ชี้แจงเรื่อง อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติได้
โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
(2). ชี้แจงเรื่อง อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติได้ ...
อ.อัชอะรีย์กล่าวว่า ...
“เหตุใดถึงต้องหุก่มบิดอะฮ์อุตริกรรมในศาสนา และต้องด่าทอผู้ที่มีทัศนะอ่านกุรฺอ่านที่กุบูรฺได้ ทั้งที่ปราชญ์สะละฟุสศอลิห์แห่งอุมมะฮ์อิสลามส่วนมากหรือมีมติ (อิจญมาอฺ) ผ่อนปรนการรายงานและปฏิบัติฮะดีษฎออีฟได้ .....”
ชี้แจง
2.1 ผมไม่ปฏิเสธว่า แม้ในทัศนะของผมจะมองว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์ .. ซึ่งความเชื่อนี้ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของผม ...
แต่ผมกล้ายืนยันว่า ตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้ายในการวิภาษข้อเขียน อ.กอเซ็มเล่มนั้น ไม่มีตอนใดเลยที่ผมจะด่าทอผู้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ หรือกล่าวหุก่มจากปากของตนเองว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ เป็นบิดอะฮ์! .. นอกจากการอ้างถึงคำพูดที่ว่า “การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์” นี้ว่า เป็นทัศนะของนักวิชาการบางท่าน อาทิเช่น ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล, หรือท่านอัล-อัลบานีย์เป็นต้น ...
ยิ่งไปกว่านั้น ขอเรียนว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่สนับสนุน,ไม่ส่งเสริม,.. แถมยังแอนตี้และไม่ชอบให้ผู้ใดนำคำว่า “บิดอะฮ์” มาใช้กล่าวหาผู้อื่นที่มีทัศนะแตกต่างกับตัวเองอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะผมถือว่าปัญหาขัดแย้งต่างๆก็ดี, เรื่องบิดอะฮ์บางเรื่องก็ดี เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นการ “มองต่างมุม” ของนักวิชาการทั้งอดีตและปัจจุบัน ...
หน้าที่ของพวกเรา(ตามทัศนะของผม) ก็คือ ต้องยึดมั่นในซุนนะฮ์ให้แน่นแฟ้น, รักษาเอกภาพของความเป็นพี่น้องมุสลิม และให้หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เรามองว่าเป็นบิดอะฮ์ .. โดยไม่ต้องไปหุก่มหรือประณามพี่น้องมุสลิมคนใดว่าทำบิดอะฮ์ เพราะพระองค์อัลลอฮ์คือผู้พิพากษาโทษการกระทำของเขา ไม่ใช่เรา ...
นี่คือสิ่งที่ผมพร่ำย้ำเตือนอยู่เสมอในการบรรยายและการสอนในปัจจุบัน ซึ่งบรรดาศิษย์ที่ศึกษาอยู่กับผมทุกคนย่อมเป็นพยานยืนยันได้ หรือหาก อ.อัชอะรีย์จะไปอ่านตอนต้นบทความเรื่อง การอ่านกุนูตในนมาซซุบห์ของผม ก็คงจะเข้าใจ “จุดยืน” ของผมในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ...
ส่วนการที่ผมเขียนวิภาษ อ.กอเซ็ม ก็เป็นเรื่องของความขัดแย้งเชิงวิชาการระหว่างนักวิชาการด้วยกัน มิใช่เขียนเพื่อประณามพี่น้องมุสลิมคนใดทั้งสิ้น ...
2.2 ส่วนคำกล่าวของท่านที่ว่า .. “ปราชญ์สะละฟุสศอลิห์แห่งอุมมะฮ์อิสลามส่วนมากหรือมีมติ (อิจญมาอฺ) ผ่อนปรนการรายงานและปฎิบัติฮะดีษฎออีฟได้” .. นั้น
คำกล่าวนี้ของ อ.อัชอะรีย์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงเข้าใจผิดว่า หะดีษเฎาะอีฟ – ทุกเรื่อง – นักวิชาการส่วนมากหรือเป็นมติเป็นเอกฉันท์ของนักวิชาการว่า ผ่อนปรนให้รายงานและนำมาปฏิบัติได้ ...
ความเข้าใจดังกล่าวนี้ ไม่เคยปรากฏอยู่ในตำราหะดีษเล่มใดทั้งสิ้น เพราะเรื่องการรายงานหะดีษเฎาะอีฟก็ดี, การนำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติก็ดี ล้วนเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างนักวิชาการมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว ...
