โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ข้อโต้แย้งของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์เกี่ยวกับหะดีษบทนี้
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้วิจารณ์เชิงโต้แย้งหะดีษบทนี้ใน 2 ลักษณะคือ ในด้านสายรายงานของหะดีษ, และในด้านความหมายของหะดีษ ...
(1). ในด้านสายรายงานของหะดีษ
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ได้กล่าวโต้แย้งในหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ของท่าน หน้า 87-88 เกี่ยวกับสายรายงานของหะดีษบทนี้เพียงประเด็นเดียว โดยพุ่งเป้าไปที่ “ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด” .. ซึ่งท่านเช็คอิสมาอีล ถือว่าไม่น่าเชื่อถือ .. โดยได้อ้างการวิจารณ์ของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ จากหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มทื่ 1 หน้า 300 ที่กล่าวว่า ...
(( يُعْتَبَرُبِهِ ))
“เขา (อะซีด บินอบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด) จะถูกนำมาพิจารณา (ประกอบการรายงานของผู้อื่น) ได้” ...
ความหมายดังกล่าวก็คือ ท่านอะซีด บินอบีย์ อะซีด มิใช่เป็นผู้รายงานที่ได้รับความเชื่อถือโดยตรงในตัวเอง นอกจากการนำมาพิจารณาร่วมกับการรายงานของผู้อื่นเท่านั้น, ดังนั้น หะดีษบทใดที่ท่านอะซีดรายงานมาเพียงผู้เดียว (อย่างกรณีหะดีษบทนี้) โดยไม่มีผู้อื่นรายงานมายืนยันหรือสอดคล้องด้วย หะดีษบทนั้นจากการรายงานของท่านก็จะนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้ ...
ข้อชี้แจง
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้นำข้อวิจารณ์เกี่ยวกับตัวท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด มาจากท่านอัด-ดารุกุฏนีย์เพียงผู้เดียวที่กล่าวถึงท่านอะซีดผู้นี้ในด้านลบ, ...
แต่การกล่าววิจารณ์ของนักวิชาการท่านอื่นอีกมากที่ให้ความความเชื่อถือแก่ท่านอะซีด ท่านเช็คอิสมาอีล กลับมิได้กล่าวถึงแต่ประการใด ...
ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, และท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้ยอมรับท่านอะซีด บินอบีย์อะซีด เป็นผู้รายงานที่เชื่อถือได้ในตำราหะดีษ “อัส-สุนัน” ของพวกท่าน, ท่านบุคอรีย์ก็ยอมรับท่านอะซีด เป็นผู้รายงานในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” ของท่าน ดังมีการบันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 1 หน้า 300, และท่านอิบนุหิบบาน ก็ถือว่าท่านอะซีด เป็นผู้รายงานที่เชื่อถือได้ ดังกล่าวมาแล้วในหน้า 16 ...
นอกจากนี้ ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์, ท่านอัล-หากิม ก็ถือว่า หะดีษต่างๆที่ถูกรายงานโดยท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด เป็นหะดีษที่แข็งแรง (จากหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” หน้า 12) ...
ท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าวสรุปประวัติของท่านอะซีด ผู้นี้ในหนังสือ “อัล-กาชิฟ” เล่มที่ 1 หน้า 81, และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ก็ได้กล่าวสรุปมาตรงกันในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 1 หน้า 77 ว่า ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอดนั้น صَدُوْقٌ .. คือ เป็นผู้รายงานที่พอจะเชื่อถือได้, .. อันถือได้ว่า จัดอยู่ในสถานภาพของผู้รายงานหะดีษหะซัน ที่สามารถนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้ ...
นอกจากนี้ นักวิชาการหะดีษหลายท่านตามที่ระบุนามมาข้างต้น คือท่านอัล-มุนซิรีย์, ท่านอัช-เชากานีย์, ท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ และท่านอิบนุหัสมิน ต่างก็ยอมรับหะดีษบทนี้จากการรายงานของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดว่า เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังกล่าวมาแล้ว, ...
ส่วนคำกล่าวของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ที่วิจารณ์ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดในลักษณะว่า มิใช่เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือโดยตรงนอกจากในกรณีที่มีผู้อื่นรายงานมาให้สอดคล้องกันเท่านั้น .. คำวิจารณ์ดังกล่าวนี้ -- ตามหลักวิชาการหะดีษ -- ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะไปหักล้างทัศนะนักวิชาการหะดีษท่านอื่นอีกหลายท่านที่ให้ความเชื่อถือต่อท่านอะซีด, ทั้งนี้ เนื่องจากท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ “มิได้อธิบายเหตุผล” ด้วยว่า ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดมีความบกพร่องด้วยเหตุใด ? ...
กฎเกณฑ์ของวิชามุศเฏาะลาห์ อัล-หะดีษข้อหนึ่ง กล่าวเอาไว้ว่า ...
(1). ในด้านสายรายงานของหะดีษ
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ได้กล่าวโต้แย้งในหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ของท่าน หน้า 87-88 เกี่ยวกับสายรายงานของหะดีษบทนี้เพียงประเด็นเดียว โดยพุ่งเป้าไปที่ “ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด” .. ซึ่งท่านเช็คอิสมาอีล ถือว่าไม่น่าเชื่อถือ .. โดยได้อ้างการวิจารณ์ของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ จากหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มทื่ 1 หน้า 300 ที่กล่าวว่า ...
(( يُعْتَبَرُبِهِ ))
“เขา (อะซีด บินอบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด) จะถูกนำมาพิจารณา (ประกอบการรายงานของผู้อื่น) ได้” ...
ความหมายดังกล่าวก็คือ ท่านอะซีด บินอบีย์ อะซีด มิใช่เป็นผู้รายงานที่ได้รับความเชื่อถือโดยตรงในตัวเอง นอกจากการนำมาพิจารณาร่วมกับการรายงานของผู้อื่นเท่านั้น, ดังนั้น หะดีษบทใดที่ท่านอะซีดรายงานมาเพียงผู้เดียว (อย่างกรณีหะดีษบทนี้) โดยไม่มีผู้อื่นรายงานมายืนยันหรือสอดคล้องด้วย หะดีษบทนั้นจากการรายงานของท่านก็จะนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้ ...
ข้อชี้แจง
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้นำข้อวิจารณ์เกี่ยวกับตัวท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด มาจากท่านอัด-ดารุกุฏนีย์เพียงผู้เดียวที่กล่าวถึงท่านอะซีดผู้นี้ในด้านลบ, ...
แต่การกล่าววิจารณ์ของนักวิชาการท่านอื่นอีกมากที่ให้ความความเชื่อถือแก่ท่านอะซีด ท่านเช็คอิสมาอีล กลับมิได้กล่าวถึงแต่ประการใด ...
ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, และท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้ยอมรับท่านอะซีด บินอบีย์อะซีด เป็นผู้รายงานที่เชื่อถือได้ในตำราหะดีษ “อัส-สุนัน” ของพวกท่าน, ท่านบุคอรีย์ก็ยอมรับท่านอะซีด เป็นผู้รายงานในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” ของท่าน ดังมีการบันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 1 หน้า 300, และท่านอิบนุหิบบาน ก็ถือว่าท่านอะซีด เป็นผู้รายงานที่เชื่อถือได้ ดังกล่าวมาแล้วในหน้า 16 ...
นอกจากนี้ ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์, ท่านอัล-หากิม ก็ถือว่า หะดีษต่างๆที่ถูกรายงานโดยท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด เป็นหะดีษที่แข็งแรง (จากหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” หน้า 12) ...
ท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าวสรุปประวัติของท่านอะซีด ผู้นี้ในหนังสือ “อัล-กาชิฟ” เล่มที่ 1 หน้า 81, และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ก็ได้กล่าวสรุปมาตรงกันในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 1 หน้า 77 ว่า ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอดนั้น صَدُوْقٌ .. คือ เป็นผู้รายงานที่พอจะเชื่อถือได้, .. อันถือได้ว่า จัดอยู่ในสถานภาพของผู้รายงานหะดีษหะซัน ที่สามารถนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้ ...
นอกจากนี้ นักวิชาการหะดีษหลายท่านตามที่ระบุนามมาข้างต้น คือท่านอัล-มุนซิรีย์, ท่านอัช-เชากานีย์, ท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ และท่านอิบนุหัสมิน ต่างก็ยอมรับหะดีษบทนี้จากการรายงานของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดว่า เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังกล่าวมาแล้ว, ...
ส่วนคำกล่าวของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ที่วิจารณ์ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดในลักษณะว่า มิใช่เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือโดยตรงนอกจากในกรณีที่มีผู้อื่นรายงานมาให้สอดคล้องกันเท่านั้น .. คำวิจารณ์ดังกล่าวนี้ -- ตามหลักวิชาการหะดีษ -- ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะไปหักล้างทัศนะนักวิชาการหะดีษท่านอื่นอีกหลายท่านที่ให้ความเชื่อถือต่อท่านอะซีด, ทั้งนี้ เนื่องจากท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ “มิได้อธิบายเหตุผล” ด้วยว่า ท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดมีความบกพร่องด้วยเหตุใด ? ...
