โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
แน่นอน, ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน คงจะให้คำตอบได้ตรงกันว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่เหตุผลที่จะเป็นอุปสรรคต่อการจัดงานเมาลิดของประชาชนในยุคที่ดีเลิศเหล่านั้น (ถ้าพวกท่านเห็นว่ามันเป็นเรื่องดีเหมือนมุมมองของพวกเราในปัจจุบัน) ..
ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าคือ “เหตุผลที่แท้จริง” ที่ขัดขวางพวกท่านจากการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่านศาสดาเยี่ยงการจัดของพวกเรา ? ..
ตามทัศนะส่วนตัวของผม (ไม่ได้พูดลอยๆ แต่ผมมีหลักฐาน) มองว่า สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชนยุคหลังที่ถูกรับรองจากท่านศาสดาว่า เป็นผู้ที่มีคุณธรรมเลอเลิศที่สุด ไม่เคยคิดจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการด้วยกัน คือ ...
1. เพราะพวกท่านเห็นว่าการจัดงานเมาลิด เป็นการ “ลอกเลียนแบบ” การจัดงานวันคริสต์มาสของพวกคริสเตียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านศาสดาที่พวกเขารัก ห้ามปราม ..
ท่านศาสดา ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ...
ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าคือ “เหตุผลที่แท้จริง” ที่ขัดขวางพวกท่านจากการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่านศาสดาเยี่ยงการจัดของพวกเรา ? ..
ตามทัศนะส่วนตัวของผม (ไม่ได้พูดลอยๆ แต่ผมมีหลักฐาน) มองว่า สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และประชาชนยุคหลังที่ถูกรับรองจากท่านศาสดาว่า เป็นผู้ที่มีคุณธรรมเลอเลิศที่สุด ไม่เคยคิดจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการด้วยกัน คือ ...
1. เพราะพวกท่านเห็นว่าการจัดงานเมาลิด เป็นการ “ลอกเลียนแบบ” การจัดงานวันคริสต์มาสของพวกคริสเตียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านศาสดาที่พวกเขารัก ห้ามปราม ..
ท่านศาสดา ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ...
مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ
“ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มนั้นด้วย”
(บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, และท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)
2. เพราะพวกท่านเห็นว่า “ซุนนะฮ์” ของท่านศาสดาในการ “ให้ความสำคัญ”กับวันเกิดของท่านก็คือ การ “อดอาหาร” ด้วยการ “ถือศีลอด” ในวันนั้น .. (หมายถึง “วันจันทร์” ซึ่งถือว่าเป็นวันเกิดตัวจริงเสียงจริงของท่านนบีย์) ...
ท่านอบู เกาะตาดะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ...
(บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, และท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)
2. เพราะพวกท่านเห็นว่า “ซุนนะฮ์” ของท่านศาสดาในการ “ให้ความสำคัญ”กับวันเกิดของท่านก็คือ การ “อดอาหาร” ด้วยการ “ถือศีลอด” ในวันนั้น .. (หมายถึง “วันจันทร์” ซึ่งถือว่าเป็นวันเกิดตัวจริงเสียงจริงของท่านนบีย์) ...
ท่านอบู เกาะตาดะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ...
أَنَّ رَسُوْلَ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سُئِلَ عَنْ صَوْمِ اْلإِثْنَيْنِ فَقَالَ : فِيْهِ وُلِدْتُ وَفِيْهِ اُنْزِلَ عَلَىَّ ...
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยถูกถามถึงเรื่องการ “ถือศีลอด” ในวันจันทร์ ท่านตอบว่า .. วันจันทร์ คือวันเกิดของฉัน, และวันจันทร์ คือวันที่อัล-กุรฺอ่านถูกประทานมาให้แก่ฉัน” ...
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 198/1162) .
3. เพราะพวกท่านรู้ดีว่า ท่านศาสดา “รังเกียจ” พฤติกรรมการให้เกียรติท่านในลักษณะฉาบฉวย คล้ายๆการประจบสอพลอ แทนการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน ...
ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดท่านศาสดาที่สุดท่านหนึ่งกล่าวว่า
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 198/1162) .
