเพศสัมพันธ์ของนางกับสามีก่อนถูกจับเป็นเชลย ก็เป็นเพศสัมพันธ์ที่หะล้าลและไม่ต้องถูกลงโทษ เชลยหญิงคนนั้นจึงต้องมีการอิสติบรออ์ ซึ่งก็คล้ายๆกับการมีอิดดะฮ์ ...
เพราะฉะนั้น หลังจากสามีหย่า, หลังจากสามีตาย, หลังจากถูกขายแก่ผู้อื่น หรือหลังจากถูกจับเป็นเชลยแล้ว สตรีเหล่านี้ก็จำเป็นต้องมี “อิดดะฮ์” ในกรณีหญิงที่เป็นอิสรชนหรือเป็นทาส, หรือต้องมี “อิสติบรออ์” ในกรณีหญิงเชลย ก่อนที่จะแต่งงานใหม่ หรือก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเจ้านายคนใหม่ ...
กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นอาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี อย่างเช่นกรณีที่สตรีซึ่งบรรลุศาสนภาวะแล้ว สมัครใจทำซินากับคนวิกลจริตหรือเด็กผู้ชายที่อายุยังไม่ครบเกณฑ์ เป็นต้น ...
กรณีนี้ถือว่า การกระทำของสตรีผู้นั้นเป็นสิ่งหะรอมเพราะทำซินาด้วยความสมัครใจและนางจะต้องถูกลงโทษด้วย .. และหากนางมีบุตรจากเพศสัมพันธ์นั้นก็ให้มีการสืบสกุลระหว่างบิดาที่วิกลจริตหรือบิดาที่ยังเยาว์กับบุตรได้ ...
ส่วนคู่กรณีหรือตัว “ผู้กระทำ” ซินากับนาง เป็นคนวิกลจริตและยังเยาว์ จึงถูกยกเว้นจากการถูกลงโทษฐานทำซินา ตามบทบัญญัติของศาสนา ...
เมื่อผู้กระทำไม่ต้องถูกลงโทษและไม่มีผิดบาป นางจึงจำเป็นต้องมีอิดดะฮ์จากการกระทำนั้น ...
หรือกรณีที่สตรีคนใดถูกข่มขืน ไม่ว่าจะทำให้นางตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม นางก็ไม่มีความผิดและไม่ต้องถูกลงโทษจากการถูกร่วมเพศในลักษณะนี้ ...
ดังนั้น หากสตรีผู้นั้นต้องการนิกาห์กับผู้ชายสักคนหนึ่งหลังจากถูกข่มขืน นางก็ต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์ ...
คือหากนางไม่ตั้งครรภ์ก็ต้องมีประจำเดือน 3 ครั้งหลังจากถูกข่มขืน, หรือหากตั้งครรภ์ก็ต้องรอให้คลอดบุตรเสียก่อน ...
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กรณีในตัวอย่างข้างต้นนี้ อิสลามจะให้น้ำหนักกับผู้ที่อิสลามถือว่าไม่ต้องถูกลงโทษและไม่มีผิดบาปจากการซินา (อันได้แก่เด็กหรือคนวิกลจริตในกรณีที่หนึ่ง และสตรีที่ถูกข่มขืนในกรณีที่สอง) ...
การมีเพศสัมพันธ์ทั้ง 2 กรณีข้างต้นจึงทำให้สตรีต้องมีอิดดะฮ์ ...
แต่ .. ตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ผู้ชายและผู้หญิงที่ทำซินากัน - ทุกคู่ - จะไม่ถูกจัดเข้าอยู่ในข้อยกเว้นดังการสมมุติข้างต้น เพราะล้วนเป็นการซินาของผู้ที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว และสมยอมด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ...
ทั้งสองจึงร่วมกันทำบาปหนักและจะต้องถูกลงโทษเนื่องจากทำซินาตามหลักการศาสนา ...
เพราะฉะนั้น เมื่อการร่วมเพศของผู้ที่ทำซินาในปัจจุบันเป็นความผิดและจะต้องถูกลงโทษ นางจึงไม่จำเป็นต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์แต่ประการใด ...