กฎเกณฑ์ของวิชามุศเฏาะลาห์ อัล-หะดีษข้อหนึ่ง กล่าวเอาไว้ว่า ...
اَلْجَرْحُ الْمُفَسَّرُ مُقَدَّمٌ عَلَى التَّعْدِيْلِ
“ข้อบกพร่องที่ได้รับการชี้แจงหรืออธิบาย ต้องมาก่อนการให้ความเชื่อถือ”
ในกรณีของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดนี้ ปรากฏว่ามีทั้งผู้ที่ให้ความเชื่อถืออยู่หลายท่าน ขณะเดียวกันก็ผู้ไม่ให้ความเชื่อถืออยู่ 1 ท่าน คือท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ ...
ถ้าหากว่า ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์มีการชี้แจงมาด้วยว่า ท่านอะซีดผู้นี้ไม่น่าเชื่อถือเพราะเหตุใด ? มีความบกพร่องอย่างไร .. คำกล่าวของท่านย่อมมีน้ำหนักและจะได้รับการยอมรับมากกว่าผู้ที่ให้ความเชื่อถือ ตามนัยของกฎเกณฑ์ของวิชาการหะดีษข้อนี้ ...
แต่เมื่อท่านอัด-ดารุกุฎนีย์มิได้ชี้แจงเหตุผลและจุดบกพร่องของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดไว้ด้วย จึงถือว่าการวิจารณ์ของท่านดังข้างต้น เป็นข้อวิจารณ์ลอยๆที่ไม่มีน้ำหนักและเหตุผลเพียงพอที่จะไปหักล้างความน่าเชื่อถือที่นักวิชาการท่านอื่นๆมีให้แก่ท่านอะซีดบิน อบีย์อะซีดลงได้ ...
สรุปแล้ว การโต้แย้งของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ต่อท่านเช็คอัล-อัลบานีย์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อันเป็นหนึ่งของผู้ที่มีชื่อในสายรายงานหะดีษบทนี้ จึงรับฟังไม่ขึ้น ...
ในกรณีของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดนี้ ปรากฏว่ามีทั้งผู้ที่ให้ความเชื่อถืออยู่หลายท่าน ขณะเดียวกันก็ผู้ไม่ให้ความเชื่อถืออยู่ 1 ท่าน คือท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ ...
ถ้าหากว่า ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์มีการชี้แจงมาด้วยว่า ท่านอะซีดผู้นี้ไม่น่าเชื่อถือเพราะเหตุใด ? มีความบกพร่องอย่างไร .. คำกล่าวของท่านย่อมมีน้ำหนักและจะได้รับการยอมรับมากกว่าผู้ที่ให้ความเชื่อถือ ตามนัยของกฎเกณฑ์ของวิชาการหะดีษข้อนี้ ...
แต่เมื่อท่านอัด-ดารุกุฎนีย์มิได้ชี้แจงเหตุผลและจุดบกพร่องของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีดไว้ด้วย จึงถือว่าการวิจารณ์ของท่านดังข้างต้น เป็นข้อวิจารณ์ลอยๆที่ไม่มีน้ำหนักและเหตุผลเพียงพอที่จะไปหักล้างความน่าเชื่อถือที่นักวิชาการท่านอื่นๆมีให้แก่ท่านอะซีดบิน อบีย์อะซีดลงได้ ...
สรุปแล้ว การโต้แย้งของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ต่อท่านเช็คอัล-อัลบานีย์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อันเป็นหนึ่งของผู้ที่มีชื่อในสายรายงานหะดีษบทนี้ จึงรับฟังไม่ขึ้น ...
(2). ในด้านความหมายของหะดีษ
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ของท่าน หน้า 76-78 โดยอ้างอิงข้อมูลจากทัศนะของนักวิชาการบางท่านว่า คำว่า حَبِيْبَهُ ซึ่งแปลว่า “ผู้ที่เขารัก” ที่ถูกกล่าวถึงในหะดีษบทนี้ .. ว่าหมายถึง ทารกเพศชาย,.. มิได้หมายถึง “ภรรยาหรือบุตรสาวที่บรรลุศาสนภาวะ” แต่ประการใด ...
ข้อชี้แจง
1. คำว่า حَبِيْبَهُ ซึ่งแปลว่า “ผู้ที่เขารัก” ตามหลักเกณฑ์ด้านภาษาอาหรับแล้ว จะใช้บ่งความหมายเป็นเพศชายก็ได้, เป็นเพศหญิงก็ได้ .. ซึ่งการที่ท่านศาสดากล่าวถึงเครื่องประดับประเภทแหวน, สร้อยคอ และกำไลในหะดีษบทนี้ ตามรูปการน่าจะหมายถึงเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ทั้งนี้ เพราะเพศหญิงคือเพศที่ชอบใช้เครื่องประดับเหล่านี้มากกว่าเพศชาย ...
2. หากข้อห้ามจากการใช้แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ และกำไลทองคำในหะดีษนี้ หมายถึง เด็กทารกเพศชาย .. ดังคำอธิบายของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์แล้ว ข้อห้ามดังกล่าวของท่านศาสดาย่อมแสดงว่า เด็กทารกเพศชายที่ถูกผู้ปกครองสวมใส่เครื่องประดับทองคำเหล่านี้ให้ จะต้องมีบาปหรือจะต้องตกนรก .. ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามหลักการศาสนาอิสลามที่ว่า เด็กๆที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะนั้น อยู่ในภาวะไร้บาปโดยสิ้นเชิง ...
3. ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ อธิบายว่า การห้ามสวมเครื่องประดับทองคำเหล่านี้แก่ผู้ที่เรารักอันได้แก่ทารกเพศชาย .. เหตุผลก็คือ เพื่อฝึกฝนให้พวกเขาหลีกเลี่ยงจากเครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากทองคำเมื่อเติบโตขึ้น ...
ผมก็อยากจะขอเรียนว่า ถ้าเหตุผลของการห้ามสวมใส่เครื่องประดับทองคำจากหะดีษข้างต้น เป็นดังที่ว่ามานี้ เราก็ควรจะห้ามผู้ปกครอง สวมใส่เครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากเงินแก่ทารกเพศชายด้วย .. ด้วยเหตุผลเดียวกัน .. คือเพื่อฝึกฝนพวกเขาให้รู้จักหลีกเลี่ยงจากการใช้เครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากเงินเมื่อโตขึ้น เพราะนักวิชาการต่างก็เห็นพ้องกันแล้วว่า ห้ามผู้ชายใช้เครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากเงิน อย่างเดียวกับการห้ามใช้เครื่องประดับทองคำ .. ยกเว้น “แหวนเงิน” อย่างเดียวเท่านั้น ...
ทว่า ข้อความตอนท้ายของหะดีษบทนี้ที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ “ส่งเสริม” ให้ใช้เครื่องประดับที่ “ทำด้วยเงิน” แก่ผู้ที่เรารัก แสดงว่า “ผู้ที่เรารัก” ในที่นี้ ย่อมมิใช่เป็นทารกเพศชายที่ “ถูกห้าม” ใช้เครื่องประดับที่ทำด้วยเงินตามเหตุผลข้างต้นแน่นอน, .. แต่จะต้องเป็นเพศหญิงซึ่งถูกส่งเสริมและได้รับอนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากเงินได้ ไม่ว่าในยามเยาวัยหรือตอนเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วโดยไม่มีข้อห้ามใดๆ ...
เพราะฉะนั้น เหตุผลและคำอธิบายของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ที่อ้างว่า คำว่า “ผู้ที่เขารัก” ในหะดีษบทนี้ มีความหมายถึงทารกเพศชาย .. จึงรับฟังไม่ขึ้น ...
4. คำอธิบายคำว่า “ผู้ที่เขารัก” ว่าหมายถึงทารกเพศชาย เป็นเพียงทัศนะหนึ่งซึ่งขัดแย้งกับความเข้าใจของนักวิชาการส่วนใหญ่ที่ถือว่า “ผู้ที่เขารัก” ในหะดีษบทนี้ หมายถึงเพศหญิง, แต่เนื่องจากความเชื่อที่ว่า เครื่องประดับทองคำทุกชนิดเป็นที่อนุมัติแก่สตรี บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่เหล่านั้นจึงพยายาม تَأْوِيْلٌ คือ เบี่ยงเบนข้อห้ามสตรีจากการสวมใส่แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ, และกำไลทองคำดังที่ระบุไว้ในหะดีษบทนี้ ออกเป็นหลายทฤษฎีด้วยกัน .. อาทิเช่น ข้อห้ามสตรีใส่เครื่องประดับทองคำในหะดีษบทนี้ ถูกยกเลิกไปแล้ว, หรือหมายถึงในกรณีสวมใส่มันโดยมิได้จ่ายซะกาต, หรือสวมใส่มันเพื่อโอ้อวด เป็นต้น .. ทั้งนี้ เพื่อให้มันสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า เครื่องประดับทองคำนั้น เป็นที่อนุมัติแก่สตรีในทุกรูปแบบ ดังกล่าวมาแล้ว ...
