โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
พี่น้องที่เคารพครับ ..
ปัญหาเรื่องการถือบวช - ออกบวชเดือนรอมะฎอน ว่าจะต้องทำอย่างไร ?...
วายิบจะต้องตามการเห็นเดือนต่างประเทศ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศซาอุฯ .. กับวายิบต้องตามผู้นำศาสนาอิสลามในประเทศ คือท่านจุฬาราชมนตรี ฯนั้น ...
ประเทศอื่นผมไม่ทราบ แต่ประเทศไทย ปัญหานี้เกิดขึ้นทุกปี ..
ผมเอง ชั่งใจอยู่นานว่า จะเขียนเรื่องนี้ลงในเฟสดีหรือไม่ เพราะผมไม่มีสื่ออื่นใดที่จะนำเสนอ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจว่า ต้องเขียน ...
เหตุผลมี 2 ประการคือ ...
หนึ่ง ไม่เคยมีใคร - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายที่เห็นว่า วายิบจะต้องถือบวช-ออกบวชตามท่านจุฬาราชมนตรี - เคยเขียนชี้แจงและวิเคราะห์หลักฐานเรื่องนี้อย่างชัดเจนมาก่อน (ถ้าเคยมีผมก็ขออภัย) และ...
สอง เพื่อความเป็นธรรมสำหรับผู้ที่ถือบวช-ออกบวชตามจุฬาราชมนตรี ซึ่งมีจำนวนมากกว่า แต่ไม่มี “สื่อ” ที่จะชี้แจง ...
ต่างกับอีกฝ่ายหนึ่งที่มีโอกาสแสดงความเห็นยืนยันทัศนะฝ่ายตน ผ่านสื่อทีวีมุสลิมแทบทุกช่องและผ่านเฟสอย่างโจ๋งครึ่ม ...
โปรดรับทราบด้วยว่า ผมบริสุทธิ์ใจและเป็นอิสระในทางวิชาการ ไม่เคยถือลัทธิ “คล้อยตาม” พรรคพวกหรือนักวิชาการท่านใด เพราะนั่นคือความไม่เคารพในวิจารณญาณของตัวเอง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นการชี้แจงตามหลักวิชาการด้วยความบริสุทธิ์ใจ ท่านผู้ใดจะรับหรือปฏิเสธ ย่อมเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของท่าน ...
ขออย่างเดียว โปรดเปิดใจให้กว้าง, อย่าตะอัศศุ้บหรือยึดติดคำสอนอาจารย์, พิจารณาสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้อย่างรอบคอบและด้วยใจเป็นธรรม และ .. อย่าโกรธเคืองผมที่เห็นต่างกับท่านในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่รักใคร่นับถือผมทุกคน ...
หลายท่านเข้าใจผิดว่า ฝ่ายที่ถือบวช-ออกบวชตามท่านจุฬาฯ กล่าวว่า “ห้าม” ถือบวช-ออกบวช ตามการเห็นเดือนต่างประเทศ ...
ความจริง ไม่มีผู้ใดกล่าวเลยว่า ห้ามมุสลิมในประเทศไทยถือบวช-ออกบวชตามการเห็นเดือนของต่างประเทศ ...
ตรงกันข้าม ทุกฝ่ายยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ตามกันได้ ...
แต่ปัญหาขัดแย้งจริงๆก็คือ ฝ่ายหนึ่งถือว่า จำเป็น (วายิบ) จะต้องถือบวช-ออกบวชตามข่าวการเห็นเดือนจากต่างประเทศได้ “อย่างอิสระและไม่มีเงื่อนไขใดๆ” เมื่อข่าวการเห็นเดือนจากทีวีหรืออินเตอร์เน็ตถูกต้องและเชื่อถือได้ ...
แต่อีกฝ่ายหนึ่งถือว่า ไม่จำเป็นต้องถือบวช-ออกบวชตามการเห็นเดือนต่างประเทศ ไม่ว่าข่าวที่รายงานมานั้นจะเชื่อถือได้หรือไม่ก็ตาม ยกเว้นมี “เงื่อนไขเดียว” .. คือ ในกรณีที่ท่านจุฬาราชมนตรียอมรับและประกาศให้มุสลิมในประเทศไทย ถือบวช-ออกบวชตามการเห็นเดือนต่างประเทศเท่านั้น จึงจะ “วายิบ” ถือตาม ...
ผู้นำหรือจุฬาราชมนตรีจึงเป็นผู้รับผิดชอบเต็มตัวในเรื่องการรับหรือไม่รับ การเห็นเดือนจากต่างประเทศ, ส่วนเรา – ประชาชนทุกคน – เป็นเพียงผู้ตามเท่านั้นในเรื่องนี้
นี่คือ ข้อเท็จจริงของความขัดแย้งในเรื่องนี้ที่ตรงประเด็นที่สุด ...
ผมเอง เห็นด้วยกับทัศนะหลังที่ว่า .. “วายิบถือบวช - ออกบวชตามประกาศผู้นำและพร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ” ...
เหตุผลของผมคือ ...
1. เพราะทัศนะนี้ เป็นทัศนะที่สอดคล้องกับหะดีษในเรื่องการถือบวชออกบวชมากที่สุด - มิใช่เฉพาะบทใดบทหนึ่ง แต่รวมทุกบท - ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
2. เพราะทัศนะนี้ คือทัศนะของญุมฮูรฺ หรือ 3 ใน 4 ของนักวิชาการมัษฮับทั้ง 4 ในอดีต ...
3. เพราะทัศนะนี้ เป็นทัศนะที่ “นักวิชาการอิสลามระดับโลกทั้งยุคอดีตและปัจจุบัน” อาทิเช่น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์, ท่านเช็คบินบาซ, ท่านเช็คอัล-อัลบานีย์, ท่านเช็คอุษัยมีน, ท่านเช็คเฟาซาน เป็นต้น เห็นสอดคล้องกัน ...
ก็ขอย้ำอีกครั้งว่า กรุณาเปิดใจให้กว้าง อย่าตะอัศศุ้บผม, อย่าตะอัศศุ้บอาจารย์ที่ท่านชื่นชอบ ...