3. เพราะพวกท่านรู้ดีว่า ท่านศาสดา “รังเกียจ” พฤติกรรมการให้เกียรติท่านในลักษณะฉาบฉวย คล้ายๆการประจบสอพลอ แทนการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน ...
ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดท่านศาสดาที่สุดท่านหนึ่งกล่าวว่า
مَا كَانَ فِى الدُّنْيَا شَخْصٌّ أَحَبَّ إِلَيْهِمْ رُؤْيَةً مِنْ رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَكَانُوْا إِذَا رَأَوْهُ لَمْ يَقُوْمُوْا لَهُ لِمَا كَانُوْا يَعْلَمُوْنَ مِنْ كَرَاهِيَتِهِ لِذَلِكَ ..
“ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้ บุคคลที่พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) อยากจะเจอหน้ายิ่งไปกว่าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, แต่เมื่อพวกเขาเจอท่าน พวกเขาไม่เคยยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่านเลย เนื่องจากพวกเขารู้ว่า ท่านรังเกียจพฤติการณ์อย่างนี้” ..”
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” หะดีษที่ 946, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2754, ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษที่ 1276, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 132) ...
แค่การยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติ ท่านนบีย์ก็ยัง “รังเกียจ” จนบรรดาเศาะหาบะฮ์ไม่กล้าปฏิบัติ, แล้วการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่าน ซึ่งมัน “เว่อร์” และเอิกเกริกกว่าการยืนให้เกียรติหลายร้อยเท่า คิดหรือว่า หากเศาะหาบะฮ์ท่านใดคิดจัดมันขึ้นมาในขณะนั้น ท่านนบีย์จะปลื้มใจและภูมิใจสุดๆกับความรักความภักดีที่มีผู้หยิบยื่นให้ท่านในลักษณะนั้น ? ...
สิ่งใดที่ท่านศาสดารังเกียจ (ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใดก็ตาม) สมควรแล้วหรือที่มุสลิมที่อ้างว่า “รักและให้เกียรติ” ท่าน จะดึงดันกระทำสิ่งนั้น เพียงเพราะยึดมั่นอยู่กับความคิดของตนเองฝ่ายเดียวว่ามัน “เป็นเรื่องดี”.. โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของตัวท่านนบีย์เอง ? ...
การเฉลิมฉลองวันเกิดท่านนบีย์ด้วยการจัดงานเมาลิด ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ดี, .. เหมือนๆกับการยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่านศาสดา ไม่มีเศาะหาบะฮ์ท่านใดมองว่า เป็นเรื่องไม่ดี ...
แต่ปัญหามิได้อยู่ที่ว่า มันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ! .. ทว่า, เมื่อมันเป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจ พวกเขาจึงงดเว้นที่จะยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่าน .. ทั้งๆที่ตามเนื้อหาของหะดีษแล้ว บ่งบอกความรู้สึกว่า พวกเขาต้องการยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน ...
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด” หะดีษที่ 946, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2754, ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษที่ 1276, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 132) ...
แค่การยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติ ท่านนบีย์ก็ยัง “รังเกียจ” จนบรรดาเศาะหาบะฮ์ไม่กล้าปฏิบัติ, แล้วการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่าน ซึ่งมัน “เว่อร์” และเอิกเกริกกว่าการยืนให้เกียรติหลายร้อยเท่า คิดหรือว่า หากเศาะหาบะฮ์ท่านใดคิดจัดมันขึ้นมาในขณะนั้น ท่านนบีย์จะปลื้มใจและภูมิใจสุดๆกับความรักความภักดีที่มีผู้หยิบยื่นให้ท่านในลักษณะนั้น ? ...
สิ่งใดที่ท่านศาสดารังเกียจ (ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใดก็ตาม) สมควรแล้วหรือที่มุสลิมที่อ้างว่า “รักและให้เกียรติ” ท่าน จะดึงดันกระทำสิ่งนั้น เพียงเพราะยึดมั่นอยู่กับความคิดของตนเองฝ่ายเดียวว่ามัน “เป็นเรื่องดี”.. โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของตัวท่านนบีย์เอง ? ...
การเฉลิมฉลองวันเกิดท่านนบีย์ด้วยการจัดงานเมาลิด ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ดี, .. เหมือนๆกับการยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่านศาสดา ไม่มีเศาะหาบะฮ์ท่านใดมองว่า เป็นเรื่องไม่ดี ...
