โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
นักวิชาการอุศู้ลุลฟิกฮ์ ได้จำแนก "ซุนนะฮ์" หรือแบบอย่างของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม - ในทางปฏิบัติ - ออกเป็น 2 ลักษณะคือ ซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ (سُنَّةٌ فِعْلِيَّةٌ) กับซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ (سُنَّةٌ تَرْكِيَّةٌ) ...
ซุนนะฮ์ทั้งสองลักษณะนี้ จัดเข้าอยู่ภายใต้ความหมายของคำว่า أَفْعَالِهِ (การกระทำต่างๆของท่าน) อันเป็นหนึ่งจากคำนิยามของคำว่าซุนนะฮ์ .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
คำว่า ซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ แปลว่า "แบบอย่างที่ต้องกระทำตาม" - โดยทั่วไป - หมายถึงแบบอย่างในด้านการ "ปฏิบัติ" ตามสิ่งที่ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กระทำไว้ ...
ส่วนมากของคำว่า "ซุนนะฮ์" ที่เข้าใจและกล่าวถึงกัน ก็คือซุนนะฮ์ประเภทนี้ ...
ส่วนคำว่า "ซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์" (ซึ่งคนจำนวนมากไม่เข้าใจหรือบางคนไม่เคยได้ยินก็มี) แปลว่า "แบบอย่างในการละทิ้งตาม" .. หมายถึงการ "เจตนา" ไม่กระทำสิ่งใดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งมุสลิมจะต้องละทิ้งจากการกระทำสิ่งนั้นด้วย .. เพื่อปฏิบัติตามการ "ละทิ้ง" ของท่าน ...
คำว่า "ละทิ้ง" บ่งบอกความหมายว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ "เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วแก่ตัวท่านหรือในสมัยของท่าน", แต่ท่าน "เจตนา" โดยตรงที่จะละทิ้งหรือไม่กระทำมัน ...
การละทิ้งหรือไม่กระทำสิ่งนั้น - เหมือนที่ท่านศาสดาไม่กระทำ - จึงถือว่า เป็นซุนนะฮ์ ! และการกระทำสิ่งนั้นภายหลัง นักวิชาการถือว่าเป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามหรือบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ ! ..
เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่ว่า "บิดอะฮ์ต้องห้าม" หมายถึงการกระทำสิ่งใดที่ท่านศาสดาไม่เคยกระทำในทุกๆกรณี ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นๆจะเคยเกิดขึ้นแก่ท่านหรือไม่ก็ตาม .. จึงเป็นความเข้าใจผิดของคนทั่วไป แม้กระทั่งนักวิชาการเอง ...
นักวิชาการอุศู้ลฯ ได้ยอมรับเรื่องซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ ว่า เป็นหลักการหนึ่งของอิสลาม เหมือนซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ เช่นเดียวกัน ...
ท่านอิหม่ามอัช-เชาว์กานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อิรฺชาด อัล-ฟุหูล” อันเป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของนิติศาสตร์อิสลาม ( اُصُوْلُ الْفِقْهِ ) หน้า 42 ว่า ....
تَرْكُهُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِلشَّـْئِ كَفِاعلِهِ لَـهُ فِى التَّأَسِّىْ بِهِ فِيْهِ، قَالَ ابْنُ السَّمْعَانِ : إذَا تَرَكَ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ شَيْأً وَجَبَ عَلَيْنَا مُتَابَعَتُهُ فِيْهِ ......
“การละทิ้งสิ่งใดของท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็เหมือนกับการกระทำของท่านต่อสิ่งนั้น ในแง่ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม, .. ท่านอิบนุ อัซ-ซัมอาน ได้กล่าวว่า : เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละทิ้งสิ่งใด “วาญิบ” ต่อพวกเรา จะต้องปฏิบัติตามท่านใน (การละทิ้ง) สิ่งนั้นด้วย .....”