ท่านอาบาดีย์ ได้กล่าวอธิบายคำว่า حَبِيْبَهُ นี้ในหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” เล่มที่ 11 หน้า 295 ว่า ...
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ของท่าน หน้า 76-78 โดยอ้างอิงข้อมูลจากทัศนะของนักวิชาการบางท่านว่า คำว่า حَبِيْبَهُ ซึ่งแปลว่า “ผู้ที่เขารัก” ที่ถูกกล่าวถึงในหะดีษบทนี้ .. ว่าหมายถึง ทารกเพศชาย,.. มิได้หมายถึง “ภรรยาหรือบุตรสาวที่บรรลุศาสนภาวะ” แต่ประการใด ...
ข้อชี้แจง
1. คำว่า حَبِيْبَهُ ซึ่งแปลว่า “ผู้ที่เขารัก” ตามหลักเกณฑ์ด้านภาษาอาหรับแล้ว จะใช้บ่งความหมายเป็นเพศชายก็ได้, เป็นเพศหญิงก็ได้ .. ซึ่งการที่ท่านศาสดากล่าวถึงเครื่องประดับประเภทแหวน, สร้อยคอ และกำไลในหะดีษบทนี้ ตามรูปการน่าจะหมายถึงเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ทั้งนี้ เพราะเพศหญิงคือเพศที่ชอบใช้เครื่องประดับเหล่านี้มากกว่าเพศชาย ...
2. หากข้อห้ามจากการใช้แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ และกำไลทองคำในหะดีษนี้ หมายถึง เด็กทารกเพศชาย .. ดังคำอธิบายของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์แล้ว ข้อห้ามดังกล่าวของท่านศาสดาย่อมแสดงว่า เด็กทารกเพศชายที่ถูกผู้ปกครองสวมใส่เครื่องประดับทองคำเหล่านี้ให้ จะต้องมีบาปหรือจะต้องตกนรก .. ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามหลักการศาสนาอิสลามที่ว่า เด็กๆที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะนั้น อยู่ในภาวะไร้บาปโดยสิ้นเชิง ...
3. ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ อธิบายว่า การห้ามสวมเครื่องประดับทองคำเหล่านี้แก่ผู้ที่เรารักอันได้แก่ทารกเพศชาย .. เหตุผลก็คือ เพื่อฝึกฝนให้พวกเขาหลีกเลี่ยงจากเครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากทองคำเมื่อเติบโตขึ้น ...
ผมก็อยากจะขอเรียนว่า ถ้าเหตุผลของการห้ามสวมใส่เครื่องประดับทองคำจากหะดีษข้างต้น เป็นดังที่ว่ามานี้ เราก็ควรจะห้ามผู้ปกครอง สวมใส่เครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากเงินแก่ทารกเพศชายด้วย .. ด้วยเหตุผลเดียวกัน .. คือเพื่อฝึกฝนพวกเขาให้รู้จักหลีกเลี่ยงจากการใช้เครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากเงินเมื่อโตขึ้น เพราะนักวิชาการต่างก็เห็นพ้องกันแล้วว่า ห้ามผู้ชายใช้เครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากเงิน อย่างเดียวกับการห้ามใช้เครื่องประดับทองคำ .. ยกเว้น “แหวนเงิน” อย่างเดียวเท่านั้น ...
ทว่า ข้อความตอนท้ายของหะดีษบทนี้ที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ “ส่งเสริม” ให้ใช้เครื่องประดับที่ “ทำด้วยเงิน” แก่ผู้ที่เรารัก แสดงว่า “ผู้ที่เรารัก” ในที่นี้ ย่อมมิใช่เป็นทารกเพศชายที่ “ถูกห้าม” ใช้เครื่องประดับที่ทำด้วยเงินตามเหตุผลข้างต้นแน่นอน, .. แต่จะต้องเป็นเพศหญิงซึ่งถูกส่งเสริมและได้รับอนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากเงินได้ ไม่ว่าในยามเยาวัยหรือตอนเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วโดยไม่มีข้อห้ามใดๆ ...
เพราะฉะนั้น เหตุผลและคำอธิบายของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ที่อ้างว่า คำว่า “ผู้ที่เขารัก” ในหะดีษบทนี้ มีความหมายถึงทารกเพศชาย .. จึงรับฟังไม่ขึ้น ...
4. คำอธิบายคำว่า “ผู้ที่เขารัก” ว่าหมายถึงทารกเพศชาย เป็นเพียงทัศนะหนึ่งซึ่งขัดแย้งกับความเข้าใจของนักวิชาการส่วนใหญ่ที่ถือว่า “ผู้ที่เขารัก” ในหะดีษบทนี้ หมายถึงเพศหญิง, แต่เนื่องจากความเชื่อที่ว่า เครื่องประดับทองคำทุกชนิดเป็นที่อนุมัติแก่สตรี บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่เหล่านั้นจึงพยายาม تَأْوِيْلٌ คือ เบี่ยงเบนข้อห้ามสตรีจากการสวมใส่แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ, และกำไลทองคำดังที่ระบุไว้ในหะดีษบทนี้ ออกเป็นหลายทฤษฎีด้วยกัน .. อาทิเช่น ข้อห้ามสตรีใส่เครื่องประดับทองคำในหะดีษบทนี้ ถูกยกเลิกไปแล้ว, หรือหมายถึงในกรณีสวมใส่มันโดยมิได้จ่ายซะกาต, หรือสวมใส่มันเพื่อโอ้อวด เป็นต้น .. ทั้งนี้ เพื่อให้มันสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า เครื่องประดับทองคำนั้น เป็นที่อนุมัติแก่สตรีในทุกรูปแบบ ดังกล่าวมาแล้ว ...
ท่านอาบาดีย์ ได้กล่าวอธิบายคำว่า حَبِيْبَهُ นี้ในหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” เล่มที่ 11 หน้า 295 ว่า ...
(حَبِيْبَهُ) أَيْ مَحْبُوْبَهُ مِنْ زَوْجَةٍ، أَوْوَلَدٍ أَوْغَيْرِهِمَا
“คำว่า حَبِيْبَهُ หมายถึงผู้ที่เขารัก, อันได้แก่ภรรยาของเขา, ลูกๆของเขา, หรือบุคคลอื่นจากทั้งสองนั้น” ...
5. ท่านอับดุรฺ ร็อซซาก, ท่านอิบนุศออิด, ท่านอิบนุหัสมิน ได้บันทึกรายงานมาจากท่านมุหัมมัด บิน ซีรีน (ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง, ดังจะได้กล่าวต่อไปในตอนหลัง) .. ว่า ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ได้เคยกล่าวแก่ บุตรสาว ของท่านว่า .. “ลูกอย่าสวมเครื่องประดับทองคำเป็นอันขาด, เพราะพ่อกลัวว่าลูกจะพินาศจากไฟนรก” ...
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. คือเศาะหาบะฮ์ผู้รายงานหะดีษบทข้างต้นที่ว่า .. “ผู้ใดพึงใจจะให้ผู้ที่เขารักสวมแหวน, สร้อยคอ, และกำไลจากไฟนรก ก็ให้สวมแหวน หรือสร้อยคอ หรือกำไลจากทองคำให้เถิด” ...
การที่ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ผู้ซึ่งรายงานหะดีษบทนี้ด้วยตนเอง ได้ห้ามปรามบุตรสาวของท่านจากการใช้เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ แสดงว่า คำว่า “ผู้ที่เขารัก” ในหะดีษบทนี้ตามความเข้าใจของท่าน หมายถึงผู้หญิง ...
เพราะฉะนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมแล้ว ข้อโต้แย้งของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ที่มีต่อท่านเช็คอัล-อัลบานีย์เกี่ยวกับหะดีษบทนี้ .. ไม่ว่าในด้านสายรายงานหรือในด้านความหมายของหะดีษ จึงรับฟังไม่ขึ้น ...
5. ท่านอับดุรฺ ร็อซซาก, ท่านอิบนุศออิด, ท่านอิบนุหัสมิน ได้บันทึกรายงานมาจากท่านมุหัมมัด บิน ซีรีน (ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง, ดังจะได้กล่าวต่อไปในตอนหลัง) .. ว่า ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ได้เคยกล่าวแก่ บุตรสาว ของท่านว่า .. “ลูกอย่าสวมเครื่องประดับทองคำเป็นอันขาด, เพราะพ่อกลัวว่าลูกจะพินาศจากไฟนรก” ...
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. คือเศาะหาบะฮ์ผู้รายงานหะดีษบทข้างต้นที่ว่า .. “ผู้ใดพึงใจจะให้ผู้ที่เขารักสวมแหวน, สร้อยคอ, และกำไลจากไฟนรก ก็ให้สวมแหวน หรือสร้อยคอ หรือกำไลจากทองคำให้เถิด” ...
การที่ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ผู้ซึ่งรายงานหะดีษบทนี้ด้วยตนเอง ได้ห้ามปรามบุตรสาวของท่านจากการใช้เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ แสดงว่า คำว่า “ผู้ที่เขารัก” ในหะดีษบทนี้ตามความเข้าใจของท่าน หมายถึงผู้หญิง ...
เพราะฉะนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมแล้ว ข้อโต้แย้งของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ที่มีต่อท่านเช็คอัล-อัลบานีย์เกี่ยวกับหะดีษบทนี้ .. ไม่ว่าในด้านสายรายงานหรือในด้านความหมายของหะดีษ จึงรับฟังไม่ขึ้น ...
หลักฐานที่ 2
ท่านเษาบาน อัล-ฮาชิมีย์ คนรับใช้ผู้ใกล้ชิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 54 ที่เมืองฮิมศ์) ได้กล่าวว่า ...
ท่านเษาบาน อัล-ฮาชิมีย์ คนรับใช้ผู้ใกล้ชิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 54 ที่เมืองฮิมศ์) ได้กล่าวว่า ...
جَاءَتْ بِنْتُ هُبَيْرَةَ إِلَىالنَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَفِىْ يَدِهَا فَتَخٌ (مِنْ ذَهَبٍ) فَجَعَلَ النَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَضْرِبُ يَدَهَا (بِعُصَيَّةٍ مَعَهُ، يَقُوْلُ لَهَا : أَيَسُرُّكِ أَنْ يَجْعَلَ اللهُ فِىْ يَدِكِ خَوَاتِيْمَ مِنْ نَارٍ؟) فَأَتَتْ فَاطِمَةَ تَشْكُوْ إِلَيْهَا، قَالَ ثَوْبَانُ : فَدَخَلَ النَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَىفَاطِمَةَ وَأَنَا مَعَهُ، وَقَدْ أَخَذَتْ مِنْ عُنُقِهَا سِلْسِلَةً مِنْ ذَهَبٍ، فَقَالَتْ : هَذَا أَهْدَى لِىْ أَبُوْحَسَنٍ _ وَفِىْ يَدِهَا السِّلْسِلَةُ _ فَقَالَ النَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : يَا فَاطِمَةُ ! أَيَسُرُّكِ أَنْ يَقُوْلَ النَّاسُ : فَاطِمَةُ بِنْتُ مُحَمَّدٍ فِىْ يَدِهَا سِلْسِلَةٌ مِنْ نَارٍ؟ .. (ثُمَّ عَذِمَهَا عَذْمًا شَدِيْدًا) فَخَرَجَ وَلَمْ يَقْعُدْ، فَعََمَدَتْ فَاطِمَةُ إِلَى السِّلْسِلَةِ فَبَاعَتْهَا، فَاشْتَرَتْ بِهَا نَسَمَةً فَأَعْتَقَتْهَا، فَبَلَغَ ذَلِكَ النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِىْ نَجَّى فَاطِمَةَ مِنَ النَّارِ ...
“บุตรสาวของท่านฮุบัยเราะฮ์ ได้ไปหาท่านนบีย์ ศ็อลลัลลออุ อะลัยฮิวะซัลลัม โดยที่มือของนางสวมแหวน (ทองคำ) วงใหญ่อยู่หลายวง, ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัม ได้ตีมือของนาง (ด้วยไม้เท้าเล็กๆที่ท่านถืออยู่ แล้วกล่าวแก่นางว่า “เธอชอบที่จะให้อัลลอฮ์เอาแหวนจากไฟนรกใส่ในมือของเธอหรือ ?”) .. นางจึงเข้าไปหาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์แล้วเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง .. ท่านเษาบานกล่าวต่อไปว่า .. “แล้วท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมก็เข้าไปหาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ โดยที่ฉันก็อยู่พร้อมกับท่านด้วย, ขณะนั้น ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้ถอดสร้อยคอทองคำออกจากคอของเธอแล้ว และบอกว่า .. “สิ่งนี้ ท่านอบูหะซัน (หมายถึงท่านอะลีย์สามีของเธอ) ได้ให้เป็นของขวัญแก่ฉัน” -- โดยที่ขณะนั้น สร้อยยังอยู่ในมือของเธอ -- ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวแก่เธอว่า .. “ฟาฏิมะฮ์เอ๋ย, เจ้าชอบหรือที่จะให้ประชาชนพูดกันว่า ฟาฏิมะฮ์, บุตรสาวของมุหัมมัด, .. ในมือของนาง มีสร้อยจากไฟนรกอยู่ ?” (จากนั้น ท่านก็ดุเธออย่างรุนแรง) แล้วก็เดินออกไปโดยไม่ยอมนั่ง, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ จึงกำสร้อยเส้นนั้นแน่นแล้วนำมันไปขาย และนำเอาราคาของมันซื้อทาสคนหนึ่งแล้วปล่อยให้เป็นอิสระ, เมื่อข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ท่านจึงกล่าวว่า .. “มวลการสรรเสริญ เป็นสิทธิของอัลลอฮ์ผู้ทรงปลดปล่อยฟาฏิมะฮ์ให้พ้นจากไฟนรก” ...
หะดีษบทนี้ บันทึกโดยท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155, 5156, ท่านอบูดาวูด อัฏเฏาะยาลิซีย์ เล่มที่ 1 หน้า 354, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278, ท่านอัล-หากิมเล่มที่ 3 หน้า 165, 166, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 141, และท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ ในหนังสือ “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ” หะดีษที่ 1448 ...
สำนวนข้างต้นนี้ เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัล-บัยฮะกีย์, ส่วนข้อความตัวหนาในวงเล็บ เป็นสำนวนเพิ่มเติมจากการบันทึกของท่านอะห์มัด จากเล่มและหน้าดังกล่าว ...
สายรายงานของหะดีษบทนี้ มีดังต่อไปนี้ ...
1. ท่านฮิชาม อัล-ดัสติวาอีย์ .. (จากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155), และท่านฮัมมาม บินยะห์ยา อัล-อัซดีย์ หรืออัล-เอาซีย์ .. (จากการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278) ...
2. ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ
3. ท่านซัยด์ บิน ซัลลาม
4. ท่านอบีย์ ซัลลาม
5. ท่านอบีย์อัสมาอ์ อัรฺ-เราะหะบีย์
6. ท่านเษาบาน อัล-ฮาชิมีย์ ร.ฎ.
หะดีษบทนี้ บันทึกโดยท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155, 5156, ท่านอบูดาวูด อัฏเฏาะยาลิซีย์ เล่มที่ 1 หน้า 354, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278, ท่านอัล-หากิมเล่มที่ 3 หน้า 165, 166, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 141, และท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ ในหนังสือ “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ” หะดีษที่ 1448 ...
สำนวนข้างต้นนี้ เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัล-บัยฮะกีย์, ส่วนข้อความตัวหนาในวงเล็บ เป็นสำนวนเพิ่มเติมจากการบันทึกของท่านอะห์มัด จากเล่มและหน้าดังกล่าว ...
สายรายงานของหะดีษบทนี้ มีดังต่อไปนี้ ...
1. ท่านฮิชาม อัล-ดัสติวาอีย์ .. (จากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155), และท่านฮัมมาม บินยะห์ยา อัล-อัซดีย์ หรืออัล-เอาซีย์ .. (จากการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278) ...
2. ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ
3. ท่านซัยด์ บิน ซัลลาม
4. ท่านอบีย์ ซัลลาม
5. ท่านอบีย์อัสมาอ์ อัรฺ-เราะหะบีย์
6. ท่านเษาบาน อัล-ฮาชิมีย์ ร.ฎ.
อธิบาย
หะดีษบทนี้ ถูกรายงานมาจากท่านเษาบาน อัล-ฮาชิมีย์ ร.ฎ. เป็น 2 กระแส, กระแสที่ 1 คือกระแสรายงานดังข้างต้นนี้ .. ส่วนกระแสที่ 2 เป็นกระแสรายงานของท่านอบู กิลาบะฮ์ อัล-ญัรฺมีย์ จากการบันทึกของท่านอัรฺ-เรายานีย์ที่จะกล่าวถึงต่อไป ...
ท่านอัล-อัลบานีย์ ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับหะดีษกระแสแรกนี้ในหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” หน้า 231 ว่า “إِسْنَادُهُ صَحِيْحٌ، مَوْصُوْلٌ” .. คือ สายรายงานของมันถูกต้อง และต่อเนื่องกัน ...
นักวิชาการในอดีตที่ถือว่า หะดีษบทนี้จากกระแสที่หนึ่งนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ได้แก่ท่านอิบนุหัสมิน, ท่านอัล-หากิม, ท่านอัษ-ษะฮะบีย์, ท่านอัล-มุนซิรีย์ และท่านอัล-อิรอกีย์ เป็นต้น ...
(จากหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” หน้าเดียวกัน) ...
ท่านอิบนุหัสมิน ได้บันทึกหะดีษบทนี้ไว้ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่าน เล่มที่ 10 หน้า 84, .. ทว่า สำนวนในช่วงแรกของหะดีษจากการบันทึกของท่าน มีข้อความดังนี้ ...
“บุตรีของท่านฮุบัยเราะฮ์ ได้ไปหาท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม โดยที่มือของนางมีแหวนอยู่หลายวง ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงได้ตีที่มือของนาง นางจึงเข้าไปหาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ. ............”
