อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อีหม่ามมะดี ตามความเชื่อของชีอะห์ (ตอนที่ 2)




โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

และก่อนที่เราจะได้รับรู้ประวัติการกำเนิดอันพิสดารของท่านมะฮ์ดีย์....ก็อยากให้เราลองมาอ่านดูเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นบิดามารดาของท่านก่อนการแต่งงานกัน ... จากตำราของชีอะฮ์เองเสียก่อนดังต่อไปนี้ ...
อ่านแล้วไม่ต้องคิดอะไรมาก, แต่จงรับรู้เพียงว่าชีอะฮ์มีความเชื่อของเขาอย่างนี้จริงๆ ...
แล้วหลังจากนั้น หากเราจะเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริงอย่างที่ชีอะฮ์เชื่อ ก็ไม่ว่ากัน ...
ดังเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิดาของท่านมะฮ์ดีย์ตามความเชื่อของชีอะฮ์มิได้มีนามว่า “อับดุลลอฮ์” ดังความเชื่อของชาวซุนนะฮ์, แต่มีชื่อว่า “อิหม่ามหะซัน อัล-อัสกะรีย์” ซึ่งชาวชีอะฮ์ถือว่า เป็นอิหม่ามท่านที่ 11 ของพวกเขา ...
ส่วนผู้เป็นมารดาของท่านซึ่งอ้างกันว่า เป็นหลานสาวของไกเซอร์ กษัตริย์แห่งกรุงโรมตามข้อเขียนของซัยยิดสุไลมานข้างต้นนั้น ปรากฏว่า มีการรายงานชื่อมาแตกต่างกันดังนี้ ...
1. ชื่อ “นัรฺญิส”..... (จากหนังสือ “อัล-อิรฺชาด” ของอัล-มุฟีด หน้า 346, และหนังสือ “อะอฺลาม อัล-วะรออ์” ของท่านฏ็อบริสีย์ หน้า 418) ...
2. ชื่อ “เศาะกีล” ... หรือ “ศ็อยกิล” (จากหนังสือ “กัชฟุ้ล ฆุมมะฮ์” ของอัล-อัรฺดะบีลีย์เล่มที่ 3 หน้า 227) ..
3. ชื่อ “ซูซัน”..... (จากหนังสือ “อัล-ฆ็อยบะฮ์” ของท่านฮัฏ-ฏูสีย์ หน้า 141) ....
4. ชื่อ “ร็อยหานะฮ์”..... (จากหนังสือ “อิกมาลุดดีน” ของท่านมุหัมมัด บิน หุซัยน์ บิน บาบะวัยฮ์ อัล-กุมมีย์ หน้า408) ....
5. ชื่อ “มุลัยกะฮ์”..... บุตรีของท่านโจชัวซึ่งเป็นบุตรของท่านไกเซอร์ กษัตริย์แห่งกรุงโรม (จากหนังสือ “อุศูล มัษฮับ อัช-ชีอะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 841) ...
แต่นามที่ชาวชีอะฮ์รู้จักกันแพร่หลายที่สุดก็คือ “นัรฺญิส” ....
จุดนี้ ทางฝ่ายชีอะฮ์อาจจะอ้างได้ว่า เพราะเจ้าหญิงนัรฺญิสมีหลายชื่อ, แต่ทางฝ่ายซุนนะฮ์ก็อาจจะอ้างได้เช่นกันว่า เพราะชีอะฮ์วาง “พล็อตเรื่อง” ไม่แนบเนียนและรัดกุมเพียงพอ ชื่อมารดาของอิหม่ามในนิยายเรื่องนี้จึงขัดแย้งกันอย่างที่เห็น ...
ถือว่า แต่ละฝ่ายจะเชื่ออย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ใครๆก็ตำหนิมิได้ ...
สำหรับประวัติความเป็นมาของ “นัรฺญิส” ผู้ถูกอ้างว่าเป็นมารดาของท่านมะฮ์ดีย์ .. และการแต่งงานระหว่างท่าน กับท่านอิหม่ามหะซัน อัล-อัสกะรีย์นี้ นักวิชาการชีอะฮ์ท่านหนึ่ง คือเช็คอัล-บากิรฺ อัล-มัจญลิสีย์ ได้บันทึกไว้ในตำราของท่าน 2 เล่มด้วยกัน คือหนังสือ “ญะลาอุ้ล อุยูน”และหนังสือ “หักกุ้ล ยะกีน” .... โดยอ้างการรายงานมาจากนักวิชาการสำคัญของชีอะฮ์ 2 ท่าน คือ อิบนุ บาบะวัยฮ์ อัล-กุมมีย์, และเช็ค อัฏ-ฏูสีย์... ซึ่งทั้งสองท่านนี้ ได้อ้างการรายงานเรื่องนี้มาจากท่าน “บิชรฺ บิน สุลัยมาน” ซึ่งอ้างว่า ได้รับฟังเรื่องนี้มาจากท่านนัรฺญิสด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป ...
ต่อมา นักวิชาการชีอะฮ์ยุคหลังท่านหนึ่ง คือเช็คมุหัมมัด อัศ-ศ็อดริ ได้นำประวัติดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่ในหนังสือชื่อ “ตารีค อัล-ฆ็อยบะฮ์ อัศ-ศุฆรออ์”...
ประวัติดังกล่าวมีความยาวและพิสดารตื่นเต้นชวนอ่านเป็นอย่างยิ่งซึ่งผมจะขอนำมาเล่าให้ฟังย่อๆดังนี้ ...
เมื่อท่านอิหม่ามอฺลีย์ อัล-ฮาดีย์ (อิหม่ามท่านที่ 10 ตามความเชื่อของชีอะฮ์) ต้องการจะแต่งงานบุตรชายของท่าน คือท่านอิหม่ามหะซัน อัล-อัสกะรีย์ (อิหม่ามท่านที่ 11) ท่านอิหม่ามอฺลีย์ฯซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่เมืองซาร์มัรฺรอ(ซามารอ) ก็ได้เรียกคนศิษย์คนสนิทคนหนึ่งของท่าน ชื่อ “บิชรฺ บิน สุลัยมาน” เข้ามาพบ, ... บุคคลผู้นี้มีอาชีพค้าทาส ...
เมื่อบิชรฺ บิน สุลัยมานเข้ามาพบแล้ว ท่านอิหม่ามฯก็มอบหน้าที่อย่างหนึ่งให้เขา นั่นคือ ให้เขาเดินทางจากเมืองซาร์มัรฺรอไปเมืองบุฆดาด (ที่คนไทยเรียกว่า กรุงแบกแดด, เมืองหลวงของประเทศอิรักในปัจจุบัน) เพื่อไปซื้อทาสสาวคนหนึ่งมาให้ท่าน โดยที่ท่านอิหม่ามฯได้กำหนดระยะเวลาและสถานที่ตลอดจนลักษณะของทาสสาวคนนั้นให้บิชรฺ รับทราบอย่างละเอียด ...
ส่วนหนึ่งจากลักษณะของทาสสาวคนนั้นตามที่ท่านอิหม่ามฯแนะนำบิชรฺไปก็คือ นางจะถูกนำมาในเรือของพ่อค้าทาสคนหนึ่งและจอดอยู่ริมตลิ่ง .... สัญลักษณ์ของนางก็คือ จะปิดหน้า, จะพยายามหลีกเลี่ยงจากการแตะเนื้อต้องตัวของผู้ที่จะซื้อทาส, และเมื่อถูกพ่อค้าทาสตี นางก็จะร้องเสียงดังเป็นภาษาโรมัน แต่ขณะเดียวกัน นางก็สามารถที่จะพูดภาษาอรับได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ...
ท่านอิหม่ามฯได้มอบจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเขียนและจ่าหน้าซองเป็นภาษาโรมัน,...มีการประทับตราประจำตัวท่านเป็นการเฉพาะ, พร้อมกับถุงเงินจำนวนหนึ่งให้แก่บิชรฺไป (บางรายงานบอกว่าเป็นเหรียญทองจำนวน 200 เหรียญ) แล้วบิชรฺก็ออกเดินทางไปกรุงบุฆดาดตามคำสั่งและพบว่า ทุกอย่าง เป็นไปตามคำบอกเล่าของท่านอิหม่ามฯทุกประการ อาทิเช่น เวลามีผู้ซื้อทาสจะแตะเนื้อต้องตัว นางก็จะหลบเลี่ยงด้วยสัญชาติญาณอันเคยชิน พร้อมกับกล่าวว่า .. “ต่อให้ท่านปรากฏตัวในบุคลิกของท่านนบีย์สุลัยมาน และนั่งมาบนวอประทับเยี่ยงท่านสุลัยมาน ข้าก็ไม่ปรารถนาท่านหรอก” ....
ถึงตอนนี้ บิชรฺจึงได้เข้าไปหาพ่อค้าทาสคนนั้น แล้วมอบจดหมายให้เขานำไปมอบให้กับนาง เมื่อนางอ่านจดหมายจบ อากัปกิริยาของนางก็เปลี่ยนไปทันทีอย่างน่าพิศวง คือ ร้องไห้คร่ำครวญอย่างหนักพร้อมกับกล่าวแก่นายทาสว่า “ท่านจงขายฉันให้แก่เจ้าของจดหมายนี้เถิด, หากท่านปฏิเสธ ฉันก็จะฆ่าตัวตาย” .... นางได้กล่าวสาบานอย่างแข็งขันว่าจะทำตามที่กล่าวไว้จริงๆ ...
เมื่อพ่อค้าทาสเห็นดังนั้น จึงถือโอกาสโก่งราคาทาสสาวคนนั้นกับบิชรฺทันที, ได้มีการต่อรองราคากันอยู่นาน ในที่สุดก็ตกลงราคากันได้เท่าจำนวนเงินที่ท่านอิหม่ามฯมอบให้ไปพอดี แล้วบิชรฺก็นำนางกลับไปกรุงบุฆดาดและเข้าพักอยู่ในห้องที่ถูกจัดเตรียมเอาไว้แล้ว ...
“อะไรคือข้อความในจดหมาย ? ... นางมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งต่อเจ้าของจดหมาย คือท่านอิหม่ามฯอย่างไร จึงร้องให้อย่างหนักและขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย หากเจ้านายของนางไม่ยอมขายนางให้แก่เจ้าของจดหมายนั้น?”..... นี่คือ ปริศนาที่ก่อเกิดเป็นคำถามในหัวใจของบิชรฺ และยิ่งฉงนมากยิ่งขึ้นเมื่อเห็นว่า ทันทีที่นางเข้าไปพำนักในห้องที่บุฆดาดแล้ว นางก็รีบควักจดหมายฉบับนั้นออกมาจากกระเป๋าเสื้อแล้วจูบมันอย่างปลาบปลื้มหลายครั้ง แล้วเอามันไปแนบแก้มและประทับไว้กับเปลือกตาแล้วนำไปลูบไล้ทั่วสารพางค์กาย ...
เมื่ออดทนต่อความสงสัยไม่ไหว บิชรฺจึงกล่าวถามนางตามตรงว่า ทำไมเธอจึงจูบจดหมายที่เธอเองยังไม่รู้เลยว่า ผู้ใดคือเจ้าของมัน ? ...
นางจึงเล่าให้บิชรฺฟังว่า นางคือมุลัยกะฮ์ บุตรีของโจชัวซึ่งเป็นโอรสของไกเซอร์ กษัตริย์แห่งกรุงโรม, .. มารดาของเธอสืบเชื้อสายมาจากซิมโอน (ซีโมนปีเตอร์) ซึ่งเป็นวะศี้ย์ (ผู้สืบทอดหรือศิษย์)ของพระเยซู ...
นางเล่าต่อไปว่า .... เมื่อนางอายุได้ 13 ปี ปู่ของนางก็ได้จัดการแต่งงานนางกับหลานชายของพระองค์คนหนึ่ง โดยจัดพิธีแต่งงานอย่างหรูหรา แต่แล้ว พอถึงตอนที่มีการนำไม้กางเขนไปวางบนแท่นแล้วให้เจ้าบ่าวขึ้นนั่งบนแท่นนั้นโดยมีบาทหลวงยืนเข้าแถวเพื่อประกอบพิธี ปรากฏว่า ไม้กางเขนก็ร่วงหล่นลงมาระเนระนาดและเสาต่างๆเกิดอาการอ่อนตัวล้มลง เจ้าบ่าวถึงกับเป็นลมหมดสติ..... กษัตริย์ไกเซอร์และหัวหน้าบาดหลวง (ก็คงจะเป็นโป้ปในปัจจุบัน) เห็นว่า สิ่งนี้เป็นลางร้ายและความอัปมงคล จึงสั่งล้มเลิกพิธีแต่งงานนั้นเสีย ...
ต่อมา ปู่ของนางก็ได้จัดการแต่งงานนางกับหลานชายอีกคนหนึ่งของพระองค์ แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเหมือนเดิม ...
แล้วในคืนหนึ่ง นางก็ฝันว่า มีการจัดธรรมมาสน์อันมีรังสีเรืองรองขึ้นในพระราชวังคุณปู่ของนาง แล้วท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, และลูกๆตลอดจนวะศี้ย์ คือทายาทผู้สืบทอดของท่านอันได้แก่ท่านอฺลีย์และบรรดาอิหม่ามอื่นๆก็เดินเข้ามา,.... พร้อมๆกันนั้น พระเยซู (ท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิส สลาม) พร้อมด้วยวะศี้ย์ของท่าน คือท่านซิมโอนและสานุศิษย์อื่นๆอีกจำนวนมากก็ปรากฏกายเข้ามาด้วย เมื่อมาเผชิญหน้ากัน ท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิส สลามก็สวมกอดท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, แล้วท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้กล่าวแก่นบีย์อีซาว่า .... “ที่ฉันมานี่ ก็เพื่อจะสู่ขอมุลัยกะฮ์ บุตรีของซิมโอนผู้เป็นวะศี้ย์ของท่านให้แก่ลูกชายของฉันคนนี้”... แล้วท่านก็ชี้มือไปที่ท่านอิหม่ามหะซัน อัล-อัสกะรีย์ซึ่งนั่งอยู่ด้วย ณ ที่นั้น ...
ท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิส สลามจึงหันไปหาซิมโอนแล้วกล่าวว่า.... “เกียรติยศอันยิ่งใหญ่ได้มาเยือนท่านแล้วจากการที่สายเลือดของท่าน มีส่วนสัมพันธ์กับสายเลือดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม” .. ท่านซิมโอนก็ตอบตกลงด้วยความยินดี ทั้งหมดจึงขึ้นไปบนมิมบัรฺ (ธรรมาสน์) แล้วท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้อ่านคุฏบะฮ์และทำการนิกาห์ฉันกับท่านหะซัน โดยมีท่านนบีย์อีซาและลูกหลานของท่านนบีย์มุหัมมัด ตลอดจนสานุศิษย์ทั้งหมดร่วมเป็นพยาน ...
นางเล่าต่อไปว่า ... หลังจากคืนนั้นแล้ว ความรักที่มีต่อท่านอิหม่ามหะซันก็ท่วมท้นหัวใจของนาง ทำให้นางปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง, จนกระทั่งคืนหนึ่ง นางก็ได้ฝันเห็นพระแม่มาเรีย (ท่านมัรฺยัม บุตรีท่านอิมรอน) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ. เข้ามาหานางพร้อมปวงนางฟ้าจำนวนนับพัน, พระแม่มาเรียได้แนะนำนางให้รู้จักท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ.ว่า ... “นี่คือ ท่านฟาฏิมะฮ์ ประมุขแห่งปวงสตรีทั้งหลาย ผู้เป็นมารดาของสามีเจ้า” ..... เมื่อนางรู้ดังนั้น นางก็เข้าไปกอดท่านแล้วร้องให้ฟูมฟายและฟ้องว่า ... “ลูกของแม่ (หมายถึงอิหม่ามหะซัน) ไม่เคยมาเยี่ยมดิฉันบ้างเลย” ....
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ. จึงชี้แจงว่า ... “เหตุที่ลูกของฉัน (หะซัน) ไม่เคยมาเยี่ยมเจ้า ก็เพราะเจ้าตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮ์โดยการถือศาสนาคริสต์อยู่” .... แล้วท่านก็สั่งให้นางกล่าวกะลีมะฮ์ ชะฮาดะฮ์, ซึ่งนางก็เต็มใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนี้ นางจึงเข้ารับอิสลามในโลกแห่งความฝันนั้น และเมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ.ได้ยินนางกล่าวกะลีมะฮ์ ชะฮาดะฮ์ ท่านก็เกิดความปลาบปลื้มยินดีจนถึงกับดึงนางเข้าไปกอดประทับไว้แนบอก และสัญญาว่า ต่อไป ท่านอิหม่ามหะซันก็จะต้องมาหานางแน่นอน ...
ท่านนัรฺญิสหรือมุลัยกะฮ์ได้เล่าให้บิชรฺฟังต่อไปว่า ...... หลังจากคืนนั้นแล้ว ก็ปรากฏว่าไม่มีคืนไหนอีกเลยที่ท่านอิหม่ามหะซันจะไม่ได้มาหานางในความฝัน แล้วแสดงความรักต่อนางอย่างดูดดื่ม และบอกกับนางว่า สาเหตุที่ท่านล่าช้าในการมาหานาง มิใช่เพราะอื่นใด นอกจากการตั้งภาคีของนางเท่านั้น, ตอนนี้ เมื่อนางรับอิสลามแล้ว ท่านจึงมาหานางทุกคืนได้ ...
และเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์แห่งความเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงความฝัน ท่านนัรฺญิสเล่าว่า นางจึงหาวิธีให้ได้เข้าร่วมอยู่ในกองทัพแห่งกรุงโรมที่ยกกองทัพไปทำสงครามกับมุสลิม, เมื่อกองทัพมุสลิมตีกองทัพโรมันแตกพ่าย นางก็ถูกจับเป็นเชลยร่วมกับผู้หญิงและเชลยศึกคนอื่นๆ, และด้วยวิธีการอย่างนี้ นางจึงได้มีโอกาสมาถึงที่นี่, ได้พบกับท่านอิหม่ามหะซัน อัล-อัสกะรีย์ผู้เป็นสามี (ในฝัน) ตรงตามจุดประสงค์ทุกอย่าง ...
และแล้ว ท่านอิหม่ามอฺลีย์ อัล-ฮาดีย์ ก็ได้จัดการแต่งงานนางกับท่านอิหม่ามหะซัน อัล-อัสกะรีย์จริงๆในที่สุด ...

