โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
พี่น้องที่เคารพครับ ...
ผมได้นำเสนอหะดีษเกี่ยวกับเรื่องการถือบวชออกบวชมา 2 บทแล้ว ...
บทที่หนึ่ง คือหะดีษที่ว่า ............... صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهَ
หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า มุสลิม ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ ณ แห่งใด, ประเทศใดในโลก วายิบจะต้องอาศัย “วิธีการ” เดียวกันในการถือบวชออกบวช คือดูเดือนเสี้ยวจากเมืองหรือประเทศของตนเอง ...
ไม่มีหลักฐานว่า เมื่อเมืองหรือประเทศตนเองไม่เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว วายิบให้ติดตามสอบถามการเห็นเดือนเสี้ยวจากเมืองอื่นหรือประเทศอื่นต่อไปอีก ...
หะดีษบทที่สอง คือหะดีษกุร็อยบ์ หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า การถือบวชออกบวช ไม่วายิบให้ตามการเห็นเดือนของประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่นประเทศไทยกับประเทศซาอุดีอารเบีย เป็นต้น แต่อนุญาตให้ทุกประเทศดูเดือนเสี้ยวของตนเองได้ .. ยกเว้นในกรณีผู้นำประเทศใด ยอมรับการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่นและประกาศให้ประชาชนในประเทศของตน ปฏิบัติตาม ก็วายิบให้ประชาชนในประเทศนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ ...
และหะดีษบทที่สามที่จะถึงต่อไป คือหลักฐานว่า การถือบวชและออกอีด จะต้องพร้อมกับผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังรายละเอียดที่จะถึงต่อไป ...
มีคำถามจากพรรคพวกบางคนว่า .. การบ่งชี้ของคำว่า هَكَذَا ในหะดีษกุร็อยบ์ .. ระหว่างการบ่งชี้ไปยัง “ประโยคใกล้” คือ (نََكْتَفِىْ بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ لاَ ) لاَ .. กับการบ่งชี้ไปยัง “ประโยคไกล” คือ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أَوْ نَرَآهُ، .. มีผลต่างกันอย่างไร ? ...
ผมขอเรียนว่า ถ้าในแง่ “ผลลัพธ์” แล้ว จะไม่แตกต่างกัน คือไม่ว่าจะบ่งชี้ไปยังประโยคใกล้หรือไกล ก็ล้วนเป็นหลักฐานว่า แต่ละเมืองแต่ละประเทศ มีสิทธิ์ในการดูเดือนเสี้ยวของประเทศตนเอง, ไม่วายิบตามการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่น ...
แต่ในด้านอื่นๆ อาจมีผลต่างกัน 2 ประการดังนี้ ...
1. ผลต่างในแง่ภาษา การบ่งชี้ของ هَكَذَا ไปยังประโยคใกล้ จะถูกต้องกว่าการบ่งชี้ไปยังประโยคไกล ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...
2. ในแง่การปฏิเสธของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ที่จะตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ที่เมืองชาม มีปัญหาว่า ที่ท่านไม่ตามเพราะท่านปฏิบัติตาม “คำสั่ง” โดยตรงของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือเกิดจาก “ความเข้าใจ” ของท่านเองจากหะดีษบางบท ...
อธิบาย
รายละเอียดมีดังต่อไปนี้ ...
ก. ถ้าตามการบ่งชี้ไปยังประโยคใกล้ ก็แสดงว่า การที่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ก็เพราะท่านปฏิบัติ “ตามคำสั่ง” ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่เคยสั่งท่านไว้ในลักษณะว่าให้ยึดถือการเห็น เดือนเสี้ยวของเมืองตนเอง, ไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองอื่น ...
ข. ถ้าตามการบ่งชี้ไปยังประโยคไกล ก็แสดงว่า ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ไม่ใช่เพราะท่านนบีย์เคยสั่งไว้ลักษณะนั้น แต่เพราะท่าน “เข้าใจเอาเอง” จากหะดีษบทหนึ่งที่ท่านเองรายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .. “พวกท่านอย่าถือศีลอด จนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว และพวกท่านอย่าออกอีดจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว ............”
ในหะดีษบทนี้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพียงแต่สั่งว่า มุสลิมทั่วโลกอย่าถือบวชอย่าออกบวชจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว หากไม่เห็นเดือนเสี้ยวก็ให้นับเดือนให้ครบ 30 วัน ...
ท่านนบีย์มิได้สั่งเลยว่า ถ้าในเมืองเองไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองอื่น ...
แต่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. “เข้าใจ” ว่า คำสั่งห้ามถือบวชออกบวชจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยวของหะดีษบทนี้ เป็นการห้ามจากการถือบวชออกบวชตามเมืองอื่นด้วย ท่านจึงปฏิเสธที่จะตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ดังหะดีษกุร็อยบ์ที่ผ่านมาแล้ว ...
การปฏิเสธของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ที่จะตามเห็นเดือนของชาวเมืองชามดังการบ่งชี้ที่สอง จึงเป็น “ความเข้าใจ” ของท่านจากหะดีษ, มิใช่เป็นการปฏิบัติตาม “คำสั่ง” โดยตรงของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังการบ่งชี้ที่หนึ่ง ...
เพราะฉะนั้นการที่นักวิชาการบางท่านยึดถือและอธิบายหะดีษกุร็อยบ์ตามการบ่ง ชี้ที่สอง จึงเท่ากับไป “หักล้าง” คำพูดของตนเองที่พูดอยู่เสมอว่า เหตุที่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ เพราะท่านปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ใช่ปฏิบัติตาม “ความเข้าใจ” ของตัวท่านเองในเรื่องนี้ ...
????????????? ........
ต่อไปก็เป็นตัวบทหะดีษบทที่ 3 และคำอธิบายของนักวิชาการต่อหะดีษบทนี้ ...
หะดีษบทที่ 3
หะดีษบทที่สามที่กำลังจะถึงต่อไปนี้ นักวิชาการจำนวนมากอธิบายว่า เป็นหลักฐานเรื่องการถือบวชออกบวช จะต้องพร้อมกับผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเท่านั้น ผู้ใดจะปฏิบัติเป็นอิสระส่วนตัวไม่ได้ ...
อย่าว่าแต่การรับฟังเดือนเสี้ยวจากประเทศอื่นเลย แม้กระทั่งผู้ที่ “เห็นเดือนเสี้ยวด้วยตาตัวเอง” .. นักวิชาการหลายท่านอธิบายว่า หากผู้นำไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา หรือยังไม่ออกประกาศ ก็ไม่อนุญาตให้เขาถือบวชออกบวชตามการเห็นเดือนของตนเองได้ ..
การกระทำของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็ฏฏอบ ร.ฎ. ดังหะดีษสุดท้ายในตอนนี้ คือหลักฐานยืนยันน้ำหนักของทัศนะนี้ ...
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.ได้รายงานมาจากท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่กล่าวว่า ...