จะเห็นได้ว่า สำนวนจากการบันทึกของท่านอิบนุหัสมิน มิได้ระบุไว้ด้วยว่า แหวนนั้นเป็นแหวนทองคำ, .. และคำพูดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมหลังจากตีมือของนางแล้วที่ว่า .. “เธอชอบที่จะให้อัลลอฮ์ เอาแหวนจากไฟนรกใส่ในมือของเธอหรือ ?” .. ก็ไม่มีระบุไว้ในรายงานของท่านอิบนุ หัสมินเช่นกัน ...
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิบนุหัสมินจึงกล่าววิจารณ์ว่า ไม่มีหลักฐานว่า การที่ท่านนบีย์ตีมือบุตรีของท่านฮุบัยเราะฮ์นั้น เพราะนางสวมแหวน, .. แต่อาจจะเป็นเพราะนางทำให้ข้อมือโผล่ออกมาก็ได้, .. และไม่มีหลักฐานอีกเช่นกันว่า แหวนที่นางสวมอยู่นั้น เป็นแหวนทองคำ, ดังนั้น หะดีษบทนี้จึงมิใช่หลักฐานห้ามสตรีใช้เครื่องประดับทองคำ ...
แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว หะดีษบทนี้จากการบันทึกของนักวิชาการท่านอื่นๆ อาทิเช่น ท่านอะห์มัด (เล่มที่ 5 หน้า 278), ท่านอัล-หากิม (เล่มที่ 3 หน้า 166), ท่านอัน-นะซาอีย์ (หะดีษที่ 5156), และท่านอัรฺ-เรายานีย์ (อัล-มุสนัด 14/126/1 ซึ่งถือเป็นรายงานที่ถูกต้องที่สุดของหะดีษบทนี้ดังจะได้กล่าวต่อไป) .. ล้วนระบุตรงกันว่า แหวนที่นางสวมอยู่นั้น เป็นแหวนทองคำ, .. และคำกล่าวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่กล่าวแก่นางว่า .. “เธอชอบที่จะให้อัลลอฮ์ เอาแหวนจากไฟนรกใส่ในมือของเธอหรือ” .. นั้น ก็บ่งบอกความหมายชัดเจนว่า เหตุผลที่ท่านตีมือของนางนั้น ก็เพราะนางสวมแหวนทองคำนั่นเอง ...
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ และท่านเช็คอัรฺชัด อัส-สะละฟีย์ ได้กล่าววิจารณ์ความบกพร่องของหะดีษกระแสนี้ในหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ใน 3 ประเด็นคือ ...
1. การรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ จากท่านซัยด์ บิน ซัลลามนั้น เชื่อถือไม่ได้, เพราะท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ เป็นผู้รายงานประเภทมุดัลลิซ หรือชอบมั่วนิ่ม, ..
2. สายรายงานของหะดีษบทนี้ ขาดตอน (مُنْقَطِعٌ) ในระหว่างท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ กับท่านอบีย์ซัลลาม ...
3. และท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยา อัล-อัซดีย์ ผู้รายงานหมายเลข 1/2 เชื่อถือไม่ได้ ...
ข้อชี้แจง
เพื่อมิให้เป็นการยืดเยื้อ ผมจึงขอสรุปการชี้แจงข้ออ้างดังกล่าวดังนี้คือ ...
(1). ข้ออ้างที่ว่า .. การรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ จากท่านซัยด์ บิน ซัลลาม เชื่อถือไม่ได้นั้น .. ถูกหักล้างโดยหะดีษบทหนึ่งซึ่งท่านอัต-ติรฺมีซีย์ได้บันทึกไว้ใน “อัส-สุนัน” ของท่าน อันเป็นหะดีษที่ 3235, เป็นการรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ, จากท่านซัยด์ บิน ซัลลาม, จากท่านอบีย์ซัลลาม .. เหมือนกับสายรายงานหะดีษนี้ทุกประการ (โปรดพลิกกลับไปดูสายรายงานหะดีษนี้อีกครั้งในหน้าที่ 24) ...
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ได้กล่าวในตอนท้ายของหะดีษดังกล่าวว่า ...
หะดีษบทนี้ ถูกรายงานมาจากท่านเษาบาน อัล-ฮาชิมีย์ ร.ฎ. เป็น 2 กระแส, กระแสที่ 1 คือกระแสรายงานดังข้างต้นนี้ .. ส่วนกระแสที่ 2 เป็นกระแสรายงานของท่านอบู กิลาบะฮ์ อัล-ญัรฺมีย์ จากการบันทึกของท่านอัรฺ-เรายานีย์ที่จะกล่าวถึงต่อไป ...
ท่านอัล-อัลบานีย์ ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับหะดีษกระแสแรกนี้ในหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” หน้า 231 ว่า “إِسْنَادُهُ صَحِيْحٌ، مَوْصُوْلٌ” .. คือ สายรายงานของมันถูกต้อง และต่อเนื่องกัน ...
นักวิชาการในอดีตที่ถือว่า หะดีษบทนี้จากกระแสที่หนึ่งนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ได้แก่ท่านอิบนุหัสมิน, ท่านอัล-หากิม, ท่านอัษ-ษะฮะบีย์, ท่านอัล-มุนซิรีย์ และท่านอัล-อิรอกีย์ เป็นต้น ...
(จากหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” หน้าเดียวกัน) ...
ท่านอิบนุหัสมิน ได้บันทึกหะดีษบทนี้ไว้ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่าน เล่มที่ 10 หน้า 84, .. ทว่า สำนวนในช่วงแรกของหะดีษจากการบันทึกของท่าน มีข้อความดังนี้ ...
“บุตรีของท่านฮุบัยเราะฮ์ ได้ไปหาท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม โดยที่มือของนางมีแหวนอยู่หลายวง ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงได้ตีที่มือของนาง นางจึงเข้าไปหาท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ. ............”
จะเห็นได้ว่า สำนวนจากการบันทึกของท่านอิบนุหัสมิน มิได้ระบุไว้ด้วยว่า แหวนนั้นเป็นแหวนทองคำ, .. และคำพูดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมหลังจากตีมือของนางแล้วที่ว่า .. “เธอชอบที่จะให้อัลลอฮ์ เอาแหวนจากไฟนรกใส่ในมือของเธอหรือ ?” .. ก็ไม่มีระบุไว้ในรายงานของท่านอิบนุ หัสมินเช่นกัน ...
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิบนุหัสมินจึงกล่าววิจารณ์ว่า ไม่มีหลักฐานว่า การที่ท่านนบีย์ตีมือบุตรีของท่านฮุบัยเราะฮ์นั้น เพราะนางสวมแหวน, .. แต่อาจจะเป็นเพราะนางทำให้ข้อมือโผล่ออกมาก็ได้, .. และไม่มีหลักฐานอีกเช่นกันว่า แหวนที่นางสวมอยู่นั้น เป็นแหวนทองคำ, ดังนั้น หะดีษบทนี้จึงมิใช่หลักฐานห้ามสตรีใช้เครื่องประดับทองคำ ...
แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว หะดีษบทนี้จากการบันทึกของนักวิชาการท่านอื่นๆ อาทิเช่น ท่านอะห์มัด (เล่มที่ 5 หน้า 278), ท่านอัล-หากิม (เล่มที่ 3 หน้า 166), ท่านอัน-นะซาอีย์ (หะดีษที่ 5156), และท่านอัรฺ-เรายานีย์ (อัล-มุสนัด 14/126/1 ซึ่งถือเป็นรายงานที่ถูกต้องที่สุดของหะดีษบทนี้ดังจะได้กล่าวต่อไป) .. ล้วนระบุตรงกันว่า แหวนที่นางสวมอยู่นั้น เป็นแหวนทองคำ, .. และคำกล่าวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่กล่าวแก่นางว่า .. “เธอชอบที่จะให้อัลลอฮ์ เอาแหวนจากไฟนรกใส่ในมือของเธอหรือ” .. นั้น ก็บ่งบอกความหมายชัดเจนว่า เหตุผลที่ท่านตีมือของนางนั้น ก็เพราะนางสวมแหวนทองคำนั่นเอง ...
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ และท่านเช็คอัรฺชัด อัส-สะละฟีย์ ได้กล่าววิจารณ์ความบกพร่องของหะดีษกระแสนี้ในหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ใน 3 ประเด็นคือ ...
1. การรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ จากท่านซัยด์ บิน ซัลลามนั้น เชื่อถือไม่ได้, เพราะท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ เป็นผู้รายงานประเภทมุดัลลิซ หรือชอบมั่วนิ่ม, ..
2. สายรายงานของหะดีษบทนี้ ขาดตอน (مُنْقَطِعٌ) ในระหว่างท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ กับท่านอบีย์ซัลลาม ...
3. และท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยา อัล-อัซดีย์ ผู้รายงานหมายเลข 1/2 เชื่อถือไม่ได้ ...
ข้อชี้แจง
เพื่อมิให้เป็นการยืดเยื้อ ผมจึงขอสรุปการชี้แจงข้ออ้างดังกล่าวดังนี้คือ ...