อีหม่ามมะดีย์ ตามความเชื่อของชีอะห์ (ตอนที่1)



โดย..อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

อิหม่ามมะฮ์ดีย์ ตามความเชื่อของชีอะฮ์.

อย่างที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า ความเชื่อเรื่องการปรากฏกายของท่านมะฮ์ดีย์ในยุคสุดท้ายของโลก เป็นความเชื่อที่ตรงกันทั้งฝ่ายซุนนะฮ์และฝ่ายชีอะฮ์ ...
แต่จุดแตกต่างของความเชื่อในเรื่องนี้ของทั้ง 2 ฝ่าย ก็มีข้อขัดแย้งกันในหลายๆประเด็น ซึ่งเท่าที่นักวิชาการฝ่ายซุนนะฮ์ได้รวบรวมข้อมูลความขัดแย้งในเรื่องนี้แล้ว ปรากฏว่า จะมีอยู่ประมาณ 9 หรือ 10 ประเด็นด้วยกัน ...
ดังนั้น ข้ออ้างของเช็คอัต-ตีญานีย์ นักวิชาการชีอะฮ์ที่กล่าวในหนังสือ “ขออยู่กับผู้สัตย์จริง” ฉบับคำแปลภาษาไทย หน้า 347 ที่ว่า ความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่ายมีเพียงประการเดียว คือในเรื่องสภาพและวาระการกำเนิดของท่านมะฮ์ดีย์เท่านั้น ... จึงเป็นเรื่องของการ “หมกเม็ด” และอำพราง ข้อเท็จจริงโดยเจตนา เพื่อหลอกลวงผู้อ่านให้เข้าใจผิด อันถือว่า เป็น “งานหลัก” ของนักวิชาการชีอะฮ์ผู้นี้ในการเขียนหนังสือทั้ง 4 เล่มของเขาที่ฝ่ายชีอะฮ์ภูมิใจนักภูมิใจหนาอยู่ในขณะนี้ ....
ต่อไปนี้ คือความเชื่อเรื่องอิหม่ามมะฮ์ดีย์ .... ตามทัศนะของชีอะฮ์ ...
1. กำเนิดอิหม่ามมะฮ์ดีย์ของชีอะฮ์
ตามความเชื่อของชาวชีอะฮ์นั้น ท่านอิหม่ามมะฮ์ดีย์(ของพวกเขา)ได้ถือกำเนิดมาแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เดือนชะอฺบาน ฮ.ศ. 255 ในเมืองซามารอ ประเทศอิรัก ......(จากหนังสือ “อิมามมะฮ์ดี ความหวังใหม่ของโลก” หน้า 9, เขียนโดยนักวิชาการชีอะฮ์ท่านหนึ่ง) .. และขณะนี้ กำลังอยู่ในภาวะเร้นตัวเพื่อรอโอกาสปรากฏกายอีกครั้งเมื่อถึงวาระ ...
ก็ต้องขออนุญาตคัดลอกข้อเขียนตอนนี้จากหนังสือดังกล่าว หน้าที่ 9 มาให้อ่านกันดังนี้ ....
ชีวประวัติ
ชื่อของท่าน เป็นคำสั่งเสียจากบรรดาอิมามมะอฺศูม ไม่ให้เรียกชื่อเต็มของท่าน ตราบใดที่ท่านยังไม่ปรากฏ และให้เรารู้แต่เพียงว่าชื่อของท่านเหมือนกับชื่อของท่านรอซูลุลลอฮ์, ฉายาเดียวกันกับรอซูลุลลอฮ์
ฉายาต่างๆของท่าน ฉายาที่ดังและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ“มะฮ์ดี” “กออิม” “ฮุจญัต” “บะกียะตุ้ลลอฮ์” ..
บิดาของท่าน คือท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ) อิมามที่ 11
มารดาของท่าน ท่านหญิงผู้ทรงเกียรติ หลานสาวของไกเซอร์แห่งโรม มีนามว่า “นัรฺญิส”
สถานที่กำเนิด เมืองซามารอ ประเทศอิรัก วันที่ 15 เดือนชะอฺบาน ฮิจเราะฮ์ที่ 255 (ซึ่งจนถึงปัจจุบัน อายุได้หนึ่งพันหนึ่งร้อยหกสิบปี และอายุของท่านจะยืนยาวต่อไปตราบเท่าที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ จนกระทั่งถึงวันแห่งการปรากฏตัวของท่าน เพื่อนำความสันติและยุติธรรมมาสู่ชาวโลก)
นี่คือ ชีวประวัติโดยย่อของท่านอิหม่ามมะฮ์ดีย์จากข้อเขียนของนักเขียนชีอะฮ์ในเมืองไทย ...

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บิดอะห์ (ตอนที่ 7) ตัวอย่างบิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องผู้ตาย ตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูล



อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง

1) ตัวอย่างบิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องผู้ตาย ตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลฯ ข้างต้น อาทิเช่น ....
1. อิหม่ามนำนมาซผู้ตาย หันมาถามมะอ์มูมหลังให้สล่ามว่า “ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับมัยยิตนี้ ?” แล้วมะอ์มูมก็จะตอบพร้อมๆกันว่า “เป็นคนดี” ฯลฯ ....
2. อิหม่ามกล่าวนำเสียงดังว่า “อัล-ฟาติหะฮ์” ขณะมีผู้ยก-วาง, ยก-วางมัยยิต 3 ครั้ง หลังจากให้สล่ามจากนมาซมัยยิต แล้วผู้นมาซก็จะอ่านฟาติหะฮ์พร้อมกันจนจบทุกครั้ง ก่อนที่จะหามมัยยิตไปฝัง ....
พฤติกรรมดังกล่าวนี้ ไม่เคยปรากฏ, ไม่ว่าในตำราฟิกฮ์เล่มใด, ของมัษฮับใดก็ตาม ...นอกจากเป็นเพียงการกระทำของผู้รู้บางท่าน เพื่อเป็นการ “สร้างภาพ” ความขลังให้ตัวเองในสายตาชาวบ้านเท่านั้น ....
3. การหันผู้ป่วยหนักใกล้ตายไปทางกิบลัต .....
4. การอ่าน ِمِنْهَا خَلَقْنَاكُمْ ขณะปั้นดินกอบแรก, และอ่าน وَفِيْهَانُعِيْدُكُمْ ในดินกอบที่สอง, และอ่าน وَمِنْهَانُخْرِجُكُمْ تَارَةً اُخْرَى ในดินกอบที่สาม ก่อนที่จะวางดินนั้นลงในหลุม ....
ตามหลักฐานที่ถูกต้อง ให้กอบดินแล้ววางลงในกุบูรฺ 3 กอบโดยไม่ต้องอ่านอะไรทั้งสิ้น ....
5. การอะซานในบางท้องที่ก่อนเอามัยยิตลงหลุม .....
6. การอ่านตัลกีนหลังจากฝังผู้ตายเสร็จแล้ว ... (จากหนังสือ “อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาต” หน้า 108, และหนังสือ “สุบุลุส สลาม” เล่มที่ 2 หน้า 114) ....
หลักฐานที่ถูกต้องหลังจากฝังผู้ตายเสร็จก็คือ การอ่านดุอาอิสติฆฟารฺ และดุอาตัษบีตให้แก่ผู้ตาย .. ดังการบันทึกของท่านอบูดาวูด, ท่านอัล-หากิม, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ โดยรายงานมาจากท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ. ....
7. การใช้นิ้วมือล้วงควักในทวารหนักและทวารเบาของมัยยิตผู้หญิงขณะอาบน้ำมัยยิต เพราะกลัวว่า จะไม่สะอาดพอตอนห่อผ้าและตอนนำไปฝัง .....
8. การนมาซฮะดียะฮ์ ให้ผู้ตายในคืนแรกของการตาย ....
9. การเนียตอุทิศผลบุญทุกครั้งที่ทำความดี เช่น การนมาซ, การถือศีลอด, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน, การเศาะดะเกาะฮ์ ฯลฯ ให้แก่ผู้ตาย ....
10. การเฝ้ากุบูรฺ 3 วัน, 7 วัน, 10 วัน .. หรืออาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น .. 11. การไปซิยาเราะฮ์กุบูรฺบิดามารดา, แล้วอ่านซูเราะฮ์ ยาซีนให้ทุกวันศุกร์ ....
หะดีษที่รายงานมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นหะดีษเก๊ (เมาฎั๊วะอฺ) ดังการวิจารณ์ของนักวิชาการหะดีษหลายท่าน ....
12. การไปซิยาเราะฮ์กุบูรฺในวันอีดทั้งสอง .... (จากหนังสือ “อัล-มัดค็อล” เล่มที่ 1 หน้า 286, หนังสือ “อัล-อิบดาอฺ” หน้า 271) ....
ฯลฯ
2). ตัวอย่างบิดอะฮ์ในเรื่องอิบาดะฮ์ต่างๆ.
1. การนมาซซุฮ์ริหลังนมาซวันศุกร์ในบางท้องที่ ที่มีมัสญิด 2 แห่ง อันเนื่องมาจากมัสญิดของตน นมาซวันศุกร์หลังมัสญิดอีกลูกหนึ่ง ...
2. การนมาซซุนนะฮ์ ก็อบลียะฮ์ (นมาซสุนัต) ก่อนวันศุกร์ ....
ที่ถูกต้อง อนุญาตให้มะอ์มูมที่มามัสญิดก่อนเวลาในวันศุกร์ นมาซ ”สุนัตมุฏลัก” หรือสุนัตฟรี, ... กี่ร็อกอะฮ์ก็ได้, ก่อนเคาะฏีบจะขึ้นนั่งบนมิมบัรฺ, แต่ไม่ใช่นมาซสุนัตก่อนวันศุกร์เป็นการเฉพาะ ....
3. การ “ตัรฺกิยะฮ์” ... คือ การเชิญเคาะฏีบให้อ่านคุฏบะฮ์ด้วยคำว่า ...
إنَّ اللَّـهَ وَمَلاَئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِيِّ يآأَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا
4. เคาะฎีบหรือมะอ์มูม ยกมือทั้งสองในขณะเคาะฏีบอ่านดุอา ในคุฏบะฮ์ ....
5. การอ่านอุศ็อลลีย์ ก่อนตักบีเราะตุ้ลเอี๊ยะห์รอม ในทุกๆครั้งที่จะนมาซ ....
6. การอ่านเศาะละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ด้วยท่วงทำนองดังๆพร้อมๆกัน หลังการให้สล่ามจากนมาซฟัรฺฎูแล้ว .....
7. การอ่านซูเราะฮ์ยาซีน 3 จบในคืนนิศฟูชะอฺบาน โดยเนียตให้อายุยืนยาว, ให้รอดพ้นจากบะลาอ์ต่างๆ เป็นต้น, แล้วอ่านดุอาตบท้ายว่า ......
( اَللَّهُمَّ يَا ذَاالْمَنِّ وَلاَ يُمَنُّ عَلَيْهِ يَا ذَاالْجَلاَلِ وَاْلإكْرَامِ ...................)
8. การถือศีลอดรอมะฎอนในคืนขึ้น 1 ค่ำ ตามปฏิทินสากล โดยไม่ได้ดูเดือนเสี้ยวของเดือนรอมะฎอนเลย .....
9. การจัดเก็บซะกาตทรัพย์สิน เช่น จากค่าเช่าบ้าน, จากเงินเดือน เป็นต้น .. เป็นรายเดือน, และ/หรือเก็บเกินจากอัตราที่ศาสนากำหนดไว้ คือ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ....
10. ให้ผู้ที่จะเดินทางไปทำหัจญ์ ลงจากบ้านในวันที่ถือว่าเป็นวันดี แล้วห้ามกลับมาบ้าน และต้องไปพักอาศัยที่บ้านคนอื่นทั้งๆไม่ถึงเวลาเดินทางจริง ....
11. การอะซานของผู้ที่มาส่งผู้เดินทางไปทำหัจญ์ ตอนเรือหรือเครื่องบินจะออกจากท่าหรือสนามบินเหมือนอะซานนมาซ ....
12. ผู้ที่เนียตทำหัจญ์หรืออุมเราะฮ์ นมาซตะหี้ยะตุ้ลมัสญิด เมื่อเข้าไปในมัสญิดอัล-หะรอมครั้งแรก ก่อนการฏอว้าฟ .....
13. การทำอุมเราะฮ์ ซ้ำๆกันหลายครั้ง, ก่อนหรือหลังทำหัจญ์ ....
14. การเชือดสัตว์ที่มักกะฮ์ เพื่อเสียดัมกรณีทำหัจญ์แบบตะมัตตั๊วะฮ์ ก่อนถึงวันนะหัรฺหรือวันอีดอัฎหาอ์ .....
15. การนมาซซุฮ์ริและนมาซอัศริที่อะรอฟะฮ์อย่างละ 4 ร็อกอะฮ์โดยไม่ได้นมาซย่อ, และการนมาซสุนัตระหว่างสองนมาซนั้น ....
16. การนมาซมัคริบที่อะรอฟะฮ์ก่อน แล้วจึงออกเดินทางไปมุซดะลิฟะฮ์ ...
17. การนมาซอีดที่มีนา สำหรับผู้ที่กำลังทำหัจญ์ .....
18. การมุ่งไปที่หลุมฝังศพของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเลย เมื่อเข้าไปในมัสญิดของท่านที่มะดีนะฮ์ ก่อนการนมาซตะหี้ยะตุ้ลมัสญิด ....
19. เจตนาพักอยู่ที่นครมะดีนะฮ์ไม่น้อยกว่า 8 วัน เพื่อต้องการนมาซญะมาอะฮ์ให้ครบ 40 เวลา โดยเข้าใจและเชื่อมั่นว่า การกระทำดังกล่าว จะถูกบันทึกว่าเป็นผู้ถูกปลดปล่อยจากความเป็นมุนาฟิก, และรอดพ้นจากไฟนรก ...
(3).ตัวอย่างบิดอะฮ์ในเรื่องอะกีดะฮ์หรือหลักศรัทธา
1. ความเชื่อที่ว่า ชัยฏอนจะมาหาผู้ป่วยหนัก โดยจำแลงร่างเป็นบิดามารดาของเขา แล้วจะเสนอเงื่อนไขให้ผู้ป่วยเปลี่ยนศาสนา เพื่อแลกกับการให้น้ำดื่ม เป็นต้น ...
2. ความเชื่อที่ว่า การร้องให้โดยทำให้น้ำตาหยดถูกผู้ตาย จะทำให้ผู้ตายถูกลงโทษหรือถูกทรมาน .....
3. ความเชื่อที่ว่า ยังมีนบีย์อื่นอีกหลังจากท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
4. ความเชื่อที่ว่า การอิสรออ์และเมียะอฺรอจญ์ (การเดินทางยามราตรีของท่านนบีย์ฯ จากมัสญิดหะรอมที่มักกะฮ์ ไปสู่บัยตุ้ลมักดิสที่เยรูซาเล็ม, แล้วขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อเฝ้าพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และเดินทางกลับภายในคืนเดียว) เป็นเพียงการนิมิตฝันของท่าน ...
5. ความเชื่อที่ว่า การฟื้นคืนชีพในโลกหน้า ไม่มีจริง ...
6. ความเชื่อที่ว่า การสอบถามของมะลาอิกะฮ์ต่อผู้ตายในหลุมฝังศพ เป็นเรื่องเท็จ ...
7. ความเชื่อที่ว่า สวรรค์และนรก ไม่มีจริง, เป็นเพียงเรื่องสมมุติเท่านั้น ...
8. ความเชื่อที่ว่า ผู้ตายในกุบูรฺ สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ไปขอความช่วยเหลือได้ ....
9. ความเชื่อของชีอะฮ์ที่ว่า อิหม่ามของตนเป็นมะอฺศูม คือผู้ไร้บาป เช่นเดียวกับบรรดานบีย์ๆ ....
10. ความเชื่อที่ว่า อิหม่ามเหล่านั้น สามารถล่วงรู้วันตายของตนเอง, จะไม่ตายเว้นแต่ต้องการจะตาย ....
11. ความเชื่อที่ว่า อิหม่ามเหล่านั้น สามารถล่วงรู้สิ่งต่างๆทั้งในอดีต, ปัจจุบัน, และอนาคต โดยไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้นจากความรู้ของพวกเขา ....
12. ความเชื่อที่ว่า อิหม่ามเหล่านั้น คือพระพักตร์ของอัลลอฮ์, ดวงตาของอัลลอฮ์, มือของอัลลอฮ์, และลิ้นของอัลลอฮ์ .....
13. ความเชื่อที่ว่า แผ่นดินทั้งหมด เป็นของอิหม่าม, ซึ่งพวกเขามีสิทธิ์จะให้มันแก่ผู้ใดก็ได้ที่พวกเขาประสงค์ ....
14. ความเชื่อที่ว่า เศาะหาบะฮ์ทั้งหมด ตกมุรฺตัด หลังจากการสิ้นชีวิตของท่านนบีย์ยกเว้นเพียง 3 ท่านเท่านั้น ....
ฯลฯ


