อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประเด็นที่มีความขัดแย้งในวันอีด




ตอบโดย อ.ปราโมทย์  ศรีอุทัย

คำถาม

อัสลามูอาลัยกุม อาจารย์ ดิฉันอยากให้อาจารย์ช่วยวิเคราะห์ปัญหาปลีกย่อยของละหมาดวันอีดที่ปฏิบัติแตกต่างกัน เป็นของขวัญต้อนรับวันอีดด้วยนะค่ะ

คำตอบ

วะอลัยกุมุสสลาม .. 
ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าจะวิเคราะห์ในประเด็นไหน เพราะความขัดแย้งในเรื่องละหมาดอีดมีไม่มากนัก เท่าที่เห็นก็อย่างเช่น 
ข้อแรก วันเริ่มถือบวชและวันละหมาดอีดไม่ตรงกัน เรื่องนี้พูดกันยาก เมื่อเขามองว่าการถือบวชและออกอีดตามซาอุถูกต้องกว่าถือบวชและออกอีดตามจุฬาฯ ก็เป็นสิทธิ์ของเขา และผมก็เคยเขียนวิเคราะห์เรื่องนี้มาแล้วจึงไม่ขอพูดซ้ำอีก ..

 ขอสอง เรื่องสถานที่ละหมาดไม่ตรงกัน คือฝ่ายหนึ่งละหมาดกลางแจ้ง แต่อีกฝ่ายหนึ่งละหมาดในมัสยิด กรณีนี้ผมไม่เจอผู้ใดปฏิเสธเลยว่า การละหมาดอีดกลางแจ้งเป็นซุนนะฮ์ แต่ที่บางคนละหมาดอีดในมัสยิดเพราะปฏิบัติตามชาวมักกะฮ์ที่มองว่า ไม่มีที่ใดในโลกนี้จะประเสริฐยิ่งกว่ามัสยิดหะรอม บังเอิญเราลืมนึกไปว่ามัสยิดอื่นๆเช่นมัสยิดที่บ้านเรา มันไม่ประเสริฐเท่ามัสยิดหะรอม ยิ่งถ้าเราอ่านหนังสือ "อัล-อุมม์" ของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์อย่างวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า ท่านเองยอมรับเรื่องการละหมาดอีดกลางแจ้ง และ "ตีกัน" ทางอ้อมด้วยซ้ำไปเรื่องละหมาดอีดในมัสยิดที่ไม่จุชาวเมืองทั้งหมดได้

 ส่วนความขัดแย้งข้อที่สาม ก็คือ พอละหมาดอีดเสร็จ บางคนก็จะไปซิยาเราะฮ์กุโบรฺกัน กรณีนี้ผมไม่เคยเจอ ทั้งในหะดีษและในตำราฟิกฮ์เล่มใดจะกล่าวส่งเสริมเรื่องนี้ แต่ในมุมมองส่วนตัวของผม .. 

ถ้ามุสลิมคนใดเคยไปซิยาเราะฮ์กุโบร์บ่อยๆ เช่น 3-4 วันครั้ง แล้วบังเอิญวันที่เขาเคยไปซิยาเราะฮ์กุโบร์เกิดตรงกับวันอีด ก็คงจะตำหนิเขาไม่ได้ แต่ใครก็ตามที่ร้อยวันพันปีไม่เคยไปซิยาเราะฮ์กุโบร์เลย พอวันอีดก็อยากจะไปซิยาเราะฮ์ขึ้นมา อย่างนี้ผมมองว่าไม่เหมาะครับ ...






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น