อย่าให้ “โรค” ของสิ่งที่ท่านเคยกล่าวหาผู้ที่ท่านเรียกเขาว่า “คณะเก่า” ที่ว่า พวกเขาตะอัศศุ้บโต๊ะครูโดยไม่ลืมหูลืมตา, ไม่ยอมรับฟังหลักฐานที่ถูกต้องใดๆจากผู้อื่น ...
แล้วโรคนั้น มันย้อนศรกลับมาหาตัวท่านเอง เป็นอันขาด ...
ต่อไปนี้ คือหะดีษเกี่ยวกับเรื่องการถือบวช - ออกบวชและการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความหมายของหะดีษแต่ละบท ...
หะดีษบทที่ 1
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ...
صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ، وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ، فَإِنْ غُمِّيَ عَلَيْكُمُ الشَّهْرُ فَعُدُّوْا ثَلاَثِيْنَ
“พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นมัน (เดือนเสี้ยวของเดือนรอมะฎอน), และพวกท่านจงออกอีดเนื่องจากการเห็นมัน (เดือนเสี้ยวของเดือนเชาวาล), แล้วหากว่าเดือน(เสี้ยว)ถูกบดบังต่อพวกท่าน ก็จงนับ (เดือน)ให้ครบ 30 วัน”
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 1909, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 19/1081, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 2116, 2117, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 1685, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 204, 205, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 415, 430, 454, 456, 469, และท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษที่ 482 โดยรายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ซึ่งสำนวนข้างต้น เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านมุสลิม) ...
และหะดีษสำนวนที่คล้ายคลึงกันนี้ยังถูกรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์อื่นๆอีกหลาย ท่าน อาทิเช่น ท่านอิบนุอับบาส, ท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์, ท่านหุซัยฟะฮ์ บินยะมาน ร.ฎ. เป็นต้น ...
นักวิชาการในประเทศไทยหลายท่านอธิบายว่า หะดีษบทนี้ เป็นคำสั่งใช้จากท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมให้มุสลิมทั้งโลก ถือบวชออกบวชเมื่อมีที่ใดในโลกนี้เห็นเดือนเสี้ยว!! ...
นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า ..
“โดยหลักการที่ถูกต้องแล้ว ค่ำวันที่ 29 ชะอฺบาน ท่านรสูลุลลอฮ์สั่งใช้ให้ดูจันทร์เสี้ยว ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำคืนนั้นก็ให้นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 รอมาฎอน แต่ถ้าค่ำวันที่ 29 ชะอฺบานไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือประเทศของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่นว่า เขามีการเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ ? ...............”
ข้อสังเกต
ถ้าท่านย้อนกลับไปอ่านหะดีษข้างต้นอีกครั้ง ท่านก็จะเห็นได้ “ชัดเจน” ว่า บริบทคำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเรื่องให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดหรือออกอีด มีเพียง 2 บริบท คือ ...
1. เห็นเดือนเสี้ยว ...
2. ถ้าไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้นับเดือนให้ครบ 30 วัน ...
แต่จากคำกล่าวที่ว่า .. “ถ้าค่ำวันที่ 29 ชะอฺบานไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือประเทศของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่นว่า เขามีการเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ ? ...............” จึงเป็นการเพิ่มบริบทหรือเงื่อนไขที่สาม คือ ให้ติดตามฟังผลการเห็นเดือนจากประเทศอื่น ก่อนที่จะนับเดือนให้ครบ 30 วัน ..
คำถาม
1. บริบทที่ 3 ที่ว่า ถ้าค่ำวันที่ 29 เดือนชะอฺบานไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือประเทศของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่นว่า เขามีการเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ ? ...
ขอถามว่า ข้อความนี้มีกล่าวไว้ตรงไหนในหะดีษข้างต้นหรือครับ ?? .. เพราะท่านอ้างว่า เป็น ”คำสั่ง” ของท่านรอซู้ล ฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม !...
2. ถ้าท่านกล่าวว่า ข้อความนี้มิใช่เป็นหะดีษ แต่เป็น “การวิเคราะห์” ของท่านเองจากหะดีษ صُوْمُوْا ........ ข้างต้นนั้น ...
ผมก็ขอกล่าวว่า .. คำว่า “ประเทศใครประเทศมัน” ของผู้ที่ถือบวชออกบวชตามท่านจุฬาฯก็ดี, เรื่องของ “มัฏละอฺ” หรือโซนต่างๆที่นักวิชาการในอดีตบางท่านกำหนดไว้ก็ดี ก็เป็นผลจากการ “วิเคราะห์” มาจากหะดีษของท่านกุร็อยบ์เช่นเดียวกัน ...
การวิเคราะห์หลักฐานจึงเป็นที่อนุญาตสำหรับทุกฝ่ายครับ ไม่ใช่อนุญาตเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ...
ทีท่านยังใช้หลักการวิเคราะห์ได้และฟันธงว่ามันถูกต้อง แต่พอผู้อื่นใช้หลักการเดียวกันกับท่านบ้าง(ทั้งๆที่หลักการวิเคราะห์ของเขา ใกล้เคียงความถูกต้องมากกว่าการวิเคราะห์ของท่าน) ท่านกลับกล่าวหาว่า คำพูดเรื่องประเทศใครประเทศมัน หรือเรื่องมัฏละอฺเป็นคำพูดที่ไม่มีหลักฐานเลย หรือไม่มีหลักฐานจากซุนนะฮ์รองรับ ...
อย่างนี้ถือว่า 2 มาตรฐาน ไม่ยุติธรรมครับ ...
3. คำกล่าวที่ว่า .. ถ้าไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือ “ประเทศ” ของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่น ..
ข้อความนี้แสดงว่า เรื่องของ “ประเทศ” ย่อมมีมาแล้วตั้งแต่สมัยท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะหะดีษนี้ท่านนบีย์สั่งใช้มุสลิมทั้งโลกปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยของท่าน แล้วมิใช่หรือ ? ...