บิดอะห์ (ตอนที่6.3) การที่ญาติผู้ตาย จัดเลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย





อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง

3. การที่ญาติผู้ตาย จัดเลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย
การกระทำดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกกันทั่วๆไปตามความเข้าใจของชาวบ้านว่า “การทำบุญให้แก่ผู้ตาย” ... ซึ่งเป็นการเรียกตามความเข้าใจของพี่น้องร่วมชาติที่เป็นชาวไทยพุทธ เพราะเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องดีที่ได้รับผลบุญและสามารถอุทิศให้แก่ผู้ตายได้ .....
แต่ตามหลักการของอิสลาม, --- ดังการเห็นพ้องกันของ นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับ --- การกระทำดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญแล้ว ผู้กระทำและผู้ที่ร่วมสนับสนุนยังอาจจะได้รับบาป ฐานอุตริพิธีกรรมที่ไม่เคยมีแบบอย่างจากท่านศาสดาและบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆ .......
คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า ในขณะที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยังมีชีวิตอยู่นั้น เศาะหาบะฮ์ของท่านจำนวนมากได้เสียชีวิต, ไม่ว่าเป็นการเสียชีวิตตามธรรมดาหรือจากการสู้รบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่า ท่านจะเคยสั่งให้ญาติผู้ตาย จัดเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายคนใด ... ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม .. คือ เป็นการแสดงความรักและความเอื้ออาทรด้วยการส่งมอบผลบุญให้ผู้ตาย ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆจากการปฏิบัติสิ่งนี้ด้วย ......
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า การที่ลูกเมียหรือญาติผู้ตายเป็นเจ้าภาพจัดทำอาหาร แล้วเชิญแขกมารับประทาน เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น เป็น بِدْعَـةٌ مُنْكَرَةٌ หรือ การอุตริที่ต้องห้าม .......
( โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” อันเป็นตำราฟิกฮ์ที่นิยมอ่านและสอนกันมากในมัษฮับชาฟิอีย์, เล่มที่ 2 หน้า 145-146 ) .....
ในที่นี้ ผมขอเสนอตัวอย่างจากคำพูดของนักวิชาการผู้ได้รับความเชื่อถืออย่างสูงยิ่ง 2 ท่านแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ... คือท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 676) และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ......
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มัจญมั๊วะอฺ” เล่มที่ 5 หน้า 320 ว่า .....
قَالَ صَاحِبُ الشَّامِلِ وَغَيْرُهُ : وَأَمَّا إصْلاَحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ شَـْئٌ وَهُوَ بِدْعَـةٌ غَيْرُمُسْتَحَـبَّةٍ .....
“ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” และนักวิชาการท่านอื่นๆกล่าวว่า : อนึ่ง การที่ครอบครัวของผู้ตายได้จัดเตรียมอาหารอย่างดี และเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมรับประทานนั้น พฤติกรรมนี้ ไม่เคยปรากฏมีรายงานหลักฐานมาแต่ประการใด ดังนั้น มันจึงเป็น อุตริกรรมที่ไม่ชอบตามหลักการศาสนา” .......
หมายเหตุ : ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” มีชื่อว่า อบูนัศรฺ มะห์มูด บิน อัล-ฟัฎล์ อัล- อิศบะฮานีย์, มีชื่อรองว่า “อิบนุ ศ็อบบาค” เป็นชาวเมืองอิศฟาฮาน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 512 ......
การที่ท่านอิหมามนะวะวีย์ ได้คัดลอกข้อความนี้มาโดยไม่มีการท้วงติง ตามหลักการถือว่า เป็นการยอมรับทัศนะที่ท่านได้คัดลอกมานี้ .....
และคำกล่าวที่ว่า “เป็นอุตริกรรมที่ไม่ชอบฯ” แสดงว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องน่ารังเกียจ, ที่นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญ ดังความเข้าใจของผู้ปฏิบัติแล้ว ยังอาจจะได้รับบาปอีกด้วย ......
ท่านซัยยิด บักรีย์ เจ้าของหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” ได้นำคำตอบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ของท่านอะห์มัด บิน ซัยนีย์ ดะห์ลาน มุฟตีย์คนหนึ่งแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ซึ่งในคำตอบดังกล่าว มีการนำเสนอข้อมูลจากคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ จากหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” ประกอบดังต่อไปนี้ ......
نَعَمْ، مَايَفْعَلُهُ النَّاسُ مِنَ اْلإجْتِمَاعِ عِنْدَأَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعِ الطَّعَامِ مِنَ الْبِدَعِ الْمُنْكَرَةِ الَّتِيْ يُثَابُ عَلَى مَنْعِهَا وَالِىاْلأَمْرِ .......قَالَ الْعَلاَّمَةُ أَحْمَدُ بْنُ حَجَرٍ فِيْ تُحْفَةِ الْمُحْتَاجِ لِشَرْحِ الْمِنْهَاجِ : وَيُسَنُّ لِجِيْرَانِ أَهْلِهِ أَيِ الْمَيِّتِ تَهِيْئَةُ طَعَامٍ يَشْبَعُهُمْ يَوْمَهُمْ وَلَيْلَهُمْ، لِلْخَبَرِالصَّحِيْحِ : إصْنَعُوْاِلآلِ جَعْفَرٍطَعَامًا فَقَدْ جَاءَهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ، وَيُلَحُّ عَلَيْهِمْ فِى اْلاَكْلِ نَدْبًا ....... وَمَا اعْتِيْدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُواالنَّاسَ إلَيْهِ بِدْعَـةٌ مَكْرُوْهَـةٌ كَإجَابَتِهِمْ لِذَلِكَ ....
“ ใช่แล้ว, .. สิ่งซึ่งประชาชนกำลังกระทำกันอยู่ อันหมายถึงการไปชุนนุมกัน ณ ที่ครอบครัวผู้ตาย, และมีการประกอบอาหาร(เลี้ยงกัน) ถือว่า เป็นหนึ่งจากอุตริกรรมต้องห้าม, ซึ่งผู้นำที่คัดค้านสิ่งนี้จะได้รับผลบุญตอบแทน, ......... ท่านอัลลามะฮ์ อิบนุหะญัรฺ ได้กล่าวในหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” อันเป็นตำราอธิบายหนังสือ “อัล-มินฮาจญ์” ว่า : และสุนัต (เป็นเรื่องดี) ให้บ้านใกล้เรือนเคียงผู้ตาย นำอาหารที่เพียงพอต่อพวกเขา (ลูกเมียผู้ตาย) รับประทานในวันและคืนนั้น เพราะมีหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์รายงานมาว่า (ท่านศาสดากล่าวว่า) : “พวกท่านจงทำอาหารไปให้ครอบครัวของญะอฺฟัรฺเถิด เพราะพวกเขากำลังประสบความเศร้าโศกอยู่” ... และสมควรจะคะยั้นคะยอพวก เขาให้รับประทานอาหารด้วย ........... และสิ่งซึ่งถูกปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว .. อันได้แก่การที่ครอบครัวผู้ตายได้ปรุงอาหารขึ้นมา เพื่อจะเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมรับประทานนั้น ถือเป็นอุตริกรรมที่น่ารังเกียจ เช่นเดียวกับการตอบรับคำเชิญชวนไปร่วมในงานเลี้ยงนี้ (ก็เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน) .....
( จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 145-146 ) ...
ผมจึงยังมองไม่เห็นและไม่เข้าใจจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ว่า ผลบุญที่เราเข้าใจว่าจะได้รับจากการจัดเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศไปให้ผู้ตายดังกล่าวนั้น เราจะเอามาจากใคร ? และจากที่ไหน ? .....
ท่านอัล-กุรฺฏูบีย์ แห่งมัษฮับ หะนะฟีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัต-ตัซกิเราะฮ์” หน้าที่ 102 ว่า .....
وَمِنْهُ الطَّعَامُ الَّذِىْ يَصْنَعُهُ أَهْلُ الْمَيِّتِ الْيَوْمَ فِيْ يَوْمِ السَّابِعِ، فَيَجْتَمِعُ لَـهُ النَّاسُ يُرِيْدُوْنَ بِذَلِكَ الْقُرْبَةَ لِلْمَيِّتِ وَالتَّرَحُّمَ لَـهُ، وَهَذَا مُحْدَثٌ لَمْ يَكُنْ فِيْمَا تَقَدَّمَ، وَلاَ هُوَمِمّا يَحْمَدُه الْعُلَمَاءُ قَالُوْا وَلَيْسَ يَنْبَغِىْ لِلْمُسْلِمِيْنَ أَنْ يَقْتَدُوْا بِأَهْلِ الْكُفْرِ، وَيَنْهَى كُلُّ إنْسَانٍ أَهْلَـهُ عَنِ الْحُضُوْرِ لِمِثْلِ هَذَا وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ : هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ ! قِيْلَ لَـهُ : أَلَيْسَ قَدْ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " إصْنَعُوْا ِلآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا ؟" فَقَالَ : لَمْ يَكُوْنُوْا هُمُ اتَّخَذُوْا ! إنَّمَا اتُّخِذَ لَهُمْ، فَهَذَا كُلُّهُ وَاجِبٌ عَلَى الرَّجُلِ أنْ يَمْنَعَ أَهْلَهُ مِنْهُ، وَلاَ يُرَخِّصَ لَهُمْ، فَمَنْ أَبَاحَ ذَلِكَ ِلاَهْلِهِ فَقَدْ عَصَى اللَّـهَ عَزَّوَجَلَّ، وَأَعَانَـهُمْ عَلَى اْلإثْمِ وَالْعُدْوَانِ ........
“และส่วนหนึ่งจากพฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์ก็คือ เรื่องอาหารซึ่งครอบครัวผู้ตายในปัจจุบัน ได้ปรุงขึ้นมาในวันที่ 7 (แห่งการตาย, .. ความจริง ไม่ว่าจะปรุงขึ้นมาในวันตาย, วันที่ 3, วันที่ 7, วันที่ 10, หรือ 40 วัน, หรือ 100 วัน ฯลฯ ก็เป็นอีหรอบเดียวกัน ) .. แล้วประชาชนก็จะมาร่วมทานอาหารนั้น, จุดประสงค์ของพวกเขาก็คือ ต้องการอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและแสดงความเมตตาต่อผู้ตาย, นี่คือ อุตริกรรมซึ่งไม่เคยปรากฏในยุคก่อนๆ, และก็มิใช่ว่า จะเป็นสิ่งที่นักวิชาการยกย่องสรรเสริญอะไรเลย, (ตรงข้าม) พวกเขา (นักวิชาการ) กล่าวว่า ไม่สมควรที่มุสลิมเราจะไปเลียนแบบพวกกาฟิรฺ, และสมควรที่มนุษย์ทุกคนจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการไปร่วมในงานประเภทนี้ .......
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล กล่าวว่า : นี่คือ พฤติการณ์ของญาฮิลียะฮ์ ! มีผู้ท้วงติงท่านว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวไว้มิใช่หรือว่า ให้พวกท่านทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะอฺฟัรฺ ? .. ท่านอิหม่ามอะห์มัดตอบว่า ..“(คำสั่งนั้น) มิใช่ให้พวกเขา (ครอบครัวผู้ตาย) เป็นผู้ทำ (อาหารให้พวกเรากิน), แต่ให้(พวกเรา) ทำไปให้พวกเขาต่างหาก” ... ทั้งหมดนี้ คือสิ่งวาญิบสำหรับผู้ชายที่จะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการปฏิบัติมัน, หากผู้ใดผ่อนผันเรื่องนี้แก่ลูกเมียของเขา เขาก็เป็นผู้ทรยศต่ออัลลอฮผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่, และยังเป็นการช่วยเหลือลูกเมียในเรื่องความบาป และการเป็นศัตรูกัน ..........”
ท่านเช็คอะห์มัด ซัยนีย์ ดะห์ลาน มุฟตีย์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ยังได้กล่าวในการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกตอนหนึ่งว่า ....
وَلاَ شَكَّ أَنَّ مَنْعَ النَّاسِ مِنْ هَذِهِ الْبِدْعَـةِ الْمُنْكَرَةِ فِيْهِ إحْيَاءٌ لِلسُّنَّةِ وَإمَاتَـةٌ لِلْبِدْعَـةِ، وَفَتْحٌ لِكَثِيْرٍمِنْ أَبْوَابِ الْخَيْرِ وَغَلْقٌ لِكَثِيْرٍمِنْ أَبْوَابِ الشَّرِّ، فَإنَّ النَّاسَ يَتَكَلَّفُوْنَ تَكَلُّفًاكَثِيْرًا يُؤَدِّىْ إلَى أَنْ يَكُوْنَ ذَلِكَ الصُّنْعُ مُحَرَّمًا وَاللَّـهُ سُبْحَانَـهُ وَتَعَالَى أَعْلَمُ .......
“และไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า การห้ามปรามประชาชนจาก(การกระทำ)สิ่งบิดอะฮ์ต้องห้ามข้อนี้ เป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ และเป็นการทำลายบิดอะฮ์, .. และยังเป็นการเปิดประตูแห่งความดีมากมาย และเป็นการปิดประตูแห่งความชั่วมากมาย, เพราะว่าประชาชน ต่างก็ทุ่มเทกัน(ในเรื่องนี้)อย่างหนัก จนอาจทำให้การปฏิบัติดังกล่าว เป็นเรื่องต้องห้ามได้ วัลลอฮุ ซุบหานะฮู วะตะอาลา อะอฺลัม......”
(จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 135) ......
แล้วท่านซัยยิด บักรีย์ ก็ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหนังสือเล่มและหน้าดังกล่าวว่า ....
وَقَدْ أَجَابَ بِنَظِيْرِهَذَيْنِ الْجَوَابَيْنِ مُفْتِى السَّادَاتِ الْمَالِكِيَّةِ وَمُفْتِى السَّادَاتِ الْحَنَابِلَةِ
“และประธานฝ่ายตอบปัญหาของมัษฮับมาลิกีย์ และประธานฝ่ายตอบปัญหาของมัษฮับหัมบาลีย์ ก็ได้ให้คำตอบ (ในเรื่องเดียวกันนี้) คล้ายคลึงกับ 2 คำตอบข้างต้นของมัษฮับชาฟิอีย์และมัษฮับหะนะฟีย์ (ที่ผ่านมาแล้ว).....”
ที่กล่าวมานี้ทั้งหมด เป็นเพียง “บางตัวอย่าง” จากข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับปัญหาการที่ครอบครัวผู้ตาย เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารประชาชน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย (ตามความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ) ..ซึ่งผู้ที่นิยมปฏิบัติสิ่งนี้อยู่ ควรจะรับฟังและสังวรณ์กันไว้ให้มาก .......
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ นอกจากการเห็นพ้องต้องกันของนักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับว่า การที่ครอบครัวผู้ตายจัดเลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย เป็นบิดอะฮ์ที่ต้องห้ามและน่ารังเกียจแล้ว นักวิชาการเหล่านั้น ต่างก็กล่าวสอดคล้องกันว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ไม่เคยปรากฏรายงานหลักฐานจากหะดีษ, และไม่ใช่เป็นการกระทำของบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆ ......
คำพูดดังกล่าวนี้ แสดงถึงการ “ปฏิเสธความถูกต้อง” ของรายงาน 2 บท ที่ท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัล-กุรฺอานให้กับผู้ตาย” ได้นำมาอ้างอิงไว้ในหน้าที่ 36 ของหนังสือเล่มนั้น, ซึ่งบทแรก มีข้อความดังนี้ .....
أَخْرَجَ أَحْمَدُ بْنُ مَنِيْعٍ فِىْ مُسْنَدِهِ عَنِ اْلأََحْنَفِ بْنِ قَيْسٍ قَالَ حِيْنَ طُعِنَ عُمَرُ أَمَرَ صُهَيْبًا أَنْ يُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثَلاَثًا، وَأَمَرَ بِأَنْ يُجْعَلَ لِلنَّاسِ طَعَامًا .......
“นำมาบันทึกโดย อะหมัดอิบนุมะเนียะ ในหนังสือบันทึกของท่าน รายงานจากอะหนัฟอิบนุก็อยส ท่านอะหนัฟพูดว่า : เมื่อท่านอุมัรฺ (อิบนุคอตตอบ คอลีฟฮ์คนที่ 2) ถูกแทง (ก่อนตาย) ท่านอุมัร ได้สั่งให้ท่านสุฮัยบ ให้นำละหมาด (ยะนาซะฮ์) กับคนทั้งหลาย และได้สั่งให้ท่านสุฮัยบทำอาหารเลี้ยงผู้คน”
(ดูหนังสือ อัลมาตอลีบุลอาลิยะฮ์ ของอิบนุฮายัร อัลอัสกอลานีย์ เล่มที่ 1 หน้า 199)
และในบทที่สอง มีข้อความว่า .....
أَخْرَجَ أَحْمَدُ فِى الزُّهْدِ عَنْ طَاوُسٍ قَالَ : اَنَّ الْمَوْتىَ يُفْتَنُوْنَ فِىْ قُبُوْرِهِمْ سَبْعًا، وَيُسْتَحَبُّوْنَ أَنْ يُطْعِمُوْا عَنْهُمْ تِلْكَ اْلأَيَّامَ ....
นำมาบันทึกโดยท่านอะหมัด (อิบนุฮัมบัล) ในหนังสือ อัศศุดี จากท่านตอวูส (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของศอฮาบะฮ์) กล่าวว่า : แท้จริง บรรดาผู้ตาย พวกเขาได้ความฟิตนะ(ความทุกข์) ในบรรดากุโบร์ของพวกเขาในเจ็ดวัน (แรก) และพวกเขา (หมายถึงศอฮาบะฮ์) เห็นชอบให้พวกเขา (หมายถึงครอบครัวผู้ตายที่สามารถทำได้) ทำอาหารแทนจากพวกเขา (หมายถึงบรรดาผู้ตาย หรือทำนูหรี) ในบรรดาวันเหล่านั้น :
(อ้างข้อมูลจากหนังสือเล่มและหน้าเดียวกันกับบทแรก)
นี่คือ ตัวบท, การใส่สระ, คำแปล, และคำอธิบาย (ข้อความในวงเล็บ)ที่ผมคัดลอกมาจากหนังสือเล่มนั้น .. คำต่อคำ ......
ผมไม่ได้สนใจถึงการคัดลอกตัวบทผิด, ใส่สระผิด, และอธิบายผิด จากข้อความข้างต้น (ซึ่งผู้ที่พอจะรู้วิชาไวยากรณ์อฺรับอยู่บ้างก็คงจะมองออกว่า ใส่สระผิด และอธิบายผิดอย่างไร) แต่ที่อยากจะถามท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัลกุรอานให้กับผู้ตาย” ท่านนั้นก็คือ ...
1. ข้อความของหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้น ท่านคัดมาจากหนังสือ اَلْمَطَالِبُ الْعَالِيَةُ
จริงๆดังที่อ้าง หรือคัดลอกต่อมาจากตำราเล่มอื่นอีกทีหนึ่ง ? ....
เพราะข้อความจริงๆของหะดีษทั้ง 2 บทดังที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือดังกล่าว ซึ่งเป็นเล่มที่ 2 หน้า 534 และ 535 หรือหะดีษที่ 858, 859 ... มีบางคำ ไม่ตรงกับที่ท่านคัดลอกมาดังข้างต้น !....
2. สายรายงานของหะดีษทั้ง 2 บทนั้น --- ก่อนที่จะถึงท่านอัล-อะห์นัฟ บิน ก็อยส์ ในบทแรก, และก่อนจะถึงท่านฏอวูซ ในบทที่สอง --- ท่านได้เห็น, และพอจะรู้หรือยังว่า เป็นสายรายงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ตามหลักวิชาการหะดีษหรือไม่ ? ....
ผมขออธิบายให้ท่านผู้อ่านและท่านเจ้าของหนังสือเล่มนั้น ได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหะดีษ 2 บทนั้นพอเป็นสังเขป ดังนี้ ....
1. ในบทแรก, พื้นฐานของหะดีษนี้ ... อันได้แก่เรื่องการถูกฆาตกรรมของท่านอุมัรฺ, และการที่ท่านสั่งให้ท่านสุฮัยบ์ บิน ซินาน ร.ฎ. ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามนำประชาชนนมาซญะมาอะฮ์ 3 วัน ในขณะที่เศาะหาบะฮ์อีก 6 ท่าน กำลังประชุมเพื่อเฟ้นหาตัวเคาะลีฟะฮ์คนใหม่หลังจากท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ... เป็นหะดีษที่ถูกต้อง, ดังการบันทึกของท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 3700, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “อัล-มะฏอลิบ อัล-อาลิยะฮ์” -- ที่ถูกอ้างถึงข้างต้น -- หะดีษที่ 3902 (เล่มที่ 8 หน้า 366) ... โดยรายงานมาจากท่านอัมรฺ บิน มัยมูน ร.ฎ. อันเป็นหะดีษที่มีข้อความยืดยาวมาก ....
แต่ข้อความที่ถูกนำมาอ้างในหนังสือเล่มนั้น (เพื่อเป็นหลักฐานเรื่อง “การทำนูหรี” บ้านผู้ตาย) จากหะดีษข้างต้นประโยคที่ว่า ... “ท่านอุมัรฺ ได้สั่งให้ท่านสุฮัยบ์ทำอาหารเลี้ยงผู้คน” ... ถือว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” หรืออ่อนมาก เพราะข้อความนี้ มีปรากฏอยู่เฉพาะในรายงานนี้--- ซึ่งเป็นสายรายงานที่เฎาะอีฟ --- เพียงบทเดียว ... ขณะที่รายงานที่ถูกต้องอื่นๆซึ่งรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการถูกฆาตกรรมของท่านอุมัร ร.ฎ., จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์ และท่านอิบนุหะญัรฺ ในหนังสือที่ได้ระบุชื่อไว้นั้น ไม่มีข้อความเรื่องท่านอุมัรฺ สั่งเลี้ยงอาหารปรากฏอยู่เลย .....
2. รายงานบทที่สอง ก็มีลักษณะคล้ายบทแรก, คือ ข้อความตอนท้ายที่ว่า .. ดังนั้น พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) จึงเห็นชอบที่จะบริจาคอาหารแทนจากผู้ตายเหล่านั้น ใน (เจ็ด) วันดังกล่าว ....ถือว่า เป็นข้อความที่ “ชาซ หรือมุงกัรฺ” คือ ผิดเพี้ยนหรืออ่อนมากเช่นเดียวกันตามหลักวิชาการหะดีษ, ทั้งนี้ เพราะเป็นข้อความที่รายงานเพิ่มเติมมาเฉพาะในกระแสนี้ ซึ่งเป็นกะแสรายงานที่เฎาะอีฟ ....
ส่วนรายงานที่ถูกต้องกว่า ดังการบันทึกของท่าน อิบนุ ญุร็อยจญ์ ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” ของท่าน มีเพียงข้อความว่า .. ผู้ศรัทธานั้น จะถูกทดสอบ (ในกุบูรฺของเขา) 7 วัน” ... โดยไม่มีข้อความเรื่องเศาะหาบะฮ์เลี้ยงอาหารแทนให้ผู้ตายใน 7 วันเหล่านั้นแต่ประการใด .....
ลองใช้สามัญสำนึกง่ายๆ ... ถ้าหากว่ารายงานทั้ง 2 บทนั้น ถูกต้อง นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับที่คัดค้านเรื่องนี้จะกล้าพูดหรือว่า การทำ “นูหรีบ้านผู้ตาย” เป็นบิดอะฮ์หรือ “อุตริกรรม” ที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างมาก่อน ? .....
หรือท่านเจ้าของหนังสือ “การอ่านอัล-กุรอานให้กับผู้ตาย” เล่มนั้นเข้าใจว่า ท่านเป็นคนแรกที่อ่านเจอหลักฐาน 2 บทนี้ ? .....
อันเนื่องมาจากไม่ต้องการให้หนังสือเล่มนี้ของผมยืดยาวเกินไป จึงไม่ขอวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและรายละเอียดของรายงานทั้ง 2 บทนั้นในที่นี้, แต่ผมตั้งใจที่จะหาเวลาว่าง เพื่อชี้แจงความผิดพลาดและการขาดความรู้ความเข้าใจในวิชาการของผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นต่อไปเป็นการเฉพาะ, รวมทั้งการวิเคราะห์หลักฐานจากหะดีษในหนังสือเล่มนั้นซึ่ง .. ส่วนใหญ่, หรือ เกือบจะทั้งหมด .. เป็นหะดีษเฎาะอีฟและหะดีษเมาฎั๊วะอฺ ให้ท่านผู้อ่านรับทราบ อินชาอัลลอฮ์ .....


