โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ผมขออธิบายอีกครั้งนะครับว่า ในกรณี "เลือด" ของสัตว์ที่หะล้าลรับประทานเนื้อนั้น ถ้าเป็นเลือดที่ไหล - ซึ่งปกติจะเป็นเลือดที่ไหลจากคอสัตว์ขณะถูกเชือด - ก็เป็นที่ต้องห้าม(หะรอม)โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ
แต่ถ้าเป็นเลือดที่ปนอยู่ในเนื้อของสัตว์หลังจากเชือดแล้ว ก็ "ไม่ใช่เป็นสิ่งหะรอม" โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการเช่นเดียวกัน - ดังคำกล่าวของท่านอัล-กุรฺฏุบีย์ในตัฟซีรฺของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 488 -..
ทีนี้ ข้อเท็จจริงในกรณีนี้ก็คือ เนื้อวัว, เนื้อเป็ด, เนื้อไก่ ที่เราไปซื้อมาจากตลาดและผู้ขายเฉือนหรือหั่นจากเนื้อก้อนใหญ่มาชั่งขายเราให้เรานั้น ตามปกติจะไม่มีปะปนกับเลือดที่ไหลขณะเชือดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น แม้เนื้อดังกล่าวจะมีเลือดปะปนอยู่ภายใน ก็อนุญาตให้เราปรุงเป็นอาหารได้ (แม้จะไม่มีการล้างก็ตาม)
ทั้งนี้เพราะท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. รายงานมาว่า เคยต้มเนื้อ(เพื่อทำบุรฺมะฮ์)แล้วเลือดก็ลอยขึ้นเหนือบุรฺมะฮ์เป็นสีเหลือง แล้วท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็รับประทานมันโดยท่านมิได้คัดค้านแต่อย่างใด (จากตัฟซีรฺฟัตหุ้ลกอดีรฺ เล่มที่ 1 หน้า 262) ..
แต่ถ้าก้อนเนื้อนั้น มีเลือดที่ไหลขณะเชือด ติดเปรอะเปื้อนอยู่ภายนอก ทางที่ดีก็ให้เราล้างเลือดนั้นออกเสียก่อน(ย้ำอีกครั้ง ให้ล้างเลือดนั้นออกก่อน) แล้วจึงนำก้อนเนื้อนั้นไปหั่นเป็นชิ้นเล็กๆหรือไม่หั่นก็ได้เพื่อปรุงอาหารโดย "ไม่วายิบจะต้องล้าง" หรือขยำเนื้อนั้นจนซีดแล้วซีดอีกอย่างที่ชาวบ้านเขาทำกัน
(คำว่า "ไม่วายิบต้องล้าง" ต่างกับคำว่า "ห้ามล้าง" นะครับ อย่าเข้าใจผิด เดี๋ยวจะหาว่าผมห้ามล้างอีก)
ซึ่งจุดนี้ - ในทางปฏิบัติ - ของมุสลิมทั่วไปจะสวนทางกับที่ผมกล่าวมา .. คือเราจะหั่นเนื้อ(ไม่ว่าจะเปรอะเปื้อนเลือดที่ไหลขณะเชือดหรือไม่เปรอะเปื้อนก็ตาม)ก่อน แล้วนำไปล้างหลายครั้งและขยำจนเนื้อนั้นซีด (ทั้งๆที่เนื้อนั้นอาจไม่สัมผัสกับเลือดที่ไหลขณะเชือดก็ได้) แล้วรดน้ำผ่านเป็นครั้งสุดท้ายจึงจะถือว่าสะอาด ...
ประเด็นนี้แหละครับที่ผมกล่าวมาแล้วว่า นักวิชาการขัดแย้งกันว่า วายิบจะต้องรดน้ำผ่านในการล้างครั้งสุดท้ายหรือไม่ ? ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่กล่าวว่า ไม่วายิบรดน้ำผ่าน ขณะที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์มีทัศนะว่า วายิบให้รดน้ำผ่าน และเงื่อนไข "หะล้าล" ของฝ่ายกิจการหะล้าลฯดังที่คุณจรูญ ชลหัตถ์เล่ามา ก็เอามาจากทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์นี่แหละครับ เพราะคณะกรรมการเกือบทั้งหมดของสำนักจุฬาฯ ล้วนสังกัดมัษฮับชาฟิอีย์ทั้งนั้น ...
แต่ถ้าเงื่อนไขการรับรองหะล้าลเป็นจริงอย่างที่คูรจรูญ ชลหัตถ์เล่ามา ผมก็ติดใจอยู่นิดหนึ่งว่า ในเมื่อเนื้อสัตว์ที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารนั้นไม่ได้สัมผัสหรือเปรอะเลือดที่ไหลขณะเชือด ก็หมายความว่ามันเป็นเนื้อสัตว์ที่สะอาด, หะล้าลและไม่วายิบล้างดังที่อธิบายมาแล้ว
แล้วทำไมถึงได้ไปวางกฎว่า วายิบจะต้องล้างมันอย่างเอาเป็นเอาตายและรดน้ำผ่านมันเสียก่อน ถึงจะหะล้าลล่ะครับ ......