ผมได้นำเสนอหะดีษเกี่ยวกับเรื่องการถือบวชออกบวชมา 2 บทแล้ว ...
บทที่หนึ่ง คือหะดีษที่ว่า ............... صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهَ
หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า มุสลิม ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ ณ แห่งใด, ประเทศใดในโลก วายิบจะต้องอาศัย “วิธีการ” เดียวกันในการถือบวชออกบวช คือดูเดือนเสี้ยวจากเมืองหรือประเทศของตนเอง ...
ไม่มีหลักฐานว่า เมื่อเมืองหรือประเทศตนเองไม่เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว วายิบให้ติดตามสอบถามการเห็นเดือนเสี้ยวจากเมืองอื่นหรือประเทศอื่นต่อไปอีก ...
หะดีษบทที่สอง คือหะดีษกุร็อยบ์ หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า การถือบวชออกบวช ไม่วายิบให้ตามการเห็นเดือนของประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่นประเทศไทยกับประเทศซาอุดีอารเบีย เป็นต้น แต่อนุญาตให้ทุกประเทศดูเดือนเสี้ยวของตนเองได้ .. ยกเว้นในกรณีผู้นำประเทศใด ยอมรับการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่นและประกาศให้ประชาชนในประเทศของตน ปฏิบัติตาม ก็วายิบให้ประชาชนในประเทศนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ ...
และหะดีษบทที่สามที่จะถึงต่อไป คือหลักฐานว่า การถือบวชและออกอีด จะต้องพร้อมกับผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังรายละเอียดที่จะถึงต่อไป ...
มีคำถามจากพรรคพวกบางคนว่า .. การบ่งชี้ของคำว่า هَكَذَا ในหะดีษกุร็อยบ์ .. ระหว่างการบ่งชี้ไปยัง “ประโยคใกล้” คือ (نََكْتَفِىْ بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ لاَ ) لاَ .. กับการบ่งชี้ไปยัง “ประโยคไกล” คือ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أَوْ نَرَآهُ، .. มีผลต่างกันอย่างไร ? ...
ผมขอเรียนว่า ถ้าในแง่ “ผลลัพธ์” แล้ว จะไม่แตกต่างกัน คือไม่ว่าจะบ่งชี้ไปยังประโยคใกล้หรือไกล ก็ล้วนเป็นหลักฐานว่า แต่ละเมืองแต่ละประเทศ มีสิทธิ์ในการดูเดือนเสี้ยวของประเทศตนเอง, ไม่วายิบตามการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่น ...
แต่ในด้านอื่นๆ อาจมีผลต่างกัน 2 ประการดังนี้ ...
1. ผลต่างในแง่ภาษา การบ่งชี้ของ هَكَذَا ไปยังประโยคใกล้ จะถูกต้องกว่าการบ่งชี้ไปยังประโยคไกล ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...
2. ในแง่การปฏิเสธของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ที่จะตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ที่เมืองชาม มีปัญหาว่า ที่ท่านไม่ตามเพราะท่านปฏิบัติตาม “คำสั่ง” โดยตรงของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือเกิดจาก “ความเข้าใจ” ของท่านเองจากหะดีษบางบท ...
อธิบาย
รายละเอียดมีดังต่อไปนี้ ...
ก. ถ้าตามการบ่งชี้ไปยังประโยคใกล้ ก็แสดงว่า การที่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ก็เพราะท่านปฏิบัติ “ตามคำสั่ง” ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่เคยสั่งท่านไว้ในลักษณะว่าให้ยึดถือการเห็น เดือนเสี้ยวของเมืองตนเอง, ไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองอื่น ...
ข. ถ้าตามการบ่งชี้ไปยังประโยคไกล ก็แสดงว่า ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ไม่ใช่เพราะท่านนบีย์เคยสั่งไว้ลักษณะนั้น แต่เพราะท่าน “เข้าใจเอาเอง” จากหะดีษบทหนึ่งที่ท่านเองรายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .. “พวกท่านอย่าถือศีลอด จนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว และพวกท่านอย่าออกอีดจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว ............”
ในหะดีษบทนี้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพียงแต่สั่งว่า มุสลิมทั่วโลกอย่าถือบวชอย่าออกบวชจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว หากไม่เห็นเดือนเสี้ยวก็ให้นับเดือนให้ครบ 30 วัน ...
ท่านนบีย์มิได้สั่งเลยว่า ถ้าในเมืองเองไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองอื่น ...
แต่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. “เข้าใจ” ว่า คำสั่งห้ามถือบวชออกบวชจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยวของหะดีษบทนี้ เป็นการห้ามจากการถือบวชออกบวชตามเมืองอื่นด้วย ท่านจึงปฏิเสธที่จะตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ดังหะดีษกุร็อยบ์ที่ผ่านมาแล้ว ...
การปฏิเสธของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ที่จะตามเห็นเดือนของชาวเมืองชามดังการบ่งชี้ที่สอง จึงเป็น “ความเข้าใจ” ของท่านจากหะดีษ, มิใช่เป็นการปฏิบัติตาม “คำสั่ง” โดยตรงของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังการบ่งชี้ที่หนึ่ง ...
เพราะฉะนั้นการที่นักวิชาการบางท่านยึดถือและอธิบายหะดีษกุร็อยบ์ตามการบ่ง ชี้ที่สอง จึงเท่ากับไป “หักล้าง” คำพูดของตนเองที่พูดอยู่เสมอว่า เหตุที่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ เพราะท่านปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ใช่ปฏิบัติตาม “ความเข้าใจ” ของตัวท่านเองในเรื่องนี้ ...
????????????? ........
ต่อไปก็เป็นตัวบทหะดีษบทที่ 3 และคำอธิบายของนักวิชาการต่อหะดีษบทนี้ ...
หะดีษบทที่ 3
หะดีษบทที่สามที่กำลังจะถึงต่อไปนี้ นักวิชาการจำนวนมากอธิบายว่า เป็นหลักฐานเรื่องการถือบวชออกบวช จะต้องพร้อมกับผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเท่านั้น ผู้ใดจะปฏิบัติเป็นอิสระส่วนตัวไม่ได้ ...
อย่าว่าแต่การรับฟังเดือนเสี้ยวจากประเทศอื่นเลย แม้กระทั่งผู้ที่ “เห็นเดือนเสี้ยวด้วยตาตัวเอง” .. นักวิชาการหลายท่านอธิบายว่า หากผู้นำไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา หรือยังไม่ออกประกาศ ก็ไม่อนุญาตให้เขาถือบวชออกบวชตามการเห็นเดือนของตนเองได้ ..
การกระทำของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็ฏฏอบ ร.ฎ. ดังหะดีษสุดท้ายในตอนนี้ คือหลักฐานยืนยันน้ำหนักของทัศนะนี้ ...
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.ได้รายงานมาจากท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่กล่าวว่า ...
اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ...