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟีย์มะฎอรฺร์ อัล-อิบติดาอฺ” หน้า 34 - 35 ว่า
ซุนนะฮ์ทั้งสองลักษณะนี้ จัดเข้าอยู่ภายใต้ความหมายของคำว่า أَفْعَالِهِ (การกระทำต่างๆของท่าน) อันเป็นหนึ่งจากคำนิยามของคำว่าซุนนะฮ์ .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
คำว่า ซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ แปลว่า "แบบอย่างที่ต้องกระทำตาม" - โดยทั่วไป - หมายถึงแบบอย่างในด้านการ "ปฏิบัติ" ตามสิ่งที่ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กระทำไว้ ...
ส่วนมากของคำว่า "ซุนนะฮ์" ที่เข้าใจและกล่าวถึงกัน ก็คือซุนนะฮ์ประเภทนี้ ...
ส่วนคำว่า "ซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์" (ซึ่งคนจำนวนมากไม่เข้าใจหรือบางคนไม่เคยได้ยินก็มี) แปลว่า "แบบอย่างในการละทิ้งตาม" .. หมายถึงการ "เจตนา" ไม่กระทำสิ่งใดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งมุสลิมจะต้องละทิ้งจากการกระทำสิ่งนั้นด้วย .. เพื่อปฏิบัติตามการ "ละทิ้ง" ของท่าน ...
คำว่า "ละทิ้ง" บ่งบอกความหมายว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ "เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วแก่ตัวท่านหรือในสมัยของท่าน", แต่ท่าน "เจตนา" โดยตรงที่จะละทิ้งหรือไม่กระทำมัน ...
การละทิ้งหรือไม่กระทำสิ่งนั้น - เหมือนที่ท่านศาสดาไม่กระทำ - จึงถือว่า เป็นซุนนะฮ์ ! และการกระทำสิ่งนั้นภายหลัง นักวิชาการถือว่าเป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามหรือบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ ! ..
เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่ว่า "บิดอะฮ์ต้องห้าม" หมายถึงการกระทำสิ่งใดที่ท่านศาสดาไม่เคยกระทำในทุกๆกรณี ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นๆจะเคยเกิดขึ้นแก่ท่านหรือไม่ก็ตาม .. จึงเป็นความเข้าใจผิดของคนทั่วไป แม้กระทั่งนักวิชาการเอง ...
นักวิชาการอุศู้ลฯ ได้ยอมรับเรื่องซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ ว่า เป็นหลักการหนึ่งของอิสลาม เหมือนซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ เช่นเดียวกัน ...
ท่านอิหม่ามอัช-เชาว์กานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อิรฺชาด อัล-ฟุหูล” อันเป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของนิติศาสตร์อิสลาม ( اُصُوْلُ الْفِقْهِ ) หน้า 42 ว่า ....
تَرْكُهُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِلشَّـْئِ كَفِاعلِهِ لَـهُ فِى التَّأَسِّىْ بِهِ فِيْهِ، قَالَ ابْنُ السَّمْعَانِ : إذَا تَرَكَ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ شَيْأً وَجَبَ عَلَيْنَا مُتَابَعَتُهُ فِيْهِ ......
“การละทิ้งสิ่งใดของท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็เหมือนกับการกระทำของท่านต่อสิ่งนั้น ในแง่ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม, .. ท่านอิบนุ อัซ-ซัมอาน ได้กล่าวว่า : เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละทิ้งสิ่งใด “วาญิบ” ต่อพวกเรา จะต้องปฏิบัติตามท่านใน (การละทิ้ง) สิ่งนั้นด้วย .....”
ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟีย์มะฎอรฺร์ อัล-อิบติดาอฺ” หน้า 34 - 35 ว่า
وَأَمَّا مَا تَرَكَهُ الرَّسُوْلُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَاعْلَمْ أَنَّ سُنَّةَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَمَا تَكُوْنُ بِالْفِعْلِ تَكُوْنُ بِالتَّرْكِ، فَكَمَا كَلَّفَنَا اللَّـهُ تَعَالَى بِإتِّبَاعِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي فِعْلِهِ الَّذِيْ يَتَقَرَّبُ بِهِ إذَا لَمْ يَكُنْ مِنْ بَابِ الْخُصُوْصِيَّاتِ كَذَلِكَ طَالَبَنَا بِإتِّبَاعِهِ فِيْ تَرْكِهِ، فَيَكُوْنُ التَّرْكُ سُنَّةً، وَكَمَا لاَ نَتَقَرَّبُ إلَى اللَّـهِ تَعَالَى بِتَرْكِ مَافَعَلَ لاَ نَتَقَرَّبُ إلَيْهِ بِفِعْلِ مَاتَرَكَ، فَلاَ فَرْقَ بَيْنَ الْفَاعِلِ لِمَا تَرَكَ وَالتَّارِكِ لِمَا فَعَلَ ...
