โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ห้ามทั้งบุรุษและสตรี ดื่มกินจากภาชนะทองคำและเงิน
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
اَلَّذِىْ (يَأْكُلُ وَ) يَشْرَبُ فِىْ إِنَاءِ (الذَّهَبِ وَ) الْفِضَّةِ إِنَّمَا يُجَرْجِرُ فِىْ بَطْنِهِ نَارَ جَهَنَّمَ
“ผู้ซึ่ง (กินและ) ดื่มในภาชนะ (ทองคำและ) เงินนั้น มันมิใช่อื่นใดนอกจากเขากำลังทำให้ท้องของเขาเต็มไปด้วยไฟนรก” ...
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 5634, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 1/2065, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 3413, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 2129, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 301, 302, 304, 306, ท่านมาลิกใน “อัล-มุวัฏเฏาะอ์” หะดีษที่ 1782 โดยรายงานมาจากท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ ร.ฎ.) ...
สำนวนดังกล่าวนี้ เป็นสำนวนจากการบันทึกของทุกท่านข้างต้น .. ยกเว้นข้อความตัวหนาในวงเล็บทั้ง 2 ตำแหน่ง เป็นข้อความจากการบันทึกของท่านมุสลิมโดยเฉพาะ ...
จากคำชี้แจงนี้ จะเห็นได้ว่า สำนวนจากการบันทึกของท่านมุสลิม ผิดเพี้ยนไปจากการบันทึกของผู้บันทึกท่านอื่น เพราะมีการเพิ่มคำว่า “กิน” และคำว่า “ทองคำ” เข้าไปในตัวบทของหะดีษ, ขณะที่บันทึกของผู้รายงานท่านอื่น จะไม่มี 2 คำนี้ ...
จะอย่างไรก็ตาม การเพิ่มเติมคำว่า “กิน” และ “ทองคำ” จากการบันทึกของท่านมุสลิมในหะดีษบทนี้ ก็ได้รับการยืนยัน (شَاهِدٌ) จากหะดีษอีกบทหนึ่ง .. นั่นคือ ท่านหุซัยฟะฮ์ บิน อัล-ญะมาน ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์อีกท่านหนึ่งได้รายงานมาว่า ...
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 5634, ท่านมุสลิม หะดีษที่ 1/2065, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 3413, ท่านอัด-ดาริมีย์ หะดีษที่ 2129, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 301, 302, 304, 306, ท่านมาลิกใน “อัล-มุวัฏเฏาะอ์” หะดีษที่ 1782 โดยรายงานมาจากท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ ร.ฎ.) ...
สำนวนดังกล่าวนี้ เป็นสำนวนจากการบันทึกของทุกท่านข้างต้น .. ยกเว้นข้อความตัวหนาในวงเล็บทั้ง 2 ตำแหน่ง เป็นข้อความจากการบันทึกของท่านมุสลิมโดยเฉพาะ ...
จากคำชี้แจงนี้ จะเห็นได้ว่า สำนวนจากการบันทึกของท่านมุสลิม ผิดเพี้ยนไปจากการบันทึกของผู้บันทึกท่านอื่น เพราะมีการเพิ่มคำว่า “กิน” และคำว่า “ทองคำ” เข้าไปในตัวบทของหะดีษ, ขณะที่บันทึกของผู้รายงานท่านอื่น จะไม่มี 2 คำนี้ ...
จะอย่างไรก็ตาม การเพิ่มเติมคำว่า “กิน” และ “ทองคำ” จากการบันทึกของท่านมุสลิมในหะดีษบทนี้ ก็ได้รับการยืนยัน (شَاهِدٌ) จากหะดีษอีกบทหนึ่ง .. นั่นคือ ท่านหุซัยฟะฮ์ บิน อัล-ญะมาน ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์อีกท่านหนึ่งได้รายงานมาว่า ...
