ท่านผู้อ่านที่รักครับ ..
ผมตอบคำถามเรื่องมุสลิมขายอาหารให้แก่ชาวไทยพุทธเพื่อนำไปใส่บาตรให้พระไปนานพอสมควรแล้ว และผมก็ปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านและนักวิชาการจะวินิจฉัยกัน เพราะผมก็ไม่ได้ฟันธงเลยว่าคำตอบของผมคือข้อชี้ขาด ห้ามใครเห็นต่างเป็นอันขาด
แต่ก็ยังมีบางคนที่มีความเชื่อส่วนตัวว่า "พื้นฐาน" การใส่บาตรของชาวพุทธเป็นชิริก ..ได้นำเอาคำตอบอันเป็น "ข้อวินิจฉัย" (มิใช่หลักฐาน) ของอาจารย์บางท่าน (ขออภัยที่ต้องเอ่ยชื่อท่าน คือ ท่าน อ. อามีน ลอนา) ที่ "มองต่างมุม" กับผมในเรื่องนี้ มา ตัดสินในลักษณะว่า คำตอบของ อ.อามีนเท่านั้นคือข้อชี้ขาดของปัญหานี้
...
เขาทราบหรือเปล่าว่า การทำธุรกิจหรือการปฏิบัติบางประการหรือหลายประการกับคนต่างศาสนาในสิ่งที่มุสลิมถือว่าหะรอม แต่คนต่างศาสนาถือว่า ฮาล้าล(สำหรับเขา) - อย่างเช่นกรณีการให้อาหารกาเฟรฺนำไปรับประทานในเดือนรอมะฎอน - นักวิชาการยังขัดแย้งกันว่า จะทำได้หรือทำไม่ได้
...
เขาทราบหรือเปล่าว่า การทำธุรกิจหรือการปฏิบัติบางประการหรือหลายประการกับคนต่างศาสนาในสิ่งที่มุสลิมถือว่าหะรอม แต่คนต่างศาสนาถือว่า ฮาล้าล(สำหรับเขา) - อย่างเช่นกรณีการให้อาหารกาเฟรฺนำไปรับประทานในเดือนรอมะฎอน - นักวิชาการยังขัดแย้งกันว่า จะทำได้หรือทำไม่ได้
เรื่องการขายอาหารให้ชาวพุทธนำไปใส่บาตรพระก็คล้ายๆกันนี่แหละ ...
เมื่อเป็นปัญหาขัดแย้งและไม่มีหลักฐานชัดเจนใดๆ (نَصٌّ صَرِيْحٌ) จะมาชี้ขาด แล้วเราจะเอาอะไรมา "ฟันธง" ว่า ทัศนะนั้นทัศนะนี้เท่านั้นที่ถูกต้อง ...
นอกจากเป็นการกล่าวไปตามอารมณ์หรือความเชื่อส่วนตัวเองเท่านั้น ..
สิ่งนี้ นักวิชาการจริงๆ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิชาการในสมัยอดีต - จะไม่กระทำกัน
ยิ่งไปกว่านั้น บางอย่างที่เขานำมาตั้งเป็นคำถาม - อันเป็นเรื่องชิริกที่ "ชัดเจน" อยู่แล้ว - ก็เป็นเรื่องไม่น่าจะนำมาถาม ถ้าเพียงแต่เขาจะอ่านข้อเขียนของผมทั้งหมดอย่างละเอียด, ใคร่ครวญ และเข้าใจ ไม่ใช่อ่านเพียงผิวเผิน ...
เพราะสิ่งที่เขาถาม ก็เป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่ผมเขียนตอบไปก่อนแล้วว่า ทำไม่ได้ ...
อย่างเช่น เขาเขียนถามเรื่องถ้ามีคนไทยพุทธมาซื้อแกงหรือซื้อต้นกล้วยเพื่อนำไปไหว้เจ้าที่เจ้าทางอันเป็นชิริก จะขายให้ได้กระนั้นหรือ ? ... ...
กรณีที่คล้ายคลึงกันนี้ ผมก็เขียนตอบมาก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ...