การอ้างว่ามี “อิจญมาอฺ” หรือมติเอกฉันท์ในเรื่องนี้ จึงเป็นการ“มั่วนิ่ม”ของ อ.อัชอารีย์อย่างชัดเจน ...
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นดังนี้ ...
ในเรื่องของ “การรายงาน” นั้น ท่านมุสลิมและนักวิชาการหะดีษจำนวนมากกล่าวว่าไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษใด เว้นแต่ถ้าผู้รายงานเป็นผู้มีความรู้เรื่องสถานภาพของหะดีษก็จะต้องแจ้งสถานภาพของมันด้วยเสมอ (ดูหนังสือ “เศาะเหี๊ยะฮ์มุสลิม” หน้า 8-9, 28, และหนังสือ “ตะมามุ้ลมินนะฮ์” ของท่านอัล-อัลบานีย์ หน้า 32 เป็นต้น) ...
ท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ นักวิชาการหะดีษชาวอินเดีย ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-บาอิษ อัล-หะษีษ” หน้า 91 ว่า ...
وَالَّذِىْ أَرَاهُ أَنَّ بَيَانَ الضَّعْفِ فِى الْحَدِيْثِ الضَّعِيْفِ وَاجِبٌ فِىْ كُلِّ حَالٍ، ِلأَنَّ تَرْكَ الْبَيَانِ يُوَهِّمُ الْمُطَّلِعَ عَلَيَهْ ِأَنَّهُ حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ!، خُصُوْصًا إِذَا كَانَ النَّاقِلُ لَهُ مِنْ عُلَمَاءِ الْحَدِيْثِ الَّذِيْنَ يُرْجَعُ إِلَي قَوْلِهِمْ فِىْ ذَلِكَ، وَأَنَّهُ لاَ فَرْقَ بَيْنَ اْلأَحْكَامِ وَبَيْنَ فَضَائِلِ اْلأَعْمَالِ وَنَحْوِهَا فِىْ عَدَمِ اْلأَخْذِ بِالرِّوَايَةِ الضَّعِيْفَةِ ....
“สิ่งซึ่งเป็นมุมมองของข้าพเจ้าก็คือ การบอก “ความเฎาะอีฟ” ของหะดีษเฎาะอีฟนั้น เป็นสิ่งวาญิบในทุกๆกรณี (คือไม่ว่าจะเป็นหะดีษเฎาะอีฟเกี่ยวกับเรื่องหะล้าล-หะรอม หรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล) .. เพราะการไม่บอกความเฎาะอีฟจะทำให้ผู้ที่พบเห็นหะดีษนั้นอาจเข้าใจผิดว่ามันเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ที่คัดลอกหะดีษนั้นมารายงาน เป็นนักวิชาการหะดีษที่ประชาชนยอมรับคำพูดของเขา และ(ข้าพเจ้ายังเห็นว่า) แท้จริงไม่มีข้อแบ่งแยกแต่อย่างใดในระหว่างเรื่องหุก่มต่างๆกับเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลหรือเรื่องอื่นๆ ในแง่ที่ไม่ให้นำเอารายงานที่เฏาะอีฟมาปฏิบัติ” ...
ทัศนะของท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺในวรรคหลังๆนี้ ตรงกันกับคำกล่าวของท่านหาฟิศ อิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “تَبْيِيْنُ الْعَجَبِ” ดังจะได้กล่าวต่อไป
แต่ถ้าผู้นำหะดีษมาบอกเล่าต่อผู้อื่น ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจในสถานภาพของหะดีษนั้นว่าจะเศาะเหี๊ยะฮ์หรือเฎาะอีฟ ก็ไม่อนุญาตให้ใช้คำพูดอย่างชัดเจนว่า “ท่านนบีย์ กล่าวว่า ...” แต่ให้ใช้คำพูดคลุมเครือว่า “ถูกอ้างรายงานมาจากท่านนบีย์ .....” .. หรือ “มีการอ้างรายงานมาจากท่านนบีย์ ....” เป็นต้น ...
(จากหนังสือ “อุลูมุลหะดีษ” ของท่านอิบนุศ ศอลาห์ หน้า 94) ...