(( سَمِعْتُ النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ : لاَ تَلْبَسُواالْحَرِيْرَ وَلاَ الدِّيْبَاجَ، وَلاَ تَشْرَبُوْا فِىْ آنِيَةِ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ، وَلاَ تَأْكُلُوْا فِىْ صِحَافِهَا، فَإِنَّهَا لَهُمْ فِى الدُّنْيَا، وَلَنَا فِى اْلآخِرَةِ .. ))
ฉันเคยได้ยินท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า .. “พวกท่านอย่าสวมเครื่องแต่งกายที่เป็นผ้าไหมบริสุทธิ์ หรือผ้าไหมยกเงินยกทอง, และพวกท่านอย่าดื่มในภาชนะที่ทำจากทองคำหรือเงิน และอย่ารับประทานจากจานเหล่านั้น เพราะสิ่งนี้ มันเป็นของพวกเขา (กาฟิรฺ) ในโลกนี้, และเป็นของพวกเรา (มุสลิม) ในโลกหน้า” ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 5426, .. และหะดีษของท่านหุซัยฟะฮ์ในสำนวนที่คล้ายคลึงกันนี้ ยังถูกบันทึกโดยท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, ท่านอัด-ดาริมีย์, ท่านอะห์มัด และท่านอิบนุมาญะฮ์ด้วยเช่นกัน ...
เมื่อเราพิจารณาดูเนื้อหาของหะดีษนี้ทั้ง 2 บท จะเห็นได้ว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามในภาพรวม -- คือมิได้ระบุว่าห้ามเพศใด -- จากการแต่งกายด้วยผ้าไหม, และห้ามดื่มกินจากภาชนะที่ทำด้วยเงินหรือทองคำ ...
แต่ดังเป็นที่ทราบกันดีจากหะดีษบทก่อน (หน้าที่ 11) ที่ผ่านมาแล้วว่า ผ้าไหมและทองคำ เป็นที่ต้องห้ามสำหรับบุรุษเพศเท่านั้น แต่ทั้งสองอย่างนี้เป็นที่อนุมัติสำหรับสตรีเพศ (โดยไม่มีข้อแม้) ...
ดังนั้น เมื่อเรานำเอาหะดีษ 2 บทหลังนี้มาพิจารณาร่วมกับหะดีษบทก่อนในหน้า 11 .. ตามรูปการจึงน่าจะเข้าใจได้ว่า การห้ามใช้ผ้าไหมและห้ามดื่มกินจากภาชนะที่ทำจากทองคำหรือเงิน น่าจะเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับเพศชายโดยเฉพาะ ...
แต่ข้อเท็จจริงมิใช่เป็นเช่นนั้น ... เพราะบรรดานักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่า ข้อห้ามจากการดื่มกินในภาชนะที่ทำด้วยทองคำหรือเงินนั้น มิใช่จำกัดเฉพาะเพศชาย ทว่ายังครอบคลุมถึงเพศหญิงด้วยเช่นเดียวกัน จึงดูเหมือนว่าทัศนะดังกล่าวของบรรดานักวิชาการ น่าจะขัดแย้งกับหะดีษข้างต้นที่อนุมัติทองคำสำหรับเพศหญิงทุกชนิด ...
สิ่งนี้ จึงเท่ากับเป็นการยอมรับโดยปริยายของบรรดานักวิชาการว่า การอนุมัติให้เพศหญิงใช้ทองคำได้นั้น มิได้หมายความว่า จะอนุมัติไปเสียทุกเรื่องโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆดังกล่าวมาแล้ว หากแต่ยังมีข้อห้ามเพศหญิงจากการดื่มกินในภาชนะทองคำหรือเงิน อันถือได้ว่าเป็น “ข้อยกเว้น” จากการอนุมัติทองคำทั้งหมดแก่เพศหญิง .. ตามที่เข้าใจได้จากหะดีษในหน้าที่ 11 นั้น ...