“วันถือศีลอด คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอด, วันอีดิ้ลฟิฏริ คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดฟิฏริ, และวันอีดอัฎหาอ์ คือวันที่พวกท่านส่วนใหญ่ออกอีดอัฎหาอ์กัน”
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 697, ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 2324, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 1660, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 252, และท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 224, 225 ... โดยรายงานมาจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.)
สถานภาพของหะดีษบทนี้
สำนวนข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ด้วยสายรายงานที่สวยงาม (หะซัน) ดังคำรับรองของท่านอัต-ติรฺมีซีย์เอง และท่านอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 4 หน้า 13, ส่วนในกระแสรายงานของผู้บันทึกท่านอื่นๆตามที่ระบุมานั้น ล้วนมีข้อบกพร่อง ซึ่งผมจะไม่อธิบายรายละเอียด ณ ที่นี้ แต่โดยภาพรวมแล้ว ถือว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังการสรุปของท่านอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 4 หน้า 14 ...
อธิบาย
นักวิชาการมีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ความหมาย” ของหะดีษบทนี้ เป็น 5 ทัศนะด้วยกัน ดังคำกล่าวของท่านอัล-มุนซิรีย์ในหนังสือ “มุขตะศ็อรฺ อัส-สุนัน” ซึ่งเราสามารถจะหาดูรายละเอียดทัศนะดังกล่าวนี้ได้จากหนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏ็อรฺ” เล่มที่ 3 หน้า 383, หนังสือ “ตุห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 3 หน้า 383 หรือหนังสือ “มะอาลิม อัส-สุนัน” ของท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ เล่มที่ 2 หน้า 82 ...
แต่ทัศนะที่ได้รับการยอมรับว่า ใกล้เคียงความถูกต้องมากที่สุดก็คือ เจตนารมณ์ของหะดีษบทนี้ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิด “ความพร้อมเพรียง” และเกิด “เอกภาพ” ในการเริ่มถือศีลอดและการออกอีด, ..
“เอกภาพ” คือหลักการที่สำคัญยิ่งของอิสลามในอิบาดะฮ์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการนมาซญะมาอะฮ์ 5 เวลา, การนมาซวันศุกร์, การทำหัจญ์ เป็นต้น ...
จึงเป็นไปไม่ได้ที่อิสลามจะละเลยและมองข้ามความเป็นเอกภาพในเรื่องของการถือ ศีลอดและการออกอีด อันเป็นสัญลักษณ์ที่เปิดเผยและเด่นชัดอย่างยิ่งของอิสลาม ...
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ .. หลังจากได้บันทึกหะดีษบทนี้ลงในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ใน “กิตาบ อัศ-เศาม์” บาบว่าด้วยเรื่อง اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ อันเป็นบาบที่ 11 แล้ว ท่านก็มิได้นำเสนอทัศนะอื่นใดเกี่ยวกับความหมายของหะดีษนี้ นอกจากการกล่าวว่า ...
“วันถือศีลอด คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอด, วันอีดิ้ลฟิฏริ คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดฟิฏริ, และวันอีดอัฎหาอ์ คือวันที่พวกท่านส่วนใหญ่ออกอีดอัฎหาอ์กัน”
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 697, ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 2324, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 1660, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 252, และท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 224, 225 ... โดยรายงานมาจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.)
สถานภาพของหะดีษบทนี้
สำนวนข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ด้วยสายรายงานที่สวยงาม (หะซัน) ดังคำรับรองของท่านอัต-ติรฺมีซีย์เอง และท่านอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 4 หน้า 13, ส่วนในกระแสรายงานของผู้บันทึกท่านอื่นๆตามที่ระบุมานั้น ล้วนมีข้อบกพร่อง ซึ่งผมจะไม่อธิบายรายละเอียด ณ ที่นี้ แต่โดยภาพรวมแล้ว ถือว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังการสรุปของท่านอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 4 หน้า 14 ...
อธิบาย
นักวิชาการมีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ความหมาย” ของหะดีษบทนี้ เป็น 5 ทัศนะด้วยกัน ดังคำกล่าวของท่านอัล-มุนซิรีย์ในหนังสือ “มุขตะศ็อรฺ อัส-สุนัน” ซึ่งเราสามารถจะหาดูรายละเอียดทัศนะดังกล่าวนี้ได้จากหนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏ็อรฺ” เล่มที่ 3 หน้า 383, หนังสือ “ตุห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 3 หน้า 383 หรือหนังสือ “มะอาลิม อัส-สุนัน” ของท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ เล่มที่ 2 หน้า 82 ...
แต่ทัศนะที่ได้รับการยอมรับว่า ใกล้เคียงความถูกต้องมากที่สุดก็คือ เจตนารมณ์ของหะดีษบทนี้ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิด “ความพร้อมเพรียง” และเกิด “เอกภาพ” ในการเริ่มถือศีลอดและการออกอีด, ..
“เอกภาพ” คือหลักการที่สำคัญยิ่งของอิสลามในอิบาดะฮ์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการนมาซญะมาอะฮ์ 5 เวลา, การนมาซวันศุกร์, การทำหัจญ์ เป็นต้น ...
จึงเป็นไปไม่ได้ที่อิสลามจะละเลยและมองข้ามความเป็นเอกภาพในเรื่องของการถือ ศีลอดและการออกอีด อันเป็นสัญลักษณ์ที่เปิดเผยและเด่นชัดอย่างยิ่งของอิสลาม ...
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ .. หลังจากได้บันทึกหะดีษบทนี้ลงในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ใน “กิตาบ อัศ-เศาม์” บาบว่าด้วยเรื่อง اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ อันเป็นบาบที่ 11 แล้ว ท่านก็มิได้นำเสนอทัศนะอื่นใดเกี่ยวกับความหมายของหะดีษนี้ นอกจากการกล่าวว่า ...
وَفَسَّرَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ هَذَاالْحَدِيْثَ، فَقَالَ : إِنَّمَامَعْنَى هَذَا أَنَّّ الصَّوْمَ وَالْفِطْرَ مَعَ الْجَمَاعَةِ وَعِظَمِ النَّاسِ ...
“นักวิชาการบางท่านได้อธิบายหะดีษบทนี้ โดยกล่าวว่า .. ความหมายของหะดีษนี้มิใช่อื่นใด นอกจากให้มีการถือศีลอดและการออกอีด ให้พร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่”
ท่านอิบนุล ก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัส-สุนัน” เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...
(( قِيْلَ : فِيْهِ الرَّدُ عَلَى مَنْ يَقُوْلُ : إِنَّ مَنْ عَرَفَ طُلُوْعَ الْقَمَرِ بِتَقْدِيْرِ حِسَابِ الْمَنَازِلِ جَازَ لَهُ أَن يَّصُوْمَ وَيُفْطِرَ ........ وَقِيْلَ : إِنَّ الشَّاهِدَ الْوَاحِدَ إِذَا رَأَى الْهِلاَلَ وَلَمْ يَحْكُمِ الْقَاضِىْ بِشَهَادَتِهِ أَنَّهُ لاَ يَكُوْنُ هَذَا لَهُ صَوْمًا، كَمَالَمْ يَكُنْ لِلنَّاسِ )) ...
