ชี้แจงเรื่อง โครงสร้างของอิบาดะฮ์คือระงับจากการปฏิบัติจนกว่าจะมีบทบัญญัติ
โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
(3). ชี้แจงเรื่อง โครงสร้างของอิบาดะฮ์คือระงับจากการปฏิบัติจนกว่าจะมีบทบัญญัติ
อ.อัชอะรีย์กล่าวว่า ...
“อ.ปราโมทย์ได้หยิบยกกฎเกณฑ์ต่างๆของหลักพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลาม(قَوَاعِدُ أُصُوْلِيَّةٌ) และบอกว่า ปัญหาขัดแย้งเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ที่เกี่ยวกับบาป-บุญ ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือจะต้องยึดถือตัวบทอันได้แก่คำสั่งของอัลลอฮ์และแบบอย่างจากซุนนะฮ์เป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ไปยึดถือ “คำห้าม” ดังทัศนะของ อ.กอเซ็ม”
และได้กล่าวใน 5 หน้าถัดมาว่า .. “อ.ปราโมทย์ได้อ้างอิงคำกล่าวของอิมามอะห์มัดและนักวิชาการฟิกฮ์ท่านอื่นๆว่าแท้จริง พื้นฐานของเรื่องอิบาดะฮ์ทั้งมวลคือให้ระงับ (จากการปฏิบัติ) .. เพื่อจะบอกเป็นนัยว่าการอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺต้องมีหลักฐานเจาะจงว่า ท่านนบีย์เคยกระทำไว้เท่านั้น”
และ ...
“เมื่อบางคนได้ยินหลักการนี้ก็จะคิดไปว่า อิบาดะฮ์นั้นต้องมีหลักฐานมายืนยันเจาะจง (ค็อซ)หรือจำกัด (มุก็อยยัด) ให้กระทำเท่านั้น แต่เมื่อเราได้ยินคำว่า “เว้นแต่ต้องมีหลักฐานนั้น” เราก็ต้องเข้าใจตามหลักพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับประเภทของหลักฐานว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งตัวอย่างของหลักฐานแบบสรุปๆมีดังนี้ อาทิเช่น หลักฐานแบบมุฏลัก (บ่งชี้กว้างๆ), หลักฐานแบบมุก็อยยัด (จำกัดหลักฐานบ่งชี้กว้างๆ), หลักฐานแบบครอบคลุม และหลักฐานแบบเจาะจง” ฯลฯ ...
ชี้แจง
3.1 กฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลฯ ที่ว่า โครงสร้างของอิบาดะฮ์ จะต้อง “ระงับ” ไว้ก่อนจนกว่าจะมีบทบัญญัติลงมาก็ดี .. และคำกล่าวที่ว่า การปฏิบัติอิบาดะฮ์ จะต้องยึดถือตัวบทจากคำสั่งอัลลอฮ์ในอัล-กุรฺอ่านและแบบอย่างจากซุนนะฮ์เป็นเกณฑ์ก็ดี ...
ไม่เห็น อ.อัชอะรีย์จะคัดค้านเลยว่า กฎเกณฑ์ข้อนี้มันไม่ถูกต้องตรงไหน .. ซึ่งแสดงว่า อ.อัชอะรีย์ก็ยอมรับกฏเกณฑ์ข้อนี้เช่นเดียวกัน ...
แต่ถ้าหาก อ.อัชอะรีย์ เห็นว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวไม่ถูกต้องและมีข้อผิดพลาด อันมีความหมายว่า เรื่องอิบาดะฮ์ต่างๆเราสามารถจะกำหนดรูปแบบขึ้นมาเองได้โดยไม่ต้องมีบทบัญญัติลงมา, .. และ/หรือการปฏิบัติอิบาดะฮ์ ไม่จำเป็นต้องยึดถือตัวบทจากคำสั่งอัลลอฮ์ในอัล-กุรฺอ่านและไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมให้เสียเวลา ก็ลองยกหลักฐานสักบทมา “หักล้าง” คำกล่าวข้างต้นดูซิ .. และจงบอกด้วยว่า หลักฐานดังกล่าวของ อ.อัชอะรีย์ มีนักวิชาการท่านใดเป็นผู้กำหนดหรือรับรองมัน ??? ...
