อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

อีกมุมมองหนึ่งของนักวิชาการ .. จากคำพูดท่านอิหม่ามชาฟิอีย์เกี่ยวกับลูกซินา


โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ดังที่ทราบกันทั่วไปก็คือ นักวิชาการมัษฮับชาฟิอีย์มีทัศนะว่า ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์มิได้ห้ามผู้ชายจากการนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง เพียงแต่เห็นว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ (มักรูฮ์) เท่านั้น ...
ทว่า .. อีกแง่มุมหนึ่ง นักวิชาการหลายท่านที่คัดค้านทัศนะนี้โดยอธิบายว่า ผู้ที่มีทัศนะดังกล่าวเข้าใจผิดต่อคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ .. โดยเฉพาะ จากคำว่า “มักรูฮ์” ของท่าน ...

ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 691 – 751) กล่าวว่า ...
" نَصَّ الشَّافِعِىُّ عَلَى كَرَاهَةِ تَزَوُّجِ الرَّجُلِ بِنْتَهُ مِنْ مَاءِ الزِّنَى، وَلَمْ يَقُلْ قَطُّ إنَّهُ مُبَاحٌ وَلاَ جَائِزٌ، وَالَّذِىْ
يَلِيْقُ بِجَلاَلَتِهِ
وَإِمَامَتِهِ وَمَنْصَبِهِ الَّذِىْ أَحَلَّ اللهُ بِهِ مِنَ الدِّيْنِ أَنَّ هَذِهِ الْكَرَاهَةَ مِنْهُ عَلَى وَجْهِ التَّحْرِيْمِ! وَأَطْلَقَ لَفْظَ الْكَرَاهَةِ ِلأَنَّ الْحَرَامَ
يَكْرَهُهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ.........فَالسَّلَفُ كَانُوْا يَسْتَعْمِلُوْنَ الْكَرَاهَةَ فِىْ مَعْنَا هَا الَّتىِ أسْتُعْمِلَتْ فِيْهِ فِىْ كَلاَمِ اللهِ وَرَسُوْلِهِ، وَلَكِنَّ
الْمُتَأَخِّرِيْنَ إصْطَلَحُوْا عَلَى تَخْصِيْصِ الْكَرَاهَةِ بِمَا لَيْسَ بِمُحَرَّمٍ وَتَرْكُهُ أَرْجَحُ مِنْ فِعْلِهِ"
“ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า “มักรูฮ์” ที่ผู้ชายจะนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง .. ท่านไม่ได้กล่าวเลยว่า มัน(การนิกาห์ระหว่างพ่อลูกคู่นั้น) เป็นสิ่งถูกผ่อนผันให้และเป็นที่อนุญาต, .. และสิ่งที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความเป็นอิหม่ามของท่าน และตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์มอบให้แก่ท่านในเรื่องศาสนาก็คือ คำว่า มักรูฮ์ (จากคำกล่าวของท่าน) หมายถึง "หะรอม", และการที่ท่านใช้คำว่า “มักรูฮ์”(น่ารังเกียจ) ก็เพราะสิ่งที่หะรอมก็คือสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์และรอซู้ลของพระองค์รังเกียจ .......... บรรดาชาวสะลัฟนั้น พวกเขาจะใช้คำว่ามักรูฮ์ (น่ารังเกียจ) กับความหมายซึ่งมีใช้ในคำพูดของอัลลอฮ์(ในอัล-กุรฺอ่าน) และรอซู้ล (ในหะดีษ ซึ่งมีความหมายว่าหะรอม) .. แต่บรรดานักวิชาการยุคหลังได้กำหนดศัพท์เทคนิคเป็นการเฉพาะขึ้นมาใหม่ว่า คำว่ามักรูฮ์ หมายถึงสิ่งที่มิใช่ของหะรอม, และการละทิ้ง (คือไม่ทำ)มันจะดีกว่าการทำมัน” ..
(จากหนังสือ “إعلام الموقعين” ของท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เล่มที่ 1 หน้า 47-48) ..


ฉัน คือใคร ?



โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

1. ฉันคือ ... เพศที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงหวงแหนที่สุด
قَالَ سَعْدُ بْنُ عُبَادَةَ : لَوْرَأَيْتُ رَجُلاً مَعَ إمْرَأَتِيْ لَضَرَبْتُـهُ بِالسَّيْفِ غَيْرَمُصْفِحٍ، فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَتَعْجِبُ مِنْ غِيْرَةِ سَعْدٍ ؟ َلأَنَا أَغْيَرُ مِنْهُ، وَاللَّـهُ أَغْيَرُمِنِّيْ....
ท่านสะอัด บิน อุบาดะฮ์ ร.ฎ. เคยกล่าวว่า : สมมุติถ้าฉันเห็นผู้ชายคนไหนอยู่ (ตามลำพัง) กับภรรยาฉันละก้อ ฉันจะฟันคอมันด้วยดาบโดยไม่ปรานีเลย,.. ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมจึงกล่าวว่า : พวกท่านแปลกใจในความขี้หึงของสะอัดหรือ? ฉันเองขี้หึงยิ่งกว่าสะอัดอีก,.. แต่พระองค์อัลลอฮ์ จะทรง “หวงแหน” (ต่อบรรดาบ่าวของพระองค์ที่เป็นสตรี) ยิ่งกว่าฉันเสียอีก ....
(บุคอรีย์ : อารัมภบทบาบที่ 107 กิตาบ อัน-นิกาห์)
พระผู้เป็นเจ้าทรงหวงแหนฉัน แต่ฉันเคย “หวง” ตัวเองจากเพศตรงข้ามบ้างไหม? ...

2. ฉันคือ ... เพศที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยกย่องที่สุด
ชายผู้หนึ่งถามท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมว่า ...
يَا رَسُوْلَ اللَّـهِ ! مَنْ اَبَرُّ ؟ .. قَالَ : اُمَّكَ، قُلْتُ : مَنْ أَبَرُّ ؟ .. قَالَ : أُمَّكَ، قُلْتُ : مَنْ أَبَرُّ؟ ..قَالَ : أُمَّكَ، قُلْتُ : مَنْ أَبَرُّ ؟ قَالَ : أَبَاكَ، ثُمَّ الأَقْرَبَ فَالأَقْرَبَ ......
“โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ! ใครคือผู้ซึ่งฉันควรทำความดีด้วยที่สุด?, ท่านตอบว่า “แม่ของท่าน” .. ฉันถามอีกว่า : ใครคือผู้ซึ่งฉันควรทำความดีด้วยที่สุด?, ท่านตอบว่า “แม่ของท่าน” .. ฉันถามอีกว่า : ใครคือผู้ซึ่งฉันควรทำความดีด้วยที่สุด?, ท่านตอบว่า “แม่ของท่าน” .. ฉันถามอีกว่า : ใครคือผู้ซึ่งฉันควรทำความดีด้วยที่สุด?, ท่านตอบว่า “พ่อของท่าน”... หลังจากนั้นก็คือญาติใกล้ชิดตามลำดับ” .......
.
(บุคอรีย์ใน “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” หะดีษที่ 3)
ท่านศาสดาทรงยกย่องเพศฉันด้วยการกล่าวซ้ำถึง 3 ครั้งว่าเป็นผู้ที่สมควรทำดีด้วยที่สุด แล้วฉันเคยภูมิใจในเกียรติแห่งความเป็นเพศแม่ของฉันแค่ไหน ?

3. ฉันคือ ... เพศซึ่งอิสลามดึงขึ้นมาจากการถูกเหยียดหยาม
ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏ็อบ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
كُنَّا فِى الْجَاهِلِيَّةِ لاَ نَعُدُّالنِّسَاءَ شَيْئًا، فَلَمَّاجَـاءَ ْالإِسْلاَمُ وَذَكَرَهُنَّ اللَّـهُ رَأَيْنَالَهُنَّ – بِذَلِكَ – عَلَيْنَا حَقًّا، ...........
“พวกเรา – ในยุคญาฮิลียะฮ์ (ยุคเป็นอนารยชน) – ไม่เคยมองว่าสตรีจะมีความหมายอะไรเลย, แต่เมื่ออิสลามย่างกรายเข้ามา และพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงกล่าวถึงพวกนาง (ในอัล-กุรฺอาน) พวกเราจึงรู้สึกว่า .. จากโองการเหล่านั้น พวกนาง มีสิทธิต่างๆเหนือเรา, ที่เรา (ผู้ชาย) จะต้องรับผิดชอบต่อพวกนางมากเหลือเกิน”
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 5843)
อิสลามฉุดเพศฉันขึ้นมาจากปลักหล่มแห่งอนารยชนแล้ว ฉันจะปล่อยตัวเองให้จมดิ่งลงสู่ปลักแห่งความอัปยศอย่างเดิมอีกกระนั้นหรือ ?

4. ฉันคือ ... ผู้ซึ่งใครๆจะกล่าวหาให้เสื่อมเสียพล่อยๆ มิได้
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِجْتَنِبُوْاالسَّبْعَ الْمُوْبِقَاتِ، .... اَلشِّرْكُ بِاللَّـهِ، .... وَقَذْفُ الْمُحْصَنَاتِ الْمُوءْمِنَاتِ اْلغَافِلاَتِ ...
“พวกท่านพึงหลีกห่างจากมหันตภัย 7 ประการต่อไปนี้ คือ ( 1). การตั้งภาคีใดๆ ต่ออัลลอฮ์ ........... และ (7). การกล่าวหาสตรีผู้มีคุณธรรม, มีศรัทธา และไม่เคยใฝ่ต่ำ, ว่า ประพฤติผิดทางเพศ .....
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 2766)
อิสลามช่วยปกป้องเกียรติของฉันไม่ให้ใครกล่าวดูหมิ่นดูแคลนง่ายๆ แล้วไยฉันจะทำลายศักดิ์ศรีของตนเองด้วยการสำส่อนกับผู้ชายไม่เลือกหน้าเล่า ?

5. ฉันคือ ... ผู้ยอมทุกข์ทรมาน 10 เดือนเพื่อลูก, และเจ็บปวดแทบขาดใจเพราะลูก 
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสว่า ...
وَوَصَّيْنَااْلإنْسَانَ بِوَالِدَيْهِ إحْسَـانًا حَمَلَتْـهُ اُمُّهُ كُرْهـًا وَوَضَعَتْـهُ كُرْهـًا
“และเราได้สั่งเสียมนุษย์ให้ทำความดีต่อบิดามารดาของเขา, มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาด้วยความทรมาน และได้คลอดเขาด้วยความเจ็บปวด ...........”
(ซูเราะฮ์ อัล-อะห์กอฟ, โองการที่ 15 )
มีใครบ้างไหมหนอ จะเคยนึกถึงความเสียสละและบุญคุณมหาศาลของฉันและผู้เป็นเพศเดียวกับฉันข้อนี้ ?