คำพูดของท่านตอนนี้กับคำพูดของท่านตอนหลังที่ว่า “ประเทศเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดมาหลังจากยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” จึงน่าจะขัดแย้งกันเองนะครับ
ความจริง คำว่า “ประเทศใครประเทศมัน” เป็นถ้อยคำที่ใช้แทนค่าคำว่า “วิลายะฮ์” หรือ “เขตการปกครองต่างๆ” เพื่อให้ฟังเข้าใจง่ายเท่านั้น และเรื่องเขตการปกครองต่างๆหรือประเทศนี้ ก็เคยมีมาตั้งแต่ก่อนยุคของท่านศาสดาด้วยซ้ำไป ...
ประเทศอินเดีย ยุคก่อนพุทธกาลอันเกิดก่อนอิสลามเราตั้ง 1121 หรือ 1122 ปี ก็เคยมีหลายแคว้น อาทิเช่น แคว้นโกศล, แคว้นมัลละ, แคว้นกุสินารา เป็นต้น .. แต่ละแคว้นเหล่านั้น ล้วนมี “เมืองหลวง” เป็นของตนเองทั้งสิ้น ...
ดังนั้น แคว้นต่างๆเหล่านั้น ถ้าเป็นปัจจุบันก็คือ “ประเทศ” ดีๆนี่เอง ...
ในสมัยท่านนบีย์มูซา ท่านได้นำชาวบนีย์อิสรออีล อพยพหนีภัยจากการไล่ล่าของฟิรฺอูนออกจากอียิปต์ ...
ถ้าอียิปต์ในสมัยนั้นไม่ใช่ประเทศแล้ว จะเป็นอะไร ? ...
ในซูเราะฮ์ อัรฺ-รูม ที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงกล่าวถึงสงครามระหว่างโรมกับเปอร์เชีย ...
แล้วทั้งโรมและเปอร์เชีย ท่านจะเรียกว่าเป็นอะไรถ้าไม่เป็นประเทศ ?? ...
ฯลฯ.
ข้อเท็จจริงของความหมายหะดีษข้างต้น
ความเข้าใจจากหะดีษข้างต้นที่ว่า .. “พวกท่านทั้งหลายจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว” ..... ว่า เป็นคำสั่งใช้ที่ “วายิบ” ให้มุสลิม “ทั้งโลก” ถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ...
แต่ความเข้าใจที่ว่า .. เมื่อมีที่ใดเห็นเดือนเสี้ยว ก็ “วายิบ” ให้ที่อื่นที่ทราบข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวนั้นต้องถือศีลอดตามด้วยแบบอิสระ .. ไม่ต้องผ่านผู้นำ น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากเจตนารมณ์ของหะดีษ ...
เพราะคำว่า “เนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว” บ่งบอกความหมายว่า มุสลิมทั้งโลก ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ ณ ประเทศใด, ส่วนไหนของโลกก็ตาม วายิบจะต้องใช้ “วิธีการ” เดียวกันในการถือศีลอด คือเห็นเดือนเสี้ยว ...
หะดีษบทนี้จึงเป็นหลักฐานสั่งใช้ให้มุสลิมทั้งโลกยึดถือ “วิธีการเดียวกัน” ในการถือศีลอด – คือดูเดือนเสี้ยว - ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันก็ได้หากอยู่คนละโซน (มัฏละอฺที่ห่างไกลกันมากๆ ...
แต่มิใช่ใช้ให้มุสลิมถือศีลอด “ในวันเดียวกัน” ทั้งโลกซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในแง่การปฏิบัติ ไม่ว่าในยุคไหน .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
โปรดอ่าน .. แล้วพิจารณาและเข้าใจจุดนี้ให้ดีครับ ...
และตามรูปการแล้ว คำสั่งใช้ให้ดูเดือนเสี้ยวดังกล่าว ย่อมหมายถึงให้แต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศ - ทั่วโลก - ดูเดือนเสี้ยวในคืนวันที่ 29 เดือนชะอฺบานจากการนับเดือน (ขออนุญาตใช้คำว่า “ปฏิทิน” เพื่อความเข้าใจง่าย) ของเมืองหรือประเทศตนเอง มิใช่อยู่ประเทศนี้แต่ให้ไปดูเดือนเสี้ยวตามปฏิทินของประเทศอื่น หรือให้ดูเดือนเสี้ยวของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่นประเทศซาอุฯ เป็นต้น ...
อย่างเช่น เมื่อเริ่มถือศีลอดปี 2558 ที่ผ่านมานี้ .. การดูเดือนเสี้ยวหรือวันที่ 29 เดือนชะอฺบานตามปฏิทินประเทศซาอุฯ คือวันอังคาร ที่ 16 มิถุนายน แต่การดูเดือนเสี้ยวหรือวันที่ 29 ชะอฺบานตามปฏิทินประเทศไทย คือวันพุธ ที่ 17 .. หลังจากประเทศซาอุฯ 1 วัน ...
เพราะฉะนั้น ที่ถูกต้องเมื่อเราอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็ต้องดูเดือนเสี้ยวในวันพุธ ที่ 17 ตามปฏิทินประเทศไทย มิใช่ไปดูเดือนเสี้ยวในวันอังคาร ที่ 16 ตามปฏิทินประเทศซาอุฯ ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เดือนชะอฺบานของเรา อันเป็นปฏิบัติการที่ไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกันนอกจากบางคนประเทศไทยเท่า นั้น และเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในซุนนะฮ์ด้วย ...
สรุปแล้ว ผมไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างที่ว่า วายิบให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดพร้อมกันเมื่อมีประเทศใดเห็นเดือนเสี้ยว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ...
1. การกำหนด (วายิบ) ให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดในวันเดียวกัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในเชิงปฏิบัติ ...
อย่าว่าแต่ในยุคของท่านศาสดาซึ่งการสื่อสารยังไม่เจริญก้าวหน้าเลย แม้ปัจจุบันก็ยังยาก ...
บทบัญญัติของอิสลามแต่ละอย่าง มิใช่เพื่อให้ปฏิบัติเฉพาะยุคใดสมัยใด แต่เป็นบทบัญญัติถาวรจนถึงวันอาคิเราะฮ์หรือวันสิ้นโลก และจะเป็นบทบัญญัติที่ “คนส่วนใหญ่” ปฏิบัติได้ มิใช่บังคับใช้กับ “คนส่วนน้อย” ...
