ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
คำถาม
อัสลามุอะลัยกุม
รบกวนสอบถามอาจารย์
ซากาสประจำปีสามารถให้กับน้องชายแท้ๆ(มีหนี้สินมาก)ได้มั้ยครับ
รบกวนสอบถามอาจารย์
ซากาสประจำปีสามารถให้กับน้องชายแท้ๆ(มีหนี้สินมาก)ได้มั้ยครับ
ยาซากัลลอฮคอยร้อล
คำตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม ..
ผู้ที่เป็นพี่น้องกัน ไม่วายิบต่ออีกฝ่ายอุปการะเลี้ยงดูเมื่ออีกฝ่ายยากจน เพราะฉะนั้น การที่พี่ชายมอบซะกาตประจำปีให้แก่น้องชายที่ยากจน หรือให้เพราะเขามีหนี้สินจึงกระทำได้ครับ และการให้ซะกาตหรือบริจาคเงินช่วยเหลือด้วยความสมัครใจแก่ผู้ที่เป็นญาติใกล้ชิด จะเป็นการดียิ่งกว่าการให้กับคนยากจนอื่นๆที่มิใช่เครือญาติด้วยซ้ำไปครับ วัลลอฮุอะอฺลัม ..
คำถาม
อ. ขอถามเพิ่มครับ กรณี ถ้า บิดา มีหนี้สินเยอะมาก มารดา ลูก ให้ซะกาตแก่ บิดา ได้ไหมครับ
คำตอบ
กฎเกณฑ์พื้นฐานเรื่องซะกาตก็คือ จะจ่ายซะกาตให้ผู้ที่เราวายิบอุปการะเลี้ยงดูอยู่แล้ว โดยจ่ายให้ในฐานะเขาเป็นคนยากจนไม่ได้ครับ แต่จะจ่ายให้ในฐานะอื่น เช่น เพราะเขามีหนี้สิน, เพราะเขาเป็นเจ้าหน้าที่จัดการซะกาต, หรือเพราะเขาอาสาสมัครทำสงครามสะบีลิลลาฮ์ อย่างนี้เป็นที่อนุญาตครับ เพราะฉะนั้น ในปัญหาที่คุณถามมา หากพ่อแม่ยากจน ก็วายิบลูกๆต้องเลี้ยงดูอยู่แล้ว ลูกจึงให้ซะกาตกับพ่อแม่ในฐานะท่านเป็นคนยากจนไม่ได้ แต่ในมุมกลับกัน หากลูกยากจนและพ่อแม่ร่ำรวย ก็ต้องพิจารณาดูก่อนว่า ลูกที่ยากจนนั้น ยังเป็นผู้เยาว์หรือไม่, หรือเป็นคนยากจนและพิการจนประกอบอาชีพไม่ได้หรือไม่, หรือเป็นคนยากจนและวิกลจริตหรือไม่ .. หากเข้าอยู่ในเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ประการนี้ วายิบพ่อแม่ก็ยังต้องเลี้ยงดูเขาอยู่ จึงจ่ายซะกาตให้เขาในฐานะเป็นคนยากจนไม่ได้ครับ ซึ่งเรื่องซะกาตนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆอีกมาก เท่าที่ผมอธิบายมาคร่าวๆนี้ ก็เป็นเพียงหลักการขั้นพื้นฐานเท่านั้นครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น