ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
อัลฮัมดุลิลลาฮ์ อาจารย์ค่ะ มีผู้เห็นชอบการอุตริกรรมในศาสนาท่านหนึ่ง โดยเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่อุตริที่ดี ได้นำหะดิษบทหนึ่งมาอ้าง ว่า นบีได้รับรองไว้แล้วว่าให้ใช้สติปัญญากำหนดเรื่องศาสนาขึ้นใหม่ได้ เช่น เมาลิด นบีได้รับรองไว้แล้วตามหะดิษดังกล่าว จึงอยากให้อาจารย์ช่วยวิเคราะห์หะดิษบทนี้ด้วยค่ะ ว่าเจตนารมณ์ของหะดิษบทนี้ หมายถึงอย่างไร? ค่ะ คือหะดิษที่ว่า وأخرج أبو داود , والترمذي عن الحارث بن عمرو عن أناس من أهل حمص من أصحاب معاذ { عن معاذ أن رسول الله صلى الله عليه وسلم لما بعثه إلى اليمن قال له : كيف تقضي إذا عرض لك قضاء ؟ قال : أقضي بكتاب الله , قال : فإن لم تجد في كتاب الله ؟ قال : فبسنة رسول الله , قال : فإن لم تجد في سنة رسول الله , ولا في كتاب الله ؟ قال : أجتهد رأيي , ولا آلو , فضرب رسول الله صلى الله عليه وسلم صدره , وقال : الحمد لله الذي وفق رسول رسول الله لما يرضي رسول الله
ท่านอบูดาวูดและท่านอัตติรมีซีย์ ได้บันทึจากท่าน อัลหาริษ บุตรอัมริน จากบรรดาผู้คนชาวหัมศิน จากบรรดาสหายของมุอาซ จากมุอาซว่า"ในขณะที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งมุอาซฺไปยังเยเมน ท่านร่อซูลกล่าวว่า "ท่านจะตัดสินอย่างไรหากมีมีคดีหนึ่งเกิดขึ้นกับท่าน ?" เขากล่าวว่า "ฉันจะตัดสินด้วยกับสิ่งที่อยู่ในกิตาบุลลอฮ์" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในกิตาบุลลอฮ์ล่ะ?" เขากล่าวว่า "ก็ด้วยซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)" ท่านนบีกล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ล่ะ?" เขาตอบว่า "ฉันก็จะทำการวินิจฉัยกับความเห็นของฉัน โดยฉันจะไม่ทำให้บกพร่อง" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้ตบอกของมุอาซฺ แล้วกล่าวว่า การสรรเสริญเป็นอภิสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงชี้นำทูตของร่อซูลุลลอฮ์ให้กับสิ่งที่ทำให้ร่อซูลุลลอฮ์พอใจ"
ตอบ
ในด้านสายรายงาน .. หะดีษบทข้างต้น ถูกบันทึกโดยท่านอบูดาวูด, ท่านอะห์มัด, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, ท่านอัล-บัยฮะกีย์, ท่านอุก็อยลีย์ เป็นต้น โดยบางท่าน เช่นท่านอะห์มัด อ้างรายงานมาว่า "จากสหายของท่านมุอาซ, จากท่านมุอาซ, จากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" อันเป็นสายรายงานต่อเนื่อง .. บางท่าน เช่นท่านอบูดาวูด อ้างรายงานว่า "จากประชาชนชาวเมืองหิมศ์อันเป็นสหายของท่านมุอาซ, ..จากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" อันเป็นสายรายงานขาดตอนในลักษณะมุรฺซัล เพราะไม่มีการระบุชื่อท่านมุอาซเอาไว้ด้วย, และบางท่านเช่นท่านอัล-บัยฮะกีย์ ก็อ้างรายงานเหมือนท่านอบูดาวูดคือขาดตอน แต่มีกล่าวเสริมตอนท้ายว่า "และบางครั้ง เขากล่าวว่า จากท่านมุอาซ" .. ซึ่งจากความสับสนจุดนี้ ท่านบุคอรีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, จึงกล่าวว่า สายรายงานของหะดีษนี้(ที่ถูกต้องคือ)มุรฺซัล (ขาดตอน)! .. นอกจากนั้น ผู้รายงานอีกท่านหนึ่งของหะดีษนี้ คือ ท่านอัล-หาริษ บินอัมร์ ถูกท่านอัษ-ษะฮะบีย์, ท่านอิบนุหะญัรฺ, ท่านอิบนุหัสม์ กล่าวว่า "ไม่เป็นที่รู้จัก" (มัจญฮูล) .. สรุปแล้ว หะดีษบทนี้จึงเป็นหะดีษเฎาะอีฟหรือบกพร่องในทัศนะนักวิชาการจำนวนมาก อาทิเช่นท่านบุคอรีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, ท่านอิบนุหัสม์, ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์, ท่านอัล-อุก็อยลีย์, ท่านอัษ-ษะฮะบีย์, ท่านอิบนุหะญัรฺ เป็นต้น เพราะมีจุดบกพร่อง 2 ประการคือ 1. สายรายงานมุรฺซัล (ขาดตอน) และ 2. ผู้รายงานท่านหนึ่งคือท่านอัล-หาริษ บินอัมรฺ เป็นบุคคลมัจญฮูล ...