“กล่าวกันว่า ในหะดีษบทนี้ เป็นหลักฐาน “หักล้าง” ผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตให้ผู้ที่รู้เวลาการขึ้นหรือตกของดวงจันทร์โดยการคำนวณดาราศาสตร์ สามารถถือศีลอดหรือออกอีดได้โดยอิสระ ........... และยังกล่าวกันอีกว่า บุคคลเพียงคนเดียวที่เห็นเดือนเสี้ยว โดยที่ผู้นำหรือกอฎีย์ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไปก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด (ตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเขา)เช่นเดียวกัน” ...
ท่านอัศ-ศ็อนอานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1182) ได้กล่าวอธิบายความหมายหะดีษนี้ไว้ในหนังสือ “สุบุลุส สลาม” เล่มที่ 2 หน้า 63 มีข้อความตอนหนึ่งว่า ...
(( فِيْهِ دَلِيْلٌ عَلَى أَنَّهُ يُعْتَبَرُ فِىْ ثُبُوْتِ الْعِيْدِ الْمُوَافَقَةُ لِلنَّاسِ، وَأَنَّ الْمُنْفَرِدَ بِمَعْرِفَةِ يَوْمِ الْعِيْدِ بِالرُّؤْيَةِ يَجِبُ عَلَيْهِ مُوَافَقَةُ غَيْرِهِ، وَيَلْزَمُهُ حُكْمُهُمْ فِى الصَّلاَةِ وَاْلإِفْطَارِوَاْلأُضْحِيَةِ ))
“นักวิชาการบางท่านได้อธิบายหะดีษบทนี้ โดยกล่าวว่า .. ความหมายของหะดีษนี้มิใช่อื่นใด นอกจากให้มีการถือศีลอดและการออกอีด ให้พร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่”
ท่านอิบนุล ก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัส-สุนัน” เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...
(( قِيْلَ : فِيْهِ الرَّدُ عَلَى مَنْ يَقُوْلُ : إِنَّ مَنْ عَرَفَ طُلُوْعَ الْقَمَرِ بِتَقْدِيْرِ حِسَابِ الْمَنَازِلِ جَازَ لَهُ أَن يَّصُوْمَ وَيُفْطِرَ ........ وَقِيْلَ : إِنَّ الشَّاهِدَ الْوَاحِدَ إِذَا رَأَى الْهِلاَلَ وَلَمْ يَحْكُمِ الْقَاضِىْ بِشَهَادَتِهِ أَنَّهُ لاَ يَكُوْنُ هَذَا لَهُ صَوْمًا، كَمَالَمْ يَكُنْ لِلنَّاسِ )) ...
“กล่าวกันว่า ในหะดีษบทนี้ เป็นหลักฐาน “หักล้าง” ผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตให้ผู้ที่รู้เวลาการขึ้นหรือตกของดวงจันทร์โดยการคำนวณดาราศาสตร์ สามารถถือศีลอดหรือออกอีดได้โดยอิสระ ........... และยังกล่าวกันอีกว่า บุคคลเพียงคนเดียวที่เห็นเดือนเสี้ยว โดยที่ผู้นำหรือกอฎีย์ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไปก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด (ตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเขา)เช่นเดียวกัน” ...
ท่านอัศ-ศ็อนอานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1182) ได้กล่าวอธิบายความหมายหะดีษนี้ไว้ในหนังสือ “สุบุลุส สลาม” เล่มที่ 2 หน้า 63 มีข้อความตอนหนึ่งว่า ...
(( فِيْهِ دَلِيْلٌ عَلَى أَنَّهُ يُعْتَبَرُ فِىْ ثُبُوْتِ الْعِيْدِ الْمُوَافَقَةُ لِلنَّاسِ، وَأَنَّ الْمُنْفَرِدَ بِمَعْرِفَةِ يَوْمِ الْعِيْدِ بِالرُّؤْيَةِ يَجِبُ عَلَيْهِ مُوَافَقَةُ غَيْرِهِ، وَيَلْزَمُهُ حُكْمُهُمْ فِى الصَّلاَةِ وَاْلإِفْطَارِوَاْلأُضْحِيَةِ ))
“หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า การกำหนดวันอีดที่ชัดเจนแน่นอนนั้น จะต้องถือหลักพิจารณาให้สอดคล้องกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ด้วย, และบุคคลใดที่รู้วันอีดด้วยการเห็นเดือนเอง ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับผู้อื่น (คือ ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นเดือนและไม่ออกอีดกัน เขาก็จะออกอีดตามลำพังไม่ได้ แม้จะเห็นเดือนจริงๆก็ตาม) และให้เขายึดหลักการปฏิบัติพร้อมกับประชาชนทั่วไปในการนมาซ, การออกอีด และการเชือดกุรฺบ่าน” ...
ท่านอบุล หะซัน อัซ-ซินดี้ย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1138) ได้ทำฟุตโน้ต (คำอธิบายประกอบ) ไว้ด้านล่างหนังสือ “สุนัน อิบนุมาญะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 531 มีข้อความว่า
ท่านอบุล หะซัน อัซ-ซินดี้ย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1138) ได้ทำฟุตโน้ต (คำอธิบายประกอบ) ไว้ด้านล่างหนังสือ “สุนัน อิบนุมาญะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 531 มีข้อความว่า
(( اَلْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ )) : اَلظَّاهِرُ أَنَّ مَعْنَاهُ أَنَّ هَذِهِ اْلأُمُوْرَ لَيْسَ لِْلآحَادِ فِيْهَا دَخْلٌ، وَلَيْسَ لَهُمُ التَّفَرُّدُ فِيْهَا، بَلِ اْلأَمْرُ فِيْهَا إِلَى اْلإِمَامِ وَالْجَمَاعَةِ، وَيَجِبُ عَلَى اْلآحَادِ اِتِّبَاعُهُمْ لِْلإِمَامِ وَالْجَمَاعَةِ ...
“หะดีษที่ว่า .. (วันอีดิลฟิฏริ คือวันที่พวกท่านออกอีดฟิฏริกัน) .. ตามรูปการณ์แล้ว ความหมายของมันก็คือ สิ่งเหล่านี้ (การกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) มิใช่เป็นหน้าที่ของปัจเจกบุคคล (หรือบุคคลกลุ่มใด), และพวกเขาก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติมันโดยอิสระ .. ทว่า, ภารกิจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะต้องมอบต่อผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่, และสิ่งที่จำเป็น (วาญิบ) สำหรับปัจเจกบุคคล (หรือกลุ่มบุคคล) ก็คือ พวกเขาต้องปฏิบัติตามผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่” ...
ท่านเช็คบินบาส ได้ตอบคำถามของชาวปากีสถานคนหนึ่ง ซึ่งแจ้งให้ท่านทราบว่า บางครั้ง ประเทศปากีสถานจะถือศีลอดหลังจากประเทศสอุดีอารเบียถึง 3 วัน ดังนั้น บางคนจึงหันไปถือศีลอดตามประเทศซาอุฯ และบางคนก็ถือศีลอดตามประเทศของตนเอง ทางออกที่ถูกต้องในเรื่องนี้คืออย่างไร ? ..
