อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

ชีอะฮ์กับมุตอะฮ์ (ตอนที่ 4)



โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ทัศนะของญุมฮูรฺหรือนักวิชาการส่วนใหญ่เรื่องห้ามนิกาห์มุตอะฮ์ในสงครามค็อยบัรฺตรงกับลักษณะที่สองนี้ เพราะพวกเขากล่าวว่าในสงครามค็อยบัรฺมีการผ่อนผันให้นิกาห์มุตอะฮ์ก่อนแล้วมีการห้ามภายหลัง ...
ทว่า .. หลักฐาน “ผ่อนผันก่อนห้าม” ดังข้ออ้างของญุมฮูรฺไม่มีปรากฏในรายงานใดๆของหะดีษบทนี้ เพราะฉะนั้นทัศนะนี้จึงเป็น “ทัศนะ” ที่ขาดหลักฐานสนับสนุน ...
สาม ห้ามเมื่อมีการฝ่าฝืนหรือทำผิดเกิดขึ้น .. ไม่ว่าการฝ่าฝืนหรือทำผิดนั้น จะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจเป็นการ “ย้ำ” การห้ามเดิมก็ได้...
ผมขออธิบายเพิ่มเติมว่า หลังจากการประทานซูเราะฮ์อัล-มุอ์มินูนลงมาแล้ว ก็ไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องว่านิกาห์มุตอะฮ์จะเคยถูกผ่อนผันในวาระใดอีก นอกจากในปีที่ 8 ตอนพิชิตมักกะฮ์เท่านั้น ...
เพราะตามข้อเท็จจริงนั้น หลังจากที่ท่านศาสดาได้อพยพไปนครมะดีนะฮ์และมีสงครามเกิดขึ้นนับสิบครั้ง แต่สงครามเหล่านั้นก็เป็น “สงครามป้องกันตัว”ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนจำกัดแวดวงอยู่ในอาณาเขตใกล้นครมะดีนะฮ์ทั้งสิ้น ...
เศาะหาบะฮ์ของท่านยังอยู่ใกล้ชิดภรรยาและครอบครัวจึงไม่มีความจำเป็นจะต้องทำนิกาห์มุตอะฮ์กับสตรีใด ...
แม้กระทั่งเมื่อคราวเดินทางไปทำอุมเราะฮ์ที่นครมักกะฮ์พร้อมเศาะหาบะฮ์ประมาณ 1500 คนในเดือนซุลเกาะอฺดะฮ์ ปีฮ.ศ.6 ก็ไม่มีปรากฏเรื่องนิกาห์มุตอะฮ์เกิดขึ้น เพราะผู้ที่ตั้งเจตนาทำอุมเราะฮ์จะถูกห้ามจากการยุ่งเกี่ยวทางเพศในทุกๆกรณี ...
และการ “ห้าม” จากนิกาห์มุตอะฮ์ในวาระอื่นๆนอกเหนือจากคราวพิชิตมักกะฮ์ดังมีปรากฏในบางรายงาน เช่นคราวทำอุมเราะฮ์ชดใช้(ฮ.ศ. 7), คราวสงครามหุนัยน์(ฮ.ศ. 8), คราวสงครามตะบูก(ฮ.ศ. 9) หรือคราวหัจญ์อำลาในฮ.ศ. 9 หรือ 10 ...
การห้ามในวาระต่างๆเหล่านี้ นอกจากจะไม่มีหลักฐานว่า มีการผ่อนผันให้นิกาห์มุตอะฮ์ได้ก่อนการห้ามแล้ว รายงานเหล่านี้ล้วนเป็นรายงานที่ผิดเพี้ยนหรืออ่อนหลักฐานทั้งสิ้น ...
จนถึงเดือนมุหัรฺร็อมปีฮ.ศ. 7 จึงเกิดสงครามค็อยบัรฺขึ้นดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งในการทำสงครามครั้งนี้ถือเป็นสงคราม “ไกลบ้าน” ครั้งแรกของนักรบมุสลิม ...
