โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
หลักฐานอนุมัติเครื่องประดับทองคำแก่สตรี
มีหลักฐานจากหะดีษบางบทที่แสดงว่า เครื่องประดับทองคำ --- ทุกชนิด --- เป็นที่อนุมัติแก่ผู้หญิง ซึ่งในมุมมองของนักวิชาการหลายท่านถือว่า หะดีษเหล่านี้ขัดแย้งกันกับหะดีษที่กล่าวมาแล้วตอนต้นว่า เครื่องประดับทองคำบางชนิด เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้หญิง .. ทั้งที่ความจริงมันมิได้ขัดแย้งอะไรกันเลย ดังจะได้อธิบายต่อไปในหน้าที่ 59 ...
หะดีษดังกล่าวได้แก่ ...
(1). หะดีษซึ่งรายงานโดยท่านอะลีย์ บิน อบีย์ฏอลิบ ร.ฎ. มีข้อความว่า ...
หะดีษดังกล่าวได้แก่ ...
(1). หะดีษซึ่งรายงานโดยท่านอะลีย์ บิน อบีย์ฏอลิบ ร.ฎ. มีข้อความว่า ...
أَخَذَالنَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَرِيْرًا فَجَعَلَهُ فِىْ يَمِيْنِهِ، وَأَخَذَ ذَهَبًا فَجَعَلَهُ فِىْ شِمَالِهِ، ثُمَّ قَالَ : إِنَّ هَذَيْنِ حَرَامٌ عَلَى ذُكُوْرِأُمَّتِىْ، حِلٌّ ِلإنَاثِهِمْ ...
“ ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้เอาผ้าไหมมาถือไว้ในมือขวา และเอาทองคำมาถือไว้ในมือซ้าย แล้วท่านก็กล่าวว่า .. “สองอย่างนี้ เป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) สำหรับบุรุษเพศจากอุมมะฮ์ของฉัน, และเป็นที่อนุมัติแก่สตรีเพศของพวกเขา” ...
หะดีษบทนี้ บันทึกโดยท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอะห์มัด, ท่านอิบนุมาญะฮ์, และท่านอิบนุหิบบาน ซึ่งในภาพรวมถือว่าเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังที่อธิบายผ่านมาแล้วจากหน้า 11-12 ...
(2). ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้กล่าวว่า ...
หะดีษบทนี้ บันทึกโดยท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอะห์มัด, ท่านอิบนุมาญะฮ์, และท่านอิบนุหิบบาน ซึ่งในภาพรวมถือว่าเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังที่อธิบายผ่านมาแล้วจากหน้า 11-12 ...
(2). ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ได้กล่าวว่า ...
(( قَدِمَتْ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حِلْيَةٌ مِنْ عِنْدِ النَّجَاشِىِّ أَهْدَاهَالَهُ، فِيْهَا خَاتَمٌ مِنْ ذَهَبٍ فِيْهِ فَصٌّ حَبَشِىٌّ، قَالَتْ : فَأَخَذَهُ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم بِعُوْدٍ مُعْرِضًا عَنْهُ _ أَوْ بِبَعْضِ أَصَابِعِهِ _ ثُمَّ دَعَا أُمَامَةَ بِنْتَ أَبِى الْعَاصِ اِبْنَةَ ابْنَتِهِ، فَقَالَ : تَحَلَّىْ بِهَذَا يَا بُنَيَّةُ ! ))
“ของขวัญจากเครื่องประดับซึ่งกษัตริย์นะญาชีย์ (แห่งเอธิโอเปีย) มอบให้เป็นบรรณาการ ได้ถึงมายังท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .. ในนั้นมีแหวนทองคำอยู่วงหนึ่งซึ่งหัวของมันเป็น (พลอย) แห่งเอธิโอเปีย, ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ใช้กิ่งไม้ (หรือนิ้วบางนิ้วของท่าน) หยิบมันขึ้นมาด้วยท่าทางขยะแขยง แล้วท่านก็เรียกท่านอุมามะฮ์ ซึ่งเป็นบุตรีของท่านอบีย์ อัล-อาศ กับท่านหญิงซัยหนับ ร.ฎ.บุตรสาวของท่านเข้ามา แล้วกล่าวว่า .. “เอามันไปสวมซิ แม่หนูน้อย !” ..
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4235, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 3644, ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 6 หน้า 65, ท่านอิบนุหัสมินในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มทื่ 10 หน้า 85 และท่านอิบนุสะอัด ในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอตฯ” เล่มทื่ 8 หน้า 263 ด้วยสายรายงานที่หะซัน (สวยงาม) ...