กฎเกณฑ์ข้อนี้ มักจะถูกละเลยจากนักวิชาการปัจจุบันจำนวนมากที่ชอบนำเอาหะดีษเฎาะอีฟมารายงานหรือบอกต่อเพื่อให้ชาวบ้านรับไปปฏิบัติโดยมิได้แจ้งว่ามันเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .. ยิ่งไปกว่านั้น ผู้รู้บางท่านยังกล่าวอย่างชัดเจนตอนอ้างหะดีษเฎาะอีฟต่อชาวบ้านว่า “ท่านนบีย์กล่าวว่า ........” ซึ่งสำนวนอย่างนี้ถือเป็นเรื่องต้องห้ามดังคำกล่าวของท่านอิบนุศศอลาห์ข้างต้น ...
ส่วนข้ออ้างที่ว่า “นักวิชาการส่วนมากหรือมีมติ(อิจญมาอฺ)ผ่อนปรนให้ให้ปฏิบัติหะดีษเฎาะอีฟได้” .. ทำไม อ.อัชอะรีย์ไม่บอกให้ชัดเจนด้วยว่าหะดีษเฎาะอีฟที่นักวิชาการส่วนมากผ่อนปรนให้ปฏิบัติได้นั้น เฎาะอีฟในลักษณะไหน ? .. เฎาะอีฟในเรื่องใด ?.. และที่ว่าปฏิบัติได้นั้น มีเงื่อนไขอย่างไร ? ...
ผมขออธิบายในกรณีนี้ดังนี้ ...
นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันในเรื่อง “การปฏิบัติ” ตามหะดีษเฎาะอีฟเป็น 3 ทัศนะ (ดังระบุในหนังสือ “กอวาอิด อัต-ตะห์ดีษ” หน้า 113) คือ ...
ทัศนะที่หนึ่ง หะดีษเฎาะอีฟทุกบท --ไม่ว่าเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล – ห้ามนำมาปฏิบัติโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น .. นี่คือทัศนะของท่านยะห์ยา บินมะอีน, ท่านอบูบักรฺ อิบนุลอะรอบีย์, ท่านอิบนุหัสม์, และตามรูปการณ์แล้วน่าจะเป็นทัศนะของท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิมด้วย ...
ทัศนะที่สอง หะดีษเฎาะอีฟทุกบท – ไม่ว่าเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล – สามารถนำมาปฏิบัติได้โดยปราศจากเงื่อนไข ...
ท่านอัส-สะยูฏีย์อ้างว่า นี่คือทัศนะของท่านอบูดาวูดและท่านอิหม่ามอะห์มัด ...
หมายเหตุ
โปรดเข้าใจด้วยว่า คำว่า “หะดีษเฎาะอีฟ” ตามทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดในที่นี้ หมายถึง “หะดีษหะซัน” หรือหะดีษที่สวยงามตามคำกล่าวของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ มิใช่หะดีษเฎาะอีฟตามมุมมองของนักวิชาการท่านอื่นๆ ...
นี่คือคำอธิบายของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ในหนังสือ “มินฮาจญ์ อัส-ซุนนะฮ์” ดังการอ้างอิงในหนังสือ “กอวาอิด อัต-ตะห์ดีษ” ของท่านอัล-กอซิมีย์ หน้า 118 ...
ทัศนะที่สาม .. เป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ .. ถือว่า อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล, เรื่องบาปบุญ, เรื่องสนับสนุนให้ทำความดีและสำทับให้หวาดกลัวจากการทำความชั่วได้ โดยมีเงื่อนไข (ดังมีระบุในหนังสือ “กอวาอิด อัต-ตะห์ดีษ” หน้า 116 และหนังสือหะดีษอื่นๆแทบทุกเล่ม) ดังนี้ ...
1. หะดีษนั้นจะต้องไม่เฎาะอีฟมากเกินไป ...
2. หะดีษนั้น จะต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานแห่งการปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว (หมายถึงมีหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์ในเรื่องนั้นมายืนยันไว้แล้ว) และ ...
3. จะต้องไม่ยึดมั่นขณะปฏิบัติว่า หะดีษนั้นเป็นหะดีษที่แน่นอนหรือถูกต้อง แต่ให้ยึดมั่นว่า เป็นการปฏิบัติ “เผื่อๆ” เท่านั้น ...
นอกจากเงื่อนไข 3 ประการข้างต้นแล้ว ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ยังได้เสนอเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า ...
