ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
อัสลามูอาลัยกุม หน้าเฟสของอาจารย์เงียบเหงา เปิดดูหน้าเฟสอาจานย์ทุกวันค่ะ ดิฉันสงสัยว่า คำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" นี้มุสลิม กล่าว หรือเขียนแทนนามตนเองได้หรือไม่ ความหมายของมันหมายถึงแทนนามของเราโดยปกติ (ดิฉัน,กระผม) หรือ หมายถึงแทนนามของเราในความเป็นพุทธศาสนาค่ะ
ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม ..
ช่วงนี้ผมมีงานเยอะไปหน่อยเลยไม่ค่อยได้เขียนอะไรลงเฟส ..
ช่วงนี้ผมมีงานเยอะไปหน่อยเลยไม่ค่อยได้เขียนอะไรลงเฟส ..
สำหรับคำถามของคุณที่ว่า คำสรรพนามแทนตัวผู้พูดว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" มุสลิมจะนำมาใช้ได้หรือไม่นั้น
ขอตอบในทัศนะของผมนะครับว่า คำสรรพนามคำนี้มิใช้เป็นภาษาสากล, แต่เป็นภาษาไทย, มีความหมายแบบไทยๆ, ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยคนไทยเพื่อใช้สื่อความหมายแทนตัวผู้พูดเวลาจะพูดกับองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งคนไทยถือว่าเป็นที่เคารพสูงสุด สรรพนามที่ใช้แทนตัวเองจึงต้องเป็นคำที่ถือว่า "นอบน้อมที่สุด" เท่าที่คนไทยจะสรรหามาได้ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธอันมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา คนไทยพุทธทุกคนจึงนอบน้อมตนและถือว่า ตนเองเป็น "ข้า" ของพระพุทธเจ้า เหมือนที่มุสลิมนอบน้อมตนและมองว่า ตนเองเป็น "ข้า" ของอัลลอฮ์ดุจเดียวกัน ..
ขอตอบในทัศนะของผมนะครับว่า คำสรรพนามคำนี้มิใช้เป็นภาษาสากล, แต่เป็นภาษาไทย, มีความหมายแบบไทยๆ, ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยคนไทยเพื่อใช้สื่อความหมายแทนตัวผู้พูดเวลาจะพูดกับองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งคนไทยถือว่าเป็นที่เคารพสูงสุด สรรพนามที่ใช้แทนตัวเองจึงต้องเป็นคำที่ถือว่า "นอบน้อมที่สุด" เท่าที่คนไทยจะสรรหามาได้ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธอันมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา คนไทยพุทธทุกคนจึงนอบน้อมตนและถือว่า ตนเองเป็น "ข้า" ของพระพุทธเจ้า เหมือนที่มุสลิมนอบน้อมตนและมองว่า ตนเองเป็น "ข้า" ของอัลลอฮ์ดุจเดียวกัน ..
คนไทยพุทธจึงถือว่า คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็เป็นคำที่นอบน้อมและเหมาะสมที่สุดที่คนไทยพุทธจะนำมาใช้กับองค์พระมหากษัตริย์
นักภาษาศาสตร์ชาวไทยจึงได้เลือกคำนี้มาเป็นสรรพนามแทนตัวเองซึ่งเป็นเรื่องถูกต้องสำหรับชาวไทยพุทธทุกคน
นักภาษาศาสตร์ชาวไทยจึงได้เลือกคำนี้มาเป็นสรรพนามแทนตัวเองซึ่งเป็นเรื่องถูกต้องสำหรับชาวไทยพุทธทุกคน
แต่สำหรับมุสลิมแล้ว ผมมองว่า จะใช้คำนี้เป็นสรรพนามแทนตัวเองคงไม่ได้ เพราะอาจจะทำให้เสียอะกีดะฮ์ได้ เนื่องจากคำสรรพนามคำนี้ เป็นสรรพนามที่ "เน้นการสื่อความหมายนอบน้อมแทนตัวผู้พูดซึ่งเป็นคนไทยพุทธ" อย่างชัดเจนเหมือนที่อธิบายมาแล้วซึ่งถือว่า ขัดกับหลักความเชื่อของมุสลิมที่ว่า เราเป็นข้าของอัลลอฮ์เท่านั้น จะเป็นข้าของผู้อื่นแม้กระทั่งเป็นข้าของท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ยังไม่ได้
แตกต่างกับคำสรรพนามอื่นๆที่ไม่ได้เน้นความหมายในลักษณะนี้ จึงสามารถนำมาใช้โดยทั่วไปได้ไม่ว่าคนศาสนาใด เช่นคำว่า ผม, กระผม, ดิฉัน, เป็นต้น
สรุปแล้ว ในทัศนะของผมเห็นว่า สำหรับมุสลิมเวลาจะพูดกับองค์พระมหากษัตริย์ สรรพนามแทนตัวเองควรจะเป็นคำอื่นที่มีความหมายนอบน้อม ที่มิใช่คำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" ครับ
ผมเขียนคำตอบนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีเจตนาอื่นใดแอบแฝงทั้งสิ้น เพราะผมก็เป็นคนไทย, เคารพนับถือในองค์พระมหากษัตริย์ของเราเหมือนคนไทยทุกคน และสมมุติถ้าผมได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าและสนทนากลับพระองค์ ผมก็คงจะต้องใช้สรรพนามคำอื่นแทนตัวผม แต่จะไม่ขอใช้คำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" แน่นอนครับ ..
ถาม
มีคำใดที่มุสลิมใช้แทนตัวเองอย่างเหมาะสมบ้างค่ะ..
ตอบ
อาจจะเป็นคำว่า "กระผม" หรือ "ดิฉัน" หรือ "หม่อมฉัน" ก็ได้ หรือคำอื่นใดที่มีลักษณะนอบน้อมแบบนี้ก็ได้ครับ และผมก็เชื่อด้วยว่า ในหลวงเองก็ทรงเข้าใจในสิ่งนี้ดีที่สุดครับ ...
ถาม
แล้วค่ำ ว่า ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ หล่ะครับ เห็นเมื่อคืน 4 ธค ตัวแทนอิสลาม ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ ตอนอวยพรให้ กษัตริย์
ตอบ
ผมยังไม่เจอข้อห้ามเกี่ยวกับคำนี้ครับ และสมมุตินะครับ สมมุติว่า หากคำพูดข้างต้นเป็นคำพูดที่ล่อแหลม ก็ยังดีกว่าคำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" เยอะแยะครับ ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น