ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
ผมฝากเงินแบบ มุฎอรอบะฮฺ ที่ธนาคารอิสลามไว้ 400,000 บาท เวลาผ่านไปหกเดือน มีเงินเพิ่มขึ้นในบัญชีที่ฝากไว้ 4000 กว่าบาท โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารเรียกบอกว่ามันคือ เงินปัญผล จากที่ทางธนาคารได้นำเงินฝากเราไปปล่อยสินเชื่อ… อย่างนี้เงินเพิ่มขึ้นนั้นถือเป็นเงินดอกเบี้ยรึปล่าวครับ??? ผมไม่ค่อยมั่นใจเลย จากที่คิดมาตลอดว่าธนาคารอิสลามไม่มีดอกเบี้ย
คือก่อนทำบัญชีธนาคารบอกไว้ล่วงหน้าแล้วนะครับว่าฝากแบบมุฎอรอบะฮฺโดยไม่ถอนเงินออกภายในระยะเวลาหกเดือน. จะได้เงินปัญผล เปอร์เซ็นตามที่กำหนด
ตอบ
ปัญหาก็คือ "เปอร์เซ็นต์" เงินปันผลที่เขาแบ่งให้เรานั้น เขาคิดเปอร์เซ็นต์จาก "เงินฝาก" ของเราหรือคิดเปอร์เซ็นต์จาก "กำไร" ที่ได้จากการนำเงินของเราไปทำธุรกิจการค้า
เพราะเงื่อนไขของระบบมุฎอรอบะฮ์ที่สำคัญก็คือ
(1). ส่วนแบ่งกำไรที่จะแบ่งให้เจ้าของเงินทุน จะต้องเป็นเปอร์เซ็นต์จาก "ผลกำไร" มิใช่เปอร์เซ็นต์จาก "เงินทุน"
(2 ) ธุรกิจที่จะทำกำไรมาแบ่งกัน จะต้องเป็นธุรกิจการค้าหรือธุรกิจหะล้าลอื่นๆที่คล้ายกับการค้า
(3). ทางธนาคารจะต้องนำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจตลอดจนผลกำไรสรุปตอนครึ่งปีหรือสิ้นปี มาชี้แจงให้เจ้าของเงินรับทราบเพื่อความโปร่งใสในส่วนแบ่งของแต่ละฝ่าย ...
เพราะเงื่อนไขของระบบมุฎอรอบะฮ์ที่สำคัญก็คือ
(1). ส่วนแบ่งกำไรที่จะแบ่งให้เจ้าของเงินทุน จะต้องเป็นเปอร์เซ็นต์จาก "ผลกำไร" มิใช่เปอร์เซ็นต์จาก "เงินทุน"
(2 ) ธุรกิจที่จะทำกำไรมาแบ่งกัน จะต้องเป็นธุรกิจการค้าหรือธุรกิจหะล้าลอื่นๆที่คล้ายกับการค้า
(3). ทางธนาคารจะต้องนำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจตลอดจนผลกำไรสรุปตอนครึ่งปีหรือสิ้นปี มาชี้แจงให้เจ้าของเงินรับทราบเพื่อความโปร่งใสในส่วนแบ่งของแต่ละฝ่าย ...
เพราะฉะนั้น ก็ขอให้คุณนำเงื่อนไขเหล่านี้ไปตรวจสอบดูก็แล้วกันครับว่า ทางธนาคารปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ? .. วัลลอฮุอะอฺลัมครับ ...
หมายเหตุ ความจริง มุฎอรอบะฮ์ไม่ใช่เป็นการฝากเงิน ซึ่งมีความหมายว่าเจ้าของเงินจะต้องได้รับเงิน "ครบถ้วน" เมื่อต้องการ แต่มุฎอรอบะฮ์เป็น "ธุรกิจร่วม" ระหว่างนายทุน คือเจ้าของเงิน กับผู้ทำงานหรือผู้นำเงินไปทำธุรกิจการค้า แล้วนำ "ผลกำไร" มาแบ่งปันเปอร์เซ็นต์กันตามแต่จะตกลงกัน เพราะฉะนั้น ตามข้อเท็จจริงแล้ว กำไรที่เจ้าของเงินจะได้รับส่วนแบ่งแต่ละครั้ง อาจจะไม่เท่ากัน เพราะกำไรจากการค้าย่อมไม่คงที่ แถมบางครั้งอาจไม่มีกำไรที่จะนำมาแบ่งกันเลยก็ได้ หรือเผลอๆเจ้าของเงินอาจไม่ได้เงินทุนคืนด้วยซ้ำหากการค้านั้นเกิดขาดทุนขึ้นมา ซึ่งจุดนี้จะเห็นได้ชัดว่า แตกต่างกับการ "ฝากเงิน" อย่างชัดเจน ดังที่กล่าวมาแล้วครับ ...
หมายเหตุ ความจริง มุฎอรอบะฮ์ไม่ใช่เป็นการฝากเงิน ซึ่งมีความหมายว่าเจ้าของเงินจะต้องได้รับเงิน "ครบถ้วน" เมื่อต้องการ แต่มุฎอรอบะฮ์เป็น "ธุรกิจร่วม" ระหว่างนายทุน คือเจ้าของเงิน กับผู้ทำงานหรือผู้นำเงินไปทำธุรกิจการค้า แล้วนำ "ผลกำไร" มาแบ่งปันเปอร์เซ็นต์กันตามแต่จะตกลงกัน เพราะฉะนั้น ตามข้อเท็จจริงแล้ว กำไรที่เจ้าของเงินจะได้รับส่วนแบ่งแต่ละครั้ง อาจจะไม่เท่ากัน เพราะกำไรจากการค้าย่อมไม่คงที่ แถมบางครั้งอาจไม่มีกำไรที่จะนำมาแบ่งกันเลยก็ได้ หรือเผลอๆเจ้าของเงินอาจไม่ได้เงินทุนคืนด้วยซ้ำหากการค้านั้นเกิดขาดทุนขึ้นมา ซึ่งจุดนี้จะเห็นได้ชัดว่า แตกต่างกับการ "ฝากเงิน" อย่างชัดเจน ดังที่กล่าวมาแล้วครับ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น