(3). ท่านซัยหนับ บินติ นุบัยฏ์ ภริยาของท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ...
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4235, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 3644, ท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 6 หน้า 65, ท่านอิบนุหัสมินในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มทื่ 10 หน้า 85 และท่านอิบนุสะอัด ในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอตฯ” เล่มทื่ 8 หน้า 263 ด้วยสายรายงานที่หะซัน (สวยงาม) ...
(3). ท่านซัยหนับ บินติ นุบัยฏ์ ภริยาของท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ...
(( إِنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَلَّى أُمَّهَا وَخَالَتَهَا، وَكَانَ أَبُوْهُمَا أَبُوْأُمَامَةَ أَسْعَدُ بْنُ زُرَارَةَ أَوْصَى بِهِمَا إِلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَحَلاَّهُمَا رِعَاثًا مِنْ تِبْرِ ذَهَبٍ فِيْهِ لُؤْلُؤٌ، قَالَتْ زَيْنَبُ : فَأَدْرَكْتُ بَعْضَ ذَلِكَ الْحُلِىِّ عِنْدَ أَهْلِىْ ))
“แท้จริง ท่านรอซู้ลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ใส่เครื่องประดับให้แก่มารดาของเธอ (คือท่านหะบีบะฮ์ บินติ อบีย์อุมามะฮ์) และให้แก่น้าสาวของเธอ -- โดยบิดาของทั้งสองท่านนั้น คือท่านอบีย์อุมามะฮ์ (ชื่อจริงคือท่านอัซอัด บิน ซุรอเราะฮ์ ร.ฎ. ได้สั่งให้ทั้งสองไปหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) – แล้วท่านศาสดาก็ได้ใส่เครื่องประดับอันเป็นพวงตุ้มหูที่ทำจากแร่ทองคำซึ่งมีไข่มุกประดับอยู่ด้วยให้แก่ทั้งสอง .. ท่านซัยหนับกล่าวต่อไปว่า .. “แล้วดิฉันก็เคยเจอบางส่วนของเครื่องประดับเหล่านั้นที่บุคคลในครอบครัวของดิฉันเอง” ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-หากิม เล่มที่ 3 หน้า 207, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “อัล-อิศอบะฮ์” เล่มที่ 8 หน้า 47, และท่านอิบนุล-อะษีรฺ ในหนังสือ "อัน-นิฮายะฮ์ ฟี เฆาะรีบิลหะดีษ” เล่มที่ 2 หน้า 234 .. สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัล-หากิม) ...
สถานภาพของหะดีษบทนี้ เป็นหะดีษหะซัน (สวยงาม) เช่นเดียวกัน ...
(4). มีรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ว่า ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-หากิม เล่มที่ 3 หน้า 207, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “อัล-อิศอบะฮ์” เล่มที่ 8 หน้า 47, และท่านอิบนุล-อะษีรฺ ในหนังสือ "อัน-นิฮายะฮ์ ฟี เฆาะรีบิลหะดีษ” เล่มที่ 2 หน้า 234 .. สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัล-หากิม) ...
สถานภาพของหะดีษบทนี้ เป็นหะดีษหะซัน (สวยงาม) เช่นเดียวกัน ...
(4). มีรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ว่า ...
(( عَثَرَ أُسَامَةُ بِعَتَبَةِ الْبَابِ، فَشُجَّ فِىْ وَجْهِهِ، فَقَالَ رَسُوْلُ الله ِصَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : يَا عَائِشَةُ ! أَمِيْطِىْ عَنْهُ اْلأَذَى ! فَتَقَذَّرْتُهُ، فَجَعَلَ يَمُصُّ عَنْهُ الدَّمَ وَيَمُجُّهُ عَنْ وَجْهِهِ، ثُمَّ قَالَ : لَوْ كَانَ أُسَامَةُ جَارِيَةً لَحَلَّيْتُهُ وَكَسَوْتُهُ حَتَّى أُنَفِّقَهُ ))
“อุซามะฮ์ (บิน ซัยด์) ได้ลื่นล้มลงที่ธรณีประตู และมีบาดแผลที่หน้า, ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมจึงกล่าวว่า .. “นี่ อาอิชะฮ์ ! เช็ดเลือดให้เขาทีซิ” แต่ฉันขยะแขยงมัน ท่านจึงลงมือดูดเลือดนั้นจากหน้าของเขาและถ่มมันออกไป เสร็จแล้วท่านจึงกล่าวว่า .. “สมมุติถ้าอุซามะฮ์เป็นเด็กผู้หญิงนะหรือ ฉันจะประดับประดาและแต่งตัวเขาให้สวยเช้ง เพื่อจะให้เขาขายดี (หมายถึง มีผู้มาจีบเยอะ) เลยเชียว” ...