6. ฉันคือ ... ผู้ซึ่งปรัชญาเมธีกล่าวยกย่องว่า ... ตักของแม่ คือ ห้องเรียนห้องแรกของลูก
แล้วที่ผ่านมาฉันเคยเป็น “ครู” ที่ดีสำหรับศิษย์ตัวน้อยที่นอนอยู่ในตักของฉันมากน้อยแค่ไหนกันนะ ?

7. ฉันคือ ... ผู้ซึ่งฝ่าเท้าของฉัน เป็นสวรรค์ของลูก
ท่านมุอาวิยะฮ์ บิน ญาฮิมะฮ์ ได้กล่าวว่า ...
يَا رَسُوْلَ اللَّـهِ ! أَرَدْتُ اَنْ أََغْزُوَ، وَقَدْ جِئْتُ أَسْتَشِيْرُكَ ؟ فَقَالَ : " هَلْ لَكَ أُمٌّ" ؟ قُلْتُ : نَعَمْ ! ... قَالَ : ًفَأَلْزِمْهَا ! فَإِنَّ الْجَـنَّةَ تَحْتَ رِجْـلَيْهَا" ...........
“โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ! ฉันต้องการไปทำสงครามด้วย, และที่ฉันมานี่ ก็เพื่อจะขอคำปรึกษาจากท่าน ?” ท่านศาสดาจึงถามว่า .. “มารดาของท่านยังอยู่ไหม ?” ... ฉันตอบว่า “ยังอยู่ขอรับ” ... ท่านจึงกล่าวว่า “งั้นจงอยู่ปรนนิบัติท่านเถิด ! เพราะสวรรค์ อยู่ใต้ฝ่าเท้าทั้งสองของท่าน” ......
(อัน-นะซาอีย์, หะดีษที่ 3104)
ที่ผ่านมา ฉันเคยทำให้ “ลูกของฉัน” ภูมิใจและเต็มใจที่จะสยบและยอมรับความหมายของคำว่า “สวรรค์ใต้ฝ่าเท้า” ของฉันมากแค่ไหนกันหนอ ?

8. ฉันคือ ... หนึ่งในสองของผู้กำหนดอนาคตลูก
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
كُلُّ مَوْلُوْدٍ يُوْلَدُعَلَى الْفِطْرَةِ، فَأَبَوَاهُ يُهَوِّدَانِـهِ اَوْيُنَصِّرَانِـهِ اَوْيُمَجِّسَـانِهِ......
“ทารกทุกคน ถูกคลอดออกมาด้วยสัญชาติญาณบริสุทธิ์, บิดามารดาของเขา คือผู้ทำให้เขาเป็นยิว, เป็นคริสเตียน, หรือเป็นโซโรแอสเตอร์ (พวกกราบไว้บูชาไฟ) ...
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 1385)
แล้วที่ลูกของฉันผิดพลาดอยู่ทุกวันนี้ ฉันจะปฏิเสธว่าส่วนหนึ่งไม่ใช่เกิดจากความผิดพลาดของฉันกระนั้นหรือ ?

9. ฉันคือ ... แหล่งถ่ายถอนบาปของลูก
ท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. ได้เล่าว่า .....
أَتَاهُ رَجُلٌ، فَقَالَ : إِنِّيْ خَطَبْتُ امْرَأَةً، فَأَبَتْ اَنْ تَنْكِحَنِيْ، وَخَطَبَهَا غَيْرِىْ فَأَحَبَّتْ أَنْ تَنْكِحَهُ فَغِرْتُ عَلَيْهَا فَقَتَلْتُهَا، فَهَلْ لِيْ مِنْ تَوْبَةٍ ؟ قَالَ : أُمُّكَ حَـيَّةٌ ؟ قَالَ : لاَ! قًالَ : تُبْ اِلَى اللَّـهِ عَزَّوَجَلَّ، وَتَقَرَّبْ اِلَيْهِ مَاأسْتَطَعْتَ، [ قَالَ عَطَاءُ بْنُ يَسَارٍ ] فَذَهَبْتُ فَسَأَلْتُ بْنَ عَبَّاسٍ : لِمَ سَأَلْتَـهُ عَنْ حَيَاةِ أُمِّهِ ؟ فَقَالَ : .......... 
" إِنِّيْ لاَ أَعْلَمُ عَمَلاً أَقْرَبَ اِلَى اللَّـهِ عَزَّوَجَلَّ مِنْ بِرِّ اْلوَالِدَةِ" .........
ชายผู้หนึ่งได้มาหาท่านแล้วกล่าวว่า “ฉันเคยสู่ขอผู้หญิงคนหนึ่ง แต่นางปฏิเสธที่จะแต่งงานกับฉัน, ต่อมา พอมีชายอื่นมาสู่ขอ นางก็ตอบตกลงจะแต่งงานกับเขา, ฉันหึงหวงนาง ก็เลยฆ่านางเสีย, แลัวฉันจะเตาบะฮ์หลุดไหม? ...... ท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. กลับย้อนถามว่า .. “แม่ของท่านยังมีชีวิตอยู่ไหม?” .. เขาตอบว่า “ไม่มีแล้ว” ... ท่านอิบนุ อับบาสจึงกล่าวว่า .. “งั้นท่านจงลุกะโทษ (เตาบะฮ์) ต่อพระองค์อัลลอฮ์ และจงทำความดีต่อพระองค์ให้มากที่สุดเท่าที่ท่านสามารถ” .... (ท่านอะฎออ์ บิน ยะซารฺ ผู้รายงานหะดีษนี้ กล่าวว่า) ฉันจึงไปหาท่านอิบนุ อับบาส แล้วถามท่านว่า ... “ทำไม ท่านจึงถามถึงแม่เขาว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่?” .... ท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. จึงชี้แจงว่า ......
“ก็ฉันมองไม่เห็นว่า จะมีงานชนิดใดที่จะทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮ์มากไปกว่าการทำความดีต่อแม่อีกแล้ว” ...
(บุคอรีย์, ใน “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” หะดีษที่ 4)
เมื่อความสำคัญของเพศฉันมีมากถึงขนาดนี้ จึงสมควรแล้วหรือที่ฉันจะปฏิบัติในสิ่งที่เป็นการ “ทำลาย” เกียรติที่ฉันได้รับอย่างที่ผ่านมาแล้ว ?

10. ฉันคือ ... อาภรณ์ล้ำค่าของคนเคียงข้าง
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสว่า
هُنَّ لِبَاسٌ لَكُمْ
“พวกนาง คือ อาภรณ์ (ล้ำค่า) สำหรับสูเจ้าทั้งหลาย” .......
(ซูเราะฮ์ อัล-บะกอเราะฮ์, โองการที่ 187)
ก็จะทำอย่างไรเล่าถึงจะให้ “เขา” เห็นคุณค่าและทนุถนอมอาภรณ์ชิ้นนี้ตลอดไป โดยไม่ฉีกทำลายทิ้งเสียกลางคัน ?

11. ฉันคือ ... คู่ทุกข์คู่ยากและกำลังใจของคนใกล้ตัว
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสว่า ...
وَمِنْ أَيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ أَزْوَاجـًا لِتَسْكُنُوْا اِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُمْ مَوَدَّةً َوَرَحْمَـةً
“และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือ การทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกสูเจ้าจากตัวของสูเจ้าเอง, เพื่อสูเจ้าจะได้มีความสงบสุขอยู่กับนาง และยังทรงให้เกิดความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้าด้วย ...........”
(ซูเราะฮ์ อัรฺ-รูม, โองการที่ 20)
แน่ใจไหมว่าที่ผ่านมานั้น ฉันคอยเคียงข้าง .. คอยประโลมใจและเป็นกำลังใจให้เขาตลอดมาจนเขายอมรับว่าชีวิตของเขาขาดฉันไม่ได้ ?

12. ฉันคือ ... ผู้สามารถเนรมิต “สวรรค์ในบ้าน” ให้เขาได้หากเขาประสงค์
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
اَلْمَرْأَةُ رَاعِـيَةٌ عَلَى أَهْلِ بَيْتِ زَوْجِـهَا وَوَلَدِهِ،
“สตรีนั้น คือ ผู้รับผิดชอบต่อทุกสมาชิกภายในบ้านสามีของนาง และลูกๆของเขา” ..........
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 7138)
แล้วแน่ใจไหมว่า ที่ผ่านมานั้นฉันทำบ้านให้เป็น “สวรรค์” หรือเป็น “นรก” สำหรับเขากันแน่ ?

13. แต่ฉันก็คือ ... “กลุ่มเสี่ยง” ที่น่าเป็นห่วงที่สุดหากฉันบกพร่องในหน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้า .. ต่อบุพการีย์ทั้งสองท่าน .. ต่อลูกๆ .. ต่อสังคม และ.. ต่อ “เขา” ผู้ได้ชื่อว่า เป็นสามีของฉัน ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า .....
إِطَّلَعْتُ فِي النَّارِ، فَرَأَيْتُ أَكْثَرَأَهْـلِهَاالنِّسَـاءَ ......
“ฉันมองเห็นในนรก, แล้วฉันก็เห็นว่า ส่วนมากชาวนรกนั้น คือสตรี”
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 5198)
โอ้ อัลลอฮ์ ! โปรดคุ้มครองฉันด้วยเถิด! .......
ฉันขอปฏิญาณว่า ...
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉันจะ ....
เป็นลูกที่แสนดีของพ่อแม่
เป็นทั้งแม่, เป็นทั้งครู, เป็นทั้งเพื่อนที่ดีของลูก
เป็นภรรยาที่ดีและซื่อสัตย์ต่อสามี
เป็นคนดีของสังคม และ ..
เป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮ์
โอ้ อัลลอฮ์! .. โปรดรับคำวิงวอนและคำปฏิญาณนี้ด้วยเถิด .. อามีน!

อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ฝ่ายวิชาการศาสนาโรงเรียนอัล-มูวาห์ฮิดีน และชมรมมุสลิมสัมพันธ์ภาคใต้
3 พฤษภาคม 2558



หะดิษว่าด้วยการอ่านยาซีนให้ผู้ตาย




โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

อ.กอเซ็มยังได้อ้างหลักฐานเรื่องอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตาย ด้วยหะดีษของท่านมะอฺกิล บินยะซารฺ ร.ฎ. ซึ่งอ้างรายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมว่า
يس قَلْبُ الْقُرْآنِ، لاَ يَقْرَؤُهَارَجُلٌ يُرِيْدُ اللهَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى وَالدَّارَ اْلآخِرَةَ إِلاَّ غَفَرَلَهُ، وَاقْرَؤُوْهَا عَلَى مَوْتَاكُمْ
“ยาซีน คือหัวใจอัล-กุรฺอ่าน! .. ไม่มีผู้ใดที่มุ่งหวังต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์อ่านมัน เว้นแต่พระองค์จะอภัยโทษให้เขา, และพวกท่านจงอ่านมัน (ยาซีน) ให้แก่ “เมาตา”ของพวกท่าน” ...
แล้ว อ.กอเซ็มก็อธิบายว่า ท่านอิหม่ามอัส-สะยูฏีย์ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-ญาเมี๊ยะอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ” (หะดีษที่ 1344) ว่าหะดีษบทนี้เป็นหะดีษหะซัน, .. และความหมายของคำว่า “เมาตา” ตามทัศนะของญุมฮูรฺหรือนักวิชาการส่วนใหญ่คือ “คนที่ตายแล้ว” ...
วิภาษ
หะดีษบทนี้ ถูกบันทึกโดยท่านอบูดาวูด, ท่านอิหม่ามอะห์มัด, ท่านอิบนุมาญะฮ์, ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ และท่านอื่นๆ โดยอ้างการรายงานมาจากท่านมะอฺกิล บินยะซารฺ ร.ฎ. จากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมด้วยสำนวนที่แตกต่างกัน และสำนวนข้างต้นดังที่ อ.กอเซ็มนำมาอ้าง เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอิหม่ามอะห์มัดในหนังสือ “อัล-มุสนัด” ของท่าน เล่มที่ 5 หน้า 26 ...
แต่สายรายงานของหะดีษข้างต้น เป็นสายรายงานที่เฎาะอีฟ เพราะมีการกล่าวในสายรายงานว่า ..
عَنْ رَجُلِ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ مَعْقِلِ بْنِ يَسَارٍ : จากชายผู้หนึ่ง, จากบิดาของเขา, จากท่านมะอฺกิล บินยะซาร .. ซึ่งไม่ทราบว่า “ชายผู้หนึ่งและบิดาของเขา” คือใคร? .. จึงถือว่าทั้ง 2 เป็นคนมัจญฮูล คือไม่มีใครรู้จักหรือทราบประวัติ ...
แม้ในบันทึกของท่านอบูดาวูดและท่านอิบนุมาญะฮ์จะมีการระบุนาม “ชายผู้หนึ่ง” คนนั้นว่า ชื่อ “อบีย์ อุษมาน” แต่ก็ไม่มีนักวิชาการหะดีษท่านใดทราบอีกว่า อบีย์อุษมานผู้นี้และบิดาของเขา เป็นใคร, มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? ...
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ จึงได้กล่าววิจารณ์หะดีษเรื่องอ่านยาซีนให้ “เมาตากุม” จากการบันทึกของท่านอบูดาวูดและท่านอิบนุมาญะฮ์บทนี้ในหนังสือ “อัล-อัสการฺ” ของท่าน หน้า 131-132 ว่า ...
إِسْنَادُهُ ضَعِيْفٌ! فِيْهِ مَجْهُوْلاَنِ
“สายรายงานของมัน เฎาะอีฟ! ในสายรายงานนั้น มีบุคคลมัจญฮูล (ผู้ที่ไม่มีใครรู้จักหรือทราบประวัติ) อยู่ 2 คน”
ขอถาม อ.กอเซ็มว่า สายรายงานลักษณะนี้หรือครับ คือสายรายงานหะดีษหะซัน? .. แม้ผู้อ้างจะเป็นท่านอิหม่ามอัส-สะยูฏีย์หรือใครก็ตาม ?? ...
(7). อ.กอเซ็มยังได้อ้างหะดีษเรื่องการอ่าน “ยาซีน” ให้แก่ “คนใกล้ตาย”อีกบทหนึ่ง .. โดยรายงานมาจากท่าน มัรฺวานบินซาลิม อัล-ญะซะรีย์ .. แล้วสืบสายรายงานต่อไปถึงท่านอบูอัด-ดัรฺดาอ์และท่านอบูซัรฺ อัล-คิฟารีย์ ร.ฎ. ด้วยข้อความว่า ...
مَا مِنْ مَيِّتٍ يَمُوْتُ فَيُقْرَأُ عِنْدَهُ "يس" إِلاَّ هَوَّنَ اللهُ عَلَيْهِ
“ไม่มีผู้ตายคนใดที่เมื่อตอนเขากำลังจะตาย แล้วมีการอ่าน “ยาซีน” ให้แก่เขา เว้นไว้แต่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.จะทรงให้ง่ายดายแก่เขา(ในการตาย .. คือจะไม่ตายอย่างทุรนทุราย)” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูนุอัยม์ในหนังสือ “อัคบารฺ อิศบะฮาน” เล่มที่ 1 หน้า 188 และท่านอัด-ดัยละมีย์ในหนังสือ “มุสนัด อัล-ฟิรฺเดาส์”) ...
แล้ว อ.กอเซ็มก็กล่าวว่า หะดีษบทนี้เป็น “หะดีษหะซัน” เช่นเดียวกัน ...
วิภาษ
7.1 ที่ไหนได้ หะดีษบทนี้ “เฎาะอีฟมาก” ยิ่งกว่าบทแรกเสียอีก เพราะท่านมัรฺวาน บินซาลิม อัล-ญะซะรีย์ซึ่งเป็นผู้รายงานของหะดีษบทนี้ถูกวิจารณ์โดยท่านอัน-นะซาอีย์และท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ว่า .. مَتْرُوْكُ الْحَدِيْثِ : (เป็นบุคคลที่ถูกเมินจากหะดีษของเขา) ...
(จากหนังสือ “อัฎ-ฎูอะฟาอ์ วัลมัตรูกีน” ของท่านอัน-นะซาอีย์ หมายเลข 558, และหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 10 หน้า 85) ...
ท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม และท่านอบูหาติมกล่าวว่า .. مُنْكَرُالْحَدِيْثِ : (เขาเป็นผู้รายงานหะดีษที่มุงกัรฺ คือ เฎาะอีฟมาก) ...
(จากหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 4 หน้า 90) ...
และท่านอัซ-ซาญีย์, ท่านอบูอะรูบะฮ์ และท่านอื่นๆกล่าวว่า .. يَضَعُ الْحَدِيْثِ : เขา (มัรฺวาน บินซาลิม) เป็นคนชอบกุหะดีษเก๊ ...
(จากหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มและหน้าข้างต้น, และหนังสือ “ตักรีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 2 หน้า 239) ...
ท่านอบูบักรฺ อิบนุ้ลอะรอบีย์ ได้คัดลอกคำพูดของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ที่วิจารณ์หะดีษเกี่ยวกับเรื่องการอ่าน “ยาซีน” ให้คนตายว่า ...
هَذَا حَدِيْثٌ ضَعِيْفُ اْلإِسْنَادِ، مَجْهُوْلُ الْمَتْنِ، وَلاَ يَصِحُّ فِى الْبَابِ حَدِيْثٌ
“นี่คือหะดีษซึ่งสายรายงานของมันเฎาะอีฟ, ข้อความของมันก็ไม่ชัดเจน, และหะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ (อ่านยาซีนให้คนตาย) ไม่มีถูกต้องเลยแม้แต่บทเดียว!” ...
(จากหนังสือ “ตัลคีส อัล-หะบีรฺ” ของท่านอิบนุหะญัรฺ 2/110) ...
สรุปแล้ว หะดีษเรื่องการอ่าน “ซูเราะฮ์ ยาซีน” ให้แก่ “คนตาย” หรือ “คนใกล้ตาย” ตามที่ อ.กอเซ็มนำมาอ้างแล้วแนะนำและส่งเสริมให้คนปฏิบัตินั้น จึงไม่ใช่หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์(ถูกต้อง)แม้แต่บทเดียว ...
ด้วยเหตุนี้ ท่านอัล-อัลบานีย์จึงได้กล่าวในหนังสือ “อะห์กาม อัล-ญะนาอิซ” หน้า 243 ว่า .. การอ่าน “ยาซีน” ให้คนใกล้จะตาย เป็นบิดอะฮ์ ...
7.2 คำอธิบายของ อ.กอเซ็มที่ว่า คำว่า “เมาตากุม” ในหะดีษบทนั้น -- ตามทัศนะของญุมฮูรฺหรือนักวิชาการส่วนใหญ่ -- หมายถึง “คนที่ตายแล้ว” ...
ขอเรียนว่า แม้ข้อมูลที่อยู่ในมือของผมจะขัดแย้งกับคำกล่าวของ อ.กอเซ็ม .. คือ ที่ถูกต้องนั้น ญูมฮูรฺหรือนักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า คำว่า “เมาตากุม” ในหะดีษบทแรก ไม่ได้หมายถึงคนที่ตายแล้ว แต่หมายถึง “คนที่ใกล้จะตาย” เพราะได้รับการขยายความจากหะดีษบทหลังที่ว่า .. “ไม่มีผู้ตายคนใดที่เมื่อตอน เขากำลังจะตาย ได้มีการอ่าน “ยาซีน” ให้แก่เขา ............”
แต่ประเด็นความขัดแย้งของความหมาย “เมาตากุม” ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรเลยตราบใดก็ตามที่หะดีษเรื่องการอ่าน“ยาซีน”ให้แก่ “เมาตา” ทุกบทเป็นหะดีษเฎาะอีฟ
เพราะ .. นักวิชาการ “จริงๆ” นั้น เขาจะไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ชาวบ้าน นำ “หะดีษเฎาะอีฟ” มาปฏิบัติกันหรอก นอกจากภายใต้เงื่อนไขบางอย่างเท่านั้น ...


การยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัต


โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

อนึ่ง สำหรับเรื่องการยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัต ดังที่มีการอ้างหลักฐานจากหะดีษในเอกสารที่ท่านผู้ถามส่งมาให้ผมนั้น ก่อนอื่น ผมก็ต้องขออนุญาตคัดลอกข้อความในเอกสารแผ่นนั้น ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นกันดังนี้ ....
عَنْ أبِيْ مُوْسَى اَْلأشْعَرِيِّ أنَّهُ طَلَبَ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَن يَّسْتَغْفِرَ ِلأَخِيْهِ، فَقَامَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَصَلَّى رَكْعَتَيْنِ، ثُمَّ بَعْدَالصَّلاَةِ رَفَعَ يَدَيْهِ وَدَعَا صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ِلأَبِيْ مَالِكٍ ثُمَّ ِلأَبِيْ مُوْسَى رَضِىَ اللَّهُ عَنْهُمَا ... 
ท่านอบู มูสา อัลอัชอารีย์ ขอให้ท่านรสูลุลลอฮ์ช่วยขออภัยให้แก่พี่น้องของเขา จากนั้น ท่านรสูลจึงลุกขึ้นนมาซสองร็อกอะฮ์ ภายหลังนมาซเสร็จ ท่านรสูลก็ยกมือทั้งสองของท่านและดุอาอฺให้แก่ท่านอบูมาลิก จากนั้น ก็ขอให้แก่ท่านอบูมูสา (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุมา) 
จากหะดีษข้างต้นสรุปได้ว่า ท่านรสูลุลลอฮ์เคยยกมือขอดุอาอฺหลังนมาซสุนัต ซึ่งเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่า อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้ กระนั้นก็ตาม ท่านรสูลกระทำเช่นนั้นเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น ในหนังสือ “ฟัยฎุลบารีย์” เล่ม 4 หน้า 417 ได้กล่าวไว้ว่า
“การยกมือทั้งสองเพื่อขอดุอาหลังนมาซสุนนะฮ์ พบหลักฐานว่า ถูกปฏิบัติเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น”
จากข้อความข้างต้น พอจะสรุปได้ดังนี้ .....
1. การยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัต ท่านรอซู้ลฯ เคยปฏิบัติเพียงหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง......
2. หะดีษบทนั้น คือหลักฐานเรื่องการยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัต, .....
ผมขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้ ....
(1). คำกล่าวที่ว่า “การยกมือทั้งสองเพื่อขอดุอาหลังนมาซสุนนะฮ์ พบหลักฐานว่า ถูกปฏิบัติเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น” หากคำว่า “นมาซสุนนะฮ์” ในที่นี้ หมายถึงการนมาซในกรณีเกิดปรากฏการณ์ตามการกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์ ที่เรียกกันทั่วๆไปว่า “ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ” เช่น การนมาซขอฝนเมื่อเกิดแล้งจัด, หรือนมาซกุซูฟ เมื่อเกิดสุริยคราสหรือจันทรคราส ก็ถือว่าเป็นเรื่องถูกต้อง, ทั้งนี้ เพราะท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยยกมือขอดุอาหลังนมาซขอฝนดังการรายงานของท่านบุคอรีย์จากท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ, และหลังนมาซสุริยคราสดังการรายงานของท่านมุสลิม จากท่านอับดุรฺเราะห์มาน บิน สะมุเราะฮ์ และท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ......
แต่ถ้าหากคำว่า “นมาซสุนนะฮ์” ในที่นี้ หมายถึงนมาซสุนัตอื่นจากนมาซขอฝนและนมาซสุริยคราส อันเป็นความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วๆไปของคำว่านมาซสุนัต อย่างเช่น นมาซสุนัตหลังมัคริบ, นมาซสุนัตก่อนนมาซซุบห์, นมาซสุนัตก่อนหรือหลังซุฮริ, เป็นต้น ผมก็ไม่เคยเจอรายงานหะดีษแม้แต่บทเดียวว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะเคยยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัตเหล่านี้ .... 
(2). สำหรับหะดีษที่ถูกนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องการยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัตบทนั้น แม้ว่าผมจะไม่เคยเจอสายรายงานของหะดีษดังสำนวนข้างต้น แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว หะดีษสำนวนข้างต้นนี้ น่าจะเป็นหะดีษที่ข้อความผิดเพี้ยน (เรียกตามศัพท์วิชาการหะดีษว่า حَدِيْثٌ شَاذٌّّ ) หรือมิฉะนั้น ก็เป็นหะดีษที่ถูกคัดค้าน ( حَدِيْثٌ مُنْكَرٌ ) ซึ่งถือว่า เป็นหะดีษที่อ่อนมาก, ทั้งนี้ เนื่องจากข้อความบางส่วนของหะดีษนี้ ขัดแย้งกับข้อความของหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ซึ่งถูกรายงานโดยท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม อันมีเนื้อหายาวพอประมาณ ซึ่งผมจะสรุปตอนต้นให้ทราบพอเป็นสังเขปดังนี้ ...... 
“หลังจากได้ปราบปรามศัตรูผู้กระด้างกระเดื่อง อันเป็นยิวเผ่าษะกีฟและเผ่าฮะวาซิน ในสงครามหุนัยน์ (เป็นชื่อหุบเขา, อยู่ระหว่างเส้นทางไปเมืองฏออิฟ) ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 10 เดือนเชาวาล ฮ.ศ. 8 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้แต่งตั้งให้ท่านอบูอามิรฺ อัล-อัชอะรีย์ ร.ฎ.(ชื่อจริงคือ อุบัยด์ บิน สุลัยม์) เป็นแม่ทัพ ร่วมคุมทหารกองหนึ่งเดินทางไปกับหลานชาย คือท่านอบูมูซา อัล-อัชอะรีย์ ร.ฎ. (ชื่อจริงคือ อับดุลลอฮ์ บิน ก็อยซ์ บิน สุลัยม์) เพื่อติดตามจับกุมพวกยิวเหล่านั้นที่แตกพ่ายไปจากหุนัยน์, และไปพึ่งพาอาศัยอยู่กับยิวเผ่าฮะวาซินที่หุบเขาแห่งหนึ่งคือหุบเขาเอาฏ็อซ ( أوطاس ) .......
ในการต่อสู้กับศัตรูที่เอาฏ็อซ ท่านอบูอามิรฺ ร.ฎ.ถูกข้าศึกคนหนึ่งจากเผ่าญุชัม ใช้ธนูยิงโดนที่เข่าอย่างจังและเสียโลหิตมาก แต่ท่านอบูมูซาผู้เป็นหลาน ก็ได้ติดตามไปสังหารข้าศึกคนนั้นได้สำเร็จ .....
ก่อนสิ้นชีวิต ท่านอบูอามิรฺ ร.ฎ. ก็ได้มอบหมายให้ท่านอบูมูซารับหน้าที่เป็นแม่ทัพแทนท่าน และได้กล่าวแก่ท่านอบูมูซา (ตามการรายงานของท่านอบู มูซาเอง) ว่า ....
" يَا إبْنَ أخِىْ ! إنْطَلِقْ إلَى رَسُوْلِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَقْرِئْهُ مِنِّي السَّلاَم،َ وَقُلْ لَهُ : يَقُوْلُ لَكَ اَبُوْعَامِرٍ : إسْتَغْفِرْلِيْ"، .. وَمَكَثَ يَسِيْرًا ثُمَّ إنَّهُ مَاتَ، فَلَمَّا رَحَعْتُ إلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْه وَسَلَّمَ ... قُلْتُ لَهُ : " قَالَ : قُلْ لَـهُ : يَسْتَغْفِرْلِيْ " فَدَعَارَسُوْلُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِمَاءٍ فَتَوَضَّاَمِنْهُ، ثُمَّ رَفَعَ يَدَيْهِ، ثُمَّ قَالَ : " اَللَّهُمَّ إغْفِرْلِعُبَيْدٍ أَبِيْ عَامِرٍ"، حَتَّى رَأَيْتُ بَيَاضَ إبْطَيْهِ، ثُمَّ قَالَ : أَللَّهُمَّ اجْعَلْهُ يَوْمَ اْلقِيَامَةِ فَوْقَ كَثِيْرٍمِنْ خَلْقِكَ أوْمِنَ النَّاسِ" فَقُلْتُ : " وَلِيْ، يَارَسُوْلَ اللَّهِ ! فَاسْتَغْفِرْ" فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " اَللَّهُمَّ اغْفِرْلِعَبْدِاللَّهِ بْنِ قَيْسٍ ذَنْبَهُ، وَأَدْخِلْهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مُدْخَلاً كَرِيْمًا"
قَالَ أبُوْبُرْدَةَ : إحْدَاهُمَا ِلأَبِيْ عَامِرٍ، وَاْلاُخْرَى ِلأَبِيْ مُوْسَى ..... 
“หลานเอ๋ย ! จงกลับไปหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม และบอกท่านว่า ฉันฝากสล่ามมาด้วย, แล้วจงบอกแก่ท่านว่า อบู อามิรฺสั่งมาว่า ให้ท่านขออภัยโทษ (ต่ออัลลอฮ์) แก่ฉันด้วย, .. ท่านมีชีวิตอยู่ได้ครู่หนึ่ง ก็สิ้นใจ, เมื่อฉัน (อบู มูซา) กลับไปหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ... ฉันก็กล่าวแก่ท่านว่า ท่านอบู อามิรฺได้สั่งมาว่า ให้ท่านขออภัยโทษ (ต่ออัลลอฮ์) ให้เขาด้วย, ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงสั่งให้คนนำน้ำมาให้ แล้วท่านก็ทำวุฎูอ์, จากนั้นท่านก็ยกมือทั้งสองขึ้นแล้วกล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮ์ ! โปรดยกโทษให้อุบัยด์ .. อบู อามิรฺด้วยเถิด” ..จนฉันสามารถมองเห็นความขาวของรักแร้ของท่านได้, แล้วท่านก็กล่าวอีกว่า ..โอ้ อัลลอฮ์ ! โปรดให้เขาได้อยู่ในตำแหน่งที่สูงส่งในวันกิยามะฮ์เหนือกว่าปวงบ่าวส่วนมาก ..หรือประชาชนจำนวนมาก .. ของพระองค์” ฉัน (อบู มูซา) จึงกล่าวว่า “ขออภัยโทษให้ฉันบ้างซิ โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ !” ท่านจึงกล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮ์ ! โปรดอภัยโทษให้แก่อับดุลลอฮ์ บิน ก็อยซ์ (ชื่อจริงของท่านอบู มูซา), และโปรดให้เขาได้เข้าอยู่ ณ สถานที่อันทรงเกียรติในวันกิยามะฮ์ด้วยเถิด” 
ท่านอบู บุรฺดะฮ์ (เป็นบุตรชายของท่านอบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ ร.ฎ. สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 104) ได้กล่าวว่า .. “ครั้งหนึ่ง ท่านนบีย์ขอดุอาให้แก่ท่านอบู อามิรฺ, และอีกครั้งหนึ่ง ขอให้แก่ท่านอบู มูซา”) ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 4323, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 2498, และมีบันทึกในหนังสือ “อัล-บิดายะฮ์ วัล-นิฮายะฮ์” ของท่านอิบนุ กะษีรฺ เล่มที่ 4 หน้า 736 ด้วย) ...
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์โดยปราศจากข้อสงสัย ...
จะเห็นได้ว่า หะดีษบทนี้กับหะดีษข้างต้น คือหะดีษเดียวกัน ! แต่มีข้อความที่ขัดแย้งกัน 2 ตำแหน่ง คือ ...
(1). หะดีษข้างต้นกล่าวว่า พอท่านอบู มูซา ขอให้ช่วยขออภัยให้ ท่านนบีย์ก็ลุกขึ้นทำนมาซ 2 ร็อกอะฮ์ (ไม่ทราบว่าเป็นนมาซอะไร? ทั้งยังแสดงว่า ขณะนั้นท่านนบีย์คงมีวุฎูอ์พร้อมอยู่แล้ว) แต่ในหะดีษที่ถูกต้องบทนี้กล่าวว่า พอท่านอบู มูซาขอร้อง ท่านนบีย์ก็สั่งให้คนไปเอาน้ำมาให้ แล้วท่านก็ทำวุฎูอ์, ต่อจากนั้น ท่านก็ยกมือขึ้นขอดุอาโดยไม่ได้นมาซ 2 ร็อกอะฮ์ ดังที่ถูกกล่าวอ้างในหะดีษข้างต้น .....
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้อธิบายข้อความของหะดีษตอนนี้ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 8 หน้า 43 ว่า .....
يُسْتَفَادُمِنْهُ إسْتِحْبَابُ التَّطْهِيْرِِ ِلإرَادَةِ الدُّعَاءِ، وَرَفْعِ الْيَدَيْنِ فِي الدُّعَاءِ ...... 
“สิ่งที่ได้รับจากหะดีษตอนนี้ก็คือ สมควรทำความสะอาด (เช่นทำวุฎูอ์) เมื่อต้องการจะขอดุอา, และชอบให้มีการยกมือทั้งสองในการขอดุอา” .... 
เพราะฉะนั้น หะดีษบทนี้จึงมิใช่หลักฐานเรื่องการยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัต ดังที่หนังสือเล่มนั้นอ้าง, ... แต่ถ้าหากจะอ้างว่า หะดีษตอนนี้ คือหลักฐานอีกบทหนึ่งเรื่องสุนัตให้ยกมือเพื่อขอดุอาอิสติฆฟารฺ (ขออภัยโทษ) ให้แก่ผู้ตาย (ไม่ว่าจะเป็นการอิสติฆฟารฺตอนฝังเสร็จใหม่ๆ หรืออิสติฆฟารฺให้ผู้ตาย ไม่ว่าที่ใดก็ตาม) ก็น่าจะถูกต้องกว่า ....
(2). หะดีษข้างต้นนั้นกล่าวว่า ท่านนบีย์ยกมือขอดุอาให้แก่ท่านอบู มาลิก (อัล-อัชอะรีย์), แต่หะดีษที่ถูกต้องบทนี้กล่าวว่า ผู้ที่เสียชีวิตและท่านนบีย์ขอดุอาให้ ก็คือ ท่านอบู อามิรฺ อัล-อัชอะรีย์ ซึ่งเป็นอาของท่านอบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ และเป็นคนละคนกับท่านอบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ ... 
ท่านอบู อามิรฺ อัล-อัชอะรีย์ มีชื่อจริงว่า “อุบัยด์ บิน สุลัยม์” ดังได้กล่าวมาแล้ว,ส่วนท่านอบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ ก็เป็นเศาะหาบะฮ์ที่มีนามสกุลเดียวกันกับท่านอบู อามิรฺ, และเศาะหาบะฮ์ที่มีสมญานามว่า อบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์นี้ มีอยู่ 2 ท่านด้วยกัน, ท่านแรกคือ “ท่านอัล-หาริษ บิน อัล-หาริษ” (จากหนังสือ “อัล-อิศอบะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 288), ส่วนอีกท่านหนึ่งมีชื่อจริงว่า “กะอฺบ์ (กะอับ) บิน อาศิม” (จากหนังสือ “อัล-อิศอบะฮ์” เล่มที่ 7 หน้า 168) ..ซึ่งไม่ว่าจะเป็นท่านใดจากทั้ง 2 ท่านนี้ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขอดุอาอิสติฆฟารฺให้ของท่านนบีย์ในหะดีษบทนี้แต่อย่างใด ทั้งสิ้น 
จุดขัดแย้งทั้ง 2 ประการนี้ แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในด้าน ”ความจำ” ของผู้รายงานบางท่านของหะดีษข้างต้น, และหะดีษบทใดก็ตามที่ผู้รายงานที่บกพร่อง ได้รายงานให้ขัดแย้งกับผู้รายงานที่เชื่อถือได้ จะเรียกหะดีษนั้นตามศัพท์วิชาการว่า “หะดีษมุงกัรฺ” ( حَدِيْثٌ مُنْكَرٌ ) ซึ่งถือเป็นหะดีษที่อ่อนมากดังกล่าวมาแล้ว ...
สรุปแล้ว เรื่องการยกมือขอดุอาหลังนมาซสุนัต, ไม่ว่านมาซสุนัตชนิดใด จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องมายืนยันแม้แต่บทเดียว นอกจากในนมาซสุนัตเมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่นนมาซขอฝนเมื่อฝนแล้ง หรือนมาซกุซูฟเมื่อเกิดสุริยคราสหรือจันทรคราส ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ......
วัลลอฮุ อะอฺลัม.