สรุปแล้ว มูลเหตุที่ทำให้สตรีต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์ใหม่ หรือต้องมีอิสติบรออ์ก่อนมีเพศสัมพันธ์กับเจ้านายใหม่ จะต้องประกอบขึ้นจากปัจจัยหลัก 2 ประการคือ ...
1. การร่วมเพศระหว่างสตรีกับผู้ชายที่ทำให้นางมีอิดดะฮ์ จะต้องเป็นการร่วมเพศที่ไม่ผิดหลักการ .. คือ ผู้กระทำและ/หรือผู้ถูกกระทำไม่ต้องถูกลงโทษ อันเนื่องมาจากการเป็นสามีภรรยาหรือเป็นเจ้านายกับทาสหญิง ...
2. มีการ “พราก” หรือ “แยก” จากกัน ระหว่างสตรีกับผู้ชายที่ทำให้นางมีอิดดะฮ์(คือสามีหรือเจ้านาย) ไม่ว่าการพรากจากกันนั้นจะเกิดจากการหย่า, การตาย, การถูกขายให้ผู้อื่น(กรณีสตรีที่เป็นทาส) หรือเพราะถูกจับเป็นเชลย ...
หากขาดมูลเหตุข้อใดข้อหนึ่งจาก 2 ข้อนี้ สตรีก็ไม่จำเป็นต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์ทั้งสิ้น ...
(9). หลักฐานของผู้กล่าวว่าสตรีที่ตั้งครรภ์จากการซินาจำเป็นต้องมีอิดดะฮ์และข้อโต้แย้ง
ตอนที่ 9 นี้ คือหัวใจหรือไฮท์ไลท์ของข้อเขียนเรื่องนี้ของผมครับ ...
ผู้ที่กล่าวว่าสตรีที่ตั้งครรภ์จากการซินาจำเป็นต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์ จะอ้างหลักฐานสนับสนุน 2 บทดังนี้ ...
หลักฐานที่ 1. จากหะดีษของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า
ผู้ที่กล่าวว่าสตรีที่ตั้งครรภ์จากการซินาจำเป็นต้องมีอิดดะฮ์ก่อนนิกาห์ จะอ้างหลักฐานสนับสนุน 2 บทดังนี้ ...
หลักฐานที่ 1. จากหะดีษของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า
لاَ تُوْطَأُْ حَامِلٌ حَتىَّ تَضَعَ، وَلاَ غَيْرُ حَامِلٍ حَتىَّ تَحِيْضَ حَيْضَةً
“สตรีที่กำลังตั้งครรภ์จะต้องไม่ถูกร่วมเพศจนกว่านางจะคลอดบุตร และสตรีที่มิได้ตั้งครรภ์(จะต้องไม่ถูกร่วมเพศ)จนกว่านางจะมีประจำเดือนหนึ่งครั้ง” ...
(หะดีษบทนี้ในภาพรวมถือเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ บันทึกโดยท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 2157, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 2295, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 62, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 7 หน้า 449 และผู้บันทึกท่านอื่นๆจากท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ ร.ฎ.) ...
ท่านอิบนุกุดามะฮ์ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” เล่มที่ 7 หน้า 515 ว่า หะดีษบทนี้มีความหมายอาม (คือครอบคลุมสตรีทุกคนที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าตั้งครรภ์จากสามีหรือจากนายทาสหรือตั้งครรภ์จากซินา จึงห้ามนิกาห์กับนางจนกว่านางจะคลอดบุตร) ...
(หะดีษบทนี้ในภาพรวมถือเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ บันทึกโดยท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 2157, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 2295, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 62, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 7 หน้า 449 และผู้บันทึกท่านอื่นๆจากท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ ร.ฎ.) ...
ท่านอิบนุกุดามะฮ์ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” เล่มที่ 7 หน้า 515 ว่า หะดีษบทนี้มีความหมายอาม (คือครอบคลุมสตรีทุกคนที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าตั้งครรภ์จากสามีหรือจากนายทาสหรือตั้งครรภ์จากซินา จึงห้ามนิกาห์กับนางจนกว่านางจะคลอดบุตร) ...