(1). ข้ออ้างที่ว่า .. การรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ จากท่านซัยด์ บิน ซัลลาม เชื่อถือไม่ได้นั้น .. ถูกหักล้างโดยหะดีษบทหนึ่งซึ่งท่านอัต-ติรฺมีซีย์ได้บันทึกไว้ใน “อัส-สุนัน” ของท่าน อันเป็นหะดีษที่ 3235, เป็นการรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ, จากท่านซัยด์ บิน ซัลลาม, จากท่านอบีย์ซัลลาม .. เหมือนกับสายรายงานหะดีษนี้ทุกประการ (โปรดพลิกกลับไปดูสายรายงานหะดีษนี้อีกครั้งในหน้าที่ 24) ...
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ได้กล่าวในตอนท้ายของหะดีษดังกล่าวว่า ...
هَذَا حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ، سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ إِسْمَاعِيْلَ عَنْ هَذَاالْحَدِيْثِ فَقَالَ : هَذَا حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ ...
“นี่คือ หะดีษที่สวยงามและถูกต้อง, ฉันได้ถามท่านมุหัมมัด บิน อิสมาอีล (หมายถึงท่านบุคอรีย์) เกี่ยวกับหะดีษนี้ ท่านตอบว่า มันเป็นหะดีษที่สวยงามและถูกต้อง” ...
(โปรดดูหนังสือ “สุนันอัต-ติรฺมีซีย์” จากการตะห์กีกของท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ เล่มที่ 5 หน้า 343-344) ...
ท่านเช็คชุอัยบ์ อัล-อัรฺนาโอ็ต นักวิชาการหะดีษผู้มีชื่อเสียงยุคปัจจุบันอีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวในหนังสือ “اَلتَّعْلِيْقُ عَلَى شَرْحِ السُّنَّةِ” เล่มที่ 4 หน้า 37 เกี่ยวกับหะดีษบทหนึ่งซึ่งเป็นการรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ, จากท่านซัยด์ บิน ซัลลาม, จากท่านอบีย์ซัลลาม -- เหมือนสายรายงานของหะดีษบทนี้ -- โดยท่านเช็คชุอัยบ์กล่าวว่า ...
(( إِسْنَادُهُ صَحِيْحٌ ))
“สายรายงานของมัน ถูกต้อง”
ส่วนประวัติของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ ผู้รายงานหะดีษบทนี้ที่ถูกท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์กล่าววิจารณ์ว่า เป็นผู้รายงานประเภทมุดัลลิซ(มั่วนิ่ม) นั้น ปรากฏว่าข้อเท็จจริงก็คือ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือในระดับสูงมากท่านหนึ่ง ...
ท่านอัยยูบ นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า ...
(โปรดดูหนังสือ “สุนันอัต-ติรฺมีซีย์” จากการตะห์กีกของท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ เล่มที่ 5 หน้า 343-344) ...
ท่านเช็คชุอัยบ์ อัล-อัรฺนาโอ็ต นักวิชาการหะดีษผู้มีชื่อเสียงยุคปัจจุบันอีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวในหนังสือ “اَلتَّعْلِيْقُ عَلَى شَرْحِ السُّنَّةِ” เล่มที่ 4 หน้า 37 เกี่ยวกับหะดีษบทหนึ่งซึ่งเป็นการรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ, จากท่านซัยด์ บิน ซัลลาม, จากท่านอบีย์ซัลลาม -- เหมือนสายรายงานของหะดีษบทนี้ -- โดยท่านเช็คชุอัยบ์กล่าวว่า ...
(( إِسْنَادُهُ صَحِيْحٌ ))
“สายรายงานของมัน ถูกต้อง”
ส่วนประวัติของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ ผู้รายงานหะดีษบทนี้ที่ถูกท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์กล่าววิจารณ์ว่า เป็นผู้รายงานประเภทมุดัลลิซ(มั่วนิ่ม) นั้น ปรากฏว่าข้อเท็จจริงก็คือ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือในระดับสูงมากท่านหนึ่ง ...
ท่านอัยยูบ นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า ...
(( مَابَقِىَ عَلَى وَجْهِ اْلأَرْضِ مِثْلُ يَحْيَى بْنِ أَبِىْ كَثِيْرٍ ))
“ไม่มีอีกแล้ว ผู้ซึ่งยังหลงเหลือในโลกนี้ ที่จะเหมือนท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ” ...
(จากหนังสือ “อัล-กาชิฟ” ของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ เล่มที่ 3 หน้า 233)
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในอารัมภบทของหนังสือฟัตหุ้ลบารีย์ .. คือหนังสือ “อิรฺชาด อัซ-ซารีย์” หน้า 452 ว่า ...
(จากหนังสือ “อัล-กาชิฟ” ของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ เล่มที่ 3 หน้า 233)
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในอารัมภบทของหนังสือฟัตหุ้ลบารีย์ .. คือหนังสือ “อิรฺชาด อัซ-ซารีย์” หน้า 452 ว่า ...
يَحْيَى بْنُ أَبِىْكَثِيْرٍ الِيَمَامِىُّ، أَحَدُ اْلأَئِمَّةِ اْلأَثْبَاتِ الِمُكْثِرِيْنَ ..... إِحْتَجَّ بِهِ اْلأَئِمَّةُ
“ยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ อัล-ยะมามีย์, คือหนึ่งจากนักวิชาการระดับแนวหน้าที่เชื่อถือได้ และรายงานหะดีษไว้มากมาย, ....... บรรดานักวิชาการชั้นนำต่างให้ความเชื่อถือต่อเขา” ...
ส่วนหนึ่งจากข้อยืนยันคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺข้างต้นนี้ก็คือ ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ คือผู้รายงานหะดีษที่ได้รับการยอมรับจากท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ และท่านอิบนุมาญะฮ์ .. ดังที่มีระบุไว้ในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 235 ...
สำหรับกรณีที่อ้างว่า ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ เป็นผู้รายงานประเภทมั่วนิ่ม (مُدَلِّسٌ) .. ดังการบันทึกของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 2 หน้า 356 นั้น ...
ข้อเท็จจริงก็คือ หะดีษนี้เรื่องที่ท่านนบีย์ได้ตีมือที่สวมแหวนทองคำของบุตรีท่านฮุบัยเราะฮ์, และเรื่องเกี่ยวกับสร้อยคอของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ.ฯลฯ นั้น .. จากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155, และการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278, และการบันทึกของท่านอิบนุหัสมินในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 10 หน้า 84 .. ปรากฏว่าท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ ได้กล่าวอย่างชัดเจนในการรายงานว่า ...
ส่วนหนึ่งจากข้อยืนยันคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺข้างต้นนี้ก็คือ ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ คือผู้รายงานหะดีษที่ได้รับการยอมรับจากท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ และท่านอิบนุมาญะฮ์ .. ดังที่มีระบุไว้ในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 235 ...
สำหรับกรณีที่อ้างว่า ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ เป็นผู้รายงานประเภทมั่วนิ่ม (مُدَلِّسٌ) .. ดังการบันทึกของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 2 หน้า 356 นั้น ...
ข้อเท็จจริงก็คือ หะดีษนี้เรื่องที่ท่านนบีย์ได้ตีมือที่สวมแหวนทองคำของบุตรีท่านฮุบัยเราะฮ์, และเรื่องเกี่ยวกับสร้อยคอของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ.ฯลฯ นั้น .. จากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155, และการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278, และการบันทึกของท่านอิบนุหัสมินในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 10 หน้า 84 .. ปรากฏว่าท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ ได้กล่าวอย่างชัดเจนในการรายงานว่า ...
حَدَّثَنِىْ زَيْدُ بْنُ سَلاَّمٍ ...
... คือ “ท่านซัยด์ บิน ซัลลาม ได้พูด กับฉันว่า ...” .. ซึ่งการรายงานในลักษณะนี้ ถือว่า เป็นการรายงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาหะดีษ, มิใช่เป็นรายงานประเภทมั่วนิ่มหรือตัดลิซ ...
ท่านอบูหาติม อัล-มัรฺวะซีย์ นักวิจารณ์ประวัติผู้รายงานหะดีษที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากท่านหนึ่ง ก็ได้กล่าวยืนยันในหนังสือ “อัล-มะรอซีล” ของท่าน หน้าที่ 244 ว่า .. ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ เคยได้รับฟังหะดีษจากท่านซัยด์ บิน ซัลลามจริง
(ดูข้อมูลจากหนังสือ “อัต-ตัดลีซ ฟิลหะดีษ” ของท่านด็อกเตอร์ มิสฟิรฺ บิน ฆ็อรฺมุลลอฮ์ หน้า 284) ...
(2). ส่วนข้ออ้างที่ว่า .. หะดีษบทนี้ สายรายงาน “ขาดตอน” ในระหว่างท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ กับท่าน อบีย์ ซัลลามนั้น ...
ข้อเท็จจริงก็คือ การขาดตอนดังกล่าวมีปรากฏอยู่ในสายรายงานของผู้บันทึกบางท่านเท่านั้น .. อาทิเช่น ในสายรายงานของท่านอัล-หากิม เล่มที่ 3 หน้า 165, 166, .. และในสายรายงานของท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 140 เป็นต้น ...