ประจำเดือนมาไม่ปกติ


ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม
อาจารย์ค่ะ มีเพื่อนมาปรึกษาว่า เลือดประจำเดือนไม่มาหลายเดือน มาก็นิหน่อย ภายหลังมา 15 วันแล้ว ก็มีการอาบน้ำยกหะดัษ และหลังจากนั้นเขาได้ดื่มชาที่ระบุสรรพคุณว่าช่วยขับถ่ายของเสียในร่างกาย ปรากฎว่าเมื่อดื่มชานั้น เลือด ไม่แน่ใจว่าประจำเดือนหรือไม่ออกมาอย่างมาก และออกมาเรื่อยๆ ทุกวัน เขาอยากทราบว่าเป็นเลือดประจำเดือนหรือไม่ และจะปฏิบัติอย่างไรในเรื่องศาสนกิจค่ะ ญาซ่ากัลลอฮุฆัยร็อนค่ะ

ตอบ
คนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติจะตัดสินกันยากครับ เพราะตามปกติระยะเวลาที่มากที่สุดของประจำเดือนก็คือ 15 วัน เลยจากนั้นก็ให้ถือว่าเป็นเลือดเสียหรืออิสติฮาเดาะฮ์ แต่ในกรณีเพื่อนของคุณซึ่งประจำเดือนมาไม่ปกติแบบนี้ แถมยังทานยาขับของเสียแล้วมีเลือดออกมาทุกวัน ผมขอแนะนำให้สังเกต "สี" ของเลือดด้วยว่าเป็นสีแดงสดใสหรือเปล่า หากใช่ก็ให้ถือว่าเป็นประจำเดือน ก็ต้องงดการละหมาดไว้ก่อนครับจนเลย 15 วันไปแล้ว จึงค่อยอาบน้ำยกหะดีษ แต่ถ้าสีเลือดไม่ใช้สีแดงแบบประจำเดือน ก็ให้แค่ล้างให้สะอาดแล้วละหมาดตามปกติครับ .. 

วัลลอฮุ อะอฺลัม ...

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์หลักฐานเรื่อง การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์หลังตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก (ตอนที่ 1)


โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย


ก่อนอื่น ก็อยากจะขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทุกท่านรับทราบเสียก่อนว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมหลังจากตะชะฮ์ฮุด ถือเป็น مَشْرُوْعٌ หรือเป็น “บทบัญญัติ” .. ซึ่งไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้ ...
แต่สิ่งที่บรรดานักวิชาการในอดีตขัดแย้งกันในกรณีนี้ ก็คือ ...
ก. การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุด เป็นสิ่ง وَاجِبٌ คือ “จำเป็น” จะต้องอ่าน .. หรือเป็นเพียง مُسْتَحَبٌّ .. คือ “สมควร” อ่าน ? ...
ข. ไม่ว่าในมุมมองที่ว่า การอ่านศ่อละวาตดังกล่าวเป็นเรื่อง وَاجِبٌ หรือเป็นเรื่อง مُسْتَحَبٌّ .. ปัญหาต่อมาก็คือ การอ่านศ่อละวาตนั้น เป็นบทบัญญัติเฉพาะของตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย .. หรือเป็นบทบัญญัติของตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย ? ...
ก่อนจะถึงการวิเคราะห์หลักฐานและมุมมองของความขัดแย้งข้างต้น ผมก็ขอเสนอหลักฐานจากหะดีษ – บางบท - ที่แสดงว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็น “บทบัญญัติ” หลังตะชะฮ์ฮุดของการนมาซ ...
หลักฐานจากหะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้ มี 3 ลักษณะคือ ...
1. เป็นหลักฐานครอบคลุม (مُطْلَقٌ) .. คือไม่ได้ระบุว่าให้อ่านศ่อละวาตดังกล่าวในนมาซหรือนอกนมาซ ...
2. เป็นหลักฐานที่กำหนด (تَقْيِيْدٌ) ว่า เป็นการอ่านในนมาซ แต่ไม่ได้ระบุว่าให้อ่านในช่วงไหนของการนมาซ ...
3. เป็นหลักฐานที่ระบุชัดเจน (صَرِيْحٌ) ว่า หมายถึงให้อ่านหลังจากตะชะฮ์ฮุด แต่มิได้ระบุว่าเป็นตะชะฮ์ฮุดไหน ...
ต่อไปนี้คือข้อมูล, คำอธิบาย และการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าว ...
1. หลักฐานครอบคลุม (مُطْلَقٌ) ...
ท่านอบูมัสอูด (อุกบะฮ์ บินอัมรฺ อัล-อันศอรีย์ ร.ฎ.) กล่าวว่า ...
أَتَانَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ فِىْ مَجْلِسِ سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ : فَقَالَ لَهُ بَشِيْرُ بْنُ سَعْدٍ : أَمَرَنَااللهُ تَعَالَى أَنْ نُصَلِّىَ عَلَيْكَ يَا رَسُوْلَ اللهِ! فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ ؟ قَالَ : فَسَكَتَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَتىَّ تَمَنَّيْنَا أَنَّهُ لَمْ يَسْأَلْهُ، ثُمَّ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : قُوْلُوْا : أَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَّعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيِمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَّعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ فِى الْعَالَمِيْنَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ، وَالسَّلاَم ُكَمَا قَدْ عَلِمْتُمْ ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้มาหาพวกเราขณะที่พวกเรานั่งอยู่ในมัจญลิซของท่านสะอัด บินอุบาดะฮ์ .. ท่านบะชีรฺ บินสะอัดได้กล่าวแก่ท่านว่า .. “พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาให้พวกเรากล่าวศ่อละวาตแก่ท่าน โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์! แล้วพวกเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไร ?” .. (ท่านอบูมัสอูดกล่าวว่า) แล้วท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็นิ่งเงียบจนพวกเราหวังกันว่า ท่านบะชีรฺมิได้ถามอะไรท่าน หลังจากนั้น ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็กล่าวว่า .. “พวกท่านจงกล่าวว่า اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ .. (จนจบข้อความของศ่อละวาต) .. ส่วนการให้ สล่ามนั้น ก็ดังที่พวกท่านทราบกันดีแล้ว” ...
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 65/405, ท่านมาลิก หะดีษที่ 397, ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 980, ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1284, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 3220, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 1343, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 146, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 118, ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษที่ 2370, และท่านอบูอะวานะฮ์ เล่มที่ 2 หน้า 211) ...
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ) ซึ่งสำนวนดังข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านมาลิก ท่านอบูดาวูด และท่านอัด-ดาริมีย์ เป็นต้น ...
นอกจากนี้ หะดีษเรื่องการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังมีรายงานมาด้วยสำนวนอื่นๆอีกหลายสำนวนจากเศาะหาบะฮ์หลายท่าน คือท่านอะลีย์, ท่านอบีย์หุมัยด์, ท่านกะอฺบ์ (กะอับ บินอุจญเราะฮ์), ท่านฏ็อลหะฮ์ บินอุบัยดิลลาฮ์, ท่านซัยด์ บินคอริญะฮ์ และท่านบุร็อยดะฮ์ .. ดังคำกล่าวของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ตอนท้ายหะดีษที่ 3220 จากหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ...
อธิบาย
1. คำกล่าวของท่านบะชีรฺ บินสะอัด ร.ฎ. ที่ว่า .. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาให้พวกเราศ่อละวาตแก่ท่าน .. หมายถึงพระดำรัสของพระองค์ในโองการที่ 56 ซูเราะฮ์อัล-อะห์ซาบ ที่ว่า ...
إِنَّ اللهَ وَمَلآئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِىِّ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์และบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ต่างก็ศ่อละวาต (คือประสาทพร) ให้แก่ท่านนบีย์ โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกท่านจงศ่อละวาตและสล่ามให้แก่เขาอย่างเทิดทูนเถิด” ...
2. แม้คำถามในเรื่องการอ่านศ่อละวาตข้างต้นจะไม่ได้ระบุว่าเป็นการอ่านนอกหรือในนมาซ แต่จากคำตอบของท่านศาสดาในตอนท้ายที่ว่า .. “ส่วนการให้สล่ามนั้น ก็ดังที่พวกท่านทราบกันดีแล้ว” .. นั้น นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงการกล่าวสล่ามดังคำสอนของท่านที่เคยสอนให้พวกเขากล่าวใน (ตะชะฮ์ฮุดของ) การนมาซที่ว่า ...
اَلسَّلاَمُ عَلَيْكَ اَيُّهَاالنَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُـهُ
คำอธิบายดังกล่าวนี้ ได้รับการยืนยันจากหะดีษต่อไปนี้ คือ ...
2. หลักฐานที่กำหนด(تَقْيِيْدٌ)ว่า ให้อ่านศ่อละวาตในการนมาซ
หะดีษที่มีระบุว่าให้อ่านศ่อละวาตดังคำสอนข้างต้นในนมาซ -- แต่มิได้ระบุว่า ให้อ่านในช่วงใดของการนมาซ – มีรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ 3 ท่านคือ ท่านกะอับ บินอุจญเราะฮ์, ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ และท่านอบูมัสอูด ร.ฎ. ...
รายงานจากเศาะหาบะฮ์ 2 ท่านแรก เป็นการบันทึกของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสืออัล-อุมม์ เล่มที่ 1 หน้า 102 ซึ่งผมจะไม่นำมาวิเคราะห์ ณ ที่นี้ แต่ที่นำมากล่าวถึงก็คือ รายงานของท่านอบูมัสอูด (อุกบะฮ์ บินอัมรฺ ร.ฎ.) ที่กล่าวว่า ...
أَقْبَلَ رَجُلٌ حَتىَّ جَلَسَ بَيْنَ يَدَىْ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ عِنْدَهُ، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللهِ! أَمَّا السَّلاَمُ عَلَيْكَ فَقَدْ عَرَفْنَاهُ، فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ إِذَا نَحْنُ صَلَّيْنَا عَلَيْكَ فِىْ صَلاَتِنَا ....... الحديثَ
ชายผู้หนึ่งได้มุ่งมาหาและนั่งลงต่อหน้าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยพวกเราก็อยู่กับท่านด้วย แล้วเขาก็กล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ การให้ สล่ามแก่ท่านนั้นพวกเราล้วนทราบกันดี แล้วเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไรเมื่อเราศ่อละวาตแก่ท่านในนมาซของเรา” ...... (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-หากิมในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 401, ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 355, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 119, ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 711 และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 146, 378) ...
ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าวหลังจากบันทึกหะดีษบทนี้ว่า ...
هَذَا إِسْنَادٌ حَسَنٌ مُتَّصِلٌ
“นี่เป็นสายรายงานที่หะซัน (สวยงาม) และต่อเนื่อง” ...
ท่านอัล-หากิมได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 401ว่า ...
هَذَا حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ عَلَى شَرْطِ مُسْلِمٍ
“หะดีษนี้ ถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) ตรงตามเงื่อนไขของท่านมุสลิม” ...
และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ก็กล่าวรับรองคำพูดดังกล่าวของท่านอัล-หากิมในหนังสือ “ตัลคีส มุสตัดร็อก” ซึ่งถูกตีพิมพ์ด้านล่างของหนังสืออัล-มุสตัดร็อก ...
แต่ที่ถูกต้องก็คือ สายรายนี้เป็นสายรายงานที่หะซัน ดังคำกล่าวของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ข้างต้น เพราะท่านมุหัมมัด บินอิสหาก ผู้รายงานท่านหนึ่งของหะดีษบทนี้มีคุณสมบัติเป็นผู้รายงานหะดีษหะซัน มิใช่เป็นผู้รายงานหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ...
อธิบาย
คำถามในหะดีษบทนี้ที่ว่า .. “แล้วเราจะศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไรเมื่อเราศ่อละวาตแก่ท่านในนมาซของเรา” .. ระบุถึงความอยากรู้ของผู้ถามใน “วิธีการ” หรือ “รูปแบบ” การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในนมาซ ...
แต่ทั้งในคำถามและคำตอบของหะดีษบทนี้ ไม่มีข้อความใดระบุว่า ให้อ่านศ่อละวาตในอิริยาบถใดของการนมาซ ...
3. หลักฐานที่ระบุชัดเจน (صَرِيْحٌ) ว่า ให้อ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุดในนมาซ (แต่ไม่ได้ระบุว่าตะชะฮ์ฮุดครั้งไหน)
ความคลุมเครือเกี่ยวกับตำแหน่งการอ่านศ่อละวาต “ในนมาซ” ดังหะดีษข้างต้น ถูกขยายความด้วยหะดีษเฎาะอีฟหลายบท ซึ่งโดยภาพรวมแล้วพอจะเชื่อถือได้ว่า หมายถึง “ให้อ่านศ่อละวาตดังกล่าวหลังจากตะชะฮ์ฮุดในนมาซ” ดังต่อไปนี้ ...
ก. ท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ...
إِذَا تَشَهَّدَ أَحَدُكُمْ فِى الصَّلاَةِ فَلْيَقُلْ : اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ... الحديثَ
“เมื่อพวกท่านคนใดอ่านตะชะฮ์ฮุดในนมาซ ก็ให้เขากล่าวว่าللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى محمدٍ .. (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดยท่านอัล-หากิม เล่มที่ 1 หน้า 402, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 379) ...
สายรายงานของหะดีษนี้ เฎาะอีฟ, เพราะในสายรายงานตอนหนึ่งกล่าวว่า .. จากชายผู้หนึ่งแห่งบะนีย์ อัล-หาริษ .. ซึ่งไม่ทราบว่าชายผู้นั้นคือใคร จึงถือเป็นบุคคลมัจญฮูล
ข. ท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้รายงานจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมอีกว่า ...
عَلَّمَنِىْ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ التَشَهُّدَ كَمَا يُعَلِّمُنَا السُّوْرَةَ مِنَ الْقُرْآنِ : اَلتَّحِيَّاتُ للهِ، وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ ..... اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ...... الحديثَ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ได้สอนตะชะฮ์ฮุดแก่ฉันเหมือนท่านสอนซูเราะฮ์ของอัล-กุรฺอ่านแก่พวกเรา (โดยท่านสอนให้กล่าว) ว่า ...
اَلتَّحِيَّاتُ للهِ وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ ......... اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدِ.......
.. (จนจบหะดีษ) ...
(บันทึกโดยท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 354 และท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ใน “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ” หะดีษที่ 9937) ...
ท่านอัล-ฮัยษะมีย์ได้กล่าวในหนังสือ “มัจญมะอฺ อัซ-ซะวาอิด” เล่มที่ 2 หน้า 341 ว่า ในสายรายงานของหะดีษนี้มีชื่อ อับดุลวะฮ์ฮาบ บินมุญาฮิด ซึ่งเป็นผู้รายงานที่เฎาะอีฟ ...
ค. ท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُعَلِّمُنَا التَشَهُّدَ : اَلتَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الزَّاكِيَاتُ للهِ .. .......... ثُمَّ يُصَلِّىْ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้สอนตะชะฮ์ฮุดแก่พวกเราว่า .. اَلتَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الزَّاكِيَاتُ للهِ، ....... หลังจากนั้นท่านก็กล่าวศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ...
(บันทึกโดยท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 351) ...
ท่านอัดดา-รุกุฏนีย์ได้กล่าวตอนท้ายหะดีษบทนี้ว่า .. มูซา บินอุบัยดะฮ์ และ คอริยะฮ์ (บินมุศอับ ซึ่งเป็นผู้รายงาน 2 ท่านของหะดีษนี้) เฎาะอีฟทั้งสองท่าน ...
ง. ท่านบุร็อยดะฮ์ ร.ฎ. กล่าวว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
يَا بُرَيْدَةُ! إِذَاجَلَسْتَ فِىْ صَلاَتِكَ فَلاَ تَتْرُكَنَّ التَّشَهُّدَ وَالصَّلاَةَ عَلَيَّ، فَاِنَّهَا زَكَاةُ الصَّلاَةِ
“นี่แน่ะบุร็อยดะฮ์! เมื่อท่านนั่งลงในนมาซของท่าน ท่านก็อย่าละทิ้งการอ่านตะชะฮ์ฮุดและการศ่อละวาตแก่ฉันเป็นอันขาด เพราะมันคือสิ่งขัดเกลาการนมาซ .....”
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 1 หน้า 355) ...
ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าวในตอนท้ายว่า .. อัมรฺ บินชิมรฺ และญาบิรฺ (ซึ่งเป็นผู้รายงาน 2 ท่านในสายรายงานของหะดีษนี้) เฎาะอีฟทั้ง 2 ท่าน ...
สรุปแล้ว หะดีษทั้ง 4 บทข้างต้นล้วนเป็นหะดีษที่มีสายรายงานเฎาะอีฟทั้งสิ้น ...
จะอย่างไรก็ตาม แม้สายรายงานของหะดีษทั้ง 4 บทนี้จะเฎาะอีฟ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีนักวิชาการท่านใด ขัดแย้งกันในเรื่องตำแหน่งการอ่านศ่อละวาตว่า “ให้อ่านหลังจากตะชะฮ์ฮุด” .. ดังข้อความที่ปรากฏในหะดีษเหล่านี้ .. และดังที่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ...