ชี้แจง
(1). ไม่ว่าจะอ่านสักกี่สิบเที่ยวก็จะเห็นชัดเจนว่า หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานเรื่อง “ห้ามร่วมเพศ” .. มิใช่เป็นหลักฐานเรื่อง “ห้ามนิกาห์ .. ดังที่ท่านอิบนุกุดามะฮ์อ้าง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ เป็นคนละกรณีกันดังได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...
(2). การมีความหมายครอบคลุม(عَامٌّ) ของหะดีษบทใดหรืออัล-กุรฺอานอายะฮ์ใด มิได้มีความหมายว่า มันจะต้องกินความรวมสิ่งนั้นๆไปเสียทั้งหมดโดยไม่มีขอบเขต ...
ตรงกันข้าม ทุกๆข้อความที่ “อาม” จะต้องมี “ขอบเขต” และ “กรอบ” ของมันเสมอ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์ของคำกล่าวและผู้ที่กล่าวด้วยว่า เจตนารมณ์จากคำกล่าวนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร และมีขอบเขตแค่ไหน ...
ตัวอย่างเช่น ...
ก. หะดีษบทหนึ่งจากการบันทึกของท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า .. اَلصَّلاَةُ خَيْرُ مَوْضُوْعٍ (การนมาซคือสิ่งดีที่สุดที่ถูกบัญญัติ) ...
แม้คำว่า “ اَلصَّلاَةُ (นมาซ)” ในหะดีษบทนี้มีความหมาย عَامٌّ (ครอบคลุม)ทุกๆคำพูดและทุกๆการกระทำที่เริ่มต้นด้วยตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอมและสิ้นสุดด้วยการให้สลามอันเป็นคำนิยามของคำว่า اَلصَّلاَةُ ก็จริง แต่การนมาซดังที่ระบุในหะดีษบทนี้มันมีกรอบว่า “หมายถึงการนมาซที่มีแบบอย่างมาจากท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” เท่านั้นถึงจะเรียกว่าเป็นบทบัญญัติที่ดี .. ไม่ใช่หมายถึงทุกๆนมาซที่ไม่มีแบบอย่างด้วย ...
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะถือตามความเข้าใจที่ว่า การครอบคลุม(عَامٌّ) ของหะดีษนี้จะรวมเข้าหมดของทุกอย่างที่มีลักษณะเป็น اَلصَّلاَةُ ข้างต้นโดยไม่มีขอบเขต, ไม่มีกรอบ ...
แล้วทำไมนักวิชาการจึงไปหุก่มว่า การนมาซเราะฆออิบ(นมาซ 12 ร็อกอะฮ์ในคืนศุกร์แรกของเดือนรอญับด้วยรูปแบบเฉพาะที่ถูกกำหนดขึ้นมาเอง) เป็นบิดอะฮ์ ? ทำไมจึงไม่กล่าวว่ามันเป็นบทบัญญัติที่ดี ตามความหมาย “عَامٌّ”ของหะดีษบทนี้ ?...
ข. คำพูดของท่านศาสดาที่ว่า كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ(ทุกๆบิดอะฮ์เป็นความหลงผิด) ก็เช่นเดียวกัน ...
คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์” เป็นคำพูดที่อาม คือครอบคลุมถึงทุกๆสิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าในเรื่องศาสนาหรือเรื่องทางโลก ...
แต่เจตนารมณ์ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจากคำพูดข้างต้นของท่าน จะหมายถึง ทุกๆสิ่งที่ “เป็นความเชื่อ” ซึ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่ในเรื่องอะกีดะฮ์, หรือ “ถูกกระทำ” ขึ้นมาใหม่ในเรื่องอิบาดะฮ์อันไม่มีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ที่เรียกกันว่า บิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์) เท่านั้นจึงจะหลงผิด ..
คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด” จึง'ไม่ได้อามหรือครอบคลุมถึงบิดอะฮ์ทางโลกหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกด้วย ซึ่งไม่มีความขัดแย้งในข้อนี้ ...