ดังนั้น เมื่อการอนุมัติให้เพศหญิงใช้ทองคำได้ทุกชนิด ยังถูกยกเว้นโดยหะดีษที่ห้ามดื่มหรือกินในภาชนะทองคำ การยกเว้นในลักษณะเดียวกัน คือห้ามใช้ทองคำในเครื่องประดับบางชนิด คือ แหวน, สร้อยคอ, และกำไล, จึงมิใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใดตามทัศนะของท่านอัล-อัลบานีย์ ตราบใดที่มีหะดีษที่ถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) เกี่ยวกับข้อห้ามดังกล่าวมายืนยันไว้ เหมือนกับหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ที่มายืนยันเรื่องห้ามกินหรือดื่มจากภาชนะที่ทำจากทองคำฉะนั้น ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 5426, .. และหะดีษของท่านหุซัยฟะฮ์ในสำนวนที่คล้ายคลึงกันนี้ ยังถูกบันทึกโดยท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, ท่านอัด-ดาริมีย์, ท่านอะห์มัด และท่านอิบนุมาญะฮ์ด้วยเช่นกัน ...
เมื่อเราพิจารณาดูเนื้อหาของหะดีษนี้ทั้ง 2 บท จะเห็นได้ว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามในภาพรวม -- คือมิได้ระบุว่าห้ามเพศใด -- จากการแต่งกายด้วยผ้าไหม, และห้ามดื่มกินจากภาชนะที่ทำด้วยเงินหรือทองคำ ...
แต่ดังเป็นที่ทราบกันดีจากหะดีษบทก่อน (หน้าที่ 11) ที่ผ่านมาแล้วว่า ผ้าไหมและทองคำ เป็นที่ต้องห้ามสำหรับบุรุษเพศเท่านั้น แต่ทั้งสองอย่างนี้เป็นที่อนุมัติสำหรับสตรีเพศ (โดยไม่มีข้อแม้) ...
ดังนั้น เมื่อเรานำเอาหะดีษ 2 บทหลังนี้มาพิจารณาร่วมกับหะดีษบทก่อนในหน้า 11 .. ตามรูปการจึงน่าจะเข้าใจได้ว่า การห้ามใช้ผ้าไหมและห้ามดื่มกินจากภาชนะที่ทำจากทองคำหรือเงิน น่าจะเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับเพศชายโดยเฉพาะ ...
แต่ข้อเท็จจริงมิใช่เป็นเช่นนั้น ... เพราะบรรดานักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่า ข้อห้ามจากการดื่มกินในภาชนะที่ทำด้วยทองคำหรือเงินนั้น มิใช่จำกัดเฉพาะเพศชาย ทว่ายังครอบคลุมถึงเพศหญิงด้วยเช่นเดียวกัน จึงดูเหมือนว่าทัศนะดังกล่าวของบรรดานักวิชาการ น่าจะขัดแย้งกับหะดีษข้างต้นที่อนุมัติทองคำสำหรับเพศหญิงทุกชนิด ...
สิ่งนี้ จึงเท่ากับเป็นการยอมรับโดยปริยายของบรรดานักวิชาการว่า การอนุมัติให้เพศหญิงใช้ทองคำได้นั้น มิได้หมายความว่า จะอนุมัติไปเสียทุกเรื่องโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆดังกล่าวมาแล้ว หากแต่ยังมีข้อห้ามเพศหญิงจากการดื่มกินในภาชนะทองคำหรือเงิน อันถือได้ว่าเป็น “ข้อยกเว้น” จากการอนุมัติทองคำทั้งหมดแก่เพศหญิง .. ตามที่เข้าใจได้จากหะดีษในหน้าที่ 11 นั้น ...
ดังนั้น เมื่อการอนุมัติให้เพศหญิงใช้ทองคำได้ทุกชนิด ยังถูกยกเว้นโดยหะดีษที่ห้ามดื่มหรือกินในภาชนะทองคำ การยกเว้นในลักษณะเดียวกัน คือห้ามใช้ทองคำในเครื่องประดับบางชนิด คือ แหวน, สร้อยคอ, และกำไล, จึงมิใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใดตามทัศนะของท่านอัล-อัลบานีย์ ตราบใดที่มีหะดีษที่ถูกต้อง (เศาะเหี๊ยะฮ์) เกี่ยวกับข้อห้ามดังกล่าวมายืนยันไว้ เหมือนกับหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ที่มายืนยันเรื่องห้ามกินหรือดื่มจากภาชนะที่ทำจากทองคำฉะนั้น ...
หลักฐานห้ามสตรีใช้แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ, และกำไลทองคำ
หลักฐานที่ 1.
