อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ชีอะฮ์กับมุตอะฮ์ (ตอนที่ 11)



โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ค. ในการนิกาห์ถาวรของซุนนีย์ ภรรยาจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 4 คน ...
แต่ในนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ ผู้ชายจะทำการนิกาห์กับสตรีกี่ร้อยกี่พันคนก็ได้ตามความต้องการ เพราะนางมิใช่เป็นภรรยา แต่เป็น (??) ...
นักวิชาการชีอะฮ์ได้อ้างรายงานจากท่านอิหม่ามญะอฺฟัรฺ อัศ-ศอดิก เมื่อถูกถามว่า สตรีที่นิกาห์มุตอะฮ์ถือเป็นหนึ่งจากสี่ของภรรยาตามหลักการหรือไม่ ? ท่านตอบว่า ...
تَزَوَّجُ مِنْهُنَّ أَلْفًا! فَإِنَّهُنَّ مُسْتَأْجَرَاتٌ
“ท่านสามารถนิกาห์กับพวกนางได้เป็นพันเลย เพราะพวกนางเป็นแค่สตรีรับจ้าง(หลับนอนกับผู้ชาย)เท่านั้น” ...
(จากหนังสือ “อัล-อิสติบศอรฺ” เล่มที่ 3 หน้า 147 และหนังสือ “ตะฮ์ซีบุลอะห์กาม” เล่มที่ 7 หน้า 259) ...
ง. แม้ในนิกาห์ถาวรของซุนนีย์จะไม่มีกำหนดเงื่อนไขเรื่องอายุของเจ้าสาว แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ตามปกติจะไม่มีการนิกาห์เกิดขึ้นเว้นแต่ผู้หญิงจะมีวุฒิภาวะเพียงพอต่อการใช้ชีวิตคู่ หรืออย่างน้อยต้องบรรลุศาสนภาวะเสียก่อน ...
แต่สำหรับชีอะฮ์ แม้จะมีการอ้างหลักการว่า อนุญาตให้นิกาห์มุตอะฮ์ได้กับสตรีที่มีอายุ 10 ขวบขึ้นไปก็จริง ...
ทว่า อดีตผู้นำสูงสุดของชีอะฮ์ท่านหนึ่งคือโคมัยนีย์มีทัศนะว่า อนุญาตให้ทำมุตอะฮ์ได้แม้กระทั่งกับทารกหญิงที่กำลังนอนแบเบาะอยู่ โดยโคมัยนีย์กล่าวว่า ...
لاَ بَأْسَ بِالتَّمَتُّعِ بِالرَّضِيْعَةِ ضَمًّا وَتَفْخِيْذًا – أَىْ يَضَعُ ذَكَرَهُ بَيْنَ فَخِذَيْهَا – وَتَقْبِيْلاً
“ไม่มีปัญหาในการทำมุตอะฮ์กับทารกหญิงที่ยังนอนแบเบาะ ด้วยการกอด, การตัฟคีส - คือใช้อวัยวะเพศถูไถระหว่างขาอ่อนของเด็ก - และการจูบ” ...
(จากหนังสือ “ตะห์รีรุ้ลวะซีละฮ์” ของอิหม่ามโคมัยนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 241 หมายเลข 12) ...
3.3 ความแตกต่างในผลพวงที่จะติดตามมาหลังนิกาห์
ในการนิกาห์ทั้ง 2 รูปแบบนั้น ผลพวงที่จะติดตามมาหลังการนิกาห์แตกต่างกันเหมือนหน้ามือกับหลังมือดังต่อไปนี้ ...
ก. ในการนิกาห์ถาวรนั้น สามีจำเป็นต้องรับผิดชอบและอุปการะเลี้ยงดูภรรยา ไม่ว่าเรื่องอาหารการกิน, ค่าใช้จ่ายต่างๆ, ที่อยู่อาศัย, เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้นให้เหมาะสมตามอัตภาพของตนเองตลอดไปตราบเท่าที่ยังใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ...