(บันทึกโดย ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 139, 222, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 1976, ท่านอิบนุสะอัดในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอต” เล่มที่ 4 หน้า 349, ท่านอบูยะอฺลา เล่มที่ 3 หน้า 1131) ...
หะดีษบทนี้ในภาพรวม ถือว่าเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังการวิเคราะห์ของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ “อัศเศาะหี้หะฮ์” เล่มที่ 3 หน้า 16 ...
(5). ท่านสะอีด บิน อัล-มุซัยยับ ได้กล่าวว่า ...
(บันทึกโดย ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 139, 222, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 1976, ท่านอิบนุสะอัดในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอต” เล่มที่ 4 หน้า 349, ท่านอบูยะอฺลา เล่มที่ 3 หน้า 1131) ...
หะดีษบทนี้ในภาพรวม ถือว่าเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังการวิเคราะห์ของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ “อัศเศาะหี้หะฮ์” เล่มที่ 3 หน้า 16 ...
(5). ท่านสะอีด บิน อัล-มุซัยยับ ได้กล่าวว่า ...
قَدِمَتْ صَفِيَّةُ بِنْتُ حُيَيٍّ َوَفِىْ أُذُنَيْهَا خُرْصَةٌ مِنْ ذَهَبٍ، فَوَهَبَتْ مِنْهُ لِفَاطِمَةَ وَلِنِسَاءٍ مَعَهَا ...
“ท่านหญิงศอฟียะฮ์ บินติ หุยัยย์ ร.ฎ. (ภริยาของท่านรอซู้ลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, สมรสกับท่านเมื่อเสร็จสิ้นสงครามค็อยบัรฺในปี ฮ.ศ. ที่ 7) ได้มุ่งหน้ามา (นครมะดีนะฮ์) โดยที่หูทั้งสองของท่านมีตุ้มหูทองคำอยู่, แล้วท่านก็มอบตุ้มหูบางอันแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ. และแก่สตรีที่อยู่พร้อมกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วย” ...
(หะดีษนี้ บันทึกโดยท่านอิบนุ สะอัด ในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอต” เล่มที่ 8 หน้า 309, แต่การรายงานมีลักษณะมุรฺซัล (ขาดตอน) เพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีที่ 7 ของฮิจญเราะฮ์ศักราช, .. แต่ท่านสะอีด บินอัล-มุซัยยับผู้รายงานเกิดในปีที่ 2 ของการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ ร.ฎ. .. คือเกิดหลังจากที่เหตุการณ์นี้ผ่านมาแล้วประมาณ 8 ปี ...
หะดีษบทนี้ตามรูปการ จึงไม่น่าจะเป็นหลักฐานในเรื่องอนุญาตให้ใช้เครื่องประดับทองคำแก่สตรีได้ ...
สรุปแล้ว หะดีษมัรฺฟูอฺ (คือ หะดีษที่อ้างการรายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) ที่อนุมัติให้สตรีใช้เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ (เท่าที่ผมพอจะรวบรวมได้) ก็น่าจะมีอยู่แค่นี้ หรือหากจะมีหลงเหลืออยู่บ้างก็คงไม่มากนัก ...
นักวิชาการ “ส่วนใหญ่” ที่มีทัศนะว่า เครื่องประดับทองคำทุกชนิดเป็นที่อนุมัติแก่สตรี ได้พยายามหา “ทางออก” จากความขัดแย้ง -- ตามความเข้าใจของพวกท่าน -- กับหะดีษที่ห้ามสตรีใช้เครื่องประดับทองคำบางชนิดดังในตอนต้น .. โดยทางออกตามทัศนะของพวกท่าน ยังขัดแย้งกันเองเป็นหลายทฤษฎีด้วยกันดังต่อไปนี้ ...