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
หลักฐานที่ 1.
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ...
مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُحَلِّقَ حَبِيْبَهُ حَلْقَةً مِنْ نَارٍ فَلْيُحَلِّقْهُ حَلْقَةً مِنْ ذَهَبٍ، وَمَنْ أَحَبَّ أَنْ يُطَوِّقَ حَبِيْبَهُ طَوْقًا مِنْ نَارٍ فَلْيُطَوِّقْهُ طَوْقًا مِنْ ذَهَبٍ، وَمَنْ أَحَبَّ أَنْ يُسَوِّرَ حَبِيْبَهُ سِوَارًامِنْ نَارٍ فَلْيُسَوِّرْهُ سِوَارًا مِنْ ذَهَبٍ، وَلَكِنْ عَلَيْكُمْ بِالْفِضَّةِ ! فَلْعَبُوْابِهَا، ( اِلْعَبُوْابِهَا، اِلْعَبُوْابِهَا)
“ผู้ใดพึงใจจะให้ผู้ที่เขารักสวมแหวนจากไฟนรกละก็ จงสวมแหวนทองคำให้เขาเถิด, ผู้ใดพึงใจจะให้ผู้ที่เขารักสวมสร้อยคอจากไฟนรกละก็ จงสวมสร้อยคอทองคำให้เขาเถิด, และผู้ใดพึงใจจะให้ผู้ที่เขารักสวมกำไลจากไฟนรกละก็ จงสวมกำไลทองคำให้เขาเถิด, .. แต่ว่า, สิ่งจำเป็น (เหมาะสม) สำหรับพวกท่านคือ(แร่)เงิน, ดังนั้น พวกท่านจงหาความเพลิดเพลินด้วยมัน (เงิน) เถิด, (พวกท่านจงหาความเพลิดเพลินด้วยมันเถิด, พวกท่านจงหาความเพลิดเพลินด้วยมันเถิด)” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4236, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 378, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 140, และท่านอิบนุหัสมิน ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 10 หน้า 84, .. สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนของผู้รายงานทั้งหมด, ยกเว้นในวงเล็บตอนท้าย เป็นสำนวนเพิ่มเติมจากการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 334) ...
สายรายงานของหะดีษข้างต้น เป็นดังนี้ ...
1. อับดุลอะซีซ บินมุหัมมัด อัด-ดะรอวัรฺดีย์ (عَبْدُالْعَزِيْزِ بْنُ مُحَمَّدٍ الدَّرَاوَرْدِىُّ)
2. อะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด (أََسِيْدُ بْنُ أَبِىْ أَسِيْدٍ الْبَرَّادُ)
3. นาเฟี๊ยะอฺ บิน อับบาส (หรือบินอัยยาช) (نَافِعُ بْنُ عَبَّاسٍ أَوِ بْنُ عَيَّاشٍ)
4. ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.
5. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
ผู้ที่รายงานหะดีษนี้มาจากท่านอะซีดบิน อบีย์อะซีด (หมายเลข 2) นอกจากท่านอับดุลอะซีซ บินมุหัมมัด อัด-ดะรอวัดดีย์ (หมายเลข 1) ดังในรายงานกระแสนี้แล้ว ยังมีท่านซุฮัยรฺ บินมุหัมมัด อัต-ตัยมีย์ .. จากการบันทึกของท่านอะห์มัด (เล่มที่ 2 หน้า 334), .. และท่านอิบนุ อบีย์ซิบิน จากการบันทึกของท่านอบุลหะซัน อัล-อิคมีมีย์ (ในหนังสือ “อัล-หะดีษ” ของท่าน หมายเลข 2/9/2) ...
อธิบาย
ผู้รายงานของหะดีษบทนี้ทุกท่าน เป็นผู้ที่เชื่อถือได้, เพราะเป็นผุ้รายงานที่ได้รับการยอมรับโดยท่านมุสลิม, .. ยกเว้นผู้รายงานลำดับที่ 2 คือ ท่านอะซีด บินอบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด, ซึ่งมิใช่เป็นผู้รายงานของท่านมุสลิม แต่ท่านก็ได้รับความเชื่อถือจากท่านอิบนุหิบบาน และนักวิชาการอื่นๆอีกหลายท่าน ...