ที่สำคัญที่สุด สงครามคราวนี้กินเวลาร่วมเดือนกว่าจะยุติลงด้วยชัยชนะของมุสลิมในที่สุด ...
เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในสงครามไกลบ้านอันยาวนานครั้งนี้ มีทหารมุสลิมใหม่บางคนที่อาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจข้อห้ามเรื่องนิกาห์มุตอะฮ์จากซูเราะฮ์อัล-มุอ์มินูน พวกเขาจึงทำนิกาห์มุตอะฮ์กับสตรีโดยไม่ได้ปรึกษาหรือแจ้งให้ท่านนบีย์ทราบก่อน เหมือนกับที่ทหารมุสลิมบางคนจับลาบ้านมาได้ ก็เชือดมันเพื่อทำเป็นอาหารโดยไม่ได้ปรึกษาหรือแจ้งให้ท่านนบีย์ทราบเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ไม่ใช่ทำไปเพราะได้รับการผ่อนผัน แต่ถือว่าเป็นการทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือผิดพลาดโดยสุจริต ...
เมื่อท่านศาสดาทราบเรื่องท่านก็ได้กล่าวห้ามมันในทั้งสองกรณี .. คือห้ามทั้งนิกาห์มุตอะฮ์และห้ามทั้งการกินเนื้อลาบ้านในคราวเดียวกัน ...
ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก ...
สี่ เป็นการห้ามในลักษณะ “ตีกัน” ไว้ก่อน เพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่จะมีการทำความผิดเกิดขึ้น ...
เป็นไปได้ว่าท่านศาสดาได้กล่าวห้ามนิกาห์มุตอะฮ์ที่ค็อยบัรฺเพื่อเป็นการ “ตีกัน” เศาะหาบะฮ์ใหม่บางคนที่ไม่ทราบข้อห้ามเรื่องนี้ แล้วอาจทำการนิกาห์มุตอะฮ์กับสตรีที่นั่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้ ...
ข้อนี้ มีโอกาสเป็นไปได้สูงมากเช่นเดียวกัน ...
สรุปแล้ว การห้ามนิกาห์มุตอะฮ์ที่ค็อยบัรฺจึงมิใช่เป็นการห้ามหลังจากการผ่อนผันดังทัศนะญุมฮูรฺ แต่เป็นการห้ามผู้ฝ่าฝืนหรือห้ามเพื่อป้องกันตามลักษณะที่ 3 หรือที่ 4 ...
นี่คือ มุมมองของผมในเรื่องการห้ามนิกาห์มุตอะฮ์ที่ค็อยบัรฺ ซึ่งถ้ามันถูกต้องก็ถือว่าเป็นทางนำจากพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. แต่ถ้ามันผิดพลาด ก็มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นความเข้าใจผิดที่เกิดจากความรู้น้อยของผมเอง ...
สำหรับรูปแบบการนิกาห์มุตอะฮ์ตามแนวทางปฏิบัติของชีอะฮ์ในปัจจุบันก็คือ การนิกาห์ที่มีการระบุกำหนดระยะเวลาที่จะอยู่ร่วมกันชัดเจนว่าจะอยู่กันกี่วันกี่เดือน, และระบุค่าตอบแทนที่ชัดเจนแก่สตรีด้วยในตอนอักด์ (ตกลง)นิกาห์ ...
อย่างเช่น ฝ่ายหญิงกล่าวแก่ฝ่ายชายว่า .. “ฉันนิกาห์ตัวฉันกับคุณเป็นเวลา 15 วันโดยคุณต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ฉัน 4000 บาท” ...
แล้วฝ่ายชายก็กล่าวว่า قَبِلْتُ คือ ผมรับ, หรือกล่าวว่า رَضِيْتُ คือ ผมยินยอม ...
ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของบุคคลสองคน คือผู้ชายกับผู้หญิง ...
ไม่จำเป็นต้องมีวะลีย์ และไม่จำเป็นต้องมีพยานรับรู้ ... 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น