أُشْتُهِرَ أَنَّ أَهْلَ الْعِلْمِ يَتَسَاهَلُوْنَ فِىْ إِيْرَادِ اْلأَحَادِيْثِ فِى الْفَضَائِلِ وَإِنْ كَانَ فِيْهَا ضَعْفٌ مَالَمْ تَكُنْ مَوْضُوْعَةً، وَيَنْبَغِىْ مَعَ ذَلِكَ إِشْتِرَاطُ أَنْ يَعْتَقِدَ الْعَامِلُ كَوْنَ ذَلِكَ الْحَدِيْثِ ضَعِيْفًا! وَأَنْ لاَ يُشْهِرَ ذَلِكَ لِئَلاَّ يَعْمَلَ الْمَرْءُ بِحَدِيْثٍ ضَعِيْفٍ فَيُشَرِّعَ مَالَيْسَ بِشَرْعٍ، أَوْ يَرَاهُ بَعْضُ الْجُهَّالِ فَيَظُنَ أَنَّهُ سُنَّةٌ صَحِيْحَةٌ، وَقَدْ صَرَّحَ بِمَعْنىَ ذَلِكَ اْلأُسْتَاذُ أَبُوْ مُحَمَّدِ بْنُ عَبْدِالسَّلاَمِ وَغَيْرُهُ، وَلْيَحْذَرِالْمَرْءُ مِنْ دُخُوْلِهِ تَحْتَ قَوْلِهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ .... "مَنْ حَدَّثَ عَنِّىْ بِحَدِيْثٍ يُرَى أَنَّهُ كَذِبٌ فَهُوَ أَحَدُ الْكَاذِبَيْنِ" .. فَكَيْفَ بِمَنْ عَمِلَ بِهِ ؟! وَلاَ فَرْقَ فِىْ الْعَمَلِ بِالْحَدِيْثِ فِى اْلأَحْكَامِ أَوْ فِى الْفَضَائِلِ إِذِالْكُلُّ شَرْعٌ!
“เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า นักวิชาการได้ผ่อนปรนให้บอกเล่าหะดีษในเรื่องของฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลได้ แม้ในมันจะมีความเฎาะอีฟอยู่บ้างก็ตามตราบใดที่มันมิใช่หะดีษเก๊ เกี่ยวกับเรื่องนี้ สมควรมีเงื่อนไขด้วยว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดมั่นว่าหะดีษบทนั้นเป็นหะดีษเฎาะอีฟ และการปฏิบัติดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้แพร่หลายด้วย! ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้บุคคลใดนำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติจนเป็นสาเหตุให้เขา(ได้ชื่อว่า) เป็นผู้ตราบทบัญญัติในสิ่งที่มันมิใช่เป็นบทบัญญัติ หรืออาจจะมีผู้ไม่รู้บางคนมาเห็น(การกระทำของ)เขาแล้วเลยเข้าใจว่ามันคือซุนนะฮ์ที่ถูกต้อง .. แน่นอน ความหมายดังที่กล่าวมานี้ ท่านอุซตาซอบูมุหัมมัด อิบนุอับดิสสลามและนักวิชาการท่านอื่นๆได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว และบุคคลผู้นั้น(คือผู้ปฏิบัติตามหะดีษเฎาะอีฟ) ก็พึงระวังให้จงหนักจากการล่วงล้ำเข้าสู่ภายใต้คำกล่าวท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า .. “ผู้ใดอ้างรายงานจากฉัน ด้วยหะดีษใดที่ถูกมองว่ามันเป็นท็จ เขาก็คือหนึ่งจากสองที่ร่วมกันกล่าวเท็จ” .. (ขนาดผู้อ้างรายงานหะดีษเฎาะอีฟยังต้องระวังขนาดนี้) แล้วผู้ที่ปฏิบัติมันล่ะ จะ(ต้องระวัง)สักขนาดไหน ? และไม่มีข้อแตกต่างอันใดในระหว่างการปฏิบัติตามหะดีษในเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล เพราะทั้งหมดคือบทบัญญัติเหมือนกัน” ...
(โปรดดูหนังสือ “تَبْيِيْنُ الْعَجَبِ بِمَا وَرَدَ فِىْ فَضْلِ رَجَبَ” ของท่านอิบนุหะญัรฺหน้า 3-4) ...
คำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺที่ว่า .. “ไม่มีข้อแตกต่างอันใดในระหว่างการปฏิบัติตามหะดีษในเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล เพราะทั้งหมดคือบทบัญญัติเหมือนกัน” .. แสดงว่า “แนวโน้ม” ของท่านอิบนุหะญัรฺในเรื่องนี้ก็คือ ไม่อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหุก่มหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล ...
สำหรับนักวิชาการที่มีทัศนะว่า อนุโลมให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลได้ ท่านอิบนุหะญัรฺก็ได้กำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติไว้หลายประการดังกล่าวมาแล้ว ...