วิเคราะห์หลักฐานเรื่อง การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์หลังตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก (ตอนที่ 2)


โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุด ถือเป็น “บทบัญญัติ” ในนมาซ .. ดังหลักฐานที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วนั้น แต่นักวิชาการก็ยังขัดแย้งกันในประเด็นที่ว่า บทบัญญัติการอ่านศ่อละวาตดังกล่าว .. โดยเฉพาะหลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย .. เป็นวาญิบหรือเป็นสุนัต ? ...
นักวิชาการในอดีตส่วนมาก อาทิเช่นท่านอบูหะนีฟะฮ์, ท่านอิหม่ามมาลิก ตลอดจนสานุศิษย์ของทั้งสองท่าน, ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์, ท่านอัล-เอาซาอีย์ เป็นต้น กล่าวว่า การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย เป็นสุนัต! ...
หมายความว่า หากผู้ใดนมาซโดยไม่อ่านศ่อละวาตในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายของเขา ก็ไม่ทำให้เสียนมาซแต่อย่างใด ...
แต่นักวิชาการในอดีตบางท่าน อาทิเช่น ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ท่านอิหม่ามอะห์มัดจากรายงานครั้งหลังสุดของท่าน, ท่านอัช-ชะอฺบีย์, ท่านอิบนุลอะรอบีย์ เป็นต้น กล่าวว่า การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเป็นวาญิบ หากใครไม่อ่านศ่อละวาต การนมาซของเขาก็ใช้ไม่ได้ ...
เศาะหาบะฮ์บางท่าน เช่นท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ, บุตรชายของท่าน คือท่านอับดุลลอฮ์, และท่านอิบนุมัสอูด ร.ฎ. ก็มีทัศนะว่า การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุด ถือเป็นวาญิบในการนมาซเช่นเดียวกัน ...
สำหรับนักวิชาการยุคหลังหรือยุคปัจจุบันเท่าที่ทราบก็คือ ท่านเช็คมุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ซึ่งมีทัศนะว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมหลังจากตะชะฮ์ฮุด ถือเป็นวาญิบ .. มิใช่เฉพาะในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเท่านั้น แต่น่าจะรวมถึงตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย .. ซึ่งท่านอัล-อัลบานีย์อ้างว่า เป็นทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์จากหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 1 หน้า 102 ดังจะถึงต่อไป ...
(จากหนังสือ “ศิฟะตุ ศ่อลาติ้นนบีย์” ของท่านอัล-อัลบานีย์ หน้า 170, 181-182)
ส่วนท่านเช็คบินบาสซึ่งเป็นนักวิชาการยุคปัจจุบันอีกท่านหนึ่งมีทัศนะว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมหลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเป็นสุนัต แต่หลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเป็นวาญิบ! .. ซึ่งทัศนะของท่านเช็คบินบาสดัง กล่าวนี้ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ท่านเอาหลักฐานใดมาจำแนกว่าการศ่อละวาตในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเป็นสุนัต และการศ่อละวาตในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเป็นวาญิบ ...
เพราะหลักฐานที่นำมาอ้างเรื่องการอ่านศ่อละวาตหลังตะชะฮ์ฮุดทั้งสองก็คือหลักฐานบทเดียวกัน ...
ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับท่านเช็คบินบาสในกรณีนี้ก็คือ ถ้ามองว่าการอ่านศ่อละวาตหลังตะชะฮ์ฮุดเป็นวาญิบ ก็ต้องเป็นวาญิบในทั้งสองตะชะฮ์ฮุด ..
หรือถ้ามองว่าเป็นสุนัต ก็ต้องเป็นสุนัตในทั้งสองตะชะฮฺฮุด เพราะไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องบทใดมาแบ่งแยกการอ่านศ่อละวาตในสองตะชะฮ์ฮุดนั้นว่า นั่นเป็นสุนัต นี่เป็นวาญิบ .. ดังรายละเอียดที่จะอธิบายในตอนต่อไป ...
ท่านอัช-เชากานีย์ เจ้าของหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” ได้นำหลักฐานจากหะดีษบางบทมาโต้แย้งและหักล้างหลักฐานของผู้ที่มีทัศนะว่าการอ่านศ่อละวาตหลังตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเป็นวาญิบ แล้วท่านก็กล่าวสรุปว่า การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุด .. ทั้งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ในการนมาซ .. เป็นสุนัต ...
(สรุปจากหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” เล่มที่ 2 หน้า 321-324) ...
ผมจะไม่นำเอารายละเอียดความขัดแย้งตลอดจนหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายอ้างอิงเรื่องวาญิบหรือสุนัตการอ่านศ่อละวาตหลัง “ตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย” มาวิเคราะห์ ณ ที่นี้ เพราะจะทำให้ข้อเขียนนี้ยืดเยื้อและออกนอกประเด็นเกินไป และผมก็ไม่กล้าตัดสินความผิดถูกของ 2 ทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องสุนัต-วาญิบนี้ด้วย เพราะหลักฐานที่แต่ละฝ่ายนำมาอ้างค่อนข้างก้ำกึ่งกัน และหลายบทก็เป็นหะดีษเดียวกันด้วยซ้ำไป ...
ความขัดแย้งเรื่องวาญิบ – สุนัต จึงเป็นเพียงการ “มองต่างมุม” ของนักวิชาการในความหนัก - เบาของคำสั่งท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเท่านั้น ...
ตัวอย่างเช่น “คำสั่ง” ให้อ่านศ่อละวาตจากหะดีษของท่านฟุฎอละฮ์ บิน อุบัย ร.ฎ. ที่ว่า ...
أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَأَى رَجُلاً يُصَلِّىْ، لَمْ يَحْمَدِاللهَ وَلَمْ يُمَجِّدْهُ وَلَمْ يُصَلِّ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ النَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : عَجَّلَ هَذَا، ثُمَّ دَعَاهُ النَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ فَلْيَبْدَأْ بِحَمْدِ رَبِّهِ وَالثَّنَاءِ عَلَيْهِ، وَلْيُصَلِّ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَلْيَدْعُ مَا شَاءَ ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เห็นชายผู้หนึ่งนมาซ โดยไม่ได้กล่าวสรรเสริญและยกย่องพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และมิได้กล่าวศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านจึงกล่าวว่า .. “ชายผู้นี้รีบเร่งจนเกินไป” .. แล้วท่านก็เรียกเขามาและกล่าวว่า .. “เมื่อพวกท่านคนใดนมาซ ก็ให้เขาเริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระผู้อภิบาลของเขาและยกย่องพระองค์ และจงอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และให้เขาขอดุอาตามที่เขาประสงค์” ...
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์, บันทึกโดยท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 1481, ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 710, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 18 และท่านอัล-หากิม เล่มที่ 1 หน้า 401 ...
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ชัรฺหุมุสลิม” เล่มที่ 4 หน้า 124 ว่า .. คำสั่งในหะดีษนี้ (ที่ว่า .. และ “จงอ่าน” ศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ถือว่า เป็นวาญิบ .. (ตามกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของวิชาอุศูลุ้ลฟิกฮ์) ...
ดังนั้น ความหมายจากคำสั่งนี้ก็คือ วาญิบจะต้องอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในการนมาซ ...
แต่ท่านเจ้าของหนังสือ “มุนตะกอ อัล-อัคบารฺ” ได้อธิบายหะดีษนี้ในลักษณะว่า คำสั่งให้ศ่อละวาตในนมาซข้างต้นเป็นสุนัตไม่ใช่วาญิบ เพราะถ้าวาญิบให้อ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ในการนมาซ ท่านนบีย์ก็จะต้องสั่งให้ชายผู้นั้นนมาซใหม่ด้วย เนื่องจากนมาซครั้งแรกของเขาถือว่าไม่เศ๊าะห์(ใช้ไม่ได้) เพราะไม่มีการอ่านศ่อละวาตให้แก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ...
การที่ท่านนบีย์มิได้ใช้ให้เขานมาซใหม่จึงแสดงว่านมาซเก่าของเขายังใช้ได้ ดังนั้น คำสั่งให้อ่านศ่อละวาตแก่ท่านในหะดีษบทนี้จึงมิใช่เป็นวาญิบ ...
(จากหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” เล่มที่ 2 หน้า 326-327) ...
ดังนั้น หากจะถือตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ที่มองว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ – แม้กระทั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย – เป็นเพียงสุนัต (คือถ้าไม่อ่านก็ไม่เสียนมาซ) ผมก็คิดว่า แล้วมีความจำเป็นอย่างใดหรือที่พวกเราจะมาโต้แย้งกันว่า ต้องอ่านศ่อละวาตในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วยหรือไม่? ...
ลงขนาดการอ่านศ่อละวาตในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายยังเป็นเพียงสุนัต(ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่) การอ่านศ่อละวาตในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกก็ไม่ต้องพูดถึง! ...
เพราะความหมาย “สุนัต” ก็ดังที่รู้ๆกันดี .. คือ ถ้าทำก็ได้บุญ, ถ้าไม่ทำก็ไม่บาป.. แค่นั้นเอง ...
เมื่อเราตัดปัญหาความขัดแย้งเรื่องการอ่านศ่อละวาตเป็นสุนัตหรือเป็นวาญิบออกไป เหลือเพียงอย่างเดียวที่ “ไม่ขัดแย้ง” คือ การอ่านศ่อละวาตหลังจากตะชะฮ์ฮุดในการนมาซ เป็น “บทบัญญัติ” ดังได้กล่าวมาแล้ว ...
ปัญหาต่อมาก็คือ ...
การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์เป็นบทบัญญัติเฉพาะตะชะฮ์ฮุดครั้งหลังหรือทั้งสองตะชะฮ์ฮุด?