ซึ่งท่านเช็คบินบาสก็ได้ให้คำตอบว่า ...
اَلظَّاهِرُ مِنَ اْلأَدِلَّةِ الشَّرْعِيَّةِ هُوَ أَنَّ كُلَّ إِنْسَانٍ يُقِيْمُ فِىْ بَلَدٍ يَلْزَمُهُ الصِّيَامُ مَعَ أَهْلِهِ، لِقَوْلِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ، وَلمِاَ عُلِمَ مِنَ الشَّرِيْعَةِ مِنَ اْلأَمْرِ بِاْلاجْتِمَاعِ وَالتَّحْذِيْرِ مِنَ الْفِرْقَةِ وَاْلاخْتِلاَ
“ตามรูปการณ์ที่ปรากฏจากบรรดาหลักฐานแห่งบทบัญญัติอิสลามก็คือ ประชาชนทุกคนซึ่งอาศัยอยู่ ณ เมืองใด เขาก็จำเป็นต้องถือศีลอด (และออกอีด) พร้อมๆกับชาวเมืองของตนเอง .. เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า .. “วัน (เริ่ม) ถือศีลอด ก็คือวันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ถือศีลอดกัน, วันอีดิ้ลฟิฏรี่ ก็คือวันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดฟิฏรี่กัน, และวันอีดอัฎหาอ์ก็คือ วันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดอัฎหาอ์กัน .. และเนื่องมาจากสิ่งที่ทราบกันดีจากบทบัญญัติ อันได้แก่คำสั่งให้มีความพร้อมเพรียง (เอกภาพ) กัน และการห้ามปรามจากความแตกแยกและการขัดแย้งกัน ......”
(จากหนังสือ “เมาซูอะฮ์ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรฺอียะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 21) ...
ท่านอัล-อัลบานีย์ นักวิชาการหะดีษชื่อก้องในยุคหลังอีกท่านหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า หากปรากฏว่าที่ใดมีการเห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้มุสลิมทั่วโลกที่ได้รับข่าวการเห็นเดือนนั้นต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีการ จำกัดหรือกำหนดโซน (مَطْلَعٌ) แต่อย่างใด .. ดังข้อเขียนของท่านในหนังสือ “ตะมามุล มินนะฮ์” หน้าที่ 398 ...
แต่ขณะเดียวกัน ท่านอัล-อัลบานีย์ก็ได้กำชับให้คำนึงถึง “เอกภาพเชิงปฏิบัติ” ในการถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนของต่างประเทศ โดยท่านได้เสนอแนะไว้ในหนังสือเล่มและหน้าเดียวกันนั้นว่า ...
وَإِلَى أَنْ تَجْتَمِعَ الدُّوَلُ اْلإسْلاَمِيَّةُ عَلَىذَلِكَ فَإِنِّىْ أَرَى عَلَى شَعْبِ كُلِّ دَوْلَةٍ أَنْ يَصُوْمَ مَعَ دَوْلَتِهِ، وَلاَ يَنْقَسِمُ عَلَى نَفْسِهِ، فَيَصُوْمَ بَعْضُهُمْ مَعَهَا وَبَعْضُهُمْ مَعَ غَيْرِهَا تَقَدَّمَتْ فِىْ صِيَامِهَا أَوْ تَأَخَّرَتْ، لِمَا فِىْ ذَلِكَ مِنْ تَوْسِيْعِ دَائِرَةِ الْخِلاَفِ فِى الشَّعْبِ الْوَاحِدِ ...
ท่านเช็คบินบาส ได้ตอบคำถามของชาวปากีสถานคนหนึ่ง ซึ่งแจ้งให้ท่านทราบว่า บางครั้ง ประเทศปากีสถานจะถือศีลอดหลังจากประเทศสอุดีอารเบียถึง 3 วัน ดังนั้น บางคนจึงหันไปถือศีลอดตามประเทศซาอุฯ และบางคนก็ถือศีลอดตามประเทศของตนเอง ทางออกที่ถูกต้องในเรื่องนี้คืออย่างไร ? ..
ซึ่งท่านเช็คบินบาสก็ได้ให้คำตอบว่า ...
اَلظَّاهِرُ مِنَ اْلأَدِلَّةِ الشَّرْعِيَّةِ هُوَ أَنَّ كُلَّ إِنْسَانٍ يُقِيْمُ فِىْ بَلَدٍ يَلْزَمُهُ الصِّيَامُ مَعَ أَهْلِهِ، لِقَوْلِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ، وَلمِاَ عُلِمَ مِنَ الشَّرِيْعَةِ مِنَ اْلأَمْرِ بِاْلاجْتِمَاعِ وَالتَّحْذِيْرِ مِنَ الْفِرْقَةِ وَاْلاخْتِلاَ
“ตามรูปการณ์ที่ปรากฏจากบรรดาหลักฐานแห่งบทบัญญัติอิสลามก็คือ ประชาชนทุกคนซึ่งอาศัยอยู่ ณ เมืองใด เขาก็จำเป็นต้องถือศีลอด (และออกอีด) พร้อมๆกับชาวเมืองของตนเอง .. เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า .. “วัน (เริ่ม) ถือศีลอด ก็คือวันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ถือศีลอดกัน, วันอีดิ้ลฟิฏรี่ ก็คือวันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดฟิฏรี่กัน, และวันอีดอัฎหาอ์ก็คือ วันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดอัฎหาอ์กัน .. และเนื่องมาจากสิ่งที่ทราบกันดีจากบทบัญญัติ อันได้แก่คำสั่งให้มีความพร้อมเพรียง (เอกภาพ) กัน และการห้ามปรามจากความแตกแยกและการขัดแย้งกัน ......”
(จากหนังสือ “เมาซูอะฮ์ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรฺอียะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 21) ...
ท่านอัล-อัลบานีย์ นักวิชาการหะดีษชื่อก้องในยุคหลังอีกท่านหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า หากปรากฏว่าที่ใดมีการเห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้มุสลิมทั่วโลกที่ได้รับข่าวการเห็นเดือนนั้นต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีการ จำกัดหรือกำหนดโซน (مَطْلَعٌ) แต่อย่างใด .. ดังข้อเขียนของท่านในหนังสือ “ตะมามุล มินนะฮ์” หน้าที่ 398 ...
แต่ขณะเดียวกัน ท่านอัล-อัลบานีย์ก็ได้กำชับให้คำนึงถึง “เอกภาพเชิงปฏิบัติ” ในการถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนของต่างประเทศ โดยท่านได้เสนอแนะไว้ในหนังสือเล่มและหน้าเดียวกันนั้นว่า ...