“อนึ่ง สิ่งใดที่ท่านรอซู้ลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้(เจตนา)ละทิ้ง ก็พึงรู้เถิดว่า แท้จริง ซุนนะฮ์ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม นั้น มีทั้งที่ต้องปฏิบัติตาม และต้องละทิ้งตาม, ... การที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงกำหนดให้พวกเรา ปฏิบัติตามท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ในการกระทำสิ่งที่ท่านปฏิบัติเพื่อความใกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮ์ อันมิใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่านฉันใด พระองค์อัลลอฮ์ก็ทรงต้องการให้เราปฏิบัติตามท่านศาสดาในการละทิ้ง (ไม่กระทำ ) ของท่านฉันนั้น, .. ดังนั้น การละทิ้ง (สิ่งใดที่ท่านศาสดาเจตนาไม่ปฏิบัติ) จึงเป็นซุนนะฮ์ด้วย, .. เสมือนอย่างการที่เราไม่สามารถใกล้ชิดพระองค์อัลลอฮ์ด้วยการ "ละทิ้งสิ่งที่ท่านศาสดาปฏิบัติ" ฉันใด ในทำนองเดียวกัน เราก็ไม่สามารถทำตัวให้ใกล้ชิดพระองค์อัลลอฮ์ ด้วยการ "ปฏิบัติสิ่งที่ท่านศาสดาได้ละทิ้ง" ฉันนั้น, ดังนั้น จึงไม่มีข้อแตกต่างอันใดในระหว่างผู้ปฏิบัติในสิ่งที่ท่านศาสดาละทิ้ง กับผู้ละทิ้งในสิ่งที่ท่านศาสดาปฏิบัติ ..........”
ท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศ ยังได้กล่าวในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 38 อีกว่า ...
ท่านเช็ค อะลีย์ มะห์ฟูศ ยังได้กล่าวในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 38 อีกว่า ...
فَإنَّ تَرْكَهُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سُنَّةٌ كَمَا أَنَّ فِعْلَهُ سُنَّةٌ، فَإذَا اسْتَحْبَبْنَافِعْلَ مَاتَرَكَ كَانَ نَظِيْرَاسْتِحْبَابِنَا تَرْكَ مَا فَعَلَ وَلاَ فَرْقَ .......
“แน่นอน, การละทิ้ง (ไม่กระทำ ) ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม คือซุนนะฮ์, เหมือนอย่างการกระทำของท่าน ก็คือซุนนะฮ์ ! ... เมื่อเราถือว่า "การกระทำในสิ่งที่ท่านนบีย์ละทิ้ง" เป็นเรื่องที่ชอบ ก็อุปมาเหมือนอย่างเราถือว่า "การละทิ้งสิ่งที่ท่านนบีย์กระทำ" ก็เป็นเรื่องที่ชอบเช่นเดียวกัน ... ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย .......”
(โปรดอ่านทบทวน แล้วใช้สติปัญญาของท่านไตร่ตรองข้อความข้างต้นนี้ให้ถี่ถ้วน แล้วท่านก็คงไม่ปฏิเสธความจริงของคำกล่าวข้างต้นนี้)
แต่ในยุคหลังๆมานี้ มีนักวิชาการบางท่าน - ที่ดิ้นรนหาความชอบธรรมของตนในการ "กระทำ" สิ่งที่ท่านศาสดา "เจตนาละทิ้ง" - ได้พยายามคัดค้านเรื่องซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์ว่าไม่มีหลักฐานและไม่ใช่เป็นหลักการในอิสลาม โดยอ้างคำนิยามของคำว่า "ซุนนะฮ์" ที่นักวิชาการได้กำหนดเอาไว้ ...
ตัวอย่างเช่นคำนิยามคำว่า "ซุนนะฮ์" ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ "ฟัตหุ้ลบารีย์" เล่มที่ 13 หน้า 245 กิตาบอัล-เอี๊ยะอฺติศอม ที่กล่าวว่า ...