3.2 เรื่องที่ว่า .. การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺหรือเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายต้องมีหลักฐานเจาะจง .. นั้น ไม่ใช่ผมอ้างกฎเกณฑ์ข้างต้นเพื่อบอก “เป็นนัย” หรอก แต่นักวิชาการในอดีตจำนวนมาก อาทิเช่น ท่านอิหม่ามอะห์มัด, ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม, ท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์, ท่านอัล-มุนาวีย์, ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ท่านอิซซุดดีน อิบนุอับดิสสลาม, ท่านอิบนุกะษีรฺ เป็นต้น และนักวิชาการในยุคปัจจุบันอีกเยอะแยะที่กล่าว “อย่างชัดเจน” ว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์, เป็นเรื่องต้องห้าม, หรือ การอ่านอัล-กุรฺอ่านนั้นอุทิศผลบุญไม่ถึงผู้ตาย .. ซึ่งแสดงว่า พวกท่านมองว่า “หลักฐานเจาะจง” ในเรื่องนี้ไม่มี จึงได้หุก่มออกมาอย่างนี้ .. ดังจะถึงต่อไปในข้อที่ (4) ...
3.3 ส่วนการที่ อ.อัชอะรีย์พยายามอธิบายว่า สิ่งที่เรียกว่า “หลักฐาน” ย่อมมีทั้งหลักฐานแบบกว้างๆและหลักฐานแบบจำกัด ฯลฯ.. พร้อมกับนำตัวอย่างสิ่งที่เป็นหลักฐานกว้างๆบางอย่างมาประกอบคำอธิบายเพื่อต้องการยืนยันว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ หรือเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น มี “หลักฐานกว้างๆ” รองรับ ซึ่ง อ.อัชอะรีย์คงจะหมายถึงหลักฐานส่งเสริมให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่มีอยู่หลายสิบบท, หรือเรื่องท่านนบีย์ไปนมาซมัยยิตที่กุบูรฺนั่นเอง ...
ผมขอเรียนว่า ประเด็นเรื่องหลักฐานกว้าง-หลักฐานแคบอะไรที่ว่านี้ ไม่มีใครปฏิเสธหรอก และก็ใช่ว่าจะมี อ.อัชอะรีย์เพียงผู้เดียวที่รู้เรื่องนี้ ...
เพราะผู้ที่เคยเรียนวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาบ้างย่อมเข้าใจกันทุกคนแหละ ...
แต่ปัญหาก็คือ อ.อัชอะรีย์รู้หรือเปล่าว่า เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตาย – ไม่ว่าที่กุบูรฺหรือที่บ้าน -- ไม่ใช่เป็นเรื่องของ “หลักฐานกว้างๆ” ดังความเข้าใจของ อ.อัชอะรีย์ แต่เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกกันว่า نَصٌّ (นัศ) หรือ “หลักฐานที่ชัดเจน” ของมัน ...
ท่านอิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวในหนังสือ “ตัฟซีรฺอิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า 276 อันเป็นการอธิบายเรื่อง “การอุทิศผลบุญไม่ถึงผู้ตาย” ว่า ...
وَبَابُ الْقُرَبَاتِ يُقَتَصَرُ فِيْهِ عَلَى النُّصُوْصِ فَلاَ يُتَصَرَّفُ فِيْهِ بِأَنْوَاعِ اْلأَقْيِسَةِ وَاْلآرَاءِ
“เรื่องของสิ่งที่จะทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ์ (ผลบุญ) นั้น จะต้องจำกัดตาม نَصٌّ (ตัวบทชัดเจน) เท่านั้น, จะนำเรื่องนี้ไปปรับเปลี่ยนโยกย้ายตามการกิยาสในรูปแบบต่างๆหรือแนวคิดใดๆหาได้ไม่” ...
หากผมจะถาม อ.อัชอะรีย์ว่า เข้าใจคำว่า “نَصٌّ” หรือไม่? ก็คงจะเป็นการเอา ”มะพร้าวสด” ไปขายสวน ...
จึงขออธิบายแก่ท่านผู้อ่านอื่นๆ (ที่ยังไม่รู้) ว่า ...
