ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
ขอได้โปรดอธิบายการทำบิดอะห์เป็นอย่างไรมีอะไรบ้างผมอยู่มีนบุรี. กทม มีอะไรมัสยิดทำบิดอะห์ ตอนจะกลับจากทำฮัจย์คนให้โอวาสว่าก่อนเข้าบ้านให้ละหมาดมัสยิดก่อนแต่อย่าเข้ามัสยิดที่ทำบิดอะห์ผมยังคิดอยู่จนปัจุบันนี้ สิ่งทีว่าเป็นบิดอะห์นี้สำนักจุฬาว่าอย่างไร. ปีนั้นผมไปทำฮัจย์ที่อาจารย์สังกัดอยู่ครับ
ขอได้โปรดอธิบายการทำบิดอะห์เป็นอย่างไรมีอะไรบ้างผมอยู่มีนบุรี. กทม มีอะไรมัสยิดทำบิดอะห์ ตอนจะกลับจากทำฮัจย์คนให้โอวาสว่าก่อนเข้าบ้านให้ละหมาดมัสยิดก่อนแต่อย่าเข้ามัสยิดที่ทำบิดอะห์ผมยังคิดอยู่จนปัจุบันนี้ สิ่งทีว่าเป็นบิดอะห์นี้สำนักจุฬาว่าอย่างไร. ปีนั้นผมไปทำฮัจย์ที่อาจารย์สังกัดอยู่ครับ
ตอบ
เรื่องบิดอะฮ์เป็นเรื่องละเอียด, อ่อนไหวต่อความรู้สึกผู้ฟังบางคน และเหมือนจะเป็นการตัดสินว่าผู้ที่ทำสิ่งที่ผู้พูดมองว่าเป็นบิดอะฮ์นั้นคือชาวนรก จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้จะหุก่มใครสักคนว่าทำบิดอะฮ์จะต้องรอบคอบและตระหนักให้มากในเรื่องนี้ เพราะเท่ากับท่านไปหุก่มว่าเขาเป็นชาวนรก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก ผมเอง หากจะพูดเรื่องบิดอะฮ์ก็จะเป็นการพูดอธิบายและวิเคราะห์ตามหลักวิชาการให้เห็นเท่านั้นว่า สิ่งใดที่นักวิชาการกล่าวว่าเป็นบิดอะฮ์ เขามีมุมมองอย่างไร, ตรงกับหลักเกณฑ์ของบิดอะฮ์ต้องห้ามข้อใด เป็นต้น แต่ผมไม่เคยไปหุก่มตัวบุคคลใดเป็นการเฉพาะแม้แต่ครั้งเดียวว่า เป็นชาวบิดอะฮ์ หรือทำบิดอะฮ์ .. ...
เรื่องบิดอะฮ์เป็นเรื่องละเอียด, อ่อนไหวต่อความรู้สึกผู้ฟังบางคน และเหมือนจะเป็นการตัดสินว่าผู้ที่ทำสิ่งที่ผู้พูดมองว่าเป็นบิดอะฮ์นั้นคือชาวนรก จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้จะหุก่มใครสักคนว่าทำบิดอะฮ์จะต้องรอบคอบและตระหนักให้มากในเรื่องนี้ เพราะเท่ากับท่านไปหุก่มว่าเขาเป็นชาวนรก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก ผมเอง หากจะพูดเรื่องบิดอะฮ์ก็จะเป็นการพูดอธิบายและวิเคราะห์ตามหลักวิชาการให้เห็นเท่านั้นว่า สิ่งใดที่นักวิชาการกล่าวว่าเป็นบิดอะฮ์ เขามีมุมมองอย่างไร, ตรงกับหลักเกณฑ์ของบิดอะฮ์ต้องห้ามข้อใด เป็นต้น แต่ผมไม่เคยไปหุก่มตัวบุคคลใดเป็นการเฉพาะแม้แต่ครั้งเดียวว่า เป็นชาวบิดอะฮ์ หรือทำบิดอะฮ์ .. ...
ส่วนคำกล่าวที่ว่า "อย่าเข้ามัสยิดที่ทำบิดอะฮ์" ผมมองว่าเป็นความเข้าใจผิดของผู้พูดมากกว่า เพราะมัสยิดทุกหลัง ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ ไม่มีมัสยิดหลังไหนในโลกนี้เป็นมัสยิดบิดอะฮ์ หากจะมีสิ่งบิดอะฮ์อยู่ในมัสยิดใดก็คงเป็นการกระทำของคนบางคนหรือหลายคนในมัสยิดนั้นมากกว่า ซึ่งหากเราจะไปโยนคำว่า "บิดอะฮ์" นั้นให้มัสยิดก็คงไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น มัสยิดทุกหลัง (ยกเว้นมัสยิดฎิร็อรฺที่ท่านนบีย์สั่งทำลายไปแล้ว) เราเข้าไปนมาซได้ทั้งนั้นแหละครับ และผู้ที่กลับจากการเดินทาง - ไม่ว่าเดินทางไปทำหัจญ์หรือเดินทางไปทำธุรกิจที่ใดก็ตาม - เมื่อมาถึงบ้าน ตามซุนนะฮ์ก็ให้เขาแวะเข้าไปนมาซ 2 ร็อกอะฮ์ในมัสยิดก่อนอื่น แล้วจึงเข้าบ้านทีหลังครับ ...