แต่ในการนิกาห์มุตอะฮ์ ผู้ชายไม่ต้องรับผิดชอบในการส่งเสียเลี้ยงดูอะไรทั้งสิ้น ดังคำกล่าวของเช็คอัต-ตีญานีย์จากหนังสือ “ขออยู่กับผู้สัตย์จริง” หน้า 281 ...
นอกจากนั้นผู้ชายก็ไม่ต้องรับผิดชอบอีกในเรื่องที่อยู่อาศัย,หรือเครื่องนุ่งห่ม ดังคำกล่าวของเช็คอัล-กาชานีย์ในหนังสือตัฟซีรฺ “มันฮัจญ์ อัศ-ศอดิกีน” หน้า 352 ...
ข. ในการนิกาห์ถาวรของซุนนีย์ สามีและภรรยามีสิทธิรับมรดกระหว่างกันได้ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตไป ...
แต่ในการนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ จะไม่มีผลผูกพันต่อการสืบมรดกระหว่างกันแต่อย่างใด ...
ท่านอัล-กุลัยนีย์ได้อ้างรายงานจากท่านญะอฺฟัรฺอัศ-ศอดิก อิหม่ามท่านที่ 6 ของชีอะอ์ ว่า ท่านญะอฺฟัรฺ อัศ-ศอดิกถูกถามว่า ...
كَيْفَ أَقُوْلُ إِذَا خَلَوْتُ بِهَا ؟ فَقاَلَ :
“ฉันจะต้องกล่าวอย่างไรเมื่อฉันอยู่ตามลำพังกับนาง?” .. ท่านตอบว่า ...
تَقُوْلُ : أَتَزَوَّجُكِ مُتْعَةً عَلَى كِتَابِ اللهِ وَسُنَّةِ نَبِيِّهِ، لاَ وَارِثَةَ وَلاَ مَوْرُوْثَةَ، كَذَا وَكَذَا يَوْمًا وَإِنْ شِئْتَ كَذَا وَكَذَا سَنَةً، بِكَذَا وَكَذَا دِرْهَمًا، وَتُسَمِّىْ مِنَ اْلأَجْرِ مَاتَرَاضَيْتُمَا عَلَيْهِ قَلِيْلاً كَانَ أَوْ كَثِبْرًا
“ท่านต้องกล่าวว่า ฉันแต่งงานชั่วคราวกับเธอตาม(บทบัญญัติใน)คัมภีร์ของอัลลอฮ์และซุนนะฮ์นบีย์ของพระองค์ (??? .. โดย)เธอไม่ใช่ผู้รับมรดกและไม่ใช่ผู้ให้มรดก, เท่านั้นเท่านี้วัน และถ้าท่านต้องการ(นานกว่านั้น)ก็(ให้กล่าวว่า) เท่านั้นเท่านี้ปี, เป็นเงินเท่านั้นเท่านี้ดิรฮัม, และท่านต้องระบุค่าตอบแทนให้แก่นางตามที่ท่านทั้งสองฝ่ายพอใจมัน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย” ...
(จากหนังสือ “ฟุรูอฺ อัล-กาฟีย์” ของอัล-กุลัยนีย์ เล่มที่ 5 หน้า 455) ...
คำถามที่ว่า “เมื่อฉันอยู่ตามลำพังกับนาง” แสดงว่า การนิกาห์ดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นต้องมีวะลีย์และพยานดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ...
และคำว่า “โดยเธอไม่ใช่ผู้รับมรดกและไม่ใช่ผู้ให้มรดก” แสดงว่า ทั้งคู่ไม่มีความผูกพันใดๆระหว่างกันในเรื่องมรดกหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดตายลงไปขณะนั้น ...
ค. ในการนิกาห์ถาวรของซุนนีย์ หลังจากสามีภรรยาร่วมหลับนอนกันแล้ว มะฮัรฺ - ทั้งหมด - จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาทันที สามีไม่มีสิทธิ์เรียกร้องคืนแม้แต่บาทเดียว แม้สมมุติว่าจะมีการหย่าร้างเกิดขึ้นหลังการร่วมหลับนอนกันเพียงครั้งเดียวก็ตาม ..