وَإِلَى أَنْ تَجْتَمِعَ الدُّوَلُ اْلإسْلاَمِيَّةُ عَلَىذَلِكَ فَإِنِّىْ أَرَى عَلَى شَعْبِ كُلِّ دَوْلَةٍ أَنْ يَصُوْمَ مَعَ دَوْلَتِهِ، وَلاَ يَنْقَسِمُ عَلَى نَفْسِهِ، فَيَصُوْمَ بَعْضُهُمْ مَعَهَا وَبَعْضُهُمْ مَعَ غَيْرِهَا تَقَدَّمَتْ فِىْ صِيَامِهَا أَوْ تَأَخَّرَتْ، لِمَا فِىْ ذَلِكَ مِنْ تَوْسِيْعِ دَائِرَةِ الْخِلاَفِ فِى الشَّعْبِ الْوَاحِدِ ...
“และแนวทางที่จะนำไปสู่ความเป็นเอกภาพหรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของรัฐ หรือบรรดาประเทศต่างๆของอิสลามในเรื่องนี้ (การถือศีลอดและออกอีด) ฉันเห็นว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละกลุ่มในแต่ละประเทศ จะต้องถือศีลอดพร้อมกับรัฐหรือประเทศของตนเองเสียก่อน, พวกเขาจะต้องไม่แตกแยกกันเอง โดยการที่บางกลุ่ม ถือศีลอดพร้อมกับประเทศของตน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถือศีลอดพร้อมกับประเทศอื่นที่ถือศีลอดก่อนหรือหลัง ประเทศของตนเอง เพราะในการกระทำดังกล่าว จะเป็นการขยายแวดวงแห่งความขัดแย้งในกลุ่มเดียวกันให้ขยายกว้างออกไป .......”
นี่คือ คำแนะนำของนักวิชาการที่ได้ชื่อว่า มีความเข้าใจและยึดมั่นในซุนนะฮ์ของท่านศาสดาอย่างแท้จริง ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ซึ่งอ้างตนเองว่า เป็น “นักวิชาการซุนนะฮ์” ในประเทศไทย จะต้องรับฟังไว้บ้าง ...
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ (สิ้นชีวิตปีฮ.ศ.728) ได้กล่าวในหนังสือ “มัจญมูอะฮ์ อัล-ฟะตาวีย์” เล่มที่ 25 หน้า 114 (ดังคำอ้างในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 399 ว่า ...
(( إِذَا رَآى هِلاَلَ الصَّوْمِ وَحْدَهُ، أَوْهِلاَلَ الْفِطْرِ وَحْدَهُ، فَهَلْ عَلَيْهِ أَنْ يَصُوْمَ بِرُؤْيَةِ نَفْسِهِ أَوْ يُفْطِرَبِرُؤْيَةِ نَفْسِهِ ؟ أَمْ لاَ يَصُوْمَ وَلاَ يُفْطِرَ إلاَّ مَعَ النَّاسِ؟ عَلَى ثَلاَثَةِ أَقْوَالٍ))
“เมื่อบุคคลใดเห็นเดือนเสี้ยวต้นเดือนรอมะฎอน หรือเห็นเดือนเสี้ยวของวันอีดิ้ลฟิฏรี่ตามลำพัง ปัญหาก็คือ เขาจะต้องถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนของตนเอง? .. หรือจะต้องไม่ถือศีลอดและไม่ออกอีด เว้นแต่ต้องให้พร้อมกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ? .. ซึ่งเรื่องนี้ นักวิชาการมีความเห็นเป็น 3 ทัศนะด้วยกัน ...
ต่อจากนั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ก็ได้ตีแผ่ทัศนะที่หนึ่งและทัศนะที่สอง อันเป็นทัศนะของผู้ที่ถือว่า เมื่อที่ใดเห็นเดือนก็วาญิบสำหรับมุสลิมทั้งโลกจะต้องปฏิบัติตาม และทัศนะของผู้ที่ถือว่า ถ้าประเทศใดอยู่ใกล้กันหรืออยู่ในโซน (مَطْلَعٌ) เดียวกัน ก็ให้ตามการเห็นเดือนกันได้ ...
แล้วท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ก็ได้กล่าวถึงทัศนะที่ 3 ดังต่อไปนี้ ...
นี่คือ คำแนะนำของนักวิชาการที่ได้ชื่อว่า มีความเข้าใจและยึดมั่นในซุนนะฮ์ของท่านศาสดาอย่างแท้จริง ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ซึ่งอ้างตนเองว่า เป็น “นักวิชาการซุนนะฮ์” ในประเทศไทย จะต้องรับฟังไว้บ้าง ...
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ (สิ้นชีวิตปีฮ.ศ.728) ได้กล่าวในหนังสือ “มัจญมูอะฮ์ อัล-ฟะตาวีย์” เล่มที่ 25 หน้า 114 (ดังคำอ้างในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 399 ว่า ...
(( إِذَا رَآى هِلاَلَ الصَّوْمِ وَحْدَهُ، أَوْهِلاَلَ الْفِطْرِ وَحْدَهُ، فَهَلْ عَلَيْهِ أَنْ يَصُوْمَ بِرُؤْيَةِ نَفْسِهِ أَوْ يُفْطِرَبِرُؤْيَةِ نَفْسِهِ ؟ أَمْ لاَ يَصُوْمَ وَلاَ يُفْطِرَ إلاَّ مَعَ النَّاسِ؟ عَلَى ثَلاَثَةِ أَقْوَالٍ))
“เมื่อบุคคลใดเห็นเดือนเสี้ยวต้นเดือนรอมะฎอน หรือเห็นเดือนเสี้ยวของวันอีดิ้ลฟิฏรี่ตามลำพัง ปัญหาก็คือ เขาจะต้องถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนของตนเอง? .. หรือจะต้องไม่ถือศีลอดและไม่ออกอีด เว้นแต่ต้องให้พร้อมกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ? .. ซึ่งเรื่องนี้ นักวิชาการมีความเห็นเป็น 3 ทัศนะด้วยกัน ...
ต่อจากนั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ก็ได้ตีแผ่ทัศนะที่หนึ่งและทัศนะที่สอง อันเป็นทัศนะของผู้ที่ถือว่า เมื่อที่ใดเห็นเดือนก็วาญิบสำหรับมุสลิมทั้งโลกจะต้องปฏิบัติตาม และทัศนะของผู้ที่ถือว่า ถ้าประเทศใดอยู่ใกล้กันหรืออยู่ในโซน (مَطْلَعٌ) เดียวกัน ก็ให้ตามการเห็นเดือนกันได้ ...
แล้วท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ก็ได้กล่าวถึงทัศนะที่ 3 ดังต่อไปนี้ ...