คำว่า “نَصٌّ” นี้ ท่านอิบนุ้ลอะษีรฺได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือ “อัน-นิฮายะฮ์ ฟีเฆาะรีบิ้ลหะดีษ” เล่มที่ 4 หน้า 65 ว่า ...
مَا دَلَّ ظَاهِرُ لَفْظِهِ عَلَيْهِ مِنَ اْلأَحْكَامِ
“คือ หุก่มต่างๆซึ่งปรากฏชัดเจนจากการบ่งชี้ของถ้อยคำของมัน” ...
ส่วนในหนังสือปทานุกรม “อัล-มุอฺญัม อัล-วะซีฏ” เล่มที่ 2 หน้า 926 กล่าวอธิบายว่า ...
اَلنَّصُّ مَا لاَ يَحْتَمِلُ إِلاَّ مَعْنىً وَاحِدًا، أَوْ لاَ يَحْتَمِلُ التَّأْوِيْلَ
“นัศ ก็คือ สิ่งซึ่งไม่สามารถจะตีความ(เป็นอย่างอื่น)ได้นอกจากเพียงความหมายเดียว, หรือสิ่งซึ่งไม่สามารถจะตะอ์วีล(แปรเปลี่ยนความหมาย)) เป็นอย่างอื่นได้” ...
รวมความแล้ว คำว่า “นัศ” (ที่เป็นหลักฐานเรื่องผลบุญ)จึงไม่ได้หมายถึง “หลักฐานกว้างๆ” .. ดังตัวอย่างต่างๆที่ อ.อัชอะรีย์นำมาอ้างหลายหน้ากระดาษ ...
แต่คำว่า “นัศ” จะหมายถึง “หลักฐานที่ชัดเจนที่ไม่สามารถจะตีความเป็นอย่างอื่นได้” .. อาทิเช่น “นัศ” เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย, “นัศ” เรื่องการจัดเลี้ยงอาหารเพื่อส่งบุญให้ผู้ตาย เป็นต้น ...
จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งนักวิชาการในอดีต – ทุกท่าน – ที่มีทัศนะตรงกับ อ.อัชอะรีบ์ ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีท่านใดอ้าง “หลักฐานกว้างๆ” เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่าน หรืออ้างหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์เรื่อง “ท่านนบีย์นมาซมัยยิตที่กุบูรฺ” มาเป็นหลักฐานเรื่อง “อ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายได้” เหมือนการอ้างของ อ.อัชอะรีย์แม้แต่คนเดียว ...
ตรงกันข้าม พวกท่านกลับอ้าง “นัศ” .. คือ “หะดีษ” ที่กล่าวอย่างชัดเจนเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตาย แทนที่จะอ้างหลักฐานกว้างๆหรือหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทนั้นเหมือน อ.อัชอะรีย์ ...
แม้ว่าหะดีษเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายดังกล่าวจะเป็นหะดีษเฎาะอีฟ (ดังการยอมรับของท่านอัส-สะยูฏีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุศ ศุดูรฺ” หน้า 311) ก็ตาม ...
ก็ไม่ทราบว่า บรรดานักวิชาการเหล่านั้นท่าน “ลืม” นึกถึง “หลักฐานกว้างๆ” เรื่องส่งเสริมให้อ่านอัล-กุรฺอ่าน, .. และลืมนึกถึง “หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์” เรื่องท่านนบีย์นมาซมัยยิตในกุบูรฺ หรืออย่างไร ? ...
หรือมิฉะนั้นก็เป็นไปได้ว่า วิชาความรู้ของพวกท่านคงจะยัง “ไม่ถึงขั้น” และยัง “ไม่แตกฉาน” พอในวิชาอุศูลุลฟิกฮ์เหมือน อ.อัชอะรีย์ ??? ...
อีกประการหนึ่ง ในกรณีของหลักฐานกว้างๆนั้น มีหลายกรณีที่เราจำเป็นจะต้องดูการอธิบาย (บะยาน) จาก “การปฏิบัติ” ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมประกอบด้วย ว่าความ “กว้าง” ของมันมีขอบเขตแค่ไหน เพราะการ “ตีความ" เอาเองจากหลักฐานกว้างๆโดยพลการ อาจจะนำเราเข้ารกเข้าพงได้ ดังตัวอย่างที่จะถึงต่อไป ...