แต่จากการบันทึกอันเชื่อถือได้ของท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155, และการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278 ปรากฏว่า สายรายงานของหะดีษนี้จากการบันทึกของทั้งสองท่านนั้นมิได้ขาดตอนดังสายรายงานข้างต้น แต่เป็นสายรายงานที่ ต่อเนื่อง, เพราะมีการระบุชื่อ “ท่านซัยด์ บิน ซัลลาม” ในระหว่างท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺกับท่านอบีย์ ซัลลาม เอาไว้ด้วย (โปรดเปิดดูสายรายงานหะดีษนี้อีกครั้งในหน้าที่ 24) ...
สายรายงานหะดีษบทข้างต้นนี้จึงมิได้ “ขาดตอน” ดังการวิจารณ์ของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์และท่านเช็คอัรฺชัด อัส-สะละฟีย์ ...
จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้อธิบายมานี้ จึงเป็นหลักฐานหักล้างข้ออ้างของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ และท่านอัรฺชัด อัส-สะละฟีย์ ที่ว่า ... การรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ จากท่านซัยด์ บิน ซัลลามนั้น เชื่อถือไม่ได้, .. ท่านยะห์ยาบิน อบีย์กะษีรฺ เป็นผู้รายงานประเภทมั่วนิ่ม, .. และสายรายงานของหะดีษนี้มีลักษณะขาดตอน .. ลงได้อย่างสิ้นเชิง ...
(3). ส่วนคำวิจารณ์ของทั้งสองท่านนั้นที่ว่า .. ท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยา อัล-อัซดีย์ (หรืออัล-เอาซีย์) หนึ่งในผู้รายงานหะดีษนี้ เป็นผุ้รายงานที่ขาดความเชื่อถือนั้น ...
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้อ้างทัศนะของนักวิจารณ์บางท่านจากหนังสือ “ตะห์ซีบ อัต-ตะห์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 60-62, และหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 4 หน้า 309-310 มายืนยันคำวิจารณ์ดังกล่าวนี้ ...
แม้ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์มิได้กล่าวถึงก็คือ บทสรุปเกี่ยวกับคุณสมบัติและภาพพจน์ที่แท้จริงของท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยา อัล-อัซดีย์ .. ตามที่ตำราทั้ง 2 เล่มนั้นและตำราอื่นๆได้กล่าวเอาไว้ ดังต่อไปนี้ ...
1. คำกล่าวของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในหนังสือ “อัล-มีซานฯ” เล่มที่ 4 หน้า 309 ตอนเริ่มต้นประวัติของท่านฮัมมาม ว่า ... هَمَّامُ بْنُ يَحْيَى أَحَدُ عُلَمَاءِ الْبَصْرَةِ وَثِقَاتِهَا .. คือ ท่านฮัมมาม บินยะห์ยา อัล-อัซดีย์ เป็นหนึ่งจากนักวิชาการแห่งเมืองบัศเราะฮ์ และเป็นหนึ่งจากผู้ที่เชื่อถือได้แห่งเมืองนั้น ...
2. คำกล่าวของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในตอนท้ายของประวัติท่านฮัมมามว่า ...
... คือ “ท่านซัยด์ บิน ซัลลาม ได้พูด กับฉันว่า ...” .. ซึ่งการรายงานในลักษณะนี้ ถือว่า เป็นการรายงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาหะดีษ, มิใช่เป็นรายงานประเภทมั่วนิ่มหรือตัดลิซ ...
ท่านอบูหาติม อัล-มัรฺวะซีย์ นักวิจารณ์ประวัติผู้รายงานหะดีษที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากท่านหนึ่ง ก็ได้กล่าวยืนยันในหนังสือ “อัล-มะรอซีล” ของท่าน หน้าที่ 244 ว่า .. ท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ เคยได้รับฟังหะดีษจากท่านซัยด์ บิน ซัลลามจริง
(ดูข้อมูลจากหนังสือ “อัต-ตัดลีซ ฟิลหะดีษ” ของท่านด็อกเตอร์ มิสฟิรฺ บิน ฆ็อรฺมุลลอฮ์ หน้า 284) ...
(2). ส่วนข้ออ้างที่ว่า .. หะดีษบทนี้ สายรายงาน “ขาดตอน” ในระหว่างท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ กับท่าน อบีย์ ซัลลามนั้น ...
ข้อเท็จจริงก็คือ การขาดตอนดังกล่าวมีปรากฏอยู่ในสายรายงานของผู้บันทึกบางท่านเท่านั้น .. อาทิเช่น ในสายรายงานของท่านอัล-หากิม เล่มที่ 3 หน้า 165, 166, .. และในสายรายงานของท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 140 เป็นต้น ...
แต่จากการบันทึกอันเชื่อถือได้ของท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 5155, และการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 278 ปรากฏว่า สายรายงานของหะดีษนี้จากการบันทึกของทั้งสองท่านนั้นมิได้ขาดตอนดังสายรายงานข้างต้น แต่เป็นสายรายงานที่ ต่อเนื่อง, เพราะมีการระบุชื่อ “ท่านซัยด์ บิน ซัลลาม” ในระหว่างท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺกับท่านอบีย์ ซัลลาม เอาไว้ด้วย (โปรดเปิดดูสายรายงานหะดีษนี้อีกครั้งในหน้าที่ 24) ...
สายรายงานหะดีษบทข้างต้นนี้จึงมิได้ “ขาดตอน” ดังการวิจารณ์ของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์และท่านเช็คอัรฺชัด อัส-สะละฟีย์ ...
จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้อธิบายมานี้ จึงเป็นหลักฐานหักล้างข้ออ้างของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ และท่านอัรฺชัด อัส-สะละฟีย์ ที่ว่า ... การรายงานของท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ จากท่านซัยด์ บิน ซัลลามนั้น เชื่อถือไม่ได้, .. ท่านยะห์ยาบิน อบีย์กะษีรฺ เป็นผู้รายงานประเภทมั่วนิ่ม, .. และสายรายงานของหะดีษนี้มีลักษณะขาดตอน .. ลงได้อย่างสิ้นเชิง ...
(3). ส่วนคำวิจารณ์ของทั้งสองท่านนั้นที่ว่า .. ท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยา อัล-อัซดีย์ (หรืออัล-เอาซีย์) หนึ่งในผู้รายงานหะดีษนี้ เป็นผุ้รายงานที่ขาดความเชื่อถือนั้น ...
ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ได้อ้างทัศนะของนักวิจารณ์บางท่านจากหนังสือ “ตะห์ซีบ อัต-ตะห์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 60-62, และหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 4 หน้า 309-310 มายืนยันคำวิจารณ์ดังกล่าวนี้ ...
แม้ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์มิได้กล่าวถึงก็คือ บทสรุปเกี่ยวกับคุณสมบัติและภาพพจน์ที่แท้จริงของท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยา อัล-อัซดีย์ .. ตามที่ตำราทั้ง 2 เล่มนั้นและตำราอื่นๆได้กล่าวเอาไว้ ดังต่อไปนี้ ...
1. คำกล่าวของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในหนังสือ “อัล-มีซานฯ” เล่มที่ 4 หน้า 309 ตอนเริ่มต้นประวัติของท่านฮัมมาม ว่า ... هَمَّامُ بْنُ يَحْيَى أَحَدُ عُلَمَاءِ الْبَصْرَةِ وَثِقَاتِهَا .. คือ ท่านฮัมมาม บินยะห์ยา อัล-อัซดีย์ เป็นหนึ่งจากนักวิชาการแห่งเมืองบัศเราะฮ์ และเป็นหนึ่งจากผู้ที่เชื่อถือได้แห่งเมืองนั้น ...
2. คำกล่าวของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในตอนท้ายของประวัติท่านฮัมมามว่า ...
قَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ : هَمَّامٌ ثَبْتٌ فِىْ كُلِّ مَشَايِخِهِ،... وَقَالَ أَبُوْ زُرْعَةَ : لاَ بَأْسَ بِهِ
“ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัลกล่าวว่า .. ท่านฮัมมาม เชื่อถือได้ในทุกๆคนที่ท่านรายงานมา ... ท่านอบูซุรฺอะฮ์กล่าวว่า .. ท่านฮัมมาม (เชื่อถือได้) ไม่มีปัญหาใดๆ”
3. มีบันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 60, และหนังสือ “อิรฺชาด อัซ-ซารีย์ หน้า 449 .. ว่า ท่านฮัมมาม บินยะห์ยา เป็นผู้รายงานใน(اَلصِّحَاحُ السِّـتَّةُ) คือในตำราหะดีษของผู้บันทึกที่โลกมุสลิมยอมรับทั้ง 6 .. คือท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ และท่านอิบนุมาญะฮ์,
4. ท่านอิบนุ อะดีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-กามิล” หน้า 2592 ว่า ...