แต่ถ้าเป็นเลือดที่ปนอยู่ในเนื้อของสัตว์หลังจากเชือดแล้ว ก็ "ไม่ใช่เป็นสิ่งหะรอม" โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการเช่นเดียวกัน - ดังคำกล่าวของท่านอัล-กุรฺฏุบีย์ในตัฟซีรฺของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 488 -..
ทีนี้ ข้อเท็จจริงในกรณีนี้ก็คือ เนื้อวัว, เนื้อเป็ด, เนื้อไก่ ที่เราไปซื้อมาจากตลาดและผู้ขายเฉือนหรือหั่นจากเนื้อก้อนใหญ่มาชั่งขายเราให้เรานั้น ตามปกติจะไม่มีปะปนกับเลือดที่ไหลขณะเชือดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น แม้เนื้อดังกล่าวจะมีเลือดปะปนอยู่ภายใน ก็อนุญาตให้เราปรุงเป็นอาหารได้ (แม้จะไม่มีการล้างก็ตาม)
ทั้งนี้เพราะท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. รายงานมาว่า เคยต้มเนื้อ(เพื่อทำบุรฺมะฮ์)แล้วเลือดก็ลอยขึ้นเหนือบุรฺมะฮ์เป็นสีเหลือง แล้วท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็รับประทานมันโดยท่านมิได้คัดค้านแต่อย่างใด (จากตัฟซีรฺฟัตหุ้ลกอดีรฺ เล่มที่ 1 หน้า 262) ..
แต่ถ้าก้อนเนื้อนั้น มีเลือดที่ไหลขณะเชือด ติดเปรอะเปื้อนอยู่ภายนอก ทางที่ดีก็ให้เราล้างเลือดนั้นออกเสียก่อน(ย้ำอีกครั้ง ให้ล้างเลือดนั้นออกก่อน) แล้วจึงนำก้อนเนื้อนั้นไปหั่นเป็นชิ้นเล็กๆหรือไม่หั่นก็ได้เพื่อปรุงอาหารโดย "ไม่วายิบจะต้องล้าง" หรือขยำเนื้อนั้นจนซีดแล้วซีดอีกอย่างที่ชาวบ้านเขาทำกัน
(คำว่า "ไม่วายิบต้องล้าง" ต่างกับคำว่า "ห้ามล้าง" นะครับ อย่าเข้าใจผิด เดี๋ยวจะหาว่าผมห้ามล้างอีก)
ซึ่งจุดนี้ - ในทางปฏิบัติ - ของมุสลิมทั่วไปจะสวนทางกับที่ผมกล่าวมา .. คือเราจะหั่นเนื้อ(ไม่ว่าจะเปรอะเปื้อนเลือดที่ไหลขณะเชือดหรือไม่เปรอะเปื้อนก็ตาม)ก่อน แล้วนำไปล้างหลายครั้งและขยำจนเนื้อนั้นซีด (ทั้งๆที่เนื้อนั้นอาจไม่สัมผัสกับเลือดที่ไหลขณะเชือดก็ได้) แล้วรดน้ำผ่านเป็นครั้งสุดท้ายจึงจะถือว่าสะอาด ...
ประเด็นนี้แหละครับที่ผมกล่าวมาแล้วว่า นักวิชาการขัดแย้งกันว่า วายิบจะต้องรดน้ำผ่านในการล้างครั้งสุดท้ายหรือไม่ ? ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่กล่าวว่า ไม่วายิบรดน้ำผ่าน ขณะที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์มีทัศนะว่า วายิบให้รดน้ำผ่าน และเงื่อนไข "หะล้าล" ของฝ่ายกิจการหะล้าลฯดังที่คุณจรูญ ชลหัตถ์เล่ามา ก็เอามาจากทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์นี่แหละครับ เพราะคณะกรรมการเกือบทั้งหมดของสำนักจุฬาฯ ล้วนสังกัดมัษฮับชาฟิอีย์ทั้งนั้น ...
แต่ถ้าเงื่อนไขการรับรองหะล้าลเป็นจริงอย่างที่คูรจรูญ ชลหัตถ์เล่ามา ผมก็ติดใจอยู่นิดหนึ่งว่า ในเมื่อเนื้อสัตว์ที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารนั้นไม่ได้สัมผัสหรือเปรอะเลือดที่ไหลขณะเชือด ก็หมายความว่ามันเป็นเนื้อสัตว์ที่สะอาด, หะล้าลและไม่วายิบล้างดังที่อธิบายมาแล้ว
แล้วทำไมถึงได้ไปวางกฎว่า วายิบจะต้องล้างมันอย่างเอาเป็นเอาตายและรดน้ำผ่านมันเสียก่อน ถึงจะหะล้าลล่ะครับ ......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น