ในด้านความหมาย . (กรณีสมมุติว่า เนื้อหาของหะดีษนี้ถูกต้อง) ก็มิใช่เป็นหลักฐานให้ผู้ใด นึกจะ "ทำอะไร, เมื่อไร" ก็ได้ตามใจชอบเมื่อเห็นว่า เป็นสิ่งดีงาม - ตามความรู้สึกของตัวเอง - ในศาสนา และก็ไม่เคยมีนักวิชาการมุจญตะฮิดระดับโลกในอดีตท่านใดจะเคยอ้างหะดีษบทนี้เป็นหลักฐานเรื่องอนุญาตให้คิดริเริ่มทำ "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์" ได้ .. ดังข้ออ้างในคำถามข้างต้นเลย .. แต่ทว่า หะดีษนี้ จะนำมาใช้ได้ในกรณีเดียวเท่านั้น คือเป็นหลักฐานอนุญาตให้ "อิจญติฮาด" ได้ในกรณีต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่มี "หลักฐานชัดเจน" (ที่เรียกว่า นัศศ์) จากอัล-กุรฺอานและอัล-หะดีษในเรื่องนั้นๆมาก่อนเลย ดังข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในหะดีษบทนั้นครับ .. อัลลอฮุ อะอฺลัม ...
.....................
เพิ่มเติมจาก อ.อะสัน หมัดอะดั้ม
ขออนุญาตเพิ่มเติม ดังนี้
وأخرج أبو داود , والترمذي عن الحارث بن عمرو عن أناس من أهل حمص من أصحاب معاذ { عن معاذ أن رسول الله صلى الله عليه وسلم لما بعثه إلى اليمن قال له : كيف تقضي إذا عرض لك قضاء ؟ قال : أقضي بكتاب الله , قال : فإن لم تجد في كتاب الله ؟ قال : فبسنة رسول الله , قال : فإن لم تجد في سنة رسول الله , ولا في كتاب الله ؟ قال : أجتهد رأيي , ولا آلو , فضرب رسول الله صلى الله عليه وسلم صدره , وقال : الحمد لله الذي وفق رسول رسول الله لما يرضي رسول الله
ท่านอบูดาวูดและท่านอัตติรมีซีย์ ได้บันทึจากท่าน อัลหาริษ บุตรอัมริน จากบรรดาผู้คนชาวหัมศิน จากบรรดาสหายของมุอาซ จากมุอาซว่า"ในขณะที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งมุอาซฺไปยังเยเมน ท่านร่อซูลกล่าวว่า "ท่านจะตัดสินอย่างไรหากมีมีคดีหนึ่งเกิดขึ้นกับท่าน ?" เขากล่าวว่า "ฉันจะตัดสินด้วยกับสิ่งที่อยู่ในกิตาบุลลอฮ์" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในกิตาบุลลอฮ์ล่ะ?" เขากล่าวว่า "ก็ด้วยซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)" ท่านนบีกล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ล่ะ?" เขาตอบว่า "ฉันก็จะทำการวินิจฉัยกับความเห็นของฉัน โดยฉันจะไม่ทำให้บกพร่อง" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้ตบอกของมุอาซฺ แล้วกล่าวว่า การสรรเสริญเป็นอภิสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงชี้นำทูตของร่อซูลุลลอฮ์ให้กับสิ่งที่ทำให้ร่อซูลุลลอฮ์พอใจ"-
...ดู นัศบุรรอยะฮฟีตัครีจอะหาดีษฮิดายะฮ เล่ม 1 หน้า 39 บทว่าด้วยเรื่อง มารยาทของผู้ตัดสินคดี(كتاب أدب القاضي)
หะดิษข้างต้นกล่าวถึงเรื่อง การตัดสินคดีความ ซึ่งเกี่ยวเรื่องทางด้านสังคม การเมือง การปกครอง ปัญหาการการพิพาททางด้านสังคม นั้น ย่อมหลากหลาย ไม่มีสิ้นสุด ทุกคดีที่เกิดขึ้นแต่ละยุคแต่ละสมัย มันไม่ได้เหมือนกับที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบีเสมอไป เพราะฉะนั้นคดีใด ไม่ปรากฏการตัดสินเอาไว้ในอัลกุรอ่านและหะดิษ ก็ให้ผู้พิพากษาใช้การวินิจฉัยของตน ดังหะดิษที่ว่า
أخرج البخاري , ومسلم عن أبي قيس مولى عمرو بن العاص عن عمرو بن العاص أنه سمع رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول : { إذا حكم الحاكم فاجتهد , فأصاب فله أجران , وإذا حكم وأخطأ فله أجر
บันทึกโดยบุคอรี ,มุสลิมจากอบีกอยสฺ ทาสของอัมริน บุตรอัลอาศ จากอัมริน บุตร อัลอาศ ว่า แท้จริง เขาได้ยินรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า " เมื่อผู้พิพากษาตัดสินคดี แล้วเขาได้ทำการวินิจฉัยอย่างเต็มความสามารถ แล้วปรากฏว่าถูกต้อง เขาก็ได้รับการตอบแทนสองเท่า และเมื่อเขาตัดสิน และเกิดการผิดพลาด เขาก็ได้รับการตอบแทนหนึ่งเท่า
- จากหนังสือที่อ้างอิงแล้ว
........................
เพราะฉะนั้นจะเอาหะดิษนี้ มาอ้างเรื่องการอิจญติฮาดในเรื่องอิบาดะฮไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน และไม่ใช่หลักฐานที่มาอ้างเรื่อง การสังกัดมัซฮับ และไม่ใช่หลักฐานให้ตามความเห็นของผู้รู้ โดยปราศจากหลักฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น