อ.อัชอะรีย์กล่าวว่า ...
“อ.ปราโมทย์ได้หยิบยกกฎเกณฑ์ต่างๆของหลักพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลาม(قَوَاعِدُ أُصُوْلِيَّةٌ) และบอกว่า ปัญหาขัดแย้งเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ที่เกี่ยวกับบาป-บุญ ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือจะต้องยึดถือตัวบทอันได้แก่คำสั่งของอัลลอฮ์และแบบอย่างจากซุนนะฮ์เป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ไปยึดถือ “คำห้าม” ดังทัศนะของ อ.กอเซ็ม”
และได้กล่าวใน 5 หน้าถัดมาว่า .. “อ.ปราโมทย์ได้อ้างอิงคำกล่าวของอิมามอะห์มัดและนักวิชาการฟิกฮ์ท่านอื่นๆว่าแท้จริง พื้นฐานของเรื่องอิบาดะฮ์ทั้งมวลคือให้ระงับ (จากการปฏิบัติ) .. เพื่อจะบอกเป็นนัยว่าการอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺต้องมีหลักฐานเจาะจงว่า ท่านนบีย์เคยกระทำไว้เท่านั้น”
และ ...
“เมื่อบางคนได้ยินหลักการนี้ก็จะคิดไปว่า อิบาดะฮ์นั้นต้องมีหลักฐานมายืนยันเจาะจง (ค็อซ)หรือจำกัด (มุก็อยยัด) ให้กระทำเท่านั้น แต่เมื่อเราได้ยินคำว่า “เว้นแต่ต้องมีหลักฐานนั้น” เราก็ต้องเข้าใจตามหลักพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับประเภทของหลักฐานว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งตัวอย่างของหลักฐานแบบสรุปๆมีดังนี้ อาทิเช่น หลักฐานแบบมุฏลัก (บ่งชี้กว้างๆ), หลักฐานแบบมุก็อยยัด (จำกัดหลักฐานบ่งชี้กว้างๆ), หลักฐานแบบครอบคลุม และหลักฐานแบบเจาะจง” ฯลฯ ...
ชี้แจง
3.1 กฎเกณฑ์ของวิชาอุศูลฯ ที่ว่า โครงสร้างของอิบาดะฮ์ จะต้อง “ระงับ” ไว้ก่อนจนกว่าจะมีบทบัญญัติลงมาก็ดี .. และคำกล่าวที่ว่า การปฏิบัติอิบาดะฮ์ จะต้องยึดถือตัวบทจากคำสั่งอัลลอฮ์ในอัล-กุรฺอ่านและแบบอย่างจากซุนนะฮ์เป็นเกณฑ์ก็ดี ...
ไม่เห็น อ.อัชอะรีย์จะคัดค้านเลยว่า กฎเกณฑ์ข้อนี้มันไม่ถูกต้องตรงไหน .. ซึ่งแสดงว่า อ.อัชอะรีย์ก็ยอมรับกฏเกณฑ์ข้อนี้เช่นเดียวกัน ...
แต่ถ้าหาก อ.อัชอะรีย์ เห็นว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวไม่ถูกต้องและมีข้อผิดพลาด อันมีความหมายว่า เรื่องอิบาดะฮ์ต่างๆเราสามารถจะกำหนดรูปแบบขึ้นมาเองได้โดยไม่ต้องมีบทบัญญัติลงมา, .. และ/หรือการปฏิบัติอิบาดะฮ์ ไม่จำเป็นต้องยึดถือตัวบทจากคำสั่งอัลลอฮ์ในอัล-กุรฺอ่านและไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมให้เสียเวลา ก็ลองยกหลักฐานสักบทมา “หักล้าง” คำกล่าวข้างต้นดูซิ .. และจงบอกด้วยว่า หลักฐานดังกล่าวของ อ.อัชอะรีย์ มีนักวิชาการท่านใดเป็นผู้กำหนดหรือรับรองมัน ??? ...