แต่ในนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ ผู้ชายมีสิทธิ์ “หัก” ค่าตัวคืนจากฝ่ายหญิงได้ตามความเหมาะสมหากมีการผิดเงื่อนไขเกิดขึ้น ไม่ว่าจะผ่านการร่วมหลับนอนกันมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม ...
ท่านกุลัยนีย์ได้อ้างรายงานจากท่านอบุลหะซัน (หมายถึงท่านอิหม่ามอะลีย์ อัล-ฮาดีย์ อิหม่ามท่านที่ 10 ของชีอะฮ์) เมื่อถูกถามเรื่องผู้ชายที่นิกาห์มุตอะฮ์กับผู้หญิง โดยนางมีเงื่อนไขว่าเขาจะต้องมาหานางทุกวันจนครบวาระที่ตกลงกัน หรือกำหนดเงื่อนไขว่า นางจะมาหาเขาในวันที่แน่นอน แต่นางเกิดมีอุปสรรคมาหาเขาไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน จะเป็นการเหมาะสมหรือไม่หากเขาจะนับวันที่นางไม่ได้มาแล้วระงับจากการจ่ายค่าตัวให้นางตามจำนวนวันดังกล่าว ? .. ซึ่งท่านอบุลหะซันก็ตอบว่า ...
نَعَمْ! يَنْظُرُ مَا قَطَعَتْ مِنَ الشَّرْطِ، فَيَحْبِسُ عَنْهَا مِنْ مَهْرِهَا بِمِقْدَارِمَالَمْ تَفِ لَهُ،
مَا خَلاَ أَيَّامَ الطَّمْثِ فَإِنَّهَا لَهَا ...
“ได้!.. ให้เขาพิจารณาสิ่ง(คือวัน)ที่นางขาดเงื่อนไข แล้วให้เขาอายัดค่าตัวของนางเท่าจำนวนวันที่นางผิดเงื่อนไขนั้นนอกเหนือไปจากวันที่นางมีประจำเดือน เนื่องจากการมีประจำเดือนเป็นสิทธิ์ของนาง” ...
(จากหนังสือ “ฟุรูอฺ อัล-กาฟีย์” เล่มที่ 5 หน้า 461) ...
ง. ในการนิกาห์ถาวรของซุนนีย์ จะต้องไม่ระบุเงื่อนไขในตอนนิกาห์เกี่ยวกับจำนวนของการการมีเพศสัมพันธ์ว่าจะต้องเท่านั้นเท่านี้ครั้ง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสุขภาพและความพร้อมของสามีภรรยาเป็นหลัก ...
แต่ในนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ ทั้งคู่สามารถจะเอากันกี่ครั้งได้ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน หรือตามจำนวนครั้งที่ตกลงกัน ...
แม้แต่จะตกลงกันว่า ให้ “อึ๊บ” ได้แค่ครั้งเดียวก็ยังได้เลย ...
ท่านกุลัยนีย์ ได้อ้างรายงานในหนังสือ “ฟุรูอฺ อัล-กาฟีย์” ว่า มีผู้ถามท่านอบุลหะซันว่า ...
كَمْ أَدْنَى أَجَلِ الْمُتْعَةِ ؟ هَلْ يَجُوْزُ أَن يَتَمَتَّعَ الرَّجُلُ بِشَرْطِ مَرَّةٍ وَاحِدَةٍ ؟ قَالَ : نَعَمْ،
وَعَنْ جَدِّهِ أَبِىْ عَبْدِاللهِ سُئِلَ عَنْ رَجُلٍ تَمَتَّعَ بِشَرْطِ عَرْدٍ وَاحِدٍ ؟ فَقَالَ : لاَ بَأْسَ، وَلَكِنْ
إِذَا فَرَغَ فَلْيُحَوِّلْ وَجْهَهُ وَلاَ يَنْظُرْ
“ระยะเวลาที่น้อยที่สุดของนิกาห์มุตอะฮ์มีเท่าไร ? และจะอนุญาตให้ผู้ชายนิกาห์มุตอะฮ์โดยมีเงื่อนไขว่า ให้มีเพศสัมพันธ์กันแค่ครั้งเดียวได้ไหม ? .. ท่านอบุลหะซันก็ตอบว่า ได้ .. และมีรายงานมาจากปู่ของท่าน คือท่านญะอฺฟัรฺ อัศ-ศอดิก เมื่อถูกถามเรื่องการนิกาห์มุตอะฮ์โดยกำหนดเงื่อนไขว่าให้อึ๊ได้แค่ครั้งเดียวจะได้หรือไม่ ? ท่านตอบว่า ไม่เป็นไร, แต่เมื่อเสร็จสมแล้วให้เขาหันหน้าของเขาไปทางอื่นและอย่ามองดู(นาง)อีก”
(จากหนังสือ “ฟุรูอฺ อัล-กาฟีย์ เล่มที่ 5 หน้า 460) ...