ผมไม่เคยเจอเลยว่า ในศาสนาอิสลามเราจะมีบทบัญญัติใดถูกตราออกมาใช้บังคับมุสลิมทั้งโลก .. โดยที่มุสลิมส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติได้ เหมือนบทบัญญัติเรื่องการถือศีลอดพร้อมกันหรือในวันเดียวกันตามความเข้าใจ ของพวกท่าน ...
ที่เคยเจอก็คือ บทบัญญัติใดที่ถูกใช้บังคับต่อมุสลิมโดยรวม เช่นเรื่องการนมาซ, .. หรือบทบัญญัติที่บังคับเฉพาะผู้มีความสามารถ เช่นเรื่องการทำหัจญ์, หรือบทบัญญัติที่บังคับเฉพาะผู้มีฐานะดี เช่นเรื่องซะกาต เป็นต้น ตามปกติแล้วมุสลิมส่วนมากที่ตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติบังคับดังกล่าว จะสามารถปฏิบัติตามบทบัญญัตินั้นๆได้เสมอ .. นอกจากส่วนน้อย เท่านั้นที่ปฏิบัติตามไม่ได้ ซึ่งก็จะได้รับการผ่อนผันให้ .. ดังคำกล่าวของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า .. “เมื่อฉันใช้พวกท่านในกิจการใด ให้พวกท่านทำมันเท่าที่ท่านสามารถ” ...
ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ต้องการจะสื่อความหมายจากหะดีษที่ว่า .. “พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว ....” ว่าเป็นคำสั่งให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดพร้อมกันเมื่อปรากฏมีการเห็นเดือน เสี้ยว ณ ที่ใดก็ตาม จึงน่าจะเป็นความเข้าใจที่ “เลยเถิด” จากความเป็นจริง เพราะทุกคนย่อมทราบดีว่ามันเป็นสิ่งที่แทบจะ .. หรือเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 1909, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 19/1081, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 2116, 2117, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 1685, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 204, 205, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 415, 430, 454, 456, 469, และท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษที่ 482 โดยรายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ซึ่งสำนวนข้างต้น เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านมุสลิม) ...
และหะดีษสำนวนที่คล้ายคลึงกันนี้ยังถูกรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์อื่นๆอีกหลาย ท่าน อาทิเช่น ท่านอิบนุอับบาส, ท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์, ท่านหุซัยฟะฮ์ บินยะมาน ร.ฎ. เป็นต้น ...
นักวิชาการในประเทศไทยหลายท่านอธิบายว่า หะดีษบทนี้ เป็นคำสั่งใช้จากท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมให้มุสลิมทั้งโลก ถือบวชออกบวชเมื่อมีที่ใดในโลกนี้เห็นเดือนเสี้ยว!! ...
นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า ..
“โดยหลักการที่ถูกต้องแล้ว ค่ำวันที่ 29 ชะอฺบาน ท่านรสูลุลลอฮ์สั่งใช้ให้ดูจันทร์เสี้ยว ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำคืนนั้นก็ให้นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 รอมาฎอน แต่ถ้าค่ำวันที่ 29 ชะอฺบานไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือประเทศของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่นว่า เขามีการเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ ? ...............”
ข้อสังเกต
ถ้าท่านย้อนกลับไปอ่านหะดีษข้างต้นอีกครั้ง ท่านก็จะเห็นได้ “ชัดเจน” ว่า บริบทคำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเรื่องให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดหรือออกอีด มีเพียง 2 บริบท คือ ...
1. เห็นเดือนเสี้ยว ...
2. ถ้าไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้นับเดือนให้ครบ 30 วัน ...
แต่จากคำกล่าวที่ว่า .. “ถ้าค่ำวันที่ 29 ชะอฺบานไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือประเทศของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่นว่า เขามีการเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ ? ...............” จึงเป็นการเพิ่มบริบทหรือเงื่อนไขที่สาม คือ ให้ติดตามฟังผลการเห็นเดือนจากประเทศอื่น ก่อนที่จะนับเดือนให้ครบ 30 วัน ..
คำถาม
1. บริบทที่ 3 ที่ว่า ถ้าค่ำวันที่ 29 เดือนชะอฺบานไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือประเทศของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่นว่า เขามีการเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ ? ...
ขอถามว่า ข้อความนี้มีกล่าวไว้ตรงไหนในหะดีษข้างต้นหรือครับ ?? .. เพราะท่านอ้างว่า เป็น ”คำสั่ง” ของท่านรอซู้ล ฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม !...
2. ถ้าท่านกล่าวว่า ข้อความนี้มิใช่เป็นหะดีษ แต่เป็น “การวิเคราะห์” ของท่านเองจากหะดีษ صُوْمُوْا ........ ข้างต้นนั้น ...
ผมก็ขอกล่าวว่า .. คำว่า “ประเทศใครประเทศมัน” ของผู้ที่ถือบวชออกบวชตามท่านจุฬาฯก็ดี, เรื่องของ “มัฏละอฺ” หรือโซนต่างๆที่นักวิชาการในอดีตบางท่านกำหนดไว้ก็ดี ก็เป็นผลจากการ “วิเคราะห์” มาจากหะดีษของท่านกุร็อยบ์เช่นเดียวกัน ...
การวิเคราะห์หลักฐานจึงเป็นที่อนุญาตสำหรับทุกฝ่ายครับ ไม่ใช่อนุญาตเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ...
ทีท่านยังใช้หลักการวิเคราะห์ได้และฟันธงว่ามันถูกต้อง แต่พอผู้อื่นใช้หลักการเดียวกันกับท่านบ้าง(ทั้งๆที่หลักการวิเคราะห์ของเขา ใกล้เคียงความถูกต้องมากกว่าการวิเคราะห์ของท่าน) ท่านกลับกล่าวหาว่า คำพูดเรื่องประเทศใครประเทศมัน หรือเรื่องมัฏละอฺเป็นคำพูดที่ไม่มีหลักฐานเลย หรือไม่มีหลักฐานจากซุนนะฮ์รองรับ ...
อย่างนี้ถือว่า 2 มาตรฐาน ไม่ยุติธรรมครับ ...