3.2 เรื่องที่ว่า .. การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺหรือเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายต้องมีหลักฐานเจาะจง .. นั้น ไม่ใช่ผมอ้างกฎเกณฑ์ข้างต้นเพื่อบอก “เป็นนัย” หรอก แต่นักวิชาการในอดีตจำนวนมาก อาทิเช่น ท่านอิหม่ามอะห์มัด, ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม, ท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์, ท่านอัล-มุนาวีย์, ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ท่านอิซซุดดีน อิบนุอับดิสสลาม, ท่านอิบนุกะษีรฺ เป็นต้น และนักวิชาการในยุคปัจจุบันอีกเยอะแยะที่กล่าว “อย่างชัดเจน” ว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺเป็นบิดอะฮ์, เป็นเรื่องต้องห้าม, หรือ การอ่านอัล-กุรฺอ่านนั้นอุทิศผลบุญไม่ถึงผู้ตาย .. ซึ่งแสดงว่า พวกท่านมองว่า “หลักฐานเจาะจง” ในเรื่องนี้ไม่มี จึงได้หุก่มออกมาอย่างนี้ .. ดังจะถึงต่อไปในข้อที่ (4) ...
3.3 ส่วนการที่ อ.อัชอะรีย์พยายามอธิบายว่า สิ่งที่เรียกว่า “หลักฐาน” ย่อมมีทั้งหลักฐานแบบกว้างๆและหลักฐานแบบจำกัด ฯลฯ.. พร้อมกับนำตัวอย่างสิ่งที่เป็นหลักฐานกว้างๆบางอย่างมาประกอบคำอธิบายเพื่อต้องการยืนยันว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ หรือเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น มี “หลักฐานกว้างๆ” รองรับ ซึ่ง อ.อัชอะรีย์คงจะหมายถึงหลักฐานส่งเสริมให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่มีอยู่หลายสิบบท, หรือเรื่องท่านนบีย์ไปนมาซมัยยิตที่กุบูรฺนั่นเอง ...
ผมขอเรียนว่า ประเด็นเรื่องหลักฐานกว้าง-หลักฐานแคบอะไรที่ว่านี้ ไม่มีใครปฏิเสธหรอก และก็ใช่ว่าจะมี อ.อัชอะรีย์เพียงผู้เดียวที่รู้เรื่องนี้ ...
เพราะผู้ที่เคยเรียนวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาบ้างย่อมเข้าใจกันทุกคนแหละ ...
แต่ปัญหาก็คือ อ.อัชอะรีย์รู้หรือเปล่าว่า เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตาย – ไม่ว่าที่กุบูรฺหรือที่บ้าน -- ไม่ใช่เป็นเรื่องของ “หลักฐานกว้างๆ” ดังความเข้าใจของ อ.อัชอะรีย์ แต่เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกกันว่า نَصٌّ (นัศ) หรือ “หลักฐานที่ชัดเจน” ของมัน ...
ท่านอิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวในหนังสือ “ตัฟซีรฺอิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า 276 อันเป็นการอธิบายเรื่อง “การอุทิศผลบุญไม่ถึงผู้ตาย” ว่า ...
وَبَابُ الْقُرَبَاتِ يُقَتَصَرُ فِيْهِ عَلَى النُّصُوْصِ فَلاَ يُتَصَرَّفُ فِيْهِ بِأَنْوَاعِ اْلأَقْيِسَةِ وَاْلآرَاءِ
“เรื่องของสิ่งที่จะทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ์ (ผลบุญ) นั้น จะต้องจำกัดตาม نَصٌّ (ตัวบทชัดเจน) เท่านั้น, จะนำเรื่องนี้ไปปรับเปลี่ยนโยกย้ายตามการกิยาสในรูปแบบต่างๆหรือแนวคิดใดๆหาได้ไม่” ...
หากผมจะถาม อ.อัชอะรีย์ว่า เข้าใจคำว่า “نَصٌّ” หรือไม่? ก็คงจะเป็นการเอา ”มะพร้าวสด” ไปขายสวน ...
จึงขออธิบายแก่ท่านผู้อ่านอื่นๆ (ที่ยังไม่รู้) ว่า ...
คำว่า “نَصٌّ” นี้ ท่านอิบนุ้ลอะษีรฺได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือ “อัน-นิฮายะฮ์ ฟีเฆาะรีบิ้ลหะดีษ” เล่มที่ 4 หน้า 65 ว่า ...
