ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
อัสลามูอาลัยกุม อาจารย์ ได้อ่านบทความของอาจารย์ ว่าผู้ที่อ้างว่าเป็นสะละฟีย์ มีการนัดชกต่อยกัน รู้สึกไม่สบายใจเลยค่ะ ดิฉันไม่ทราบสาเหตุของความขัดแย้ง แต่ดิฉันไม่อยากให้มันเกิดขึ้นเช่นนี้อีกค่ะ
ดิฉันอยากเห็นบรรยากาศ ของความเป็นพี่น้อง เหมือนดั่งที่ผ่านมาค่ะ
ดิฉันขอถามปัญหาศาสนากับอาจารย์ ในเรื่องการซื้อขายเอกสาร อย่างตั๋วใช้เงิน เช็ค ประทวนสินค้า หรือใบตราส่ง อิสลามว่าด้วยเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยหรือต่างประเทศ จะออกเอกสารเช่นนี้แทนการใช้เงินสด และมีการลงชื่อสลักหลัง หรือมีการโอนการครอบครองด้วยการส่งมอบหากเป็นตั๋ว หรือเช็คผู้ถือ เป็นทอดๆไป โดยที่ผู้รับสลักหลังไม่ได้เป็นคู่สัญญาเดิมที่ทำกันไว้เลย เพียงแต่รับผิดตามที่ลงลายมือลงไป อาจรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง หรือผู้รับเอาวัล(ค้ำประกัน) และถึงแม้สัญญาเดิมจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม จะยกมาต่อสู้ผู้รับสลักหลังต่อจากนั้นไม่ได้
และอยากทราบเรื่องประกันชีวิต อิสลามว่าด้วยเรื่องนี้อย่างไรบ้างค่ะ
ดิฉันอยากเห็นบรรยากาศ ของความเป็นพี่น้อง เหมือนดั่งที่ผ่านมาค่ะ
ดิฉันขอถามปัญหาศาสนากับอาจารย์ ในเรื่องการซื้อขายเอกสาร อย่างตั๋วใช้เงิน เช็ค ประทวนสินค้า หรือใบตราส่ง อิสลามว่าด้วยเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยหรือต่างประเทศ จะออกเอกสารเช่นนี้แทนการใช้เงินสด และมีการลงชื่อสลักหลัง หรือมีการโอนการครอบครองด้วยการส่งมอบหากเป็นตั๋ว หรือเช็คผู้ถือ เป็นทอดๆไป โดยที่ผู้รับสลักหลังไม่ได้เป็นคู่สัญญาเดิมที่ทำกันไว้เลย เพียงแต่รับผิดตามที่ลงลายมือลงไป อาจรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง หรือผู้รับเอาวัล(ค้ำประกัน) และถึงแม้สัญญาเดิมจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม จะยกมาต่อสู้ผู้รับสลักหลังต่อจากนั้นไม่ได้
และอยากทราบเรื่องประกันชีวิต อิสลามว่าด้วยเรื่องนี้อย่างไรบ้างค่ะ
ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม .. สำหรับเรื่องที่คุณถามมาทั้ง 2 เรื่อง ผมไม่เคยเจอว่าจะเคยปรากฏในสมัยของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะฉะนั้นคำตอบต่อไปนี้จึงขอเรียนให้ทราบเสียก่อนเป็นคำตอบตามมุมมองหรือการวินิจฉัยส่วนตัวของผมครับ ...
(1). เรื่องตั๋วใช้เงิน, ประทวนสินค้า, ใบตราส่ง ผมไม่มีความรู้ในสิ่งเหล่านี้เลยครับ นอกจากเรื่องเช็คอย่างเดียว เพราะใช้มาไม่รู้กี่ร้อยเล่มแล้วตอนตั้งแพปลาที่สงขลา แต่ผมเข้าใจว่า ทุกอย่างที่คุณกล่าวมา แม้ว่ามันจะเป็นเพียงกระดาษหรือเอกสาร แต่ตามหลักกฎหมายของประเทศแล้ว ให้การรับรองว่า มันมี "ค่าและราคา" เท่ากับธนบัตรตามจำนวนที่มีระบุไว้นั้นทุกประการมิใช่หรือครับ เพราะฉะนั้น ผมจึงเห็นว่า มันน่าจะสามารถนำไปแลกเปลี่ยนหรือใช้แทนเงินตราในการซื้อขายสินค้า ไม่ว่าจะกี่ทอดได้ เท่าที่อำนาจกฎหมายบ้านเมืองจะอนุญาตและเปิดช่องให้ครับ (แต่ถ้ามีอะไรซับซ้อนเกินกว่าที่ผมเข้าใจ คำตอบของผมก็คงครอบคลุมไปไม่ถึงครับ) วัลลอฮุอะอฺลัม .
(2). ส่วนเรื่องการประกันชีวิต ก็ขอตอบตามมุมมองของผมอีกเช่นกันว่า น่าจะเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับมุสลิมเพราะมันมีลักษณะกึ่งการพนันกึ่งดอกเบี้ย .. ที่ว่า "มันมีลักษณะเป็นการพนัน" ก็เพราะมันมีได้-มีเสีย ซึ่งผมเคยโดนกับตัวเองมาแล้ว ตอนอยู่สงขลาและทำประกันชีวิตให้น้องเมีย (เพื่อฝากเขาเข้าทำงานที่บริษัทขายรถยนตร์แห่งหนึ่งของเพื่อนที่หาดใหญ่ แล้วเมียของเพื่อนก็ทวงบุญคุณด้วยการให้ผมทำประกันชีวิตน้องเมียในบริษัทที่เธอทำงานขายประกันอยู่) ผ่านไป 3-4 ปีผมจ่ายเงินไปเกือบแสนบาทแล้วจึงบอกเลิกการประกันก่อนครบกำหนด ปรากฏว่า ภรรยาของเพื่อนให้เงิน(สงสัยของตัวเอง ไม่ใช่ของบริษัทประกันภัยหรอก)คืนกลับมาตั้ง 6000 กว่าบาทแน่ะ .. หรือผู้ที่ประกันภัยรถยนตร์ทุกชนิด ไม่ว่าประเภทใด ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับรถของคุณ รับรองได้ว่าเงินประกันของคุณก็ถูก "กินเรียบ" ไม่ได้คืนแม้แต่บาทเดียว แต่ถ้ารถของคุณมีเรื่องถึงจะได้กลับคืนมาบ้าง นี่คือการได้-เสียอันเป็นลักษณะของการพนัน..
ส่วนที่ผมกล่าวว่า การประกันชีวิต "มีลักษณะเป็นดอกเบี้ย" ข้อนี้ผมคงไม่ต้องอธิบายมากกระมังครับว่า เป็นดอกเบี้ยอย่างไร เพราะทุกท่านคงเข้าในในเงื่อนไขของการประกันชีวิตทุกรูปแบบแล้วว่า เขาสัญญาจะให้เงินตอบแทน "มากกว่า" ที่เราลงทุนไปอย่างไรบ้าง ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น