َالسُّنَّةُ مَا جَاءَ عَنِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أَقْوَالِهِ، وَأَفْعَالِهِ، وَتَقْرِيْرِهِ وَمَا هَمَّ بِفِعْلِهِ
“แน่นอน, การละทิ้ง (ไม่กระทำ ) ของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม คือซุนนะฮ์, เหมือนอย่างการกระทำของท่าน ก็คือซุนนะฮ์ ! ... เมื่อเราถือว่า "การกระทำในสิ่งที่ท่านนบีย์ละทิ้ง" เป็นเรื่องที่ชอบ ก็อุปมาเหมือนอย่างเราถือว่า "การละทิ้งสิ่งที่ท่านนบีย์กระทำ" ก็เป็นเรื่องที่ชอบเช่นเดียวกัน ... ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย .......”
(โปรดอ่านทบทวน แล้วใช้สติปัญญาของท่านไตร่ตรองข้อความข้างต้นนี้ให้ถี่ถ้วน แล้วท่านก็คงไม่ปฏิเสธความจริงของคำกล่าวข้างต้นนี้)
แต่ในยุคหลังๆมานี้ มีนักวิชาการบางท่าน - ที่ดิ้นรนหาความชอบธรรมของตนในการ "กระทำ" สิ่งที่ท่านศาสดา "เจตนาละทิ้ง" - ได้พยายามคัดค้านเรื่องซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์ว่าไม่มีหลักฐานและไม่ใช่เป็นหลักการในอิสลาม โดยอ้างคำนิยามของคำว่า "ซุนนะฮ์" ที่นักวิชาการได้กำหนดเอาไว้ ...
ตัวอย่างเช่นคำนิยามคำว่า "ซุนนะฮ์" ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ "ฟัตหุ้ลบารีย์" เล่มที่ 13 หน้า 245 กิตาบอัล-เอี๊ยะอฺติศอม ที่กล่าวว่า ...
َالسُّنَّةُ مَا جَاءَ عَنِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أَقْوَالِهِ، وَأَفْعَالِهِ، وَتَقْرِيْرِهِ وَمَا هَمَّ بِفِعْلِهِ
"-ซุนนะฮ์ ก็คือ สิ่งที่มาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อันได้แก่ أَقْوَالِهِ (คำพูดต่างๆของท่าน), أَفْعَالِهِ (การกระทำต่างๆของท่าน), تَقْرِيْرِهِ (การยอมรับของท่าน), และ مَا هَمَّ بِفِعْلِهِ (สิ่งที่ท่านแสดงความตั้งใจว่าจะกระทำมัน)" ...
หมายเหตุ ตัวอย่างของซุนนะฮ์ข้อสุดท้ายนี้ ได้แก่การถือศีลอดวันที่ 9 เดือนมุหัรฺรอมควบคู่กับการถือศีลอดวันที่ 10 เพราะท่านศาสดาเคยกล่าวว่า สมมุติถ้าฉันมีชีวิตยืนยาวต่อไปถึงปีหน้า ฉันก็จะถือศีลอดวันที่ 9 (เดือนมุหัรฺรอม) ด้วย แต่ท่านก็สิ้นชีวิตก่อนที่จะได้ปฏิบัติตามที่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งบรรดานักวิชาการต่างก็ยอมรับว่า การถือศีลอดวันที่ 9 เดือนมุหัรฺรอมตามความตั้งใจของท่าน ถือเป็นซุนนะฮ์เช่นเดียวกัน ...
ข้ออ้างของผู้ที่คัดค้านเรื่องซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ก็คือ ในคำนิยามของ "ซุนนะฮ์" ข้างต้นนี้หรือในคำนิยามของนักวิชาการท่านใดก็ตาม จะกล่าวถึงเฉพาะ "การกระทำต่างๆ" ของท่านเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง "การละทิ้ง" ของท่านเอาไว้ด้วยเลย ...
การละทิ้งสิ่งใดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงไม่ใช่ซุนนะฮ์ที่จะต้องปฏิบัติตาม ...