บิดอะห์ (ตอนที่ 6.2) การอ่านอัลกุรอานเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย




อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง

2. เพราะพวกท่านมองว่า “วิธีการ” ที่ถูกต้องที่สุดและดีที่สุด ในการแสดงความ รักต่อท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ “การปฏิบัติตามซุนนะฮ์” ของท่าน มิใช่แสดงความรักด้วยวิธีการที่ “อุตริขึ้นมาเอง” โดยพลการ, มิหนำซ้ำยังเป็น “วิธีการ” ที่เลียนแบบพวกคริสเตียนดังเหตุผลข้อแรกอีกต่างหาก .....
ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ร.ฎ. เคยกล่าวไว้ว่า ...
( إتَّبِعُوْا وَلاَ تَبْتَدِعُوْا ! فَقَدْ كُفِيْتُمْ )
“พวกท่านจงปฏิบัติตาม, และพวกท่านจงอย่าได้อุตริเป็นอันขาด! แน่นอน พวกท่านถูก ( กำหนดซุนนะฮ์ ) ให้, ( เพื่อการปฏิบัติ ) จนเพียงพอแล้ว” ...
( บันทึกโดย ท่านวะเกี๊ยะอฺ ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” เล่มที่ 2 หน้า 590 (หมายเลข 315), ท่านอะห์มัด ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” หน้า 162, ท่านอัด-ดาริมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 80, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “อัส-ซุนนะฮ์” หน้า 23, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อลฯ” หมายเลข 204 ) .....