แต่ปัญหามิได้อยู่ที่ว่า มันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ! .. ทว่า, เมื่อมันเป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจ พวกเขาจึงงดเว้นที่จะยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่าน .. ทั้งๆที่ตามเนื้อหาของหะดีษแล้ว บ่งบอกความรู้สึกว่า พวกเขาต้องการยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน ...
ผมเคยคิด, และจะยังยืนยันความคิดตามประสาคนโง่อย่างผมอยู่เสมอและตลอดไปว่า มุสลิมที่มีอีหม่านจริงๆนั้น จะต้องรักในสิ่งที่ท่านนบีย์รัก และจะต้องรังเกียจในสิ่งที่ท่านนบีย์รังเกียจ ...
อ่านหะดีษของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ข้างต้น ซ้ำกันหลายๆเที่ยว .. พร้อมกับใช้สมองของท่านใคร่ครวญไปด้วย แล้วบางที ท่านอาจจะมีดวงตาเห็นธรรมก็ได้ ..
(สำหรับข้ออ้างของนักวิชาการหลายท่านที่อ้างว่า มีหลักฐานว่าท่านศาสดาเคยใช้ให้เศาะหาบะฮ์กลุ่มหนึ่งของท่าน “ยืนให้เกียรติ” แก่ท่าน สะอฺด์ (สะอัด) บิน มุอาซ ร.ฎ. นั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในเจตนารมณ์ของหลักฐาน ดังที่ผมจะอธิบายข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์) ...
อ่านหะดีษของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ข้างต้น ซ้ำกันหลายๆเที่ยว .. พร้อมกับใช้สมองของท่านใคร่ครวญไปด้วย แล้วบางที ท่านอาจจะมีดวงตาเห็นธรรมก็ได้ ..
(สำหรับข้ออ้างของนักวิชาการหลายท่านที่อ้างว่า มีหลักฐานว่าท่านศาสดาเคยใช้ให้เศาะหาบะฮ์กลุ่มหนึ่งของท่าน “ยืนให้เกียรติ” แก่ท่าน สะอฺด์ (สะอัด) บิน มุอาซ ร.ฎ. นั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในเจตนารมณ์ของหลักฐาน ดังที่ผมจะอธิบายข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์) ...
(2). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับคำอธิบายของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยษะมีย์ สองนักวิชาการดังแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ...
ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 ว่า ..
فَالْبِدْعَةُ فِىْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ ! بِخِلاَفِ اللُّغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا أَوْ مَذْمُوْمًا ...
“ดังนั้น ความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม, ต่างกับความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา, .. เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน จะถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ (ตามหลักภาษา) ทั้งสิ้น ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องเลว” ...
คำอธิบายนี้ ชัดเจนจนแทบจะไม่ต้องขยายความใดๆเพิ่มเติมอีกแล้ว ...
คำอธิบายนี้ ชัดเจนจนแทบจะไม่ต้องขยายความใดๆเพิ่มเติมอีกแล้ว ...
ส่วนท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ก็ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่าน ดังการอ้างอิงในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” หน้า 39 ว่า ...
فَإِنَّ الْبِدْعَةَ الشَّرْعِيَّةَ ضَلاَلَةٌ ! كَمَاقَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَمَنْ قَسَّمَهَا مِنَ الْعُلَمَاءِ إِلَى حَسَنٍ وَغَيْرِحَسَنٍ فَإِنَّمَا قَسَّمَ الْبِدْعَةَ اللُّغَوِيَّةَ، وَمَنْ قَالَ : كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ .. فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَةُ الشَّرْعِيَّةُ ...
“แน่นอน สิ่งบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทุกอย่าง) เป็นความหลงผิด ! ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, .. นักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็เป็นเพียงการแบ่งมันตามหลักภาษาเท่านั้น .. และผู้ใดที่กล่าวว่า ทุกๆบิดอะฮ์ เป็นความหลงผิด ความหมายของเขาก็คือ หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” ...
จะต้องให้อธิบายซ้ำอีกไหมครับ กับคำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ข้างต้นนี้ ? ...
คำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ถือว่า เป็นคำอธิบายที่ตรงประเด็นที่สุดในการจำแนกความเข้าใจอันสับสน -- แม้กระทั่งจากผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักวิชาการ -- ระหว่าง “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และบิดอะฮ์ตามหลักภาษา” .. จึงสมควรจะต้องจดจำคำกล่าวนี้ให้ขึ้นใจ เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องในเรื่องนี้ตลอดไป ...
จะต้องให้อธิบายซ้ำอีกไหมครับ กับคำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ข้างต้นนี้ ? ...
คำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ถือว่า เป็นคำอธิบายที่ตรงประเด็นที่สุดในการจำแนกความเข้าใจอันสับสน -- แม้กระทั่งจากผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักวิชาการ -- ระหว่าง “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และบิดอะฮ์ตามหลักภาษา” .. จึงสมควรจะต้องจดจำคำกล่าวนี้ให้ขึ้นใจ เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องในเรื่องนี้ตลอดไป ...
(3). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ..
ทั้งนี้ เพราะท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์ผู้เคร่งครัดในซุนนะฮ์ที่สุดท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ...
ทั้งนี้ เพราะท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์ผู้เคร่งครัดในซุนนะฮ์ที่สุดท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ...
كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ، وَإِنْ رَآهَـا النَّاسُ حَسَنَةً ...
“ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด, แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม”
(บันทึกโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ “المدخل إلى السنن الكبرى” หมายเลข 191, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “السنة” หน้า 24, และท่านอัล-ลาลิกาอีย์ในหนังสือ “شَرْحُ اُصُوْلِ اعْتِقَادِ أَهْلِ السُّنَّةِ” เล่มที่ 1 หน้า 92) ...
คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด” ตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในที่นี้ หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติโดยปราศจากข้อสงสัย, .. และคำกล่าวของท่านตอนหลังที่ว่า “แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม” แสดงว่า ท่านปฏิเสธและไม่ยอมรับว่า มีบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติอย่างเด็ดขาด ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งดีในมุมมองมนุษย์อย่างไรก็ตาม ...
(4). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับหะดีษของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ข้อนี้ ถือเป็น “ตัวชี้ขาด” ความผิดพลาดทั้งมวลของผู้ที่เข้าใจว่า มีบิดอะฮ์ดีตามบทบัญญัติศาสนา ทั้งนี้ เพราะท่านศาสดาได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆวาระว่า ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ “المدخل إلى السنن الكبرى” หมายเลข 191, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “السنة” หน้า 24, และท่านอัล-ลาลิกาอีย์ในหนังสือ “شَرْحُ اُصُوْلِ اعْتِقَادِ أَهْلِ السُّنَّةِ” เล่มที่ 1 หน้า 92) ...
คำว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด” ตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในที่นี้ หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติโดยปราศจากข้อสงสัย, .. และคำกล่าวของท่านตอนหลังที่ว่า “แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม” แสดงว่า ท่านปฏิเสธและไม่ยอมรับว่า มีบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติอย่างเด็ดขาด ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งดีในมุมมองมนุษย์อย่างไรก็ตาม ...
(4). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับหะดีษของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ข้อนี้ ถือเป็น “ตัวชี้ขาด” ความผิดพลาดทั้งมวลของผู้ที่เข้าใจว่า มีบิดอะฮ์ดีตามบทบัญญัติศาสนา ทั้งนี้ เพราะท่านศาสดาได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆวาระว่า ...
كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَ لَةٌ
“ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด” ...
และท่านยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่า ...
และท่านยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่า ...
إِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلأُمُوْرِ، فَإِنَّهَا ضَلاَلةَ ٌ!
“พวกท่านพึงระวังตนเองจาก สิ่งทั้งหลายที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ (ในศาสนา) เพราะว่า มันคือความหลงผิด” ...
.....ฯลฯ .....
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม มิได้ถูกส่งมาเพื่อสอน “ภาษา” แก่ผู้ใด, แต่ท่านถูกส่งมา เพื่อสอน “บทบัญญัติศาสนา” ของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. แก่มนุษยชาติทั้งมวล ...