3. คำกล่าวที่ว่า .. ถ้าไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในดินแดนหรือ “ประเทศ” ของเรา ก็ให้เรารับข่าวจากดินแดนอื่นหรือประเทศอื่น ..
ข้อความนี้แสดงว่า เรื่องของ “ประเทศ” ย่อมมีมาแล้วตั้งแต่สมัยท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะหะดีษนี้ท่านนบีย์สั่งใช้มุสลิมทั้งโลกปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยของท่าน แล้วมิใช่หรือ ? ...
คำพูดของท่านตอนนี้กับคำพูดของท่านตอนหลังที่ว่า “ประเทศเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดมาหลังจากยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” จึงน่าจะขัดแย้งกันเองนะครับ
ความจริง คำว่า “ประเทศใครประเทศมัน” เป็นถ้อยคำที่ใช้แทนค่าคำว่า “วิลายะฮ์” หรือ “เขตการปกครองต่างๆ” เพื่อให้ฟังเข้าใจง่ายเท่านั้น และเรื่องเขตการปกครองต่างๆหรือประเทศนี้ ก็เคยมีมาตั้งแต่ก่อนยุคของท่านศาสดาด้วยซ้ำไป ...
ประเทศอินเดีย ยุคก่อนพุทธกาลอันเกิดก่อนอิสลามเราตั้ง 1121 หรือ 1122 ปี ก็เคยมีหลายแคว้น อาทิเช่น แคว้นโกศล, แคว้นมัลละ, แคว้นกุสินารา เป็นต้น .. แต่ละแคว้นเหล่านั้น ล้วนมี “เมืองหลวง” เป็นของตนเองทั้งสิ้น ...
ดังนั้น แคว้นต่างๆเหล่านั้น ถ้าเป็นปัจจุบันก็คือ “ประเทศ” ดีๆนี่เอง ...
ในสมัยท่านนบีย์มูซา ท่านได้นำชาวบนีย์อิสรออีล อพยพหนีภัยจากการไล่ล่าของฟิรฺอูนออกจากอียิปต์ ...
ถ้าอียิปต์ในสมัยนั้นไม่ใช่ประเทศแล้ว จะเป็นอะไร ? ...
ในซูเราะฮ์ อัรฺ-รูม ที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงกล่าวถึงสงครามระหว่างโรมกับเปอร์เชีย ...
แล้วทั้งโรมและเปอร์เชีย ท่านจะเรียกว่าเป็นอะไรถ้าไม่เป็นประเทศ ?? ...
ฯลฯ.
ข้อเท็จจริงของความหมายหะดีษข้างต้น
ความเข้าใจจากหะดีษข้างต้นที่ว่า .. “พวกท่านทั้งหลายจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว” ..... ว่า เป็นคำสั่งใช้ที่ “วายิบ” ให้มุสลิม “ทั้งโลก” ถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ...
แต่ความเข้าใจที่ว่า .. เมื่อมีที่ใดเห็นเดือนเสี้ยว ก็ “วายิบ” ให้ที่อื่นที่ทราบข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวนั้นต้องถือศีลอดตามด้วยแบบอิสระ .. ไม่ต้องผ่านผู้นำ น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากเจตนารมณ์ของหะดีษ ...
เพราะคำว่า “เนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว” บ่งบอกความหมายว่า มุสลิมทั้งโลก ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ ณ ประเทศใด, ส่วนไหนของโลกก็ตาม วายิบจะต้องใช้ “วิธีการ” เดียวกันในการถือศีลอด คือเห็นเดือนเสี้ยว ...
หะดีษบทนี้จึงเป็นหลักฐานสั่งใช้ให้มุสลิมทั้งโลกยึดถือ “วิธีการเดียวกัน” ในการถือศีลอด – คือดูเดือนเสี้ยว - ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันก็ได้หากอยู่คนละโซน (มัฏละอฺที่ห่างไกลกันมากๆ ...
แต่มิใช่ใช้ให้มุสลิมถือศีลอด “ในวันเดียวกัน” ทั้งโลกซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในแง่การปฏิบัติ ไม่ว่าในยุคไหน .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
โปรดอ่าน .. แล้วพิจารณาและเข้าใจจุดนี้ให้ดีครับ ...
และตามรูปการแล้ว คำสั่งใช้ให้ดูเดือนเสี้ยวดังกล่าว ย่อมหมายถึงให้แต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศ - ทั่วโลก - ดูเดือนเสี้ยวในคืนวันที่ 29 เดือนชะอฺบานจากการนับเดือน (ขออนุญาตใช้คำว่า “ปฏิทิน” เพื่อความเข้าใจง่าย) ของเมืองหรือประเทศตนเอง มิใช่อยู่ประเทศนี้แต่ให้ไปดูเดือนเสี้ยวตามปฏิทินของประเทศอื่น หรือให้ดูเดือนเสี้ยวของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่นประเทศซาอุฯ เป็นต้น ...
อย่างเช่น เมื่อเริ่มถือศีลอดปี 2558 ที่ผ่านมานี้ .. การดูเดือนเสี้ยวหรือวันที่ 29 เดือนชะอฺบานตามปฏิทินประเทศซาอุฯ คือวันอังคาร ที่ 16 มิถุนายน แต่การดูเดือนเสี้ยวหรือวันที่ 29 ชะอฺบานตามปฏิทินประเทศไทย คือวันพุธ ที่ 17 .. หลังจากประเทศซาอุฯ 1 วัน ...
เพราะฉะนั้น ที่ถูกต้องเมื่อเราอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็ต้องดูเดือนเสี้ยวในวันพุธ ที่ 17 ตามปฏิทินประเทศไทย มิใช่ไปดูเดือนเสี้ยวในวันอังคาร ที่ 16 ตามปฏิทินประเทศซาอุฯ ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เดือนชะอฺบานของเรา อันเป็นปฏิบัติการที่ไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกันนอกจากบางคนประเทศไทยเท่า นั้น และเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในซุนนะฮ์ด้วย ...
สรุปแล้ว ผมไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างที่ว่า วายิบให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดพร้อมกันเมื่อมีประเทศใดเห็นเดือนเสี้ยว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ...