(3). หะดีษข้างต้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับสตรีที่เป็นเชลยศึกซึ่งท่านศาสดาห้ามมิให้เศาะหาบะฮ์ของท่านร่วมเพศกับสตรีที่ตกเป็นเชลยในทันที ยกเว้นนางจะต้องอิสติบรออ์ คือมีประจำเดือนหนึ่งครั้งหรือจนกว่านางจะคลอดบุตรหากนางตั้งครรภ์มาจากสามีของนางก่อนถูกจับเป็นเชลย ...
มิได้มีเป้าหมายถึงทุกๆสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ...
เพราะสมมุติ .. หากหะดีษบทนี้มีความหมายครอบคลุมว่า ห้ามร่วมเพศกับ“ทุกๆสตรีที่ตั้งครรภ์” ในทุกๆกรณีไม่มีข้อยกเว้น ผมก็อยากจะถามว่า ...
ถ้าภรรยาของเราตั้งครรภ์ การร่วมหลับนอนของเรากับภรรยาที่ตั้งครรภ์ก็เป็นที่ต้องห้ามตามความหมาย “ครอบคลุม” ของหะดีษบทนี้ด้วยกระนั้นหรือ ? ...
ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ก็แสดงว่า การครอบคลุมดังกล่าวมีขอบเขตตามเจตนารมณ์ของหะดีษ คือหมายถึงสตรีซึ่งตกเป็นเชลยโดยตั้งครรภ์มาจากสามี ...
ไม่ได้หมายถึงสตรีที่ตั้งครรภ์ทุกคน - ไม่ว่าตั้งครรภ์จากสามีหรือตั้งครรภ์จากซินา - อย่างที่อ้าง ...
เพราะฉะนั้นสรุปแล้ว หะดีษบทนี้จึงมิใช่หลักฐาน “ห้ามนิกาห์” กับสตรีที่มีครรภ์จากการซินา ...
แต่เป็นหลักฐาน “ห้ามร่วมหลับนอน” กับสตรีที่เป็นเชลยและกำลังตั้งครรภ์กับสามีจนกว่านางจะคลอดบุตร ...
(1). ไม่ว่าจะอ่านสักกี่สิบเที่ยวก็จะเห็นชัดเจนว่า หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานเรื่อง “ห้ามร่วมเพศ” .. มิใช่เป็นหลักฐานเรื่อง “ห้ามนิกาห์ .. ดังที่ท่านอิบนุกุดามะฮ์อ้าง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ เป็นคนละกรณีกันดังได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...
(2). การมีความหมายครอบคลุม(عَامٌّ) ของหะดีษบทใดหรืออัล-กุรฺอานอายะฮ์ใด มิได้มีความหมายว่า มันจะต้องกินความรวมสิ่งนั้นๆไปเสียทั้งหมดโดยไม่มีขอบเขต ...
ตรงกันข้าม ทุกๆข้อความที่ “อาม” จะต้องมี “ขอบเขต” และ “กรอบ” ของมันเสมอ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์ของคำกล่าวและผู้ที่กล่าวด้วยว่า เจตนารมณ์จากคำกล่าวนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร และมีขอบเขตแค่ไหน ...
ตัวอย่างเช่น ...
ก. หะดีษบทหนึ่งจากการบันทึกของท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า .. اَلصَّلاَةُ خَيْرُ مَوْضُوْعٍ (การนมาซคือสิ่งดีที่สุดที่ถูกบัญญัติ) ...
แม้คำว่า “ اَلصَّلاَةُ (นมาซ)” ในหะดีษบทนี้มีความหมาย عَامٌّ (ครอบคลุม)ทุกๆคำพูดและทุกๆการกระทำที่เริ่มต้นด้วยตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอมและสิ้นสุดด้วยการให้สลามอันเป็นคำนิยามของคำว่า اَلصَّلاَةُ ก็จริง แต่การนมาซดังที่ระบุในหะดีษบทนี้มันมีกรอบว่า “หมายถึงการนมาซที่มีแบบอย่างมาจากท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” เท่านั้นถึงจะเรียกว่าเป็นบทบัญญัติที่ดี .. ไม่ใช่หมายถึงทุกๆนมาซที่ไม่มีแบบอย่างด้วย ...