"ข้อนี้ (เรื่องชาวบ้านที่เป็นคนพุทธใส่บาตรเพื่อให้พระนำไปรับประทาน) ต่างกับการที่เราเชือดเป็ดหรือไก่ แล้วนำไปขายให้แก่คนต่างศาสนิก ที่เรา "รู้ชัดเจนแล้ว" ว่าเขาจะนำเป็ดหรือไก่นั้นไปเส้นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของเขา อันนี้ผมก็เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่ามุสลิมขายให้ไม่ได้ ........"
"ข้อนี้ (เรื่องชาวบ้านที่เป็นคนพุทธใส่บาตรเพื่อให้พระนำไปรับประทาน) ต่างกับการที่เราเชือดเป็ดหรือไก่ แล้วนำไปขายให้แก่คนต่างศาสนิก ที่เรา "รู้ชัดเจนแล้ว" ว่าเขาจะนำเป็ดหรือไก่นั้นไปเส้นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของเขา อันนี้ผมก็เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่ามุสลิมขายให้ไม่ได้ ........"
ปัญหาในกรณีคำตอบของผมที่ว่าขายอาหารให้ชาวพุทธนำไปใส่บาตรได้ (ภายใต้เงื่อนไขที่ผมอธิบายไว้ชัดเจนแล้วและจะขออนุญาตนำมากล่าวซ้ำอีกตอนหลัง) จึงอยู่ภายใต้ปัญหาหรือคำถามที่ว่า ...
พื้นฐานการใส่บาตรของชาวพุทธ เป็น "ชิริก" ในตัวของมันเองหรือไม่ ? ...
ถ้าใช่ เราก็ร่วมมือไม่ได้โดยไม่มีเงื่อนไข ...
แต่ถ้าไม่ใช่ เราก็สามารถร่วมมือได้ภายใต้เงื่อนไข ...
ประเด็นนี้สำคัญที่สุด จึงควรทำความเข้าใจให้ช้ดเจนก่อนจะนำไปหุก่มหรือวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ...
ก่อนจะให้คำตอบในเรื่องนี้ ผมขออธิบายเกี่ยวกับเรื่อง "หุก่ม" ของอิสลามก่อน เพื่อให้นำไปเปรียบเทียบกับเรื่องนี้ ดังนี้ ...
หุก่มในเรื่องคำห้าม- คำใช้ของอิสลาม จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ หุก่มตะอับบุดียะฮ์ (حُكْمٌ تَعَبُّدِىٌّ) และหุก่มตะอักกุลียะฮ์ (حُكْمٌ تَعَقُّلِىٌّ) ...
1. حُكْمٌ تَعَبُّدِىٌّ คือหุก่มที่เราไม่สามารถจะใช้สติปัญญาของ
เราหาเหตุผลได้ว่า ที่ใช้หรือห้ามอย่างนั้น เพราะอะไร ? ... หน้าที่
ของเราจึงมีเพียงปฏิบัติตามคำสั่งใช้หรือห้ามนั้นโดยดุษฎีเท่านั้น ...
เราหาเหตุผลได้ว่า ที่ใช้หรือห้ามอย่างนั้น เพราะอะไร ? ... หน้าที่
ของเราจึงมีเพียงปฏิบัติตามคำสั่งใช้หรือห้ามนั้นโดยดุษฎีเท่านั้น ...
ตัวอย่างเช่น การที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามอ่านอัล-กุรฺอานในรุกั๊วะอฺและในสุญูด ...
ทั้งๆที่การอ่านอัล-กุรฺอานก็เป็นซิกรุลลอฮ์ที่ดีเลิศที่สุด และการรุกั๊วะอฺและสุญูดก็เป็นอริยาบถที่นอบน้อมที่สุดเท่าที่บ่าวพึงปฏิบัติต่อผู้เป็นนาย ...
แล้วทำไม ท่านศาสดาจึงห้ามอ่านอัล-กุรฺอานซึ่งเป็นสิ่งดีในขณะรุกั๊วะอฺและสุญูดซึ่งเป็นอริยาบถที่ดี ? ..
สิ่งนี้เราไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้เลยว่าเพราะอะไรถึงห้าม นอกจากปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ...
2. حُكْمٌ تَعَقُّلِىٌّ คือหุก่มที่เราสามารถเข้าใจหรือชี้แจงเหตุผล
ได้ว่า ที่ใช้หรือห้ามนั้น เพราะเหตุผลอะไร ...