1. การกำหนด (วายิบ) ให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดในวันเดียวกัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในเชิงปฏิบัติ ...
อย่าว่าแต่ในยุคของท่านศาสดาซึ่งการสื่อสารยังไม่เจริญก้าวหน้าเลย แม้ปัจจุบันก็ยังยาก ...
บทบัญญัติของอิสลามแต่ละอย่าง มิใช่เพื่อให้ปฏิบัติเฉพาะยุคใดสมัยใด แต่เป็นบทบัญญัติถาวรจนถึงวันอาคิเราะฮ์หรือวันสิ้นโลก และจะเป็นบทบัญญัติที่ “คนส่วนใหญ่” ปฏิบัติได้ มิใช่บังคับใช้กับ “คนส่วนน้อย” ...
ผมไม่เคยเจอเลยว่า ในศาสนาอิสลามเราจะมีบทบัญญัติใดถูกตราออกมาใช้บังคับมุสลิมทั้งโลก .. โดยที่มุสลิมส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติได้ เหมือนบทบัญญัติเรื่องการถือศีลอดพร้อมกันหรือในวันเดียวกันตามความเข้าใจ ของพวกท่าน ...
ที่เคยเจอก็คือ บทบัญญัติใดที่ถูกใช้บังคับต่อมุสลิมโดยรวม เช่นเรื่องการนมาซ, .. หรือบทบัญญัติที่บังคับเฉพาะผู้มีความสามารถ เช่นเรื่องการทำหัจญ์, หรือบทบัญญัติที่บังคับเฉพาะผู้มีฐานะดี เช่นเรื่องซะกาต เป็นต้น ตามปกติแล้วมุสลิมส่วนมากที่ตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติบังคับดังกล่าว จะสามารถปฏิบัติตามบทบัญญัตินั้นๆได้เสมอ .. นอกจากส่วนน้อย เท่านั้นที่ปฏิบัติตามไม่ได้ ซึ่งก็จะได้รับการผ่อนผันให้ .. ดังคำกล่าวของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า .. “เมื่อฉันใช้พวกท่านในกิจการใด ให้พวกท่านทำมันเท่าที่ท่านสามารถ” ...
ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ต้องการจะสื่อความหมายจากหะดีษที่ว่า .. “พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว ....” ว่าเป็นคำสั่งให้มุสลิมทั้งโลกถือศีลอดพร้อมกันเมื่อปรากฏมีการเห็นเดือน เสี้ยว ณ ที่ใดก็ตาม จึงน่าจะเป็นความเข้าใจที่ “เลยเถิด” จากความเป็นจริง เพราะทุกคนย่อมทราบดีว่ามันเป็นสิ่งที่แทบจะ .. หรือเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ ...
2. การกำหนดว่า เมื่อประเทศเราไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้ “ติดตาม” ฟังข่าวดูอีกว่า มีประเทศใดบ้างในโลกนี้เห็นเดือนเสี้ยว ...
(คำว่า .. ประเทศใดบ้างในโลก .. เป็นคำพูดเพื่อให้ฟังดูหรู แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว เห็นรับฟังอยู่จากประเทศซาอุฯ ประเทศเดียวเท่านั้น) ..
การกำหนดอย่างนี้ ขัดแย้งกับโองการของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ว่า ...
يُرِيْدُ اللهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيْدُ بِكُمُ الْعُسْرَ
“พระองค์ทรงประสงค์จะให้ความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์จะให้เกิดความยากลำบากแก่พวกเจ้า” ...
โองการนี้ กล่าวในเรื่องการถือศีลอด ! .. ซึ่งแม้จะเป็นโองการเกี่ยวกับผู้ป่วยและคนเดินทาง แต่คำว่า “ความสะดวกและความลำบาก” ย่อมจะมีความหมายครอบคลุมทั้งผู้ป่วย, คนเดินทาง, รวมทั้งในการดูเดือนด้วย .. ตามข้อความกว้างๆ (عُمُوْمٌ) ของโองการ ตามกฏเกณฑ์ที่ว่า ...
اَلْعِبْرَةُ بِعُمُوْمِ اللَّفْظِ لاَ بِخُصُوْصِ السَّبَبِ
(การพิจารณา ให้ดูที่ความหมายกว้างๆของถ้อยคำ มิใช่ให้ดูจากสาเหตุเฉพาะ)
แล้วเราลองมาพิจารณาดูเถิดครับว่า ระหว่างการดูเดือนเสี้ยวภายในประเทศซึ่งจะรู้ผลไม่เกินสองทุ่ม กับการต้องอดตาหลับ-ขับตานอนต่อไปจนดึกดื่นเที่ยงคืน หรืออาจจะถึง 2 หรือ 3 หรือ 4 นาฬิกาของวันใหม่ เพื่อติดตามฟังข่าวการเห็นเดือนจากต่างประเทศ ...
ไม่ใช่จากประเทศซาอุฯประเทศเดียว แต่ต้องจากประเทศอื่นทั้งโลกตามทฤษฎีที่ท่านอ้างมา ...
อย่างไหน คือความสะดวกง่ายดายที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ และอย่างไหนคือความยากลำบากที่อัลลอฮ์ไม่ทรงประสงค์ ??? ...
วิญญูชนทั้งหลายย่อมเข้าใจได้ดี ...
(คำว่า .. ประเทศใดบ้างในโลก .. เป็นคำพูดเพื่อให้ฟังดูหรู แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว เห็นรับฟังอยู่จากประเทศซาอุฯ ประเทศเดียวเท่านั้น) ..
การกำหนดอย่างนี้ ขัดแย้งกับโองการของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ว่า ...
يُرِيْدُ اللهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيْدُ بِكُمُ الْعُسْرَ
“พระองค์ทรงประสงค์จะให้ความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์จะให้เกิดความยากลำบากแก่พวกเจ้า” ...
โองการนี้ กล่าวในเรื่องการถือศีลอด ! .. ซึ่งแม้จะเป็นโองการเกี่ยวกับผู้ป่วยและคนเดินทาง แต่คำว่า “ความสะดวกและความลำบาก” ย่อมจะมีความหมายครอบคลุมทั้งผู้ป่วย, คนเดินทาง, รวมทั้งในการดูเดือนด้วย .. ตามข้อความกว้างๆ (عُمُوْمٌ) ของโองการ ตามกฏเกณฑ์ที่ว่า ...