(( وَهَمَّامٌ أَشْهَرُ وَأَصْدَقُ مِنْ أَنْ يُذْكَرَ، لَهُ حَدِيْثٌ مُنْكَرٌ، وَأَحَادِيْثُهُ مُسْتَقِيْمَةٌ عَنْ قَنَادَةَ، وَهُوَ مُقَدَّمٌ فِىْ يَحْيَى بْنِ أَبِىْ كَثِيْرٍ، وَعَآمَّةُ مَايَرْوِيْهِ مُسْتَقِيْمَةٌ ))
“ท่านฮัมมาม เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย และน่าเชื่อถือมากเสียยิ่งกว่าสิ่งที่ท่านถูกกล่าวขวัญถึง, ท่านรายงานหะดีษที่มุงกัรฺ (อ่อนมาก) มาบทหนึ่ง, หะดีษต่างๆที่ท่านรายงานมาจากท่านเกาะตาดะฮ์ ถือว่าเที่ยงตรง, และท่านต้องถูกยอมรับก่อนใครอื่นในการรายงานมาจากท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ (อย่างหะดีษเรื่องบุตรีของท่านฮุบัยเราะฮ์บทนี้ เป็นต้น) .. และภาพรวมของสิ่งที่ท่านรายงานมาถือว่า เที่ยงตรง” ...
5. ท่านอิบนุหะญัรฺ ได้บันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 61 จากคำพูดของท่านอับดุรฺเราะห์มาน อัล-มะฮ์ดีย์ว่า ...
3. มีบันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 60, และหนังสือ “อิรฺชาด อัซ-ซารีย์ หน้า 449 .. ว่า ท่านฮัมมาม บินยะห์ยา เป็นผู้รายงานใน(اَلصِّحَاحُ السِّـتَّةُ) คือในตำราหะดีษของผู้บันทึกที่โลกมุสลิมยอมรับทั้ง 6 .. คือท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ และท่านอิบนุมาญะฮ์,
4. ท่านอิบนุ อะดีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-กามิล” หน้า 2592 ว่า ...
(( وَهَمَّامٌ أَشْهَرُ وَأَصْدَقُ مِنْ أَنْ يُذْكَرَ، لَهُ حَدِيْثٌ مُنْكَرٌ، وَأَحَادِيْثُهُ مُسْتَقِيْمَةٌ عَنْ قَنَادَةَ، وَهُوَ مُقَدَّمٌ فِىْ يَحْيَى بْنِ أَبِىْ كَثِيْرٍ، وَعَآمَّةُ مَايَرْوِيْهِ مُسْتَقِيْمَةٌ ))
“ท่านฮัมมาม เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย และน่าเชื่อถือมากเสียยิ่งกว่าสิ่งที่ท่านถูกกล่าวขวัญถึง, ท่านรายงานหะดีษที่มุงกัรฺ (อ่อนมาก) มาบทหนึ่ง, หะดีษต่างๆที่ท่านรายงานมาจากท่านเกาะตาดะฮ์ ถือว่าเที่ยงตรง, และท่านต้องถูกยอมรับก่อนใครอื่นในการรายงานมาจากท่านยะห์ยา บิน อบีย์กะษีรฺ (อย่างหะดีษเรื่องบุตรีของท่านฮุบัยเราะฮ์บทนี้ เป็นต้น) .. และภาพรวมของสิ่งที่ท่านรายงานมาถือว่า เที่ยงตรง” ...
5. ท่านอิบนุหะญัรฺ ได้บันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 11 หน้า 61 จากคำพูดของท่านอับดุรฺเราะห์มาน อัล-มะฮ์ดีย์ว่า ...
((ظَلِمَ يَحْيَى بْنُ سَعِيْدٍ هَمَّامَ بْنَ يَحْيَى، لَمْ يَكُنْ لَهُ بِهِ عِلْمٌ وَلاَ مُجَالَسَةٌ ))
“ท่านยะห์ยา บินสะอีด ได้อธรรมต่อท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยาเกินไป, เขาไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับท่านฮัมมาม และก็ไม่เคยนั่งร่วมกับท่านฮัมมามเลยด้วยซ้ำ” ...
หมายเหตุ ท่านยะห์ยา บิน สะอีด ก็เป็นผู้หนึ่งที่กล่าวหาท่านฮัมมามว่า ไม่น่าเชื่อถือ, .. และท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ก็ได้อ้างทัศนะของท่านยะห์ยา บินสะอีดมาเป็นข้อมูลในการวิจารณ์ท่านฮัมมามด้วย .. ซึ่งตอนนี้ ท่านผู้อ่านก็คงได้รับทราบจากคำพูดของท่านอับดุรฺเราะห์มาน อัล-มะฮ์ดีย์แล้วว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ...
.......ฯลฯ ......
เหนือสิ่งอื่นใด หะดีษกระแสนี้ถูกรับรองความถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) จากนักวิชาการหะดีษที่มีชื่อเสียงในอดีตหลายท่าน .. ดังข้อมูลที่ได้นำเสนอไปแล้วในหน้าที่ 24 ...
แต่ “ตัวชี้ขาด” ที่แท้จริงของหะดีษเรื่องบุตรีท่านฮุบัยเราะฮ์และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ.บทนี้ ก็คือ รายงานกระแสที่สองของหะดีษนี้จากท่านอบู กิลาบะฮ์ อัล-ญัรฺมีย์ดังที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วในหน้าที่ 24 .. อันถือว่าเป็นสายรายงานที่ถูกต้องที่สุดและไม่มีข้อบกพร่องใดๆเลย ...
ความจริง สายรายงานกระแสที่สองของหะดีษนี้ ท่านอัล-อัลบานีย์ก็ได้อ้างถึงเอาไว้แล้วในหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” ของท่าน หน้า 231 ...
แต่เท่าที่ผมได้ตรวจสอบหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ที่เขียนโต้แย้งท่านอัล-อัลบานีย์เกี่ยวกับเรื่องเครื่องประดับทองคำตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ไม่พบว่า ท่านจะเอ่ยถึงหรือ “แตะต้อง” หะดีษกระแสนี้แต่อย่างใด ...
ผมไม่ทราบว่า เพราะเหตุใดท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ จึงไม่ยอมเอ่ยถึงและไม่ยอมโต้แย้งหะดีษกระแสนี้ ? .. เพราะเผลอหรือเจตนามองข้าม เนื่องจากมันเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สนับสนุนข้ออ้างของท่านเช็คอัล-�
“ท่านยะห์ยา บินสะอีด ได้อธรรมต่อท่านฮัมมาม บิน ยะห์ยาเกินไป, เขาไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับท่านฮัมมาม และก็ไม่เคยนั่งร่วมกับท่านฮัมมามเลยด้วยซ้ำ” ...
หมายเหตุ ท่านยะห์ยา บิน สะอีด ก็เป็นผู้หนึ่งที่กล่าวหาท่านฮัมมามว่า ไม่น่าเชื่อถือ, .. และท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ ก็ได้อ้างทัศนะของท่านยะห์ยา บินสะอีดมาเป็นข้อมูลในการวิจารณ์ท่านฮัมมามด้วย .. ซึ่งตอนนี้ ท่านผู้อ่านก็คงได้รับทราบจากคำพูดของท่านอับดุรฺเราะห์มาน อัล-มะฮ์ดีย์แล้วว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ...
.......ฯลฯ ......
เหนือสิ่งอื่นใด หะดีษกระแสนี้ถูกรับรองความถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) จากนักวิชาการหะดีษที่มีชื่อเสียงในอดีตหลายท่าน .. ดังข้อมูลที่ได้นำเสนอไปแล้วในหน้าที่ 24 ...
แต่ “ตัวชี้ขาด” ที่แท้จริงของหะดีษเรื่องบุตรีท่านฮุบัยเราะฮ์และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ร.ฎ.บทนี้ ก็คือ รายงานกระแสที่สองของหะดีษนี้จากท่านอบู กิลาบะฮ์ อัล-ญัรฺมีย์ดังที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วในหน้าที่ 24 .. อันถือว่าเป็นสายรายงานที่ถูกต้องที่สุดและไม่มีข้อบกพร่องใดๆเลย ...
ความจริง สายรายงานกระแสที่สองของหะดีษนี้ ท่านอัล-อัลบานีย์ก็ได้อ้างถึงเอาไว้แล้วในหนังสือ “อาดาบุซ-ซะฟาฟ” ของท่าน หน้า 231 ...
แต่เท่าที่ผมได้ตรวจสอบหนังสือ “อัล-อิบาหะฮ์” ของท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ที่เขียนโต้แย้งท่านอัล-อัลบานีย์เกี่ยวกับเรื่องเครื่องประดับทองคำตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ไม่พบว่า ท่านจะเอ่ยถึงหรือ “แตะต้อง” หะดีษกระแสนี้แต่อย่างใด ...
ผมไม่ทราบว่า เพราะเหตุใดท่านเช็คอิสมาอีล อัล-อันศอรีย์ จึงไม่ยอมเอ่ยถึงและไม่ยอมโต้แย้งหะดีษกระแสนี้ ? .. เพราะเผลอหรือเจตนามองข้าม เนื่องจากมันเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สนับสนุนข้ออ้างของท่านเช็คอัล-�
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น