แต่ผมขอยืนยันว่า เรื่องซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ เป็นสิ่งที่มี "หลักฐาน" แน่นอน, เป็นบทบัญญัติของอิสลามแน่นอน .. ดังที่นักวิชาการอุศู้ลุลฟิกฮ์ได้กำหนดเอาไว้ ..
เหตุผลดังการอ้างของผู้คัดค้านข้างต้นนั้น ฟังไม่ขึ้น และไม่สามารถจะหักล้างข้อเท็จจริงของหลักฐานที่ยืนยันว่า มีซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์จริงๆได้ ...
เพราะคำว่า أَفْعَالِهِ หรือ "การกระทำต่างๆ" ในคำนิยามข้างต้น หมายถึง ทุกๆอริยาบถของท่านที่ "ตรงกันข้าม" กับคำว่า أَقْوَالِهِ หรือ "คำพูดต่างๆ" ของท่าน ..
ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะเป็นไปในด้านบวก คือกระทำ, หรือเป็นไปในด้านลบ คือละทิ้ง เมื่อมิใช่เป็นคำพูด จึงถือว่าเป็น أَفْعَالِهِ .. คือ "การกระทำ" ของท่านทั้งสิ้น ....
หลักฐานชัดเจนเรื่อง "ซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์" ดังปรากฏในหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ก็คือ การรายงานเรื่องการทำหัจญ์ของท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. โดยท่านซาลิม บุตรชายของท่าน ว่า ...
"ฉันเห็นท่าน (อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)ได้ขว้างญัมเราะฮ์ใกล้ (หมายถึงญัมเราะฮ์แรกที่อยู่ใกล้กับมัยญิดอัล-ค็อยฟ์ที่ตำบลมินาสุด) ด้วยก้อนกรวดเขื่อง 7 ก้อน, โดยท่านกล่าวตักบีรฺพร้อมกับทุกก้อนที่ขว้าง จากนั้นท่านก็เดินไปข้างหน้าจนถึงตำแหน่งที่ราบแล้วท่านก็ยืนหันหน้าไปทางกิบลัตเป็นเวลานาน โดยยกมือทั้งสองข้างขึ้นขอดุอา, จากนั้นท่านก็ขว้างญัมเราะฮ์กลาง (ญัมเราะฮ์ที่สอง) เสร็จแล้วก็เดินเลี่ยงออกทางซ้าย .. ยืนหันหน้าไปทางกิบลัตเป็นเวลานานและยกมือทั้งสองข้างขึ้นขอดุอา, ต่อมาท่านก็ขว้างญัมเราะฮ์สุดท้าย (ญัมเราะฮ์ อะกอบะฮ์) จากทางด้านที่ลุ่มต่ำ และมิได้ยืน (ขอดุอา) ณ ที่นั้น เสร็จแล้วท่าน(อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)ก็เดินทางกลับ แล้วกล่าวว่า
"อย่างนี้แหละ ฉันเห็นท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกระทำ" ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 1751, 1752 และรายงานจากท่านอัซ-ซุฮ์รีย์ ในหะดีษที่ 1753 ด้วยข้อความที่คล้ายคลึงกัน) ...
ข้อความของหะดีษข้างต้นนี้ เป็นรายงานการกระทำของเศาะหาบะฮ์ คือท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. จึงมีลักษณะเป็นหะดีษเมากูฟ .. คือ คำพูดของเศาะหาบะฮ์ ซึ่งปกติ จะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงโดยตรงไม่ได้ ...
แต่คำพูดของท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. ตอนท้ายที่ว่า "อย่างนี้แหละ ฉันเห็นท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกระทำ" .. แสดงว่า เนื้อหาของหะดีษบทนี้ทั้งหมด เป็นหะดีษมัรฺฟูอฺ .. คือ เป็นการกระทำของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้ ...
เนื้อหาของหะดีษบทนี้ คือหลักฐานยืนยันว่า ซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในทางปฏิบัติ จะมี 2 ลักษณะ .. ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น คือ ...
1. ซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ ได้แก่ "การยืนขอดุอา" หลังจากการขว้างญัมเราะฮ์แรกและญัมเราะฮ์ที่สองแล้ว เพราะท่านนบีย์กระทำสิ่งนี้ ...
2. ซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ ได้แก่ "การละทิ้ง, ไม่ขอดุอา" หลังจากการขว้างญัมเราะฮ์ที่สามแล้ว เพราะท่านนบีย์ละทิ้งและไม่กระทำสิ่งนี้ ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้อธิบายหะดีษบทนี้ในหนังสือ "ฟัตหุ้ลบารีย์" เล่มที่ 3 หน้า 584 ว่า ...
وَفِى الْحَدِيْثِ مَشْرُوْعِيَّةُ التَّكْبِيْرِ عِنْدَ رَمْىِ كُلِّ حَصَاةٍ، .......................... وَتَرْكِ الدُّعَاءِ وَالْقِيَامِ عِنْدَ جَمْرَةِ الْعَقَبَةِ
"และในหะดีษบทนี้ (เป็นหลักฐานว่า) มีบทบัญญัติให้กล่าวตักบีรฺ (คือกล่าวอัลลอฮุ อักบัรฺ)ในการขว้างก้อนกรวดทุกก้อน, ................................................ และ(มีบทบัญญัติ)ให้ "ละทิ้ง" การขอดุอาและการยืนตอน(เสร็จจากขว้าง)ญัมเราะฮ์สุดท้าย" ....
ส่วนท่านอิหม่ามอัน-นะวะวีย์ ก็กล่าวอธิบายคล้ายคลึงกันว่า ...
وَيُسْتَحَبُّ أَنْ يَقِفَ عَقِبَ رَمْىِ اْلأَوَّلِ عِنْدَهَا مُسْتَقْبِلَ الْقِبْلَةِ زَمَانًا طَوِيْلاً يَدْعُوْ وَيَذْكُرُ اللهَ، وَيَقِفَ كَذَلِكَ عِنْدَ الثَّانِيَةِ، وَلاَ يَقِفَ عِنْدَ الثَّالِثَةِ ......
"และชอบที่จะให้มีการหยุดยืนถัดจากการขว้างญัมเราะฮ์แรกแล้ว ณ ที่นั้น โดยให้หันไปทางกิบลัตให้นาน (เพื่อ)ขอดุอาและซิกรุ้ลลอฮ์, และ(ชอบ)ให้หยุดยืน(ขอดุอา)หลังจากขว้างญัมเราะฮ์ที่สองในลักษณะเดียวกัน, แต่(ไม่ชอบ)ให้หยุดยืน (เพื่อขอดุอา) หลังจากขว้างญัมเราะฮ์ที่สามแล้ว " ...
ผมขอถามว่า มีนักวิชาการคนใดบ้างไหมที่กล่าวว่า ซุนนะฮ์หรือชอบให้หยุดยืนขอดุอาหลังจากการขว้างญัมเราะฮ์ที่สามแล้ว ? ...
คำตอบก็คือ ไม่มี ! .. เพราะนักวิชาการทุกท่านรู้ดีว่า ซุนนะฮ์ของท่านนบีย์ก็คือ ละทิ้งการขอดุอาหลังจากขว้างญัมเราะฮ์ที่สาม ...
เพราะฉะนั้น เมื่อหลักฐานมีชัดเจนออกอย่างนี้ และนักวิชาการก็อธิบายชัดเจนออกอย่างนี้แล้ว เรายังจะกล้าพูดอีกหรือว่า ซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์เป็นสิ่งไม่มีหลักฐาน และไม่ใช่เป็นบทบัญญัติในอิสลาม ??? ...
หมายเหตุ ตัวอย่างของซุนนะฮ์ข้อสุดท้ายนี้ ได้แก่การถือศีลอดวันที่ 9 เดือนมุหัรฺรอมควบคู่กับการถือศีลอดวันที่ 10 เพราะท่านศาสดาเคยกล่าวว่า สมมุติถ้าฉันมีชีวิตยืนยาวต่อไปถึงปีหน้า ฉันก็จะถือศีลอดวันที่ 9 (เดือนมุหัรฺรอม) ด้วย แต่ท่านก็สิ้นชีวิตก่อนที่จะได้ปฏิบัติตามที่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งบรรดานักวิชาการต่างก็ยอมรับว่า การถือศีลอดวันที่ 9 เดือนมุหัรฺรอมตามความตั้งใจของท่าน ถือเป็นซุนนะฮ์เช่นเดียวกัน ...