ถาม
ผมขออนุญาต ถามอาจารย์ต่อครับ..เป็นเรื่องคนกลับจากการทำฮัจย์ คนที่บ้านผม กลับจากทำฮัจย์แล้ว หลายๆคน จะแวะไปที่กูโบร์ก่อน ที่กูโบร์จะมีอาคารเอนกประสงค์ จะพักที่กูโบร์ก่อน ทำนองคล้ายๆ การเฝ้ากูโบร์หลังการฝังคนตาย...จะมีการทำกิน ที่กูโบร์ อ่านกุรอ่านประมาณ 3 วัน 3 คืน แล้วค่อยเข้าบ้าน.......เขาไปได้ทัศนะนี้ มาจากไหน ครับ
ผมขออนุญาต ถามอาจารย์ต่อครับ..เป็นเรื่องคนกลับจากการทำฮัจย์ คนที่บ้านผม กลับจากทำฮัจย์แล้ว หลายๆคน จะแวะไปที่กูโบร์ก่อน ที่กูโบร์จะมีอาคารเอนกประสงค์ จะพักที่กูโบร์ก่อน ทำนองคล้ายๆ การเฝ้ากูโบร์หลังการฝังคนตาย...จะมีการทำกิน ที่กูโบร์ อ่านกุรอ่านประมาณ 3 วัน 3 คืน แล้วค่อยเข้าบ้าน.......เขาไปได้ทัศนะนี้ มาจากไหน ครับ
ตอบ
ข้อนี้คุณ Charoon จะต้องถามคนที่ทำแล้วละครับว่าเขาเอาหลักปฏิบัติอย่างนี้มาจากหะดีษบทใหน ? ของนบีย์ท่านใด? หรือของสลัฟท่านใด ? .. แต่ผมมั่นใจเกินพันเปอร์เซ็นต์ว่า การกระทำดังที่คุณ Charoon กล่าวมานี้เป็นสิ่งไม่มีหลักฐานในอิสลาม, ไม่ใช่แบบอย่างของท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และ/หรือแบบอย่างของสลัฟท่านใดแน่นอน .. บอกแล้วว่าผมไม่ชอบใช้คำว่า "บิดอะฮ์" กับการกระทำของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ แม้ในความรู้สึกส่วนตัวจะมองว่า "ใช่" ก็ตาม แต่ในกรณีนี้ผมมองว่า นอกจากจะเป็นการกระทำที่ "สวนทาง" อย่างชัดเจนกับกับซุนนะฮ์ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ใช้ให้ผู้กลับจากการเดินทางไปนมาซมัสยิดก่อนอื่นแล้ว ยังไม่เห็นหนทางใดว่า การกระทำดังที่เล่ามานี้จะหลีกเลี่ยงจากความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์" ตามหลักวิชาการได้เลยครับ ...
ข้อนี้คุณ Charoon จะต้องถามคนที่ทำแล้วละครับว่าเขาเอาหลักปฏิบัติอย่างนี้มาจากหะดีษบทใหน ? ของนบีย์ท่านใด? หรือของสลัฟท่านใด ? .. แต่ผมมั่นใจเกินพันเปอร์เซ็นต์ว่า การกระทำดังที่คุณ Charoon กล่าวมานี้เป็นสิ่งไม่มีหลักฐานในอิสลาม, ไม่ใช่แบบอย่างของท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และ/หรือแบบอย่างของสลัฟท่านใดแน่นอน .. บอกแล้วว่าผมไม่ชอบใช้คำว่า "บิดอะฮ์" กับการกระทำของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ แม้ในความรู้สึกส่วนตัวจะมองว่า "ใช่" ก็ตาม แต่ในกรณีนี้ผมมองว่า นอกจากจะเป็นการกระทำที่ "สวนทาง" อย่างชัดเจนกับกับซุนนะฮ์ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ใช้ให้ผู้กลับจากการเดินทางไปนมาซมัสยิดก่อนอื่นแล้ว ยังไม่เห็นหนทางใดว่า การกระทำดังที่เล่ามานี้จะหลีกเลี่ยงจากความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์" ตามหลักวิชาการได้เลยครับ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น