นักวิชาการหะดีษกลุ่มหนึ่งถือว่า หะดีษบทนี้ของท่านอะซีด บินอบีย์อะซีด เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังมีรายนามต่อไปนี้ ...
1. ท่านอัล-มุนซิรีย์ ในหนังสือ “อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฺฮีบ” เล่มที่ 1 หน้า 273 ...
2. ท่านอัช-เชากานีย์ ในหนังสือ “อัล-วัชยุลมัรฺกูม” ดังการอ้างอิงในหนังสือ “เอานุ้ล มะอฺบูด” เล่มที่ 11 หน้า 296 ...
3. ท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ ในการอธิบายหนังสือ “อัล-มุสนัด” ของท่านอิหม่ามอะห์มัด เล่มที่ 16 หน้า 177 (หะดีษที่ 8397) .. และเล่มที่ 17 หน้า 62 (หะดีษที่ 8897) ...
4. ท่านอัล-อัลบานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “เศาะเหี๊ยะฮ์ อบูดาวูด” เล่มที่ 2 หน้า 797 ว่า หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษหะซัน (สวยงาม) ...
ในมุมมองส่วนตัวของผม เห็นว่า หะดีษบทนี้เป็นเพียงหะดีษหะซัน มิใช่หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์, เพราะท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด ถูกท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ กล่าววิจารณ์ในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 1 หน้า 77, และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์ในหนังสือ “อัล-กาชิฟ” เล่มที่ 1 หน้า 81 มาตรงกันว่า صَدُوْقٌ, ... หมายความว่าเป็น “ผู้ที่พอจะเชื่อถือได้” .. อันถือว่าเป็นคุณสมบัติของผู้รายงานหะดีษหะซัน, มิใช่คุณสมบัติของผู้รายงานหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ...
อีกกระแสหนึ่งของหะดีษบทนี้ มาจากการรายงานของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด ที่รายงานมาจากท่านนาเฟี๊ยะอฺ บิน อัยยาชเหมือนกระแสแรก,.. แต่ในกระแสนี้ ท่านนาเฟี๊ยะอฺอ้างการรายงานมาจากบุตรชายของท่านอบูมูซา อัล-อัชอะรีย์ ร.ฎ. หรือบุตรชายของท่านอบูเกาะตาดะฮ์ ร.ฎ. ท่านใดท่านหนึ่ง .. ดังการบันทึกของท่านอะห์มัดในหนังสือ “อัล-มุสนัด” เล่มที่ 4 หน้า 414 ...
ท่านอัล-ฮัยษะมีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มัจญมะฮ์ อัซ-ซะวาอิด” เล่มที่ 5 หน้า 262 ว่า ถ้าหากบุตรชายของท่านอบูมูซาในที่นี้ คือท่านมูซา, .. และบุตรชายของท่านอบูเกาะตาดะฮ์ คือท่านอับดุลลอฮ์ .. ก็ถือว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษหะซัน (สวยงาม) ...
ท่านอิบนุหัสมินเอง หลังจากที่ได้ระบุหะดีษบทนี้ (จากกระแสที่ 1)ไว้ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่าน เล่มที่ 10 หน้า 84 แล้ว ท่านก็ไม่ได้วิจารณ์ข้อเท็จจริงใดๆของหะดีษบทนี้, แตกต่างจากหะดีษบทอื่นที่เมื่อมีกล่าวถึงการห้ามสตรีใช้เครื่องประดับทองคำ ท่านอิบนุหัสมินก็จะวิจารณ์ความบกพร่องหรือความไม่ถูกต้องของหะดีษเหล่านั้นทุกบทไป ...
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิบนุหัสมินยังกล่าวอธิบายต่อไปในทำนองว่า หะดีษบทนี้เป็นหะดีษคลุมเครือ (مُجْمَلٌ) ซึ่งจะต้องถูกจำกัดความหมายลงด้วยหะดีษที่อนุมัติผู้หญิงใช้ทองคำได้ทุกชนิด .. บทที่ผ่านมาแล้วในหน้าที่ 11 ..