مَا دَلَّ ظَاهِرُ لَفْظِهِ عَلَيْهِ مِنَ اْلأَحْكَامِ
“คือ หุก่มต่างๆซึ่งปรากฏชัดเจนจากการบ่งชี้ของถ้อยคำของมัน” ...
ส่วนในหนังสือปทานุกรม “อัล-มุอฺญัม อัล-วะซีฏ” เล่มที่ 2 หน้า 926 กล่าวอธิบายว่า ...
اَلنَّصُّ مَا لاَ يَحْتَمِلُ إِلاَّ مَعْنىً وَاحِدًا، أَوْ لاَ يَحْتَمِلُ التَّأْوِيْلَ
“นัศ ก็คือ สิ่งซึ่งไม่สามารถจะตีความ(เป็นอย่างอื่น)ได้นอกจากเพียงความหมายเดียว, หรือสิ่งซึ่งไม่สามารถจะตะอ์วีล(แปรเปลี่ยนความหมาย)) เป็นอย่างอื่นได้” ...
รวมความแล้ว คำว่า “นัศ” (ที่เป็นหลักฐานเรื่องผลบุญ)จึงไม่ได้หมายถึง “หลักฐานกว้างๆ” .. ดังตัวอย่างต่างๆที่ อ.อัชอะรีย์นำมาอ้างหลายหน้ากระดาษ ...
แต่คำว่า “นัศ” จะหมายถึง “หลักฐานที่ชัดเจนที่ไม่สามารถจะตีความเป็นอย่างอื่นได้” .. อาทิเช่น “นัศ” เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย, “นัศ” เรื่องการจัดเลี้ยงอาหารเพื่อส่งบุญให้ผู้ตาย เป็นต้น ...
จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งนักวิชาการในอดีต – ทุกท่าน – ที่มีทัศนะตรงกับ อ.อัชอะรีบ์ ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีท่านใดอ้าง “หลักฐานกว้างๆ” เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่าน หรืออ้างหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์เรื่อง “ท่านนบีย์นมาซมัยยิตที่กุบูรฺ” มาเป็นหลักฐานเรื่อง “อ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายได้” เหมือนการอ้างของ อ.อัชอะรีย์แม้แต่คนเดียว ...
ตรงกันข้าม พวกท่านกลับอ้าง “นัศ” .. คือ “หะดีษ” ที่กล่าวอย่างชัดเจนเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตาย แทนที่จะอ้างหลักฐานกว้างๆหรือหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทนั้นเหมือน อ.อัชอะรีย์ ...
แม้ว่าหะดีษเรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายดังกล่าวจะเป็นหะดีษเฎาะอีฟ (ดังการยอมรับของท่านอัส-สะยูฏีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุศ ศุดูรฺ” หน้า 311) ก็ตาม ...
ก็ไม่ทราบว่า บรรดานักวิชาการเหล่านั้นท่าน “ลืม” นึกถึง “หลักฐานกว้างๆ” เรื่องส่งเสริมให้อ่านอัล-กุรฺอ่าน, .. และลืมนึกถึง “หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์” เรื่องท่านนบีย์นมาซมัยยิตในกุบูรฺ หรืออย่างไร ? ...
หรือมิฉะนั้นก็เป็นไปได้ว่า วิชาความรู้ของพวกท่านคงจะยัง “ไม่ถึงขั้น” และยัง “ไม่แตกฉาน” พอในวิชาอุศูลุลฟิกฮ์เหมือน อ.อัชอะรีย์ ??? ...
อีกประการหนึ่ง ในกรณีของหลักฐานกว้างๆนั้น มีหลายกรณีที่เราจำเป็นจะต้องดูการอธิบาย (บะยาน) จาก “การปฏิบัติ” ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมประกอบด้วย ว่าความ “กว้าง” ของมันมีขอบเขตแค่ไหน เพราะการ “ตีความ" เอาเองจากหลักฐานกว้างๆโดยพลการ อาจจะนำเราเข้ารกเข้าพงได้ ดังตัวอย่างที่จะถึงต่อไป ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น