จากเงื่อนไขดังกล่าวนั้น – โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อที่ 3 และเงื่อนไขเพิ่มเติมของท่านอิบนุหะญัรฺ – ผมจึงขอถาม อ.อัชอะรีย์ว่า ...
ก. การที่ผู้รู้บางท่านส่งเสริมและสนับสนุนชาวบ้านให้ยอมลงทุนว่าจ้าง ให้มีการเฝ้าและอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺอย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยเงินค่าจ้างเป็นเรือนหมื่นหรือหลายหมื่นดังที่นิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายทั้งๆที่หะดีษเรื่องอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรเป็นหะดีษเฎาะอีฟนั้น แน่ใจหรือว่า ชาวบ้านเหล่านั้น “ทำเผื่อ” ดังเงื่อนไขข้างต้น หรือพวกเขาทำเพราะเชื่อมั่นว่าหะดีษในเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ เป็นหะดีษที่ถูกต้องตามการชี้นำของผู้รู้กันแน่ ??? ...
ข. แน่ใจไหมว่า การที่ชาวบ้าน “จ้าง” อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ (หรือแม้แต่ที่บ้าน) จะมีผลบุญที่จะอุทิศให้ผู้ตายได้ ? ...
ทั้งนี้เพราะท่านอัล-มะรอฆีย์ได้กล่าวในหนังสือ “ตัฟซีรฺอัล-มะรอฆีย์” เล่มที่27 หน้า 66 ว่า ...
وَمَذْهَبُ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ وَجَمَاعَةٍ مِنَ الْعُلَمَاءِ أَنَّ ثَوَابَ الْقِرَاءَةِ يَصِلُ إِلَى الْمَوْتىَ إِنْ لَمْ تَكُنِ الْقِرَاءَةُ بِأَجْرٍ، أَمَّا إِذَا كَانَتْ بِهِ كَمَا يَفْعَلُ النَّاسُ الْيَوْمَ مِنْ إِعْطَاءِ اْلأَجْرِ ِللْحُفَّاظِ ِلْلقِرَاءَةِ عَلَى الْمَقَابِرِ وَغَيْرِهَا فَلاَ يَصِلُ إِلَى الْمَيِّتِ ثَوَابُهَا، إِذْ لاَ ثَوَابَ لَهَا حَتىَّ يَصِلَ إِلَيْهِمْ، لِحُرْمَةِ أَخْذِ اْلأَجْرِعَلَىقِرَاءَةِ الْقُرْآنِ وَإِنْ لَمْ يَحْرُمْ عَلَى تَعْلِيْمِهِ
“มัษฮับท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัลและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งถือว่า ผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านจะถึงยังผู้ตายถ้าการอ่านนั้นไม่มีค่าจ้าง, อนึ่ง หากการอ่านดังกล่าวมีค่าจ้าง .. ดังที่ประชาชนในปัจจุบันนิยมกระทำกัน โดยการจ้างผู้ท่องจำอัล-กุรฺอ่านให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺหรือที่อื่น (เช่นที่บ้านเป็นต้น) ผลบุญของการอ่านอัล-กุรฺอ่านก็จะไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีผลบุญใดเลยในการอ่านในลักษณะนี้ที่จะถึงยังผู้ตายได้ เนื่องจากการรับค่าจ้างเพื่ออ่านอัล-กุรฺอ่านเป็นเรื่องหะรอม แม้ว่าจะไม่ต้องห้ามในการจ้างสอนอัล-กุรฺอ่านก็ตาม” ...
ค. แน่ใจไหมว่าหลายๆเรื่องที่ผู้รู้สนับสนุนให้ชาวบ้านนำหะดีษเฎาะอีฟ(ตามนัยจากคำกล่าวของ อ.อัชอะรีย์เองข้างต้น) มาปฏิบัตินั้น เป็นการกระทำกันเงียบๆตามการเสนอแนะของท่านอิบนุหะญัรฺ หรือมีการปฏิบัติกันอย่างโจ๋งครึ่มและแพร่หลายจนดูประหนึ่งว่า มันคือซุนนะฮ์ที่ถูกต้องของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัมไปแล้ว ?
ผมขอยืนยันอีกครั้งว่า การอ่านยาซีนหรืออ่านอัล-กุรฺอ่านบทใดที่กุบูรฺ ไม่ใช่เป็นซุนนะฮ์และไม่มีหะดีษมัรฺฟูอฺที่ถูกต้องแม้แต่บทเดียวจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมายืนยันไว้ .. ดังจะได้ชี้แจงความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ของ อ.อัชอะรีย์ต่อไป ...
