ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
เสียงของผู้หญิงเป็นเอาเราะฮ์หรือไม่ การที่ผูหญิงมุสลีมะฮ์แข่งขันอ่านอัลกุรอาน ร้องอนาชีดบนเวที หรือเป็นพิธีกรบนเวที หรือรายการโทรทัศน์ จะกระทำได้หรือไม่ค่ะ
ตอบ
เรื่องเสียงของผู้หญิงเป็นเอาเราะฮ์หรือไม่ เป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างนักวิชาการครับ ...
มัษฮับหะนะฟีย์ถือว่า เสียงของสตรีเป็นเอาเราะฮ์ .. โดยอ้างหลักฐานห้ามสตรีเปล่งเสียงอะซานก่อนนมาซ, ห้ามสตรีกล่าวเตือนอิหม่ามด้วยการเปล่งเสียงว่าซุบฮานัลลอฮ์เหมือนผู้ชาย แต่ให้ใช้วิธีตัศฟีก (คือ ใช้ฝ่ามือข้างขวาตีบนหลังมือข้างซ้าย)แทน, และอ้างกิยาสกับอายะฮ์ที่ 31 ซูเราะฮ์อัน-นูรฺ ที่มีความหมายว่า .. "และอย่าให้พวกเธอ(สตรี) กระทืบเท้าของพวกเธอ เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกเธอปกปิดจากเครื่องประดับ (กำไลเท้า) ของพวกเธอ" .. โดยอธิบายว่า เมื่อห้ามสตรีจากการโชว์เสียงกำไลเท้าซึ่งเป็นเพียงเครื่องประดับ การที่สตรีโชว์ "น้ำเสียง" ของพวกเธอเองจึงเหมาะสมที่จะเป็นเรื่องต้องห้ามยิ่งกว่า ...
แต่ทางมัษฮับชาฟิอีย์และนักวิชาการอื่นๆถือว่า เสียงของสตรีมิใช่เอาเราะฮ์ เพราะสตรีสามารถซื้อขายได้, เป็นพยานต่อหน้าผู้พิพากษาได้, .. ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สตรีจำเป็นต้องเปล่งเสียงให้ผู้อื่นได้ยินทั้งสิ้น ...
นอกจากนั้น บรรดาภริยาของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ดี, เศาะหาบะฮ์ที่เป็นสตรีก็ดี เคยมีการสนทนาหรือสอบถามปัญหาศาสนากับเศาะหาบะฮ์ที่เป็นบุรุษเพศในสมัยนั้น ซึ่งไม่ปรากฏว่า จะมีผู้ใดห้ามปรามแต่ประการใด ...
ท่านอัล-อลูซีย์ ได้กล่าวในตัฟซีรฺ "รูหุ้ลมะอานีย์" ของท่าน เล่มที่ 18 หน้า 146 มีข้อความว่า ...
"สิ่งที่มีระบุในตำราที่เชื่อถือได้ของมัษฮับชาฟิอีย์ - ซึ่งฉันเองมีความเห็นคล้อยตามด้วย - ก็คือ แท้จริง เสียงของสตรีมิใช่เอาเราะฮ์ ดังนั้นการได้ยินมันจึงไม่หะรอม ยกเว้นหากกลัวว่า การได้ยินจะทำให้เกิดฟิตนะฮ์(จึงเป็นเรื่องต้องห้าม" ...
"สิ่งที่มีระบุในตำราที่เชื่อถือได้ของมัษฮับชาฟิอีย์ - ซึ่งฉันเองมีความเห็นคล้อยตามด้วย - ก็คือ แท้จริง เสียงของสตรีมิใช่เอาเราะฮ์ ดังนั้นการได้ยินมันจึงไม่หะรอม ยกเว้นหากกลัวว่า การได้ยินจะทำให้เกิดฟิตนะฮ์(จึงเป็นเรื่องต้องห้าม" ...
แต่ขณะเดียวกัน สิ่งซึ่งไม่มีข้อขัดแย้งกันเลยก็คือ ห้ามสตรีดัดเสียงพูดจาให้ไพเราะเพราะพริ้ง เพราะอาจนำไปสู่การฟิตนะฮ์ได้ .. ดังการห้ามของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ในซูเราะฮ์อัล-อะห์ซาบ อายะฮ์ที่ 32 ...
สรุปแล้ว ทัศนะที่มีน้ำหนักก็คือ เสียงของสตรีมิใช่เอาเราะฮ์ครับ ซึ่งผมเอง เห็นด้วยกับทัศนะนี้ .. ยกเว้นในกรณีสตรีใดดัดเสียงการพูดจาจนไพเราะเพราะพริ้งกว่าปกติ, หรือเกรงว่าจะเกิดการฟิตนะฮ์จากการได้ยินเสียงของสตรี เสียงของสตรีดังกล่าวนั้นจึงเป็นเรื่องต้องห้าม .. วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
ส่วนการที่มุสลิมะฮ์บางท่านแข่งขันอ่านอัล-กุรฺอานก็ดี, ร้องเพลงอนาชีดบนเวทีก็ดี, หรือเป็นโฆษกทีวีก็ดี ผมมองว่าเป็นเรื่องไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะอาจเข้าประเด็นห้ามประการใดประการหนึ่ง หรือทั้ง 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ ...
1. น้ำเสียงของสตรีบางท่านเหล่านั้น อาจสร้างฟิตนะฮ์ .. คือกระตุ้นอารมณ์ผู้ชายบางคนได้ จึงถือเป็นข้อห้ามดังกล่าวมาแล้ว ...
2. การแต่งกายของสตรีเหล่านั้น - แทบทุกคน - มิใช่เป็นการแต่งกายแบบเรียบๆและด้วยสีสันเรียบๆ แต่มักจะเน้นสีสันฉูดฉาดสวยงามหรือเลียนแบบแฟชั่น อันเป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักการอิสลาม ...
3. การที่สตรีออกไปทำหน้าที่ดังกล่าว ย่อมเป็นงานที่มีการมั่วสุมหรือปะปนกับผู้ชายโดยมิใช่เป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งการทำงานของสตรีในลักษณะนี้ เป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิมะฮ์ เพราะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ในซูเราะฮ์อัล-อะห์ซาบ อายะฮ์ที่ 33 ครับ ...
2. การแต่งกายของสตรีเหล่านั้น - แทบทุกคน - มิใช่เป็นการแต่งกายแบบเรียบๆและด้วยสีสันเรียบๆ แต่มักจะเน้นสีสันฉูดฉาดสวยงามหรือเลียนแบบแฟชั่น อันเป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักการอิสลาม ...
3. การที่สตรีออกไปทำหน้าที่ดังกล่าว ย่อมเป็นงานที่มีการมั่วสุมหรือปะปนกับผู้ชายโดยมิใช่เป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งการทำงานของสตรีในลักษณะนี้ เป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิมะฮ์ เพราะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ในซูเราะฮ์อัล-อะห์ซาบ อายะฮ์ที่ 33 ครับ ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น