คำอธิบายดังกล่าวบ่งบอกความหมายว่า ท่านอิบนุหัสมิน ยอมรับความถูกต้องของหะดีษบทนี้โดยปริยายเช่นเดียวกัน ...
สรุปแล้ว ในภาพรวมของหะดีษบทนี้ อย่างน้อยก็เป็นหะดีษหะซัน, หรืออาจจะเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังทัศนะของนักวิชาการที่ผมได้อ้างอิงไปแล้วนั้น ...
ดังนั้น หะดีษบทนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า ห้ามสตรีจากการใช้แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ และกำไลทองคำ .. แต่ส่งเสริมให้พวกนางหันไปใช้เครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากเงินแทน .. ดังข้อความตอนท้ายของหะดีษนี้ ...
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4236, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 378, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 140, และท่านอิบนุหัสมิน ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 10 หน้า 84, .. สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนของผู้รายงานทั้งหมด, ยกเว้นในวงเล็บตอนท้าย เป็นสำนวนเพิ่มเติมจากการบันทึกของท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 334) ...
สายรายงานของหะดีษข้างต้น เป็นดังนี้ ...
1. อับดุลอะซีซ บินมุหัมมัด อัด-ดะรอวัรฺดีย์ (عَبْدُالْعَزِيْزِ بْنُ مُحَمَّدٍ الدَّرَاوَرْدِىُّ)
2. อะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด (أََسِيْدُ بْنُ أَبِىْ أَسِيْدٍ الْبَرَّادُ)
3. นาเฟี๊ยะอฺ บิน อับบาส (หรือบินอัยยาช) (نَافِعُ بْنُ عَبَّاسٍ أَوِ بْنُ عَيَّاشٍ)
4. ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.
5. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
ผู้ที่รายงานหะดีษนี้มาจากท่านอะซีดบิน อบีย์อะซีด (หมายเลข 2) นอกจากท่านอับดุลอะซีซ บินมุหัมมัด อัด-ดะรอวัดดีย์ (หมายเลข 1) ดังในรายงานกระแสนี้แล้ว ยังมีท่านซุฮัยรฺ บินมุหัมมัด อัต-ตัยมีย์ .. จากการบันทึกของท่านอะห์มัด (เล่มที่ 2 หน้า 334), .. และท่านอิบนุ อบีย์ซิบิน จากการบันทึกของท่านอบุลหะซัน อัล-อิคมีมีย์ (ในหนังสือ “อัล-หะดีษ” ของท่าน หมายเลข 2/9/2) ...
อธิบาย
ผู้รายงานของหะดีษบทนี้ทุกท่าน เป็นผู้ที่เชื่อถือได้, เพราะเป็นผุ้รายงานที่ได้รับการยอมรับโดยท่านมุสลิม, .. ยกเว้นผู้รายงานลำดับที่ 2 คือ ท่านอะซีด บินอบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด, ซึ่งมิใช่เป็นผู้รายงานของท่านมุสลิม แต่ท่านก็ได้รับความเชื่อถือจากท่านอิบนุหิบบาน และนักวิชาการอื่นๆอีกหลายท่าน ...
นักวิชาการหะดีษกลุ่มหนึ่งถือว่า หะดีษบทนี้ของท่านอะซีด บินอบีย์อะซีด เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังมีรายนามต่อไปนี้ ...
1. ท่านอัล-มุนซิรีย์ ในหนังสือ “อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฺฮีบ” เล่มที่ 1 หน้า 273 ...
2. ท่านอัช-เชากานีย์ ในหนังสือ “อัล-วัชยุลมัรฺกูม” ดังการอ้างอิงในหนังสือ “เอานุ้ล มะอฺบูด” เล่มที่ 11 หน้า 296 ...
3. ท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ ในการอธิบายหนังสือ “อัล-มุสนัด” ของท่านอิหม่ามอะห์มัด เล่มที่ 16 หน้า 177 (หะดีษที่ 8397) .. และเล่มที่ 17 หน้า 62 (หะดีษที่ 8897) ...