وَالثَّالِثُ : يَصُوْمُ مَعَ النَّاسِ، وَيُفْطِرُ مَعَ النَّاسِ، وَهَذَا أَظْهَرُ اْلأَقْوَالِ لِقَوْلِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : صَوْمُكُمْ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَفِطْرُكُمْ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَأَضْحَاُكْم يَوْمَ تُضَحُّوْنَ
“ทัศนะที่ 3 ก็คือ ให้เขาถือศีลอดพร้อมกับประชาชน(ส่วนใหญ่) และออกอีดพร้อมกับประชาชน (ส่วนใหญ่), .. ทัศนะนี้ คือทัศนะที่ชัดเจนที่สุดจากบรรดาทัศนะทั้งหลาย .. ทั้งนี้ เนื่องจากคำพูดของท่านศาสดาที่ว่า .. “การถือศีลอดของพวกท่าน คือวันที่พวกท่าน (ส่วนมาก) ถือศีลอดกัน, อีดิ้ลฟิฏรี่ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดิ้ลฟิฏรี่กัน, และอีดิ้ลอัฎหาอ์ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดิ้ลอัฎหาอ์กัน ............”
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
إِنَّ النَّاسَ تَبِعَ اْلإِمَامَ، فَإِنْ صَامَ صَامُوْا وَإِنْ أَفْطَرَ أَفْطَرُوْا .... لِقَوْلِ النَّبِىِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ (( اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تَفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ))
“ประชาชนต้องตามผู้นำ ! หากผู้นำถือศีลอด ก็ให้พวกเขาถือศีลอด, หากผู้นำออกอีด ก็ให้พวกเขาออกอีด ... ทั้งนี้ เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า .. วันถือศีลอด ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอด วันอีดิ้ลฟิฏริ ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดิ้ลฟิฏริ, และวันอีดอัฎหาอ์ ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดอัฎหาอ์กัน” ...
(จากหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่มที่ 3 หน้า 8, และหนังสือ “ซาดุ้ล มะอฺาด” เล่มที่ 1 หน้า 194) ...
ท่านอิบนุ หัสม์ ได้บันทึกรายงานบทหนึ่งมาจากท่าน มะอฺมัรฺ, จากท่านอบู กิลาบะฮ์ ซึ่งกล่าวว่า ...
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
إِنَّ النَّاسَ تَبِعَ اْلإِمَامَ، فَإِنْ صَامَ صَامُوْا وَإِنْ أَفْطَرَ أَفْطَرُوْا .... لِقَوْلِ النَّبِىِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ (( اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تَفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ))
“ประชาชนต้องตามผู้นำ ! หากผู้นำถือศีลอด ก็ให้พวกเขาถือศีลอด, หากผู้นำออกอีด ก็ให้พวกเขาออกอีด ... ทั้งนี้ เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า .. วันถือศีลอด ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอด วันอีดิ้ลฟิฏริ ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดิ้ลฟิฏริ, และวันอีดอัฎหาอ์ ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดอัฎหาอ์กัน” ...
(จากหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่มที่ 3 หน้า 8, และหนังสือ “ซาดุ้ล มะอฺาด” เล่มที่ 1 หน้า 194) ...
ท่านอิบนุ หัสม์ ได้บันทึกรายงานบทหนึ่งมาจากท่าน มะอฺมัรฺ, จากท่านอบู กิลาบะฮ์ ซึ่งกล่าวว่า ...
أَنَّ رَجُلَيْنِ رَأَيَا الْهِلاَلَ فِىْ سَفَرٍ فَقَدِمَ الْمَدِيْنَةَ ضُحَى الْغَدِ (وَقَدْ أَصْبَحَ النَّاسُ صِيَامًا) فَأَخْبَرَا عُمَرَ، فَقَالَ ِلأَحَدِهِمَا : "أَصَائِمٌ أَنْتَ ؟" قَالَ : "نَعَمْ ! كَرِهْتُ أَن يَّكُوْنَ النَّاسُ صِيَامًا وَأَنَا أُفْطِرُ، كَرِهْتُ الْخِلاَفَ عَلَيْهِمْ" وَقَالَ لِْلآخَرِ "فَأَنْتَ ؟" قَالَ : "أَصْبَحْتُ مُفْطِرًا ِلأَنِّىْ رَأَيْتُ الْهِلاَلَ" فَقَالَ لَهُ عُمَرُ : "لَوْلاَ هَذَا – يَعْنِى الَّذِىْ صَامَ – َلأَوْجَعْنَا رَأْسَكَ، وَرَدَدْنَا شَهَادَتَكَ" ثُمَّ أَمَرَ النَّاسَ فَأَفْطَرُوْا ....
“ชาย 2 คนได้เห็นเดือนเสี้ยว (ของเดือนเชาวาล) ในขณะเดินทาง และเขาทั้งสองก็มาถึงนครมะดีนะฮ์ในยามสายของวันรุ่งขึ้น, (ขณะที่ประชาชนกำลังถือศีลอดอยู่ และไม่มีผู้ใดออกอีดกัน เพราะไม่มีผู้ใดเห็นเดือนเสี้ยวในคืนที่ผ่านมานั้น) .. ต่อมาเขาทั้งสองก็บอกเรื่องการเห็นเดือนแก่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ท่านอุมัรฺจึงถามชายคนหนึ่งจากสองคนนั้นว่า .. “ท่านถือศีลอดหรือ?” ชายผู้นั้นก็ตอบว่า .. “ครับ, ผมไม่ชอบที่คน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอดกันแล้วผมไม่ถือ, และผมก็ไม่ชอบที่จะ (ทำอะไรให้) ขัดแย้งกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ด้วย” .. ท่านอุมัรฺจึงหันไปถามอีกคนว่า .. “แล้วท่านล่ะ?” ชายผู้นั้นก็ตอบว่า .. “ผมก็ไม่ถือศีลอดนะซี เพราะผมเห็นเดือนเสี้ยว (ของวันอีด) แล้วนี่” ท่านอุมัรฺจึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า .. “ถ้าไม่เพราะมีนายคนนี้ (ร่วมเห็นเดือน) ด้วยละก็ ฉันก็จะเอาเลือดหัวแกออก และก็จะปฏิเสธ (คือไม่รับข้ออ้าง) การเห็นเดือนของแกด้วย” .. ต่อจากนั้น ท่านอุมัรฺ ก็มีคำสั่งให้ประชาชนละศีลอด (และออกอีด)” ...
(บันทึกโดย ท่านอิบนุหัสม์ ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 3 ส่วนที่ 6 หน้า 238 และท่านสะอีด บิน มันศูรฺ ... ดังการอ้างอิงในหนังสือ “อัล-อัซอิละฮ์ วัล-อัจญ์วิบะฮ์” ของท่านเช็คอับดุลอะซีซ มุหัมมัด ซัลมาน เล่มที่ 2 หน้า 137) ...
หากจะถามว่า ทำไมท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. จึงโกรธผู้ที่ออกอีด.. ทั้งๆที่ตามข้อเท็จจริง การออกอีดในวันนั้นเป็นเรื่องถูกต้องสำหรับเขา เพราะเมื่อเขาเห็นเดือนเสี้ยวในตอนกลางคืนที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้นก็ต้องเป็นวันอีดของเขา และวันอีดก็เป็นวันห้ามถือศีลอดดังเป็นที่ทราบกันดี ...