اَلْعِبْرَةُ بِعُمُوْمِ اللَّفْظِ لاَ بِخُصُوْصِ السَّبَبِ
(การพิจารณา ให้ดูที่ความหมายกว้างๆของถ้อยคำ มิใช่ให้ดูจากสาเหตุเฉพาะ)
แล้วเราลองมาพิจารณาดูเถิดครับว่า ระหว่างการดูเดือนเสี้ยวภายในประเทศซึ่งจะรู้ผลไม่เกินสองทุ่ม กับการต้องอดตาหลับ-ขับตานอนต่อไปจนดึกดื่นเที่ยงคืน หรืออาจจะถึง 2 หรือ 3 หรือ 4 นาฬิกาของวันใหม่ เพื่อติดตามฟังข่าวการเห็นเดือนจากต่างประเทศ ...
ไม่ใช่จากประเทศซาอุฯประเทศเดียว แต่ต้องจากประเทศอื่นทั้งโลกตามทฤษฎีที่ท่านอ้างมา ...
อย่างไหน คือความสะดวกง่ายดายที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ และอย่างไหนคือความยากลำบากที่อัลลอฮ์ไม่ทรงประสงค์ ??? ...
วิญญูชนทั้งหลายย่อมเข้าใจได้ดี ...
3. ความเข้าใจที่ว่า “วายิบ” ต้องถือบวชออกบวช ตามประเทศใดในโลกที่เห็นเดือน ขัดแย้งกับคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. จากหะดีษกุร็อยบ์ที่กล่าวอ้างอิงถึงคำสั่งของท่านท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮะอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .. “เราไม่เพียงพอ (คือไม่ตาม) การเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์หรอก อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งเราไว้” ...
(หะดีษกุร็อยบ์ จะชี้แจงข้อเท็จจริงหลังจากหะดีษ صُوْمُوْا ...... บทนี้ อินชาอัลลอฮ์) ...
ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. อยู่ที่นครมดีนะฮ์, ส่วนท่านมุอาวิยะฮ์ ร.ฎ. อยู่ที่เมืองชาม ทั้งสองเมืองนี้เห็นเดือนเสี้ยวในคืนเริ่มถือศีลอดไม่พร้อมกัน ...
คำว่า .. “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮะอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งเราไว้” .. นักวิชาการผู้บันทึกหะดีษกุร็อยบ์ อาทิเช่นท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นซาอีย์ เป็นต้น กล่าวอธิบายสอดคล้องกันในลักษณะว่า หมายถึง “อนุญาต” ให้แต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศ มีสิทธิ์ดูเดือนเสี้ยวของตนเองโดยไม่จำเป็น (คือไม่วายิบ) ต้องไปตามการเห็นเดือนของเมืองอื่น ...
คำอธิบายของท่านผู้บันทึกหะดีษเหล่านี้, รวมกับคำอธิบายของนักวิชาการหะดีษท่านอื่นๆที่ผมจะนำมาเสนอต่อไป, ประกอบกับคำฟัตวาของท่านอิบนุตัยมียะฮ์, ท่านเช็คบินบาส, ท่านอัล-อัลบานีย์, ท่านเช็คอุษัยมีน, ท่านเช็คเฟาซาน เป็นต้น ที่ให้ประชาชนในแต่ละประเทศ ถือบวชออกบวชพร้อมกับผู้นำและประชาชนในประเทศของตน โดยไม่ต้องไปตามการถือบวชออกบวชของประเทศอื่น ย่อมมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือ มากกว่าความเห็นของนักวิชาการในประเทศไทยที่เห็นต่างกับพวกท่านเหล่านี้แน่ นอน ...
4. ความเข้าใจที่ว่า .. เมื่อประเทศเราไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้ “ติดตาม” ฟังข่าวดูอีกว่า มีประเทศใดบ้างในโลกนี้เห็นเดือนเสี้ยว .. เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจากตัวท่านรอซู้ลเอง, หรือจากคอลีฟะฮ์ทั้ง 4 ท่าน ...
ทั้งนี้ เพราะไม่มีพวกท่านคนใดที่เมื่อนครมดีนะฮ์ไม่เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว จะนั่งถ่างตาคอยรับฟังข่าวการเห็นเดือนจากประเทศอื่นจนถึง ตี 2 ตี 3 .. หรือส่งม้าเร็วไปติดตามสอบถามเมืองต่างๆทั้งใกล้และไกล เช่นญิดดะฮ์, ฏออีฟ, มักกะฮ์ เป็นต้นว่า เมืองพวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวไหมคืนนี้ ...
แต่สิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันตั้งแต่แรกเริ่มก็คือ ประกาศให้ประชาชนชาวมดีนะฮ์ดูเดือนเสี้ยวในคืนที่ 29 ...
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเห็นเดือนเสี้ยวในคืนนั้น ท่านก็จะกำหนดให้ถือศีลอดหรือออกอีดเมื่อนับเดือนครบ 30 วันเท่านั้น ไม่มีคำสั่งอะไรเพิ่มเติมมากไปกว่านั้น ...
อนึ่ง การที่มีบางรายงานมาว่า วันรุ่งขึ้นมีชาวอาหรับบ้านนอก เข้าแจ้งแก่ท่านศาสดาว่า ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า พวกเขาเห็นเดือนเสี้ยวแล้วเมื่อคืน ...
ข้อเท็จจริงก็คือ สิ่งดังกล่าวนี้มิใช่เป็นการ “ติดตามข่าว” ของท่าน แต่เป็นการ “มารายงาน” ของชาวอาหรับบ้านนอกคนนั้นเองต่างหาก และเมื่อท่านตรวจสอบความถูกต้องของคำรายงานแล้ว ท่านจึงมีคำสั่งประกาศให้ประชาชนปฏิบัติตามภายหลัง ...
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผมกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า การยอมรับการเห็นเดือนจากต่างประเทศ ย่อมเป็นที่อนุญาต และมิใช่มิใช่เป็นความขัดแย้ง ...