ข้อห้ามที่ว่า “เมื่อเสร็จสมแล้ว ให้เขาหันหน้าไปทางอื่น ....” ข้อห้ามดังกล่าวนี้มิใช่เพราะเหตุผลอื่นใดนอกจากเกรงว่า ขืนให้นอนดูหน้ากันต่อไป เกิดผู้ชายคนนั้นยังไม่หายกลัดมันแล้วจะ “เบิ้ล” ผู้หญิงคนนั้นอีกรอบก็จะเป็นการผิดเงื่อนไขตามที่ตกลงกันไว้ ...
จากการอนุญาตให้กำหนดเงื่อนไขในการร่วมหลับนอนว่า “ครั้งเดียวแล้วเลิก” ก็ได้ ในนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ ผมยังมองไม่ออกเลยว่า ...
แล้วผู้หญิงที่นิกาห์มุตอะฮ์กับผู้หญิงที่เป็นโสเภณี มันแตกต่างกันตรงไหน ?? ...
จ. ในนิกาห์ถาวรของซุนนีย์ หากสามีภรรยาไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันอีก สามีก็ต้องเปล่งวาจาหย่านางให้เป็นกิจลักษณะถึงจะแยกทางกันได้ จะเลิกกันเฉยๆแบบต่างคนต่างไปไม่ได้ ...
แต่ในนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ ไม่จำเป็นต้องมีการหย่า คือครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันเมื่อไร ก็ตัวใครตัวมัน ...
เช็คอัฏ-ฏูศีย์ ได้อ้างรายงานจากท่านญะอฺฟัรฺ อัศ-ศอดิกว่า ...
اَلْمُتْعَةُ لَيْسَتْ مِنَ اْلأَرْبَعِ! ِلأَنَّهَا لاَ تُطَلَّقُ وَلاَ تُوْرِثُ وَلاَ تَرِثُ وَإِنَّمَاهِىَ مُسْتَأْجَرَةٌ
“นิกาห์มุตอะฮ์นั้นไม่นับอยู่ในภรรยา 4 คน เพราะนางไม่ถูกหย่า, ไม่ให้มรดกแก่เขาและไม่รับมรดกของเขา, นางมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นผู้หญิงรับจ้าง (?) เท่านั้น” ...
(จากหนังสือ “อัล-อิสติบศอรฺ” ของเช็คอัฏ-ฏูศีย์ เล่มที่ 3 หน้า 147) ...
ฉ. ในนิกาห์ถาวรของซุนนีย์ ถ้าสามีหย่าภรรยาที่เป็นอิสรชน นางก็ต้องอยู่ในอิดดะฮ์ 3 กุรูอฺ คือมีประจำเดือนสามครั้ง, หรือถ้าสามีตายนางก็ต้องอยู่ในอิดดะฮ์เป็นเวลา 4 เดือนกับ 10 วัน ...
แต่ในนิกาห์มุตอะฮ์ของชีอะฮ์ เช็คอัต-ตีญานีย์ได้กล่าว(ในคำแปลจากหนังสือ “ขออยู่กับผู้สัตย์จริง” หน้า 280-281) ว่า ...
“และสำหรับหญิงที่แต่งงานมุตอะฮ์นั้น จะต้องผ่านพ้นอิดดะฮ์โดยผ่านการมีรอบเดือน 2 วาระ และถ้าหากสามีตายจะต้องผ่านสี่เดือนสิบวันก่อน” 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น