อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

แอลกอฮอล์เป็นนะญิสหรือไม่


ตอบโดย อ.ปราโมทย์  ศรีอุทัย

::ถาม::
อัสลามูอาลัยกุม มีคำถามอาจารย์
ถามเรื่องแอลกอฮอล์ ว่าในตัวของมันเป็นนะญิสหรือไม่ค่ะ? มีความเห็นของนักวิชาการในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
เครื่องสำอาง น้ำหอมต่างๆ หากผสมแอลกอฮอล์นำมาทาตัวได้ไหม รวมถึงแอลกอฮอล์ทาแผล การละหมาดของเขาใช้ได้ไหม?
หากเป็นยา หรือเครื่องดื่ม เช่น ยาแก้ไอ น้ำโค๊ก เราสามารถรับประทานได้ไหม?
....ข้อเท็จจริง เพื่อนคนหนึ่งมาปรึกษาว่าเขาทาน้ำหอมที่มีแอลกอฮอล์ จะละหมาดได้ไหม ซึ่งขณะนั้นเขาไม่มีชุดเปลี่ยน ก็บอกให้เขาละหมาดไปก่อน หากไปถามผู้รู้ว่าไม่ได้ก็ค่อยละหมาดชด แต่เขายอมทิ้งละหมาด
.....และตอนไปกุบูรฺ มีการเอาแป้งน้ำทาบริเวณหินปูนสัญญษลักษณ์ที่ฝังศพ แต่คนหนึ่งเขาว่าจะไม่เอาแป้งนั้นทา เข้าใจว่าไม่มีในซุนนะฮ์ แต่ความจริงเขาบอกว่า แป้งมีส่วนผสมแอลกอฮอล์ จึงไม่นำมาทาหินนั้น
.....
***.....หมายเหตุ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
....
-เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น
-เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย
ญาซ่ากัลลอฮุฆัยร็อน ค่ะ
-----------------------------------
::ตอบ::
วะอลัยกุมุสสลาม .. นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันในเรื่องเครื่องดื่มที่มึนเมาหรือสิ่งใดที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ว่าเป็นนะญิสหรือไม่ ? .. นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าสุราเป็นนะญิส อิสลามจึงห้ามดื่ม .. แต่นักวิชาการทั้งอดีตและปัจจุบันมิใช่น้อยที่ถือว่า สุราและแอลกอฮอล์มิใช่เป็นนะญิส เพราะไม่มีหลักฐานว่ามันเป็นนะญิส จึงต้องยึดถือตามพื้นฐานเดิมของมันว่า มันมีที่มาจากสิ่งสะอาดคือน้ำผลไม้ (การยึดถือตามพื้นฐานเดิมของสิ่งใด เป็นหลักการข้อหนึ่งของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ เรียกว่า إستصحاب الأصل )
..ส่วนที่อิสลามห้ามมุสลิมดื่มสุรา ก็มิใช่เพราะมันเป็นนะญิส แต่เพราะมันทำลายสุขภาพและทำลายระบบความจำของสมองทำให้เลอะเลือน ซึ่งนักวิชาการในอดีตที่มีทัศนะว่าสุรามิใช่เป็นนะญิส ก็อย่างเช่น ท่านรอบีอะฮ์ บินอบีย์อับดิรฺเราะห์มานซึ่งเป็นตาบิอีนระดับอาวุโส, ท่านอัลลัยษ์ บินซะอัดซึ่งท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ยกย่องว่า เชี่ยวชาญในวิชาฟิกฮ์ยิ่งกว่าอิหม่ามมาลิก, ท่านอิสมาอีล บินยะห์ยา อัล-มุซะนีย์ ศิษย์เอกของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์เอง เป็นต้น ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยกับทัศนะหลังนี้ครับ .. เพราะฉะนั้น แอลกอฮอล์ที่ผสมน้ำหอม แล้วเราใช้ทาตัวหรือเสื้อผ้า หรือแอลกอฮอล์ที่ใช้ทาและทำความสะอาดแผล จึงไม่ส่งผลเสียต่อการละหมาดครับ ..
..แต่ยาบางชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แม้จะเพียงนิดเดียวก็ห้ามนำมาดื่ม เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเคยกล่าวว่า "ของเหลวที่มึนเมาทุกชนิดคือคอมัรฺ (สุรา), และคอมัรฺทุกชนิด หะรอม(ห้าม) ดื่ม, สิ่งใดที่ปริมาณมากของมันทำให้เมาได้ ปริมาณเพียงเล็กน้อยของมันก็หะรอมเช่นเดียวกัน"
.. วัลลอฮุ อะอฺลัมครับ ...
--------------------------------------------
::เพิ่มเติม::
นะญิส แปลว่าสิ่งสกปรกครับ ..


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น