คำตอบก็คือ แม้ตามข้อเท็จจริงเขาและเพื่อนร่วมทางจะเห็นเดือนเสี้ยวจริง แต่ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นและยังถือศีลอดกันอยู่ การออกอีดของเขาจึงเป็นการขัดแย้งกับประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางกับคำสั่งของหะดีษที่ให้มีเอกภาพในการถือศีลอดและ การออกอีดดังกล่าวมาแล้ว ...
ข้อมูลและรายงานในลักษณะนี้ มีอยู่มากมาย ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่า ประชาชนในเมืองใดหรือประเทศใดก็ตาม ไม่บังควรเป็นอย่างยิ่งที่จะไปถือศีลอดหรือออกอีดโดยพลการ, ไม่ว่าการถือศีลอดหรือออกอีดนั้น เพราะเป็นการเห็นเดือนเสี้ยวด้วยตนเองหรือเพราะได้รับฟังข่าวการเห็นเดือน เสี้ยวจากแหล่งอื่นใดก็ตาม เว้นแต่จะต้องให้พร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่หรือได้รับฟังการประกาศยอมรับการ เห็นเดือนเสี้ยวนั้นจากองค์กรกลางหรือผู้นำมุสลิมภายในประเทศเสียก่อนเสมอ ...
ข้อมูลจากอัล-กุรฺอาน, จากอัล-หะดีษ และจากคำอธิบายของนักวิชาการระดับโลกทั้งหมดที่ผมนำเสนอมานี้ น่าจะเป็นการเพียงพอสำหรับผู้มีใจเป็นธรรมว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป ...
แต่มีนักวิชาการบางท่าน ยังหาทางเลี่ยงจากการถือบวชออกบวชพร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่ภายในประเทศตนเอง โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ เช่น ...
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งซึ่งถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลที่ไม่ใช่อิสลาม จึงไม่ถือว่าเป็นผู้นำที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามบ้างละ ...
บางท่านยอมรับการเป็นผู้นำของจุฬาราชในตรี แต่กล่าวหาว่า จุฬาราชมนตรีบางท่านมีการกระทำในลักษณะชิริก จึงไม่ขอปฏิบัติตามบ้างละ .. เป็นต้น ...
เพื่อความกระจ่างของเรื่องนี้ ผมจึงขออนุญาตเขียนอธิบายต่อไปตามหัวข้อเรื่องต่อไปนี้ ...
1. จุฬาราชมนตรี ถือเป็นผู้นำของมุสลิมในประเทศไทยหรือไม่ ? ...
2. จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องเป็น “มะอฺศูม” (ผู้ไร้บาป) ? ...
3. การฏออัต(เชื่อฟัง) ผู้นำ..จากหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (หะดีษถูกต้อง) …
4. ประวัติความเป็นมาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ...
โปรดรออ่านครับถ้าไม่เบื่อเสียก่อน ...
แต่ถ้าท่านเบื่อ ผมก็จะไม่เขียนเพราะแต่ละตอนยอมรับว่าค่อนข้างยาว โปรดเสนอแนะด้วยครับว่าจะให้เขียนต่อหรือไม่ ...
(บันทึกโดย ท่านอิบนุหัสม์ ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 3 ส่วนที่ 6 หน้า 238 และท่านสะอีด บิน มันศูรฺ ... ดังการอ้างอิงในหนังสือ “อัล-อัซอิละฮ์ วัล-อัจญ์วิบะฮ์” ของท่านเช็คอับดุลอะซีซ มุหัมมัด ซัลมาน เล่มที่ 2 หน้า 137) ...
หากจะถามว่า ทำไมท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. จึงโกรธผู้ที่ออกอีด.. ทั้งๆที่ตามข้อเท็จจริง การออกอีดในวันนั้นเป็นเรื่องถูกต้องสำหรับเขา เพราะเมื่อเขาเห็นเดือนเสี้ยวในตอนกลางคืนที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้นก็ต้องเป็นวันอีดของเขา และวันอีดก็เป็นวันห้ามถือศีลอดดังเป็นที่ทราบกันดี ...
คำตอบก็คือ แม้ตามข้อเท็จจริงเขาและเพื่อนร่วมทางจะเห็นเดือนเสี้ยวจริง แต่ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นและยังถือศีลอดกันอยู่ การออกอีดของเขาจึงเป็นการขัดแย้งกับประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางกับคำสั่งของหะดีษที่ให้มีเอกภาพในการถือศีลอดและ การออกอีดดังกล่าวมาแล้ว ...
ข้อมูลและรายงานในลักษณะนี้ มีอยู่มากมาย ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่า ประชาชนในเมืองใดหรือประเทศใดก็ตาม ไม่บังควรเป็นอย่างยิ่งที่จะไปถือศีลอดหรือออกอีดโดยพลการ, ไม่ว่าการถือศีลอดหรือออกอีดนั้น เพราะเป็นการเห็นเดือนเสี้ยวด้วยตนเองหรือเพราะได้รับฟังข่าวการเห็นเดือน เสี้ยวจากแหล่งอื่นใดก็ตาม เว้นแต่จะต้องให้พร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่หรือได้รับฟังการประกาศยอมรับการ เห็นเดือนเสี้ยวนั้นจากองค์กรกลางหรือผู้นำมุสลิมภายในประเทศเสียก่อนเสมอ ...
ข้อมูลจากอัล-กุรฺอาน, จากอัล-หะดีษ และจากคำอธิบายของนักวิชาการระดับโลกทั้งหมดที่ผมนำเสนอมานี้ น่าจะเป็นการเพียงพอสำหรับผู้มีใจเป็นธรรมว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป ...
แต่มีนักวิชาการบางท่าน ยังหาทางเลี่ยงจากการถือบวชออกบวชพร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่ภายในประเทศตนเอง โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ เช่น ...
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งซึ่งถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลที่ไม่ใช่อิสลาม จึงไม่ถือว่าเป็นผู้นำที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามบ้างละ ...
บางท่านยอมรับการเป็นผู้นำของจุฬาราชในตรี แต่กล่าวหาว่า จุฬาราชมนตรีบางท่านมีการกระทำในลักษณะชิริก จึงไม่ขอปฏิบัติตามบ้างละ .. เป็นต้น ...
เพื่อความกระจ่างของเรื่องนี้ ผมจึงขออนุญาตเขียนอธิบายต่อไปตามหัวข้อเรื่องต่อไปนี้ ...
1. จุฬาราชมนตรี ถือเป็นผู้นำของมุสลิมในประเทศไทยหรือไม่ ? ...
2. จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องเป็น “มะอฺศูม” (ผู้ไร้บาป) ? ...
3. การฏออัต(เชื่อฟัง) ผู้นำ..จากหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (หะดีษถูกต้อง) …
4. ประวัติความเป็นมาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ...
โปรดรออ่านครับถ้าไม่เบื่อเสียก่อน ...
แต่ถ้าท่านเบื่อ ผมก็จะไม่เขียนเพราะแต่ละตอนยอมรับว่าค่อนข้างยาว โปรดเสนอแนะด้วยครับว่าจะให้เขียนต่อหรือไม่ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น