1. ถือว่า หะดีษที่ห้ามสตรีจากการใช้เครื่องประดับทองคำ เป็นหะดีษเฎาะอีฟ
2. ถือว่า การห้ามดังกล่าว หมายถึงกรณีสวมใส่เพื่อโชว์หรือโอ้อวด
3. ถือว่า การห้ามดังกล่าว หมายถึงกรณียังไม่ได้จ่ายซะกาต
4. ถือว่า การอนุมัติเครื่องประดับทองคำทุกชนิดแก่สตรี เป็นมติเอกฉันท์ (อิจญมาอฺ) ของบรรดานักวิชาการแล้ว จึงไม่สามารถห้ามหรือคัดค้านได้อีก
5. ถือว่า การห้ามดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในช่วงแรกของอิสลาม แต่ถูกยกเลิกไปแล้ว
6. ถือว่า ข้อห้ามดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงหลังสุดของอิสลามก่อนการสิ้นชีพของท่านศาสดาไม่นาน, แต่เป็นการห้ามเฉพาะเครื่องประดับทองคำที่ถูกระบุมาในหะดีษ คือ แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ และกำไลทองคำเท่านั้น, มิได้ห้ามทองคำทั้งหมดแก่สตรี ...
ต่อไปนี้ คือรายละเอียดของแต่ละทฤษฎีหรือแต่ละทัศนะเหล่านั้น พร้อมด้วยข้อชี้แจงหรือโต้แย้งเท่าที่จำเป็น ...
(หะดีษนี้ บันทึกโดยท่านอิบนุ สะอัด ในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอต” เล่มที่ 8 หน้า 309, แต่การรายงานมีลักษณะมุรฺซัล (ขาดตอน) เพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีที่ 7 ของฮิจญเราะฮ์ศักราช, .. แต่ท่านสะอีด บินอัล-มุซัยยับผู้รายงานเกิดในปีที่ 2 ของการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ ร.ฎ. .. คือเกิดหลังจากที่เหตุการณ์นี้ผ่านมาแล้วประมาณ 8 ปี ...
หะดีษบทนี้ตามรูปการ จึงไม่น่าจะเป็นหลักฐานในเรื่องอนุญาตให้ใช้เครื่องประดับทองคำแก่สตรีได้ ...
สรุปแล้ว หะดีษมัรฺฟูอฺ (คือ หะดีษที่อ้างการรายงานมาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) ที่อนุมัติให้สตรีใช้เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ (เท่าที่ผมพอจะรวบรวมได้) ก็น่าจะมีอยู่แค่นี้ หรือหากจะมีหลงเหลืออยู่บ้างก็คงไม่มากนัก ...
นักวิชาการ “ส่วนใหญ่” ที่มีทัศนะว่า เครื่องประดับทองคำทุกชนิดเป็นที่อนุมัติแก่สตรี ได้พยายามหา “ทางออก” จากความขัดแย้ง -- ตามความเข้าใจของพวกท่าน -- กับหะดีษที่ห้ามสตรีใช้เครื่องประดับทองคำบางชนิดดังในตอนต้น .. โดยทางออกตามทัศนะของพวกท่าน ยังขัดแย้งกันเองเป็นหลายทฤษฎีด้วยกันดังต่อไปนี้ ...
1. ถือว่า หะดีษที่ห้ามสตรีจากการใช้เครื่องประดับทองคำ เป็นหะดีษเฎาะอีฟ
2. ถือว่า การห้ามดังกล่าว หมายถึงกรณีสวมใส่เพื่อโชว์หรือโอ้อวด
3. ถือว่า การห้ามดังกล่าว หมายถึงกรณียังไม่ได้จ่ายซะกาต
4. ถือว่า การอนุมัติเครื่องประดับทองคำทุกชนิดแก่สตรี เป็นมติเอกฉันท์ (อิจญมาอฺ) ของบรรดานักวิชาการแล้ว จึงไม่สามารถห้ามหรือคัดค้านได้อีก
5. ถือว่า การห้ามดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในช่วงแรกของอิสลาม แต่ถูกยกเลิกไปแล้ว
6. ถือว่า ข้อห้ามดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงหลังสุดของอิสลามก่อนการสิ้นชีพของท่านศาสดาไม่นาน, แต่เป็นการห้ามเฉพาะเครื่องประดับทองคำที่ถูกระบุมาในหะดีษ คือ แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ และกำไลทองคำเท่านั้น, มิได้ห้ามทองคำทั้งหมดแก่สตรี ...
ต่อไปนี้ คือรายละเอียดของแต่ละทฤษฎีหรือแต่ละทัศนะเหล่านั้น พร้อมด้วยข้อชี้แจงหรือโต้แย้งเท่าที่จำเป็น ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น