เพียงแต่ต้องผ่านการยอมรับจากผู้นำก่อนเท่านั้น ...
และหากหะดีษบทนี้ถูกต้อง ผมถือว่านี่เป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งว่า การถือบวชออกบวช จะต้องตามผู้นำและให้ผู้นำประกาศก่อน ! .. ทั้งนี้เพราะไม่มีผู้เห็นเดือนคนใดในยุคนั้นจะกล้าไปป่าวประกาศให้ประชาชน รับทราบการเห็นเดือนเสี้ยวของตนโดยพลการ นอกจากจะมาแจ้งให้ผู้นำ คือท่านนบีย์หรือคอลีฟะฮ์รับทราบก่อนเท่านั้น และเมื่อท่านประกาศรับรองการเห็นเดือนแล้ว เมื่อนั้นแหละประชาชนจึงจะถือบวชออกบวชได้ .. ดังข้อมูลที่จะถึงต่อไป ...
(หะดีษกุร็อยบ์ จะชี้แจงข้อเท็จจริงหลังจากหะดีษ صُوْمُوْا ...... บทนี้ อินชาอัลลอฮ์) ...
ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. อยู่ที่นครมดีนะฮ์, ส่วนท่านมุอาวิยะฮ์ ร.ฎ. อยู่ที่เมืองชาม ทั้งสองเมืองนี้เห็นเดือนเสี้ยวในคืนเริ่มถือศีลอดไม่พร้อมกัน ...
คำว่า .. “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮะอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งเราไว้” .. นักวิชาการผู้บันทึกหะดีษกุร็อยบ์ อาทิเช่นท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นซาอีย์ เป็นต้น กล่าวอธิบายสอดคล้องกันในลักษณะว่า หมายถึง “อนุญาต” ให้แต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศ มีสิทธิ์ดูเดือนเสี้ยวของตนเองโดยไม่จำเป็น (คือไม่วายิบ) ต้องไปตามการเห็นเดือนของเมืองอื่น ...
คำอธิบายของท่านผู้บันทึกหะดีษเหล่านี้, รวมกับคำอธิบายของนักวิชาการหะดีษท่านอื่นๆที่ผมจะนำมาเสนอต่อไป, ประกอบกับคำฟัตวาของท่านอิบนุตัยมียะฮ์, ท่านเช็คบินบาส, ท่านอัล-อัลบานีย์, ท่านเช็คอุษัยมีน, ท่านเช็คเฟาซาน เป็นต้น ที่ให้ประชาชนในแต่ละประเทศ ถือบวชออกบวชพร้อมกับผู้นำและประชาชนในประเทศของตน โดยไม่ต้องไปตามการถือบวชออกบวชของประเทศอื่น ย่อมมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือ มากกว่าความเห็นของนักวิชาการในประเทศไทยที่เห็นต่างกับพวกท่านเหล่านี้แน่ นอน ...
4. ความเข้าใจที่ว่า .. เมื่อประเทศเราไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้ “ติดตาม” ฟังข่าวดูอีกว่า มีประเทศใดบ้างในโลกนี้เห็นเดือนเสี้ยว .. เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจากตัวท่านรอซู้ลเอง, หรือจากคอลีฟะฮ์ทั้ง 4 ท่าน ...
ทั้งนี้ เพราะไม่มีพวกท่านคนใดที่เมื่อนครมดีนะฮ์ไม่เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว จะนั่งถ่างตาคอยรับฟังข่าวการเห็นเดือนจากประเทศอื่นจนถึง ตี 2 ตี 3 .. หรือส่งม้าเร็วไปติดตามสอบถามเมืองต่างๆทั้งใกล้และไกล เช่นญิดดะฮ์, ฏออีฟ, มักกะฮ์ เป็นต้นว่า เมืองพวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวไหมคืนนี้ ...
แต่สิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันตั้งแต่แรกเริ่มก็คือ ประกาศให้ประชาชนชาวมดีนะฮ์ดูเดือนเสี้ยวในคืนที่ 29 ...
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเห็นเดือนเสี้ยวในคืนนั้น ท่านก็จะกำหนดให้ถือศีลอดหรือออกอีดเมื่อนับเดือนครบ 30 วันเท่านั้น ไม่มีคำสั่งอะไรเพิ่มเติมมากไปกว่านั้น ...
อนึ่ง การที่มีบางรายงานมาว่า วันรุ่งขึ้นมีชาวอาหรับบ้านนอก เข้าแจ้งแก่ท่านศาสดาว่า ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า พวกเขาเห็นเดือนเสี้ยวแล้วเมื่อคืน ...
ข้อเท็จจริงก็คือ สิ่งดังกล่าวนี้มิใช่เป็นการ “ติดตามข่าว” ของท่าน แต่เป็นการ “มารายงาน” ของชาวอาหรับบ้านนอกคนนั้นเองต่างหาก และเมื่อท่านตรวจสอบความถูกต้องของคำรายงานแล้ว ท่านจึงมีคำสั่งประกาศให้ประชาชนปฏิบัติตามภายหลัง ...
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผมกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า การยอมรับการเห็นเดือนจากต่างประเทศ ย่อมเป็นที่อนุญาต และมิใช่มิใช่เป็นความขัดแย้ง ...
เพียงแต่ต้องผ่านการยอมรับจากผู้นำก่อนเท่านั้น ...
และหากหะดีษบทนี้ถูกต้อง ผมถือว่านี่เป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งว่า การถือบวชออกบวช จะต้องตามผู้นำและให้ผู้นำประกาศก่อน ! .. ทั้งนี้เพราะไม่มีผู้เห็นเดือนคนใดในยุคนั้นจะกล้าไปป่าวประกาศให้ประชาชน รับทราบการเห็นเดือนเสี้ยวของตนโดยพลการ นอกจากจะมาแจ้งให้ผู้นำ คือท่านนบีย์หรือคอลีฟะฮ์รับทราบก่อนเท่านั้น และเมื่อท่านประกาศรับรองการเห็นเดือนแล้ว เมื่อนั้นแหละประชาชนจึงจะถือบวชออกบวชได้ .. ดังข้อมูลที่จะถึงต่อไป ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น