วิเคราะห์หลักฐานเรื่อง การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์หลังตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก (ตอนที่ 3)

โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย

มีนักวิชาการทั้งอดีตและปัจจุบันหลายท่านถือว่า การอ่านศ่อละวาตใน “ตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก” เป็นบทบัญญัติด้วย .. ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ...
1. ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ .. ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 1 หน้า 102 ว่า ...
وَالتَّشَهُّدُ فِى اْلاُوْلَى وَالثَّانِيَةُ لَفْظٌ وَاحِدٌ لاَ يَخْتَلِفُ، ... وَمَعْنَى قَوْلِىْ : "اَلتَّشَهُّدُ" اَلتَّشَهُّدُ وَالصَّلاَةُ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَجْزِيْهِ أَحَدُهُمَا عَنِ اْلآخَرِ ...
การอ่านตะชะฮ์ฮุด “ครั้งแรกและครั้งที่สอง” มีข้อความอย่างเดียวกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกัน! .. และความหมายคำพูดของฉันที่ว่า “ตะชะฮ์ฮุด” หมายถึงการ(อ่าน)ตะชะฮ์ฮุดและการศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .. จะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยปราศจากอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ ...
และท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ก็ได้กล่าวข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้อีกครั้งหนึ่งในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 105 ...
2. ท่านอัช-เชากานีย์ .. ได้กล่าวในหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” ว่า ...
وَلَكِنْ تَخْصِيْصُ التَّشَهُّدِ اْلأَخِيْرِ بِهَا مِمَّالَمْ يَدُلَّ عَلَيْهِ دَلِيْلٌ صَحِيْحٌ وَلاَ ضَعِيْفٌ، وَجَمِيْعُ هَذِهِ اْلأَدِلَّةِ الَّتِىْ اسْتَدَّلَ بِهَا الْقَائِلُوْنَ بِالْوُجُوْبِ لاَ تَخْتَصُّ بِاْلأَخِيْرِ، وَغَايَةُ مَا اسْتَدَّلُوْا بِهِ عَلَى تَخْصِيْصِ اْلأَخِيْرِ بِهَا حَدِيْثُ "أَنَّ النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَجْلِسُ فِى التَّشَهُّدِ اْلأَوْسَطِ كَمَا يَجْلِسُ عَلَى الرَّضْفِ" أَخْرَجَهُ أَبُوْدَاوُدَ وَالتِّرْمِذِىُّ وَالنَّسَائِىُّ وَلَيْسَ فِيْهِ إِلاَّ مَشْرُوْعِيَّةُ التَّخْفِيْفِ، وَهُوَ يَحْصُلُ بِجَعْلِهِ أَخَفَّ مِنْ مُقَابِلِهِ أَعْنِىْ التَّشَهُّدَ اْلأَخِيْرَ، وَأَمَّا أَنَّهُ يَسْتَلْزِمُ تَرْكَ مَا دَلَّ عَلَيْهِ الدَّلِيْلُ عَلَى مَشْرُوْعِيَّتِهِ فَلاَ، وَلاَ شَكَّ أَنَّ الْمُصَلِّىَ إِذَا اقْتَصَرَ عَلَى أَحَدِ التَّشَهُّدَاتِ وَعَلَى أَخْصَرِ أَلْفَاظِ الصَّلاَةِ عَلَيْهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ مُسَارِعًا غَايَةَ الْمُسَارَعَةِ بِاعْتِبَارِمَا يَقَعُ مِنْ تَطْوِيْلِ اْلأَخِيْرِ بِالتَّعَوُّذِ مِنَ اْلأَرْبَعِ وَاْلأَدْعِيَةِ الْمَأْمُوْرِ بِمُطْلَقِهَا وَمُقَيَّدِهَا فِيْهِ ...
“แต่การกำหนดว่า ให้อ่านศ่อละวาตเฉพาะตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ไม่ว่าหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์หรือหะดีษเฎาะอีฟ มายืนยันไว้ และหลักฐานทั้งหมดที่ผู้กล่าวอ้างเป็นหลักฐานว่าวาญิบให้อ่านศ่อละวาต ก็ไม่มีบทใดกำหนดว่าให้อ่านมันในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย ซึ่งบทสรุปของหลักฐานที่พวกเขานำมาอ้างก็คือหะดีษที่ว่า .. “แท้จริงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะนั่งในตะชะฮ์ฮุดกลาง (คือตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก) เหมือนกับนั่งบนก้อนหินที่ถูกเผาจนร้อน” .. อันเป็นรายงานของท่านอบูดาวูด, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ และท่านอัน-นะซาอีย์ ในหะดีษนี้ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าบทบัญญัติให้รีบเร่ง (ในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก)เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นได้จากการนั่งในตะชะฮ์ฮุดนี้ให้สั้นกว่าการนั่งในคู่ของมัน คือตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย .. อนึ่ง ความ(เข้าใจที่ว่า) จำเป็นจากการรีบเร่งในการนั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก จะต้องละทิ้งสิ่งซึ่งมีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นบทบัญญัติ (คือการอ่านศ่อละวาต) ก็ไม่ไช่(เป้าหมายของหะดีษนี้) เพราะไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ผู้นมาซนั้น เมื่อเขาจำกัดการอ่านเพียงตะชะฮ์ฮุดใดตะชะฮ์ฮุดหนึ่ง และรวบรัดการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ด้วยถ้อยคำที่สั้นที่สุด(ในตะชะฮ์ฮุดนั้น) เขาก็ต้องรีบมันสุดๆหากนำไปเปรียบเทียบกับการอ่านให้ยาวในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย ซึ่งมีการอ่านตะเอาวุซ (ขอความคุ้มครองจาก 4 ประการ) และดุอาอื่นๆอีกมากมายที่ถูกใช้ให้อ่านในนั้น(ตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย) .. ทั้งดุอาทั่วๆไปและดุอาเฉพาะ(คือดุอาที่มีรายงานมาในหะดีษ)” ...
(จากหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” เล่มที่ 2 หน้า 324) ...
จากคำกล่าวของท่านอัช-เชากานีย์ข้างต้น ผมมีเรื่องที่จะต้องชี้แจงใน 3 ประเด็นดังนี้ ...
ก. คำกล่าวที่ว่า .. การกำหนดว่า ให้อ่านศ่อละวาตเฉพาะตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ไม่ว่าหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์หรือหะดีษเฎาะอีฟมายืนยันไว้ ...
คำกล่าวนี้ มีบางส่วนที่ไม่ถูกต้อง เพราะในเรื่องการกำหนดให้อ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์เฉพาะในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย เป็นสิ่งที่มีหลักฐาน .. แต่เป็นหลักฐานจากหะดีษเฎาะอีฟ! .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
ข. จากหะดีษที่ว่า .. “แท้จริง ท่านนบีย์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะนั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเหมือนกับนั่งบนก้อนหินร้อนๆ” .. แล้วท่านอัช-เชากานีย์อธิบายว่า หะดีษบทนี้เป็นเพียงหลักฐานให้ “รีบเร่ง” ในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก แต่มิใช่เป็นหลักฐานเรื่องให้ “ละทิ้ง” การอ่านตะชะฮ์ฮุดแก่ท่านนบีย์ในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย .. นั้น ...
คำอธิบายดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับคำกล่าวของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 1 หน้า 105 ที่กล่าวว่า ...
فَفِىْ هَذَا – وَاللهُ تَعَاَلى أَعْلَمُ – دَلِيْلٌ عَلَى أَنْ لاَ يَزِيْدَ فِى الْجُلُوْسِ اْلأَوَّلِ عَلَى التَّشَهُّدِ وَالصَّلاَةِ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ...
“และในหะดีษบทนี้ – วัลลอฮุ อะอฺลัม - เป็นหลักฐานว่า มิให้ผู้นมาซเพิ่มเติมสิ่งใดในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก ให้นอกเหนือไปจากการอ่านตะชะฮ์ฮุดและการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” ...
ค. สายรายงานของหะดีษบทนี้ที่อ้างว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเหมือนท่านนั่งบนก้อนหินที่ถูกเผาจนร้อน เป็นสายรายงานที่เฎาะอีฟ จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้ ดังจะได้อธิบายต่อไปเช่นเดียวกัน ...
3. นักวิชาการยุคหลังสองท่านซึ่งได้รับการยอมรับจากมุสลิมทั่วโลก คือท่านเช็คบินบาซและท่านเช็คอัล-อัลบานีย์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก เป็นบทบัญญัติ! ..
ต่างกันเพียงท่านเช็คบินบาซถือว่า บทบัญญัติดังกล่าว “เป็นสุนัต”, ขณะที่ท่านอัล-อัลบานีย์มีแนวโน้มถือว่า บทบัญญัติดังกล่าว “เป็นวาญิบ” .. ดังได้กล่าวมาแล้ว
ท่านเช็คบินบาซได้กล่าวในหนังสือ “اَلدُّرُوْسُ الْمُهِمَّةُ لِعَامَّةِ اْلاُمَّةِ” หน้า 8 ว่า ...
إِنْ كَانَتِ الصَّلاَةُ ثُلاَثِيَّةً كَالْمَغْرِبِ، أَوْرُبَاعِيَّةً كَالظُّهْرِ وَالْعَصْر وَالْعِشَاءِ فَإِنَّهُ يَقْرَأُ التَّشَهُّدَ الْمَذْكُوْرَ آنِفًا مَعَ الصَّلاَةِ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ......... وَإِنْ تَرَكَ الصَّلاَةَ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعْدَ التَّشَهُّدِ اْلأَوَّلِ (فَلاَ بَأْسَ) ِلأَنَّهُ مُسْتَحَبٌّ، وَلَيْسَ بِوَاحِبٍ فِى التَّشَهُّدِ اْلأَوَّلِ
“หากเป็นนมาซประเภท 3 ร็อกอะฮ์เช่นนมาซมัคริบ, หรือประเภท 4 ร็อกอะฮ์ เช่นนมาซซุฮ์รี่, อัศรี่และอิชา ก็ให้เขาอ่านตะชะฮ์ฮุดดังที่กล่าวมาเมื่อตะกี้นี้ พร้อมกับอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมด้วย ....... และหากเขาละทิ้งการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก (ก็ไม่เป็นไร) เพราะมัน(ศ่อละวาต) เป็นสิ่งที่ชอบให้ปฏิบัติ (คือสุนัต) ไม่ใช่เป็นสิ่งวาญิบหลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก” ...
ส่วนท่านอัล-อัลบานีย์ได้กล่าวในหนังสือ “ศิฟะตุศ่อลาติ้นนบีย์ฯ” หน้า164ว่า ...
فَقَدْ قَالُوْا : يَا رَسُوْلَ اللهِ! قَدْ عَلِمْنَا كَيْفَ نُسَلِّمُ عَلَيْكَ، (أَىْ فِى التَّشَهُّدِ) فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ؟ قَالَ : قُوْلُوْا : اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ........ اَلْحَدِيْثَ، فَلَمْ يَخُصَّ تَشَهُّدًا دُوْنَ تَشَهُّدٍ، فَفِيْهِ دَلِيْلٌ عَلَى مَشْرُوْعِيَّةِ الصَّلاَةِ عَلَيْهِ فِى التَّشَهُّدِ اْلأَوَّلِ أَيْضًا ...
“แน่นอนพวกเขา(เศาะหาบะฮ์)กล่าวว่า .. โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ พวกเราทราบแล้วว่าจะอ่านสล่ามแก่ท่านอย่างไร(ในตะชะฮ์ฮุด) แล้วเราจะอ่านศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไร? ท่านตอบว่า .. พวกท่านจงกล่าวว่า .. اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ... (จนจบหะดีษ) ซึ่งท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็มิได้จำกัด(การอ่านศ่อละวาต) ในตะชะฮ์ฮุดใดโดยปราศจากการอ่านในตะชะฮ์ฮุดอื่น ในคำสั่งนี้จึงเป็นหลักฐานเรื่องมีบัญญัติให้อ่านศ่อละวาตแก่ท่านในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย ...”
หลักฐานที่ว่า การอ่านศ่อละวาตหลังตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเป็นบทบัญญัติ มีดังต่อไปนี้ ..