4. ท่านอัล-อัลบานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “เศาะเหี๊ยะฮ์ อบูดาวูด” เล่มที่ 2 หน้า 797 ว่า หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษหะซัน (สวยงาม) ...
ในมุมมองส่วนตัวของผม เห็นว่า หะดีษบทนี้เป็นเพียงหะดีษหะซัน มิใช่หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์, เพราะท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด อัล-บัรฺรอด ถูกท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ กล่าววิจารณ์ในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 1 หน้า 77, และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์ในหนังสือ “อัล-กาชิฟ” เล่มที่ 1 หน้า 81 มาตรงกันว่า صَدُوْقٌ, ... หมายความว่าเป็น “ผู้ที่พอจะเชื่อถือได้” .. อันถือว่าเป็นคุณสมบัติของผู้รายงานหะดีษหะซัน, มิใช่คุณสมบัติของผู้รายงานหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ...
อีกกระแสหนึ่งของหะดีษบทนี้ มาจากการรายงานของท่านอะซีด บิน อบีย์อะซีด ที่รายงานมาจากท่านนาเฟี๊ยะอฺ บิน อัยยาชเหมือนกระแสแรก,.. แต่ในกระแสนี้ ท่านนาเฟี๊ยะอฺอ้างการรายงานมาจากบุตรชายของท่านอบูมูซา อัล-อัชอะรีย์ ร.ฎ. หรือบุตรชายของท่านอบูเกาะตาดะฮ์ ร.ฎ. ท่านใดท่านหนึ่ง .. ดังการบันทึกของท่านอะห์มัดในหนังสือ “อัล-มุสนัด” เล่มที่ 4 หน้า 414 ...
ท่านอัล-ฮัยษะมีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มัจญมะฮ์ อัซ-ซะวาอิด” เล่มที่ 5 หน้า 262 ว่า ถ้าหากบุตรชายของท่านอบูมูซาในที่นี้ คือท่านมูซา, .. และบุตรชายของท่านอบูเกาะตาดะฮ์ คือท่านอับดุลลอฮ์ .. ก็ถือว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษหะซัน (สวยงาม) ...
ท่านอิบนุหัสมินเอง หลังจากที่ได้ระบุหะดีษบทนี้ (จากกระแสที่ 1)ไว้ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่าน เล่มที่ 10 หน้า 84 แล้ว ท่านก็ไม่ได้วิจารณ์ข้อเท็จจริงใดๆของหะดีษบทนี้, แตกต่างจากหะดีษบทอื่นที่เมื่อมีกล่าวถึงการห้ามสตรีใช้เครื่องประดับทองคำ ท่านอิบนุหัสมินก็จะวิจารณ์ความบกพร่องหรือความไม่ถูกต้องของหะดีษเหล่านั้นทุกบทไป ...
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิบนุหัสมินยังกล่าวอธิบายต่อไปในทำนองว่า หะดีษบทนี้เป็นหะดีษคลุมเครือ (مُجْمَلٌ) ซึ่งจะต้องถูกจำกัดความหมายลงด้วยหะดีษที่อนุมัติผู้หญิงใช้ทองคำได้ทุกชนิด .. บทที่ผ่านมาแล้วในหน้าที่ 11 ..
คำอธิบายดังกล่าวบ่งบอกความหมายว่า ท่านอิบนุหัสมิน ยอมรับความถูกต้องของหะดีษบทนี้โดยปริยายเช่นเดียวกัน ...
สรุปแล้ว ในภาพรวมของหะดีษบทนี้ อย่างน้อยก็เป็นหะดีษหะซัน, หรืออาจจะเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังทัศนะของนักวิชาการที่ผมได้อ้างอิงไปแล้วนั้น ...
ดังนั้น หะดีษบทนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า ห้ามสตรีจากการใช้แหวนทองคำ, สร้อยคอทองคำ และกำไลทองคำ .. แต่ส่งเสริมให้พวกนางหันไปใช้เครื่องประดับเหล่านี้ที่ทำจากเงินแทน .. ดังข้อความตอนท้ายของหะดีษนี้ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น