ก. การที่ผู้รู้บางท่านส่งเสริมและสนับสนุนชาวบ้านให้ยอมลงทุนว่าจ้าง ให้มีการเฝ้าและอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺอย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยเงินค่าจ้างเป็นเรือนหมื่นหรือหลายหมื่นดังที่นิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายทั้งๆที่หะดีษเรื่องอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรเป็นหะดีษเฎาะอีฟนั้น แน่ใจหรือว่า ชาวบ้านเหล่านั้น “ทำเผื่อ” ดังเงื่อนไขข้างต้น หรือพวกเขาทำเพราะเชื่อมั่นว่าหะดีษในเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ เป็นหะดีษที่ถูกต้องตามการชี้นำของผู้รู้กันแน่ ??? ...
ข. แน่ใจไหมว่า การที่ชาวบ้าน “จ้าง” อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ (หรือแม้แต่ที่บ้าน) จะมีผลบุญที่จะอุทิศให้ผู้ตายได้ ? ...
ทั้งนี้เพราะท่านอัล-มะรอฆีย์ได้กล่าวในหนังสือ “ตัฟซีรฺอัล-มะรอฆีย์” เล่มที่27 หน้า 66 ว่า ...
وَمَذْهَبُ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ وَجَمَاعَةٍ مِنَ الْعُلَمَاءِ أَنَّ ثَوَابَ الْقِرَاءَةِ يَصِلُ إِلَى الْمَوْتىَ إِنْ لَمْ تَكُنِ الْقِرَاءَةُ بِأَجْرٍ، أَمَّا إِذَا كَانَتْ بِهِ كَمَا يَفْعَلُ النَّاسُ الْيَوْمَ مِنْ إِعْطَاءِ اْلأَجْرِ ِللْحُفَّاظِ ِلْلقِرَاءَةِ عَلَى الْمَقَابِرِ وَغَيْرِهَا فَلاَ يَصِلُ إِلَى الْمَيِّتِ ثَوَابُهَا، إِذْ لاَ ثَوَابَ لَهَا حَتىَّ يَصِلَ إِلَيْهِمْ، لِحُرْمَةِ أَخْذِ اْلأَجْرِعَلَىقِرَاءَةِ الْقُرْآنِ وَإِنْ لَمْ يَحْرُمْ عَلَى تَعْلِيْمِهِ
“มัษฮับท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัลและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งถือว่า ผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านจะถึงยังผู้ตายถ้าการอ่านนั้นไม่มีค่าจ้าง, อนึ่ง หากการอ่านดังกล่าวมีค่าจ้าง .. ดังที่ประชาชนในปัจจุบันนิยมกระทำกัน โดยการจ้างผู้ท่องจำอัล-กุรฺอ่านให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺหรือที่อื่น (เช่นที่บ้านเป็นต้น) ผลบุญของการอ่านอัล-กุรฺอ่านก็จะไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีผลบุญใดเลยในการอ่านในลักษณะนี้ที่จะถึงยังผู้ตายได้ เนื่องจากการรับค่าจ้างเพื่ออ่านอัล-กุรฺอ่านเป็นเรื่องหะรอม แม้ว่าจะไม่ต้องห้ามในการจ้างสอนอัล-กุรฺอ่านก็ตาม” ...
ค. แน่ใจไหมว่าหลายๆเรื่องที่ผู้รู้สนับสนุนให้ชาวบ้านนำหะดีษเฎาะอีฟ(ตามนัยจากคำกล่าวของ อ.อัชอะรีย์เองข้างต้น) มาปฏิบัตินั้น เป็นการกระทำกันเงียบๆตามการเสนอแนะของท่านอิบนุหะญัรฺ หรือมีการปฏิบัติกันอย่างโจ๋งครึ่มและแพร่หลายจนดูประหนึ่งว่า มันคือซุนนะฮ์ที่ถูกต้องของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัมไปแล้ว ?
ผมขอยืนยันอีกครั้งว่า การอ่านยาซีนหรืออ่านอัล-กุรฺอ่านบทใดที่กุบูรฺ ไม่ใช่เป็นซุนนะฮ์และไม่มีหะดีษมัรฺฟูอฺที่ถูกต้องแม้แต่บทเดียวจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมายืนยันไว้ .. ดังจะได้ชี้แจงความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ของ อ.อัชอะรีย์ต่อไป ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น