3. เพราะพวกท่านรู้ดีว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รังเกียจพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นการประจบสอพลอ หรือการให้เกียรติท่านจนเลยเถิด ....
ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ได้กล่าวว่า ...
( مَاكَانَ فِي الدُّنْـيَا شَخْصٌ أَحَبَّ إلَيْهِمْ رُؤْيَةً مِنْ رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَكَانُوْا إذَا رَأَوْهُ لَمْ يَقُوْمُوْااَـهُ لِمَا كَانُوْا يَعْلَمُوْنَ مِنْ كَرَاهِيَتِهِ لِذَلِكَ )
“ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้ ผู้ซึ่งพวกเขา ( เศาะหาบะฮ์ ) อยากจะเจอหน้ายิ่งไปกว่าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ทว่า, เมื่อพวกเขาเจอท่าน พวกเขาจะไม่เคยยืนขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติท่าน เนื่องจากพวกเขารู้ว่าท่านรังเกียจพฤติการณ์ดังกล่าวนี้” .......
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” หะดีษที่ 946, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2754, ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล-อาษารฺ” หะดีษที่ 1276, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 132, และท่านอบู ยะอฺลา ในหนังสือ “อัล-มุสนัด” หะดีษที่ 183/2 ) ....
นับประสาอะไรกับ “การยืนให้เกียรติ” ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสามัญเหลือเกินในปัจจุบัน ที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยังรังเกียจ, แล้วการจัดงานฉลองวันเกิดให้แก่ท่านซึ่งมันเอิกเกริกยิ่งกว่าการยืนให้เกียรติหลายเท่า .. ( สมมุติว่า เกิดมีเศาะหาบะฮ์ท่านใด จัดให้แก่ท่านในขณะท่านยังมีชีวิตอยู่ ) .. ท่านจะไม่มองว่า มัน “เลยเถิด” และน่ารังเกียจยิ่งไปกว่าหรือ ? ...
หรือท่านคิดว่า ท่านนบีย์ฯ คงจะภูมิใจและปลื้มใจสุดๆกับพิธีกรรมดังกล่าว ? ..
สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รังเกียจ, ไม่ชอบ.. ( ไม่ว่าเพราะเหตุผลใดก็ตาม) สมควรแล้วหรือที่เรา – มุสลิมผู้มีอีหม่านจะปฏิบัติมัน ? ....
ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักวิชาการจำนวนมาก,-- ทั้งในอดีตและปัจจุบัน -- ที่ได้เขียนหนังสือ เกี่ยวกับเรื่องการเป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจของการจัดงานเมาลิด, เท่าที่ผมพอจะทราบก็มีอาทิเช่น ... ท่านอัล-มักรีซีย์ ในหนังสือ “อัล-คุฏ็อฏ” ( اَلْخُطَطُ ), ท่านก็อลเกาะชันดี้ ในหนังสือ “ศุบหัล อะอฺชาอ์”, ท่านซันดูบีย์ ในหนังสือ “ตารีค อัล-เอี๊ยะห์ติฟาล บิล เมาลิดฯ”, ท่านมุหัมมัด บิน บะคีต อัล-มุฏีอีย์ ในหนังสือ “อะห์ซัน อัล-กะลาม”, ท่านอะลีย์ ฟิกรีย์ ในหนังสือ “อัล-มุหาเฎาะรอต”, ท่านอะลีย์ มะห์ฟูศ ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺฯ”, ท่าน ดร. อิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ในหนังสือ “อัล-เกาลุลฟัศลุ ฟีย์ หุกมิล เอี๊ยะห์ติฟาล บิเมาลิดิ ค็อยริรฺ รุซุล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม”, ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มะเนียะอฺ ในหนังสือ “หิวารฺ มะอัล มาลิกีย์”, ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” .... ฯลฯ. .......
ในที่นี้ ผมขอนำคำพูดของท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 728) ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 123 – 124 มาให้อ่านกันดังนี้ .....
( وَكَذَلِكَ مَايُحْدِثُـهُ بَعْضُ النَّاسِ، إمَّا مُضَاهَاةً لِلنَّصَارَى فِيْ مِيْلاَدِ عِيْسَى عَلَيْهِ السَّلاَمُ، وَإمَّا مَحَبَّةً لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَعْظِيْمًا، وَاللَّـهُ قَدْ يُثِيْبُهُمْ عَلَى هَذِهِ الْمَحَبَّةِ وَاْلإجْتِهَادِ، لاَ عَلَى الْبِدْعَـةِ مِنِ اتِّخَـاذِ مَوْلِدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِيْدًا، مَعَ اخْتِلاَفِ النَّاسِ فِيْ مَوْلِدِهِ، فَإنَّ هَذَا لَمْ يَفْعَلْـهُ السَّلَفُ، مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِيْ لَـهُ وَعَدَمِ الْمَانِعِ مِنْهُ، لَوْكَانَ خَيْرًا مَحْضًا أَوْرَاجِحًا لَكَانَ السَّلَفُ رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُمْ أَحَقَّ بِـهِ مِنَّا، فَإنَّـهُمْ كَانُوْا أَشَدَّ مَحَبَّةً لِرَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَعْظِيْمًا لَـهُ مِنَّا، وَهُمْ عَلَى الْخَيْرِ أَحْرَصَ ....
وَإنَّمَا كَمَالُ مَحَبَّتِـهِ وَتَعْظِيْمِهِ فِيْ مُتَابَعَتِهِ وَطَاعَتِهِ وَاتِّبَاعِ أَمْرِهِ، وَإحْيَاءِ سُنَّتِهِ بَاطِنًاوَظَاهِرًا، وَنَشْرِمَابُعِثَ بِـهِ، وَالْجِهَادِعَلَى ذَلِكَ بِالْقَلْبِ وَالْيَدِ واللِّسَانِ، فَإنَّ هَـذِهِ طَرِيْقَةُ السَّابِقِيْنَ اْلاَوَّلِيْنَ، مِنَ الْمُهَاجِرِيْنَ وَاْلاَنْصَارِ، وَالَّذِيْنَ اتَّبَعُوْهُـمْ بِإحْسَانٍ .....)
“และเฉกเช่นเดียวกับสิ่งที่กล่าวมานี้ ก็คือ สิ่งซึ่งประชาชนบางคนได้ริเริ่มขึ้นมาใหม่ ..ในมุมมองหนึ่ง ก็เป็นการเลียนแบบชาวคริสต์ในการจัดงานฉลองวันเกิดของท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิสสลาม (วันคริสต์มาส), แต่ในอีกมุมมองหนึ่งก็เป็นการแสดงความรักและเทิดทูนต่อท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม,ซึ่งบางที พระองค์อัลลอฮ์ อาจจะให้ผลบุญต่อพวกเขาเพราะความรักและความทุ่มเทนี้บ้างก็ได้ ... แต่มิใช่ (พระองค์จะให้ผลบุญ) เพราะการทำบิดอะฮ์ ด้วยการยึดถือเอาวันเกิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นวันรื่นเริง, ทั้งๆที่พระชาชนก็ยังขัดแย้งกันอยู่เกี่ยวกับวันเกิดของท่าน, ทั้งนี้ เพราะการกระทำดังกล่าวนี้ บรรดาบรรพชนยุคแรกไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อนทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม และไม่มีอุปสรรคอันใดเลย, สมมุติว่า หากการกระทำสิ่งนี้ เป็นเรื่องดีล้วนๆหรือมีน้ำหนักแห่งความดีอยู่บ้าง แน่นอนบรรพชนเหล่านั้น เหมาะสมที่สุดที่จะทำมันยิ่งกว่าพวกเรา,..ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขารักและเทิดทูนท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยิ่งกว่าพวกเรา, ทั้งยังเป็นผู้ที่กระหายในเรื่องการทำสิ่งดีมากที่สุดด้วย ...
ความสมบูรณ์เพียบพร้อมในเรื่องความรักและการเทิดทูนท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมนั้นมิใช่อื่นใด หากอยู่ที่การปฏิบัติตามท่าน, เชื่อฟังท่าน, กระทำตามคำสั่งของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่าน ทั้งที่ลับและที่แจ้ง, เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้งใจ กาย และวาจา, เพราะสิ่งเหล่านี้ คือแนวทางของบรรดาบรรพชนยุคแรกๆ อันได้แก่ชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อรฺ, และบรรดาผู้ซึ่งปฏิบัติตามพวกท่านเหล่านั้นด้วยคุณธรรมความดี ......”
และ, ที่ไม่ทราบว่า จะเป็นเรื่องน่าขันหรือน่าสมเพชก็คือ บรรดาผู้ที่อ้างว่ารักท่านนบีย์ฯ --- ด้วยการจัดงานเมาลิดให้ท่านนั้น --- พวกเขาส่วนมาก ไม่เคยสนใจที่จะปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านเลย ......
ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ ได้กล่าวอุปมา-อุปมัย ไว้ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 124 เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า .......
( وَإنَّمَـا هُمْ بِمَنْزِلَةِ مَنْ يُحَلِّي الْمِصْحَفَ وَلاَ يَقْرَأُ فِيْهِ، أَوْ يَقْرَأُ فِيْهِ وَلاَ يَتَّبِعُهُ، وَبِمَنْزِلَةِ مَنْ يُزَخْرِفُ الْمَسْجِدَ وَلاَ يُصَلَّى فِيْهِ، أَوْ يُصَلِّى فِيْهِ قَلِيْلاً .......... )
“และมันมิใช่อื่นใด นอกจากอุปมาพวกเขา --- ผู้ที่จัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯเสียใหญ่โต แต่ไม่ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน --- ก็เสมือนดั่งผู้ที่ประดับประดาอัล-กุรฺอ่านเสียดูสวยงาม แต่ไม่เคยอ่านมัน, หรือเคยอ่านบ้าง แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติตาม, ... และอุปมาเหมือนดั่งผู้ที่ตกแต่งมัสญิดจนดูเลิศหรู แต่ไม่เคยเข้าไปนมาซในมัสญิดนั้น, หรืออาจจะเคยเข้าไปนมาซบ้าง ก็แค่บางครั้งเท่านั้น ..........”
2. การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย .. เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านอุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายนี้ก็เช่นเดียวกัน ... ไม่เคยปรากฏหลักฐานจากหะดีษที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ) แม้แต่บทเดียวว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะเคยอ่านอัล-กุรฺอ่าน, ไม่ว่าที่บ้านหรือที่กุบูรฺ เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม, .. คือเป็นการแสดงความห่วงใยและส่งผลบุญให้แก่ผู้ตาย, และไม่มีอุปสรรคอะไรที่จะมาขัดขวางท่านจากการปฏิบัติมันด้วย ......
บรรดาหะดีษที่มีรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย ล้วนเป็นหะดีษเฎาะอีฟ ( ضَعِيْفٌ ) ทั้งสิ้น .. ดังการยอมรับของท่านอัส-สุยูฏีย์ ในหนังสือ “ชัรฺหุศ ศุดูรฺ” ของท่าน (โปรดดูหนังสือ “กัชฟุช ชุบฮาต” ของท่านมะห์มูด หะซัน รอเบียะอฺ หน้า 93 ) ......
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฯ” หน้าที่ 44 ว่า .. وَمِنْ هَذَااْلأَصْلِ الْعَظِيْمِ تَعْلَمُ أَنَّ أَكْثَرَأَفْعَالِ النَّاسِ الْيَوْمَ مِنَ الْبِدَعِ الْمَذْمُوْمَةِكَقِرَاءَةِ الْقُرْآنِ عَلَى الْقُبُوْرِ رَحْمَـةً بِالْمَيِّتِ، تَرَكَهُ النَّبِّيُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَرَكَهُ الصَّحَابَةُ مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِيْ لِلْفِعْلِ وَهُوَالشَّفَقَةُ بِالْمَيِّتِ، وَعَدَمِ الْمَانِعِ مِنْهُ، فَعَلَى هَذَااْلأَصْلِ الْمَذْكُوْرِ يَكُوْنُ تَرْكُهُ هُوَالسُّـنَّةُ وَفِعْلُهُ بِدْعَـةً مَذْمُوْمَةً، __ وَكَيْفَ يُعْقَلُ أَنْ يَتْرُكَ الرَّسُوْلُ شَيْأً نَافِعًا يَعُوْدُ عَلَى أُمَّـتِهِ بِالرَّحْمَةِ ؟ ..... فَهَلْ يُعْقَلُ أَنْ يَكُوْنَ هَذَا بَابًا مِنْ أَبْوَابِ الرَّحْمَةِ وَيَتْرُكُهُ الرَّسُوْلُ طُوْلَ حَيَاتِـهِ وَلاَ يَقْرَأُ عَلَى مَيِّتٍ مَرَّةً وَاحِدَةً ؟ ........
“และจากกฎเกณฑ์อันสำคัญยิ่ง (ของวิชาอุศูลฯ) ข้อนี้ ทำให้ท่านรู้ว่า ภาคปฏิบัติของประชาชนส่วนมากในปัจจุบันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของบิดอะฮ์ที่ควรตำหนิ ... อย่างเช่น การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่หลุมฝังศพ (กุบูรฺ) เพื่อแสดงความเมตตารักใคร่ผู้ตาย, (สิ่งนี้) ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน ได้ละทิ้งมัน ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้กระทำ นั่นคือ ความห่วงใยที่มีต่อผู้ตาย, และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆที่จะขัดขวางพวกท่านจากกระทำมัน ... ดังนั้น ตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว ถือว่า การละทิ้ง (คือไม่กระทำ) สิ่งนี้ คือซุนนะฮ์, และการกระทำมัน จึงเป็นบิดอะฮ์ที่ควรตำหนิ .....
มันจะกินกับปัญญาได้อย่างไรว่า ท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะละทิ้งสิ่งหนึ่งซึ่งอำนวยคุณประโยชน์ในด้านเมตตาธรรมที่กลับคืนไปหาอุมมะฮ์ของท่านเอง ? ...... มันกินกับปัญญาหรือว่า สิ่งนี้ (การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ) เป็นประตูหนึ่งจากบรรดาประตูแห่งความเมตตา แล้วท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับละทิ้งมันตลอดชีวิตของท่าน, โดยไม่เคยไปอ่านอัล-กุรฺอ่านให้กับผู้ตายคนใดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ? ...........”
เมื่อเขียนมาถึงจุดนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาได้, หนังสือเล่มนั้น มีชื่อว่า “การอ่านอัลกุรฺอานให้กับผู้ตาย” น่าเสียดายที่ผู้เขียนหนังสือนั้น “ไม่กล้า” ระบุชื่อของตัวเองไว้ด้วย จึงไม่รู้ว่า เป็นใคร ?, ... รู้แต่เพียงว่า เป็นชาวภูเก็ต ......
ผมไม่ให้ความสำคัญกับหนังสือเล่มนั้นแม้แต่นิดเดียว เพราะผู้เขียน,นอกจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการหะดีษอันเป็นหลักฐานขั้นพื้นฐานของหนังสือเล่มนั้นโดยตรงแล้ว ยังเขียนหนังสือมีเนื้อหาโจมตีด้วยความอคติต่อผู้ที่มีทัศนะตรงข้ามกับตนเองด้วย ....
และจุดที่น่าสมเพชที่สุดก็คือ ข้อความในหน้าที่ 13 และหน้าที่ 24 ของหนังสือเล่มนั้น .....
ในหน้าที่ 13 มีข้อความดังต่อไปนี้ .....
“เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้หากพวกที่เป็นวาฮาบีย์ หรือฮูกมมูดา หรือพวกไหนก็ตามที่บอกว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความผิดหรือเป็นบาป หากเป็นผู้เขียนคิดเช่นนั้น ผู้เขียนถือว่าจำเป็นที่สุดแล้วที่จะต้องมีการเตาบะฮ์ อันเนื่องมาจากความเข้าใจที่ผิดพลาด คำพูดที่ผิดพลาด และจะต้องกล่าว 2 คำชาฮาดะฮ์ (มูจาบใหม่ ) เพราะการถือว่าหรือพูดว่า ของไม่ฮาร่ามว่าฮาร่ามนั้น ต้องถือว่าตกกาเฟร หรือการสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม”
และในหน้าที่ 24 มีข้อความที่คล้ายๆกันอีกว่า .....
“แต่เมื่อมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ใครกันแน่ที่งมงาย ? ใครกันแน่ที่กระทำหรือพูดโดยไม่เข้าใจหลักฐาน ? ผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่เป็นวาฮาบีย์ หรือฮูกมมูดา มาถึงตรงนี้จำเป็นที่สุดแล้วที่พวกเขาจะต้องกลับคำพูด หรือต้องเตาบะฮ์ ( توبـة ) หรือถ้าวาฮาบีย์คนไหนหรือฮูกมมูดาคนไหน กล่าวว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ฮาร่าม โดยอาศัยหะดีษที่หามาทั้งหมด ผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่กล่าวเช่นนั้น จำเป็นจะต้องกล่าวคำปฏิญาณใหม่ (หรือเข้ารับอิสลามใหม่) เพราะคนที่กล่าวเช่นนั้น (ว่าฮาร่าม) ผู้เขียนเห็นว่า ตกเป็นกาเฟร หรือการสิ้นสภาพเป็นมุสลิม ......”
ผมจะไม่พูดถึงความไม่ประสีประสาของผู้เขียนท่านนั้นเกี่ยวกับเรื่องของวะฮ์ฮาบีย์ที่เขาไม่รู้แม้แต่ ก. ข. ของแนวทางนี้, และจะไม่เขียนถึงคำศัพท์แปลกๆที่เพิ่งจะเคยได้ยินจากท่านเป็นคนแรก คือคำว่า ฮูกมมูดา (เพราะที่เคยได้ยินก็คือคำว่า เกาม์ มูดา ซึ่งแปลตรงตัวว่า กลุ่มหนุ่ม, และบางครั้งก็จะเรียกเป็นภาษาไทยว่า คณะใหม่) ....
แต่ที่อยากจะพูดแนะนำด้วยความสงสารและสมเพชเวทนาก็คือ บุคคลแรกสุดที่ควรจะต้องกล่าวชะฮาดะฮ์ใหม่ ไม่ใช่พวกวาฮาบีย์หรือฮูกมมูดาที่กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์ต้องห้าม ... ดังที่ท่านผู้เขียนท่านนั้นตัดสินพวกเขาหรอก .....
ตัวผู้เขียนเองนั่นแหละที่ควรจะต้องรีบ “มูจาบ” ใหม่โดยด่วนที่สุด ! ...
ทั้งนี้ เพราะท่าน “อาจจะ” ตกเป็นกาฟิรฺไปแล้ว ฐานกล่าวหาคนมุสลิมว่าเป็นกาฟิรฺ, และคำกล่าวหานั้น มัน “ย้อนศร” กลับมาหาตัวผู้พูด คือท่านผู้เขียนเองเต็มๆ ... ตามนัยแห่งหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทหนึ่ง .....
ก่อนอื่น ผมก็อยากจะอธิบายให้ท่านผู้เขียนท่านนั้นทราบเอาบุญว่า หลักการของผู้ที่พูดว่า สิ่งนั้นหะรอมหรือสิ่งนี้หะล้าล .. แล้วผู้พูด ต้องตกศาสนาหรือตกมุรฺตัดนั้น ... มีหลักการอยู่ว่า หมายถึงสิ่งหะรอมหรือสิ่งหะล้าลนั้น เป็นสิ่งหะรอมหรือหะล้าล “โดยมติเอกฉันท์” (อิจญมาอฺ) ของนักวิชาการ, .. แต่ไม่ใช่สิ่งหะรอมหรือหะล้าลที่เป็นปัญหาขัดแย้งอย่างในกรณีนี้ .......
ท่านเช็คซัยยิด บักรีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 4 หน้า 135 ว่า ......
( قَوْلُـهُ وَجَحْدِ مُجْمَعٍ عَلَيْهِ ) أَيْ إنْكَارِمَـا اُجْمِعَ عَلَى إثْبَاتِـهِ اَوْعَلَى نَفْيِهِ، فَدَخَلَ فِيْهِ جَمِيْعُ الْوَاجِبَاتِ الْمُجْمَعِ عَلَيْهَا وَجَمِيْعُ الْمُحَرَّمَاتِ كَذَلِكَ .....
(คำพูดที่ว่า และการคัดค้านสิ่งซึ่งเป็นมติเอกฉันท์) คือ ... (สาเหตุแห่งการตกมุรฺตัดนั้น) ได้แก่การคัดค้านสิ่งซึ่งนักวิชาการมีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า ได้ (หะล้าล), หรือ ไม่ได้ (หะรอม) ... ดังนั้น ที่ถูกจัดเข้าอยู่ในคำพูดดังกล่าวนี้ก็คือ (การคัดค้าน) ทั้งหมดของสิ่งวาญิบที่เป็นมติเอกฉันท์ และทั้งหมดของสิ่งหะรอมที่เป็นมติเอกฉันท์ ...
ท่านซัยยิด ซาบิก ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ฟิกฮุส ซุนนะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 384 ว่า ...
..... และบางส่วนจากตัวอย่างที่แสดงถึงความเป็นกาฟิรฺนั้น ได้แก่ : .....
2 - إسْتِبَاحَةُ مُحَرَّمٍ أَجْمَعَ الْمُسْلِمُوْنَ عَلَى تَحْرِيْمِهِ، كَاسْتِبَاحَةِ الْخَمْرِ، وَالزِّنَا، وَالرِّبَا وَأَكْلِ الْخِنْزِيْرِ وَاسْتِحْلاَلِ دِمَاءِ الْمَعْصُوْمِيْنَ وَأَمْوَالِهِمْ
تَحْرِيْمُ مَا أَجْمَعَ الْمُسْلِمُوْنَ عَلَى حِلِّـهِ كَتَحْرِيْمِ الطَّيِّبَاتِ -- 3
2. ได้แก่การพูดหรือยึดถือว่าอนุญาต (คือ ถือว่าหะล้าล) ในสิ่งซึ่งบรรดามุสลิม มีมติเอกฉันท์แล้วว่าหะรอม เช่น พูดหรือถือว่า อนุญาตให้ดื่มเหล้าได้, ผิดประเวณีได้, รับดอกเบี้ยได้, บริโภคเนื้อสุกรได้, หรือการอนุญาตให้ล่วงละเมิดในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับการคุ้มครองตามหลักการศาสนาแล้ว เป็นต้น ......
3. ได้แก่การห้าม (คือ ถือว่าหะรอม) ในสิ่งซึ่งบรรดามุสลิม มีมติเอกฉันท์แล้วว่า หะล้าล อย่างเช่น การห้าม (บริโภค) สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย (เช่นกล่าวว่า การบริโภคเนื้อวัว ควาย, แพะ, แกะ เป็นสิ่งหะรอม เป็นต้น) .....
ดังนั้น ในกรณีของการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย --- ไม่ว่าที่บ้านหรือที่กุบูรฺ --- ผู้ที่กล่าวว่า อ่านได้ .. ก็ไม่ตกมุรฺตัด, และผู้ที่กล่าวว่า อ่านไม่ได้ ก็ไม่ตกมุรฺตัด, คือ ยังคงสภาพความเป็นมุสลิมอยู่ทั้งสองฝ่าย เพราะปัญหาการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายเป็นปัญหา “ขัดแย้ง” .. ซึ่งเด็กที่เพิ่งจะเริ่มสัมผัสกับการศึกษาศาสนา ก็ยังรู้ดี ....
เพราะฉะนั้น เมื่อเราบังอาจไปกล่าวหาผู้ที่ยังเป็นมุสลิมอยู่ --- ตามหลักการและมติของนักวิชาการ --- ว่า เป็นกาฟิรฺ, ต้องกล่าวปฏิญาณใหม่ ... อะไรจะเกิดขึ้น ? ......
ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .....
( إذَا كَفَّرَالرَّجُلُ أَخَاهُ فَقَدْ بَاءَ بِـهَا أَحَدُهُمَـا )
“เมื่อบุคคลใดได้กล่าวหาพี่น้อง(มุสลิม)ของเขาว่า เป็นกาฟิรฺ คำกล่าวหา(ว่าเป็นกาฟิรฺ)นั้น ก็จะกลับไปหาคนใดคนหนึ่งจาก 2 คนนั้น” ......
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 111/60, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 23, 142) .......
และอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษนี้ที่ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ได้รายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ......
أَيُّمْا امْرِئٍ قَالَ ِلأَخِيْهِ : يَا كَافِرُ! فَقَدْ بَاءَ بِهَا أَحَدُهُمَا، إِنْ كَانَ كَمَا قَالَ، وَإِلاَّ رَجَعَتْ عَلَيْهِ
“ผู้ใดก็ตามที่กล่าวกับพี่น้อง(มุสลิม)ของเขาว่า : นี่ เจ้ากาฟิร ! .. แน่นอน คำพูดนั้นจะต้องตกอยู่กับคนใดคนหนึ่งจาก 2 คนนั้น, ... คือ (ผู้ถูกกล่าวหา) อาจเป็นกาฟิรฺจริงตามคำกล่าวหาของเขา, หรือมิฉะนั้น คำกล่าวหานั้นจะย้อนกลับมาหาตัวเขา(ผู้พูด) เอง” ....
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 6104, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 111/60, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2637, ท่านมาลิกใน “อัล-มุวัฏเฏาะอ์”เล่มที่ 2 หน้า 250-251 หรือหะดีษที่ 1910 จากการอธิบายของท่านอัซ-ซุรฺกอนีย์, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 18, 44, 47, 60, 112 และ 113 ) ......
เมื่อเราทราบดีแล้วว่า ใครก็ตามที่กล่าวว่า ... “ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ” ... เขาไม่ได้ตกเป็นกาฟิรฺ ตามการกล่าวหาของผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น ดังมติและหลักการของนักวิชาการ ที่ได้อธิบายมาแล้ว .......
การเป็นกาฟิรฺจึงต้องย้อนกลับไปยัง “ผู้กล่าวหา” แน่นอน ...
ดังนั้น ผมเชื่อว่า ท่านผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น คงจะเข้าใจความหมายของหะดีษทั้ง 2 บทนี้ดีแล้ว, และคิดว่า ท่านคงจะต้องรู้ตัวดีว่า ตนเองควรจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อสวัสดิภาพของตนเองทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ .....