เมื่อท่านกล่าวเตือนอุมมะฮ์ของท่านว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด” ท่านจึงย่อมหมายถึงสิ่งบิดอะฮ์ “ตามบทบัญญัติ”, .. มิใช่บิดอะฮ์ “ตามหลักภาษา” แน่นอน
และก็ไม่เคยมีรายงานหะดีษมาแม้แต่บทเดียวว่า ท่านศาสดาจะเคยกล่าวยกย่องชมเชยสิ่งใดที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนาของท่านว่า เป็นสิ่งที่ดี ! ...
ดังนั้น ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตาม ก็จะไม่พบคำว่า “มีบิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติ นอกจากทั้งหมด จะเป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” เพียงสถานเดียว ...
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” ที่มีกล่าวกันแพร่หลายมิใช่อื่นใด แต่เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ -- (ตาม “มุมมอง” ของมนุษย์, .. ต่อสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา) -- ว่าเป็น บิดอะฮ์ดี (คือ การริเริ่ม, การประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี) .. แค่นั้นเอง ...
.....ฯลฯ .....
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม มิได้ถูกส่งมาเพื่อสอน “ภาษา” แก่ผู้ใด, แต่ท่านถูกส่งมา เพื่อสอน “บทบัญญัติศาสนา” ของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. แก่มนุษยชาติทั้งมวล ...
เมื่อท่านกล่าวเตือนอุมมะฮ์ของท่านว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด” ท่านจึงย่อมหมายถึงสิ่งบิดอะฮ์ “ตามบทบัญญัติ”, .. มิใช่บิดอะฮ์ “ตามหลักภาษา” แน่นอน
และก็ไม่เคยมีรายงานหะดีษมาแม้แต่บทเดียวว่า ท่านศาสดาจะเคยกล่าวยกย่องชมเชยสิ่งใดที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนาของท่านว่า เป็นสิ่งที่ดี ! ...
ดังนั้น ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตาม ก็จะไม่พบคำว่า “มีบิดอะฮ์ดี” ในบทบัญญัติ นอกจากทั้งหมด จะเป็น “บิดอะฮ์ต้องห้าม” เพียงสถานเดียว ...
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” ที่มีกล่าวกันแพร่หลายมิใช่อื่นใด แต่เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ -- (ตาม “มุมมอง” ของมนุษย์, .. ต่อสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา) -- ว่าเป็น บิดอะฮ์ดี (คือ การริเริ่ม, การประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี) .. แค่นั้นเอง ...
สรุปแล้ว ผู้ใดก็ตาม, -- จะเป็นนักวิชาการระดับไหนก็ตาม -- ที่กล่าวในลักษณะว่า มีบิดอะฮ์ดีหรือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์อยู่ในบทบัญญัติ ก็พึงรู้เถิดว่า เขากำลัง “สับสน"” กับความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติและความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา ...
และผู้ใดก็ตามที่กล่าวว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ดี)ในบทบัญญัติ” หากจะมองเพียงว่า คำพูดของเขาไปค้านกับคำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์, หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ หะญัรฺ ทั้งสองท่าน, หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ที่กล่าวมาข้างต้น .. เพียงแค่นั้น ก็คงไม่สู้กระไรนักหรอก ...
ที่สำคัญ คำพูดของเขาดังกล่าวไป “คัดค้าน” คำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่บอกเขาว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) คือความหลงผิด” นี่สิ มันเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์สำหรับมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคนเหลือเกิน ...
(หน้า24)
และผู้ใดก็ตามที่กล่าวว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ดี)ในบทบัญญัติ” หากจะมองเพียงว่า คำพูดของเขาไปค้านกับคำนิยามของคำว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์, หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ หะญัรฺ ทั้งสองท่าน, หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ที่กล่าวมาข้างต้น .. เพียงแค่นั้น ก็คงไม่สู้กระไรนักหรอก ...
ที่สำคัญ คำพูดของเขาดังกล่าวไป “คัดค้าน” คำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่บอกเขาว่า “ทุกๆบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) คือความหลงผิด” นี่สิ มันเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์สำหรับมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคนเหลือเกิน ...
(หน้า24)