ได้ว่า ที่ใช้หรือห้ามนั้น เพราะเหตุผลอะไร ...
ตัวอย่างเช่น การที่ท่านศาสดาห้ามบุคคลในท้องถิ่นที่กำลังมีโรคระบาดเดินทางออกภายนอก และห้ามบุคคลภายนอกเดินทางเข้าไปในท้องถิ่นที่กำลังมีโรคระบาด ...
การห้ามในกรณีนี้ เป็นสิ่งที่เราสามารถเข้าใจเหตุผลได้ นั่นคือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนั้นไม่ให้ลุกลามหรือขยายตัวสู่ภายนอก ..
สำหรับเรื่องการใส่บาตรของชาวพุทธ ก็จัดเข้าอยู่ในหลักการดังที่กล่าวมานี้
สำหรับเรื่องการใส่บาตรของชาวพุทธ ก็จัดเข้าอยู่ในหลักการดังที่กล่าวมานี้
คือมีทั้งที่เป็น حُكْمٌ تَعَبُّدِىٌّ และที่เป็น حُكْمٌ تَعَقُّلِىٌّ ...
การที่พระพุทธเจ้าวางกฎห้ามพระสงฆ์หุงอาหารเอง และห้ามพระสงฆ์เก็บอาหารไว้ค้างคืนเพื่อรับประทานในวันรุ่งขึ้น ถือเป็น حُكْمٌ تَعَبُّدِىٌّ คือเป็นอิบาดะฮ์สำหรับชาวพุทธ เพราะเราไม่สามารถทราบเหตุผลได้ว่า เพราะอะไร พระพุทธเจ้าจึงได้วางกฎไว้อย่างนี้ ...
ส่วนการที่พระพุทธเจ้าสั่งให้ชาวบ้านนำอาหารมาใส่บาตรให้พระสงฆ์ "ทุกเช้า - ทุกเช้า" นั้น ถือเป็น حُكْمٌ تَعَقُّلِىٌّ คือ เราสามารถทราบเหตุผลได้ว่า ที่ให้นำอาหารมาใส่บาตรให้พระก็เพื่อพระจะได้นำไปรับประทานเพื่อสามารถดำรงชีพอยู่ต่อไปได้ มิฉะนั้นพระสงฆ์ก็จะอดอาหารตาย ...
ดังนั้น "พื้นฐาน" ของการใส่บาตรให้พระของชาวพุทธ จึง มิใช่เป็น حُكْمٌ تَعَبُّدِىٌّ .. คือมิใช่เป็นอิบาดะฮ์หรือพิธีกรรมที่ "ไม่สามารถรู้เหตุผลได้"
และมิได้เป็นชิริก (สำหรับมุสลิม เรา) ในตัวของมันเอง อย่างความเข้าใจของพวกเราบางคน ...
แต่เป็น عَادَةٌ คือประเพณีหรือวิถี ชีวิตประจำวันของชาวพุทธ
แต่มันจะกลายเป็นอิบาดะฮ์(สำหรับชาวพุทธ) และชิริก (สำหรับมุสลิมเรา) ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อหรือการกระทำอย่างอื่นเข้ามาประกอบขณะใส่บาตรด้วย ...
เช่นมีความเชื่อว่าขณะใส่บาตรว่า อาหารที่ใส่บาตรไปนั้นจะถึงไปยังวิญญาณญาติพี่น้องที่ตายด้วย, หรือก่อนจะใส่บาตร เขาจะเอาอาหารนั้นวางจบบนศีรษะแล้วอธิษฐาน, หรือขณะพระภิกษุให้พร ผู้ใส่บาตรจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ...
เมื่อนั้น การใส่บาตรจึงจะกลายเป็นอิบาดะฮ์สำหรับชาวพุทธ และเป็นชิริกสำหรับมุสลิมทันที ...
ผมจึงไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า การใส่บาตรเป็นอิบาดะฮ์ของชาวพุทธมาตั้งแต่ต้น, เป็นชิริก, และห้ามมุสลิมขายอาหารให้ชาวพุทธนำไปใส่บาตรโดยไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขใดๆ
และ .. คำตอบเรื่องการขายอาหารให้ชาวพุทธนำไปใส่บาตรนี้ ผมก็มิได้ตอบเลยว่า ขายให้ได้โดยปราศจากเงื่อนไข แต่ผมตอบว่าขายได้ ภายใต้เงื่อนที่ผมกล่าวไว้แล้วคือ .. "ถ้าชาวพุทธที่ซื้ออาหารไป นำอาหารนั้นไปให้แก่พระภิกษุด้วยการใส่บาตร เพื่อให้นำไปรับประทาน(ฉัน)เป็นการประทังชีพอย่างเดียว โดยไม่มีความเชื่อและภาคปฏิบัติที่ค้านต่อหลักการอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในขณะใส่บาตร" ...
อ่านคำตอบของผมช้าๆและใคร่ครวญซิครับ อย่าอ่านเผินๆหรือลวกๆ ...
โดยเฉพาะตอนท้ายที่ผมเขียนว่า "เพื่อให้นำไปรับประทานเป็นการประทังชีพอย่างเดียวโดยไม่มีความเชื่อและภาคปฏิบัติที่ค้านต่อหลักการอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในขณะใส่บาตร"
ถ้าชาวพุทธคนใดที่ซื้ออาหารไปใส่บาตรปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ แล้วมีนักวิชาการท่านใดยังยืนยันว่า ขายให้ไม่ได้ ผมก็ขอหลักฐาน ? ...
หลักฐานที่ผมขอ อาจจะเป็นหลักฐานจากหะดีษก็ได้, หรือหลักฐานจากคำตอบของนักวิชาการระดับโลกท่านใดก็ได้ที่ตอบคำถามดังที่มีคนถามผมมาในกรณีนี้ แล้วนักวิชาการระดับโลกท่านนั้นตอบว่า ขายให้ไม่ได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ...
ถ้าท่านหามาได้ ผมก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงคำตอบของผม ...
แต่ไม่ใช่หลักฐานจาก "ความคิด, ความเข้าใจ หรือมุมมองของตัวเอง" มาฟันธง เพราะคำตอบของผมในเรื่องนี้มิใช่เป็นการนั่งเทียนตอบ แต่ผมอาศัย "หลักวิชาการ" เช่นเดียวกัน ...
แต่ไม่ใช่หลักฐานจาก "ความคิด, ความเข้าใจ หรือมุมมองของตัวเอง" มาฟันธง เพราะคำตอบของผมในเรื่องนี้มิใช่เป็นการนั่งเทียนตอบ แต่ผมอาศัย "หลักวิชาการ" เช่นเดียวกัน ...
นอกจากนั้น การทำธุรกิจหรือการปฏิบัติบางประการกับคนต่างศาสนาในสิ่งที่มุสลิมถือว่าหะรอม แต่คนต่างศาสนาถือว่า ฮาล้าล(สำหรับเขา) .. นักวิชาการยังขัดแย้งกันว่า จะทำได้หรือทำไม่ได้ .. ดังได้กล่าวมาแล้ว ...
ท่านมีสิทธิ์มั่นใจในมุมมองของท่านและผมก็มีสิทธิ์มั่นใจในมุมมองของผม ตราบใดที่เราทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหา نَصٌّ صَرِيْحٌ (หลักฐานที่ชัดเจน) มาตัดสินได้ ...
ส่วนมุมมองใครจะผิดจะถูก .. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงทราบ ...
หมายเหตุ ..
ผมยังเขียนต่อไปอีกมิใช่หรือครับว่า ...
ส่วนในกรณีที่ผู้ขายอาหาร "มั่นใจหรือรู้แน่ชัด" ว่า ชาวพุทธที่ซื้ออาหารไปเพื่อใส่บาตรให้พระภิกษุนั้น มีการปฏิบัติหรือมีความเชื่อดังข้างต้น เช่นเชื่อว่า อาหารที่ใส่บาตรไปนั้นจะถึงไปยังวิญญาณญาติพี่น้องที่ตายด้วย, หรือก่อนจะใส่บาตร เขาจะเอาอาหารนั้นวางจบบนศีรษะแล้วอธิษฐาน หรือขณะพระภิกษุให้พร ผู้ใส่บาตรจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ ...
อย่างนี้ ผมเห็นว่า เราจะขายอาหารให้ไม่ได้ .....
และ .. ผมยังกล่าวต่อไปอีกว่า ...