บิดอะห์ (ตอนที่6) ตัวอย่างสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์



อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง

6.ตัวอย่างสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์ตามกฎเกณฑ์ข้างต้น.
นักวิชาการ ได้ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ตามกฎเกณฑ์ข้างต้นไว้มากมาย, แต่ผมจะขอนำเอาบางเรื่องที่เป็นปัญหาใกล้ตัวและพวกเราขัดแย้งกันมากที่สุดมานำเสนอ พร้อมกับจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในบางตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ ....
1. การจัดงานเมาลิด หรืองานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
หากเราจะใช้ “สามัญสำนึก” เป็นเครื่องตัดสิน แน่ละ, มุสลิมที่มีอีหม่านทุกคน คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า การจัดพิธีกรรมเมาลิด หรือการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา ... อันเป็นเรื่องของการเลี้ยงอาหาร, การอ่านอัล-กุรฺอ่าน, ฯลฯ ... เป็นเรื่องที่ดี ....
ก็คงเหมือนกับ, หากเราใช้สามัญสำนึกเป็นเครื่องตัดสิน ... การอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด ก็เป็นเรื่องที่ดี, ... การอ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆนำหน้ามัยยิตไปฝัง ก็เป็นเรื่องที่ดี ... ฯลฯ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นแหละ ....
แต่มุมมองตามบรรทัดฐานของบทบัญญัติ ย่อมแตกต่างกับมุมมองเพียงผิวเผิน ตามสามัญสำนึกของปุถุชน ... คือ ต้องพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วนในหลายแง่มุม ..
ที่สำคัญและน่าสังเกตอย่างยิ่งก็คือ พิธีกรรมดังกล่าวนี้ ไม่เคยปรากฏ, ไม่ว่าในยุคสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่, ในสมัยของเศาะหาบะฮ์, ในสมัยของตาบิอีน, ในสมัยของอิหม่ามทั้ง 4 ท่าน, หรือในสามศตวรรษแรกที่ได้ชื่อว่า เป็นยุคที่ดีที่สุดของอิสลาม ดังคำรับรองของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .......
ตรงกันข้าม, ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรมเมาลิด ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอียิปต์, ประมาณปี ฮ.ศ. 362 โดยสุลฎอนอัล-มุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ แห่งวงศ์ฟาฏิมีย์ (เป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์, ครองอำนาจระหว่างปี ฮ.ศ. 341 – 365) ....
โดยนัยนี้ พิธิกรรมเมาลิด จึงเป็นเรื่อง “บิดอะฮ์” โดยไม่มีข้อขัดแย้ง, หรืออีกนัยหนึ่ง โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ....
จุดขัดแย้ง มาอยู่ในประเด็นที่ว่า มันเป็นเรื่อง “บิดอะฮ์ดี” หรือ “บิดอะฮ์ไม่ดี”
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอยู่, ... แน่ละ พวกเขาย่อมจะต้องมองว่า การจัดงานเมาลิด เป็น “บิดอะฮ์ดี” -- อันเป็นมุมมอง “ในแง่ภาษา” ของคำว่า บิดอะฮ์ ที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว -- ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการบางท่าน ....
แต่ถ้าพิจารณากันตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้างต้น, การทำพิธีเมาลิดหรือจัดงานฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านนบีย์ฯ เป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” ตามบทบัญญัติศาสนาแน่นอน ....
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ เราจะใช้ “สามัญสำนึก” ของปุถุชน หรือจะอาศัย “กฎเกณฑ์ของวิชาการ” .. อันเป็นหลักสากลของศาสนาอิสลาม มาเป็นเครื่องตัดสิน ? ....
หากเรายอมรับว่า จะต้องใช้กฎเกณฑ์ของวิชาการศาสนาตัดสิน เราก็ต้องพิจารณาดูว่า พิธีกรรมเมาลิดหรืองานฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านศาสดานี้ ในสมัยก่อน -- ไม่ต้องมองย้อนไปถึงยุคของท่านศาสดาหรอก, เอาแค่ยุคของเศาะหาบะฮ์และยุคหลังจากนั้นจนถึงยุคของอิหม่ามทั้ง 4 ก็พอ -- มีประเด็นส่งเสริมให้ปฏิบัติหรือไม่ ? .. ถ้ามีประเด็นส่งเสริมแล้ว แต่พวกท่านเหล่านั้นไม่ได้จัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาดูต่อไปว่า พวกท่านมีอุปสรรคอะไร ? .....
และถ้าพวกท่านไม่ยอมจัดพิธีกรรมเมาลิด ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม และไม่มีอุปสรรคอันใด ก็แสดงว่า การมาจัดพิธีกรรมนี้ในยุคหลังๆ ถือว่า เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามที่น่ารังเกียจ ! ... ตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้างต้นนั้น ......
จากข้อแรก, ... พิธีกรรมเมาลิด มีประเด็นส่งเสริมให้ประชาชนในยุคแรก จัดกันหรือไม่ ? ....
คำตอบก็คือ ประเด็นส่งเสริม มีแน่นอน, ... นั่นคือ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรัก, ความเทิดทูน ที่มีต่อท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ....
ข้อที่สอง, ... เมื่อมีประเด็นส่งเสริม -- คือ ความรักและเทิดทูนท่านนบีย์ฯ มาก จนเป็นเหตุให้มีการจัดพิธีกรรมฉลองวันเกิดของท่านขึ้นมา -- ก็แล้วทำไมบรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชาติมุสลิมในยุคก่อนปี ฮ.ศ. 362 จึงไม่ยอมจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯ เหมือนที่พวกเราจัดกัน ? ... พวกท่านมีอุปสรรคอะไร ? ...
นี่คือ สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุกันต่อไป ....
สาเหตุหรืออุปสรรคที่ขัดขวางพวกท่านจากการจัดงานฉลองวันเกิดท่านนบีย์ฯ อาจมีได้ดังต่อไปนี้ ....
เพราะพวกท่านไม่รักท่านนบีย์เลยฯ, หรือรักท่านนบีย์น้อยกว่าพวกเรา ? ...
เพราะพวกท่านมีภารกิจมาก, จนไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดจัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯ ? ...
เพราะพวกท่านขี้เกียจจัดงานเมาลิด ? ...
เพราะพวกท่านจำวันเกิดท่านนบีย์ฯไม่ได้ ? ...
เพราะพวกท่านไม่ต้องการเผยแพร่เกียรติคุณของท่านนบีย์ให้โลกได้รับรู้ ? ... ฯลฯ ..
คำตอบของปัญหาทั้งหมดนั้น คิดว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะให้คำตอบตรงกันว่า .. ไม่ใช่, และเป็นไปไม่ได้ ....
ในเมื่อคำตอบคือคำว่า ไม่ใช่, .. และในเมื่อบรรพชนผู้มีชีวิตอยู่ในยุคที่ดีเลิศดังคำรับรองของท่านศาสดาเหล่านั้น ไม่เคยจัดงานเมาลิด -- ทั้งที่ประเด็นส่งเสริมก็มีแล้ว และพวกท่านไม่มีอุปสรรคอะไร -- จึงย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่า งานเมาลิดที่มีการจัดกันแพร่หลายในบางท้องที่หรือในบางประเทศปัจจุบันนี้ .. เป็นเรื่อง “บิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ” ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ), และตามกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม
แต่ถ้าจะให้คาดเดากัน (พูดให้เพราะก็ต้องใช้คำว่า สันนิษฐาน) ตามมุมมองของผม .. สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชนในยุคแรก ไม่ได้จัดพิธีกรรมเมาลิดเพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ ....
1. เพราะพวกท่านมองว่า การจัดงานเมาลิดหรืองานฉลองวันเกิดท่านศาสดา เป็นการเลียนแบบการจัดงานวันคริสต์มาสของชาวคริสต์ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองวันเกิดของท่านนบีย์อีซา (พระเยซู) ....
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวว่า ..
( مَنْ تَشَبَّـهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْـهُمْ )
“ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากชนกลุ่มนั้น”
(บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, 92, ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.) ....


วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บิดอะห์ (ตอนที่ 5.2)



อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง


อธิบาย. 