ข้ออ้างของผู้ที่คัดค้านเรื่องซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ก็คือ ในคำนิยามของ "ซุนนะฮ์" ข้างต้นนี้หรือในคำนิยามของนักวิชาการท่านใดก็ตาม จะกล่าวถึงเฉพาะ "การกระทำต่างๆ" ของท่านเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง "การละทิ้ง" ของท่านเอาไว้ด้วยเลย ...
การละทิ้งสิ่งใดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงไม่ใช่ซุนนะฮ์ที่จะต้องปฏิบัติตาม ...
แต่ผมขอยืนยันว่า เรื่องซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ เป็นสิ่งที่มี "หลักฐาน" แน่นอน, เป็นบทบัญญัติของอิสลามแน่นอน .. ดังที่นักวิชาการอุศู้ลุลฟิกฮ์ได้กำหนดเอาไว้ ..
เหตุผลดังการอ้างของผู้คัดค้านข้างต้นนั้น ฟังไม่ขึ้น และไม่สามารถจะหักล้างข้อเท็จจริงของหลักฐานที่ยืนยันว่า มีซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์จริงๆได้ ...
เพราะคำว่า أَفْعَالِهِ หรือ "การกระทำต่างๆ" ในคำนิยามข้างต้น หมายถึง ทุกๆอริยาบถของท่านที่ "ตรงกันข้าม" กับคำว่า أَقْوَالِهِ หรือ "คำพูดต่างๆ" ของท่าน ..
ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะเป็นไปในด้านบวก คือกระทำ, หรือเป็นไปในด้านลบ คือละทิ้ง เมื่อมิใช่เป็นคำพูด จึงถือว่าเป็น أَفْعَالِهِ .. คือ "การกระทำ" ของท่านทั้งสิ้น ....
หลักฐานชัดเจนเรื่อง "ซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์" ดังปรากฏในหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ก็คือ การรายงานเรื่องการทำหัจญ์ของท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. โดยท่านซาลิม บุตรชายของท่าน ว่า ...
"ฉันเห็นท่าน (อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)ได้ขว้างญัมเราะฮ์ใกล้ (หมายถึงญัมเราะฮ์แรกที่อยู่ใกล้กับมัยญิดอัล-ค็อยฟ์ที่ตำบลมินาสุด) ด้วยก้อนกรวดเขื่อง 7 ก้อน, โดยท่านกล่าวตักบีรฺพร้อมกับทุกก้อนที่ขว้าง จากนั้นท่านก็เดินไปข้างหน้าจนถึงตำแหน่งที่ราบแล้วท่านก็ยืนหันหน้าไปทางกิบลัตเป็นเวลานาน โดยยกมือทั้งสองข้างขึ้นขอดุอา, จากนั้นท่านก็ขว้างญัมเราะฮ์กลาง (ญัมเราะฮ์ที่สอง) เสร็จแล้วก็เดินเลี่ยงออกทางซ้าย .. ยืนหันหน้าไปทางกิบลัตเป็นเวลานานและยกมือทั้งสองข้างขึ้นขอดุอา, ต่อมาท่านก็ขว้างญัมเราะฮ์สุดท้าย (ญัมเราะฮ์ อะกอบะฮ์) จากทางด้านที่ลุ่มต่ำ และมิได้ยืน (ขอดุอา) ณ ที่นั้น เสร็จแล้วท่าน(อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)ก็เดินทางกลับ แล้วกล่าวว่า
"อย่างนี้แหละ ฉันเห็นท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกระทำ" ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 1751, 1752 และรายงานจากท่านอัซ-ซุฮ์รีย์ ในหะดีษที่ 1753 ด้วยข้อความที่คล้ายคลึงกัน) ...
ข้อความของหะดีษข้างต้นนี้ เป็นรายงานการกระทำของเศาะหาบะฮ์ คือท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. จึงมีลักษณะเป็นหะดีษเมากูฟ .. คือ คำพูดของเศาะหาบะฮ์ ซึ่งปกติ จะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงโดยตรงไม่ได้ ...