หรือถ้าเรา(ผู้ขายอาหาร) "ค่อนข้างมั่นใจ, สงสัย หรือเกรง" ว่า ผู้ซื้อจะมีการปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ประการนั้น ทางที่ดีเราก็ควร "ระงับ" จากการขายให้ เพื่อหลีกเลี่ยงจากการกระทำสิ่งชุบฮาต (คือสงสัยหรือคลุมเคลือว่าทำได้หรือไม่) .. ดังคำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ..
คำตอบนี้ของผม ท่านอ่านละเอียดและทำความเข้าใจแล้วยัง ?.. หรือยังไม่ได้อ่านเลย ? ...
สรุปแล้ว เงื่อนไขของผมที่ว่าขายให้ได้ สำหรับชาวพุทธคงเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติของพวกเขา ซึ่งหากเขาปฏิบัติไม่ได้ เราก็ขายอาหารให้ไม่ได้ ดังที่อธิบายมาแล้ว ..
.
ข้อเปรียบเทียบในเรื่องนี้ก็คล้ายๆกับที่นักวิชาการหะดีษอนุโลมให้นำหะดีษเฎาะอีฟน้อยมาปฏิบัติในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลได้นั่นแหละ เพราะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว การปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้ง 4 ประการนี้เป็นเรื่องยากหรือแทบจะทำไม่ได้เลย ...
.
ข้อเปรียบเทียบในเรื่องนี้ก็คล้ายๆกับที่นักวิชาการหะดีษอนุโลมให้นำหะดีษเฎาะอีฟน้อยมาปฏิบัติในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลได้นั่นแหละ เพราะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว การปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้ง 4 ประการนี้เป็นเรื่องยากหรือแทบจะทำไม่ได้เลย ...
เพราะฉะนั้น ข้ออนุโลมให้ขายอาหารให้ชาวพุทธนำไปใส่บาตรได้ภายใต้เงื่อนไขที่ผมกล่าวไว้ และกรณีการนำหะดีษเฎาะอีฟน้อยมาปฏิบัติได้ภายใต้เงื่อนไขที่นักวิชาการกำหนดไว้นี้ ถ้าพิจารณาด้วยใจเป็นธรรม ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหมือนกับเป็นการ "ตีกัน" ทางอ้อมนั่นเอง ...
และสุดท้าย ผมก็ขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบว่า ...
ท่าน อ. อามีน ลอนากับผม สนิทสนมกันมาก .. หรืออีกนัยหนึ่ง ท่านเปรียบเสมือนลูกชายของผม, น้องชายของผม หรือศิษย์ของผมคนหนึ่ง มีอะไรท่านก็ไลน์หรือโทรฯมาปรึกษาผมอยู่เสมอ ...
การเห็นต่างกันในเรื่องใดๆระหว่างพ่อกับลูก, พี่กับน้อง หรือศิษย์กับอาจารย์ มิใช่เรื่องใหม่และมิใช่เรื่องแปลก แต่มันมีมาแล้วตั้งแต่อดีต ...
การเห็นต่างกันในเรื่องใดๆระหว่างพ่อกับลูก, พี่กับน้อง หรือศิษย์กับอาจารย์ มิใช่เรื่องใหม่และมิใช่เรื่องแปลก แต่มันมีมาแล้วตั้งแต่อดีต ...
เช่น ความเห็นต่างในหลายๆเรื่องระหว่างท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กับท่านอิหม่ามมาลิก ซึ่งทั้งสองท่านเป็นศิษย์กับอาจารย์กัน ..
หรือความเห็นต่างระหว่างท่านอิหม่ามอะห์มัดกับท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นศิษย์กับอาจารย์กัน ก็เช่นเดียวกัน ...
มิใช่เพียงเรื่องนี้เท่านั้นที่ผมกับ อ. อามีนเห็นต่างๆกัน แต่อาจจะมีเรื่องอื่นๆอีกก็ได้
ความเห็นต่างเรื่องวิชาการ เป็นเรื่องปกติที่มีมาทุกยุคทุกสมัยแล้ว ...
ทว่า .. ในด้านส่วนตัว ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรจะมาทำลายความสัมพันธ์, ความรักใคร่ห่วงใยและความเคารพนับถือที่เรามีต่อกันได้ อินชาอัลลอฮ์ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น