สาเหตุที่ 1. เพราะท่านมีอุปสรรคจนไม่สามารถปฏิบัติสิ่งที่ดีเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น ...
1.1 การที่ท่านอบู บักรฺ ร.ฎ. ได้สั่งให้ท่านซัยด์ บิน ษาบิต ร.ฎ. ทำการสืบเสาะและรวบรวมอัล-กุรฺอ่าน เข้าเป็นเล่มเดียวกันทั้งหมด ....
การรวบรวมอัล-กุรฺอ่าน เข้าเป็นเล่มนี้ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับประชาชาติอิสลาม, แต่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จำเป็นต้องละไว้ เพราะท่านมีอุปสรรค..... 
อุปสรรคของท่านก็คือ การยังไม่สิ้นสุดการประทานอัล-วะห์ยุ (อัล-กุรฺอ่าน) ลงมา..ตราบใดที่ท่านยังมีชีวิต ....
และเมื่อการประทานอัล-กุรฺอ่านยังไม่สิ้นสุด ท่านศาสดาจึงยังไม่สามารถรวมมันเป็นเล่มโดยสมบูรณ์ได้ ... 
จะอย่างไรก็ตาม ท่านศาสดา ก็ได้สั่งให้อาลักษณ์ของท่านหลายคน ทำการบันทึกอัล-กุรฺอ่านไว้ทุกครั้งที่ อัล-วะห์ยุ ถูกประทานลงมา, และหลายคนก็ได้อาศัยการท่องจำ ... แล้วจากบันทึก และจากความทรงจำของบรรดาเศาะหาบะฮ์เหล่านี้ ท่านซัยด์ บิน ษาบิต ร.ฎ. จึงได้ทำการรวบรวมอัล-กุรฺอ่านจนครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ตามคำสั่งของท่านอบู บักรฺ ร.ฎ. .. หลังจากที่ท่านศาสดาได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ....
การรวบรวมอัล-กุรฺอ่านดังกล่าวของท่านซัยด์ บิน ษาบิต ร.ฎ. จึงมิใช่เป็นเรื่องบิดอะฮ์ ตามบทบัญญัติ แต่กลับเป็นการป้องกันรักษาอัล-กุรฺอ่านไว้จากการสูญหาย ซึ่งเป็นเรื่องวาญิบ (จำเป็น) ตามหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนา .. เหมือนการสร้างโรงเรียนสอนศาสนา ที่อธิบายผ่านมาแล้ว ...
1.2 การที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้สั่งให้ท่านอุบัย์ บิน กะอฺบ์ (กะอับ) และท่านตะมีม อัด-ดารีย์ นำประชาชนนมาซตะรอเวี๊ยะห์ในลักษณะญะมาอะฮ์เดียว .....
การนมาซญะมาอะฮ์ในนมาซตะรอเวี๊ยะห์ เป็นเรื่องดี, แต่สาเหตุที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จำเป็นต้องละและปล่อยวางไว้ ก็เพราะท่านมีอุปสรรค ..... 
อุปสรรคของท่าน ก็คือ เกรงว่า การนมาซญะมาอะฮ์ในนมาซตะรอเวี๊ยะห์เป็นประจำ จะกลายเป็นข้อบังคับ ( ฟัรฺฎ) แล้วจะเป็นความยากลำบากสำหรับอุมมะฮ์ (ประชาชาติ) ของท่านภายหลัง .... 
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้แจ้งแก่บรรดาเศาะหาบะฮ์ ที่มารอนมาซญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์พร้อมกับท่านในคืนหนึ่ง ของเดือนรอมะฎอน -- แต่ท่านก็มิได้ออกมานำนมาซญะมาอะฮ์พวกเขา -- โดยท่านได้บอกพวกเขาหลังจากนมาซซุบห์เสร็จว่า ...
( أَمَّابَعْدُ : فَإِنَّـهُ لَمْ يَخْفَ عَلَيَّ شَأْنُكُمْ اللَّيْلَةَ، وَلَكِنِّيْ خَشِيْتُ أَنْ تُفْرَضَ عَلَيْكُمْ صَلاَةُ اللَّيْلِ، فَتَعْجِزُوْا عَنْهَـا )
“แท้จริง พฤติการณ์ของพวกท่านเมื่อคืน (ที่มารวมตัวกันมากมายเพื่อต้องการนมาซญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์) มิได้เป็นความลับสำหรับฉันหรอก, ทว่า (ที่ฉันมิได้ออกมานำนมาซพวกท่าน เพราะ) ฉันกลัวว่า การนมาซยามค่ำคืน (ในลักษณะญะมาอะฮ์) จะกลายเป็นข้อบังคับ (ฟัรฺฎู) ต่อพวกท่าน แล้วพวกท่านจะรับไม่ไหว” ..... 
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 2012, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 178/761 และผู้บันทึกท่านอื่นๆ, สำนวนในที่นี้ เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านมุสลิม) .... 
ความจริง การนมาซตะรอเวี๊ยะห์ในลักษณะญะมาอะฮ์ ก่อนหน้านั้น ท่านศาสดาก็ได้เคยนำเศาะหาบะฮ์ในสมัยของท่าน นมาซญะมาอะฮ์มาแล้วถึง 3 คืนด้วยกัน แต่ท่านมีความจำเป็นที่ต้องระงับมันไว้ ดังเหตุผลที่ท่านได้แจ้งให้ทราบแล้วข้างต้น .. คือ กลัวว่า มันจะกลายเป็นฟัรฺฎู ....
ดังนั้น การนมาซตะรอเวี๊ยะห์ในลักษณะญะมาอะฮ์ แท้ที่จริง จึงมิใช่เป็น “บิดอะฮ์” .. ไม่ว่าจะมองในแง่ภาษาหรือในแง่ของบทบัญญัติ, .. 
แต่ว่ามันคือ “ซุนนะฮ์” ที่ถูกปล่อยวางไว้ .. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ....
และเมื่อท่านศาสดาสิ้นชีวิตลงไปแล้ว ความหวั่นกลัวที่ว่า มันจะกลายเป็นฟัรูฎู ก็หมดสิ้นไปด้วย เพราะจะไม่มีฟัรฺฎูใดๆเกิดขึ้นมาอีกหลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน ..
ด้วยเหตุนี้ ท่านอุมัรฺ ร.ฎ. จึงได้ทำการ “รื้อฟื้น” ซุนนะฮ์นี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และคำว่า “รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หลังจากถูกละทิ้งไป” นี้ ก็เป็นความหมายในเชิง “อุปมัยศิลป์ : مَجَازِيٌّ” ของคำว่า “บิดอะฮ์” ......
ดังนั้น คำพูดของท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ที่ว่า نِعْمَتِ الْبِدْعَـةُ هَـذِهِ ที่แปลกันว่า “บิดอะฮ์ที่ดี คือสิ่งนี้” จึงมิได้หมายความว่า ท่านเป็น “ผู้ริเริ่มการนมาซญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์ขึ้นมาเป็นคนแรก” ตามที่หลายคน ได้อ้างคำพูดนี้เป็นหลักฐานเรื่องบิดอะฮ์ดี, แต่ความหมายก็คือ ... “ ท่านเป็นคนแรกที่รื้อฟื้นสิ่งดีนี้ (ซุนนะฮ์การญะมาอะฮ์ในนมาซตะรอเวี๊ยะห์) ขึ้นมาใหม่หลังจากถูกละทิ้งไปชั่วคราว” ...
สรุปแล้ว การกระทำของท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ที่ได้ทำการรื้อฟื้นการนมาซญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์ขึ้นมาอีกครั้ง จึงมิใช่เป็นเรื่อง “บิดอะฮ์” ที่หมายถึงการอุตริกรรมสิ่งที่ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนแต่ประการใด, .. และคำพูดของท่านที่ว่า “บิดอะฮ์ที่ดี คือสิ่งนี้” ก็มิใช่เป็นหลักฐานที่ใครๆ จะนำไปอ้าง เพื่อ “อุตริ” สิ่งใดที่ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนจากซุนนะฮ์ เพื่อปฏิบัติ แล้วทึกทักเอาว่า เป็น “บิดอะฮ์ดี” ดังคำพูดของท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. .. 
สาเหตุที่ 2. เพราะไม่มีประเด็นส่งเสริมให้ท่านกระทำสิ่งนั้น ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ... 
ตัวอย่างเช่น การเพิ่มอะซานครั้งแรกในวันศุกร์ ตามอาคารสูงในตลาดของท่านเคาะลีฟะฮ์อุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ. เพราะมีประเด็นและเหตุผลใหม่ ซึ่งไม่มีในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ......
นั่นคือ การมีจำนวนประชากร เพิ่มมากขึ้นกว่าในสมัยของท่านศาสดา ....
ท่านอุษมาน ร.ฎ. เกรงว่า การอะซานเพียงครั้งเดียวเมื่อเคาะฏีบขึ้นนั่งบนมิมบัรฺดังที่ปฏิบัติกันในสมัยท่านศาสดา จะทำให้ประชาชนที่มีจำนวนมาก และอยู่ห่างไกลออกไปมาก มานมาซวันศุกร์ไม่ทัน ท่านจึงกำหนดให้มีการอะซานขึ้นหนึ่งครั้งตามอาคารสูงในตลาด ก่อนการอะซานเดิม ... 
ท่านซาอิบ บิน ยะซีด (เป็นเศาะหาบะฮ์ผู้เยาว์, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 91 และเป็นเศาะหาบะฮ์ท่านสุดท้ายที่เสียชีวิตที่นครมะดีนะฮ์) ได้กล่าวว่า ....
كَانَ النِّدَاءُ يَوْمَ الْجُمْعَةِ أَوَّلُـهُ إذَا جَلَسَ اْلإمَامُ عَلَى الْمِنْبَرِ عَلَى عَهْدِ رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَبِيْ بَكْرٍ وَعُمَرَ رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُمَا [ عَلَى بَابِ الْمَسْجِدِ ] فَلَمَّا كَانَ عُثْمَانُ رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُ – وَكَثُرَالنَّاسُ – [ وَتَبَاعَدَتِ الْمَنَازِلُ ] زَادَ النِّدَاءَ الثَّالِثَ عَلَى الزَّوْرَاءِ 
“การอะซานในวันศุกร์, เริ่มแรกนั้น จะมีขึ้นเมื่ออิหม่ามขึ้นนั่งบนมิมบัรฺ ในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ท่านอบูบักรฺ, และท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ] ที่ประตูมัสญิด [ .. ต่อมา เมื่อท่านอุษมาน ร.ฎ. (ได้เป็นเคาะลีฟะฮ์) – และจำนวนประชากรเพิ่มทวีมากขึ้น -- ] และอาคารบ้านเรือนก็ขยายห่างไกลออกไป [ ท่านจึงได้เพิ่มการอะซานเป็นครั้งที่ 3 บนอาคารสูง (ในตลาด) ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 912, 913, 915, 916, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 1087, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1391, ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 1 หน้า 173, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 516, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 449, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 1135, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 192, 205 ) .....
คำว่า “เพิ่มการอะซานเป็นครั้งที่ 3” หมายถึงในสมัยของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และเคาะลีฟะฮ์อีก 2 ท่านก่อนหน้านั้น จะมีการอะซานหนึ่งครั้งเมื่อเคาะฏีบขึ้นนั่งบนมิมบัรฺในวันศุกร์ และจะมีการอิกอมะฮ์ เมื่อจะนมาซ, ซึ่งการอะซานและการอิกอมะฮ์นี้ บางครั้งจะเรียกรวมกันว่า 2 อะซาน ... ดังนั้น เมื่อท่านอุษมาน ร.ฎ. ได้เพิ่มการอะซานครั้งแรกขึ้นมาอีกหนึ่งครั้ง จึงกลายเป็น 3 อะซานดังกล่าว ....
จะอย่างไรก็ตาม การเพิ่มอะซานครั้งแรกในวันศุกร์ของท่านเคาะลีฟะฮ์อุษมาน ร.ฎ.นี้ แม้ตามบทบัญญัติจะไม่เรียกว่า เป็นบิดอะฮ์, แต่ในทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเลียนแบบท่าน ก็ต้องคำนึงถึงเหตุผลในการเพิ่มอะซานครั้งนี้ของท่านด้วย .. นั่นคือ ประชาชนในท้องที่ มีปริมาณมาก, และอาคารบ้านเรือนก็ห่างไกลกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นท้องที่ ที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก ....
ดังนั้น การที่บางท้องที่มีการอะซานในวันศุกร์ 2 ครั้งเพื่อเลียนแบบท่านเคาะลีฟะฮ์อุษมาน ร.ฎ. ทั้งๆที่ประชาชนที่มานมาซวันศุกร์มีจำนวนเพียงเล็กน้อย และเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง .....
ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อุมม์” ของท่าน เล่มที่1หน้า 173 มีข้อความว่า ..... 
وَقَدْ كَانَ عَطَاءُ يُنْكِرُ أَنْ يَكُوْنَ عُثْمَانُ أَحْدَثَـهُ، وَيَقُوْلُ أَحْدَثَـهُ مُعَاوِيَةُ وَاللَّـهُ أَعْلَمُ، وَأَيُّهُمَاكَانَ فَاْلأَمْرُالَّذِيْ عَلَى عَهْدِ رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَحَبُّ إلَـيَّ ... 
“ท่านอะฏออ์ ได้คัดค้านคำกล่าวที่ว่า ท่านอุษมาน เป็นผู้ริเริ่มการอะซานนี้ขึ้นมา โดยท่านกล่าวว่า ผู้ที่ริเริ่มมันขึ้นมา คือท่านมุอาวิยะฮ์ ... พระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น ที่ทรงล่วงรู้ยิ่ง, แต่ไม่ว่าจะเป็นท่านใดจาก 2 ท่านนั้น (ที่ริเริ่มมัน) การกระทำที่เคยปรากฏในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม (หมายถึงการอะซานเพียงครั้งเดียว) เป็นสิ่งที่ฉันชอบที่สุด” ...
นี่คือ “ความนิ่มนวล” ในด้านวาจาของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ที่ผู้เผยแผ่ซุนนะฮ์ทุกท่าน พึงจดจำไว้เป็นแบบอย่าง, .. ท่านรักษามารยาทด้วยการไม่กล่าวตำหนิตรงๆต่อการกระทำของผู้ที่เพิ่มการอะซานครั้งแรกในวันศุกร์ ( ซึ่งในมุมมองของท่าน อาจจะมองว่า มัน “ก้ำกึ่งและคาบลูกคาบดอก” ในระหว่างการเป็นบิดอะฮ์หรือมิใช่บิดอะฮ์) ... แต่ท่านกลับกล่าวในลักษณะว่า การอะซานเพียงครั้งเดียว (อันเป็นซุนนะฮ์) ที่มีการปฏิบัติกันในสมัยท่านของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในทัศนะของท่าน .... 
เพราะฉะนั้น จากคำอธิบายและจากตัวอย่างที่ผ่านมาทำให้พอจะประมวลได้ว่า สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดาได้ละเอาไว้ .. โดยไม่มีสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 สาเหตุข้างต้น .. แสดงว่า “การกระทำ” สิ่งนั้นในภายหลัง เป็นบิดอะฮ์, และ “การไม่กระทำ” สิ่งนั้น คือ “ซุนนะฮ์” .. (เรียกตามศัพท์วิชาการว่า เป็น سُنَّـةٌ تَرْكِيَّـةٌ ) คือ “ซุนนะฮ์ในการละทิ้งตามท่าน” .....
ท่านอิหม่ามอัช-เชาว์กานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อิรฺชาด อัล-ฟุหูล” อันเป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของนิติศาสตร์อิสลาม ( اُصُوْلُ الْفِقْهِ ) ว่า ....
تَرْكُهُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِلشَّـْئِ كَفِْعلِهِ لَـهُ فِى التَّأَسِّىْ بِهِ فِيْهِ، قَالَ ابْنُ السَّمْعَانِ : إذَا تَرَكَ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ شَيْأً وَجَبَ عَلَيْنَا مُتَابَعَتُهُ فِيْهِ ......
“การละทิ้งสิ่งใดของท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็เหมือนกับการกระทำของท่านต่อสิ่งนั้น ในแง่ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม, .. ท่านอิบนุ อัซ-ซัมอาน ได้กล่าวว่า : เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละทิ้งสิ่งใด “วาญิบ” ต่อพวกเรา จะต้องปฏิบัติตามท่านใน (การละทิ้ง) สิ่งนั้นด้วย .....” 
ดังนั้น ความเข้าใจของคนทั่วๆไปที่ว่า ไม่ว่าสิ่งที่ท่านศาสดาเจตนาละทิ้งหรือเจตนากระทำ ย่อมมีน้ำหนักเพียงด้านเดียวเท่านั้นสำหรับเรา คือ ... “ท่านทำ เราทำตามก็เป็นสิ่งดี (ทำตามซุนนะฮ์), ท่านทิ้ง แต่เราทำ ก็เป็นสิ่งดี (ทำบิดอะฮ์ดี)”... จึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดและขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ข้อนี้ ...... 
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺฯ” หน้า 34 - 35 ว่า وَأَمَّامَاتَرَكَهُ الرَّسُوْلُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَاعْلَمْ أَنَّ سُنَّةَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَمَا تَكُوْنُ بِالْفِعْلِ تَكُوْنُ بِالتَّرْكِ، فَكَمَا كَلَّفَنَااللَّـهُ تَعَالَى بِإتِّبَاعِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِْي فِعْلِهِ الَّذِيْ يَتَقَرَّبُ بِهِ إذَا لَمْ يَكُنْ مِنْ بَابِ الْخُصُوْصِيَّاتِ كَذَلِكَ طَالَبَنَا بِإتِّبَاعِهِ فِيْ تَرْكِهِ، فَيَكُوْنُ التَّرْكُ سُنَّةً، وَكَمَا لاَ نَتَقَرَّبُ إلَى اللَّـهِ تَعَالَى بِتَرْكِ مَافَعَلَ لاَ نَتَقَرَّبُ إلَيْهِ بِفِعْلِ مَاتَرَكَ، فَلاَ فَرْقَ بَيْنَ الْفَاعِلِ لِمَا تَرَكَ وَالتَّارِكِ لِمَا فَعَلَ ... 
“อนึ่งสิ่งใดที่ท่านรอซู้ลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ละทิ้งไว้ก็พึงรู้เถิดว่า แท้จริง ซุนนะฮ์ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม นั้น มีทั้งที่ต้องปฏิบัติตาม และต้องละทิ้งตาม, ... การที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงกำหนดให้พวกเรา ปฏิบัติตามท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ในการกระทำที่ท่านปฏิบัติเพื่อความใกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮ์ อันมิใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่านฉันใด พระองค์อัลลอฮ์ก็ทรงต้องการให้เราปฏิบัติตามท่านศาสดาในการละทิ้ง (ไม่กระทำ ) ของท่านฉันนั้น, .. ดังนั้น การละทิ้ง (สิ่งใดที่ท่านศาสดาไม่ปฏิบัติ) จึงเป็นซุนนะฮ์, ..ก็เสมือนอย่างการที่เราไม่สามารถทำตัวให้ใกล้ชิดพระองค์อัลลอฮ์ด้วยการละทิ้งสิ่งที่ท่านศาสดาปฏิบัติฉันใดในทำนองเดียวกัน เราก็ไม่สามารถทำตัวให้ใกล้ชิดพระองค์อัลลอฮ์ ด้วยการปฏิบัติสิ่งที่ท่านศาสดาได้ละทิ้งฉันนั้น, ดังนั้น จึงไม่มีข้อแตกต่างอันใดในระหว่างผู้ปฏิบัติในสิ่งที่ท่านศาสดาละทิ้ง กับผู้ละทิ้งในสิ่งที่ท่านศาสดาปฏิบัติ ..........”
ท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศ ยังได้กล่าวในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 38 อีกว่า ...
فَإنَّ تَرْكَهُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سُنَّةٌ كَمَا أَنَّ فِعْلَهُ سُنَّةٌ، فَإذَا اسْتَحْبَبْنَافِعْلَ مَاتَرَكَ كَانَ نَظِيْرَاسْتِحْبَابِنَا تَرْكَ مَا فَعَلَ وَلاَ فَرْقَ .......
“แน่นอน, การละทิ้ง (ไม่กระทำ ) ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม คือซุนนะฮ์, เหมือนอย่างการกระทำของท่าน ก็คือซุนนะฮ์ ! ... เมื่อเราถือว่า การกระทำในสิ่งที่ท่านละทิ้ง เป็นเรื่องที่ชอบ ก็อุปมาเหมือนอย่างเราถือว่า การละทิ้งสิ่งที่ท่านกระทำ ก็เป็นเรื่องที่ชอบเช่นเดียวกัน ... ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย .......”
นี่คือ ที่มาของความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หน้าที่ 9 .. ซึ่งถือว่า เป็นการให้ความหมายตามกฎเกณฑ์ของวิชา อุศูลุลฟิกฮ์ ที่สำคัญที่สุดในการกำหนดว่า สิ่งใด “เป็นบิดอะฮ์หรือไม่ใช่บิดอะฮ์ ?” ......
ความจริง ในแผนภูมิเรื่องบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติทั้งหมด 4 ประการที่ได้นำเสนอไว้นั้น, ยกเว้นข้อที่ 3 คือ การอุตริในสิ่งที่เป็นข้อห้ามตามบทบัญญัติ และข้อที่ 4 คือ การอุตริในเรื่องของอะกีดะฮ์ (หลักศรัทธา) แล้ว อีก 2 ข้อที่เหลือ ก็ต้องอาศัย “บรรทัดฐาน” ของกฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลฯ ข้อนี้ มาเป็นตัวกำหนดอีกทีหนึ่งทั้งสิ้น ...