แต่คำพูดของท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. ตอนท้ายที่ว่า "อย่างนี้แหละ ฉันเห็นท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกระทำ" .. แสดงว่า เนื้อหาของหะดีษบทนี้ทั้งหมด เป็นหะดีษมัรฺฟูอฺ .. คือ เป็นการกระทำของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้ ...
เนื้อหาของหะดีษบทนี้ คือหลักฐานยืนยันว่า ซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในทางปฏิบัติ จะมี 2 ลักษณะ .. ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น คือ ...
1. ซุนนะฮ์ ฟิอฺลียะฮ์ ได้แก่ "การยืนขอดุอา" หลังจากการขว้างญัมเราะฮ์แรกและญัมเราะฮ์ที่สองแล้ว เพราะท่านนบีย์กระทำสิ่งนี้ ...
2. ซุนนะฮ์ ตัรฺกียะฮ์ ได้แก่ "การละทิ้ง, ไม่ขอดุอา" หลังจากการขว้างญัมเราะฮ์ที่สามแล้ว เพราะท่านนบีย์ละทิ้งและไม่กระทำสิ่งนี้ ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้อธิบายหะดีษบทนี้ในหนังสือ "ฟัตหุ้ลบารีย์" เล่มที่ 3 หน้า 584 ว่า ...
وَفِى الْحَدِيْثِ مَشْرُوْعِيَّةُ التَّكْبِيْرِ عِنْدَ رَمْىِ كُلِّ حَصَاةٍ، .......................... وَتَرْكِ الدُّعَاءِ وَالْقِيَامِ عِنْدَ جَمْرَةِ الْعَقَبَةِ
"และในหะดีษบทนี้ (เป็นหลักฐานว่า) มีบทบัญญัติให้กล่าวตักบีรฺ (คือกล่าวอัลลอฮุ อักบัรฺ)ในการขว้างก้อนกรวดทุกก้อน, ................................................ และ(มีบทบัญญัติ)ให้ "ละทิ้ง" การขอดุอาและการยืนตอน(เสร็จจากขว้าง)ญัมเราะฮ์สุดท้าย" ....
ส่วนท่านอิหม่ามอัน-นะวะวีย์ ก็กล่าวอธิบายคล้ายคลึงกันว่า ...
وَيُسْتَحَبُّ أَنْ يَقِفَ عَقِبَ رَمْىِ اْلأَوَّلِ عِنْدَهَا مُسْتَقْبِلَ الْقِبْلَةِ زَمَانًا طَوِيْلاً يَدْعُوْ وَيَذْكُرُ اللهَ، وَيَقِفَ كَذَلِكَ عِنْدَ الثَّانِيَةِ، وَلاَ يَقِفَ عِنْدَ الثَّالِثَةِ ......
"และชอบที่จะให้มีการหยุดยืนถัดจากการขว้างญัมเราะฮ์แรกแล้ว ณ ที่นั้น โดยให้หันไปทางกิบลัตให้นาน (เพื่อ)ขอดุอาและซิกรุ้ลลอฮ์, และ(ชอบ)ให้หยุดยืน(ขอดุอา)หลังจากขว้างญัมเราะฮ์ที่สองในลักษณะเดียวกัน, แต่(ไม่ชอบ)ให้หยุดยืน (เพื่อขอดุอา) หลังจากขว้างญัมเราะฮ์ที่สามแล้ว " ...
ผมขอถามว่า มีนักวิชาการคนใดบ้างไหมที่กล่าวว่า ซุนนะฮ์หรือชอบให้หยุดยืนขอดุอาหลังจากการขว้างญัมเราะฮ์ที่สามแล้ว ? ...
คำตอบก็คือ ไม่มี ! .. เพราะนักวิชาการทุกท่านรู้ดีว่า ซุนนะฮ์ของท่านนบีย์ก็คือ ละทิ้งการขอดุอาหลังจากขว้างญัมเราะฮ์ที่สาม ...
เพราะฉะนั้น เมื่อหลักฐานมีชัดเจนออกอย่างนี้ และนักวิชาการก็อธิบายชัดเจนออกอย่างนี้แล้ว เรายังจะกล้าพูดอีกหรือว่า ซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์เป็นสิ่งไม่มีหลักฐาน และไม่ใช่เป็นบทบัญญัติในอิสลาม ??? ...
(ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น