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะถือตามความเข้าใจที่ว่า การครอบคลุม(عَامٌّ) ของหะดีษนี้จะรวมเข้าหมดของทุกอย่างที่มีลักษณะเป็น اَلصَّلاَةُ ข้างต้นโดยไม่มีขอบเขต, ไม่มีกรอบ ...
แล้วทำไมนักวิชาการจึงไปหุก่มว่า การนมาซเราะฆออิบ(นมาซ 12 ร็อกอะฮ์ในคืนศุกร์แรกของเดือนรอญับด้วยรูปแบบเฉพาะที่ถูกกำหนดขึ้นมาเอง) เป็นบิดอะฮ์ ? ทำไมจึงไม่กล่าวว่ามันเป็นบทบัญญัติที่ดี ตามความหมาย “عَامٌّ”ของหะดีษบทนี้ ?...
ข. คำพูดของท่านศาสดาที่ว่า كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ(ทุกๆบิดอะฮ์เป็นความหลงผิด) ก็เช่นเดียวกัน ...
คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์” เป็นคำพูดที่อาม คือครอบคลุมถึงทุกๆสิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าในเรื่องศาสนาหรือเรื่องทางโลก ...
แต่เจตนารมณ์ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจากคำพูดข้างต้นของท่าน จะหมายถึง ทุกๆสิ่งที่ “เป็นความเชื่อ” ซึ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่ในเรื่องอะกีดะฮ์, หรือ “ถูกกระทำ” ขึ้นมาใหม่ในเรื่องอิบาดะฮ์อันไม่มีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ที่เรียกกันว่า บิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์) เท่านั้นจึงจะหลงผิด ..
คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด” จึง'ไม่ได้อามหรือครอบคลุมถึงบิดอะฮ์ทางโลกหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกด้วย ซึ่งไม่มีความขัดแย้งในข้อนี้ ...
(3). หะดีษข้างต้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับสตรีที่เป็นเชลยศึกซึ่งท่านศาสดาห้ามมิให้เศาะหาบะฮ์ของท่านร่วมเพศกับสตรีที่ตกเป็นเชลยในทันที ยกเว้นนางจะต้องอิสติบรออ์ คือมีประจำเดือนหนึ่งครั้งหรือจนกว่านางจะคลอดบุตรหากนางตั้งครรภ์มาจากสามีของนางก่อนถูกจับเป็นเชลย ...
มิได้มีเป้าหมายถึงทุกๆสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ...
เพราะสมมุติ .. หากหะดีษบทนี้มีความหมายครอบคลุมว่า ห้ามร่วมเพศกับ“ทุกๆสตรีที่ตั้งครรภ์” ในทุกๆกรณีไม่มีข้อยกเว้น ผมก็อยากจะถามว่า ...
ถ้าภรรยาของเราตั้งครรภ์ การร่วมหลับนอนของเรากับภรรยาที่ตั้งครรภ์ก็เป็นที่ต้องห้ามตามความหมาย “ครอบคลุม” ของหะดีษบทนี้ด้วยกระนั้นหรือ ? ...
ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ก็แสดงว่า การครอบคลุมดังกล่าวมีขอบเขตตามเจตนารมณ์ของหะดีษ คือหมายถึงสตรีซึ่งตกเป็นเชลยโดยตั้งครรภ์มาจากสามี ...
ไม่ได้หมายถึงสตรีที่ตั้งครรภ์ทุกคน - ไม่ว่าตั้งครรภ์จากสามีหรือตั้งครรภ์จากซินา - อย่างที่อ้าง ...
เพราะฉะนั้นสรุปแล้ว หะดีษบทนี้จึงมิใช่หลักฐาน “ห้ามนิกาห์” กับสตรีที่มีครรภ์จากการซินา ...
แต่เป็นหลักฐาน “ห้ามร่วมหลับนอน” กับสตรีที่เป็นเชลยและกำลังตั้งครรภ์กับสามีจนกว่านางจะคลอดบุตร ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น