บิดอะห์ (ตอนที่ 5) บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ



อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เรียบเรียง

5. บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ )
ดังที่ได้อธิบายในแผนภูมิบิดอะฮ์ หน้า 9 มาแล้วว่า ความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติของศาสนา หมายถึง การกระทำสิ่งซึ่งท่านศาสดาละทิ้ง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้ทำ, และไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำสิ่งนั้น ....
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ถูกส่งมาเผยแพร่ศาสนา มิใช่ให้มาสอนภาษา, เพราะฉะนั้นคำว่า “บิดอะฮ์” ที่ท่านกล่าว... จึงหมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติศาสนา, มิใช่บิดอะฮ์ตามกลักภาษา ... ซึ่งถูกรายงานมาหลายสำนวนดังต่อไปนี้ ....
สำนวนที่ 1
( إيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلاُمُوْرِ، فَإنَّـهَا ضَلاَلَـةٌ )
“พวกท่าน พึงระวังจากสิ่งทั้งหลายที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่, เพราะว่า มันคือความหลงผิด” ...
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2676 โดยรายงานมาจากท่านอัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ.) ......
สำนวนที่ 2
( وَشَرُّاْلاُمُوْرِ مُحْدَثَاتُـهَا )
“และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลาย ก็คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่ .....”
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 7277, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 43/867, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 206, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 45, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 319, 371, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ.) .......
สำนวนที่ 3
(كُلُّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَـةٌ) ......
“และทุกๆสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ (อุตริ) ขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์” ......
(บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 371 ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214, โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ...
ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4607, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 126, 127, และท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 95 โดยรายงานมาจากท่าน อัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ. ....
และท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 46 โดยรายงานมาจากท่าน อิบนุ มัสอูด ร.ฎ. )
สำนวนที่ 4
وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ
“และทุกๆบิดอะฮ์ คือ ความหลงผิด” .....
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 43/867, ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 319, 371, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 45, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 3 หน้า 214 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ...
ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4607, ท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 42, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 95, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 126, 127 โดยรายงานมาจากท่าน อัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ.) ......
สำนวนที่ 5
( وَكُلُّ ضَلاَلَـةٍ فِي النَّارِ)
“และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก” .....
(บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์ หะดีษที่ 1577, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต” ดังการอ้างอิงของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 3 หน้า 73 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) .......
จะเห็นได้ว่า หะดีษเกี่ยวกับบิดอะฮ์นี้ ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าว และได้ถูกบันทึกไว้ในหลายๆวาระ, จากเศาะหาบะฮ์หลายท่าน, แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นการบันทึกมาจากการรายงานของท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ และท่านอัล-อิรฺบาฎ บิน ซาริยะฮ์ ร.ฎ. .....
แต่ที่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือ หะดีษซึ่งรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. อันมีข้อความดังต่อไปนี้ ....
( مَنْ يَهْدِهِ اللَّـهُ فَلاَ مُضِلَّ لَـهُ، وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَـادِيَ لَـهُ، إنَّ أَصْدَقَ الْحَدِيْثِ كِتَابُ اللَّـهِ، وَأَحْسَنَ الْـهَدْيِ هَـدْيُ مُحَمَّدٍ، وَشَرَّاْلاُمُوْرِ مُحْدَثَاتُـهَا وَكُلَّ مًحَدَثَـةٍ بِدْعَـةٌ، وَكُلَّّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ، وَكُلَّ ضَلاَلَـةٍ فِي النَّارِ .........)
“ผู้ใดที่พระองค์อัลลอฮ์ให้ทางนำแก่เขา ก็ไม่มีใครจะทำให้เขาหลงได้ และผู้ใดที่พระองค์ทำให้เขาหลง ก็ไม่มีใครนำทางแก่เขาได้, แน่นอน วาจาที่เป็นสัจจะที่สุด ก็คือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ ทางนำที่ดีเลิศที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด, ที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลาย คือบรรดาสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่, และทุกอย่างที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์ ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก ....”
( บันทึกโดย ท่านอัน-นซาอีย์, หะดีษที่ 1577 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
หะดีษบทนี้ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดในด้านความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และโทษทัณฑ์ของผู้ที่ทำสิ่งบิดอะฮ์ ชนิดที่แทบจะไม่ต้องให้คำอธิบายอะไรอีก ......
คำว่า “สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่” มิได้มีความหมายถึงกิจการทางโลกที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ เช่น อาชีพที่สุจริตทุกชนิด ฯลฯ, แต่หมายถึงการกระทำสิ่งใดที่ “เพิ่มเติมเข้ามาในเรื่องของศาสนา”, .... ดังได้รับการขยายความจากหะดีษซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .......
( مَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَـاهَـذَا مَالَيْسَ مِنْـهُ فَهُوَرَدٌّ )
“ผู้ใด ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ..ในกิจการ (ศาสนา) นี้ของเรา ในสิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน(ศาสนา) สิ่งนั้นจะต้องถูกตีกลับ (ไม่ถูกรับรอง)” ........
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 2697, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 17/1718, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4606, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 370, และท่านอิบนุ มาญะฮ์ หะดีษที่ 14) ....... .
คำว่า “ในสิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน” นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงสิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ โดยไม่ได้มีที่มาจาก “หลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับไว้” ... (ดังที่ผมได้กำหนดไว้เป็นข้อที่ 1 จากแผนภูมิเรื่องบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หน้า 9 ) ...
หมายความว่า ถ้าสิ่งที่ถูกปฏิบัติขึ้นมาใหม่ในสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างในยุคของท่านศาสดา แต่มีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับ ก็จะไม่เรียกสิ่งนั้นว่า เป็นบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) ....
ตัวอย่างเช่น การสร้างโรงเรียนสอนศาสนาในระบบปัจจุบัน หรือการสร้างโรงเรียนปอเนาะในยุคก่อนๆ ... สิ่งเหล่านี้ แม้จะไม่เคยปรากฏในยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่การปรากฏมีสิ่งเหล่านี้ในยุคปัจจุบัน ไม่เรียกว่า บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ เพราะมีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนามารองรับ, ... นั่นคือ เป็นสถานที่เพื่อการสั่งสอนวิชาการศาสนา และปกป้องศาสนาจากการสูญหาย ซึ่งการสั่งสอนวิชาการและปกป้องศาสนาจากการสูญหายนี้ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น (วาญิบ) ของอิสลาม อันเป็นมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ....
อีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ ที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ...
( مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْـهِ أَمْرُنَـا فَهُوَ رَدٌّ )
“ผู้ใด กระทำสิ่งใด ที่ไม่มีในกิจการ (ศาสนา) ของเรา สิ่งนั้นจะต้องถูกตีกลับ (ไม่ถูกรับรอง)” ......
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่18/1718, ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4606, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 146, 180, 256, และท่านบุคอรีย์ ได้บันทึกหะดีษบทนี้ในลักษณะตะอฺลีก คือ ไม่ได้ระบุสายรายงาน ในกิตาบ อัล-เอี๊ยะอฺติซอม ( ألإعْتِصَامُ ) บาบที่ 20, และกิตาบ อัล-บุยูอฺ ( اَلْبُيُوْعُ) บาบที่ 60 ) .......
ที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ ขณะที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า การอุตริ “ทุกอย่าง” ในบทบัญญัติ เป็นเรื่องเลวร้าย, แต่ประชาชนบางคนกลับเข้าใจว่า การอุตริในบทบัญญัติ -- เกือบทุกอย่าง -- เป็นเรื่องดีที่ควรปฏิบัติ ....
อาจจะมีผู้สงสัยว่า หาก “ทุกๆการอุตริ” ในเรื่องบทบัญญัติของศาสนา เป็นเรื่องเลวร้ายและเป็นความหลงผิดทั้งหมด ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องลงนรก, .. ดังข้อความของหะดีษข้างต้นจริง ...
ก็แล้วการที่เคาะลีฟะฮ์หลายท่านของท่านศาสดา ได้กระทำในสิ่งที่ท่านศาสดาเองมิได้กระทำมาก่อน อันเป็นเรื่องของศาสนา ... อย่างเช่น การที่ท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้สั่งให้มีการรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ดี, การที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้สั่งให้ประชาชน นมาซตะรอเวี๊ยะห์รวมกัน (ญะมาอะฮ์) ก็ดี, (แถมท่านยังกล่าวด้วยว่า นี่คือ บิดอะฮ์ดี), หรือการที่ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ. ได้เพิ่มการอะซานครั้งแรกในการนมาซวันศุกร์ก็ดี, เราจะให้คำอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ? .....
ตัวอย่างเหล่านี้ มิได้หมายความว่า บรรดาเคาะลีฟะฮ์ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้กระทำบิดอะฮ์ในเรื่องบทบัญญัติศาสนาเสียเอง และพวกท่านจะต้องลงนรกกระนั้นหรือ ? ......
ผมขอเรียนชี้แจงและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ดังต่อไปนี้ ......
ข้อความของหะดีษที่กล่าวว่า “ทุกๆสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมา (ในบทบัญญัติศาสนา) เป็นบิดอะฮ์, ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด, และทุกๆความหลงผิด จะต้องอยู่ในนรก” เป็นเรื่องจริงที่ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น .....
ส่วนการกระทำของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้งสามท่าน ดังตัวอย่างข้างต้นนั้น แน่นอน !ตามข้อเท็จจริง .. สิ่งที่พวกท่านกระทำ มิใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักการศาสนา และมิใช่เป็นบิดอะฮ์ดีของศาสนา ดังที่บางคน -- แม้กระทั่งท่านอุมัรฺ ร.ฎ.เอง -- เข้าใจ .. และพวกท่าน จะไม่มีวันลงนรกด้วย ! .......
ที่ว่า พวกท่านจะไม่มีวันลงนรก ก็เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวยืนยันไว้เอง .. ทั้งในอัล-กุรฺอ่านและอัล-หะดีษ, หลายต่อหลายบทด้วยกัน ...
ในที่นี้ ผมขอนำเอาอัล-หะดีษบทหนึ่ง มาเป็นหลักฐานดังต่อไปนี้ ...
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
( لاَيَدْخُلُ النَّـارَأَحَدٌ مِمَّنْ بَـايَعَ تَحْتَ الشَّجَرَةِ )
“ไม่มีบุคคลใดจากผู้ที่ให้สัตยาบัน (ต่อฉัน) ..ใต้ต้นไม้ ( ณ ตำบลหุดัยบิยะฮ์) จะต้องลงนรก" ....
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 163/2496, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 3860, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 396, .. โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮ์ ร.ฎ. ... สำนวนในที่นี้ เป็นสำนวนของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ) ....
และอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ ก็คือ ....
( أًنَّ عَبْدًا لِحَاطِبٍ جَآءَ رَسُوْلَ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَشْكُوْ حَاطِبًا، فَقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللَّـهِ ! لَيَدْخُلَنَّ حَاطِبٌ النَّارَ. فَقَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : كَذَبْتَ لاَ يَدْخُلُـهَا ! فَإِنَّـهُ شَهِدَ بَدْرًا وَالْحُدَيْبِبيَـةَ )......
ทาสคนหนึ่งของท่านหาฏิบ (บิน อบีย์บัลตะอะฮ์ ร.ฎ., สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 30 ขณะอายุได้ 65 ปี ในสมัยของท่านเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎ.) ได้มาหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับ (พฤติการณ์บางอย่าง) ของท่านหาฎิบ แล้วกล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ! หาฏิบจะต้องลงนรกแน่นอน” ... ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า .. “ ไม่หรอก ! เขา (หาฏิบ) ไม่มีวันลงนรก เพราะเขาเคยร่วมทั้งในสงครามบะดัรฺ และ (ให้สัตยาบัน) ที่หุดัยบิยะฮ์”
( บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 162/2495, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 325, 349 จากท่านญาบิรฺ, จากท่าน อุมมุ มุบัชชิรฺ ร.ฎ. ) ........
เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รับรองว่า เศาะหาบะฮ์ของท่านที่เคยเข้าร่วมในสงครามบะดัรฺ, และเคยเข้าร่วมให้สัตยาบันใต้ต้นไม้ที่ตำบลหุดัยบิยะฮ์ จะไม่มีวันลงนรก คอลีฟะฮ์ทั้ง 3 ท่านนั้น ก็จัดอยู่ในกลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้ด้วยคือ เคยเข้าร่วมในสงครามหุดัยบิยะฮ์ทั้ง 3 ท่าน, ดังนั้น จึงไม่มีวันลงนรก .....
เมื่อพวกท่านไม่ลงนรก ก็แสดงว่า ตัวอย่างทั้ง 3 ประการข้างต้น ที่พวกท่านกระทำทั้งๆที่ไม่มีแบบอย่างมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงมิใช่เป็น “บิดอะฮ์” ตามบทบัญญัติ ......
ถ้ามิใช่เป็นบิดอะฮ์ แล้วจะเป็นอะไร ? ...
คำตอบก็คือ นักวิชาการจะเรียกการกระทำในลักษณะดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์เหล่านั้นว่า “มะศอลิห์ มุรฺซะละฮ์” ( اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَـلَةُ ) ...
มะศอลิห์มุรฺซะละฮ์หมายถึง “สิ่งดีๆที่ (ท่านศาสดา) ได้ละไว้ หรือปล่อยวางไว้”
สาเหตุที่ท่านศาสดา จำเป็นต้องละหรือปล่อยวางจากสิ่งดีๆเหล่านั้นไว้ นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจาก “เรื่องจริง” อันได้แก่พฤติกรรมดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้ง 3 ท่านและเศาะหาบะฮ์ท่านอื่นๆแล้ว พบว่า มีสาเหตุหลักมาจากข้อใดข้อหนึ่ง จาก 2 ประการดังต่อไปนี้ คือ .....
1. เพราะท่านมี “อุปสรรค” จนไม่สามารถปฏิบัติสิ่งดีๆเหล่านั้นได้ .. หรือ
2. ไม่มีประเด็นส่งเสริม (ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่) ให้ต้องกระทำสิ่งดีนั้น ..